การพัฒนาสติในการภาวนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิโมกข์, 6 มีนาคม 2005.

  1. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    เบื้องต้นของการฝึก เราจะกำหนดสติไว้ที่ลมหายใจบ้าง พองยุบบ้าง กายบ้าง อิริยาบทการเคลื่อนไหวบ้าง ความนึกคิดบ้าง คำบริกรรมบ้าง แต่ผู้ปฏิบัติโดยมากยังไม่เข้าใจว่าจะพัฒนาสติอย่างไร ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า อะไรคือตัวภาวนา ตัวภาวนาคือลมหายใจหรือ ตัวภาวนาคือพองยุบหรือ .........คำบริกรรมหรือ ทั้งหมดที่ว่ามาเป็นเพียงอุปกรณ์หรือเครื่องมือในการภาวนา แต่เป้าหมายของการภาวนา คือาการพัฒนาสติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตัวภาวนา ก็คือ สติ เมื่อเราทราบว่าตัวภาวนาคือสติ เราจึงต้องมารู้จักคำว่าสติว่าคือ อะไร สติคือ ความระลึกได้ สติต้องพร้อมด้วยสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อาการของสติก็คือ เมื่อระลึกได้ ก็จะเกิดสภาวะรู้ ตื่น เบิกบาน การสอนเรื่องสติ บางสำนักสอนให้ใช้สติเฝ้าดูกายหรืออิริยาบทการเคลื่อนไหว บางสำนักสอนให้ใช้สติเฝ้าดูความรู้สึก บางสำนักสอนให้ใช้สติเฝ้าดูจิตหรือความคิด บางสำนักสอนให้ใช้สติเฝ้าดูลมหายใจ และอื่นๆ ถ้าเราไม่ยึดติดในสำนักใดสำนักหนึ่ง จะพบว่า เมื่อเราฝึกใช้สติเฝ้าดูกาย เราก็จะเห็นความรู้สึก และความคิดด้วย หรือเมื่อเราฝึกใช้สติเฝ้าดูความคิด เราก็จะเห็นกายและความรู้สึกด้วย ....ฉะนั้น กาย เวทนา จิต ธรรม จึงเป็นหนึ่งเดียว ในเบื้องต้นของการฝึกปฏิบัติ เราจำเป็นต้องฝึกปฏิบัติเฝ้าดูทีละอย่าง แต่เมื่อสติเริ่มตั้งมั่นแล้ว เราสามารถฝึกสติเฝ้าดู กาย เวทนา จิต และธรรม ไปพร้อมๆกัน ฉะนั้นผู้ที่ฝึกปฏิบัติมาพอสมควรแล้ว ไม่ต้องมีกฏเกณฃฑ์ว่าจะต้องกำหนดอะไร ก่อนหลัง หรือมีกฏเกณฑ์ว่ากำหนดแต่อิริยาบทอย่างเดียว หรือกำหนดเฝ้าดูจิตหรือความคิดอย่างเดียว แต่ควรจะได้พัฒนาสติให้สามารถรู้ตัวทั่วพร้อมจนถึงรู้ทั่วถึง คือ ให้รู้ทุกอย่าง ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม ไปพร้อมๆกัน เบื้องต้นเมื่อฝึกกำหนดรู้อยู๋ที่อารมณ์เดียว ก็ได้สติในระดับหนึ่ง พอสามารถกำหนดรู้มากอย่างหรือหลายอย่างมากขึ้น สติก็จะยิ่งพัฒนาได้มากยิ่งขึ้น จนในที่สุดไม่ต้องกำหนด แต่ก็สามารถรู้ได้แบบทั่วถึง คือเห็นกาย เวทนา จิต และธรรมไปพร้อมๆกัน นั่นแหละคือการพัฒนาสติให้เข้มแข็งและให้ว่องไว เมื่อเห็นได้ทั่วถึง่ จิตก็จะเข้าสู่ภาวะเป็นกลางๆและเริ่มคลายความยึดมั่นหรือผูกพันในร่างกาย จิตเริ่มเป็นอิสระและเกิดภาวะตื่น รู้ และเบิกบานอยู่เสมอ
     
  2. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การฝึกสติให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมหรือรู้แบบทั่วถึง ด้วยการฝึกอานาปานสติเข้าไปสู่ในชีวิตประจำวัน........
    ก่อนที่จะเข้าถึงการเจริญอานาปานสติในชีวิตประจำวัน เราควรมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกอานาปานสติในรูปแบบของการนั่งสมาธิที่ทำกันอยู่ทั่วไปก่อนว่า เพราะเหตุไรผู้ปฏิบัติในอานาปานสติจึงไม่เจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติ เป็นเพราะผู้ปฏิบัติจริงจังในการกำหนดลมหายใจมากเกินไป คือ พอนั่งหลับตาแล้วก็รีบจ้องจับลมหายใจทันที ข้อนี้ ทำให้ผิดวัตถุประสงค์ของากรเจริญอานาปานสติภาวนา คือ ในหลักการที่ถูกต้องนั้น ให้เราเพียงรู้ลมหายใจเข้า-หายใจออก พร้อมด้วยลักษณะอาการตามธรรมชาติ ของลมหายใจตามที่เป็นจริง การรีบร้อนไปกำหนดลมทันทีทันใดที่หลับตา จะเป็นการไปจ้องจับลมเกินไป หรือไปบังคับลม หรือไปปรุงแต่งลม
    การแก้ไข : พอนั่งในท่านั่งขัดสมาธิแล้ว ให้เราสำรวจร่างากายของเราก่อนว่า มีการเกร็งส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไหม และให้ผ่อนคลายร่างกายก่อน โดยอย่ารีบร้อนหลับตา ให้ทอดสายตาไปข้างหน้าแบบสบายๆ ไม่จดจ่อหรือเพ่งสิ่งใดๆ ข้างหน้า เสมือนหนึ่งเรานั่งอยู่ริมชายหาดหรือบนภูเขา เห็นท้องทะเลหรือท้องฟ้าอันเวิ้งว้าง สงบ และว่างเปล่า เป็นธรรมชาติที่ไม่มีสิ่งใดๆมารบกวนให้เกิดการปรุงแต่งใดๆ เพื่อให้จิตตื่นรู้อยู่เฉพาะหน้า ขณะที่ทอดสายตาไปนั้น ให้ใช้ความรู้สึกสำรวจร่างกายทุกส่วนตั้งแต่ศีรษะ ไหล่ ลำตัว แขนขาจนจรดปลายเท้า ว่ามีส่วนใดของร่างกายเกร็งไหม และให้ผ่อนคลายให้หมด ผ่อนคลายร่างกายไปสักพักพอรู้สึกสงบ สบายเป็นธรรมชาติแล้ว เราจะพบกับความมัศจรรย์ว่า เราจะสามารถรู้ลมหายใจละเอียดแผ่วเบา เข้าและออก โดยไม่ได้กำหนด แต่รู้ได้เองโดยธรรมชาติ จากนั้นก็ค่อยหลับตาเบาๆ เมื่อหลับตาลงแล้ว ความรู้สึกภายในยังคงให้ทำความรู้สึกตื่นอยู่เหมือนตอนเปิดตา คือ ตาภายนอกหลับ แต่ตาภายในหรือความรู้สึกภายในยังคงตื่นอยู่คือให้ความรู้สึกตื่นหรือสำนึกรู้นี้ ยังคงอย๋เฉพาะเบิ้องหน้าจริงๆ จากนั้นให้ทำความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไปพร้อมๆกับการรู้ลมหายใจเข้า-หายใจออกซึ่งเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ต่อไปให้ประคองความรู้สึกตัวทั่วพร้อมกับรู้ลมหายใจเข้า-หายใจออกไปสักระยะ จะพบว่าจิตจะสงบและเข้าสู่ความเป็นกลางของจิต คือจิต(ด้วยการประคองสติต่อเนื่อง)จะดูเหมือนว่าเห็นลมหายใจเข้า-หายใจออก และเห็นร่างกายแบบทั่วพร้อมและทั่วถึงมากขึ้นๆ ตามลำดับ จากนั้นความรู้สึกที่เป็นไปในภายในแผ่ซ่านไปทั่วสรรพางค์กายจะค่อยๆปรากฏชัด เป็นความอิ่มเอิบและปิติสุขจากความสงบ ถึงต้อนนี้ให้ปล่อยวางความรู้สึกทางร่างกาย แต่ให้รู้ถึงความรู้สึกที่ละเอียดขึ้นคือ ความรู้สึกสงบ ปิติสุข แผ่ซ่านที่เป็นไปในภายในร่างกายพร้อมๆกับรู้ลมหายใจเข้า-ออก พร้อมทั้งอาการความละเอียดของลม ให้ต่อเนื่อง เมื่อนั้นสำนึกรู้ที่เราประคองมาตั้งแต่ต้น(คือมีความรู้สึกตื่นอยู่เฉพาะหน้า)จะชัดขึ้นๆ จนเป็นความรู้สึกตื่นรู้และเบิกบานจริงๆ จากนั้นให้ปล่อยวางความรู้สึกปิติสุขที่ผ่านซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย คงเหลือแต่สำนึกรู้ที่ตื่นอยู่และชัดขึ้นๆ และตั้งมั่นจนเป็นความสงบรำงับปล่อยวางร่างกายและความรู้สึกที่เป็นไปทั่วสรรพางค์กายทั้งหมด คงประคองความรู้สึกตื่นรู้หรือสำนึกรู้นี้ไปเรื่อยๆ พร้อมกับรู้อาการลมหายใจซึ่งละเอียดประณีตมากขึ้นโดยลำดับ จนบางครั้งจะรู้สึกว่าลมหายใจหายไปเป็นช่วงๆ หรือหายไปในที่สุด ก็ไม่ต้องลังเลสงสัย ให้รู้ว่าลมหายใจหายไปแล้ว และละจาการกำหนดลมหายใจ มาสู่การประคองสำนึกรู้ (CONSCIOUS) ไปเรื่อยๆ จนจิตเกิดความสงบรำงับถึงที่สุด เป็นอุเบกขาแต่ไม่ใช่อุเบกขาแบบไม่รู้อะไร แต่เป็นอุเบกขาที่เปี่ยมด้วยสำนึกรู้ ที่เข้าถึง พุทโธ คือ ผุ้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานจริงๆ นี่เป็นการชี้ให้เห็นว่าผู้ปฏิบัติเริ่มเข้าสู่หนทางแห่งมรรคแล้ว ต่อจากนั้นการเดินทางในขั้นต่อๆไป ผู้ปฏิบัติจะรู้ด้วยตนเอง เพราะยากที่จะอธิบายเป็นคำพูดใดๆ คือ จะเป็นปัจจัตตัง คือรู้ด้วยตนเองเฉพาะตน
    อานาปานสติในชีวิตประจำวัน คือการประสานลมหายใจเข้าไปในอิริยาบท การเคลื่อนไหว การทำงานต่างๆ ซึ่งต้องเป็นไปตามธรรมชาติจริงๆ เพราะ ถ้าผู้ปฏิบัติจะตั้งใจกำหนดลมไป และทำงานไป จะรู้สึกขัดข้องมากๆ การฝึกให้เร่มจากการฝึกความรู้สึกตัวทั่วพร้อม (กายคตาสติ) ใหม่เริ่มต้นฝึก สติยังอ่อนอยู่ สติจะสามารถรู้ได้เฉพาะสัมผัสที่เด่นชัดเท่านั้น แต่พอฝึกไปจนสติไวขึ้นไวขึ้นโดยลำดับ จะเห็นว่าสติมีกำลังมากขึ้น โดยวัดได้จากการเริ่มรู้ชัดร่างกายและอิริยาบททีละส่วนๆ และมากส่วนขึ้น จนรู้ได้ทั่วถึงแม้พูดลิ้นพันกัน ตากระพริบ เท้ายก มือเคลื่อนไหว รู้ได้หมด การรู้ได้หมดนี้มีเทคนิคต่างไปจากการกำหนดสติเฉพาะส่วน คือ การรู้เฉพาะส่วนนั้น ฝึกโดยการกำหนดรู้ในสัมผัสและอารมณ์ที่ชัด แต่การฝึกรู้ตัวทั่วถึงนั้น ฝึกโดยการวางจิตเป็นกลางๆ จนสามารถเป็นได้ทั่ว 360 องศา เมื่อจิตเป็นกลางๆและรู้ได้ทั่วถึง จะพบความมัศจรรย์ว่าลมหายใจที่เมื่อก่อนไม่เคอยรู้ลมเข้า-ออก พอจิตเป็นกลางๆ ดังกล่าว จะสามารถรู้ลมเข้า-ออกทุกขณะได้โดยไม่ต้องกำหนด และแม้ความคิดหรือความรู้สึกในจิตที่ปรุงแต่งและเกิด-ดับ ก็จะทั้งรู้และเห็นจริงๆด้วย การรู้ทั้วถึงดังกล่าวจะสามารถรู้ได้โดยธรรมชาติแม้ในขณะพูด ทำงาน หรือ เคลื่อนไหว ( ท่านอาจจะฝึกสติการกำหนดการเคลื่อนไหวแบบหลวงพ่อเทียน ในที่สุดก็จะเข้าสู่ความเป็นกลางดังกล่าวและ รู้ได้ทั่วถึงคือรู้แม้กระทั่งลมหายใจ รู้แม้กระทั่งความคิดที่เกิด-ดับ เป็นต้น) นี่เป็นการเจริญอานาปานสติในชีวิตประจำวัน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ประสานลมหายใจที่ละเอียดเข้าไปสู่กาย เวทนา จิต และธรรรม จนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นี่คือหนทางแห่งมรรคที่ผู้ปฏิบัติสามารถเจริญให้มากทุกขณะในชีวิตประจำวัน จนถึงซึ่งความหลุดพ้นในที่สุด
     
  3. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การทำสมาธิเข้าสู่ฌาน ไม่ว่าจะเป็นฌานระดับใดระดับหนึ่ง วัตถุประสงค์คือให้เกิดพลัง(พละ5 + อินทรีย์ 5)ในการพิจารณาธรรมต่อไป อาทิ พิจารณากรรมฐาน 5( ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง) หรือ พิจารณาไตรลักษณ์ หรือ พิจารณาปฏิจจสมุปบาท จนจิตคลายความยึดมั่นถือมั่นและความกำหนัด พร้อมทั้งเห็นเหตุและผลของธรรมชาตินั้นๆ (ดังเนื้อความในปฏิจจสมุปบาท) พิจารณาทั้งอนุโลม และปฏิโลม จนเรารู้ด้วยตัวเองว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์จบแล้ว
    แต่ปัญหาของผู้ที่บำเพ็ญสมาธิจนได้ฌานนั้น ก็คือ การติดอยู่ในฌาน สาเหตุที่ติดอยู่ในฌานก็เพราะดำเนินสมาธิโดยการกำหนดหรือเพ่ง เป็นอารมณ์เพียงอย่างเดียว อันนี้ที่ครูบาอาจารย์หลายท่านเรียกว่า โลกียฌาน ลักษณะของโลกียฌาน ก็คือ สติกำลังไม่พอที่จะยกจิตเหนืออารมณ์ของฌานได้ ทำให้หลงติดอยู๋ในฌานจนเนิ่นนาน จนลืมหรือไม่อยากจะพิจารณาในสิ่งใดๆ ส่วนผู้ที่ดำเนินสมาธิโดยการเพ่งและระลึกรู้ ( ต่างจากการเพ่งส่วนเดียว เพราะการเพ่งนั้นเหมือนแม่เหล็กที่พอจับคู่ได้ส่วนขั้ว +และ - ก็จะมีแรงดึงดูดอย่างเหนียวแน่น สติกำลังไม่พอ คือ อินทรีย์ไม่เสมอกันระหว่างสมาธิและสติ จนจิตติดอยู่ในฌานอย่างเหนียวแน่น ยากที่จะยกขึ้นสู่วิปัสสนาญาณได้)
    การเข้าสู่ฌานด้วยการเพ่งและระลึกรู้หรือด้วยการระลึกรู้ด้วยสติเป็นตัวนำการเพ่ง คือการเพ่งและระลึกรู้ให้เสมอ สมดุลย์และได้ส่วนกัน อันนี้เป็นโลกุตตรฌาน คือสติสามารถระลึกรู้ได้ว่า วิตก วิจารณ์ ปิติ สุข หรืออุเบกขา ที่เกิดขึ้นนั้นๆ ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา ระลึกรู้ด้วยสติไปตั้งแต่เริ่มต้นของการทำสมาธิและเข้าสู่ฌานไปโดยลำดับ สติเป็นตัวคั่นระหว่างจิตและอารมณ์ของฌานนั้น ทำให้จิตไม่หลงติดอยู่ในฌาน เพราะดำเนินไปตั้งแต่เริ่มต้นการทำสมาธิและเข้าสู่ฌานในลักษณะ ที่คุมเชิง ถอยอยู่ห่างๆจากอารมณ์ที่จิตเพ่งในองค์ฌานนั้นๆ ลักษณะนี้พอจิตถึงองค์ฌานในระดับใดระดับหนึ่ง จิตก็จะสามารถปริวรรตตัวจิตเองขึ้นสู่การพิจารณาธรรมได้โดยอัตโนมัติ อาทิเห็น ร่างกายเน่าเปื่อยผุพัง หรือมีแต่โครงกระดูก แตกกระจาย กลายไปเป็นธุลี หรืออื่นๆ และเห็นไตรลักษณ์และปฏิจจสมุปบาท เกิดการคลายกำหนัดและละวางในที่สุด
    ฉะนั้นข้อควรระวังในการเข้าสู่ฌาน ต้องดำเนินด้วยสติเป็นตัวนำ ดังในอริย มรรรคมีองค์ 8 นั้น สัมมาสติเป็นข้อที่ 7 และ สัมมาสมาธิเป็นข้อที่ 8 กล่าวคือสัมมาสมาธิ เป็นผลของสัมมาสติ อันนี้จึงจะเป็นโลกุตตรฌาน
    หลายคนไม่เข้าใจในเรื่องของการทำสมาธิ ทำให้เนิ่นนานในการปฏิบัติ ผมจึงใคร่ขอแนะนำไปดูคำอธิบายในกระทู้อานาปานสติในชีวิตประจำวัน และ การพัฒนาสติในการเจริญภาวนา เพื่อการทำความเข้าใจได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
     
  4. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    เยี่ยมครับ
     
  5. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    เป็นแนวทางการเริ่มฝึก และสำหรับผู้กำลังมองหาหนทางยกระดับจิตที่ดีค่ะ
    ถ้ามีเวลาว่าง ช่วยเล่าวิธีการฝึก และประสบการณ์บ้างจะได้ไหมค่ะ
    เพื่อเป็นกำลังใจให้เพื่อนบุญ เพื่อนธรรม ได้มีกำลังใจในการปฏิบัติกันยิ่งๆขึ้นค่ะ

    ที่สำคัญ คุณอธิบายได้ดี และละเอียด เรียบเรียงจากประสบการณ์ตรง ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติจริง จึงจะสามารถ เรียงร้อยถ้อยคำออกมาแบบปราณีตบรรจง และตั้งใจให้ผู้รับได้นำไปปฏิบัติใช้ได้ เยี่ยมค่ะ

    เจริญทางธรรมยิ่งๆขึ้นนะคะ
     
  6. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การฝึกเข้าฌาน

    ในการฝึกเข้าฌาน นั้น ผู้ปฏิบัติโดยส่วนมากจะเข้าไปด้วยกำลังของสมาธิล้วนๆด้วยการเพ่งอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งอย่างเดียว คือสมาธิแก่กล้ากว่าสติ หรือขาดความรู้ตัวทั่วพร้อมที่เป็นไปในภายในอย่างชัดเจน (สติกับสัมปชัญญะคือความรู้ตัวทั่วพร้อมจะคู่กันไปเสมอ แต่บางครั้งอาจจะเรียกสั้นๆ ว่า "สติ" เป็นที่รู้กันว่าต้องประกอบด้วยสัมปชัญญะ) ทำให้ผู้ปฏิบัติแม้จะเข้าสู่ฌานนั้นๆได้ แต่ไม่สามารถระลึกรู้ถึงความเป็นไปในฌานนั้นได้ ครูบาอาจารย์บางท่านใช้คำว่าพิจารณาในองค์ฌาน(ต่างกับการพิจารณาธรรม) คือ สติระลึกรู้ได้ว่าในขณะนั้นประกอบด้วยวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา และหากศึกษาจากพระไตรปิฏก จะพบตัวอย่างของพระอรหันต์ที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่าเป็นเลิศในทางปัญญา คือพระสารีบุตร ซึ่งเป็นผู้มีปัญญาละเอียดลึกซึ้งสามารถพิจารณาตามรู้ความเป็นไปในองค์ฌานต่างๆทั้งรูปฌานและอรูปฌาน ได้ละเอียดถี่ยิบจนหมดเปลือก กล่าวคือ ธรรมในปฐมฌาน คือ วิตก จิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันพระสารีบุตรกำหนดได้ตามลำดับ ....จตุถฌานก็ทำนองเดียวกัน หรือแม้แต่ในอรูปฌาน อาทิ อากิญจัญญายตนฌาน ธรรมในอากิญจัญญายตนฌาน คือ อากิญจัญญายตน เอกัคคตา ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา วิญญาณ ฉันทะ อธิโมกข์ วิริยะ สติ อุเบกขา มนสิการ เป็นอันพระสารีบุตรกำหนดได้โดยลำดับ อันนี้คือตัวอย่างการพิจารณาในองค์ฌานของพระสารีบุตร (ข้อสังเกตุ สติแม้แต่ในอรูปฌานก็ยังละไม่ได้ จนกว่าจะเข้าถึงสมาบัติ 9 นั้น คือสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้สติกำหนดอีกต่อไป เพราะแฟ้มข้อมูลหรือสัญญาไม่มีเหลือแล้ว ทั้งฝ่ายกุศล และฝ่ายอกุศล เป็นจิตที่บริสุทธิ์หมดจด คือ เป็นภาวะของพระนิพพาน ซึ่งจะเข้าถึงได้ อย่างน้อยพระอานาคามีบุคคล)
    ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติในองค์ฌานทั้งหลายอย่าพึงประมาท เพราะตราบใดที่ท่านยังไม่สามารถพิจารณาคือตามรู้และเห็นความเป็นไปในองค์ฌานอย่างแจ่มแจ้ง คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา อันนี้ต้องระวังความมีอัตตาเพราะเข้าใจผิดว่า ตนได้ฌานนั้นฌานนี้ ข้อแนะนำในการเจริญสติในองค์ฌาน ก็คือ พึงกำหนดรู้ความนิ่งหรือความว่างนั้น โดยการถอยจิตออกมาจากความนิ่งหรือความว่างสักเล็กน้อย หรือ ยกจิตเหนือความนิ่งหรือความว่างนั้น เพื่อให้จิตเข้าสู่ภาวะความเป็นกลางๆ คือ เกิดอุเบกขา ปล่อยวางในเอกัคตาจิตนั้น จิตก็จะเริ่มรู้เห็นความเป็นเอกัคคตาของจิต และเมื่อสติมีกำลังมากขึ้นก็จะสามารถรู้เห็น วิตก วิจาร ปืติ สุข ด้วย เหตุที่จิตไม่สามารถรู้ตามอารมณ์ในองค์ฌานนั้น เพราะจิตเข้าไปยึดในความนิ่งสงบ จนสูญเสียความเป็นกลางๆของจิต จนบางครั้งเข้าไปแช่อยู่ในความสงบนั้นจนเพลินและผลอยหลับไป (พอแช่อยู่ในความสงบ และติดในความสุขความสงบนั้น จะทำให้สติถดถอยอ่อนกำลังลงเพราะจิตสูญเสียความเป็นกลาง หรือ ขาดอุเบกขาปล่อยวางในอารมณ์ของฌานนั้นๆ) อนึ่ง คำว่าลมหายใจละเอียดมากและขาดหายไป จนผู้ปฏิบัติหลายท่านเข้าใจผิดว่าตนได้ฌาน 4 อันนี้อาจจะไม่ใช่ฌาน 4 ก็ได้ แต่อาจเป็นเพราะกำลังสติไม่พอที่จะกำหนดลมหายใจที่ละเอียดประณีตได้ เลยสำคัญผิดว่าตนได้ฌาน 4 แล้ว ทั้งๆ ที่กำลังไปแช่อยู่ในความสงบของสมาธิซึ่งยังไม่ถึงฌานด้วยซ้ำไป หรือถ้าแย่ไปกว่านั้น สติไม่ต่อเนื่องจนตกภวังค์แล้วก็ว่างหายไปเลย มารู้สึกตัวก็ตอนตื่นและจะออกจากสมาธิ อันนี้เป็นเพียงข้อสังวรระวังที่ผู้ปฏิบัติทุกท่านที่หวังความหลุดพ้นไม่พึงประมาท ข้อแนะนำ ขอให้ท่านเจริญสติมากๆในชีวิตประจำวัน
     
  7. หนุ่มทิพย์

    หนุ่มทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +152
    สุดยอดครับ ขอเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
     
  8. vibe

    vibe เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    731
    ค่าพลัง:
    +3,146
    กระทู้นี้ช่วยผมได้มากเลย ขอขอบคุณครับ
     
  9. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    ถ้าใช่ท่านเดียวกัน
    ท่านวิโมกข์ เป็นเพศบรรพชิต และกำลังจะมีงานเขียน
    หนังสือ โดยญาติโยม สามารถร่วมบริจาค ได้ค่ะ
    แต่รู้สึกกระทู้จะอยู่ในลานธรรม

    ต้องขออภัย และขอบพระคุณท่านมากๆค่ะที่นำความรู้มาให้
    เพิ่งไปเปิดเจอในลานธรรมค่ะ
     
  10. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    อุบายหรือเทคนิคในการพัฒนาสติในการเจริญภาวนาให้ยิ่งๆขึ้นไป

    ผมขอสรุปอุบายหรือเทคนิคนี้จากประสบการณ์เป็นประโยคสั้นๆ 2 ประโยค คือ

    ระลึกในสิ่งใด ก็ให้รู้สึกในสิ่งนั้น , รู้สึกในสิ่งใด ก็ให้ระลึกในสิ่งนั้น
    Realizing what you are feeling , Feeling what you are realizing

    เมื่อเรารู้จักฝึกพัฒนาสติให้มีทั้งความว่องไว และ มีพลัง เป็นสตินทรีย์ กล่าวคือ

    1. การฝึกสติให้มีความไว คือ การฝึกสติ ที่มีการพัฒนาจากเริ่มต้นรู้ จากการกำหนดรู้อย่างเดียว จนกระทั่งมีสติรู้ในการกำหนดรู้หลายแบบหลายอย่าง โดยสามารถรับรู้สลับไปสลับมาได้อย่างรวดเร็ว
    2. การฝึกสติให้มีพลัง คือ การฝึกสติให้สามารุถรู้ทั่วถึงในกายและสิ่งที่เข้ามากระทบทางอายตนะทั้ง 6 คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือฝึกรู้ทั้งหมดได้ในขณะเดียวกัน เป็นองค์รวม ต่างจากข้อ (1) ซึ่งฝึกความไวโดยฝึกรับรู้สลับไปมาอย่างรวดเร็ว

    จากนั้น เราจะฝึกรักษาประคองสตินทรีย์ของเรา ที่มีทั้งความไวและพลังให้สามารถคงอยู่ต่อเนื่องได้ตลอดทั้งวัน ( ผู้ที่ฝึกฌาน ก็ควรฝึกประคองรักษาฌาน โดยวิธีนี้ได้เช่นกัน) โดยเข้าหาวิธีธรรมชาติให้มากที่สุด ไม่ตั้งใจหรือมุ่งมั่นจนเกินไป ให้เพียงประคองรู้แบบสบายๆ คือ เมื่อเกิดความรู้สึกในสิ่งใด ก็ให้ระลึกในสิ่งนั้น หรือทันทีที่ระลึกในสิ่งใด ก็ให้รู้สึกในสิ่งนั้น และอุบายของผมเพิ่มเติมคือ แผ่ความรู้สึกตัวทั่วพร้อมให้รู้สึกตัวทั่วถึงทั่วสรรพางค์กาย และเดินสติ หรือ ระลึกในทุกๆอณูของความรู้สึกตัวทั่วพร้อมนั้นหรือ กล่าวสรุปสั้นๆ ว่า ให้เดินสติในสัมปชัญญะ หรือระลึกอยู่ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ อันนี้ถ้าเราเพียรทำมากๆ ก็จะเป็นกายคตาสติที่สมบูรณ์ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ กายคตาสติมากว่า ผู้ที่เจริญให้มาก ย่อมทำให้แจ้งซึ่งวิชชาและวิมุติ และมีอานิสงส์มากมายอาทิ ถึงพร้อมด้วยฌาน 4 และ อภิญญา 6 เป็นต้น
    และเทคนิคอันนี้ก็สามารถช่วยต่อยอดของผู้ปฏิบัติพองหนอ ยุบหนอ ซึ่งฝึกกำหนดรู้อิริยาบท หรืออารมณ์ที่ชัดในขณะปัจจุบัน อาทิ หากเกิดเวทนา ก็กำหนดรู้ในเวทนา หากเกิดความคิด ก็กำหนดรู้ในความคิด อันนี้เป็นการกำหนด ซึ่งภาษาอังกฤษใช้ศัพท์ว่า noting หรือ labeling คือ noting or labeling what we are thinking , feeling or any others at the present time
    Noting กับ Realizing นั้น ความหมายต่างกัน Noting คือการกำหนดรู้ Realizing คือการตระหนักรู้ และ Realizing จะเป็นธรรมชาติมากกว่า Noting ฉะนั้น เทคนิค Realizing นี้ ผมได้พัฒนาขึ้นมาจากการกำหนดรู้ หรือ noting ผมจึงอยากแนะนำผู้ปฏิบัติหลายๆคน ที่ยังติดการกำหนดรู้ เมื่อเริ่มต้นเราฝึกการกำหนดรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่เมื่อเรากำหนดรู้จนชำนาญแล้ว ขอให้ผ่อนการกำหนดรู้ให้เบาลง ๆ มาจนเหลือเพียงการตระหนักรู้หรือการระลึกรู้เบาๆ นุ่มนวลแบบธรรมชาติ จนสามารถพัฒนาเข้ามาสู่ในชีวิตจิตใจเป็นการตระหนักรู้ด้วยใจ หรือระลึกรู้ด้วยใจ ไม่ใช่นึกคิดหรือกำหนดรู้ด้วยความนึกคิด เพราะอาการนึกคิดเป็นอาการที่เกิดจากสมอง และอาการของการกำหนดรู้ เป็นอาการที่เกิดจากการใช้กึ่งความคิดและกึ่งใจ แต่อาการของการระลึกรู้หรือตระหนักรู้ เป็นอาการที่เกิดจากใจหรือออกมาจากจิตใจจริงๆ ล้วนๆ อันจะทำให้เราสามารถพัฒนาสติและพัฒนาจิตใจของเราให้เจริญก้าวหน้าในการภาวนายิ่งๆขึ้นไป จนเป็นกายคตาสติที่สมบูรณ์ และถึงพร้อมด้วยวิชชาและวิมุติดังกล่าว

    ข้อควรสังเกตุ :
    1.ในบทสวดมนต์ ท่านให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่นึกถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ฉะนั้นการสวดมนต์ให้สวดมนต์ด้วยใจ ไม่ใช่สวดมนต์ด้วยความคิดนึก สวดด้วยใจจะมีพลังอย่างยิ่ง รวมทั้งการแผ่เมตตาด้วยให้แผ่เมตตาด้วยใจหรือออกจากใจ ไม่ใช่แผ่ด้วยความคิดนึกซึ่งไม่มีพลัง
    2.การบริกรรมคำภาวนา พุทโธ หรืออื่นๆ ให้บริกรรมด้วยใจ ไม่ใช่บริกรรมอยู่ในความคิดนึก
    3. ในชีวิตประจำวัน นอกเหนือการระลึกรู้ในอิริยาบทและความรู้สึกตัวทั่วพร้อมแล้ว กิจกรรมอื่นๆ อาทิ การทำงาน ดูหนัง ฟังเฟลง ก็ดี ให้ทำด้วยใจและออกมาจากใจจริงๆ ติดต่อ เจรจา พูดคุยด้วยใจหรือออกมาจากใจจริงๆ อันนี้จะเป็นการพัฒนาสติได้อย่างดียิ่งในชีวิตประจำวัน และพร้อมกันจะเกิดพลังในการทำงาน พูดคุย เจรจาการงานต่างๆด้วย งานก็จะประสบผลสำเร็จ
     
  11. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การพัฒนาสติในการภาวนา

    ขอเข้ามาที่มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาสติ เป็นข้อที่ ๗ และการที่จะเป็นสัมมาสติที่ควรแก่การงานในกรรมฐานเพื่อทำให้สิ้นซึ่งอาสวะได้นั้น ต้องเดินเข้ามรรคให้ถูกต้อง
    เบื้องต้นของผู้ปฏิบัติกรรมฐาน คือต้องให้ถึงพร้อม ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา แต่เมื่อพอมาถึงจุดหนึ่งเมื่อผู้ปฏิบัติได้ความตื่นรู้ของจิต และความสงบในระดับหนึ่งแล้ว ผู้ปฏิบัติต้องเดินเข้ามรรค ๘ คือ เริ่มทบทวนใคร่ครวญเริ่มตั้งแต่สัมมาทิฏฐิ ผู้ปฏิบัติจะเอาแต่นั่งกาวนา โดยละทิ้งการดำเนินชีวิตประจำวันด้วยมรรคมีองค์ ๘ ไม่ได้ เพราะวันหนึ่งเราอาจจะเจริญภาวนาเพียง 1-2 ชั่วโมง แต่อีก 22 ชั่วโมง เราปล่อยจิต ปล่อยใจ ให้ลืมตัว ลุ่มหลง ในสิ่งสมมติในทางโลก แล้วเกิดความสุข-ทุกข์ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อันนี้ให้นั่งภาวนาเท่าไร กี่ปี หรือทั้งชาติก็ไม่อาจเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติได้ สมาธิที่บำเพ็ญก็จะเป็นเพียงแค่โลกียะสมาธิ หรือฌานที่บำเพ็ญก็จะเป็นเพียงแค่โลกียะฌาน ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติที่เอาจริงเอาจังเพื่อความหลุดพ้น จะต้องเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ คือ ให้เข้าสู่มรรคมีองค์ ๘ ประคองและเพียรให้มากเท่าที่จะทำได้ เริ่มต้นต้องกลับมาที่มรรคข้อที่ ๑ คือสัมมาทิฏฐิ โดยจะต้องหมั่นพิจารณาเนืองๆ ถึงสิ่งที่เข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ว่า ทุกอย่างนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน แล้วน้อมเข้ามาสู่ใจเราอยู่เนืองๆ ในทางปฏิบัติ เราอาจจะพิจารณาความไม่เที่ยง อย่างเดียวก็ได้ เพราะพอจิตเห็นความไม่เที่ยงจริงๆ จิตจะเห็นความทุกข์ ความไม่มีตัวตน โดยอัตโนมัติ การพิจารณาความไม่เที่ยงอยู่เนืองๆนี้ให้พิจารณาด้วยใจที่สงบ มีสติ และด้วยใจที่ตื่นรู้ และเป็นกลางๆ จะทำให้ใจของผู้ปฏิบัติเห็นความไม่เที่ยงจริงๆ ความคิดบางครั้งถ้าคิดในเรื่องไร้สาระ ก็จะเป็นโทษ แต่เมื่อเราถึงพร้อมด้วยสติสัมปชัญญะ จนเราสามารถรู้จักปล่อยวางความคิดได้ จากนั้นผู้ปฏิบัติต้องฉลาดในการบริหารความคิด คือ เมื่อสามารถปล่อยวางความคิดหรือไม่คิดได้ ต่อไปควรฝึกให้รู้จักใช้ความคิด ให้รู้จักคิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เป็นอรรถเป็นธรรม คือบริหารความคิดให้เป็นระบบ หรือสั่งความคิดได้ ให้คิดแต่เรื่องที่เป็นอรรถเป็นธรรม อันนี้ความคิดจะปรุงแต่งไปในทางที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ขอแนะนำว่า เราอาจจะคิดถึงแต่ว่า ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ทุกอย่างไม่เที่ยง อย่างเดียวก็ได้ ขณะเดียวกันให้สืบสาวหาเหตุผล ด้วยโยนิโสมนสิการว่า ที่ไม่เที่ยงนั้นเป็นอย่างไร เพราะเหตุปัจจัยอะไร ส่งผลเป็นเช่นนั้นและเปลี่ยนแปลงไป เปลี่ยนแปลงมาหาความคงที่แน่นอนไม่ได้ ผู้ปฏิบัติตามแนวหลวงพ่อเทียนนั้น จะเข้าใจดีว่า ให้ตามสติอยู่กับความเคลื่อนไหวเสมอ และความเคลื่อนไหวในที่นี้ ก็ไม่ใช่เพียงแค่ตามรู้อิริยาบทที่เคลื่อนไหวอย่างเดียว แต่ให้ใช้อุบายตามรู้ความเคลื่อนไหวหรือความไม่เที่ยงของสรรพสิ่งที่เข้ามากระทบทางอายตนะ ระวังขณะที่ อายตนะภายนอกและภายในกระทบกัน เกิดวิญญาณทั้ง ๖ เป้นผัสสะ ต้องระวังวิญญาณทั้ง ๖ ให้ดี คือระวังการสัมผัสรับรู้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะทุกวันนี้ที่เราวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ ก็เพราะเราตกอยู่ในอำนาจของวิญญาณทั้ง ๖ ที่ปรุงแต่งต่อเนื่องไปด้วยอวิชชา และเราไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆที่มากระทบนั้น ว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา เมื่อเราหมั่นฝึกสติให้ไวต่อการรับรู้สัมผัสและด้วยสัมปชัญญะความรู้ตัวทั่วพร้อม ไม่ให้วิญญาณทั้ง ๖ ดึงจิตใจเราให้ส่งออกนอกไปกับสิ่งที่มากระทบ คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส หรือ ธรรมารมณ์ แต่ดึงจิตดึงใจให้อยู่ในกาย ตามรู้กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เป็นไปภายในกาย อันเป็นการเจริญกายคตาสติให้ยิ่งๆขึ้นไป คือ มีสติสัมปชัญญญะควบคุมจิตใจ ของเราไม่ให้อยู่ภายใต้อิทธิพลของวิญญาณทั้ง ๖ เช่น เห็นรูปสวย พอใจ ดึงจิต ดึงใจและในที่สุดดึงกายเราให้ไปเที่ยวตามหลงเพลิดเพลินในรูปนั้น เป็นต้น ข้อควรทราบคือความไม่ประมาทเท่านั้นเป็นองค์ธรรมที่จะรักษากายคตาสติไว้ได้ ให้เราตั้งสติอยู่ด้วยความไม่ประมาท หมั่นระลึกถึงความไม่เที่ยง ของรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ อยู่เนืองๆ เมื่อนั้นจิตของเราจะเป็นอิสระและจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความเป็นจริง เป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ หรือ ปฏิจจสมุปบาทธรรม
    เมื่อเกิดความเห็นชอบหรือสัมมาทิฏฐิ ความดำริชอบหรือสัมมาสังกัปปะก็จะตามมา คือดำริที่จะออกจากกาม หรือถ้ายังอยู่ในทางโลก ก็จะดำริที่จะไม่ให้ตนเองตกไปสู่อบายมุข เมื่อเกิดความดำริชอบ เจรจาชอบก็จะตามมา คือเจรจาด้วยอรรรถด้วยธรรมที่เป็นสาระมีประโยชน์ เมื่อเจรจาชอบ การกระทำชอบก็จะตามมา เมื่อการกระทำชอบ อาชีพที่ชอบก็จะตามมา คือไม่ประกอบมิจฉาชีพ ๕ ประการคือค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้าสัตว์ค้าของมึนเมา และค้ายาพิษ จากนั้นก็จะเกิดความเพียรชอบ เช่นสัมมัปปธาน ๔ คือ เพียรระวังบาปอกุศล กำจัดบาปอกุศล เพียรเจริญกุศล และเพียรรักษากุศล จนเกิดเป็นปาริสุทธิศึล ๔ คือ ความบริสุทธิ์ ๔ อย่างได้แก่ มีศีลบริสุทธิ์ อินทรีย์บริสุทธิ์ คือสำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อาชีพบริสุทธิ์ และ ปัจจัยบริสุทธิ์ คือพิจารณาสิ่งของปัจจัยต่างๆ ก่อนใข้สอย เมื่อเกิดความเพียรชอบ ก็จะเกิดความระลึกชอบ คือ มีสติ ละเอียด รอบคอบ จนเกิดเป็นสตินทรีย์ และสติสัมโพชฌงค์ เป็นสัมมาสติในที่สุด และสุดท้ายก็จะเกิดสัมมาสมาธิ อันเป็นผลของสัมมาสติ ไม่ใช่สมาธิหรือฌานแบบยึดติด เป็นตัวตน และหลงตน
    การปฏิบัติเข้าสู่มรรคอยู่เนืองๆในชีวิตประจำวันดังกล่าว จะทำให้การปฏิบัติภาวนาของเราเจริญก้าวหน้า อาทิ การเจริญสัมมาทิฏฐิอยู่เนืองๆ ก็จะทำให้สัญญาหรือความจำได้หมายรู้ สร้างข้อมูลสัญญาใหม่ที่เนื่องด้วยสัมมาทิฏฐิ อาทิ พิจารณาเห็นไตรลักษณ์อยู่เนืองๆ เมื่อเพียรเจริญมรรค ๘ อยู่เนืองๆ เช่นนี้ พอจิตสงบแน่วแน่ จิตจะสามารถปริวรรตตนเองขึ้นสู่การพิจารณาธรรมได้โดยอัตโนมัติหรือ มีธรรมผุดขึ้นในใจขณะปฏิบัติภาวนานั้น หรือหากผู้ปฏิบัติจะยกจิตขึ้นสู่การพิจารณธรรม ด้วยการนึกคิดพิจารณาใคร่ครวญในธรรมเป็นธัมมวิจัยยะ ก็จะแทงตลอดในธรรมได้โดยง่าย หรืออย่างน้อยโสดาบันก็จะเป็นผลที่เกิดขึ้นได้ไม่เนิ่นนานนัก เพราะ เมื่อมีมรรค ก็ย่อมมีผล คือโสดาปัตติผล....จนถึงอรหัตผลในที่สุด
     
  12. แคท

    แคท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2005
    โพสต์:
    616
    ค่าพลัง:
    +1,666
    สมาชิกใหม่
    เด็กใหม่ หัดธรรมะ
    ขอบคุณค่ะ
     
  13. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    กราบนมัสการท่านวิโมกข์ค่ะ หลังจากกระทู้นี้หยุดไปสักพัก เข้ามาเห็นความเคลื่อนไหว
    รู้สึกดีใจมากค่ะ ท่านได้มาโปรดแล้ว ขอฝากตัวเป็นนักเรียนที่นี่เลยนะค่ะ

    ที่ลานธรรมได้ถามเรื่องการแผ่เมตตา และท่านได้กรุณาตอบอย่างแจ่มแจ้ง พอมาสักพัก
    ก็ลองทำแบบขยายความรู้สึก แผ่ขึ้นจากศรีษะ ลงต่ำจากที่เรานั่ง และขยายออกด้านซ้าย ขวา แบบไม่มีประมาณ อาการมันเหมือนมีพลังจากตัวเราพุ่งไปตามที่เรากำหนดแบบ
    คล้ายเป็นแสงค่ะ แล้วจะรู้สึกหัวใจเต้นแรงมาก ก็ค่อนข้างตกใจนิดหน่อย เพราะเหมือนร่าง
    กายเราจะขยายออกด้วย พอเริ่มเข้าสู่ภาวะปรกติ ก็ใช้ความรู้สึกว่า เราจะขอเก็บสิ่งดีๆ
    กลับเข้าสู่ตัวเรา จากทุกทิศทาง แล้วก็ค่อยๆ ออกจากสมาธิค่ะ

    แต่วันอื่นทำจะยังไม่ค่อยได้อาการขนาดนี้ จะมีบ้างก็แค่พอครบทุกทิศ จะสว่างวาบ
    แล้วก็จางไป

    วันนี้ขอถามแค่นี้ก่อนค่ะ ว่าเป็นอาการอะไรค่ะ ทำผิดหรือไม่?
     
  14. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    ไม่ทราบว่าโยมดาวประกายกับคุณนิรนาม221 คนเดียวกันหรือเปล่า ไม่แน่ใจจึงได้ post ข้อความมาอีกครั้งท้ายคำตอบนี้

    จุดประสงค์การแผ่เมตตานั้น ก็เพื่อฝึกให้รู้จักให้ แบ่งปัน โดยมอบความสุข ความรู้สึกที่ดีๆให้แก่เพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์ เป็นการลดละความยึดถือตัวตน หรือความสำคัญมั่นหมายว่าเป็นเรา หรือของเราให้น้อยลง เบาบางลง เป็นการฝึกคลายความผูกพันและเยื่อใยที่มีต่อกายเนื้อนี้ การปฏิบัติภาวนาที่ติดขัดหรือไม่ก้าวหน้า ก็เพราะมีความมีเรา หรือความยึด หรือความหลงตัวเองเข้าไปร่วมในการภาวนาด้วย อันเป็นเสมือนกำแพงขวางกั้นความก้าวหน้าและทำให้เขวจากเป้าหมายในการฝึกภาวนา อันมุ่งขัดเกลากิเลส และวิมุตติความหลุดพ้น ฉะนั้น การฝึกแผ่เมตตาบ่อยๆ ไม่เพียงแต่หลังการนั่งภาวนา แต่ควรทำทั้งก่อนนั่ง หรือแม้ขณะภาวนาแล้วถึงทางตัน ก็ควรใช้การแผ่เมตตานี้ ลดละความมีเรา หรือความยึด หรือความหลงตัวเอง เพื่อทำลายกำแพงอันเป็นเครื่องกีดขวางซึ่งนักภาวนาสร้างขึ้นเองโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะมักเกิดขึ้นกับนักภาวนาที่ดำเนินการภาวนาโดยการเพ่งนำหน้า ซึ่งกลายเป็นไปมีเราเป็นกำแพงขวางการภาวนาของตนเอง นอกจากนั้น การแผ่เมตตายังมีอานิสงส์ทำให้เกิดพลังแก่ผู้ปฏิบัติด้วย พลังนี้ถ้ารู้จักประสานเข้าสู่สัมปฃัญญะคือความรู้สึกตัวทั่วพร้อม โดยมีสติระลึกอยู่ในความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่เสมอ ก็จะมีอานสิงส์เป็นกำลังและความเป็นใหญ่ให้แก่สติ เป็น สติพละหรือสตินทรีย์ เมื่อเรารู้จักแผ่เมตตาออกจากใจให้กว้างไกลรอบตัวเราโดยไม่มีประมาณแล้ว ก็ให้สติระลึกในความรู้สึกที่ขยายแผ่กว้างออกไปด้วย ความรู้สึกที่แผ่กว้างออกไปนั้นก็คือจิตที่ขยายออกไป เมื่อสติตามรู้จิตโดยการระลึกอยู่ในทุกๆอณูของความรู้สึกที่แผ่กว้างออกไปนั้น สติก็จะมีพละกำลังมาก แล้วเราก็เรียกความรู้สึกที่ขยายนั้น กลับมาที่กาย แบบรู้ตัวทั่วพร้อมทั่วสรรพางค์กาย สติหรือใจผู้รู้ กับจิตหรือความรู้สึก และกาย ก็จะประสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เป็นวิหารธรรมและเป็นกำลังเครื่องอาศัยแก่สติหรือใจผู้รู้ ต่อไปเมื่อแผ่เมตตาจนมีพละกำลังและความตื่นตัวแล้ว (ปล่อยวางการเต้นของหัวใจ ซึ่งเป็นส่วนหยาบกว่า ลมหายใจเบา ละเอียด ประณีต) ก็ให้ประสานกำลังของสติเข้ากับลมหายใจที่เบาละเอียดประณีต คือหายใจเข้า-ออกเบา ละเอียด ประณีตยิ่งขึ้น พร้อมๆกับความรู้สึกที่เป็นไปในภายใน อันเป็นความรู้สึกที่แผ่ซ่าน เป็นปีติ ปราโมทย์ที่แผ่ซ่านอิ่มเอมอยู่ภายในพร้อมกับความรู้สึกตัวทั่วพร้อม เมื่อสติประสานกับลมหายใจที่ละเอียด และความรู้สึกที่ละเอียดอ่อนที่แผ่ซ่านเป็นปีติปราโมทย์อยู่ภายใน สติก็จะมีกำลังจนเป็นใจผู้รู้ที่เด่นชัดขึ้น ต่อจากนั้น ก็ให้ใช้ใจผุ้รู้นี้รู้เท่าทันความเป็นไปของจิตที่กำลังเสวยอารมณ์ในขณะนั้น รู้เท่าทันความเป็นไป ความไหวไปของจิต อย่างต่อเนื่องทุกระยะ จนจิตตสังขารค่อยๆสงบรำงับ เป็นอุเบกขา คือความเป็นกลางๆของจิต แล้วก็ฝึกอยู่กับจิตที่เป็นกลางๆนั้นจนคุ้นเคย เวลาจิตเผลอไปเสวยอารมณ์หรือการปรุงแต่งใดๆอีกก็รู้ อยู่กับจิตด้วยอาการนี้ไปเรื่อยๆ เปรียบเสมือนแม่ที่คอยดูแลลูก จนลูกหายดื้อ เลิกซุกซน หรือท่องเที่ยวไปเสวยอารมณ์ต่างๆโดยสิ้นเชิง ความแจ่มแจังภายในก็จะปรากฏให้ผู้ปฏิบัติได้รู้เองเห็นเองโดยลำดับ

    ส่วนคำอธิบายเรื่องการแผ่เมตตานั้นได้ post มาข้างล่างนี้

    ตอบคุณนิรนาม221

    การแผ่เมตตาหากรู้จักแผ่เมตตาออกจากใจ ไม่ใช่แผ่ด้วยการนึกคิดเอา จะแผ่เวลาไหนก็ได้ เพราะการแผ่เมตตาออกจากใจ เราต้องรู้จักสำรวมใจ และน้อมใจเข้าสู่ความสงบและระลึกถึกถึงบุญกุศลที่เราได้บำเพ็ญภาวนามาตั้งแต่ต้น แล้วก็แผ่ออกจากใจหรือความรู้สึกจริงๆ แผ่ออกไปให้กับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2005
  15. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    ท่านเข้าใจถูกแล้วค่ะ ดาวประกายกับนิรนาม 221เป็นคนเดียวกัน ขณะนี้ก็น้อมคำสอนท่านมา
    ปฏิบัติ และแผ่เมตตาทุกช่วงเวลาที่ทำได้ ขณะทำสมาธิหากมีระลึกถึงผู้ใด หรือมีใครผ่านเข้ามาก็แผ่เมตตาไป รู้สึกโล่งและภาพที่มีก็หาย ทำให้สงบและเดินหน้าทำสมาธิต่อได้ค่ะ

    ยังมีความตั้งใจไปกราบท่านนะคะ แต่หากไปจะนัดวันก่อนทางเมล์ค่ะ

    ขอกราบขอบพระคุณท่านที่เมตตาสั่งสอนค่ะ
     
  16. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    หัวใจของความสำเร็จในการเจริญสติให้รู้อยู่กับปัจจุบัน?

    ขอให้เริ่มจากการมีฉันทะในการฝึกสติให้รู้อยู่กับปัจจุบัน อุบายอันหนึ่งก็คือต้องมีความรู้ความเข้าใจให้ถูกต้องก่อนว่า การรู้อยู่กับปัจจุบัน ก็คือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และมีแต่สิ่งใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามาให้เราได้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาในปัจจุบัน โดยเราไม่ต้องขวนขวายหรือไขว่คว้าแต่อย่างใด แม้การเดิน ก็มีแต่ย่างก้าวใหม่ๆ ให้เราได้เรียนรู้ การเคลื่อนไหวของอิริยาบถต่างๆ ก็ล้วนมีแต่การเคลื่อนไหวของอิริยาบถใหม่ๆ ให้เราได้เรียนรู้ รวมความว่ากายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ก็มีแต่ กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ใหม่ๆ ที่กำลังเข้ามาให้เราได้เรียนรู้ หากเราต้องการเป็นผู้มีปัญญา ก็ไม่ต้องย้อนไประลึกถึงสิ่งต่างๆที่ได้ผ่านพ้นไปแล้ว และไม่ต้องไปกังวลถึงอนาคตที่ห่างไกลตัวเรา ขอให้เราอยู่กับปัจจุบัน เราก็จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งหลาย ทีละขณะๆๆๆ อยู่เนืองๆ โดยที่เราไม่ต้องไปขวนขวายที่อยากจะไปเรียนรู้หรือเที่ยวแสวงหาปัญญาที่ไกลตัวเราแต่อย่างใด ทุกวันนี้ นักปฏิบัติที่ไม่ค่อยจะอยู่กับปัจจุบัน ก็เพราะไม่ได้เห็นความจริงข้อนี้ จึงไม่มีฉันทะ เมื่อไม่มีฉันทะ มันก็เบื่อที่จะอยู่กับปัจจุบัน ตรงกันข้ามกลับรู้สึกว่าการอยู่กับปัจจุบันเป็นสิ่งน่าเบื่อ ไม่น่าสนใจ สู้การขวนขวายใคร่ครวญหาเหตุหาผลถึงเรื่องราวในอดีต และ เรื่องราวในอนาคตไม่ได้ คือ ชอบแต่จินตนาการและวาดภาพในอากาศ เพราะรู้สึกว่ามันเพลิดเพลิน น่ายั่วยวนใจ และเป็นอาหารบำรุงสมองดี
     
  17. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    คือที่พระอาจารย์กล่าวไว้หนูเห็นด้วยมากเลยค่ะ เพราะเวลามีใครมาพูดถึงเรื่องที่ผ่านมาแล้ว
    และชอบเสียดาย ที่ไม่ได้ทำ หรือทำน้อยไป ต่างๆนา หนูก็จะบอกเขา ว่า ช่างมันเถอะ
    มันเป็นอดีตไปแล้ว ทำปัจจุบันกับอนาคตให้ดี ดีกว่า เดี๋ยวก็ดีเอง บางครั้งทำให้ เวลาใครจะมาทะเลาะกับเราด้วยการยกเรื่องเก่ามา หนูก็จะพูดในลักษณะนี้ เค้าก็จะเบาลงค่ะ แต่เราต้องไม่โกธรเสียก่อนนะคะ ต้องตามความรู้สึกให้ทัน นี่ถือเป็นประโยชน์ที่ใหญ่มากในปัจจุบันที่กำลังทำอยู่ค่ะ

    พออ่านข้อความที่หลวงพ่อpost มาด้านบนให้แต่หนูมีความสงสัยอย่างหนึ่งนะคะว่า
    นักโบราณคดี เป็นพวกที่ต้องศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องค้นคว้าหาอดีต หาข้อมูลทุกอย่างที่เป็นเรื่องเก่า นำมาพิจารณาเปรียบเทียบปัจจุบันว่าอยู่ยุคไหน พ.ศ. ไหน ดูแล้วชีวิตพวกเค้าค่อนข้างจะอยู่กับอดีตมากนะคะ แล้วอย่างนี้ถือว่า ไม่อยู่กับปัจจุบันรึเปล่า

    อีกส่วนหนึ่งคือนักวิจัย ค้นคว้า ต้องพยายามหาสิ่งใหม่ให้มีความทันสมัย ทันต่อโลกที่
    เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าเทคโนโลยี หรือยาขนานต่างๆ และอื่นๆ อีกมากมาย สิ่งเหล่านี้
    มักต้องนำอดีตมาเป็นต้นแบบ และพัฒนางานไปสู่อนาคตข้างหน้าให้สมบูรณ์ขึ้น
    แล้วถ้าพระอาจารย์ จะแนะนำ ควรทำอย่างไรค่ะ (ถามเผื่อคนอื่นๆค่ะ)

    หนูขอถามเพิ่มเติมนะค่ะ ว่า จริงๆ เวลานั่งสมาธิที่บ้าน หากเราไม่นั่งขัดสมาธิได้หรือไม่ค่ะ
    นั่
     
  18. ดาวประกาย

    ดาวประกาย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    132
    ค่าพลัง:
    +216
    ขอแจ้งข้อมูลค่ะ ตอนนี้หนูยังร่วมตรวจทานไฟล์งานรอบสองของท่านอยู่ด้วยค่ะ
     
  19. วิโมกข์

    วิโมกข์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +21
    การศึกาษาค้นคว้าของนักโบราณ นักวิจัย หรือนักค้นตว้า ก็มีแต่จะศึกษาแต่ในเรื่องที่ห่างไกลตัว ศึกษาค้นคว้าเท่าไรก็พ้นทุกข์ไม่ได้ แต่ก็เป้นธรรมดาของผู้ที่ยังอยู่ในวิสัยของโลก ยังต้องการความสุขแบบโลก คือทุกข์บ้าง สุขบ้าง ฉะนั้นถ้ามองในแง่ของชาวโลก ที่ยังไม่รู้ว่าความพ้นทุกข์คืออะไร เขาเหล่านั้นก็จำเป็นต้องดิ้นรน ค้นคว้า แสวงหา ความเจริญแบบโลกตอไปไม่มีที่สิ้นสุด แต่ในที่สุด เขาเหล่านั้นก็กลับตกเป็นทาสของวัตถุที่พวกเขาค้นคว้า แสวงหาหรือพัฒนาขึ้นมาเอง และกลับนำมาซึ่งความทุกข์ความเดือดร้อนแก่ตนและสังคมในที่สุด สิ่งที่จะพอแนะนำเขาเหล่านั้นได้ ก็คือให้เขาศึกษาค้นคว้าให้รู้รอบจริงๆ คือ รู้รอบในเรื่องของวัตถุ และ รู้รอบในเรื่องของชีวิตจิตใจของตนเองด้วย อันจะเป็นการส่งเสริมให้เขาได้ใช้ศักยภาพที่เขามีอยู่ในฐานะเป็นนักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ หรือ นักค้นคว้า โยนิโสมนสิการหรือน้อมเข้ามาศึกษาจิตใจของตนเองพร้อมๆกันไปด้วย
    อนึ่ง ขณะนี้ได้ปรับเรื่องราวใหม่โดยได้updateเพิ่มเนื้อหาจากกระทู้ถาม-ตอบไปมากขึ้น และทราบว่ากำลังตรวจกันเป็นรอบที่ 3 แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 เมษายน 2005
  20. MissyKelly

    MissyKelly เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    446
    ค่าพลัง:
    +1,195
    กราบนมัสการหลวงพ่อฝหลวงพี่วิโมกข์ค่ะ
    ีที่อ่านมา มีประโยชน์มากจริงๆค่ะ ดีใจมากที่ได้อ่านบทความนี้
     

แชร์หน้านี้

Loading...