พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญเมตตาอยู่อย่างสม่ำเสมอ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย paang, 19 กันยายน 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    <TABLE width=763 align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=2>เจริญเมตตา

    </TD></TR><TR><TD width=383>จากหนังสือ กำลังใจ 9 ตอน ธัมมานุสติ

    </TD><TD width=383>พระจุลนายก (สุชาติ อภิชาโต)

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    [​IMG]

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>


    พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เจริญเมตตาอยู่อย่างสม่ำเสมอ
    ให้มีความรู้สึกที่ดีต่อคนทุกๆ คน มองเขาเป็นเหมือนเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง
    เป็นคนที่เรารักที่เราชอบ ถึงแม้จะไม่รู้จักเขา ก็ขอให้มองเขาแบบนั้นเพราะเมื่อมองเขาแบบนั้นแล้ว
    เราจะไม่มีความโกรธแค้นอาฆาตพยาบาท


    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ราจะไม่คิดเบียดเบียนเขา แต่จะมีแต่ความปรารถนาดีกับเขา
    อยากให้เขามีความสุข อยากให้เขาพ้นทุกข์

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    แต่ถ้าไม่ได้เจริญเมตตา ปล่อยให้จิตถูกความมืดบอดครอบงำ
    เวลาเห็นการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ถูกใจ ก็จะเกิดความขุ่นมัวขึ้นมา
    เกิดความพยาบาทขึ้นมา

    เกิดความไม่พอใจ ไม่ชอบใจขึ้นมา แล้วก็จะเริ่มคิดร้ายกับเขาขึ้นมา
    เพราะไม่ได้เจริญเมตตานั่นเอง ถ้าเจริญเมตตาแล้ว เราจะมีแต่ความรู้สึกที่ดีต่อเขา

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    นอกจากการเจริญเมตตาแล้ว ทรงสอนให้เจริญอุเบกขาควบคู่ไปด้วย
    คือให้มองว่าสัตว์ทั้งหลายนั้น มีกรรมเป็นของๆ ตน จะดีจะชั่ว ก็เป็นเรื่องของเขา
    เขาดีเขาก็จะได้รับผลดีของเขา เขาชั่วเขาก็จะต้องได้รับผลชั่วของเขา
    ไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องไปเป็นผู้ตัดสิน เป็นผู้ให้คุณให้โทษกับเขา ​

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เขาดีเดี๋ยวเขาก็ได้รับผลดีไปเอง​

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เขาชั่วเขาก็ได้รับผลชั่วของเขาไปเอง ยกเว้นเขาเป็นคนที่อยู่ภายใต้การดูแลของเรา
    เป็นลูกจ้างของเรา ถ้าเขาเป็นคนดี ทำงานมีความขยันหมั่นเพียร มีความซื่อสัตย์สุจริต
    เราก็ควรให้รางวัลเขา ถ้าเราอยู่ในฐานะที่จะให้เขาได้ ถ้าเขาเป็นคนไม่ดี
    คนเกียจคร้าน คนทุจริต มีแต่จะคอยลักเล็กขโมยน้อย เราก็จะต้องทำโทษเขา
    ในเบื้องต้นเราอาจจะเตือนเขาไว้ก่อน ว่า ไม่ควรทำสิ่งเหล่านี้แล้วก็คาดโทษไว้ว่า
    ถ้าทำต่อไปจะต้องมีการทำโทษ ต้องมีการตัดเงินเดือน ถ้าเป็นโทษร้ายแรง
    ก็จะต้องให้ออกจากงานไป อย่างนี้ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    แต่ไม่ได้เป็นการกระทำที่เกิดจากการขาดความเมตตา แต่เกิดจากความจำเป็นที่จะ
    ต้องทำอย่างนั้น ถ้ามีความเมตตา มีอุเบกขา เวลาเห็นคนอื่นที่เราไม่มีความเกี่ยวข้องด้วย
    เขาจะชั่วอย่างไร เขาจะดีอย่างไร
    ใจของเราจะเป็นปกติ คือจะไม่โกรธแค้น โกรธเคืองกับเขา
    อยากให้เขาต้องเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ไป เราถือว่าเป็นเรื่องของกรรม
    เพราะการที่เราไปโกรธแค้นโกรธเคือง ก็เป็นการสร้างความทุกข์ให้กับใจของเราเอง
    สร้างความร้อนให้กับใจของเรา เป็นความทุกข์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากความมืดบอดนั่นแหละ
    ขาดปัญญา ขาดธรรมะ ผู้ที่มีธรรมะแล้วย่อมไม่โกรธแค้นโกรธเคืองผู้ใดเลย

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    แม้ผู้นั้นจะทำสิ่งที่ไม่ดีกับเรา สร้างความทุกข์ทั้งทางกายและทางใจให้กับเรา
    เราจะไม่อาฆาตพยาบาท เพราะความโกรธความอาฆาตพยาบาทเป็นเหมือนไฟที่จะเผาจิตใจของเรา
    ให้มีแต่ความรุ่มร้อน

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เราถูกเขาทำร้ายทางกายแล้ว ทำไมจึงให้เขาทำร้ายทางใจอีกด้วย
    ทางใจนี้เราระงับได้ด้วยธรรมะ ด้วยน้ำของธรรมะ คือต้องยอมรับสภาพความเป็นจริงว่า
    ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกนี้ เรายังจะต้องรับเคราะห์กรรม ที่เราเคยทำไว้ในอดีต

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    แม้ไม่ใช่เป็นกรรมในชาตินี้ ก็มีกรรมที่เราเคยทำไว้ในอดีตชาติ
    เราอาจจะจำไม่ได้เท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดเคราะห์กรรมแล้ว ก็ขอให้เราทำใจให้สงบ
    ทำใจให้เป็นปกติ เป็นอุเบกขา ดังในบทธรรมที่ได้เจริญไว้ว่า​

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของๆ ตน
    เขามีกรรมของเขา เราก็มีกรรมของเรา ในเมื่อวิบากกรรมคือผลของกรรมได้ตามมาถึงแล้ว
    เราจะไปปฏิเสธวิบากกรรมเหล่านั้นได้อย่างไร
    เราก็ต้องอดทน ใช้ขันติ ยอมรับกรรมอันนั้นไป
    แต่เราจะไม่ไปสร้างกรรมอันใหม่ขึ้นมาด้วยการไปตอบโต้ไปทำร้ายเขา
    อย่างนี้เป็นการสร้างเวรสร้างกรรมให้เพิ่มมากขึ้นไปอีก

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    เมื่อทำเช่นนี้แล้ว เวรกรรมก็จะไม่มีหมดสิ้น​

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>
    ดังในพุทธภาษิตที่แสดงไว้ว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร เวรไม่ระงับด้วยการจองเวร

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2007
  2. vinest

    vinest Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2007
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +71
    อนุโมทนาด้วยนะครับ ขอให้ผมมีความเมตากรุณาไปทุกชาติๆ จนกว่าจะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า
     

แชร์หน้านี้

Loading...