สุญตาและอนัตตา

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย หมื่นพิษ, 17 กันยายน 2007.

  1. หมื่นพิษ

    หมื่นพิษ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2007
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +2
    เป็นโพสเกี่ยวกับความหมายของคำครับพอดีว่าอ่านเจอแล้วอยากให้เพื่อนๆญาติธรรมได้อ่านแล้วเข้าใจความหมายครับสุญตาและอนัตตามีความหมายคล้ายกันแต่ต่างกันตรงพยัญชนะ โดยที่สุญตานั้นหมายถึงความว่างเปล่า .....ส่วนอนัตตานั้นหมายถึงการไม่มีตัวตนซึ่งก็หมายถึงความว่างเปล่านั้นเอง แต่มีความละเอียดลึกซึ้งต่างกันคือ สุญตานั้นหมายเอานิพพาน ส่วนอนัตตานั้นไม่บ่งฉพาะนิพพานแต่บ่งถึงขันธ์ห้าซึ่งมีความหมายทั้งโลกีย์และโลกุตระ ขันธ์ห้าเป็นอนตตาและนิพพานก็เป็นอนัตตาแต่ไม่มีอนิจจังทุกขังส่วนสุญตาเป็นนิพพานอย่างเดียวไม่บ่งถึงขันธ์ห้าแต่อย่างใด [b-hi]
     
  2. hoto

    hoto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +720
    ไม่เคลียร์นะครับตอบแบบนี้ เวียนหัว
    สูญ ต้องบอกว่าว่า สูญจากอะไร หรือ อะไรสูญ
    เพราะ "สูญ" จริง ๆ ไม่มี...

    ส่วนอนัตตา ไม่น่าจะแปลว่าว่างเปล่านะครับ
    อนัตตาคือ ความไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน แต่ไม่ใช่ว่างเปล่านะครับ ถ้าจะให้หมายถึงว่าง ต้องบอกว่า ว่างจากอะไร ไม่ใช่ว่างเปล่าเฉย ๆ

    ส่วนอนัตตากับสุญตา ผมเห็นว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
     
  3. hoto

    hoto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +720
    ปัญหา คำว่า “อนัตตา” มีความหมายว่าอย่างไร

    พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา (ไม่ใช่ตัวตนอันเป็นอมตภาพตามทัศนะของฮินดู) ถ้าหากว่า... จักเป็นอัตตาไซร้ รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ นี้คงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธ ทั้งยังจะได้ตามความปรารถนาในรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่า ขอรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ก็เพราะเหตุที่รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นอนัตตา ฉะนั้น.... จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และไม่ได้ตามความปรารถนา....”

    ********************************************

    ดูจากพระพุทธพจน์แล้วจะเห็นได้ว่าไม่มีคำว่า สูญ หรือ ว่างเปล่า แต่อย่างใด .. กรุณาแก้ทิฎฐินั้นเสียนะครับ พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวแต่อย่างใด
     
  4. hoto

    hoto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2006
    โพสต์:
    62
    ค่าพลัง:
    +720
    ส่วนสุญตาเป็นนิพพานอย่างเดียวไม่บ่งถึงขันธ์ห้าแต่อย่างใด

    ******************************************

    ปัญหา พระอรหันต์ผู้สิ้นกิเลสอาสวะแล้ว เมื่อสิ้นชีพดับขันธ์ ย่อมขาดสูญหมดสิ้นไป ไม่เกิดอีกใช่หรือไม่ ?

    พระสารีบุตรตอบ “.....ดูก่อนท่านยมกะ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
    พระยมกะ “ไม่เที่ยง ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่า รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลมีใน รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือไม่ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะท่านเห็นว่าสัตว์บุคคลนี้นั้นไม่มีมี รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ หรือ ?
    พระยมกะ “ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านสารีบุตร”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ โดยที่จริง โดยที่แท้ ท่านจะค้นหาสัตว์ บุคคลในขันธ์ ๕ เหล่านี้ในปัจจุบันชาตินี้ก็ยังไม่ได้ ควรแลหรือที่ท่านจะยืนยันว่า.... พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมหายสูญ ย่อมหมดสิ้นไป ย่อมไม่เกิดอีก.... ดูก่อนท่านยมกะ ถ้าชนเหล่าพึงถามท่านว่า ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ขีณาสพ เมื่อตายไปแล้วเป็นอย่างไร ท่าน.... จะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร ?”
    พระยมกะ “ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมฟังกล่าวแก้อย่างนี้ว่ารูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว”

    พระสารีบุตร “.....ดูก่อนท่านยมกะ พระอริยสาวกผู้ใดเรียนรู้แล้ว ฉลาดในอริยธรรม ย่อมไม่เห็น รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตน ย่อมไม่เห็นตนมีรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมไม่เห็นรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ในตน ย่อมไม่เห็นตนในรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณอันไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง อันเป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ อันเป็นอนัตตาว่าเป็นอนัตตา อันปัจจัยปรุงแต่งว่าปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นผู้ฆ่าว่าเป็นผู้ฆ่า เขาย่อมเข้าไปยึดมั่นถือมั่นซึ่ง รูป....เวทนา...สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นตัวตนของเรา อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านั้นอันอริยสาวกไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน”
     

แชร์หน้านี้

Loading...