ร่วมบูชาพระหลวงปู่ทวด รุ่นกรรมฐาน และยังได้ร่วมมหาบุญกับวัดพุทธพรหมปัญโญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย leo_tn, 5 กันยายน 2007.

  1. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2007
  2. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ขอเชิญร่วมบุญมหากฐิน
    วัดพุทธพรหมปัญโญ
    อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่

    ปัจจัยทั้งหมดเพื่อถวาย
    เข้ากองทุนพรหมปัญโญ
    <O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    ท่านที่มีจิตศรัทธาร่วมบุญกฐินกองละ 500 บาท
    จะได้รับพระหลวงปู่ทวด รุ่นกรรมฐาน<O[​IMG]</O[​IMG]
    ใส่กรอบสแตนเลส พร้อมสร้อยประคำอย่างดี
    ผ่านการอธิษฐานจิตทุกเม็ดของประคำ<O[​IMG]</O[​IMG]
    ซึ่งรวมกำลังพระมหาจักรพรรดิ
    โดยเจตนาของผู้สร้างเพื่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์<O[​IMG]</O[​IMG]
    และสามารถนำมาอธิษฐานเพื่อแก้ความขัดข้องในวิกฤตปัจจุบัน
    โชคลาภ เงินทอง<O[​IMG]</O[​IMG]
    และผู้ที่ปรารถนาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเพื่อร่วมสร้างกำลังบารมี
    ให้บรรลุผลเร็วยิ่งขึ้น
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    รูปลักษณ์ด้านหน้าเป็น หลวงปู่ทวด

    <O[​IMG][​IMG]</O[​IMG]
    <O[​IMG]</O[​IMG]
    รูปลักษณ์ด้านหลัง ประกอบด้วย หัวใจของยันต์คือ<O[​IMG]</O[​IMG]
    - บารมี 30 ทัศ<O[​IMG]</O[​IMG]
    - พระพุทธเจ้า 16 พระองค์
    และล้อมด้วยยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า

    [​IMG]
     
  3. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    มวลสารหลักในการสร้างพระ

    1. พระหลวงปู่ทวด ปี 97
    และมวลสารที่เกี่ยวพันกับหลวงปู่ทวดที่รวบรวมมากว่า 30 ปี
    2. ผงเก่าวิเศษพระมหาจักรพรรดิ
    อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่ดู่
    ซึ่งหลวงปู่ดู่เคยกล่าวไว้ว่า

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2007
  4. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    รายนามพระคณาจารย์ร่วมมอบมวลสาร

    พระอาจารย์วัน อุตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร อังคารธาตุ
    พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วชุมพล สกลนคร อังคารธาตุ
    พระอาจารย์สนั่น รักขิตสีโล วัดป่าสุขเกษมนิราศภัย สกลนคร เกศา
    พระอาจารย์แปลง วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร เกศา
    หลวงปู่กุ่น จิรปุณโณ วัดพันท้ายนรสิงห์ สมุทรสาคร อังคารธาตุ
    หลวงปู่ผัน วัดราษฎร์เจริญ สระบุรี เกศา
    หลวงปู่บุดดา ถาวโร วัดกลางชูศรีสุข สิงห์บุรี เกศา, แป้งเสก
    หลวงปู่สังวาล เขมโก วัดทุ่งสามัคคีฯ สุพรรณบุรี เกศา, อังสะ
    หลวงปู่สุวรรณ วัดทุ่งสามัคคีฯ สุพรรณบุรี เกศา, อัฐิธาตุ, อังคารธาตุ
    หลวงปู่เกลื่อน วัดสองเขต สุพรรณบุรี เกศา
    หลวงปู่ดุล อตุโล วัดบูรพาราม สุรินทร์ เกศา
    หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์ อังคารธาตุ
    หลวงปู่จันทร์ เขมปัตโต วัดจันทราวาส หนองคาย เกศา
    หลวงปู่บัวพา ญาณสัมปันโน วัดป่าพระสถิตย์ หนองคาย เกศา,ถ่านบุพโพ,อังคารธาตุ
    พระอาจารย์จวน กุลเชษโฐ วัดภูทอก หนองคาย อังคารธาตุ
    หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญบรรพต หนองคาย เกศา
    หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล หนองบัวลำภู เกศา,ชานหมาก
    หลวงปู่จันทร์ศรี วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี เกศา
    พระอาจารย์ทูล ชิปปัญโญ วัดป่าบ้านค้อ อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่ถิร ฐิตธัมโม วัดป่าบ้านจิก อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี เกศา,ชานหมาก
    หลวงปู่จันทร์โสม กิติกาโร วัดป่าบ้านนาสีดา อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่กุด รักขิตสีโล วัดป่าบ้านหนองหัวหมู อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโร วัดป่าประชาชุมพล อุดรธานี เกศา, ชานหมาก
    หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล วัดป่าสันติวิเวก อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดป่าสิริสาลวัน อุดรธานี อังคารธาตุ
    หลวงปู่บัว สิริปุญโญ วัดป่าหนองแซง อุดรธานี เกศา
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยาเกศา อัฐิธาตุ,อังคารธาตุ,จีวร
    หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง มหาสารคาม เกศา
    หลวงปู่ลือ วัดป่านาทาม มุกดาหาร เกศา
    หลวงปู่จาม มหาปุญโญ วัดป่าวิเวกพัฒนาราม มุกดาหาร เกศา
    หลวงปู่คำน้อย วัดภูกำพร้า มุกดาหาร เกศา
    หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ มุกดาหาร เกศา
    หลวงปู่สิงห์ทอง วัดป่าสุนทราราม ยโสธร เกศา
    หลวงปู่ทองมา ถาวโร วัดสว่างท่าสี ร้อยเอ็ด เกศา
    หลวงปู่มา ญาณวโร วัดสันติวิเวก ร้อยเอ็ด เกศา
    หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ ระยอง เกศา,อังคารธาตุ
    หลวงปู่นนท์ วราโภ วัดเหนือวน ราชบุรี เกศา
    หลวงปู่ม่วง วัดยางงาม ราชบุรี เกศา
    หลวงพ่อคง วัดเขาสมโภชน์ ลพบุรี เกศา
    หลวงพ่อหิน วัดหนองนา ลพบุรี เกศา
    หลวงปู่แว่น ธนปาโล วัดถ้ำพระสบาย ลำปาง เกศา

    ครูบาแสน วัดท่าแหน ลำปาง เกศา
    หลวงปู่หลวง กตปุญโญ วัดป่าสำราญนิวาส ลำปาง เกศา,แป้งเสก,ผงเสก
    หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง เกศา, จีวร,อังสะ
    ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง ลำพูน เกศา
    ครูบาเขื่อนคำ วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน เกศา
    ครูบาพรหมจักร พรหมจักรโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน เกศา, อัฐิธาตุ, อังคารธาตุ
    ครูบาขาวปี วัดพระพุทธบาทผาหนาม ลำพูน เกศา
    ครูบาชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน เกศา
    ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุ้ย ลำพูน เกศา
    ครูบาสุรินทร์ สุรินโท วัดศรีเตี้ย ลำพูน เกศา
    พระอาจารย์คำบ่อ ฐิตธัมโม วัดใหม่บ้านตาล สกลนคร เกศา
    พระอาจารย์แบน ธนกาโร วัดดอยธรรมเจดีย์ สกลนคร เกศา, จีวร
    หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ วัดดอยธรรมเจดีย์ สกลนคร เกศา
    หลวงปู่คำปัน สุภัทโท วัดสันโป่ง เชียงใหม่ อัฐิธาตุ
    หลวงปู่ธรรมธิ วัดสันป่ายาง เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาคำปัน วัดหม้อคำดวง เชียงใหม่ เกศา
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่ เกศา
    หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาขันธ์ อันติโก สุสานไตรลักษณ์ แม่วาง เชียงใหม่ อังคารธาตุ, ผงเสก
    หลวงปู่ดาบส สุมโน อาศรมเวฬุวัน เชียงราย อังคารธาตุ
    หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง เลย เกศา, อังคาร
    หลวงตาฮ้อ วัดถ้ำผาปู่ เลย เกศา
    หลวงพ่อเผย วิริโย วัดถ้ำผาปู่ เลย อังคารธาตุ, อัฐิธาตุ
    หลวงพ่อคำสุข วัดถ้ำผาปู่ เลย เกศา
    หลวงพ่อสีทน สีลธโน วัดถ้ำผาปู่ เลย เกศา
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ เลย เกศา,อังสะ,ชานหมาก,อังคารธาตุ, ผงเสก
    หลวงปู่คำพอง ชันลิโก วัดป่าอัมพวัน เลย เกศา, ชานหมาก
    หลวงปู่ศรีจันทร์ วัณณลาโภ วัดศรีสุทธาวาส เลย เกศา
    หลวงปู่ท่อน ปโมทิโต วัดใหม่เสนานิคม กรุงเทพมหานคร เกศา
    หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร เกศา
    หลวงพ่อเมือง พลวัฒโฑ วัดป่ามัชณิมาวาส กาฬสินธุ์ เกศา
    หลวงพ่อโพธิสารคุณ วัดโพธิ์โนนทัน ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่แนน วัดถ้ำยาว ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่มหาโส กัสสโป วัดป่าคำแคนเหนือ ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่บุญเพ็ง กัปปโก วัดป่าวิเวกธรรม ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่นิล มหันตปุญโญ วัดป่าสุมนามัย ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่อินทร์ ถิรเสวี วัดศรีจันทร์ ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่ผาง วัดอุดมมงคลศีรี ขอนแก่น เกศา
    หลวงปู่พรหมา จารุวัณโณ สำนักสงฆ์บ้านม่วง ขอนแก่น เกศา
    หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จันทบุรี เกศา
    หลวงปู่กวย ชุตินันโท วัดโฆสิตราม ชัยนาท เกศา
    หลวงปู่วิไล เขมิโย วัดถ้ำพญาช้างเผือก ชัยภูมิ เกศา
    หลวงพ่อห้อน วัดมณีบรรพต ตาก เกศา
    หลวงพ่อสงัด วัดบางช้างเหนือ นครปฐม เกศา
    หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม เกศา<O[​IMG]</O[​IMG]

    หลวงพ่อทวี นันทโก วัดอ้อมใหญ่ นครปฐม เกศา
    หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดอรัญวิเวก นครพนม เกศา, จีวร
    หลวงปู่เมตตาหลวง วัดเทพพิทักษ์ นครราชสีมา เกศา
    หลวงปู่ทา จารุธัมโม วัดถ้ำซับมืด นครราชสีมา เกศา
    หลวงพ่อคูน ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา เกศา, ยาเส้น
    หลวงพ่อเป้า วัดถ้ำพรสวรรค์ นครสวรรค์ เกศา
    หลวงปู่เจี้ยะ จุนโท วัดป่าภูริทัตตาราม ปทุมธานี เกศา
    ครูบาชุ่ม ญาณสังวโร วัดพระธาตุดอนเรือง ประเทศพม่า เกศา
    หลวงปู่สา สหธรรมมิกหลวงปู่ชอบ ประเทศพม่า อัฐิธาตุ, อังคารธาตุ
    หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว ปัตตานี เกศา
    หลวงปู่หรุ่ม อยุธยา เกศา
    หลวงปู่เอียด วัดกล้วย อยุธยา เกศา
    หลวงปู่เทียม จิรปุญโญ วัดกษัตราธิราช อยุธยา เกศา
    หลวงปู่วิชัย วัดตูม อยุธยา เกศา
    หลวงพ่อวิชัย วัดตูม อยุธยา เกศา
    หลวงปู่ถม วัดพิชัยสงคราม อยุธยา เกศา
    หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา เกศา
    หลวงพ่อมี วัดมารวิชัย อยุธยา เกศา
    หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน อยุธยา เกศา
    หลวงปู่กอง จันทวังโส วัดสระมณฑล อยุธยา อังคาร, อัฐิธาตุ
    หลวงพ่อหนองบัว วัดโรงธรรมสามัคคี เชียงใหม่ เกศา
    หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ เกศา, อังคารธาตุ, จีวร, ขี้โย
    ครูบาคำมูล วัดต้นผึ้ง เชียงใหม่ เกศา
    ครูบากองแก้ว วัดต้นยางหลวง เชียงใหม่ เกศา
    หลวงปู่สิม พุทธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ เกศา, จีวร, อังคาร, แป้งเสก
    หลวงปู่บุญจันทร์ จันทาโร วัดถ้ำผาผึ้ง เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่ เกศา, จีวร, ผงเสก
    ครูบาอินทจักร อินทจักรโก วัดน้ำบ่อหลวง เชียงใหม่ อังคารธาตุ
    ครูบาเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่น เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาน้อย วัดบ้านปง เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาอิ่นแก้ว วัดป่าแงะ เชียงใหม่ เกศา
    หลวงปู่คำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่ เกศา
    พระธรรมดิลก กุสโล วัดป่าดาราภิรมย์ เชียงใหม่ เกศา
    หลวงปู่หล้า(ตาทิตย์) จันโท วัดป่าตึง เชียงใหม่ เกศา, จีวร
    หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาสิงห์ สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาอินคำ วัดมหาวัน เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาแสง วัดร้องกองข้าว เชียงใหม่ เกศา
    ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่ เกศา, จีวร
    ครูบาผัด วัดศรีดอนมูล เชียงใหม่ เกศา<O[​IMG]</O[​IMG]

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]

    อานิสงส์กฐิน

    กฐินทานนี้มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้และผู้รับได้อานิสงส์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย

    - ทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง มั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงาน

    - เป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป

    - เป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย
    แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2007
  6. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ติดต่อขอทราบรายละเอียด จองกฐิน
    และโอนเงินได้ที่

    คุณธงชัย ยังยืนยงค์ โทร. 08 5902 8248
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฟ้าปิยรมย์ ลำลูกกา
    เลขที่บัญชี 3692050079

    คุณวาสนา เบ็ญอาซัน โทร. 08 9894 8245
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยโลตัส รังสิต คลอง 3
    เลขที่บัญชี 3682097926

    คุณสมศักดิ์ แก้วสิริอุดม โทร. 08 1553 9248
    ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขสวัสดิ์
    เลขที่บัญชี 1644239681

    คุณศิวกร วิชญะไพบูลย์ศรี โทร. 08 1817 8827
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนจันทร์
    เลขที่บัญชี 7152510882

    คุณฟองน้อย วรนาวิน โทร. 08 1843 3474
    ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนรัชดา-สี่แยกสาธุประดิษฐ์
    เลขที่บัญชี 1954605067

    คุณอดุลย์ ชีวพิทักษ์ผล โทร. 08 1622 6052
    ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยโกรกกราก
    เลขที่บัญชี 6820000901

    ขอทุกท่านช่วยค่าจัดส่งพระตามรายละเอียดนี้ครับ

    1. จองจำนวน 1 องค์ ช่วยค่าส่ง 60 บาท
    2. จองจำนวน 2 องค์ ช่วยค่าส่ง 100 บาท
    3. จองจำนวน 3-5 องค์ ช่วยค่าส่ง 150 บาท
    4. จองจำนวน 5 องค์ขึ้นไป ช่วยค่าส่ง 200 บาท

    เมื่อโอนเสร็จแล้วให้ถ่ายสลิปใบโอน
    พร้อมเขียนชื่อ...นามสกุล.....
    ที่อยู่.....เบอร์โทรที่ติดต่อได้......
    รายการพระที่จอง......จำนวน....องค์
    จำนวนเงินทำบุญ.........บาท ค่าจัดส่ง.....บาท
    (เพราะบางครั้งยอดเงินในสลิปจะไม่ชัด)
    และชื่อบัญชีที่ท่านโอนเงินเข้าไป

    <!-- / message -->แล้วกรุณาแฟกซ์ใบนำฝากไปที่เบอร์
    02987 9204
    ช่วยโทรเช็คเอกสารว่าได้รับชัดหรือเปล่า
    เพื่อง่ายต่อการอ่านและจัดส่ง
    _________________________________________________

    _________________________________________________


    หรือจองผ่านเวปไซท์ได้ที่ เวปวัดถ้ำเมืองนะ
    www.watthummuangna.com
    http://www.watthummuangna.com/board/...ead.php?t=1361

    <!-- / message --><!-- sig -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2007
  7. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]

    พระวรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)
    ศิษย์หลวงปู่ดู่ วัดสะแก พระนครศรีอยุธยา
    ที่ได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่ดู่

    ท่านได้เมตตาเจิมเกศา และจารให้ทุกองค์
    เปี่ยมล้นด้วยพลังแห่งพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ
    แล้วแต่จะอธิษฐานจิตขอพลังสิ่งดีงามจากองค์พระหลวงปู่ทวด
    พระมหาโพธิสัตว์เจ้า ซึ่งคนไทยทุกคนรู้จักท่านดี
    หลวงปู่ดู่ท่านเคยเมตตากล่าวไว้กับศิษย์ว่า
    "บารมีหลวงปู่ทวดอยู่เต็มท้องฟ้า"
    [​IMG]

    และจะช่วยเหลือทุกคนที่เป็นคนดี
     
  8. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    หลวงปู่ทวด
    เป็นพระเถระที่ได้รับความเคารพนับถือมาทุกยุคทุกสมัย
    ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยามาหลายร้อยปี
    ลองคิดดู จะมีพระเถระรูปไหนบ้าง ที่อยู่ในยุคอยุธยา
    แล้วได้รับความเคารพนับถือมาจนถึงทุกวันนี้ เท่า หลวงปู่ทวด
    ตัวอย่างพระหลวงปู่ทวด
    ใส่กรอบสแตนเลส พร้อมสร้อยประคำอย่างดี
    ผ่านการอธิษฐานจิตจากหลวงตาทุกเม็ดประคำ

    [​IMG]
    องค์พระด้านหน้าเป็นหลวงปู่ทวด


    [​IMG]
    ด้านหลังเป็นยันต์บารมี 30 ทัศ
    พระพุทธเจ้า ๑๖ พระองค์
    ล้อมด้วยยันต์มงกุฎพระพุทธเจ้า

    ลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์
    โดยถือเคล็ดว่าทำสิ่งใดจะได้รุ่งเรืองสว่างไสว ดังพระอาทิตย์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2007
  9. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
  10. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]
    การทอดกฐิน
    การทอดกฐิน นับว่าเป็นพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งมีช่วงเวลาจำกัดเพียงปีละ ๑ เดือน คือระหว่าง แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น จึงถือกันว่าการทอดกฐินได้บุญมาก ได้อานิสงส์มาก
    คำว่า "กฐิน" พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้ให้ความหมายไว้กว้างขวาง โดยรวมถึงกรรมวิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกฐินตั้งแต่ต้นจนจบ ดังนี้
    "กฐิน น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ ไม้แบบสำหรับตัดจีวร ; คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาล เรียกว่า กฐินกาล (กะถินนะกาน) คือ ระยะเวลาตั้งแต่แรมค่ำหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึง กลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้ เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน (เทดสะกานกะถิน) ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาล ผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใด จะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า "จองกฐิน" การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เ รียกว่า ผู้ครองกฐิน ผู้กรานกฐิน หรือองค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือบริวารกฐิน (บอริวานกะถิน) เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธี อนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ กรานกฐิน (กรานกะถิน) ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัย สิทธิพิเศษ ๕ ประการ ซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน"
    ในหนังสือ "ศาสนาสากล" แบบเรียนศาสนาสากล ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ได้เขียนเล่าถึงประวัติความเป็นมาของการทอดกฐินไว้ดังนี้
    "คำว่า "กฐิน" หมายถึง กรอบสำหรับขึงผ้าเย็บจีวรซึ่งเรียกว่า สะดึง ฉะนั้นผ้ากฐินก็หมายถึงผ้าที่สำเร็จออกมาโดยการขึงตรึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บ ความจริงไม้สะดึงนั้นเขาใช้เฉพาะผู้ที่ยังไม่สันทัดในการเย็บจีวรเท่านั้น สมัยนี้เราไม่จำเป็นที่จะต้องเอาผ้ามาขึงด้วยไม้สะดึงแล้วเย็บให้เป็นจีวรแล้ว อาจหาซื้อตามท้องตลาดทั่วไป เพราะมีผู้เย็บจีวรขายโดยเฉพาะมากมาย นับว่าเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระในด้านนี้ไปได้อย่างมากทีเดียว การทอดกฐิน ก็คือการเอาผ้าที่เป็นจีวรแล้วนั้นไปวางไว้ต่อหน้าสงฆ์ ซึ่งอย่างน้อยต้องมี ๕ รูป แล้วออกปากถวายสงฆ์โดยไม่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่งแล้วแต่พระท่านจะมอบหมายกันเอง แม้สมัยนี้เราจะไม่ต้องใช้สะดึงมาขึงผ้าเย็บจีวรก็ตาม แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่นั่นเอง
    การทอดกฐินมีกำหนดระยะเวลาไว้ ๑ เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว นับตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ จะทอดก่อนหรือหลังจากนี้ไม่ได้
    ประเพณีการทอดกฐินนี้ ประชาชนชาวไทยนิยมทำกันมาก ถือว่าได้อานิสงส์แรง เพราะทำในเวลาจำกัด ในปัจจุบันนี้มักทำกันเป็นพิธีรีตองมโหฬารทีเดียว บางทีก็มีการแห่แหนประดับตกแต่งองค์กฐินพร้อมทั้งไทยธรรมที่เป็นของบริวารซึ่งจัดทำกันไว้อยางประณีตบรรจง บางทีก็มีการฉลององค์กฐินกันก่อนที่จะแห่ไปวัด ในการแห่งแหนนั้น บางทีก็ทำกันอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น มีทั้งทางบกและทางน้ำ ในสมัยนี้ก็มีการแห่ผ้ากฐินไปทางอากาศอีกด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่จะนำผ้ากฐินไปทอดจะสะดวกทางใด ก็ไปทางนั้น
    เหตุที่จะเกิดมีการทอดกฐินกันนั้น เรื่องมีอยู่ว่า ภิกษุชาวเมืองปาฐา ๓๐ รูป (คือ พระภัททวัคคีย์ ๓๐ นั่นเอง) ได้เดินทางจากเมืองปาฐา เพื่อมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่พอมาถึงเมืองสาเกต ก็เป็นฤดูฝน เลยต้องพักจำพรรษาอยู่ที่นั่น เมื่อออกพรรษาแล้ว ก็รีบเดินทางต่อไปยังเมืองสาวัตถี ต้องกรำฝนทนแดดไปตลอดทาง จีวรต่างชุ่มโชกไปด้วยน้ำฝนไปตาม ๆ กัน พระพุทธองค์ทรงเห็นความลำบากตรากตรำของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุได้รับกฐินเสียก่อน ทั้งนี้เพราะเหตุว่า แม้จะออกพรรษาแล้ว แต่ฝนก็ยังไม่ขาดเสียทีเดียว ถ้าหากจะรั้งรอไปอีกเดือนหนึ่ง พอฤดูฝนหายขาดแล้ว พื้นดินก็จะไม่เป็นเปือกตมอีก การเดินทางย่อมสะดวกสบาย ฉะนั้น พระองค์จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุจำพรรษาตลอดไตรมาสแล้ว ได้ยับยั้งอยู่เพื่อรับกฐินเสียก่อน จะได้ไม่ต้องได้รับความลำบากในการเดินทางอีกต่อไป ต่อมาเมื่อมีปัญหาว่า ผ้าที่ทายกนำมาถวายนั้น ไม่พอกับจำนวนภิกษุที่จำพรรษาอยู่ พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้พระภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าเพื่อนและฉลาดในพระธรรมวินัยเป็นผู้รับกฐินและให้ภิกษุนอกนั้นเป็นผู้อนุโมทนา ก็จะได้อานิสงส์ในด้านพระวินัยเท่ากัน.
     
  11. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ความเป็นมาของการทอดกฐิน
    การทอดกฐิน เป็นการบำเพ็ญบุญที่ได้กระทำสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งมีที่มาแตกต่างกว่าการถวายทานโดยทั่วไปอยู่ตรงที่การถวายทานอย่างอื่นมักเกิดขึ้น โดยมีผู้ทูลขอให้พระบรมศาสดาทรงอนุญาต ส่วนกฐินทานนี้เป็น พุทธานุญาตโดยตรง นับเป็นทานอันเกิดจากพุทธประสงค์โดยแท้

    ความหมายของคำว่า "กฐิน"
    คำว่า "กฐิน" มีความหมายโดยนัยต่างๆ ถึง ๔ ประการ คือ
    ๑. เป็นชื่อของกรอบไม้ หรือ สะดึง อันเป็นแม่แบบสำหรับขึงผ้าเพื่อความสะดวกในการ ปะ - ตัด - เย็บ ทำจีวร เนื่องจากในสมัยพุทธกาล การทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนด กระทำได้ยากจึงต้องมีกรอบไม้สำเร็จรูป ไว้เป็นอุปกรณ์ในการทำ แม้ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องอาศัยไม้ สะดึง เช่นนี้อีกแล้ว แต่ก็ยังคงเรียกว่า ผ้ากฐิน อยู่อย่างเดิม


    ๒.เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่สงฆ์เพื่อทำจีวรตามแบบหรือกรอบไม้นั้นตามพระวินัยนิยมบรมพุทธานุญาตต้องมีขนาด กว้างและยาวเพียงพอสำหรับตัดเย็บทำเป็นผ้าสบง จีวร หรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง ซึ่งปัจจุบัน มักนิยมนำผ้าไตร ที่ตัดเย็บและย้อมเป็นผ้าสบง จีวรและสังฆาฏิสำเร็จรูป แล้วไปถวายเป็นผ้ากฐินเพื่อมิให้พระสงฆ์ต้องลำบากในการ ที่จะต้องนำไปตัดเย็บและย้อมอีก

    ๓. เป็นชื่อของบุญกิริยา คือ การบำเพ็ญบุญในการถวายผ้ากฐินแก่พระภิกษุสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ครบไตรมาส เพื่อให้ท่านได้มีผ้านุ่งห่มใหม่ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่ขาดหรือชำรุดแล้วส่วนที่นิยมใช้คำว่า "ทอดกฐิน" แทนคำว่า "ถวายกฐิน" ก็เพราะเวลาที่ถวายนั้น ผู้ถวายจะกล่าว คำถวาย แล้วนำผ้ากฐินวางไว้เบื้องหน้าคณะสงฆ์ โดยมิได้ เจาะจงถวายจำเพาะรูปใดรูปหนึ่งซึ่งเป็นการทอดธุระหมดความกังวลหรือเสียดาย ไม่แสดงความเป็นเจ้าของในผ้า ผืนนั้นโดยยกให้เป็นธุระของพระสงฆ์สุดแต่ท่านจะพิจารณาผู้ที่เหมาะสม
    ๔. เป็นชื่อของสังฆกรรม คือ พิธีกรรมของสงฆ์ที่จะต้องมีการสวดประกาศขอรับความเห็นชอบในการมอบผ้า กฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไปครอง ซึ่งพระสงฆ์จะกระทำพิธีที่เรียกว่า "กรานกฐิน" หลังจากที่ได้รับผ้ากฐิน แล้วในวันเดียวกันนั้นการที่คณะสงฆ์พร้อมใจยกผ้ากฐินให้แก่พระภิกษุรูปใดก็เนื่องจากได้พิจารณาเห็นแล้วว่า ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันนี้ พระภิกษุรูปนั้นมีคุณสมบัติอันสมควรจะได้รับผ้ากฐิน เช่น เป็นผู้บำเพ็ญสมณธรรมดีเยี่ยม เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเป็นที่ประจักษ์ หรือเป็นผู้มีจีวรเก่าคร่ำคร่าที่สุด เป็นต้น พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนี้เรียกว่า "ผู้กรานกฐิน" หรือ "ผู้ครองกฐิน"

    สำหรับพระภิกษุทั้งหลายที่อยู่ร่วมในพิธีได้อนุโมทนาต่อผู้กรานกฐินและเจ้าภาพผู้ทอดกฐินแล้วนั้น ก็ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้กรานกฐินและพลอยได้รับอานิสงส์กฐินด้วย การรับผ้ากฐินและกรานกฐินนี้นอกจาก จะเป็นการแสดงออกถึง การรู้สามัคคีในหมู่สงฆ์แล้ว ยังแสดงถึงความมีน้ำใจและยกย่องเชิดชูผู้กระทำความดีอีกด้วย

    ประเภทของกฐิน
    การทำบุญทอดกฐินในประเทศไทยเราได้แยกกฐินออกเป็น ๒ ประเภท คือ กฐินหลวง และกฐินราษฎร์
    กฐินหลวง ได้แก่ กฐินที่ทำพิธีทอดถวายแด่พระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษา ณ พระอารามหลวงแห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ ๓ ประเภท คือ
    ๑) กฐินเสด็จพระราชดำเนิน เป็นกฐินหลวงที่พระแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานถวายด้วยพระองค์เอง หรือทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์ไปทอดถวายแทน
    ๒) กฐินต้น เป็นกฐินส่วนพระองค์ที่พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระราชทานแก่วัดใด วัดหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นวัดหลวงหรือวัดราษฎร์ก็ได้
    ๓) กฐินพระราชทาน เป็นกฐินหลวงที่โปรดพระราชทานให้แก่หน่วยงานข้าราชการ คฤหบดี พ่อค้า และประชาชน ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานผ้ากฐินนำไปทอดถวาย ณ พระอารามหลวง แห่งใดแห่งหนึ่ง


    กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลายจัดนำไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ทั่วไป กฐินราษฎร์นี้นิยมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑) มหากฐิน เป็นกฐินที่นิยมจัดเครื่องบริวารกฐินต่างๆ มากมาย
    ๒) จุลกฐิน เป็นกฐินน้อยหรือกฐินรีบด่วนเพราะมีเวลาจัดเตรียมการน้อย นิยมทอดกันในวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๒ อันเป็นวัดสุดท้ายของระยะเวลาการทอดกฐิน


    อานิสงส์กฐิน
    กฐินทานนี้มีอานิสงส์มาก เพราะเป็นทานที่พิเศษยิ่งกว่าทานอื่นใด ด้วยเป็นทั้ง "กาลทาน" และ "สังฆทาน" นับเป็นทานชนิดเดียวที่ผู้ให้และผู้รับได้อานิสงส์ด้วยกันทั้งสองฝ่าย คือฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์ ) และฝ่ายผู้ให้ (คฤหัสถ์)

    ฝ่ายผู้รับ (พระสงฆ์)ครั้นรับกฐินแล้วย่อมได้รับ อานิสงส์ตามพระวินัย ๕ ประการ คือ
    o เที่ยวไปไหนไม่ต้องบอกลา
    o ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับ
    o ฉันโภชนะเป็นหมู่เป็นคณะได้ และฉันโภชนะที่รับถวายภายหลังได้ ไม่เป็นอาบัติ
    o เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา ตลอดกาล ๔ เดือน
    o ขยายเขตจีวรกาลออกไปได้ถึงกลางเดือน ๔


    ฝ่ายผู้ให้ (ทายกผู้ถวายกฐินทานและผู้มีส่วนร่วมในงานบุญนี้ด้วยการบริจาคทรัพย์ก็ดี ด้วยการบริจาควัตถุ สิ่งของก็ดี หรือด้วยการขวนขวายช่วยงานก็ดี ) ย่อมได้อานิสงส์อันไพบูลย์ทั้งในภพนี้และภพชาติต่อๆ ไป อาทิ
    oทำให้เป็นผู้มีความมั่งคั่ง
    oมั่นคงในโภคทรัพย์สมบัติและหน้าที่การงาน
    oเป็นคนรูปงาม ผิวพรรณงาม เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
    oเป็นผู้มีจิตใจบริสุทธิ์ผ่องใส ตั้งมั่นในสมาธิและเข้าถึงธรรมได้ง่าย แม้ละโลก แล้วย่อมได้บังเกิดในสุคติโลกสวรรค์
     
  12. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    คำถวายกฐิน

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
    ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
    <!--StartFragment -->
    หมายเหตุ
    ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้
    1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว
    "วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นชั้นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่" (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)
    2. ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ
    1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัด คงหวังจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
    2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้
     
  13. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ศึกษาธรรมและการปฏิบัติสายเปิดโลก
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

    [​IMG]


    หลวงตาม้า วัดพุทธพรหมปัญโญ จ.เชียงใหม่

    [​IMG]


    ทางเวปไซท์ของเราจะมีการแจกพระผงจักรพรรดิ
    [​IMG]
    ซึ่งท่านขอรับได้ฟรีที่


    แจกพระผงจักรพรรดิ์สูตรหลวงปู่ดู่
    เพื่อใช้ฝึกสมาธิ และกันภัยพิบัติ(กันรังสีนิวเคลียร์)
    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=23


    และเริ่มต้นศึกษาการปฏิบัติได้ที่
    ผู้เริ่มต้นปฏิบัติที่เข้ามาใหม่เชิญที่นี่เลยครับผม
    http://www.watthummuangna.com/board/...8252#post18252


    ขออนุโมทนาในกุศลจิตที่ดีของทุกท่านครับผม
    [​IMG]
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

    [​IMG]
    มุม<WBR>นี้<WBR>มี<WBR>ภาพ<WBR>เดียว

    <DD>
    16 ตุลาคม 2530 พระ<WBR>ราช<WBR>พิธี<WBR>กฐิน<WBR>หลวง ณ วัด<WBR>อรุณ<WBR>รา<WBR>ชว<WBR>รา<WBR>ราม พระ<WBR>บาท<WBR>สมเด็จ<WBR>พระ<WBR>เจ้า<WBR>อยู่<WBR>หัว<WBR>ประทับ<WBR>ใน<WBR>กัญญา<WBR>เรือ<WBR>พระ<WBR>ที่<WBR>นั่ง<WBR>สุพรรณ<WBR>หงส์ ระหว่าง<WBR>ที่<WBR>เรือ<WBR>พาย<WBR>ไป<WBR>ใกล้<WBR>จะ<WBR>ถึง<WBR>หน้า<WBR>ท่า<WBR>วัด<WBR>อรุณ พอ<WBR>ทอด<WBR>พระ<WBR>เนตร<WBR>เห็น<WBR>ว่า<WBR>ภาพ<WBR>เฉพาะ<WBR>พระ<WBR>พักตร์<WBR>ข้าง<WBR>หน้า<WBR>นั้น ได้<WBR>เส้น<WBR>ดี<WBR>มี<WBR>สี<WBR>สวย<WBR>และ<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>หมาย<WBR>ได้<WBR>เรื่อง<WBR>ดี<WBR>มาก จึง<WBR>ทรง<WBR>บัน<WBR>ทึก<WBR>ภาพ<WBR>ไว้ ​
    <DD>
    <DD>
    จุด<WBR>สำคัญ<WBR>คือ พระ<WBR>ปรางค์<WBR>วัด<WBR>อรุณ จะ<WBR>มี<WBR>พระ<WBR>ราช<WBR>พิธี<WBR>ถวาย<WBR>ผ้า<WBR>พระ<WBR>กฐิน<WBR>ที่<WBR>นั่น ต่อ<WBR>จาก<WBR>นั้น<WBR>เห็น<WBR>พื้น<WBR>น้ำ<WBR>เจ้า<WBR>พระ<WBR>ยาบ<WBR>อก<WBR>ระยะ<WBR>ทาง<WBR>ว่า<WBR>อีก<WBR>ไม่<WBR>ช้า<WBR>เรือ<WBR>พระ<WBR>ที่<WBR>นั่ง<WBR>ก็<WBR>จะ<WBR>ถึง<WBR>ท่า<WBR>วัด<WBR>อรุณ<WBR>แล้ว ม่าน<WBR>กัญญา<WBR>สี<WBR>หนัก<WBR>เข้ม<WBR>ใช้<WBR>เป็น<WBR>ฉาก<WBR>ด้าน<WBR>หน้า ช่วย<WBR>บังคับ<WBR>สาย<WBR>ตา<WBR>ให้<WBR>เห็น<WBR>เป็น<WBR>ปรางค์<WBR>วัด<WBR>อรุณเ ป็น<WBR>จุด<WBR>เด่น<WBR>อยู่<WBR>แต่<WBR>ไกล พล<WBR>พาย<WBR>ชู<WBR>ใบ<WBR>พาย<WBR>เรียง<WBR>เป็น<WBR>เส้น<WBR>เฉียง<WBR>ขนาน<WBR>กับ<WBR>ม่าน<WBR>ได้<WBR>เส้น<WBR>ได้<WBR>สี<WBR>สวย<WBR>มาก เลย<WBR>มา<WBR>ทาง<WBR>ซ้าย พล<WBR>เส้า<WBR>กระ<WBR>ทุ้ง<WBR>จังหวะ<WBR>ฝี<WBR>พาย<WBR>ถือ<WBR>ไม้<WBR>เส้า<WBR>เป็น<WBR>เส้น<WBR>ตั้ง<WBR>ฉาก จะ<WBR>ช่วย<WBR>หยุด<WBR>สาย<WBR>ตา<WBR>ระหว่าง<WBR>เส้น<WBR>เฉียง<WBR>กับ<WBR>เส้น<WBR>ตรง<WBR>ให้<WBR>ความ<WBR>รู้<WBR>แสง<WBR>สง่า<WBR>และ<WBR>เฉียบ<WBR>ขาด ... ภาพ<WBR>เล่า<WBR>เรื่อง<WBR>ได้<WBR>อย่าง<WBR>ครบ<WBR>ถ้วน ทั้ง<WBR>เป็น<WBR>ภาพ<WBR>แปลก<WBR>ใหม่<WBR>ยัง<WBR>ไม่<WBR>เคย<WBR>ปรากฏ ภาพ<WBR>นี้<WBR>จึง<WBR>มี<WBR>ความ<WBR>พิเศษ<WBR>และ<WBR>มี<WBR>เพียง<WBR>ภาพ<WBR>เดียว ​
    </DD>
     
  15. ครึ่งชีวิต

    ครึ่งชีวิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,178
    ค่าพลัง:
    +15,103
    [​IMG] สาธุ ขอรับ
     
  16. chirakit

    chirakit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    721
    ค่าพลัง:
    +2,861
    (b-2love) [​IMG] ขอร่วมอนุโมทนา ด้วยครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. the_club

    the_club เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    2,682
    ค่าพลัง:
    +15,283
    รายชื่อส่งพระหลวงปู่ทวด 6/09/2007

    คุณสุเชษฐ์ ใจเสมอ RD061721182TH
    คุณปรารถนา ไวทยานุวัตติ RD061721179TH
    คุณโยธิน ขันอุระ EF223304345TH
    คุณสุนันทา บุญชู EF223304297TH
    คุณวิวุฒิ โพธิเกษม EF223304306TH
    พ.ต.ต.เจริญ บุญเอนก EF223304283TH
    คุณปกรณ์ การสมใจ EF223304249TH
    คุณศิริพรรณ สืบค้า EF223304252TH
    คุณสรพงษ์ ระลึก EF223304266TH
    คุณสมศักดิ์ วรชาติชีวัน EF223304270TH
    คุณสราวุธ ตันธราพรฤกษ์ EF223304310TH
    คุณธวัชชัย เตริยาภิรมย์ EF223304323TH
    คุณสุทธิศักดิ์ สัจจพานิชกุล EF223304337TH
     
  18. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะครับ
    พระหลวงปู่ทวดรุ่นนี้
    มีผู้ยืนยันถึงประสบการณ์แคล้วคลาด
    ป้องกันภัยมาแล้วครับผม
     
  19. chirakit

    chirakit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    721
    ค่าพลัง:
    +2,861
    คุณวีระยุทธ ยุทธกลาง (The_Club) ครับ
    คงไม่ลืมส่งให้ผมด้วยนะ ครับ
    (good) (good) (good) (good) (good) (good)
    ไม่เห็นกล่าวถึงกันบ้างเลย
    (b-ahh)
     
  20. the_club

    the_club เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    2,682
    ค่าพลัง:
    +15,283
    ท่านใดที่โอนเงินมาแล้วรอนิ๊ดดดดดดดดดดส์ นึงนะครับ
    กำลังทยอยส่งพระให้ครับ ไม่ต้องกลัวนะครับ ได้ทุกคนครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...