รวบรวมคติธรรมดี ๆ มาให้อ่านกัน...

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย J.Sayamol, 16 มีนาคม 2009.

  1. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้าเป็นนิตย์
    ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
    ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

    สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์ ทั้ง
    กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
    ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

    สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้ง
    กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม
    ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

    สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้งกลาง
    วันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่
    ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

    ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน ทั้ง
    กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของพระโคดม
    ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

    ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลางวันทั้ง
    กลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดี
    ในกาลทุกเมื่อ.

    อ่านต่อที่นี่ - เรื่องนายทารุสากฏิกะ เจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้
     
  2. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    <iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/XuuVZ2Op0Y0?rel=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>​
     
  3. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    สมุททวาณิชชาดก
    ว่าด้วยพ่อค้าทางสมุทร


    [๑๖๒๕] ชนทั้งหลายพากันไถ พากันหว่าน เป็นมนุษย์ผู้ต้องเลี้ยงชีพด้วยผลการ
    งาน ไม่ถึงส่วนหนึ่งแห่งเกาะอันนี้ เกาะของเรานี้แหละดีกว่าชมพูทวีป.

    [๑๖๒๖] ในวันพระจันทร์เพ็ญ ทะเลจักมีคลื่นจัด จะท่วมเกาะใหญ่นี้ให้จมลง
    คลื่นทะเลอย่าฆ่าท่านทั้งหลายเสียเลย ท่านทั้งหลายจงพากันไปหาที่พึ่ง
    อาศัยที่อื่นเถิด.

    [๑๖๒๗] คลื่นทะเลจะไม่เกิดท่วมเกาะใหญ่นี้ เหตุอันนั้นเราเห็นแล้วด้วยนิมิตเป็น
    อันมาก ท่านทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกทำไม จงเบิกบานใจเถิด.

    [๑๖๒๘] ท่านทั้งหลายจงอยู่ยึดครองเกาะใหญ่นี้ อันมีอาหารเพียงพอ มีข้าวและ
    น้ำมากมาย เป็นที่อยู่อาศัยเถิด เราไม่มองเห็นภัยอันใดอันหนึ่ง ซึ่งจะเกิด
    มีแก่ท่านทั้งหลายเลย ท่านทั้งหลายจงเบิกบานใจอยู่ด้วยบุตรหลานเถิด.

    [๑๖๒๙] เทพบุตรในทิศทักษิณนี้ ย่อมคัดค้านความเกษมสำราญ ถ้อยคำของเทพ-
    บุตรนั้นเป็นคำจริง เทพบุตรในทิศอุดรไม่รู้แจ้งภัย หรือมิใช่ภัย ท่าน
    ทั้งหลายอย่ากลัวเลย จะเศร้าโศกไปทำไม จงเบิกบานใจเถิด.

    [๑๖๓๐] เทวดาเหล่านี้ย่อมกล่าวผิดกันอย่างไร เทวดาตนหนึ่งกล่าวว่าจะมีภัย
    ตนหนึ่งกล่าวว่าปลอดภัย ดังเราขอเตือน ท่านทั้งหลายจงฟังถ้อยคำของ
    เราเถิด เราทั้งหมดอย่าฉิบหายเสียเร็วพลันเลย.

    [๑๖๓๑] เราทั้งปวง จงมาช่วยกันทำเรือใหญ่ให้มั่นคงติดเครื่องยนต์ไว้พร้อมสรรพ
    ถ้าเทพบุตรในทิศทักษิณพูดจริง เทพบุตรในทิศอุดรก็พูดค้านเปล่าๆ .

    [๑๖๓๒] เมื่ออันตรายเกิดมีขึ้น เรือของพวกเรานั้นก็จักไม่เสียหาย อนึ่ง เราจะไม่
    ละทิ้งเกาะนี้ ถ้าหากเทพบุตรในทิศอุดรพูดจริง เทพบุตรในทิศทักษิณก็
    พูดค้านเปล่าๆ .

    [๑๖๓๓] เราทุกคนพึงขึ้นสู่เรือนั้นทันที ข้ามไปถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดีอย่างนี้ พวก
    เราไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ว่าคำจริงโดยคำแรก ไม่พึงเชื่อถือง่ายๆ ซึ่งถ้อยคำ
    ที่เทพบุตรกล่าวแล้วในภายหลังว่าเป็นจริง นรชนใดในโลกนี้เลือกถือ
    เอาส่วนกลางไว้ได้ นรชนนั้นย่อมเข้าถึงซึ่งฐานะอันประเสริฐ.

    [๑๖๓๔] กุลบุตรผู้มีปัญญากว้างขวาง แทงตลอดประโยชน์ในอนาคตแล้ว ย่อมไม่
    ให้ประโยชน์นั้นผ่านพ้นไปแม้แต่น้อย เหมือนพวกพ่อค้าเหล่านั้น พา
    กันไปในท่ามกลางทะเลโดยสวัสดีด้วยกรรมของตน.

    [๑๖๓๕] ส่วนพวกคนพาลมัวหมกมุ่นอยู่ในรสด้วยโมหะ ไม่แทงตลอดประโยชน์
    อันเป็นอนาคต เมื่อความต้องการเกิดขึ้น เฉพาะหน้าย่อมพากันล่มจม
    เหมือนมนุษย์เหล่านั้นพากันล่มจมในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.

    [๑๖๓๖] ชนผู้เป็นบัณฑิตพึงรีบทำกิจที่ควรทำก่อนเสียทีเดียว อย่าให้กิจที่ต้องทำ
    เบียดเบียนตัวได้ในเวลาที่ต้องการ กิจนั้นไม่เบียดเบียนบุคคลผู้รีบทำ
    กิจที่ควรทำเช่นนั้น ในเวลาที่ต้องการ.

    จบสมุททวาณิชชาดก

    อรรถกถา สมุททวาณิชชาดก
     
  4. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561

    พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในชีวกัมพวนาราม ทรงพระปรารภปิตุฆาตกรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้.
    มีพระดำรัสเริ่มต้นว่า ทิสฺวา นิสินฺนํ ราชานํ ดังนี้.

    ความพิสดารว่า พระเจ้าอชาตศัตรูนั้นอาศัยพระเทวทัต ได้ให้ปลงพระชนม์พระบิดาตามคำของพระเทวทัตแล้ว ได้ทรงสดับว่า

    พระเทวทัตมีบริษัทแตกกัน ในกาลที่สุดแห่งการทำลายสงฆ์ เมื่อมีโรคเกิดขึ้น จึงคิดว่า เราจักยังพระตถาคตเจ้าให้ยกโทษให้แก่เรา ดังนี้แล้ว จึงไปสู่กรุงสาวัตถีด้วยเตียงคานหาม ถูกแผ่นดินสูบที่ใกล้ประตูพระเชตวันมหาวิหาร.

    จึงทรงรำพึงว่า พระเทวทัตเป็นปฏิปักษ์ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เข้าไปสู่แผ่นดินมีอเวจีมหานรกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แม้ตัวเราได้ให้ปลงพระชนม์พระบิดาผู้เป็นพระธรรมราชาตั้งอยู่ในธรรม ก็เพราะอาศัยพระเทวทัตนั้น ก็ตัวเราจักถูกแผ่นดินสูบหรือไม่หนอ ดังนี้แล้ว จึงกลัว ไม่ได้ความสบายใจในสิริราชสมบัติ ทรงคิดว่า เราจักนอนหลับสักหน่อย พอจะเคลิ้มหลับเท่านั้น ก็ปรากฏคล้ายกับว่า นายนิรยบาลมาผลักให้ตกไปในแผ่นดินเหล็กหนา ๙ โยชน์ แล้วทิ่มแทงด้วยหลาวเหล็ก หรือมีอาการคล้ายกับว่า ถูกสุนัขทั้งหลายแทะเนื้อกินอยู่ จึงทรงเปล่งพระสุรเสียงด้วยสำเนียงอันน่ากลัวแล้ว เสด็จลุกขึ้น.

    ครั้นในวันต่อมา เมื่อวันเพ็ญแห่งเดือนที่ ๔ ซึ่งเป็นที่เบ่งบานแห่งดอกโกมุท (คือวันเพ็ญกัตติกมาส) พระเจ้าอชาตศัตรูมีหมู่อำมาตย์แวดล้อมแล้ว ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศของพระองค์ จึงทรงดำริว่า อิสริยยศแห่งพระบิดาของเรายิ่งใหญ่กว่านี้ เราสั่งให้ปลงพระชนม์พระองค์ผู้เป็นธรรมราชา ชื่อเห็นปานนั้นเสีย เพราะอาศัยพระเทวทัต.

    เมื่อพระองค์ทรงดำริอยู่อย่างนี้นั่นแหละ ความเร่าร้อนก็บังเกิดขึ้นในพระวรกายแล้ว พระสรีระทุกส่วนก็ชุ่มไปด้วยเหงื่อ.

    ในลำดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงดำริว่า ใครหนอแลจักสามารถบรรเทาภัยอันนี้ของเราได้ ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า บุคคลอื่นเว้นพระทศพลเสียแล้ว ย่อมไม่มี จึงทรงดำริว่า เราเป็นผู้มีความผิดอย่างใหญ่หลวงต่อพระตถาคตเจ้า ใครเล่าหนอจักพาเราไปเฝ้าพระองค์ได้ ทรงกำหนดมั่นหมายว่า ใครอื่นนอกจากหมอชีวกเป็นไม่มีแน่ ทรงถือเอาการตกลงพระทัยนั้น.

    ทรงทำอุบายที่จะเสด็จไป เปล่งอุทานว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ราตรีค่ำคืนนี้มีดวงจันทร์แจ่มกระจ่าง น่ารื่นรมย์เสียจริงๆ หนอ แล้วตรัสว่า วันนี้เราควรไปหาสมณะหรือพราหมณ์ที่ไหนดีหนอ เมื่อเสวกามาตย์ผู้เป็นสาวกของท่านปูรณกัสสปะเป็นต้น กล่าวพรรณนาคุณของครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปะเป็นต้น ให้สดับก็ไม่ทรงเชื่อถ้อยคำของคนเหล่านั้น กลับตรัสถามถึงหมอชีวก ถึงหมอชีวกนั้นก็กล่าวสรรเสริญพระคุณของพระตถาคตเจ้าก่อนแล้ว กราบทูลว่า พระองค์ผู้ประเสริฐจงเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด ดังนี้

    พระองค์จึงตรัสสั่งให้ตระเตรียมยานพาหนะคือช้าง แล้วเสด็จไปยังชีวกัมพวัน เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้าพระองค์นั้น ถวายบังคมแล้วทรงได้รับการปฏิสันถารจากพระตถาคตเจ้าแล้ว จึงทูลถามถึงสามัญญผลอันจะพึงเห็นด้วยตนเอง ได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาว่าด้วยสามัญญผลอันไพเราะของพระตถาคตเจ้าแล้ว.

    ในเวลาจบการแสดงสามัญญผลสูตร ได้ทรงประกาศพระองค์เป็นอุบาสก ให้พระตถาคตเจ้าทรงอดโทษแล้ว จึงเสด็จกลับไป.

    จำเดิมแต่นั้นมา ท้าวเธอก็ทรงถวายทาน รักษาศีล ทรงทำการสมาคมกับพระตถาคต ทรงสดับธรรมกถาอันไพเราะ เพราะได้คบกับกัลยาณมิตร จึงทรงละความหวาดกลัวเสียได้ โลมชาติชูชันหวั่นไหวก็หายไป กลับได้แต่ความสบายพระทัย สำเร็จพระอิริยาบถทั้ง ๔ ด้วยความสุขสำราญ.

    ครั้นต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันสนทนาในโรงธรรมสภาว่า แน่ะอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงทำปิตุฆาตกรรมแล้ว ทรงสะดุ้งหวาดกลัวต่อภัย ไม่ได้ความสบายพระทัย เพราะอาศัยสิริราชสมบัติ ทรงเสวยแต่ความทุกข์ในทุกๆ อิริยาบถ บัดนี้ ท้าวเธอมาอาศัยพระตถาคตเจ้า กลับหายสะดุ้งกลัวได้ เพราะการสมาคมกับกัลยาณมิตร จึงได้เสวยความสุขในอิสริยสมบัติ.

    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่เป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเราตถาคตแต่เฉพาะในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ ถึงในกาลก่อน เธอก็ทำปิตุฆาตกรรมแล้ว อยู่อย่างเป็นสุขสบาย เพราะอาศัยเราเหมือนกัน ดังนี้แล้ว.

    ทรงชักนำอดีตนิทานมาตรัสว่า
    ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในเมืองพาราณสี มีพระโอรสทรงพระนามว่า พรหมทัตตกุมาร ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในเรือนของปุโรหิต.

    เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเกิดแล้ว มารดาบิดาได้ตั้งชื่อว่า สังกิจจกุมาร. พรหมทัตตกุมารและสังกิจจกุมาร แม้ทั้งสองนั้นเจริญเติบโตด้วยกันมาในราชนิเวศน์ ทั้งสองคนได้เป็นสหายกัน. ครั้นเจริญวัยจึงได้พากันไปเรียนศิลปะยังกรุงตักกสิลา เรียนศิลปะทั้งหมดจบแล้วจึงกลับมา.

    อยู่ต่อมา พระราชาทรงพระราชทานฐานันดรศักดิ์ที่อุปราชแก่พระโอรส. แม้พระโพธิสัตว์ก็ได้อยู่ในสำนักท่านอุปราชเหมือนกัน.

    ภายหลังต่อมา ท่านอุปราชได้ทอดพระเนตรเห็นอิสริยยศอันยิ่งใหญ่ของพระบิดาผู้เสด็จประพาสเล่นในพระอุทยาน ก็บังเกิดความโลภในราชสมบัตินั้นขึ้น จึงทรงดำริวางแผนว่า พระบิดาของเราก็เหมือนกับพระภาดาของเรา ถ้าเราจะรออยู่จนพระบิดานี้สวรรคต เราก็จักได้ราชสมบัติ เมื่อเวลาแก่ ราชสมบัติที่เราได้ในเวลาแก่นั้นจะมีประโยชน์อะไร เราจักให้ปลงพระชนม์พระบิดาเสียแล้ว จึงยึดเอาราชสมบัติ ดังนี้แล้วบอกเนื้อความนั้นให้พระโพธิสัตว์ทราบ.

    พระโพธิสัตว์จึงทูลห้ามว่า ข้าแต่ท่านสหาย ธรรมดาว่า ปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมหนัก เป็นทางแห่งนรก ใครๆ ไม่อาจจะทำกรรมอันนี้ได้ ขอพระองค์อย่าได้ทรงกระทำเลย.

    ท่านอุปราชนั้นตรัสอุบายวิธีนั้นบ่อยๆ เข้าก็ถูกพระโพธิสัตว์ทูลทัดทานไว้ถึง ๓ ครั้ง จึงเปลี่ยนไปปรึกษากับพวกคนรับใช้ใกล้ชิด. คนเหล่านั้นทูลรับรองแล้ว ก็คอยมองหาอุบายที่จะลอบปลงพระชนม์พระราชา.

    พระโพธิสัตว์ทราบถึงพฤติการณ์นั้นจึงได้แต่คิดว่า เราจักไม่อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกับคนพาลนี้เด็ดขาด ดังนี้แล้ว จึงมิได้อำลามารดาบิดาเลย ออกไปทางประตูใหญ่แล้ว เข้าไปยังป่าหิมวันต์ บวชเป็นฤๅษี บำเพ็ญฌานและอภิญญาให้บังเกิดขึ้นแล้ว มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร เป็นอยู่อย่างผาสุก. ในขณะเดียวกันนั้น ทางฝ่ายพระราชกุมารก็ใช้ให้คนฆ่าพระบิดาแล้ว เสวยอิสริยยศอันยิ่งใหญ่.

    พวกกุลบุตรทั้งหลายเป็นอันมาก พอทราบข่าวว่าสังกิจจกุมารบวชเป็นฤๅษีแล้ว จึงพากันออกบวชในสำนักแห่งสังกิจจดาบสนั้น. พระสังกิจจฤๅษีนั้นมีหมู่ฤๅษีเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว อยู่ในหิมวันตประเทศนั้น. แม้ดาบสทั้งหมดก็พลอยได้สมบัติด้วยเหมือนกัน.

    ฝ่ายพระราชา ครั้นให้คนฆ่าพระบิดาแล้ว ก็เสวยความสุขสบายในราชสมบัติ ตลอดกาลเวลามีประมาณเล็กน้อยเท่านั้น ต่อแต่นั้นมา ก็สะดุ้งหวาดกลัวไม่ได้ความสบายพระทัย ได้เป็นเหมือนถึงกรรมกรณ์ในนรก.

    ท้าวเธอทรงระลึกถึงพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงดำริว่า สหายของเราได้ห้ามปรามแล้วว่า ปิตุฆาตกรรมเป็นกรรมอันหนักมาก เมื่อเขาไม่สามารถจะให้เราเชื่อถือถ้อยคำของตนได้ จึงแสดงตนให้หมดโทษ แล้วหลบไปเสีย ถ้าเขาจักอยู่ในที่นี้ไซร้ คงจักไม่ยอมให้เรากระทำปิตุฆาตกรรมเป็นแน่ พึงนำภัยแม้นี้ของเราไปเสีย เดี๋ยวนี้เขาอยู่ในที่ไหนหนอ ถ้าเรารู้ที่อยู่ของเขาก็จะได้ให้คนไปเรียกมา ใครกันหนอจะพึงบอกที่อยู่ของเขาให้แก่เราได้.

    ตั้งแต่บัดนั้นมา ท้าวเธอก็ตรัสสรรเสริญคุณของพระโพธิสัตว์แต่อย่างเดียว ทั้งภายในพระราชวังและในราชสภา.

    ครั้นกาลล่วงไปนานแล้วอย่างนั้น พระโพธิสัตว์นั้นจึงคิดว่า พระราชาทรงระลึกถึงเรา เราควรไปในราชสำนักนั้น แล้วแสดงธรรมแก่ท้าวเธอ ทำท้าวเธอให้หายหวาดกลัว ดังนี้แล้ว อยู่ในหิมวันต์ได้ ๕๐ ปี มีพระดาบส ๕๐๐ เป็นบริวาร พากันมาโดยทางอากาศ ลงในอุทยานชื่อทายปัสสะ มีหมู่ฤาษีเป็นบริวารนั่งอยู่ ณ แผ่นศิลา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 พฤศจิกายน 2012
  12. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    (ต่อ)

    คนเฝ้าสวนเห็นหมู่ฤๅษีนั้น จึงถามว่า ท่านผู้เจริญขอรับ ก็ท่านผู้เป็นศาสดาของคณะมีนามว่ากระไร.

    พอเขาได้ฟังว่า ชื่อว่าสังกิจจบัณฑิต ดังนี้ แม้ตัวเขาเองก็จำได้ จึงได้เรียนให้ทราบว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงรออยู่ในที่นี้จนกว่า ข้าพเจ้าจะทูลเชิญพระราชาให้เสด็จมา พระราชาของพวกข้าพเจ้าทรงมีพระประสงค์จะพบพระคุณเจ้า ดังนี้ ไหว้แล้วจึงรีบเข้าไปยังพระราชวัง กราบทูลแด่พระราชาว่า พระโพธิสัตว์นั้นมาแล้ว.

    พระราชาเสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์นั้น ทรงกระทำสักการะบูชาอันเหมาะสมที่พระองค์จะพึงทำถวายแล้ว จึงตรัสถามปัญหา.

    พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
    ลำดับนั้น คนเฝ้าสวนเห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นจอมทัพประทับนั่งอยู่ ได้กราบทูลท้าวเธอว่า พระสังกิจจฤๅษีที่พระองค์ทรงพระกรุณา ซึ่งยกย่องกันว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤๅษีทั้งหลาย มาถึงแล้ว ขอเชิญพระองค์รีบเสด็จออกไปพบ ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่โดยเร็วเถิด

    ก็ลำดับนั้น พระราชาผู้จอมทัพอันหมู่มิตรและอำมาตย์แวดล้อมแล้ว เสด็จขึ้นรถอันเทียมด้วยม้าอาชาไนยรีบเสด็จไป พระราชผู้ทรงบำรุงแว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ทรงเปลื้องเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง คือ พัดวาลวีชนี อุณหิส พระขรรค์ เศวตฉัตร และฉลองพระบาท ทรงเก็บวางไว้แล้ว เสด็จลงจากรถ ทรงดำเนินเข้าไปหาท่านสังกิจจฤๅษี ผู้นั่งอยู่ในพระราชอุทยานอันมีนามว่า ทายปัสสะ

    ครั้นเสด็จเข้าไปหาแล้ว ก็ทรงบันเทิงอยู่กับฤๅษี ครั้นทรงสนทนาปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นประทับนั่งแล้ว ลำดับนั้น ได้ทรงสำคัญกาลอยู่ แต่นั้นทรงปฏิบัติ เพื่อจะตรัสถามถึงกรรมอันเป็นบาป จึงตรัสว่า

    ข้าพเจ้าขอถาม ท่านสังกิจจฤๅษีผู้ได้รับยกย่องว่า ได้ดีแล้วในหมู่ฤๅษีทั้งหลาย อันหมู่ฤๅษีทั้งหลายห้อมล้อมนั่งอยู่ ในทายปัสสะอุทยานว่า

    นรชนผู้ประพฤติล่วงธรรม (เหมือน) ข้าพเจ้าประพฤติล่วงธรรมแล้ว จะไปสู่คติอะไรในปรโลก ข้าพเจ้าถามแล้ว ขอได้โปรดบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ความว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คนเฝ้าสวนนั้น เห็นพระราชาประทับนั่งในราชสภา จึงกราบทูลให้พระองค์ได้ทรงทราบแล้ว.
    บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า กราบทูลให้ทรงทราบถึงผู้ที่พระองค์ทรงรำพันถึง.
    บทว่า ยสฺสาสิ ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์ทรงเอ็นดู มีพระหฤทัยอ่อนโยนแก่ท่านผู้ใด. อธิบายว่า พระองค์ทรงรำพันถึงคุณของท่านผู้ใดอยู่เนืองๆ ท่านผู้นั้น คือสังกิจจฤๅษีนี้ที่ยกย่องกันว่า เป็นผู้ได้ดีแล้วในหมู่ฤๅษีทั้งหลายมาถึงแล้วโดยลำดับ มีหมู่ฤๅษีห้อมล้อมนั่งอยู่บนแผ่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระองค์ ดูงดงามเปรียบปานรูปทองคำ ฉะนั้น.
    บทว่า ตรมานรูโป ความว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้ไม่คลุกคลีในตระกูล หรือว่าในหมู่คณะ เมื่อพระองค์เสด็จไปยังมิทันได้ถึง ก็เกรงว่าจะหลีกไปเสียก่อน เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรีบเสด็จออกไปพบ ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ เพราะท่านแสวงหาคุณมีศีลเป็นต้นอันใหญ่ยิ่ง.
    บทว่า ตโต ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราชาพระองค์นั้นพอได้ทรงสดับถ้อยคำของคนเฝ้าสวนนั้นแล้ว ก็ทรงรีบร้อนเสด็จไปในลำดับแห่งคำกราบทูลของคนเฝ้าสวนนั้นทันที.
    บทว่า นิกฺขิปฺป ความว่า ได้ยินว่า พระราชาพระองค์นั้น พอเสด็จถึงประตูพระราชอุทยาน ก็ทรงฉุกคิดขึ้นว่า ธรรมดาว่า บรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรเคารพ เราไม่ควรไปยังสำนักของท่านสังกิจจดาบส ด้วยทั้งเพศที่สูงสุด ท้าวเธอจึงได้นำออกเสียซึ่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่างเหล่านี้ คือ พัดวาลวีชนีมีด้ามเป็นทองคำประดับด้วยแก้วมณี ๑ แผ่นอุณหิสที่ทำด้วยทองคำ ๑ พระขรรค์มงคลที่หุ้มห่อไว้ดีแล้ว ๑ เศวตฉัตร ๑ ฉลองพระบาททองคำ ๑ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทรงเปลื้องแล้ว.
    บทว่า ปฏิจฺฉทํ ความว่า ทรงเก็บเครื่องราชกกุธภัณฑ์นั้นนั่นแลเสีย คือทรงมอบไว้ในมือของผู้รักษาเรือนคลัง.
    บทว่า ทายปสฺสสฺมึ ได้แก่ ในอุทยานอันมีชื่ออย่างนั้น.
    บทว่า อถ กาลํ อมญฺญถ ความว่า ลำดับนั้น พระองค์ทรงทราบว่า บัดนี้เป็นเวลาที่จะถามปัญหาได้ แต่ในบาลีว่า ยถากาลํ ดังนี้. อธิบายว่า พระองค์ทรงสำคัญการถามปัญหา โดยสมควรแก่กาลที่พระองค์เสด็จมาแล้ว.
    บทว่า ปฏิปชฺชถ คือ ปฏิบัติแล้ว.
    บทว่า เปจฺจ ความว่า ละไปแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง คำว่าละไปแล้วนั้นเป็นชื่อของปรโลก เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายถึงปรโลก.
    บทว่า มยา ความว่า พระราชาตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ประพฤติล่วงสุจริตธรรมแล้ว คือได้กระทำปิตุฆาตกรรมแล้ว ขอท่านจงบอกเนื้อความนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิดว่า บุคคลผู้ฆ่าบิดาย่อมไปสู่สุคติอะไร คือย่อมไหม้ในนรกขุมไหน.
    พระโพธิสัตว์ได้สดับคำนั้นแล้วจึงทูลว่า ขอถวายพระพร ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงตั้งพระทัยสดับเถิด แล้วจึงได้ถวายโอวาทเป็นอันดับแรก.
     
  13. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    (ต่อ)

    พระศาสดา เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า
    สังกิจจฤๅษีได้กล่าวตอบพระราชา ผู้ทรงบำรุงแว่นแคว้นของชาวกาสีให้เจริญ ประทับนั่งอยู่ในทายปัสสะอุทยานว่า ขอถวายพระพร ขอมหาบพิตรทรงฟังอาตมภาพ ถ้าเมื่อบุคคลเว้นทางผิด ทำตามคำของบุคคลผู้บอกทางถูกให้ โจรผู้เป็นดุจเสี้ยนหนาม ก็ไม่พึงพบหน้าของบุคคลนั้น. เมื่อบุคคลปฏิบัติอธรรม แต่ถ้ากระทำตามคำของบุคคลผู้พร่ำสอนธรรม บุคคลนั้นไม่พึงไปสู่ทุคติเลย.

    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปเถน ได้แก่ หนทางที่พวกโจรซ่องสุมกันอยู่. บทว่า มคฺคมนุสาสติ ความว่า บอกหนทางอันเกษมให้. บทว่า นาสฺส มคฺเคยฺย กณฺฏโก ความว่า หนาม คือพวกโจรไม่พึงเห็นหน้าของบุรุษผู้ทำตามโอวาทนั้นตามหนทางเลย. บทว่า โย ธมฺมํ คือ ผู้บอกสุจริตธรรมให้. บทว่า น โส ความว่า บุรุษนั้นไม่พึงถึงทุคติชนิดต่างๆ มีนรกเป็นต้น.

    ดูก่อนมหาบพิตร จริงอยู่ อธรรมเป็นเช่นกับหนทางที่ผิด สุจริตธรรมเป็นเช่นกับหนทางอันเกษม ก็พระองค์ เมื่อกาลก่อนได้รับสั่งแก่อาตมภาพว่า
    เราจักปลงพระชนม์พระบิดาแล้ว จักเป็นพระราชาเอง ถึงถูกอาตมภาพคัดค้านห้ามไว้แล้ว ก็มิได้เชื่อถ้อยฟังคำของอาตมภาพเลย ฆ่าพระบิดาแล้ว ทรงเศร้าโศกอยู่ในบัดนี้ ธรรมดาว่า บุคคลผู้ไม่ทำตามโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ก็เหมือนบุคคลผู้ดำเนินไปในหนทางที่มีโจร ย่อมถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวงแล.

    พระโพธิสัตว์ ครั้นได้ถวายโอวาทแด่พระราชาพระองค์นั้นอย่างนี้แล้ว
    เมื่อจะแสดงธรรมชั้นสูงขึ้นไป จึงทูลว่า
    ขอถวายพระพร ธรรมเป็นทางถูก ส่วนอธรรมเป็นทางผิด อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อมส่งให้ถึงสุคติ นรชนผู้ประพฤติอธรรม มีความเป็นอยู่ไม่สม่ำเสมอ ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไปสู่คติใด อาตมภาพจะกล่าวคติคือนรกเหล่านั้น ขอพระองค์ทรงสดับคำของอาตมภาพเถิด.

    นรก ๘ ขุมเหล่านี้ คือ สัญชีวนรก ๑ กาฬสุตตนรก ๑ สังฆาฏนรก ๑ โรรุวนรก ๑ มหาโรรุวนรก ๑ ต่อมาก็ถึงมหาอเวจีนรก ๑ ตาปนนรก ๑ ปตาปนนรก ๑ อันบัณฑิตทั้งหลายกล่าวไว้แล้ว ก้าวล่วงได้ยาก เกลื่อนกล่นไปด้วยเหล่าสัตว์ผู้มีกรรมหยาบช้า

    ก็เฉพาะนรกขุมหนึ่งๆ มีอุสสทนรก ๑๖ ขุม เป็นที่ทำบุคคลผู้กระด้างให้เร่าร้อนน่ากลัว มีเปลวเพลิงรุ่งโรจน์ มีภัยใหญ่ ขนลุกขนพองน่าสะพรึงกลัว มีภัยรอบข้าง เป็นทุกข์ มี ๔ มุม ๔ ประตู จัดแบ่งไว้เป็นส่วนๆ มีกำแพงเหล็กกั้นโดยรอบ มีฝาเหล็กครอบ ภาคพื้นของนรกเหล่านั้นล้วนแต่เป็นเหล็กแดงลุกโพลง ประกอบด้วยเปลวไฟลุกแผ่ไปตลอดที่ ๑๐๐ โยชน์โดยรอบตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

    สัตว์ทั้งหลายมีเท้าในเบื้องบน มีศีรษะในเบื้องต่ำตกลงไปในนรกนั้น สัตว์เหล่าใดกล่าวล่วงเกินฤๅษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้ว ผู้มีตบะ สัตว์เหล่านั้น ผู้มีความเจริญอันขจัดแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรก เหมือนปลาที่ถูกเฉือนให้เป็นส่วนๆ ฉะนั้น

    สัตว์ทั้งหลายผู้มีปกติกระทำกรรมอันหยาบช้า มีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในข้างนอก เป็นนิตย์ แสวงหาประตูออกจากนรก ก็ไม่พบประตูที่จะออก ตลอดปีนับไม่ถ้วน สัตว์เหล่านั้นวิ่งไปทางประตูด้านหน้า จากประตูด้านหน้า วิ่งกลับมาทางประตูด้านหลัง วิ่งไปทางประตูด้านซ้าย จากประตูด้านซ้าย วิ่งกลับมาทางประตูด้านขวา วิ่งไปถึงประตูใดๆ ประตูนั้นก็ปิดเสีย

    สัตว์ทั้งหลายผู้ไปสู่นรก ย่อมประคองแขนคร่ำครวญ เสวยทุกข์มิใช่น้อย นับเป็นหลายๆ พันปี เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่ควรรุกรานท่านที่เป็นคนดี ผู้สำรวม มีตบธรรม ซึ่งเป็นดุจอสรพิษมีเดชกำเริบร้ายล่วงได้ยาก ฉะนั้น.

    พระเจ้าอัชชุนะผู้เป็นใหญ่ในแว่นแคว้นเกตกะ มีพระกายกำยำ เป็นนายขมังธนู มีพระหัตถ์ตั้งพัน มีมูลอันขาดแล้ว เพราะประทุษร้ายพระฤๅษีโคตมโคตร

    ฝ่ายพระเจ้าทัณฑกีได้เอาธุลีโปรยลงรดกีสวัจฉฤๅษี ผู้หาธุลีมิได้ พระราชาพระองค์นั้นถึงแล้วซึ่งความพินาศ ดุจต้นตาลขาดแล้วจากราก ฉะนั้น พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมาตังคฤๅษี ผู้เรืองยศ รัฐมณฑลของพระเจ้าเมชฌะพร้อมด้วยบริษัท ก็สูญสิ้นไปในครั้งนั้น ชาวเมืองอันธกวินทัยประทุษร้ายกัณหทีปายนฤๅษี โดยช่วยกันเอาไม้พลองรุมตีจนตาย ก็ไปเกิดในยมสาธนนรก ส่วนพระเจ้าเจติยราชนี้ได้ประทุษร้ายกปิลดาบส แต่ก่อนเคยเหาะเหินเดินอากาศได้ ภายหลังเสื่อมสิ้นฤทธิ์ ถูกแผ่นดินสูบ ถึงมรณกาล

    เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิตทั้งหลายจึงไม่สรรเสริญการลุอำนาจแห่งฉันทาคติเป็นต้น บุคคลไม่ควรเป็นผู้มีจิตประทุษร้าย พึงกล่าววาจาอันประกอบด้วยสัจจะ ถ้าว่า นรชนผู้ใดมีใจประทุษร้าย เพ่งเล็งท่านผู้รู้ ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ นรชนผู้นั้นย่อมไปสู่นรกเบื้องต่ำ.

    ชนเหล่าใดพยายามกล่าววาจาหยาบคาย บริภาษบุคคลผู้เจริญทั้งหลาย ชนเหล่านั้นไม่ใช่เหล่ากอ ไม่ใช่ทายาท เป็นเหมือนต้นตาลมีรากอันขาดแล้ว อนึ่ง ผู้ใดฆ่าบรรพชิตผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ผู้นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรก ตลอดกาลนาน.

    อนึ่ง พระราชาพระองค์ใดตั้งอยู่ในอธรรม กำจัดชาวแว่นแคว้น ทำชาวชนบทให้เดือดร้อน สิ้นพระชนม์ไปแล้ว จะต้องหมกไหม้อยู่ในตาปนนรกในโลกหน้า และพระราชาพระองค์นั้นจะต้องหมกไหม้อยู่ตลอดแสนปีทิพย์ อันกองเพลิงห้อมล้อมเสวยทุกขเวทนา เปลวไฟมีรัศมีซ่านออกจากกายของสัตว์นั้น สรรพางค์กายพร้อมทั้งปลายขนและเล็บของสัตว์ ผู้มีไฟเป็นภักษา มีเปลวไฟเป็นอันเดียวกัน สัตว์นรกมีตัวถูกไฟไหม้ ทั้งข้างในและข้างนอกอยู่เป็นนิตย์ เป็นผู้อันทุกข์เบียดเบียน ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ เหมือนช้างถูกนายหัตถาจารย์แทงด้วยขอ ฉะนั้น.

    ผู้ใดเป็นคนต่ำช้า ฆ่าบิดาเพราะความโลภ หรือเพราะความโกรธ ผู้นั้นต้องหมกไหม้อยู่ในกาฬสุตตนรกสิ้นกาลนาน บุคคลผู้ฆ่าบิดาเช่นนั้น ต้องหมกไหม้อยู่ในโลหกุมภีนรก นายนิรยบาลทั้งหลายเอาหอกแทงสัตว์นรกนั้นผู้ถูกไฟไหม้อยู่จนไม่มีหนัง ทำให้ตาบอด ให้กินมูตรกินคูถ กดสัตว์นรกเช่นนั้น ให้จมลงในน้ำแสบ

    นายนิรยบาลทั้งหลายให้สัตว์นรกกินก้อนคูถที่ร้อนจัด และก้อนเหล็กแดงอันลุกโพลง ให้ถือผาลทั้งยาวทั้งร้อนสิ้นกาลนาน งัดปากให้อ้าแล้วเอาเชือกผูกไว้ ยัดก้อนเหล็กแดงเข้าไปในปาก ฝูงสุนัขแดง ฝูงสุนัขด่าง ฝูงแร้ง ฝูงกาและฝูงนกตระกรุม ล้วนมีปากเป็นเหล็ก ต่างมารุมจิกกัดลิ้นให้ขาดแล้ว กินลิ้นอันมีเลือดไหล เหมือนกินของอันเป็นเดนเต็มไปด้วยเลือด ฉะนั้น

    นายนิรยบาลเที่ยวเดินทุบตีสัตว์นรกผู้ฆ่าบิดานั้น ซึ่งมีร่างกายอันแตกไปทั่ว เหมือนผลตาลที่ถูกไฟไหม้ จริงอยู่ ความยินดีของนายนิรยบาลเหล่านั้น เป็นการเล่นสนุก แต่สัตว์นรกต้องได้รับทุกข์ คนผู้ฆ่าบิดาเหล่าใดเหล่าหนึ่งในโลกนี้ ต้องอยู่ในนรกเช่นนั้น.

    ก็บุตรฆ่ามารดาจากโลกนี้แล้ว ต้องไปสู่ที่อยู่แห่งพระยายม ย่อมเข้าถึงความทุกข์อย่างยิ่ง ด้วยผลแห่งกรรมของตน พวกนายนิรยบาลที่ร้ายกาจ ย่อมบีบคั้นสัตว์ผู้ฆ่ามารดา ด้วยผาลเหล็กแดงบ่อยๆ ให้สัตว์นรกดื่มกินโลหิตที่เกิดแต่ตน อันไหลออกจากกายของตน ร้อนดุจทองแดงที่ละลายคว้างบนแผ่นดิน สัตว์นรกนั้นลงไปสู่ห้วงน้ำเช่นกับหนองและเลือด น่าเกลียดดังซากศพเน่า มีกลิ่นเหม็นดุจก้อนคูถ หมู่หนอนในห้วงน้ำนั้น มีกายใหญ่ มีปากเป็นเหล็กแหลม ทำลายผิวหนัง ชอนไชไปในเนื้อและเลือด กัดกินสัตว์นรกนั้น ก็สัตว์นั้นถึงนรกนั้นแล้ว จมลงไปประมาณชั่วร้อยบุรุษ ศพเน่าเหม็นฟุ้งไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ จริงอยู่ แม้จักษุของคนผู้มีจักษุ ย่อมคร่ำคร่า เพราะกลิ่นนั้น ดูก่อนพระเจ้าพรหมทัต บุคคลผู้ฆ่ามารดา ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้.

    พวกหญิงผู้รีดลูกย่อมก้าวล่วงลำธารนรกอันคมแข็ง ที่ก้าวล่วงได้แสนยาก ดุจคมมีดโกน แล้วตกไปสู่แม่น้ำเวตรณีที่ไปได้ยาก ต้นงิ้วทั้งหลายล้วนแต่เป็นเหล็กมีหนาม ๑๖ องคุลี มีกิ่งห้อยย้อยปกคลุมแม่น้ำเวตรณี ที่ไปได้ยากทั้ง ๒ ฟาก สัตว์นรกเหล่านั้น มีตัวสูงโยชน์หนึ่งถูกไฟที่เกิดเองแผดเผา มีเปลวรุ่งเรืองยืนอยู่ ดุจกองไฟตั้งอยู่ที่ไกล ฉะนั้น.

    หญิงผู้ประพฤตินอกใจสามีก็ดี ชายที่คบหาภรรยาผู้อื่นก็ดี ต้องตกอยู่ในนรกอันเร่าร้อนมีหนามคม สัตว์นรกเหล่านั้นถูกนายนิรยบาลทิ่มแทงด้วยอาวุธ กลับเอาศีรษะลง ตกลงมานอนอยู่ ถูกทิ่มแทงด้วยหลาวเป็นอันมาก ตื่นอยู่ตลอดกาลทุกเมื่อ ครั้นพอรุ่งสว่าง นายนิรยบาลก็ให้สัตว์นรกนั้น เข้าไปสู่โลหกุมภีอันใหญ่ เปรียบดังภูเขามีน้ำเสมอด้วยไฟอันร้อน บุคคลผู้ทุศีล ถูกโมหะครอบงำ ย่อมเสวยกรรมของตน ที่ตนเองกระทำชั่วไว้ในปางก่อน ตลอดวันตลอดคืนด้วยประการฉะนี้.

    อนึ่ง ภรรยาใดที่เขาช่วยมาด้วยทรัพย์ ย่อมดูหมิ่นสามี แม่ผัวพ่อผัว หรือพี่ผัวน้องผัว นายนิรยบาลเอาเบ็ดมีสายเกี่ยวปลายลิ้นของหญิงนั้น ฉุดคร่ามา สัตว์นรกนั้นเห็นลิ้นของตนซึ่งยาวประมาณ ๑ วา เต็มไปด้วยหมู่หนอน ไม่อาจอ้อนวอนนายนิรยบาล ย่อมตายไปหมกไหม้ในตาปนนรก.

    พวกคนฆ่าแกะ ฆ่าสุกร ฆ่าปลาดักเนื้อ พวกโจร คนฆ่าโค พวกพราน พวกคนผู้กระทำคุณในเหตุมิใช่คุณ (คนส่อเสียด) ถูกนายนิรยบาลเบียดเบียนด้วยหอกเหล็ก ฆ้อนเหล็ก ดาบและลูกศร พุ่งหัวให้ตกลงสู่แม่น้ำแสบ คนทำคดีโกง ถูกนายนิรยบาลทุบตีด้วยฆ้อนเหล็ก ทั้งเวลาเย็นเวลาเช้า แต่นั้น ย่อมกินอาเจียนของสัตว์นรกเหล่าอื่น ผู้ได้รับความทุกข์ทุกๆ เมื่อ ฝูงกาบ้าน ฝูงสุนัข ฝูงแร้ง ฝูงกาป่า ล้วนมีปากเหล็ก ต่างพากันรุมจิกกัดกินสัตว์นรก ผู้กระทำกรรมอันหยาบช้า ดิ้นรนอยู่ ชนเหล่าใดเป็นอสัตบุรุษ อันธุลีปกปิดให้เนื้อชนกันจนตายก็ดี ให้นกตีกันจนตายก็ดี ชนเหล่านั้นต้องไปตกอุสสทนรก.


    บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺโม ปโถ ความว่า ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการเป็นทางที่ดำเนินไปสู่สุคติ เป็นทางเกษม ไม่มีภัยเฉพาะหน้า.
    บทว่า วิสมชีวิโน คือ สำเร็จการเลี้ยงชีพโดยอธรรม.
    บทว่า นิรเย ความว่า อาตมภาพจะกล่าวนรกที่บังเกิดแก่สัตว์เหล่านี้แด่พระองค์.
    บทว่า สุโณหิ เม ความว่า พระมหาสัตว์ แม้ถูกพระราชาตรัสถามถึงนรกที่พวกชนผู้ฆ่าบิดาบังเกิดเกล้า ก็มิได้แสดงนรกนั้นก่อนแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ เพื่อจะแสดงมหานรก ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม.
    ถามว่า เพราะเหตุไร?

    (ต่อ) อรรถกถา สังกิจจชาดก หน้าที่ 2
     
  14. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    <embed src="http://www.youtube.com/v/hk82U7u_D-4?version=3&hl=th_TH&rel=0&autoplay=1" type="application/x-shockwave-flash" width="250" height="22" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed>
     
  15. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    "อิณา ทานัง ทุกขัง โลเก"

    อิณสูตร

    [๓๑๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็น
    คนจน เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า
    อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ

    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ย่อมกู้ยืม แม้การกู้ยืม
    ก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ กู้ยืมแล้วย่อมรับใช้ดอกเบี้ย
    แม้การรับใช้ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ รับใช้ดอกเบี้ยแล้ว
    ไม่ใช่ดอกเบี้ยตามกำหนดเวลา เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมทวงเขา แม้การทวงก็เป็นทุกข์
    ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ทวงไม่ให้
    เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติดตามเขา แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกาม
    ในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้ ถูกเจ้าหนี้ติดตามทันไม่ให้
    ทรัพย์ เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมจองจำเขา แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภค
    กามในโลก ฯ
    ภิ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ความเป็นคนจนก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภค
    กามในโลก แม้การกู้ยืมก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การรับใช้
    ดอกเบี้ยก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก แม้การทวงก็เป็นทุกข์ของบุคคล
    ผู้บริโภคกามในโลก แม้การติดตามก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก
    แม้การจองจำก็เป็นทุกข์ของบุคคลผู้บริโภคกามในโลก ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนไม่มีศรัทธาในกุศลธรรม ไม่มีหิริ
    ในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะในกุศลธรรม ไม่มีปัญญา
    ในกุศลธรรม บุคคลนี้เรียกว่า เป็นคนจนเข็ญใจยากไร้ในวินัยของพระอริยเจ้า
    ฉันนั้นเหมือนกัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล เมื่อไม่มีศรัทธา
    ในกุศลธรรม ไม่มีหิริในกุศลธรรม ไม่มีโอตตัปปะในกุศลธรรม ไม่มีวิริยะใน
    กุศลธรรม ไม่มีปัญญาในกุศลธรรม ย่อมประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
    เรากล่าวการประพฤติทุจริตของเขาว่า เป็นการกู้ยืม เขาย่อมตั้งความปรารถนา
    ลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดกายทุจริตนั้น ย่อมปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่า
    รู้จักเรา ย่อมดำริ ย่อมกล่าววาจา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่นอย่า
    รู้จักเรา เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดวจีทุจริตนั้น ฯลฯ
    เขาย่อมตั้งความปรารถนาลามก เพราะเหตุแห่งการปกปิดมโนทุจริตนั้น ย่อม
    ปรารถนาว่า ชนเหล่าอื่นอย่ารู้จักเรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ชนเหล่าอื่น
    อย่ารู้จักเรา เรากล่าวเหตุการปกปิดทุจริตของเขานั้นว่า เป็นการรับใช้ดอกเบี้ย
    เพื่อนพรหมจรรย์ผู้มีศีลเป็นที่รักได้กล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านผู้มีอายุรูปนี้ เป็น
    ผู้กระทำอย่างนี้ เป็นผู้ประพฤติอย่างนี้ เรากล่าวการถูกว่ากล่าวของเขาว่า เป็นการ
    ทวงดอกเบี้ย อกุศลวิตกที่เป็นบาปประกอบด้วยความเดือดร้อน ย่อมครอบงำเขา
    ผู้อยู่ป่า ผู้อยู่โคนไม้ หรือผู้อยู่ในเรือนว่าง เรากล่าวการถูกอกุศลวิตกครอบงำนี้
    ของเขาว่า เจ้าหนี้ติดตามเขา คนจนเข็ญใจยากไร้นั้นแล ครั้นประพฤติทุจริต
    ด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมถูกจองจำ ในเรือนจำ คือ นรก หรือ
    ในเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่พิจารณาเห็น
    เรือนจำอื่นเพียงแห่งเดียว ซึ่งร้ายกาจ เป็นทุกข์ กระทำอันตรายแก่การบรรลุ
    นิพพานซึ่งเป็นธรรมเกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ อย่างนี้ เหมือน
    เรือนจำ คือ นรก หรือเรือนจำ คือ กำเนิดดิรัจฉานเลย ฯ

    ความเป็นคนจน และการกู้ยืม เรียกว่าเป็นทุกข์ในโลก
    คนจนกู้ยืมเลี้ยงชีวิตย่อมเดือดร้อน เจ้าหนี้ทั้งหลายย่อมติด
    ตามเขา เพราะไม่ใช้หนี้นั้น เขาย่อมเข้าถึงแม้การจองจำ
    ก็การจองจำนั้น เป็นทุกข์ของชนทั้งหลายผู้ปรารถนาการได้
    กาม ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้ใดไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่
    มีโอตตัปปะ พอกพูนบาปกรรม กระทำกายทุจริต วจีทุจริต
    และมโนทุจริต ย่อมปรารถนา ย่อมดำริว่า คนเหล่าอื่น
    อย่ารู้จักเรา พอกพูนบาปกรรมในที่นั้นๆ อยู่ บ่อยๆ ด้วย
    กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ เราตถาคตย่อมกล่าวว่า เป็นทุกข์
    เหมือนอย่างนั้น เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความ
    ชั่วของตนอยู่ เป็นคนจน มีหนี้สิน เลี้ยงชีวิตอยู่ย่อมเดือด
    ร้อน ลำดับนั้น ความดำริที่มีในใจ เป็นทุกข์เกิดขึ้นเพราะ
    ความเดือดร้อนของเขา ย่อมติดตามเขาที่บ้าน หรือที่ป่า
    เขาผู้มีบาปกรรม มีปัญญาทราม ทราบความชั่วของตนอยู่
    ย่อมเข้าถึงกำเนิดดิรัจฉานบางอย่าง หรือถูกจองจำในนรก
    ก็การจองจำนั้นเป็นทุกข์ ที่นักปราชญ์หลุดพ้นไปได้ บุคคล
    ผู้ยังใจให้เลื่อมใส ให้ทานด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลาย ที่ได้มา
    โดยชอบธรรม ย่อมเป็นผู้ยึดถือชัยชนะไว้ได้ในโลกทั้งสอง
    ของผู้มีศรัทธาอยู่ครองเรือน คือ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลใน
    ปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพ การบริจาคของ
    คฤหัสถ์ดังกล่าวมานั้น ย่อมเจริญบุญ ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น
    มีใจประกอบด้วยหิริ มีโอตตัปปะ มีปัญญา และสำรวมใน
    ศีล ในวินัยของพระอริยเจ้า ผู้นั้นแลเราเรียกว่ามีชีวิตเป็น
    สุข ในวินัยของพระอริยเจ้า ฉันนั้นเหมือนกัน เขาได้ความ
    สุขที่ไม่มีอามิส ยังอุเบกขา (ในจตุตถฌาน) ให้ดำรงมั่น
    ละนิวรณ์ ๕ ประการ เป็นผู้ปรารภความเพียรเป็นนิตย์ บรรลุ
    ฌานทั้งหลาย มีเอกัคคตาจิตปรากฏ มีปัญญารักษาตัว มีสติ
    จิตของเขาย่อมหลุดพ้นโดยชอบ เพราะทราบเหตุในนิพพาน
    เป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะไม่ถือมั่น
    โดยประการทั้งปวง หากว่าเขาผู้มีจิตหลุดพ้นโดยชอบ คงที่
    อยู่ในนิพพาน เป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสเป็นเครื่องประกอบสัตว์
    ไว้ในภพ ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ
    ไซร้ ญาณนั้นแลเป็นญาณชั้นเยี่ยม ญาณนั้นเป็นสุขไม่มีสุข
    อื่นยิ่งกว่า ญาณนั้นไม่มีโศก หมดมัวหมองเป็นญาณเกษม
    สูงสุดกว่าความไม่มีหนี้ ฯ

    จบสูตร

    อิณสูตร

    อรรถกถาอิณสูตร
     
  16. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     
  17. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    วิสุทธิมรรค เล่ม ๑ ภาคสมาธิ ปริเฉทที่ ๓ กัมมัฏฐานคหณนิเทศ หน้าที่ ๑๕๕ - ๑๖๐

    อธิบายลักษณะกัลยาณมิตร
    อธิบายว่า ท่านผู้เป็นกัลยาณมิตรนั้น ย่อมเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา ๑ สมบูรณ์ด้วยศีล ๑ สมบูรณ์ด้วยสุตะ ๑ สมบูรณ์ด้วยจาคะ ๑ สมบูรณ์ด้วยวีริยะ ๑ สมบูรณ์ด้วยสติ ๑ และเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา ๑ คือย่อมเชื่อมั่นต่อความตรัสรู้ของพระตถาคตเจ้าและ เชื่อมั่นต่อกรรมและผลแห่งกรรม ด้วยศรัทธาสมบัติ ไม่ยอมปล่อยวางการแสวงหาประโยชน์ แก่สรรพสัตว์ทั้งหลายอันเป็นเหตุแห่งสัมมาสัมโพธิญาณ ด้วยศรัทธาสมบัตินั้น ย่อมเป็นที่รักเป็นที่น่าเคารพเป็นที่น่าสรรเสริญ เป็นผู้ทักท้วงตำหนิโทษว่ากล่าว เป็นผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำของสัตว์ทั้งหลายได้ ด้วยศีลสมบัติ เป็นผู้สามารถชี้แจงถ้อยคำอันลุ่มลึก ซึ่งประกอบด้วยสัจธรรม และปฏิจจสมุปปาทธรรมเป็นต้น ด้วยสุตสมบัติ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะ ด้วยจาคสมบัติ เป็นผู้เพียรพยายามในการปฏิบัติทั้งที่เป็นประโยชน์ตน และประโยชน์คนอื่น ด้วยวีริยสมบัติ เป็นผู้มีสติตั้งมั่นในทางดี ด้วยสติสมบัติ เป็นผู้มีจิตใจไม่คิดฟุ้ง มีจิตมั่นคงด้วยสมาธิสมบัติ และรู้แจ้งชัดไม่วิปริตผิดเพี้ยน ด้วยปัญญาสมบัติ ท่านผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเห็นปานนี้นั้น ย่อมสอดส่องมองเห็นคติแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม ด้วยสติรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และเป็นโทษของสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริง ด้วยปัญญา มีจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นโทษนั้น ด้วยสมาธิ ช่วยกำสิ่งที่เป็นโทษ พยายามชักจูงแนะนำ สัตว์ทั้งหลายในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ด้วยวีริยะ ฉะนี้

    กัลยาณมิตรตัวอย่าง
    ก็แหละ กัลยาณมิตรผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติทุก ๆ ประการนั้น คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยพระบาลีรับรองว่า-
    ดูก่อนอานันทะ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติความเกิดได้ ด้วยอาศัยกัลยาณมิตรคือเราตถาคตนั่นเทียว
    เพราะเหตุดังนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่นั้น การเรียนเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคนั้นนั่นแลเป็นประเสริฐที่สุด แต่เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานไปแล้ว ในบรรดาพระมหาสาวก ๘๐ องค์ องค์ใดยังมีชนมายุอยู่ การเรียนเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระมหาสาวกองค์นั้น ย่อมเป็นการสมควร เมื่อพระมหาสาวกนั้นไม่มีอยู่แล้ว ก็พึงเรียนเอาในสำนักของพระอรหันตขีณาสพองค์ที่ได้ฌานจตุกกนัยหรือฌานปัญจกนัย ด้วยพระกัมมัฏฐานบทที่ตนประสงค์จะเรียนเอานั้น แล้วเจริญวิปัสสนาซึ่งมีฌานเป็นปทัฏฐาน จนได้บรรลุถึงซึ่งความสิ้นสุดแห่งอาสวะกิเลสนั่นเถิด


    ถาม –ก็แหละ พระอรหันตขีณาสพนั้น ท่านประกาศตนให้ทราบหรือว่าท่านเป็นพระขีณาสพ ?
    ตอบ –จะต้องตอบทำไม เพราะพระอรหันตขีณาสพนั้น ท่านรู้ถึงภาวะที่ผู้จะทำความเพียรแล้วย่อมแสดงตนให้ทราบด้วยความอาจหาญและรื่นเริง โดยชี้ให้เห็นถึงภาวะแห่งการปฏิบัติไม่เป็นโมฆะ พระอัสสคุตตเถระรู้ว่า ภิกษุนี้เป็นผู้จะทำกัมมัฏฐาน ฉะนี้แล้ว ท่านปูลาดแผ่นหนังไว้บนอากาศแล้วนั่งขัดสมาธิอยู่บนแผ่นหนังนั้น บอกพระกัมมัฏฐานแก่ภิกษุผู้ปรารภพระกัมมัฏฐานแล้ว มิใช่หรือ ?

    เพราะเหตุฉะนั้น ถ้าโยคีบุคคลได้พระอรหันตขีณาสพ ข้อนั้นนับว่าเป็นบุญ
    แต่ถ้าหาไม่ได้ พึงเรียนเอาพระกัมมัฏฐานในสำนักของท่านผู้ทรงคุณสมบัติเหล่านี้
    โดยจากก่อนมาหลังคือ พระอนาคามี พระสกทาคามี พระโสดาบัน ปุถุชนผู้ได้ฌาน
    ท่านผู้ทรงจำปิฏกทั้งสาม ท่านผู้ทรงจำปิฏกสอง ท่านผู้ทรงจำปิฏกหนึ่ง
    แม้เมื่อท่านผู้ทรงจำปิฏกหนึ่งก็ไม่มี ท่านผู้ใดมีความชำนาญแม้เพียงสังคีติอันเดียว
    พร้อมทั้งอรรถกถา และเป็นผู้มีความละอายด้วย

    พึงเรียนกัมมัฏฐานในสำนักของท่านผู้นั้นเถิด ด้วยว่าบุคคลผู้มีลักษณะเห็นปานฉะนี้
    ชื่อว่าเป็นผู้รักษาประเพณี เป็นอาจารย์ผู้นับถือมติของอาจารย์ ไม่ใช่ผู้ถือมติของตนเองเป็นใหญ่

    เพราะเหตุฉะนี้แหละ พระเถระในปางก่อนทั้งหลาย จึงได้กล่าวประกาศไว้ถึง ๓ ครั้งว่า
    ท่านผู้มีความละอายจักรักษา, ท่านผู้มีความละอายจักรักษา, ท่านผู้มีความละอายจักรักษา ฉะนี้


    ก็แหละ ในบรรดากัลยาณมิตรเหล่านั้น กัลยาณมิตรที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เป็นอาทิ ที่ข้าพเจ้ากล่าวมาในตอนต้น ท่านย่อมบอกพระกัมมัฏฐานให้ได้เฉพาะแต่แนวทาง ที่ท่านได้บรรลุมาด้วยตนเองเท่านั้น ส่วนกัลยาณมิตรผู้เป็นพหุสูต เพราะเหตุที่พระบาลีและอรรถกถาอันเป็นอุปการะแก่กัมมัฏฐานเป็นสิ่งที่ท่านได้เข้าไปหาพระอาจารย์นั้น ๆ แล้วเรียนเอาอย่างขาวสะอาด ไม่มีข้อเคลือบแคลงสงสัยอยู่ ท่านจึงเลือกสรรเอาแต่สุตบทและเหตุอันคล้อยตามสุตบทซึ่งสมควรแก่กัมมัฏฐานนั้น ๆ จากนิกายนี้บ้างโน้นบ้าง แล้วเอามาปรับปรุงให้เป็นที่สะดวกสบายเหมาะสมแก่โยคีบุคคลผู้ที่ท่านจะให้กัมมัฏฐาน แสดงวิธีแห่งกัมมัฏฐานให้เห็นแนวทางอย่างกว้างขวาง เป็นดุจพญาช้างบุกไปในสถานที่รกชัฏ จึงจักบอกกัมมัฏฐาน
    เพราะเหตุฉะนั้น โยคีบุคคลพึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้กัมมัฏฐาน ซึ่งมีคุณสมบัติเห็นปานฉะนี้ ทำวัตรปฏิบัติแก่ท่านแล้ว พึงเรียนเอาพระกัมมัฏฐานเถิด

    ระเบียบเข้าหาอาจารย์ผู้กัลยาณมิตร
    แหละถ้าโยคีบุคคลได้กัลยาณมิตรนั้นในวัดเดียวกัน ข้อนั้นนับว่าเป็นบุญ แต่ถ้าหาไม่ได้ ท่านอยู่ ณ วัดใดก็พึงไป ณ ที่วัดนั้น และเมื่อไปนั้น อย่าล้างเท้า อย่าทาน้ำมัน อย่าสวมรองเท้า อย่ากั้นร่ม อย่าให้ศิษย์ช่วยถือทนานน้ำมันและน้ำผึ้งน้ำอ้อยเป็นต้น อย่าไปอย่างมีอันเตวาสิกห้อมล้อม แต่พึงไปอย่างนี้ คือ พึงทำคมิกวัตร (วัตรของผู้เตรียมจะไป) ให้เสร็จบริบูรณ์แล้วถือเอาบาตรและจีวรของตนด้วยตนเองไป เมื่อแวะพัก ณ วัดใด ๆ ใน

    ระหว่างทาง พึงทำวัตรปฏิบัติ ณ วัดนั้น ๆ ตลอดไป คือในเวลาเข้าไป พึงทำอาคันตุกวัตร ในเวลาจะออกมา พึงทำคมิกวัตร ให้บริบูรณ์ พึงมีเครื่องบริขารเพียงเล็กน้อยและมีความประพฤติอย่างเคร่งครัดที่สุด
    ก่อนแต่จะเข้าไปสู่วัดนั้น พึงให้ทำไม้ชำระฟันให้เป็นกัปปิยะสมควรแก่ที่จะใช้ได้เสียแต่ในระหว่างทาง แล้วพึงถือเข้าไป และอย่าได้ไปแวะพัก ณ บริเวณอื่น ด้วยตั้งใจว่าจะแวะพักสักครู่หนึ่ง ล้างเท้าทาน้ำมันเท้าเป็นต้นแล้วจึงจะไปสำนักของอาจารย์ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า ถ้าในวัดนั้นจะพึงมีพวกภิกษุที่ไม่ลงคลองกันกับอาจารย์นั้น ภิกษุเหล่านั้น ก็จะพึงซักถามถึงเหตุที่มาแล้ว ประกาศตำหนิติโทษของอาจารย์ให้ฟัง จะพึงก่อกวนให้เกิดความเดือดร้อนใจว่า ฉิบหายแล้วสิ ถ้าคุณมาสู่สำนักของภิกษุองค์นั้น ข้อนี้ก็จะพึงเป็นเหตุให้ต้องกลับไปเสียจากที่นั่นได้ เพราะฉะนั้น พึงถามถึงที่อยู่ของอาจารย์แล้วตรงไปยังที่นั้นเลยทีเดียว

    ระเบียบปฏิบัติต่ออาจารย์
    ถ้าแหละ แม้อาจารย์นั้นจะเป็นผู้อ่อนพรรษากว่า ก็อย่าพึงยินดีต่อการช่วยรับบาตรและจีวรเป็นต้น ถ้าท่านแก่พรรษากว่า พึงไปไหว้ท่านแล้วยืนคอยอยู่ก่อน พึงเก็บบาตรและจีวรไว้ตามที่ท่านแนะนำว่า “อาวุโส เก็บบาตรและจีวรเสีย” ถ้าปรารถนาอยากจะดื่มก็จงดื่มตามที่ท่านแนะนำว่า “อาวุโส นิมนต์ดื่มน้ำ” แต่อย่าพึ่งล้างเท้าทันทีตามที่ท่านแนะนำว่า “ล้างเท้าเสีย อาวุโส” เพราะถ้าเป็นน้ำที่พระอาจารย์ตักเอามาเอง ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมควร แต่เมื่อท่านแนะนำว่า “ล้างเถิด อาวุโส ฉันไม่ได้ตักมาเองดอก คนอื่นเขาตักมา” พึงไปนั่งล้างเท้า ณ โอกาสอันกำบังที่อาจารย์มองไม่เห็น หรือ ณ ส่วนข้างหนึ่งของวิหารอันเป็นที่ว่างเปล่า

    ถ้าแหละ ท่านอาจารย์หยิบเอาขวดน้ำมันสำหรับทามาให้ พึงลุกขึ้นรับโดยเคารพด้วยมือทั้งสอง เพราะถ้าไม่รับ ความสำคัญเป็นอย่างอื่นก็จะพึงมีแก่อาจารย์ว่า ภิกษุนี้ทำการสมโภคคือการใช้ร่วมกันให้กำเริบเสียหายตั้งแต่บัดนี้เทียว (รังเกียจการใช้สิ่งของร่วมกัน) แต่ครั้นรับแล้วอย่าพึงทาตั้งต้นแต่เท้าไป เพราะถ้าน้ำมันนั้น เป็นน้ำมันสำหรับทาตัวของพระอาจารย์แล้ว ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะฉะนั้น พึงทาศรีษะแล้วทาตามลำดับตัวเป็นต้นก่อน แต่เมื่อท่านแนะนำว่า “อาวุโส ทาเท้าก็ได้ น้ำมันนี้เป็นน้ำมันรักษาอวัยวะทั่วไป” พึงทาที่ศรีษะนิดหน่อยแล้วจึงทาเท้า ครั้นทาเสร็จแล้วพึงเรียนว่า “กระผมขออนุญาติเก็บขวดน้ำมันนี้ขอรับ” เมื่อท่านรับเองก็พึงมอบถวายคืน
    อย่าเพิ่งเรียนขอว่า “ขอท่านกรุณาบอกพระกัมมัฏฐานให้แก่กระผมด้วย” ตั้งแต่วันที่มาถึง แต่ถ้าอุปัฏฐากประจำของท่านอาจารย์มี พึงขออนุญาตกะเขาแล้วทำวัตรปฏิบัติแก่ท่านนับตั้งแต่วันที่สองไป ถ้าแม้ขอแล้วแต่เขาไม่ยอมอนุญาตให้ เมื่อได้โอกาสก็พึงทำทันที เมื่อทำวัตรปฏิบัติพึงจัดเอาไม้ชำระฟัน ๓ ชนิดเข้าไปวางไว้ คือ ชนิดเล็ก ชนิดกลาง และชนิดใหญ่ พึงตระเตรียมน้ำบ้วนปากและน้ำสรง ๒ ชนิด คือ น้ำเย็นและน้ำอุ่น แต่นั้นพึงสังเกตุไว้ ท่านอาจารย์ใช้ชนิดไหนถึง ๓ วัน ก็พึงจัดเฉพาะชนิดนั้นตลอดไป เมื่อท่านไม่ถือระเบียบแน่นอน ใช้ตามมีตามเกิด ก็พึงจัดไปไว้ตามที่ได้
    ธุระอะไรที่ข้าพเจ้าจะต้องพิจารณามากเล่า วัตรปฏิบัติโดยชอบอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แล้วฉันใด พึงทำวัตรปฏิบัติแม้นั้นให้ครบทุก ๆ อย่าง ซึ่งมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์มหาขันธกะวินัยปิฏก มีอาทิว่า –
    ภิกษุทั้งหลาย อันเตวาสิกพึงประพฤติปฏิบัติโดยชอบในพระอาจารย์ กิริยาที่ประพฤติปฏิบัติโดยชอบในพระอาจารย์นั้น ดังนี้ พึงลุกขึ้นแต่เช้าแล้วถอดรองเท้าเสีย ห่มจีวรเฉวียงบ่า ถวายไม้ชำระฟัน ถวายน้ำล้างหน้า ปูลาดอาสนะ ถ้ามีข้าวต้มพึงล้างภาชนะให้สะอาดแล้วน้อมข้าวต้มเข้าไปถวาย

    เมื่อโยคีบุคคลทำให้ท่านอาจารย์พอใจด้วยวัตรสมบัติอยู่โดยทำนองนี้ ตกถึงเวลาเย็น กราบท่านแล้ว เมื่อท่านอนุญาติให้ไปว่าไปได้ฉะนี้ จึงค่อยไป เมื่อใดท่านถามว่า “เธอมา ณ ที่นี้เพื่อประสงค์สิ่งใดหรือ ?” เมื่อนั้น พึงกราบเรียนเหตุที่มาให้ทราบ ถ้าท่านไม่ถามเลย แต่ก็ยินดีต่อวัตรปฏิบัติ ครั้นล่วงเลยมาถึง ๑๐ วันหรือปักษ์หนึ่งแล้ว แม้ถึงท่านจะอนุญาติให้ไป ก็อย่าพึ่งไป พึงขอให้ท่านให้โอกาสแล้ว พึงกราบเรียนถึงเหตุที่มา ให้ทราบสักวันหนึ่ง หรือพึงไปหาท่านให้ผิดเวลา เมื่อท่านถามว่า มาทำไม ? พึงฉวยโอกาสกราบเรียนถึงเหตุที่มา ถ้าท่านนัดหมายให้มาเช้า ก็พึงเข้าไปเช้าตามนัดนั่นแล
    ก็แหละ ถ้าตามเวลาที่นัดหมายนั้น โยคีบุคคลเกิดเสียดท้องด้วยโรคดีกำเริบก็ดี หรืออาหารไม่ย่อยเพราะไฟธาตุอ่อนก็ดี หรือโรคอะไรอย่างอื่นเบียดเบียนก็ดี พึงเรียนโรคนั้นให้ท่านอาจารย์ทราบตามความจริง แล้วกราบเรียนขอเปลี่ยนเวลาที่ตนสบาย แล้วพึงเข้าไปหาในเวลานั้น ทั้งนี้เพราะว่า ในเวลาที่ไม่สบายแม้ท่านอาจารย์จะบอกพระกัมมัฏฐานให้ก็ไม่สามารถที่จะมนสิการได้
    อรรถาธิบายพิสดารในหัวข้อสังเขปว่า พึงเข้าไปหากัลยาณมิตรผู้ให้พระกัมมัฏฐาน ยุติเพียงเท่านี้


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2012
  19. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    อรรถกถา พหุธาตุกสูตร



    อันตรธาน ๓
    เพราะชื่อว่า อันตรธานมี ๓ อย่าง คือ ปริยัติอันตรธาน ปฏิเวธอันตรธาน ปฏิบัติอันตรธาน. ในอันตรธาน ๓ นั้น ปิฏก ๓ ชื่อว่าปริยัติ. การแทงตลอดสัจจะ ชื่อว่า ปฏิเวธ. ปฏิปทา (เครื่องดำเนิน) ชื่อว่า ปฏิบัติ.
    ใน ๓ อย่างนั้น ปฏิเวธและปฏิบัติมีบ้าง ไม่มีบ้าง. เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ทรงปฏิเวธ ย่อมมีมากในกาลครั้งเดียว เป็นอันชี้นิ้วแสดงได้ชัดเจนว่า ภิกษุนี้เป็นปุถุชน. ขึ้นชื่อว่า ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ไม่ใช่จะมีได้ครั้งเดียวในทวีปนี้เท่านั้น. แม้ผู้บำเพ็ญการปฏิบัติทั้งหลาย บางคราวมีมาก บางคราวก็มีน้อย.
    ด้วยเหตุนี้ ปฏิเวธและปฏิบัติจึงชื่อว่ามีบ้าง ไม่มีบ้าง. แต่ว่าปริยัติ (ถือว่า) เป็นสำคัญของการดำรงอยู่แห่งพระศาสนา.
    พระผู้เป็นบัณฑิต ได้ศึกษาพระไตรปิฏกแล้ว ย่อมบำเพ็ญปฏิเวธและปฏิบัติให้บริบูรณ์. พระบรมโพธิสัตว์ของพวกเราทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๗ ให้เกิดในสำนักของอาฬารดาบส แล้วถามถึงบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านอาฬารดาบสบอกว่าไม่รู้. ต่อแต่นั้น พระองค์จึงได้เสด็จไปยังสำนักของอุทกดาบส เทียบเคียงคุณพิเศษที่ได้บรรลุแล้ว (กับท่าน) ได้เรียนถามถึงการบริกรรมเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ท่านดาบสก็บอกให้. ในลำดับแห่งคำพูดของท่านดาบสนั่นเอง พระบรมโพธิสัตว์ก็ทำเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นให้สำเร็จฉันใด ภิกษุผู้มีปัญญาก็ฉันนั้นเหมือนกัน ศึกษาปริยัติแล้วย่อมทำปฏิเวธและปฏิบัติ แม้ทั้งสองประการให้บริบูรณ์ได้. เพราะฉะนั้น เมื่อปริยัติยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่.

    อธิบายปริยัติอันตรธาน
    ก็เมื่อใดปริยัตินั้นอันตรธานหายไป เมื่อนั้นพระอภิธรรมจักเสื่อมก่อน. ในพระอภิธรรมนั้น คัมภีร์ปัฏฐานจะอันตรธานก่อนกว่าทุกคัมภีร์. คัมภีร์ธรรมสังคหะอันตรธานหายไปภายหลัง โดยลำดับ. เมื่อพระอภิธรรมปิฏกอันตรธานหายไปแล้ว แม้ปิฏกทั้งสองยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้.
    ในปิฏกเหล่านั้น เมื่อพระสุตตันตปิฏกจะอันตรธานหายไป อังคุตตรนิกายย่อมอันตรธานหายไปก่อน เริ่มแต่เอกาทสกนิบาตจนถึงเอกกนิบาต. ต่อจากนั้น สังยุตตนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่จักกเปยยาลสูตรจนถึงโอฆตรณสูตร. ต่อจากนั้น มัชฌิมนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่อินทริยภาวนาสูตรจนถึงมูลปริยายสูตร. ต่อจากนั้น ทีฆนิกายย่อมอันตรธานหายไป เริ่มแต่ทสุตตรสูตรจนถึงพรหมชาลสูตร.
    ปุจฉาคาถา (คือคาถาที่เป็นคำถาม) คาถาเดียวบ้าง สองคาถาบ้าง ยังอยู่ไปเป็นระยะเวลานาน แต่ไม่อาจทรงพระศาสนาไว้ได้เหมือน สัพพิยปุจฉา๑- และอาฬวกปุจฉา.
    ____________________________
    ๑- พม่า - สภิยปุจฉา

    ได้ยินว่า ระหว่างกาลทั้งหลายเหล่านี้อันมีในกาลพระกัสสปพุทธเจ้า ไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้.
    ก็เมื่อปิฏกทั้งสองแม้อันตรธานไปแล้ว แต่เมื่อพระวินัยปิฏกยังคงดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่ เมื่อปริวารและขันธกะทั้งหลายอันตรธานไปแล้ว เมื่ออุภโตวิภังค์ ยังดำรงอยู่ พระศาสนาก็ย่อมเป็นอันตั้งอยู่. เมื่ออุภโตวิภังค์อันตรธานไปแล้ว มาติกาแม้ยังดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมเป็นอันตั้งอยู่ได้. เมื่อมาติกาอันตรธานไปแล้ว ปาติโมกข์ การบรรพชาและอุปสมบทจักดำรงอยู่ พระศาสนาย่อมตั้งอยู่. เพศ (สมณะ) ยังดำเนินไปได้ระยะกาลยาวนาน. ก็วงศ์ของสมณะผู้ครองผ้าขาวไม่อาจดำรงพระศาสนาไว้ได้ จำเดิมแต่สมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า. พระศาสนาย่อมชื่อว่าเป็นอันเสื่อม จำเดิมแต่คนสุดท้ายที่แทงตลอดสัจจะและคนสุดท้ายที่ทำลายศีล. จำเดิมแต่นั้น ไม่ห้ามการเสด็จอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์อื่นแล.

     
  20. ☞

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +561
    ประเภทแห่งการถึงสรณะ

    ส่วนในประเภทแห่งการถึงสรณะ (การถึงสรณะมีกี่ประเภท) พึงทราบอธิบายต่อไป.
    การถึงสรณะมี ๒ คือ การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระ ๑ การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะ ๑.
    ในสองอย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระของบุคคลผู้เห็นสัจจะแล้ว เมื่อว่าโดยอารมณ์ย่อมมีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อว่าโดยกิจย่อมสำเร็จได้ในพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น เพราะตัดขาดกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะได้ในขณะแห่งมรรค.

    (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะของปุถุชน เมื่อว่าโดยอารมณ์ ย่อมมีพระพุทธคุณเป็นต้นเป็นอารมณ์ สำเร็จได้ด้วยการข่มกิเลสที่เป็นเหตุขัดขวางการถึงสรณะไว้ได้.

    การถึงสรณะนั้น เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น และสัมมาทิฏฐิที่มีศรัทธา (ในพระรัตนตรัยนั้น) เป็นพื้นฐานท่านเรียกว่า ทิฏฐุชุกรรม (การทำความเห็นให้ตรง) (ซึ่งอยู่) ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐.

    การถึงสรณะแบบนี้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (การถึง)
    ด้วยการมอบตน ๑
    ด้วยการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ๑
    ด้วยการยอมเป็นศิษย์ ๑
    ด้วยการถวายมือ (การประนมมือทำความเคารพ) ๑.

    ใน ๔ อย่างนั้น ที่ชื่อว่าการมอบตน ได้แก่การยอมสละตนแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ด้วยการกล่าว) อย่างนี้ว่า นับแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอมอบตนถวายแด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม และแด่พระสงฆ์.

    ที่ชื่อว่าการมีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง ได้แก่การที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอมีพระพุทธเจ้าเป็นผู้นำทาง ขอมีพระธรรมเป็นผู้นำทาง ขอมีพระสงฆ์เป็นผู้นำทาง.

    ที่ชื่อว่าการถวายมือ ได้แก่การทำความนอบน้อมอย่างสูงในพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น (ด้วยการพูด) อย่างนี้ว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้ว่า ข้าพเจ้าขอทำการกราบไหว้ การลุกรับ การประนมมือ การทำความนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแล.

    ก็บุคคลเมื่อทำอาการอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาการทั้ง ๔ อย่างนี้ จัดว่าได้รับการถึงสรณะแล้วทีเดียว.
    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบการมอบตน (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสละตนแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอสละชีวิตแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละตนแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าสละชีวิตแล้วทีเดียวแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แด่พระธรรม (และ) แด่พระสงฆ์ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า (พระธรรมและพระสงฆ์) ว่าเป็นสรณะ โดยขอเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ขอพระพุทธเจ้า (พระธรรมและพระสงฆ์) จงเป็นที่ระลึกที่พึ่ง เป็นที่อาศัย เป็นที่ต้านทานของข้าพเจ้า.

    พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ (การยอมตัวเป็นศิษย์) เหมือนการเข้าถึงความเป็นศิษย์ในการถึงสรณะของพระมหากัสสปะ (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระศาสดา พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสุคต พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า ขอข้าพเจ้าพึงได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พึงได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้า.

    พึงทราบความที่มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นเครื่องนำทาง (เป็นที่ไปในเบื้องหน้า) เหมือนการถึงสรณะของชนทั้งหลายมีอาฬวกยักษ์เป็นต้น (ด้วยการพูด) แม้อย่างนี้ว่า

    ข้าพเจ้านั้นจักเที่ยวไปจากหมู่บ้าน (นี้) สู่หมู่บ้าน (โน้น)
    จากเมือง (นี้) สู่เมือง (โน้น) (เพื่อ) นมัสการพระสัมมา
    สัมพุทธเจ้า ความเป็นธรรมที่ดีแห่งพระธรรม (และความ
    เป็นสงฆ์ที่ดีแห่งพระสงฆ์).

    พึงเห็นการพนมมือไหว้ แม้อย่างนี้ว่า
    ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อพรหมายุลุกขึ้นจากที่นั่ง ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วซบศีรษะลงแทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า จูบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปาก นวดเฟ้นด้วยฝ่ามือ แล้วประกาศชื่อว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เป็นพราหมณ์ชื่อพรหมายุ.

    ก็การพนมมือไหว้นั้นมีอยู่ ๔ อย่าง คือ (ถวายมือ) เพราะเป็นญาติ เพราะความกลัว เพราะเป็นอาจารย์ และเพราะเป็นทักขิไณยบุคคล.

    บรรดาการพนมมือไหว้ ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะมีได้ด้วยการพนมมือไหว้เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ไม่ใช่เป็นด้วยเหตุ ๓ อย่างนอกจากนี้.

    เพราะว่า สรณะอันบุคคลย่อมรับได้ด้วยบุคคลผู้ประเสริฐสุด จะหมดสภาพไป (ก็หมด) ด้วยอำนาจบุคคลผู้ประเสริฐสุดเหมือนกัน.

    เพราะฉะนั้น บุคคลใดจะมีเชื้อสายเป็นศากยะหรือเป็นโกลิยะก็ตาม ถวายบังคม (พระพุทธเจ้า) ด้วยสำคัญว่า พระพุทธเจ้าเป็นพระญาติของเราทั้งหลาย. บุคคลนั้นยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเลย.

    หรือว่าบุคคลใดถวายบังคมพระพุทธเจ้าด้วยความกลัวว่า พระสมณโคดมเป็นผู้อันพระราชาบูชาแล้ว มีอานุภาพมาก เมื่อเราไม่ไหว้จะพึงทำความเสียหายให้แก่เราได้. บุคคลนั้นก็ยังไม่จัดว่าได้รับสรณะเหมือนกัน.

    แม้บุคคลใดระลึกถึงคำสอนบางอย่างที่ได้เรียนในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อครั้งที่พระองค์ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ หรือในพุทธกาลได้เรียนคำสอนทำนองนี้ว่า
    บุคคลควรใช้สอย เลี้ยงชีวิตด้วยทรัพย์ส่วนหนึ่ง
    ลงทุนทำงานด้วยทรัพย์สองส่วน และส่วนที่สี่ควร
    เก็บไว้ (เพราะมันจะอำนวยประโยชน์ได้) เมื่อ
    คราวมีความจำเป็นต้องใช้.


    (เกิดความเลื่อมใส) ถวายบังคมด้วยความรู้สึกว่า พระองค์เป็นพระอาจารย์ของเรา. บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังไม่ได้รับสรณะเหมือนกัน.

    ส่วนบุคคลใดถวายบังคมด้วยความสำคัญว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็นอัครทักขิไณยบุคคลในโลก บุคคลนั้นแลจัดว่าได้รับสรณะแล้ว. อุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ได้รับสรณะอย่างนี้แล้วจะไหว้ญาติแม้ที่บวชในสำนักอัญญเดียร์ถีย์ด้วยความรู้สึกว่า ท่านผู้นี้เป็นญาติของเรา ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ไม่เสีย) จะป่วยกล่าวไปไยถึงบุคคลหรืออุบาสิกาผู้ไหว้ญาติที่ยังไม่บวชเล่า.

    สำหรับอุบาสกหรืออุบาสิกาผู้ถวายบังคมพระราชาก็เหมือนกัน คือถวายบังคมด้วยอำนาจความกลัวว่า พระราชาพระองค์นั้นเพราะเป็นผู้ที่ชาวแว่นแคว้นบูชากันแล้ว เมื่อเราไม่ถวายบังคมก็จะทรงทำความเสียหายให้แก่เราได้ ดังนี้ การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป (ยังไม่เสีย) เหมือนเมื่อบุคคลแม้ไหว้เดียรถีย์ ผู้ให้การศึกษาศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา การถึงสรณะก็ยังไม่หมดสภาพไป ฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบประเภทแห่งการถึงสรณะอย่างนี้แล.

    ก็การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระในที่นี้ มีสามัญญผล ๔ เป็นวิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวลเป็นอานิสงสผล.

    สมด้วยพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
    ว่าเป็นสรณะ (ที่ระลึก ที่พึ่ง) บุคคลนั้นย่อมเห็น
    อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาอันชอบ คือ ย่อมเห็นทุกข์
    เหตุเกิดของทุกข์ ความดับทุกข์ และอริยมรรค
    มีองค์ ๘ ซึ่งเป็นทางให้เข้าถึงความดับทุกข์ สรณะ
    (ที่ระลึก ที่พึ่ง) อย่างนั้นแลจึงจะเป็นสรณะอันเกษม
    เป็นสรณะอันสูงสุด เพราะอาศัยสรณะนั่น บุคคลจึง
    หลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้.


    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอานิสงสผลของการถึงสรณะนั่นแม้ด้วยอำนาจแห่งเหตุมีการไม่เข้าไปยึดถือโดยความเป็นของเที่ยงเป็นต้น.

    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส (เป็นไปไม่ได้เลย) ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิจะพึงเข้าไปยึดถือสังขารอะไรๆ ว่าเที่ยง ว่าเป็นสุข จะพึงเข้าไปยึดถือธรรมอะไรๆ ว่าเป็นอัตตา จะพึงปลงชีวิตมารดา จะพึงปลงชีวิตบิดา จะพึงปลงชีวิตพระอรหันต์ จะพึงเป็นผู้มีจิตชั่วร้ายยังโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ จะพึงทำลายสงฆ์ จะพึงอ้างศาสดาอื่น ฐานะอย่างนี้จะมีไม่ได้.

    ส่วนการถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมมีภพสมบัติและโภคสมบัติเป็นผลเหมือนกัน.

    สมจริงดังพระดำรัสที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า
    บุคคลที่ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ จักไม่ไปสู่อบายภูมิ
    ครั้นละร่างกายที่เป็นมนุษย์แล้วจักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์
    (เกิดในหมู่เทพ).


    แม้เรื่องอื่น ท่านก็กล่าวไว้.
    (คือ) คราวครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพพร้อมด้วยเทวดาแปดหมื่นได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ.

    พระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพ ผู้ประทับยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งดังนี้ว่า ขอถวายพระพรพระองค์ผู้จอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นการดีแท้ เพราะการถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ เป็นเหตุแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ตายแล้ว จึงได้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น (เกิดเป็นเทวดาแล้ว) ย่อมเด่นล้ำเทวดาพวกอื่นด้วยฐานะ ๑๐ คือ ด้วยอายุอันเป็นทิพย์ วรรณะอันเป็นทิพย์ สุขอันเป็นทิพย์ ยศอันเป็นทิพย์ ความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์ รูปอันเป็นทิพย์ เสียงอันเป็นทิพย์ กลิ่นอันเป็นทิพย์ รสอันเป็นทิพย์ โผฏฐัพพะอันเป็นทิพย์.

    ใน (การถึง) พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ก็นัยนี้.

    อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบผลอันสำคัญของการถึงสรณะแม้ด้วยอำนาจแห่งสูตรมีเวลามสูตรเป็นต้น.

    พึงทราบผลแห่งการถึงสรณะอย่างนี้.
    ในการถึงสรณะ ๒ อย่างนั้น การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะย่อมเศร้าหมองด้วยเหตุทั้งหลายมีความไม่รู้ ความสงสัยและความรู้ (ความเข้าใจ) ผิดเป็นต้นในพระรัตนตรัย เป็นการถึงสรณะที่ไม่มีความรุ่งเรืองมาก ไม่กว้างไกลมาก.

    (ส่วน) การถึงสรณะที่เป็นโลกุตตระไม่มีความเศร้าหมอง.

    การถึงสรณะที่เป็นโลกิยะมีการหมดสภาพอยู่ ๒ อย่างคือ
    การหมดสภาพ (เภโท) แบบมีโทษ ๑
    การหมดสภาพแบบไม่มีโทษ ๑.

    ในการหมดสภาพทั้งสองนั้น การหมดสภาพแบบมีโทษย่อมมีด้วยเหตุทั้งหลาย มีการมอบตนในศาสดาอื่นเป็นต้น การหมดสภาพแบบนั้นมีผลไม่น่าปรารถนา.
    การหมดสภาพแบบไม่มีโทษในเพราะการทำกาลกิริยา การหมดสภาพแบบนั้นไม่มีผลเพราะไม่มีวิบาก.

    แต่การถึงสรณะแบบโลกุตตระ ไม่มีการหมดสภาพเลย.
    จริงอยู่ พระอริยสาวก (ตายแล้วไปเกิด) แม้ในภพอื่นก็จะไม่ยอมยกย่องคนอื่นว่าเป็นศาสดา (แทนพระพุทธเจ้า).
    พึงทราบความเศร้าหมองและการหมดสภาพของการถึงสรณะดังพรรณนามาฉะนี้.

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...