ร่วมบูชาพระหลวงปู่ทวด รุ่นกรรมฐาน และยังได้ร่วมมหาบุญกับวัดพุทธพรหมปัญโญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย leo_tn, 5 กันยายน 2007.

  1. Paravatee

    Paravatee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    1,391
    ค่าพลัง:
    +2,978
    อยากชมภาพงานพิธีพุทธาภิเษกหน่อยครับ เห็นว่ามีพระอาทิตย์ทรงกลด ด้วยใช่หรือไม่ครับ
     
  2. synergy

    synergy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +194

    คุณจิม จำผมได้รึเปล่าครับ ผมจองทำบุญกองกฐินก่อนหน้านี้ไว้้ 2 กองแต่ยังไม่ได้โอนเงินให้ ตอนนี้ผมขอจองเพิ่มอีก 2 กองสำหรับพ่อและแม่ผมเพิ่มเป็นทั้งหมด 4 กองครับ แล้วจะรีบโอนเงินให้ภายในอาทิตย์นี้ครับ ขอบคุณหลาย ๆ (b-love2u)
     
  3. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
    ขอบารมีหลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่ หลวงตาม้า
    ส่งให้ทุกท่านเจริญยิ่งขึ้นไปทั้งทางโลกและทางธรรมครับผม
     
  4. synergy

    synergy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +194
    คุณจิม ผมโอนเงินให้แล้วครับจำนวนทั้งหมด 2,200 บาท เป็นเงินร่วมทำบุญกฐิน 4 กอง พร้อมค่าจัดส่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา รบกวนจัดส่งตามที่อยู่เดิมกับตอนจองพระแก้วแดงนะครับ

    หมายเหตุ ผมเข้ามา post ในกระทู้นี้เพิ่มเผื่อว่าคุณจิมไม่ได้เข้าไปดูในกระทู้เดิมที่คุณจิมเคยทำไว้ รบกวนช่วยตอบด้วยครับ

    ขอบุญกุศลและความสวัสดีจงมีแก่ทุกคนที่มีจิตกุศลร่วมทำบุญในครั้งนี้ครับ (good)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=4>ลำดับขั้นตอนงานจุลกฐิน

    </TD></TR><TR><TD align=middle width="33%">[​IMG]
    </TD><TD align=middle width="33%" colSpan=2>[​IMG]
    </TD><TD align=middle width="34%">[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="33%">หญิงพรหมจรรย์ทำพิธีสักการะพระแม่ธรณีที่ช่วยดูแลและให้ต้นฝ้ายเจริญเติบโตเป็นพิธีทำก่อนลงมือเก็บฝ้าย</TD><TD vAlign=top align=middle width="33%" colSpan=2>อิดฝ้าย
    เป็นการนำเมล็ดฝ้ายจากปุยฝ้ายก่อนนำไปดีด</TD><TD vAlign=top align=middle width="34%">ชาวบ้านกำลังทอผ้าสำหรับนำไปเย็บต่อเป็น สบง จีวร</TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=4>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=4>ต่อผ้าที่ทอแล้วให้เป็นผืน
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="50%" colSpan=2>[​IMG]
    </TD><TD align=middle width="50%" colSpan=2>[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width="50%" colSpan=2>ขบวนแห่องค์กฐินพร้อมบริวารกฐินรอบอุโบสถ ๓ รอบ ก่อนทำพิธีถวาย
    </TD><TD vAlign=top align=middle width="50%" colSpan=2>พิธีถวายผ้ากฐิน ผ้าห่มพระประธานและเครื่องบริวารกฐิน
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="50%" colSpan=2>[​IMG]</TD><TD width="50%" colSpan=2>ถวายผ้าห่มพระประธานในอุโบสถ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <TABLE dir=ltr height=251 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD dir=ltr width="100%" height=1>
    ประเพณีทอดกฐินในประเทศไทย
    </TD></TR><TR><TD dir=ltr width="100%" height=282>
    <CENTER><TABLE id=AutoNumber3 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="77%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle width="44%">[​IMG]
    </TD><TD align=middle width="7%"></TD><TD align=middle width="49%">[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top width="44%">ขบวนแห่ องค์กฐินทางบก(สถลมารค) ก่อนที่จะมีการถวาย ในช่วงบุญกฐิน</TD><TD width="7%"></TD><TD vAlign=top width="49%">เรือกฐิน หรือทอดกฐินทางน้ำ(ชลมารค) ที่ชาวบ้านตกแต่งอย่างสวยงาม เพื่อแห่องค์กฐินไปถวายที่วัดช่วงงานบุญกฐิน</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>​
    การทอดกฐินในประเทศไทย เป็นทั้งประเพณีและวิถีไทยในงานบุญ นับตั้งแต่โบราณกาลจนปัจจุบัน พุทธศาสนิกชนคนไทยทุกระดับชั้น ตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินถึงสามัญชน ต่างก็ยึดถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่จะต้องมีการทอดกฐินหลังจากเทศกาลออกพรรษาแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นทอดกฐินทางบก(สถลมารค) หรือ ทอดกฐินทางน้ำ(ชลมารค) สุดแต่สถานที่ตั้งของวัดที่จะจัดงาน การทอดกฐินมิใช่เป็นเพียงประเพณีที่เกี่ยวเนื่องด้วยเท่านั้น หากยังเป็นประเพณีนิยมที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของคนไทย ที่มักจะผสมผสานประเพณี พิธีกรรม เข้ากับความบันเทิงอย่างเหมาะสมกลมกลืน จนกลายเป็น "เอกอัตลักษณ์" หรือบุคลิกลักษณะเฉพาะประจำชนชาติไทย
    การทอดกฐิน นอกจากจะได้ทำบุญกุศลด้วยการแสดงออกซึ่งความสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจประกอบกิจพิธีทางศาสนาแล้วยังเป็นโอกาสที่จะได้เดินทางท่องเที่ยวไปในที่ต่างถิ่น หรือต่างบ้านต่างเมือง ได้ร่วมเฉลิมฉลองในการสมโภชองค์กฐิน ทั้งได้รับความสนุกสนานจากการเที่ยวชมมหรสพต่างๆ และที่สำคัญเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พบปะกัน ซึ่งอาจจะนำพาไปสู่การแต่งงานในอนาคตอีกด้วย
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    คาถาบูชาหลวงพ่อทวดประโยคเต็มที่ถูกต้องตามบาลี.....น่าสนใจ

    เมื่อออกแบบปกหนังสือหลวงปู่ทวด ผู้เขียน (อ.ทรงวิทย์ แก้วศรี) เห็นมีคาถาอยู่ใต้รูปหลวงปู่ทวดว่า
     
  8. ksuchet

    ksuchet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2005
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +6,060

    โมทนาบุญกับคุณ ลีโอ ครับ ผมไดรับพระแล้วครับ
     
  9. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ในสมัยสุโขทัย การทอดกฐินเป็นเพียงพุทธศาสนประเพณีเดียวที่มีปรากฏอยู่ใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ของพ่อขุนรามคำแหง โดยกล่าวว่า เมื่อออกพรรษาแล้ว พ่อขุนรามคำแหงพร้อมลูกบ้านลูกเมืองทั้งชายหญิงต่างพากันไปทำบุญกรานกฐินถึงอรัญญิก ซึ่งอยู่ห่างไกลตัวเมืองออกไป (ปัจจุบันคือวัดสะพานหิน) ทั้งยังได้กล่าวถึงบริวารกฐินและขบวนแห่กฐิน ซึ่งพรั่งพร้อมด้วยเสียงประโคมดุริยดนตรี ปี่พาทย์ฆ้องกลอง อย่างสนุกสนานของชาวเมืองสุโขทัย ดังเช่น
    พ่อขุนรามคำแหง เจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทั้งชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนางลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทั้งหลาย ทั้งผู้ชายผู้หญิง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อออกพรรษา กรานกฐินเดือนหนึ่งจึงแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่ง หมอนนอน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสวดญัตติกฐินถึงอรัญญิกพู้น เมื่อจักเข้าเวียงเรียงกันแต่อรัญญิกพู้นเท้าหัวลาน ดํบงคํกลองด้วยเสียงพาด เสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ
    จาก ชุมชนพระบรมราชาธิบาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกล่าวถึงประเพณีพระราชทานพระกฐินในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลต่อๆ มา(จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๔) ว่า พระมหากษัตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงทอดผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง หรืออาจจะพระราชทานให้บุคคลอื่น เช่น พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงไปทอดถวายแทนก็ได้
    ในโครงพระราชพิธีทวาทศมาส ซึ่งเป็นเรื่องที่ว่าด้วยพระราชพิธีในรอบ ๑๒ เดือนพระราชพิธีในเดือน ๑๑ กล่าวถึงพระราชพิธีถวายผ้ากฐิน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ได้ทรงพรรณนาถึงกระบวนแห่พยุหยาตราทางสถลมารคและทางชลมารค อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งบรรดาประชาชนได้ไปเฝ้ารับเสด็จและติดตามดูขบวนแห่กฐินหลวงอย่างตื่นตาตื่นใจ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <TABLE id=AutoNumber1 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="68%" border=0><TBODY><TR><TD width="62%">
    ชลมารคพยุหยาตราย้าย
    </TD><TD width="38%">
    เป็นขบวน
    </TD></TR><TR><TD width="62%">
    เรือรูปสัตว์จำนวน
    </TD><TD width="38%">คู่ดั้ง</TD></TR><TR><TD width="62%">เรือแซอีกเรือญวน</TD><TD width="38%">แจวคู่ น่าเฮย</TD></TR><TR><TD width="62%">เรือกิ่งที่นั่งตั้ง</TD><TD width="38%">คู่ไท้ทรงรองฯ</TD></TR><TR><TD width="62%">พระดำเนินสู่โบสถ์</TD><TD width="38%">นมัสการ</TD></TR><TR><TD width="62%">ทรงมอบจีวรทาน</TD><TD width="38%">นอบน้อม</TD></TR><TR><TD width="62%">สงฆ์สมมุติคู่สวดกราญ</TD><TD width="38%">เสร็จกิจ แล้วแฮ</TD></TR><TR><TD width="62%">ถวายเครื่องบริขารพร้อม</TD><TD width="38%">แจกทั้งไตรปีฯ</TD></TR><TR><TD width="62%"></TD><TD width="38%"></TD></TR><TR><TD align=middle width="100%" colSpan=2>และ
    </TD></TR><TR><TD width="62%">ดลแรมแปดค่ำตั้ง</TD><TD width="38%">ตามจา รีตเฮย</TD></TR><TR><TD width="62%">เสด็จพยุหยาตราครา</TD><TD width="38%">คลาสเต้า</TD></TR><TR><TD width="62%">สถลมารค กำหนดอา</TD><TD width="38%">วาศใหญ่ แลแฮ</TD></TR><TR><TD width="62%">ถวายกฐินแด่เจ้า </TD><TD width="38%">ภิกษุรั้งแรมฝนฯ</TD></TR><TR><TD width="62%">ดูแห่ดูสุดสิ้น</TD><TD width="38%">เสร็จขบวน ดูนา</TD></TR><TR><TD width="62%">ยังอยากดูสู้ชวน</TD><TD width="38%">พวกพ้อง</TD></TR><TR><TD width="62%">ไปดูแห่งใดควร</TD><TD width="38%">และนั่ง ดูแฮ</TD></TR><TR><TD width="62%">ดูไม่จบดูจ้อง</TD><TD width="38%">เคลื่อนแล้วดูตามฯ</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height=573 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" colSpan=2 height=38>
    เรือพระที่นั่งสำคัญในกระบวนพยุหยาตราทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค



    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=169>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=169>กระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ในจินตนาการของศิลปินชาวฝรั่งเศส แสดงออกถึงความมโหฬารของขบวนเรือในพระราชพิธี

    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=82>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=82>เรือพระที่นั่งนาราณย์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เนื่องในวโรกาสที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี แทนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณในสมัยรัชกาลที่ ๔ นับเป็นเรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=106>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=106>เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
    เป็นพระเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง ใช้สำหรับเป็นเรือที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑

    </TD></TR><TR><TD align=middle width="35%" height=38>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=38>สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
    เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
    (กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="35%" height=38>[​IMG]</TD><TD width="65%" height=38>เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
    เป็นเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนลำเดิมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    กระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค เดิมคือการยาตรากระบวนทัพเพื่อการศึกสงคราม อันประกอบด้วยริ้วขบวนของเหล่าทหารหาญผู้เชี่ยวชาญการศึก และพร้อมพรั่งด้วยระเบียบวินัยอันเข้มแข็ง สำแดงถึงแสงยานุภาพอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรแห่งองค์พระมหากษัตริย์สยามในการปกป้องอธิปไตยของแผ่นดิน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความจงรักภักดีของเหล่าทหารหาญ บรรดาข้าราชบริพารต่อองค์พระประมุขและบ้านเมือง
    ในยามว่างเว้นจากการศึกสงคราม เรือรบเหล่านี้ถูกปรับเป็นกระบวนเรือเสด็จพยุหยาตราชลมารค อันประกอบด้วยเรือและฝีพายเป็นจำนวนมากในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ได้แก่
    พระราชพิธีราชาภิเษก เพื่อสถาปนาความเป็นกษัตริยาธิราชโดยสมบูรณ์
    การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐินตามอารามหลวงริมแม่น้ำ
    พระราชพิธีจองเปรียง ในเดือนสิบสอง เป็นอีกพระราชประเพณีหนึ่งที่พระมหากษ้ตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดสำคัญริมน้ำ พร้อมกับมีการลอยพระประทีปเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งนัมมทานที และบูชาเจดีย์จุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    พระราชพิธีไล่น้ำ ในเดือนอ้ายอันเป็นฤดูน้ำหลาก ทั้งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไปทรงไล่น้ำโดยการโบกพัชนี(พัด) ด้วยพระบารมีและอำนาจธรรมของพระองค์ ไล่น้ำที่กำลังท่วมทำความเสียหายต่อทุ่งนาให้ลดลง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าแผ่นดิน
    พิธีสำคัญของบ้านเมืองในบางกรณี เช่นพิธีรับพระราชสาส์นและราชทูต
     
  13. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]ความหมาย

    พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
      • กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
        การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
      • กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
      • กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
      • กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
    จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง



    ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่เราได้ยินกันก่อนจะมีการทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
    อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรุปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น

    ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน
    และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทยจึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน
     
  14. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]ตำนาน

    ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
    พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
    พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุจึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้วจะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ
    1. อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    2. จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    3. ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    5. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน 4
    [​IMG]ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
    • จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐิน สงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น จะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป เพราะจะต้องจัดเป็นผู้รับผ้ากฐิน 1 รูป เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นองค์คณะ (สงฆ์) มากกว่า 5 รูปขึ้นไปใช้ได้ แต่น้อยกว่า 4 รูปใช้ไม่ได้
    • คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์จากวัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่พระรูปที่มาสมทบจะไม่มีสิทธิในการรับผ้าและไม่มีสิทธิออกเสียงว่าจะถวายผ้าให้กับรูปใด (เป็นเพียงแต่มาร่วมให้ครบองค์สงฆ์เท่านั้น) แต่คณะทายกทายิกาอาจถวายของสิ่งอื่นได้
    • กำหนดกาลที่จะทอดกฐิน การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 คำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ก่อนหรือหลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน
    • กฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ การที่พระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัดของตน การทำเช่นนั้นผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกราน นับเป็นโมะ การทอดก็ไม่เป็นทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์
    [​IMG]ประเภทของกฐิน
    การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ กฐินหลวง และ กฐินราษฎร์
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    [​IMG]กฐินหลวง

    เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิและประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวง ทั้งสิ้น
    ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    [​IMG]กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
    กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 16 วัด คือ
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD width=75></TD><TD>
    1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
    2. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
    3. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    4. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    5. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
    6. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
    7. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
    8. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    9. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
    10. วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
    11. วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
    12. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
    13. วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    14. วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
    15. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
    16. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8-9 วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย
    กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า
    [​IMG]แนวปฏิบัติ
    การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการและกำหนดการแต่งการเฝ้าฯ รับเสด็จฯ <SUP>*</SUP>
    ผู้ที่เฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้รับรองเชิญให้นั่งพัก ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถตามลำดับชั้นยศและตำแหน่ง
    งานเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินตามราชประเพณีประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ตั้งแถวรับเสด็จฯ
    เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ 5 หรือ 10 นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญข้าราชการผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่ไม่พอจะเข้าแถว ก็คงรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นั้น)
    ได้เวลาเสด็จฯ มีแตรวงกองทหารเกียรติยศบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าฯ ที่นั่งพักยืนถวายความเคารพ ผู้มาเฝ้าที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพเมื่อเสด็จฯ ผ่าน
    เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่จะนั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหน่ง เมื่อทรงปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับเมื่อเสด็จมาถึง
    ราชประเพณีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ ย่อมจัดลูกเสือหรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อเสด็จฯ ถึง และเสด็จฯ กลับ
    โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์แทนพระพุทธรูป มีแจกัน พานดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม แต่ไม่ต้องจุดเทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรมีธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ใส่พานตั้งไว้ เป็นการถวายความเคารพสักการะในการรับเสด็จฯ
    ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์ ครู นักเรียนจบแล้วถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลับไปยืนเฝ้าฯ ณ ที่เดิม


    <SUP>*</SUP> ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


    [​IMG]


    [​IMG]กฐินต้น
    กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า
    "กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
    เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นก็เพราะเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2447 เสด็จทรงเรือมาด 4 แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด 4 แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำสำหรับแจวตามเรือพระที่นั่งเวลามีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ เมื่อซื้อเรือมาดได้ดังพระราชประสงค์แล้วพระราชทานชื่อเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรมที่เมืองราชบุรีเกือบ 3 ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยว ผู้คนในขบวนเส็จเหนื่อยหอบตามกัน
    ประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาสอย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กันต่อมา


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินต้นเป็นประจำทุกปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดใดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
    2. ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
    3. ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย
    [​IMG]แนวปฏิบัติ
    ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นารส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด สำนักพระราชวังจะออกเป็นหมายรับสั่ง ส่วนมากจะแต่งเครื่องแบบปกติขาว เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่นอกนั้นหรือข้าราชการมนท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติกากีคอตั้งแบบข้าราชการ หรือกากีคอพับผูกผ้าผูกคอ
    การเฝ้าฯ รับเสด็จ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะรับรองข้าราชการและผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถ
    การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับเสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเอง และเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ เช่น
    ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้า ............... ผู้ว่าราชการจังหวัด............ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสเบิกผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท (ในกรณีที่ภริยาเฝ้าฯ อยู่ด้วย) นาง.............. ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไปควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะ ข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ เท่านั้น


    [​IMG]


    [​IMG]กฐินพระราชทาน
    เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจาก วัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัวโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
    ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
    [​IMG]แนวปฏิบัติ

    ขั้นตอนของกฐินพระราชทานมีดังนี้
    1. เมื่อได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลังวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินวันแรกแล้ว
    2. ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียมสถานที่และสิ่งจำเป็นที่มีบูชาพระรัตนตรัยมีเครื่องบูชาพร้อม อาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์อนุโมทนาพระกฐิน โต๊ะขนาดกว้างพอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวางเครื่องบริขารพระกฐินและเครื่องไทยธรรม โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีตามสมควร
    3. เมื่อถึงวันกำหนด ก่อนผู้เป็นประธานจะไปถึงหรือก่อนเริ่มพิธี ให้เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องพระกฐินจัดไว้บนโต๊ะ วางเทียนปาติโมกข์ไว้บนพาน และให้มีเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบหรือแต่งสากลนิยมคอยส่งให้ผู้เป็นประธานที่เชิงบันไดหรือประตูเข้าสถานที่ประกอบพิธี
    4. ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันได พระอุโบสถอุ้มประคองยืนตรงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วจึงเข้าสู่พระอุโบสถตรงไปวางไว้ที่พานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนสงฆ์
      (ถ้ามีปี่พาทย์หรือเครื่องดนตรีให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะผู้เป็นประธานรับผ้าไตรจากเจ้าหน้าที่หรือรับที่โต๊ะหมู่ในกรณีที่จัดไว้ ต่อจากนั้นจึงบรรเลงเพลงช้า) ขณะประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีจนถึงเวลาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงส่งเทียนชนวนคืน ให้หยุดบรรเลงทันทีแม้จะยังไม่จบเพลงก็ตาม และควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้สัญญาณเวลาให้เริ่มเพลงหรือให้หยุดบรรเลง
    5. เมื่อวางผ้าพระกฐินแล้ว จุดธูปเทียนเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ 3 หน
    6. เมื่อกราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปที่พานแว่นฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินขึ้นประคอง พนมมือหันไปทางพระประธานว่า นโม 3 จบ ต่อจากนั้นหันหน้าไปทางพระสงฆ์ว่าด้วยคำถวายพระกฐินดังนี้
      "ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐกอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า <SUP>*</SUP> น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลด้วยไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจตามพระบรมพุทธานุญาตนั้นเทอญ"
      ( <SUP>*</SUP> ถ้าเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม บริษัท ห้างร้าน ให้เปลี่ยนคำว่า ข้าพเจ้า เป็นชื่อหน่วยงานนั้นๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ พระราชทาน)
      กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้วประเคน พร้อมด้วยเทียนพระปาติโมกข์เสร็จแล้ว เข้านั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในระหว่างที่ผู้เป็นประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ผู้อยู่ในพิธีทั้งหมด ยืนแสดงความเคารพจนกว่าประธานจะนั่งลง จึงนั่งลงพร้อมกัน
    7. พระสงฆ์ทำพิธีกรรม
    8. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ ถ้ามี) ครองผ้าเสร็จกลับเข้านั่งยังอาสนสงฆ์ (ปี่พาทย์หยุดบรรเลง) ผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีถวายเครื่องพระกฐินแก่องค์ปกครอง เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง ถ้าจัดเครื่องไทยธรรมถวายเพิ่มเติมควรถวายภายหลังเครื่องพระกฐินหลวง
    9. ถ้ามีผู้บริจาคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ควรประกาศให้ที่ประชุมทราบ
    10. พอพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำ แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก จบประธานกราบพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
    11. กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมศาสนา หลังจากการถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รวบรวมดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลโดยพร้อมเพรียงกัน
    ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
     
  16. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]กฐินราษฎร์
    ฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีกำลังศรัทธานำผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) การทอดกฐินของราษฎรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะวิธีการทอดถึง 4 รูปแบบคือ

    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD width=75></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]กฐิน หรือ มหากฐิน
    เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า ผ้าที่เป็นองค์กฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
    นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า บริวารกฐิน ตามที่นิยมกันประกอบด้วยปัจจัย 4 คือ
    1. เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มี ไตร จีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น
    2. เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน
    3. เครื่องซ่อมเสนาสนะ มี มีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม
    4. เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น
    หรือจะมีอย่างอื่นนอกจากที่กลาวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐินด้วยก็ได้ สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
    นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้
    ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ
    1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
    2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้
    นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วย
    กฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน ก็ได้
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกฐิน
    เมื่องานบุญกฐินเป็นงานมหากุศลที่พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดงานบุญประเพณีนี้ต้องทำให้ถูกพระธรรมวินัยจึงจะได้อานิสงส์ ข้อปฏิบัติที่น่าสนใจมีดังนี้
    [​IMG]การจองกฐิน
    การจองกฐิน ก็คือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนั้นๆ มีผู้ศรัทธาทอดกฐินกันเป็นจำนวนมากถ้าไม่จองไว้ก่อนอาจไม่มีโอกาส จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นว่าจะทอดกฐินต้องจองล่วงหน้า เพื่อให้มีโอกาสและเพื่อไม่ให้เกิดการทอดซ้ำ วัดหนึ่งวัดปีหนึ่งทอดกฐินได้ครั้งเดียว และในเวลาจำกัด คือหลังจากออกพรรษาแล้วเพียงเดือนเดียวดังได้กล่าวมาแล้ว
    แต่อย่างไรก็ตาม กฐินหลวงไม่มีการจองล่วงหน้า เว้นแต่กฐินพระราชทาน ผู้ประสงค์จะขอรับพระราชทานกฐินไปทอดต้องจองล่วงหน้า โดยแจ้งไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวมาแล้ว

    ตัวอย่างใบจองกฐิน

    ข้าพเจ้าชื่อ ............................................................ บ้านเลขที่ ............. ตำบล ................................................. อำเภอ ..................................................... จังหวัด ....................................... มีศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐินแก่พระสงฆ์วัดนี้ มีองค์กฐิน .................... มีบริวารกฐิน ....................... กำหนดวัน ............. เดือน ............................................. ปี ..................... เวลา ........................

    ขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมกุศลด้วยกัน หากท่านผู้ใดมีศรัทธามากกว่ากำหนด ขอผู้นั้นจงได้โอกาสเพื่อทอดเถิด ข้าพเจ้ายินดีอนุโมทนาร่วมกุศลด้วย
    ถ้าหากว่ามีผู้ศรัทธามากกว่าจะนำกฐินมาทอด ณ วัดเดียวกัน ก็ต้องทำใบจองดังกล่าวมานี้มาปิดไว้ที่วัดในที่เปิดเผย เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น และเป็นธรรมเนียมที่ถือกันว่า การที่มีผู้มาจองทับเช่นนี้ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ถือเป็นเรื่องสนุกสนานในการทำบุญกุศลอย่างหนึ่ง ในภายหลังไม่นิยมจองทับกันแล้ว ถ้ามีศรัทธาวัดเดียวกันก็มักจะรวมกันซึ่งเรียกว่า กฐินสามัคคี
    ในการทอดกฐินสามัคคีนี้ ผู้ทอดอาจเชิญชวน ผู้มีจิตศรัทธาให้มาร่วมกันทำบุญ โดยแจกใบบอกบุญหรือเรียกว่า ฎีกา ก็ได้
    [​IMG]การทอดกฐิน
    เมื่อได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว ถึงกำหนดก็นำผ้ากฐินกับบริวารไปยังวัดที่จองไว้ การนำไปนั้นจะไปเงียบๆ หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลา ท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้วก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้

    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 1

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ


    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์


    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 2

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โร ภันเต อิมัง สะปริวารา กะฐินะทุสสัง ปฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินทั้งบริวารนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ

    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 3

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
    ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
    เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้นถ้าปรารถถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ต้องประเคน ถ้าปรารถนาจะประเคนก็อย่าประเคนสมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสมก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน ส่วนบริวารนั้น ถ้าจำนงถวายแก่ภิกษุสามเณรในวัดนั้นส่วนเฉพาะ ก็ช่วยกันถวายโดยทั่วกัน เมื่อประเคนเสร็จแล้วจะกลับเพียงนั้นก็ได้ แต่ถ้ายังไม่กลับจะรอจนพระสงฆ์อปโลกน์ และมอบผ้ากฐินเสร็จแล้วก็ได้
    ถ้าผ้ากฐินนั้นต้องทำต่อไปอีกเช่น ต้องซัก กะ ตัด เย็บย้อม จะอยู่ช่วยพระก็ได้ จึงมีธรรมเนียมอยู่ว่า ประเคนเฉพาะองค์กฐินแก่พระรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น แล้วรออยู่เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จจึงประเคนบริวารกฐินในภายหลัง พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ถวายทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และขณะนั้น เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    เพียงเท่านั้นก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป



    ที่มา : http://www.isangate.com/local/katin_01.html
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  18. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
    [​IMG]
    หลวงปู่ทวด


    วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "

    คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
    ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
    บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
    อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
    มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
    สิริรวมอายุได้ 99 ปี

    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

    ธรรมประจำใจ
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ละได้ย่อมสงบ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

    สันดาน
    " ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

    ชีวิตทุกข์
    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

    บรรเทาทุกข์
    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

    ยากกว่าการเกิด
    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

    ไม่สิ้นสุด
    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

    ยึดจึงเดือดร้อน
    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

    อยู่ให้สบาย
    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

    ธรรมารมณ์
    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

    กรรม
    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่
    " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

    โลกิยะหรือโลกุตระ
    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ศิษย์แท้
    พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รู้ซึ้ง
    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

    ใจสำคัญ
    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย

    หยุดพิจารณา
    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค
    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอน การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม

    ทำด้วยใจสงบ
    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

    มีสติพร้อม
    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง

    เตือนมนุษย์
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

    พิจารณาตัวเอง
    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง


    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวดขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
     
  19. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    ท่านใดที่จองกฐินและโอนเงินแล้ว
    อย่าลืมแฟกซ์สลิปยืนยันไปด้วยนะครับ
     
  20. leo_tn

    leo_tn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    602
    ค่าพลัง:
    +13,306
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big22 vAlign=center align=left colSpan=2>หลวงปู่ทวด-เจ้าพ่อเสือ ช่วยเขตต์รอดปาฏิหาริย์ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=450 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left>ใจหายกันทั้งวงการบันเทิง เมื่อพระเอกเขตต์ ฐานทัพ หวานใจนางเอกสาวนุ่น-วรนุช วงษ์สวรรค์ ขับรถอัดท้ายรถ 6 ล้อเมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 11 มกราคม ท้องที่ของสน.ดินแดง บริเวณปากซอยมหาวงศ์ ใกล้โบสถ์แม่พระ ถนนอโศก-ดินแดงขาเข้า แขวงและเขตดินแดง
    ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งอยู่ระหว่างปรับพื้นที่เพื่อทำสะพานข้ามแยกโบสถ์แม่พระ รถเก๋ง MINI COOPER ป้ายแดง สีน้ำเงิน ทะเบียน ว.3394 กรุงเทพมหานคร จอดอยู่ในสภาพตัวถังด้านหน้าแตกร้าวพังยับ ฝากระโปรงฉีกออกเป็นสองซีก กระจกหน้าแตกร้าวทั้งบาน พวงมาลัยยุบเข้ามาเกือบติดเบาะ ซึ่งคนงานที่กำลังทำงานอยู่ตรงจุดที่พระเอกเขตต์ประสบอุบัติเหตุนั้นเล่าว่า เห็นพระเอกเขตต์ขับรถคันดังกล่าวมาด้วยความเร็วแล้วรถเกิดเสียหลักหักเข้าเสยท้ายรถ 6 ล้ออย่างแรง ตอนแรกคนงานนึกว่าคนขับคงไม่รอดแน่ แต่ปรากฏว่าเดินออกมาจากรถได้อย่างสบาย มีเพียงเลือดที่ออกจากศีรษะเท่านั้น
    [​IMG]
    ต่อมาเพื่อนของเขตต์ได้ขับรถมารับพาไปโรงพยาบาลวิภาวดี โดยรักษาตัวอยู่ห้อง 3514 ชั้น 15 เมื่อผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถามเรื่องราวเห็นสภาพของพระเอกยังอิดโรยแต่ก็ยิ้มและต้อนรับผู้สื่อข่าวเหมือนอย่างเคย โดยเขตต์มีผ้าปิดแผลสีขาวแปะอยู่บริเวณหน้าผาก ซึ่งต่อมาทราบว่าเย็บไป 9 เข็ม เนื่องจากเขตต์ขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เดชะบุญที่เขาไม่เป็นอะไรมาก
    เขตต์ได้นำพระเครื่องที่ติดตัวอยู่ตลอดเวลาออกมาโชว์ทีมข่าวบันเทิงวันหยุดบอกว่า อาจจะเป็นเพราะเหรียญเจ้าพ่อเสือที่เสาชิงช้ากับหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ช่วยชีวิตของเขาเอาไว้ เพราะคนที่เห็นเหตุการณ์วันนั้นบอกว่า เห็นรถของเขตต์มุดเข้าไปในรถ 6 ล้อแล้วคิดว่าคนขับคงไม่รอดแน่ แต่เขากลับออกมาจากรถเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่ตัวเขตต์เองก็ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วยซ้ำ แรงกระแทกแค่ทำให้หน้าเขาไปฟาดกับกระจกหน้าทำให้แค่หน้าผากแตกเท่านั้นเอง
    ทั้งนี้ ตัวเขตต์และญาติของเขาต่างก็เชื่อว่าอาจจะเป็นอิทธิฤทธิ์ของเหรียญเจ้าพ่อเสือกับเหรียญหลวงปู่ทวดที่เขตต์ห้อยคออยู่ ซึ่งเขตต์ศรัทธามาก ว่ากันว่าเพราะสิงศักดิ์สิทธิ์สองสิ่งนี้เลยทำให้เขตต์รอดชีวิตจากอุบัติครั้งนี้อย่างปาฏิหาริย์
    "ผมเองก็งงเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่เป็นอะไรมาก เพราะเห็นสภาพรถที่ชนแล้วยังหวาดเสียวอยู่เลย ผมก็ไม่ได้ขับเร็วนะครับแค่ 80 แต่ช่วงที่ลงสะพานมีรถมอเตอร์ไซค์มาตัดหน้าเลยหักหลับ พอดีมีรถ 6 ล้อที่เขาจอดทำงานอยู่ตรงนั้นพอดี ก็เลยมุดเข้าไปเสยท้ายอย่างแรง ตอนแรกก็ตกใจ งงไม่รู้สึกว่าเป็นอะไร แต่รถพังขับไม่ได้ พอหายงงแล้วจึงรู้ว่าตัวผมเองไม่ได้เป็นอะไรมากแค่หัวแตกเย็บ 9 เข็ม ได้เอกซเรย์สมองแล้วคุณหมอบอกว่าไม่มีอะไรกระทบกระเทือนสมอง ผมเชื่อว่าอาจเป็นเพราะเหรียญเจ้าพ่อเสือกับหลวงปู่ทวดที่ผมห้อยคออยู่นี้ทำให้ตัวผมไม่เป็นอะไรมาก จากหนักเลยกลายเป็นเบา แต่เรื่องนี้ก็อยู่ที่ความเชื่อส่วนบุคลนะครับ" เขตต์กล่าว
    อย่างไรก็ตาม หากขับรถโดยประมาท หรือขับรถไม่คาดเข็มขับนิรภัย หรือเมาแล้วขับเมื่อไหร่ อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความโชคดีอาจจะไม่มีบ่อยนัก เช่นเดียวกับพระเอกเขตต์ ฐานทัพ ที่ครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก แต่อย่าประมาท เพราะครั้งหน้าความโชคดีและสิ่งปาฏิหาริย์อาจจะไม่เกิดขึ้นซ้ำสองก็เป็นได้

    ที่มา : http://www.wanyood.com/Content/Conte...-0501311200299
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     

แชร์หน้านี้

Loading...