จิตผู้รู้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย อโศ, 18 กรกฎาคม 2009.

  1. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
    <!-- google_ad_section_start --><SCRIPT type=text/javascript><!--google_ad_client = "pub-0334174069738588";/* 300x250, ถูกสร้างขึ้นแล้ว 1/12/09 */google_ad_slot = "0317131318";google_ad_width = 300;google_ad_height = 250;//--> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js" type=text/javascript> </SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/expansion_embed.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"><INS style="PADDING-RIGHT: 0px; DISPLAY: block; PADDING-LEFT: 0px; VISIBILITY: visible; PADDING-BOTTOM: 0px; MARGIN: 0px; WIDTH: 300px; BORDER-TOP-STYLE: none; PADDING-TOP: 0px; BORDER-RIGHT-STYLE: none; BORDER-LEFT-STYLE: none; POSITION: relative; HEIGHT: 250px; BORDER-BOTTOM-STYLE: none"></INS></INS>
    ชุมนุมบทความ
    ของ เปมงฺกโร ภิกฺขุ เรียบเรียง


    ข้อ ๑ เรื่องจิตผู้รู้
    <O:p</O:p

    จิต เป็นตัวธรรมทรงตัวอยู่ทุกสมัย เป็นอสังขตธาตุ ไม่มีเหตุปรุงสร้าง
    เป็นอมตะไม่ตาย เป็นมูลฐานแห่งนามธรรมทั้งปวง เป็นธรรมชาติที่รู้อะไรได้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ธรรมชาติจิตที่รู้อะไรได้นี้ ย่อมมีถูกมีผิดแล้วแต่กำลังแห่งจิตที่มีความรู้<O:p</O:p
    รู้ถูก หรือ เห็นถูก เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ<O:p</O:p
    รู้ผิด หรือ เห็นผิด เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จะพูดว่าดินรู้ถูกเห็นถูกและรู้ผิดเห็นผิด หรือน้ำรู้ถูกเห็นถูกและรู้ผิดเห็นผิด นั้นไม่ได้<O:p</O:p
    เพราะสิ่งใดๆ เช่น ดินและน้ำ เป็นต้น นอกจากจิตแล้ว เป็นธรรมชาติรู้อะไรไม่ได้
    <O:p</O:p
    จิตเท่านั้นรู้อะไรได้
    จิตนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พุทธะ หรือ พุทโธ คือ ผู้รู้<O:p</O:p
    มี ผู้รู้ ก็ต้องมี สิ่งที่ถูกรู้ เป็นคู่กัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สิ่งที่ถูกรู้นั้น ได้แก่ อารมณ์และเรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆทั้งปวง ณ ภายนอกแห่งจิต<O:p</O:p
    ซึ่งเข้ามาโดยวิถีทางทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย<O:p</O:p
    สรุปลง คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเครื่องรู้ของจิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    จิต คือ ผู้รู้ นี้<O:p</O:p
    น่าจะสมกับพระนิพนธ์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นวิวิธวรรณปรีชาว่า
    จิตนี้เพ็ญสืบสร้าง โพธิญาณ<O:p</O:p
    พูนเพิ่มบารมีชาญ ฉลาดรู้<O:p</O:p
    เป็นใหญ่แห่งจักรวาล ทั้งหมด<O:p</O:p
    ก่อเกิดไตรโลกกู้ พิภพพื้นสังขารฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พุทธะ ผู้รู้ นี้ น่าจะกำเนิดเดียวกับคำว่า วิชชา ที่แปลว่า ความรู้<O:p</O:p
    พินิจแล้วได้ผลเป็นอย่างนี้ คือ<O:p</O:p
    เอาสระอิที่ วิ เป็นสระอุ เปลี่ยนเป็น วุ แล้วแปลง ว ที่ วุ เป็น พ สระอุ เป็น พุ<O:p</O:p
    ส่วนชะตัวหลังแปลงเป็นทะซ้อนธะ ก็แปรรูปวิชชา เป็นพุทธะ หรือ พุทโธ ผู้รู้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พุทโธ ผู้รู้ นี้ หมายถึง การรู้เรื่องภายในของตนเอง<O:p</O:p
    คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    รู้ยิ่งเห็นจริง รู้แล้วไม่ติดอยู่ในสิ่งซึ่งจะต้องรู้ ถูกรู้ นั้น<O:p</O:p
    หมดความอยากความต้องการเรียกว่า สิ้นตัณหา ไม่ยึดถือไม่ติดเรียกว่าหมดอุปาทาน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พุทโธ ผู้รู้นี้ พูดสั้นๆว่า หมายเอาตัวจิตนั้นเองก็ได้<O:p</O:p
    เป็นจิตบริสุทธิ์พิเศษได้นามว่าพุทธะ หรือพระพุทธเจ้า ออกนอกโลก อยู่เหนือโลก<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนจิตของคนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ ก็เป็นพวกอวิชชา คือ พวกไม่รู้<O:p</O:p
    เป็นคน หรือ สัตว์โลก ติดข้องอยู่ในโลก<O:p</O:p
    โลก คือ อารมณ์ทั้งปวง สัตว์ แปลว่า ติดข้อง เรียกว่า สามัญญสัตว์ คนธรรมดาสามัญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คนธรรมดาสามัญนั้น ถึงจะมีวิชชาความรู้ในทางโลกมากสักเพียงใดก็ตาม<O:p</O:p
    วิชชาความรู้นั้นถอนตัวออกจากทุกข์ไม่ได้ เพราะไม่รู้จักตนเอง<O:p
    เอาโลกมาเป็นตัวตน กลับจะจมหนักลงไปอีก<O:p</O:p
    เพราะฉะนั้นเมื่อไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ แล้ว ถึงมีวิชชาความรู้มาก ก็จัดเป็นพวกอวิชชาโง่หมด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีผู้รู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกรู้ ครั้นต่อๆมา คำว่าวิชชากลับไปเป็นชื่อของสิ่งที่ถูกรู้<O:p</O:p
    สิ่งต่างๆในภายนอกจิต เป็นเรื่องซึ่งจิตจะต้องศึกษาต้องรู้ เรียกว่า วิชชาความรู้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิชชาที่จะต้องศึกษาให้รู้ให้เข้าใจนั้นจัดเป็น ๒ คือ<O:p</O:p
    วิชชาในทางโลก ๑ วิชชาในทางธรรม คือ อริยสัจจ์ สี่ ๑<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    วิชชาในทางโลก เรียนรู้แล้วทำให้ผู้รู้ติดแน่นอยู่ในโลกมากขึ้น<O:p</O:p
    ถอนตัวออกจากโลกออกจากกองทุกข์ไม่ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนวิชชาในทางธรรม เป็นความรู้ๆเรื่องภายในของตนเอง คือ รู้อริยสัจจ์ ๔<O:p</O:p
    เรียนรู้แล้วถอนตัวออกจากโลกออกจากกองทุกข์ได้ จึงเป็นพวกวิชชาหรือพุทธะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้อริยสัจ ๔ เป็นพวกอวิชชาหมด<O:p</O:p
    วิชชา ปัญญา เปรียบหมือนแสงสว่างส่องให้ปรากฏแห่งสิ่งต่างๆ<O:p</O:p
    ส่วนอวิชชา อัปปัญญา เปรียบเหมือนความมืดตื้อ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คนรู้เรื่องของตนเองดี เหมือนอยู่ในที่สว่างกระจ่างแจ้ง<O:p</O:p
    ส่วนคนไม่รู้เรื่องของตนเองเหมือนอยู่ในที่มืดตื้อ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ต้องตามพระพุทธภาษิตว่า<O:p</O:p
    อวิชชาย นิวุโต โลโก โลก คือ หมู่ชนอันอวิชชาคลุมมิดแล้ว ดังนี้<O:p</O:p
    อวิชชา คือ ไม่รู้อริยสัจจ์ ๔ อันเป็นเรื่องภายในของตนเองฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พื้นพิภพ มืดมั่ง เป็นครั้งคราว<O:p</O:p
    ไม่ยืดยาว มืดจิต ฤทธิ์โมหันธ์<O:p</O:p
    อันมืดจิต มืดเป็น นิตย์นิรันดร์<O:p</O:p
    ไม่เป็นวัน เป็นคืน จะตื่นตา<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มืดระยำ ไม่รู้จัก ตัวเองซ้ำ<O:p</O:p
    เที่ยวงมคลำ หาสุข ได้ทุกขา<O:p</O:p
    น้อยนัก ผู้สว่าง กระจ่างจ้า<O:p</O:p
    เชิญท่านหา ปัญญา มาส่องเอยฯ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------


    จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร (โปรดติดตามตอนต่อไปครับ)

    ขออนุญาตทำลิงค์มาให้ เผื่อท่านอื่นๆอาจจะยังไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้านี้ค่ะ

    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๒ เรื่องจิตประภัสสร
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๓ เรื่องคำปฏิเสธปัดอัตตา
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๔ เรื่อง สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชา
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๕ เรื่อง สอนให้ช่วยตัวเอง
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๖ เรื่อง ประโยชน์ของการศึกษา


    ขอขอบคุณและอนุโมทนากับคุณธรรมะสวนังที่กรุณาทำลิงค์บทความของหลวงปู่
    ท่านที่สนใจและยังไม่ได้อ่าน เปิดอ่านได้มีประโยชน์มากครับ

    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3


    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน
     
  2. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    คุ้นๆนะเนี่ย - -
     
  3. อโศ

    อโศ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,689
    ค่าพลัง:
    +5,830
    ข้อ ๓ เรื่องคำปฏิเสธปัดอัตตา


    คำพูดเป็นฝ่ายรับ เช่น เอา ใช่ ถูก เห็น รู้ เหล่านี้ เป็นต้น
    ผู้พูดต้องรู้จักสิ่งซึ่งตรงกันข้าม
    อันจะต้องใช้คำเป็นฝ่ายปัดปฏิเสธว่าไม่เอา ไม่ใช่ ไม่ถูก ไม่เห็น ไม่รู้

    คำว่า อนตฺตา ภาษามคธ เป็นคำปัดปฏิเสธ แปลเป็นภาษาไทยว่า ไม่ใช่ตัวตน

    คำนี้ พระพุทธเจ้าตรัสมีในอนัตตลักขณสูตร คือ
    ทรงแยกอัตตภาพร่างกายของคนออกแสดงเป็น ๕ หมวด ๕ กอง เรียกว่า ปัญจขันธ์ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    แล้วตรัสปฏิเสธด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตน
    ซึ่งสามัญชนชาวโลกยึดถืออยู่ว่าเป็นอัตตาตัวตนโดยความสำคัญผิด
    เพราะฤทธิ์อวิชชา ไม่เห็นอัตตาอื่นนอกจากขันธ์ ๕ นั้น

    แต่พระองค์ทรงเห็นอื่นนอกจากขันธ์ ๕ นั้น
    เป็นตัวธรรมลี้ลับอยู่ ณ ภายใน คือ วิมุตติจิต วิมุตติธรรม
    จึงตรัสปัดปฏิเสธขันธ์ ๕ นั้น ด้วยคำว่า อนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนได้
    คือ ทรงรู้จักสิ่งที่ใช่แล้ว จึงตรัสว่า สิ่งที่ถืออยู่นั้นไม่ใช่

    ทรงอธิบายขยายคำ อนตฺตา นั้นไว้ว่า
    เนตํ มม เนโสหมสฺมิ น เมโส อตฺตาติ ดังนี้ แปลว่า
    สิ่งนั้นไม่ใช่เรา เราไม่เป็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นไม่เป็นอัตตาตัวตนของเรา ดังนี้

    เพราะรูปขันธ์ คือ ร่างกาย ก็เป็นธาตุ ๔
    ดิน น้ำ ไฟ ลม คุมกันเข้าเรียกสรีรยนต์กลไก มีทางดักจับอารมณ์อยู่ ๕ แห่ง
    คือ ตาดักรูปภาพ หูดักเสียง จมูกดักกลิ่น ลิ้นดักรส ผิวหนังดักเย็นร้อนอ่อนแข็ง
    ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๔ นี้
    ก็เป็นกิริยาจิตที่รับสัมผัสกับอารมณ์ภายนอกจากทวารนั้นๆ หาใช่ตัวตนไม่

    แต่เหล่าพุทธมามกชน ผู้ศึกษาปฏิบัติพระพุทธศาสนา
    โดยส่วนมาก เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือว่าไม่มีตัวตน
    ยึดคำว่า อนตฺตา นั้นเป็นหลักอ้าง

    คำว่า ไม่มีกับไม่ใช่ หมายความคนละอย่าง

    คำปัดปฏิเสธว่าไม่มี หมายถึง สิ่งที่จำนงหวังจะได้ แต่สิ่งที่ต้องการนั้นไม่มี
    ส่วนคำปัดปฏิเสธว่าไม่ใช่ นั้น หมายถึง สิ่งที่ยึดถืออยู่แล้ว แต่หมายผิด ยึดผิด
    ถือผิด เข้าใจว่าถูกเพราะฤทธิ์อวิชชา

    ผู้รู้ เช่น พระพุทธจ้าตรัสว่า ไม่ใช่ ...สิ่งที่ใช่มีอยู่ แต่สิ่งที่ยึดถืออยู่นั้นไม่ใช่
    อนตฺตา ไม่ได้หมายความว่า ตัวตนไม่มี
    ที่เข้าใจ อนตฺตา ว่าตัวตนไม่มีนั้น ควรจะพูดว่า ไม่รู้จักภาษาคน

    จิตบริสุทธิ์พ้นจากอำนาจวัฏฏะ ๓ คือ กิเลส กรรม วิบาก เป็นตัวธรรม
    เป็นสัจจะธรรม คือ นิโรธสัจจ์ คู่กับ ทุกขสัจจ์นั้น และเป็นอัตตาตัวตน

    ดังที่พระพุทธองค์ตรัสว่า

    อตฺตทีปา วิหรถ อตฺตสรณา อนญฺญสรณา
    ธมฺมทีปา วิหรถ ธมฺมสรณา อนญฺญสรณา แปลว่า
    ท่านทั้งหลายจงมีตนเป็นที่เกาะกุม มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ดังนี้

    ตน คือ ธรรม ธรรม ก็คือ ตน
    ธรรม คือ จิตที่บริสุทธิ์ เป็นวิมุตติจิต เป็นอมตธรรม ธรรมที่ไม่ตาย หรือนิพพาน ก็ได้.

    และอีกเรื่องหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสมีในธัมมนิยามสูตรว่า
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา แปลว่า ธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นไม่ใช่ตัวตน ดังนี้

    ธรรมในที่นี้หมายถึงตัวเหตุ คือ กิเลสกรรมซึ่งสร้างสังขารขึ้น ได้แก่ ตัววิบาก
    คือ อัตตภาพร่างกายปัญจขันธ์ที่พูดแล้วข้างต้น
    หมายความว่า
    ต้นเหตุทั้งสิ้นซึ่งก่อสร้างสังขารขึ้นนั้นไม่ใช่ตัวตน
    แปลว่า เราไม่ใช่ตัวต้นเหตุสร้างสังขาร กิเลสกรรมต่างหากมันสร้างขึ้น

    แต่ผู้ศึกษาพระพุทธศาสนา เข้าใจไปเสียอีกทางหนึ่งว่า
    ธรรมทั้งหลายทั้งสิ้นในบทว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา นั้น กินตลอดถึงสันตินิพพานด้วย
    แปลว่า จิตบริสุทธิ์ หรือนิพพานอะไรๆทั้งสิ้น เป็นอนตฺตา ไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้น
    ก็เมื่อพระนิพพานถูกปัดทิ้งเสีย แล้วจะศึกษาปฏิบัติเรื่องพระนิพพานไปทำอะไร
    ไม่มีตัวตน ผลแห่งการทำดี และทำชั่ว นรก สวรรค์ นิพพาน ใครจะเป็นผู้รับ

    ถ้าเป็นจริงอย่างที่เข้าใจนั้น ต้องนับว่าเป็นความรู้ที่ไม่มีสาระไร้ประโยชน์

    แต่ความจริงหาเป็นอย่างที่เข้าใจนั้นไม่
    สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งสิ้น ความหมายมิได้กินตลอดถึงนิพพาน
    หมายแค่กิเลสกรรม ซึ่งเป็นเหตุสร้างสังขารในภาคโลกียะนี้เท่านั้น

    อย่างพระพุทธภาษิตว่า ตณฺหา สมฺภูโต อยํกาโย ร่างกายนี้ตัณหาสร้าง ไม่ใช่เราสร้าง

    ในโลกทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความจริง เกิดขึ้นแล้วสลายหมด เท็จทั้งสิ้น
    เป็นอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา

    ส่วนสันตินิพพาน เป็นตัวสัจจะธรรม เที่ยงตรงมั่นคงอยู่เสมอ
    เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุ ไม่นอกไปจากจิตบริสุทธิ์ถึงขีดสุด
    เป็นตัวธรรมที่รวมพระพุทธ พระธรรมพระสงฆ์ เป็นอตฺตาตัวตนแท้

    มีของจริงก็ต้องมีของเท็จ มีของตายก็ต้องมีของไม่ตาย
    มีดีต้องมีชั่ว มีตัวตนก็ต้องมีไม่ใช่ตัวตน

    พระพุทธภาษิตว่า
    อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ ตนของตนเองเป็นที่พึ่งของตน
    ตนในที่นี้หมายถึง จิตบริสุทธิ์
    ความไม่บริสุทธิ์ไม่ใช่ตัวตนพึ่งพาอาศัยอะไรไม่ได้ โดยประการดังนี้ฯ

    ------- เปมงฺกโร ภิกฺขุ--------


    จากหนังสือชุมนุมบทความของหลวงปู่เปรม (เปมงฺกโร ภิกขุ)
    วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร (โปรดติดตามตอนต่อไปครับ)

    ขออนุญาตทำลิงค์มาให้ เผื่อท่านอื่นๆอาจจะยังไม่ได้อ่านตอนก่อนหน้านี้ค่ะ

    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๑ เรื่องจิตผู้รู้
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๒ เรื่องจิตประภัสสร
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๔ เรื่อง สร้างพระพุทธรูปขึ้นบูชา
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๕ เรื่อง สอนให้ช่วยตัวเอง
    โลกุตรธรรม ตอนที่ ๖ เรื่อง ประโยชน์ของการศึกษา


    ขอเชิญทุกท่านได้โมทนาบุญผ้าป่า ๓ กองบุญร่วมกันครับ
    http://palungjit.org/showthrea...=158315&page=3

    ศูนย์พุทธศรัทธา
    สำนักปฏิบัติพระกรรมฐานสาขาวัดท่าซุง
    เพียงท่านแวะชมและโมทนาท่านก็จะได้บุญได้กุศลตามกำลังใจของแต่ละท่าน

     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    กราบหลวงปู่เปรม เปมงฺกโร
    อนุโมทนาสาธุ จขกท.ครับ

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร?

    ดูกรอัคคิเวสสนะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ
    มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้าแล้ว
    ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา และไม่ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา
    สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไป

    เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น
    เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้วก็ไม่เศร้าโศก
    ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล

    แม้สุขเวทนานั้นเกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว
    ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต

    ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ใดผู้หนึ่ง
    ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย
    แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่
    เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต ทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้

    ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนี้แหละ.

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กรกฎาคม 2009
  6. cantona_z

    cantona_z สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +3
    ถ้าจิต เป็นอมตะ
    จิตก็เป็นอาตมันแล้ว
    โยนไตรลักษณ์ โยนพระสูตร โยนพระอภิธรรมทิ้งไปได้เลย
    เพราะมีสภาวะธรรมนอกเหนือจากนิพพานที่เป็น นิจจังเกิดขึ้นแล้ว
     
  7. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    สาธุ..กราบนมัสการ ท่านอโศ ครับ
    ท่านหายอาพาธ เป็นปกติแล้วรึครับ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...