วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยที่มาในอรรถกถา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย firstini, 19 มกราคม 2013.

  1. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    รบกวนอ่านแล้วพิจารณา จะขอคำแนะนำ


    วิธีเจริญวิปัสสนาตามนัยที่มาในอรรถกถา

    ก็วิธีที่เจริญวิปัสสนา ซึ่งมาในกถานั้น ดังนี้ว่า
    การเจริญวิปัสสนาสำหรับผู้ได้ฌานแล้ว

    ผู้บำเพ็ญเพียรถ้าได้ฌานแล้ว เป็น สมถยานิก ย่อมทำฌานที่ตนได้ให้เป็นบาทแห่งวิปัสสนา
    คือออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
    ทั้งสัมปยุตตธรรมที่เกิดกับด้วยองค์ฌานนั้น ถึงซึ่งสันนิษฐานเข้าใจแน่ว่า องค์ฌานและสัมปยุตตธรรมเหล่านั้น
    เป็นนามธรรม เพราะเป็นธรรมน้อมไปยังอารมณ์ แล้วจึงแสวงหาที่อาศัยของนามธรรมนั้น
    จึงเห็นหทัยรูปเป็นที่อาศัยของนามธรรมนั้น มหาภูตรูปและอุปทายรูปเป็นที่อาศัยของหทัยรูปนั้น
    จึงสันนิษฐานเข้าใจรู้ชัดว่า หทัยรูป มหาภูตรูป และอุปาทายรูปเหล่านี้ เป็นรูปธรรม
    เพราะเป็นของทรุดโทรมฉิบหายไป ด้วยปัจจัยเป็นข้าศึกแก่ตนมีเย็นร้อนเป็นต้น
    ผู้บำเพ็ญเพียรที่ได้ฌานแล้วเป็นสมถยานิก ย่อมมากำหนดรู้จักนามและรูปได้แจ้งชัด ด้วยประการฉะนี้

    จากหนังสือคู่มือการบำเพ็ญกรรมฐาน รวบรวมโดย พระเทพวิสุทธิกวี วัดโสมนัส
    โดยบทที่ยกมานี้ประพันธ์โดย สมเด็จพระวันรัต(ทับ พุทธสิริ ป.ธ.๙)



    จากบทความที่ยกมานี้ รบกวนเพื่อนสมาชิกขยายความหรืออธิบายให้ชัดเจนจะเป็นพระคุณ
    อนึ่ง ขอให้หลีกเลี่ยงคำตอบที่ว่าด้วยเรื่องถูกหรือผิด จริงหรือเท็จ ตรงหรือคดเสีย เพราะไม่มีเจตนาเช่นนั้น
    เจตนาเพียงต้องการความกระจ่างชัดในบทความที่ยกมานี้เท่านั้น

    ขอบคุณครับ

    ปล.บทความนี้มีส่วนต่อขยายไปยังวิปัสสนาญาณ ๙ ต่อไป
     
  2. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผมอาจจะอธิบายไม่ตรงประเด็นนะ เพราะว่าถ้าจะเอาอรรถกถา มาอธิบายต่อๆ จากที่เค้าอธิบายไว้อยู่เเล้ว หากยังไม่รู้ว่ากำลังอธิบายนัยยะไหน มันก็อาจจะทำให้เคลื่อนออกไปอีก เเต่จะพูดตามที่เข้าใจหล่ะกัน ก็พอเข้าใจอยู่ว่าพูดถึงฌาน ให้กำหนด องค์ฌานทั้ง5 ว่าเป็นส่วนนาม ตรงนี้ก็ใช่ เเต่จะเข้าใจยากอยู่สำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าใจขันธ์เกิดดับ เมื่อพูดว่าให้ดูตรงองค์ฌานนี้ ซึ่งตรงนี้มันก็จะเกิดดับอยู่เเล้ว สมาธิทุกขั้นมันก็จะ เกิดดับอย่างนี้ สำหรับผู้สังเกตุจะเห็น เเต่ถ้าไม่ได้สังเกตุจะคิดไปอีกเรื่องเลย คิดไปว่าเป็นเเค่องค์ฌาน ไม่เกียวกัน. เวทนาไม่เกิดดับ วิตกวิจารไม่เกิดดับ คนละเรื่อง จะคิดอย่างนี้ ที่นี้จะทำให้เข้าใจยากขึ้นไปอีกคือ องค์ฌานมีเอกัคคตาจิต แปลว่าจิตจดจ่ออยู่สิ่งๆเดียว ซึ่งเป็นลักษณะที่พระองค์เอาไว้เรียกเฉยๆ ที่จริงไม่เกียวกัน ไม่น่ามีในองค์ฌาน.เเต่พอเอามารวมไว้ปัญหาที่บอกไปก่อนหน้านี้คือคนจะเข้าใจว่าองค์ฌานเป็นลักษณะอีกส่วนนึงเเทน เเล้วคิดกันว่าไม่เกียวกับส่วนนาม ซึ่งผู้ที่อรรถกถา เป็นผู้เฉียบเเหลมมีไหวพริบพอสมควรที่เเยกเเยะกันออก ในขณะที่กำลังใช้คำว่า เอกัคคตาจิตอยู่ ซึ่งความหมายมันจะสื่อให้เข้าใจว่าเป็นอารมอันเดียวไม่เกิดดับ เเต่ท่านเห็นด้วยปัญญาว่ามันเกิดดับ ไม่ใช่อารมอันเดียว มันจะหักล้างกันอยู่บริเวณนี้ ฉนั้นเเค่เรื่องนี้ก็สลับสับส้อนพอสมควร จึงต้องว่างเอกัคคตาจิตไว้ก่อน ไม่งั้นจะทำให้งงไปเรื่อย เช่น จตุตฌาน ในองค์ฌานคือเป็นผู้มีสติเพราะอุเบกขา(เวทนาขันธ์). เเต่สมัยนี้ลบคำนี้ออกเเล้วใสคำว่าเอกัคคตาจิตลงไปเเทน กลายเป็นจิตสว่างสอาดไม่มีอะไรเจือปน ไม่หวั่นไหวไม่เกิดดับ
    เเล้วคำว่าเอกัคคตาจิต ในพระสูตรการฟังธรรมก็มี พระองค์ก็บอกให้มีสติ ให้มีเอกัคคตาจิตอยู่กับการฟัง จะทำให้ฟังรู้เรื่องเเล้วเข้าสู่นิยามของความถูกต้องได้ งั้นต้องปรับเรื่องนี้กันก่อน ทั้งหมดนี้ก็พูดส่วนนามเท่านี้พอ
     
  3. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ตรงท่อนนี้ คือ วิธีการ ให้ทำความเข้าใจ วิธีการที่เป็น มรรค เข้ามาตรงนี้

    แต่ตรงนี้ ส่วนใหญ่จะนิยมพูดว่า " ออกจากฌาณแล้วมาพิจารณา " อันนี้
    จัดว่า เป็นธรรมเฉพาะบุคคล คือ พวกที่ ยังหลงในฌาณ ยังติดใจใน ฌาณ
    จะต้องโน้มน้าวให้เขาภาวนาเอาตอน " ออกจากฌาณ "

    แต่ถ้าเป็น คนที่คล่องในฌาณ แต่ ไม่ติดในรสฌาณ ไม่หลงในอำนาจของฌาณ
    คนเหล่านั้น จะภาวนา ขณะอยู่ใน ฌาณ ได้เลย ไม่ต้องถอยเข้าถอยออก

    ตรงนี้ต้องทำความเข้าใจไว้หน่อย เพราะ เวลาไปเจอ ธรรมบางบท อาจจะเห็น
    ว่าเกิดความขัดแย้ง ก็เลยต้องกล่าวให้เห็นเหตุผล ว่า ทำไมจึงใช้ คำว่า "ออก"
    มาก่อนแล้วจึง มาพิจารณา


    **************

    ทีนี้ จะอยู่ในฌาณก็ดี หรือ ออกจากฌาณก็ดี หรือ กำลังเข้าฌาณ ก็ดี จะต้อง
    ยก องค์ฌาณ ว่า ธรรมเหล่านี้เป็น " นามธรรม " จะต้อง วางใจให้แยบคาย มี
    สัมปชัญญะในการ "พิจารณาให้แยบคาย" จะเห็นง่าย ยกได้ง่าย ตอนที่ ออก
    จากฌาณ เพราะ จิตมันพึงคลายรสอร่อยในฌาณลงไป แต่ถ้า เรามีความแยบ
    คาย เราจะไม่โดน อำนาจขององค์ฌาณทั้ง5 ตัว ย้อมจิต ปิดบังการเห็น บิดเบือน
    สัมปชัญญะในการ "พิจารณา"

    พอเรา กระทำไว้ในใจ ในการเห็น องค์ฌาณทั้ง5 ตัวไหนก็ได้ เป็นนามธรรม โดย
    หลักการให้หมายเอาที่ "ปิติ" เพราะเป็น จุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ถ้า เรายกจิตพิจารณา
    แยบคายได้อยู่ สัมปชัญญะดีอยู่ ไม่หลงลืมการพิจารณา มันจะเกิดทางแยกระหว่าง
    สมาธิที่เป็นของนอกศาสนา จิตส่งออก กับ สมาธิที่เป็นเครื่องมือวิจัยธรรมะในศาสนา
    ซึ่งก็คือ "ปิติ แล้วไป สุข" หรือ ว่า "ปิติ แล้ว มาปัสสัทธิ"

    ถ้า ทำธรรมวิจัยะสำเร็จ เป็น โพชฌงค์ ก็จะผลิกเป็น ปัสสัทธิ เป็น สมาธิที่ไม่ให้อามิส
    เป็น นิรามิสสุข ( ไม่มี สุข , แต่เป็น ปัสสัทธิ ที่ความสุขใดไม่อาจเสมอได้ -- ความสงบ
    จึงเป็นสุขแท้ -- อย่า งง คำว่า สุข นะ อันนี้เป็น องค์ฌาณ ชื่อเรียก องค์ฌาณ )

    *****************

    พอมีธรรมวิจัยยะได้ ถูกส่วน มันจะ ล่วงส่วน(สุข) ออก ตรงนี้แหละ จะเจอ "ใจ" หา
    ใจเจอ จะเรียก หทัยรูป ก็ได้ ถ้าเป็นพวก สมถยานิกแนวส่งออกนอกมาก่อน อาธิ
    กสิณที่ใช้วัตถุภายนอก คือ เป็นพวกคล่องในการ สำเร็จด้วยใจ มาก่อน แต่ยัง
    ไม่เคยยกวิปัสสนา พอยกวิปัสสนาปั๊ป ไอ้ที่ว่า "สำเร็จด้วยใจ"ๆ แท้จริงแล้วมัน
    เป็นเพียงการเล่นแร่ แปรธาตุ บางประการ ( คล่องมากๆ จะมี วลี เอาจิตไว้ในกาย
    เอา กายไว้ในจิต แล้ว โน้มไปสู่อากาส ...โน้มไปสู่ญาณทัศนะ โน้มไปสู่การจำ
    แลงหนึ่งคนเป็นหลายคน ฯลฯ )

    ***********************************************

    เนี่ยะ หากทำธรรมวิจัยถูกต้อง แยก หทัยรูป ได้ หรือ หาใจเจอ( หลวงปู่เทสก์ )
    การภาวนาจะไม่หลงทางอีกต่อไป จะไม่ใช่ การฝึกสมาธิแบบนอกศาสนา จะ
    ต่างกัน มีการวิจัยต่างกัน แต่หากยกไม่ได้ ก็จะมีแต่ ความหลงในฌาณ ในฤทธิ์
    แต่ถ้า หาใจเจอ เห็น หทัยรูป หรือ เห็นการสำเร็จด้วยใจ เป็นเพียง ธรรมที่เล่น
    แร่แปรธาตุ มันจะคลายการหลงรสฌาณได้ .....คนในศาสนาก็ ยังเล่นแร่แปร
    ธาตุเหมือนกับ คนทำสมาธฺนอกศาสนา แต่ทว่า ...............การเห็นอาการของ
    จิตที่ส่งออกนอก จะต่างกัน ระหว่าง "ไม่เห็นเลย" กับ "รู้เห็นไปตามความเป็นจริง
    เนืองๆ "
     
  4. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    อ่านไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกันครับ
     
  5. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    อานนท์ มรรคใด ปฏิปทาใด เป็นไปเพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้ามีอยู่ การที่บุคคลจะไม่อาศัยซึ่งมรรคนั้น ซึ่งปฏิปทานั้น แล้วจักรู้เห็นหรือจักละ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น นั้นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เช่นเดียวกับบุคคลที่ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ ของต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่เสียก่อน
    แล้วจักไปถากเอาเเก่นนั้น นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น
    อานนท์! มรรค และ ปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั้น เป็นอย่างไรเล่า?
    อานนท์! ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากอุปธิ เพราะละเสียซึ่งอกุศลกรรมทั้งหลาย เพราะความระงับเฉพาะแห่งความหยาบกระด้างทางกายโดยประการทั้งปวง ก็สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปิติและสุขอันเกิดจากวิเวก แล้วแลอยู่ ในปฐมฌานนั้นมีธรรมคือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ที่กำลังทำหน้าที่อยู่ เธอนั้นตามเห็นธรรม ซึ่งธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯ เป็นของไม่ใช่ตน เธอดำรงจิตด้วยธรรมเหล่านั้น(ด้วยการเห็นความไม่เทียงเป็นต้น). แล้วจึงน้อมจิตไปสู่อมตะธาตุ ด้วยการกำหนดว่านั้นสงบ นั้นปราณีต.นั้นคือธรรมชาติที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งปวง เป็นที่สลัดคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นความจางคาย เป็นความดับ เป็นนิพพานดังนี้ เธอดำรงอยู่ในวิปัสสนาญาณมีปฐมฌานเป็นบาทฐานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ก็เป็น โอปาปาติกะ อนาคามี ผู้ปรินิพพานในภพนั้น มีการไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะความสิ้นไปมีในเบื้องต่ำห้าประการ เเละเพราะอำนาจแห่งธัมมราคะ ธัมมนันทินั้นๆนั่นเอง
    อานนท์! แม้นี้เเล ก็เป็นมรรค เป็นปฏิปทา เพื่อละเสียซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ห้านั่น

    (ในกรณีของ ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตฌาน ก็มีข้อความเหมือนกัน )

    การเจริญวิปัสสนาสำหรับผู้ได้ฌานแล้ว

    ผู้บำเพ็ญเพียรถ้าได้ฌานแล้ว เป็นสมถยานิก (ผู้เจริญสมถกัมมัฏฐาน คือมีฌานที่เกิดจากสมถเป็นเครื่องมือในการจะก้าวสู่วิปัสสนา)
    ย่อมทำฌานที่ตนได้แล้ว ให้เป็นบาท (คือเป็นพื้นฐาน) แห่งวิปัสสนา
    คือให้ถอนจิตออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา
    และบรรดาธรรมที่สัมปยุตต คือที่เกิดกับด้วยองค์ฌานนั้น ถึงซึ่งสันนิษฐานเข้าใจแน่ว่า องค์ฌานและสัมปยุตตธรรม คือธรรมทั้งหมดเหล่านั้น
    เป็นนามธรรม เพราะเป็นธรรมน้อมไปยังอารมณ์ แล้วจึงแสวงหาที่อาศัยของนามธรรมนั้น
    จึงเห็นหทัยรูป คือจิต เป็นที่อาศัยของนามธรรมนั้น เห็นมหาภูตรูปและอุปทายรูปเป็นที่อาศัยของหทัยรูปนั้น
    จึงสันนิษฐานเข้าใจรู้ชัดว่า หทัยรูป มหาภูตรูป และอุปาทายรูปเหล่านี้ เป็นรูปธรรม เพราะเป็นของทรุดโทรมฉิบหายไป
    (รูป นี่แหละแปลว่า ทรุดโทรมไป ฉิบหายไป) ด้วยปัจจัย ที่เป็นข้าศึกแก่ตน มีเย็น มีร้อนเป็นต้น

    ผู้บำเพ็ญเพียรที่ได้ฌานแล้วเป็นสมถยานิก ย่อมมากำหนดรู้จักนามและรูปได้แจ้งชัด ด้วยประการฉะนี้


    โดยสรุปสั้น ๆ คือ ท่านให้มีสติและสัมปชัญญะตามรู้ ค่อยใช้โยนิโสมนสิการ คือค่อย ๆ พิจารณาตามกำลังสติปัญญาที่มีอยู่บ้างนั้นพิจารณาให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในธรรมทั้งหมด ที่เกิดขึ้นกับขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งในกามภพ รูปภพ อรูปภพ โดยเอาฌานที่มีนั้น ๆ เป็นพื้นฐาน เพื่อก้าวไปสู่การพิจารณาธรรมทั้งหมด (หมายถึงฌานทั้งหมดด้วย) ให้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่งเรียกว่าวิปัสสนา คือเห็นขันธ์ 5 หรือสภาวธรรม ที่เกี่ยวข้องกันกับภพนั้น ๆ ตามความเป็นจริง คือ ในบรรดาภพ ทั้งหลาย ล้วนเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเองหละครับ

    ถ้าไม่อย่างนั้น ผู้ได้ฌานจากการทำจิตภาวนา ไม่ว่าระดับใด ก็จะติดสุขอันเกิดจากอัปปนาสมาธิ หรือฌาน เพราะพิจารณาไม่เป็น มีตัวอย่างเช่น ท่านหลวงปู่รูปหนึ่ง ที่ จ.อุดร ฯ ท่านติดฌาน คิดว่าได้บรรลุธรรมขั้นสูงกว่าฌานแล้ว ท่านจึงเข้าฌานเพื่อระงับทุกข์ทางกาย(อาพาธ) ได้ชั่วคราว มีความสุขชั่วคราว เมื่อออกจากฌาน ทุกข์หรืออาพาธก็กลับมารบกวนอีก ครั้งแล้วครั้งเล่า ต่อมา มีท่านผู้รู้คือ หลวงปู่จวนลูกศิษย์ท่านหลวงปู่มั่นมาแนะนำท่าน ท่านหลวงปู่บุญจึงหัดพิจารณาสภาวธรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ให้เห็นตามความเป็นจริง ท่านก็ยอมรับพระอาจารย์ท่านนั้นว่าเป็นพระอาจารย์ทางวิปัสสนา ตั้งแต่นั้นมา ว่า " ถ้าไม่ได้อาจารย์จวนช่วยแนะนำ เราก็เสียเลย"
    เชิญศึกษาจากประวัติหลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ นะครับผม

    จะผิดถูกอย่างไร ก็พิจารณาดูเถิด ครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 7 กุมภาพันธ์ 2013
  6. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    แล้วเคยเห็นที่พระองค์ตรัสชัดเจนเท่านี้มาก่อนหรือป่าวหล่ะ พระสูตรที่ยกมาเนี่ยเป็นการอธิบายโดยตรงเเบบสังเขป เเต่อย่าได้จำเเนกออกมาเลยจะหาประมานมิได้. เพราะผู้ที่เข้าใจเนื้อความเนี่ยได้อย่างจริงๆไม่ใช่ว่าเห็นเท่านี้นำไปปฏิบัติได้ อาจจะมีบ้างเเต่ส่วนน้อย พระองค์ยืนยันว่าถ้าใช้มรรคนี้ ปฏิปทาอย่างนี้เป็นการสิ้นสังโยชน์ห้าโดยตรง ฉนั้นไม่ใช่ง่ายๆอย่างที่คิดนะ ไม่อย่างนั้นพระองค์จะเเยกออกทำไม ระหว่างปุถุชนกับอริยสาวก ปุถุชนก็เข้าปฐมฌานได้เหมือนกัน ก็เห็นนั้นเเละ เห็นเเต่ความสงบไม่หวั่นไหว ไม่เกิดดับ ใครๆก็เข้าใจเเบบนี้ นี้คือความเป็นธรรมดา เเต่ท้าวเธอก็ไม่รอดพ้นกำหนดเดรฉาน เปรตวิสัย เเต่ถ้าสิ้นสั่งโยชน์3ได้ ไม่ต้องไปสู่โลกนั้น เพราะผู้ที่ทำนี้ได้หรือผู้ที่จะเข้าใจเนื้อความเเล้วนำไปปฏิบัติได้จริง ผลที่ได้เป็นถึงอนาคามี เป็นผู้ที่จะสิ้นสั่งโยชน์อย่างเเน่นอน เป็นผู้เที่ยงต่อนิิพพาน มีอันไม่ต้องกลับมาสู่ความเป็นเเบบนี้ มีความเป็นอรหันต์เป็นประกัน พอเห็นอย่างนี้ก็ต้องคิดว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆอยู่เเล้ว ไม่อย่างนั้นใครก็สิ้นอาสวะได้เอง ด้วยการเห็นอะไรก็ไม่รู้ในปฐมฌานนั้น หรือบรรลุธรรมได้จากการไม่ต้องฟังธรรม เเต่ ทว่าธรรมบทที่ว่ามานี้ มาจาก ศาสนีปาฏิหาริย์3 เท่านั้น เป็นคำสอนเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงคือ อาสวักขยญาณ หรือเรียกทั้งคู่ว่าวิชชาที่3 โดยสังเขปคืออริยสัจ4 โดยพิศดารคือปฏิจสมุปบาท. เพราะอย่างนั้นธรรมนี้ลึกเห็นได้ยากเป็นอณู ไม่ใช่เรื่องง่ายๆอยู่เเล้วที่จะอธิบายม้วนเดียวจบ
     
  7. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ทำให้ผมนึกถึงเรื่องราวของ ดวงจันทร์มีอยู่หรือไม่...
    ถ้าไม่มีเราก็ไม่มีดวงจันทร์
     
  8. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    นั่นเป็นการอธิบาย ขยายตามความในอรรถกาเดิมที่ จขกท.ยกมา เพื่อให้เข้าใจง่าย สำหรับผู้ไม่เข้าใจภาษาบาลี เท่านั้น ครับผม
    ผมเข้าใจแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าปฏิบัติได้หรอกครับ คือยังอยู่ในระดับที่เป็นความรู้จำ ยังไม่ใช่ความรู้จริง

    ก็ไม่จบง่าย ๆ หรอกครับ
    ถ้าต้องการความชัดเจนต้องไปศึกษาเรื่องระดับของการพิจารณาธรรม ให้ละเอียด ซึ่งท่านก็ให้พิจารณาธรรมทั้งหมด (รวมทั้งฌานทั้งหมดด้วย)
    ว่าต้องใช้สติปัญญาที่ละเอียดพิจารณา ให้เห็นเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไปเกิดเป็นพรหมชั้นต่าง ๆ ไปเรื่อยตามภูมิธรรมของตน ๆ จนกว่าจะได้พิจารณาให้เห็น
    เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จริง ๆ แบบปรมัตถ์ (ไม่ใช่แบบคิดเอา นึกเอา คาดคะเนเอา)

    ความละเอียดมีในพระไตรปิฎก นะครับ เชิญไปค้นหาใน สัลเลขสูตร เอาเองเถิด(นี่เป็นบทที่ทูลอัญเชิญมาประกอบการอธิบาย เรื่องนี้ ครับผม)

    รูปฌาน ๔

    [๑๐๒] ดูกรจุนทะ ก็ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่ วิเวกอยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมา)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือปฐมฌานนี้ เรา(ยัง)ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียงแค่)ธรรมเครื่องอยู่(เครื่องอาศัยให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจาร สงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่

    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือทุติยฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา ในวินัยของพระอริยะ เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือตติยฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรม เครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุจตุตถฌาน
    ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนเสียได้ มีอุเบกขาเป็น เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือจตุตถฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่(ให้)เป็นสุขในอัตภาพนี้ ในวินัยของพระอริยะ

    อรูปฌาน ๔

    [๑๐๓] ดูกรจุนทะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน
    โดยมนสิการว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวงอยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากาสานัญจายตนฌานนี้ เรา ไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลาในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
    แล้วมนสิการว่า วิญญาณไม่มีที่สุด พึงบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน อยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือวิญญาณัญจายตนฌานนี้เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล ที่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
    แล้วมนสิการว่า ไม่มีอะไรเหลือสักน้อยหนึ่ง พึงบรรลุอากิญจัญญายตน ฌานอยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคืออากิญจัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ
    อนึ่ง ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แลที่ ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ พึงล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการทั้งปวง
    แล้วพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
    ภิกษุนั้น(มัก)จะพึงมีความคิด(อย่างผิดๆ)อย่างนี้(ขึ้นมาได้)ว่า เราย่อมอยู่ด้วยธรรม(ที่เป็น)เครื่องขัดเกลากิเลส(อย่างถูกต้องดีแล้ว)
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา(กิเลสหรือดับกิเลส) ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า (ยัง)เป็น(เพียง)ธรรมเครื่องอยู่สงบ ระงับ ในวินัยของพระอริยะ

    ฌานเป็นเพียงเครื่องอยู่สบายของพระอรหันต์
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต



    อุปสีวปัญหาที่ ๖
    [๔๓๐] อุปสีวมาณพทูลถามปัญหาว่า
    ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ผู้เดียวไม่อาศัยธรรมหรือ
    บุคคลอะไรแล้ว ไม่สามารถจะข้ามห้วงน้ำใหญ่คือกิเลสได้
    ข้าแต่พระองค์ผู้สมันตจักษุ ขอพระองค์จงตรัสบอกที่หน่วง
    เหนี่ยว อันข้าพระองค์พึงอาศัยข้ามห้วงน้ำคือกิเลสนี้ แก่
    ข้าพระองค์เถิด ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสพยากรณ์ว่า ดูกรอุปสีวะ
    ท่านจงเป็นผู้มีสติ เพ่งอากิญจัญญายตนสมาบัติ อาศัยอารมณ์
    ว่า ไม่มี ดังนี้แล้วข้ามห้วงน้ำคือกิเลสเสียเถิด ท่านจงละกาม
    ทั้งหลายเสีย เป็นผู้เว้นจากความสงสัย เห็นธรรมเป็นที่สิ้น
    ไปแห่งตัณหาให้แจ่มแจ้งทั้งกลางวันกลางคืนเถิด ฯ
    อุ. ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวงละสมาบัติอื่น
    เสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจลงในสัญญา
    วิโมกข์ (คืออากิญจัญญายตนสมาบัติ ธรรมเปลื้องสัญญา)
    เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึงตั้งอยู่ในอากิญจัญ-
    ญายตนพรหมโลกนั้นแลหรือ ฯ
    พ. ดูกรอุปสีวะ ผู้ใดปราศจากความกำหนัดยินดีในกามทั้งปวง
    ละสมาบัติอื่นเสีย อาศัยอากิญจัญญายตนสมาบัติ น้อมใจ
    ลงในสัญญาวิโมกข์เป็นอย่างยิ่ง ผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหวพึงตั้ง
    อยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น ฯ
    อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้มีสมันตจักษุ ถ้าผู้นั้นเป็นผู้ไม่หวั่นไหว พึง
    ตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้นสิ้นปีแม้มากไซร้ ผู้
    นั้นพึงพ้นจากทุกข์ต่างๆ ในอากิญจัญญายตนพรหมโลกนั้น
    แหละ พึงเป็นผู้เยือกเย็น หรือว่าวิญญาณของผู้เช่นนั้น พึง
    เกิดเพื่อถือปฏิสนธิอีก ฯ
    พ. ดูกรอุปสีวะ มุนีพ้นแล้วจากนามกาย ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้
    ไม่ถึงการนับ เปรียบเหมือนเปลวไฟอันถูกกำลังลมพัดไป
    แล้ว ย่อมถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่ถึงการนับ ฉะนั้น ฯ
    อุ. ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ท่านผู้นั้นไม่มีหรือว่าท่านผู้นั้น
    เป็นผู้ไม่มีโรค ด้วยความเป็นผู้เที่ยง ข้าแต่พระองค์ผู้
    เป็นมุนี ขอพระองค์จงตรัสพยากรณ์ความข้อนั้นให้สำเร็จ
    ประโยชน์แก่ข้าพระองค์เถิด เพราะว่าธรรมนั้นพระองค์
    ทรงรู้แจ้งแล้วด้วยประการนั้น ฯ
    พ. ดูกรอุปสีวะ ท่านผู้ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ ไม่มีประมาณ ชน
    ทั้งหลายจะพึงกล่าวท่านผู้นั้นด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นใด กิเลส
    มีราคะเป็นต้นนั้นของท่านไม่มี เมื่อธรรม (มีขันธ์เป็นต้น)
    ทั้งปวง ท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว แม้ทางแห่งถ้อยคำทั้งหมด
    ก็เป็นอันท่านเพิกถอนขึ้นได้แล้ว ฯ
    จบอุปสีวมาณวกปัญหาที่ ๖
    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ บรรทัดที่ ๑๑๑๕๔ - ๑๑๑๙๓. หน้าที่ ๔๘๒ - ๔๘๓.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=25&A=11154&Z=11193&pagebreak=0



    และดูใน มูลปริยายสูตร (และ ใน ยุคนัทธกถา พระไตร ฯ เล่ม 31 มจร. 2539)
    และที่สำคัญ คือ ฌานสูตร พระไตร เล่ม 23 หน้า 508 ฉบับ มหาจุฬา ฯ พ.ศ.2539 นั่นเถิด

    ครับผม
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มีนาคม 2013
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    จริงๆแล้วผมก็แค่ต้องการคำอธิบายนะครับ เพราะเรื่องของภาษาบางทีมันก็ยุ่งๆ
    ลืมบอกไปว่า ก่อนจะมาถึงบทความที่ยกมา
    หนังสือท่านอธิบายการเจริญวิปัสสนาตามนัยบาลี โดยส่วนใหญ่ก็จะพิจารณาขันธ์๕ เป็นสำคัญ
     
  10. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    ตอนผมฟังธรรมของครูบาอาจารย์รูปนึง มันวาบขึ้นมาในใจทันที...

    ธรรมที่ีว่า...ที่คนส่วนใหญ่ทำคือ"สมถะ" เพื่ออัตตา เพื่อฤทธิ์เพื่อเดชเพื่อสุข
    แต่ "วิปัสสนา"ทำเพื่อล๊ะ เพื่อปล่อย เพื่อวาง ผมฟังแล้ววาบหมดเลยครับ
    มองสิ่งรอบข้าง เห็นมีแต่อัตตาล้วนๆเลย มันมีแต่สิ่งที่เรายึดๆและก็ยึดไว้
    พอเข้าใจรู้แล้ววาง มันโล่ง มันว่าง สบายจริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...