*~ เรียนแพทย์แผนไทย ใครว่าเชย ~*

ในห้อง 'จิตวิทยา & สุขภาพ' ตั้งกระทู้โดย ~:*พนมวัน*:~, 30 มกราคม 2013.

  1. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    อาหารไทยที่เป็นยาก็มีนะคะ

    [​IMG]

    เมี่ยงคำบำรุงธาตุ

    เมี่ยงคำ เป็นอาหารอีกเมนูหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมรับประทานเป็นอาหารว่าง ในช่วงฤดูฝน เนื่องจากเป็นช่วงที่ต้นชะพลูออกใบและยอดอ่อนมากที่สุดและมีรสชาติดี และอีกอย่างก็คือ เมี่ยงคำนั้นมีสมุนไพรหลายชนิด ที่ดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ใบชะพลู มะพร้าว ถั่วลิสง หอมแดง ขิง เป็นต้นล้วนเป็นสมุนไพรที่มีคุณท่าทางยาและดีต่อร่างกายของเราด้วยค่ะเรามาดู “สมุนไพรเมี่ยงคำ” กันดีกว่าค่ะว่ามีอะไรบ้าง

    สรรพคุณทางยาจากเมี่ยงคำ

    1.มะพร้าวที่มีอยู่ในเมี่ยงคำจะมีรสมันหวานช่วยในการบำรุงกำลัง บำรุงเส้นเอ็น ใช้รักษาโรคกระดูกได้ เช่นการนำมะพร้าวมาทำเป็นน้ำมันมะพร้าวและนำมานวนหรือทา

    2.ถั่วลิสง รสมัน บำรุงเส้นเอ็น บำรุงธาตุดินให้ร่างกายมีการปรับธาตุดินให้ลงตัว

    3.หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด เป็นต้น

    4.ขิง รสหวาน เผ็ดร้อน แก้จุดเสียด แก้เสมหะ บำรุงธาตุ แก้คลื่นเหียนอาเจียน ช่วยในการขับลม

    5.มะนาว เปลือกผล รสขม ช่วยขับลม น้ำมะนาวรสเปรี้ยว ขับเสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต และดีต่อผิวพรรณของเรา

    6.พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อยอาหารและช่วยในการขับถ่าย

    7.ใบชะพลู รสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ขับลม เป็นต้น

    8.ใบทองหลาง ขับพยาธิไส้เดือน แก้ตาแดง ตาแฉะ ตับพิษ เป็นต้น

    9.ข่า รสเผ็ดปร่าและร้อน ช่วยขับลม ขับพิษโลหิตร้ายในมดลูก ขับลมในลำไส้ เป็นต้น

    10.ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ เป็นต้น

    ประโยชน์ทางอาหาร
    เมี่ยงคำเป็นอาหารที่มีสมุนไพรเป็นส่วนผสมหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งสมุนไพรที่นำมาทานคู่กันนั้นช่วยใน “การบำรุงร่างกาย” เกี่ยวกับการบำรุงธาตุ การบำรุงโลหิต และสมุนไพรบางตัวนั้น ยังมีสารอาหารที่ดรต่อร่างกายของเราอีกด้วย และอีกอย่าง เมี่ยงคำนี้เป็นอาหารที่ช่วยในการย่อยอาหารที่ดีและดีต่อ “สุขภาพ”

    สมุนไพร สมุนไพรเมี่ยงคำ Archives

    [​IMG]
     
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    ใช่ค่ะ เหงือกปลาหมอพริกไทยน้ำผึ้ง เป็นยาอายุวัฒนะ คุณทวด คุณปู่ก็ทำให้กินต่อ ๆ กันมา เลยได้กินตั้งแต่เด็ก พอโตขึ้นมาไม่ได้กิน ว่าจะหันกลับไปกินอีกนะคะ แต่ซื้อจากร้านยาแผนโบราณสู้ทำเองไม่ได้ เพราะสดกว่า
     
  3. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    เห็นแล้วน้ำลายสออยากหม่ำเลยค่ะ ไม่ได้หม่ำมานานแล้วเพราะสภาพฟันไม่แข็งแรง ซี้ด..
     
  4. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    คุณบัวขวัญคะ ดอกอัญชัญมีสรรพคุณทำให้ฟันแข็งแรงค่ะ

    [​IMG]

    สรรพคุณของอัญชัน

    • ราก : รสเย็นจืด บำรุงดวงตา ทำให้ตาสว่าง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะพิการ แก้ปวดฟัน ทำ ให้ฟันทน

    • น้ำคั้นจากใบสดและดอกสด : ใช้หยอดตา แก้ตาอักเสบ ฝ้าฟาง ตาแฉะ มืดมัว

    • น้ำคั้นจากดอก : ใช้ทาคิ้ว ทาหัว เป็นยาปลูกผม (ขน) ทำให้ ผมดกดำเงางาม

    • สีจากดอกอัญชัน ใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง นิยมใช้ดอกสีน้ำเงินซึ่งมีสาร Anthocyanin ใช้ ทำสีขนม เช่น ขนมดอกอัญชัน ขนมช่อม่วง ทำน้ำดื่มสมุนไพร ได้ น้ำสีม่วงสวย เพราะสีของดอกอัญชันละลายน้ำได้ รวมทั้งสีเปลี่ยน

    ไปตามความเป็นกรดด่าง คล้าย กระดาษลิตมัสที่ใช้ตรวจสอบความ เป็นกรดด่างของสารละลาย

    ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับจากน้ำดอกอัญชัน มีดังนี้

    1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน

    2. ใช้เป็นสีผสมอาหาร

    3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น นื่องจากดอกอัญชัญมีสารที่จะไปเพิ่มการไหลเวียนในหลอดเลือดเล็กๆ เช่น หลอดเลือดส่วนปลายทำให้กลไกที่ทำงานเกี่ยวกับการมองเห็นแข็งแรงขึ้น

    และความสามารถของสารแอนโธไซยานินในดอกอัญชัญ ยังเพิ่มประสิทธิภาพของดวงตา เช่น ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน โรคต้อหิน โรคต้อกระจก และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น

    [​IMG]

    น้ำสมุนไพรดอกอัญชัน

    ส่วนผสม

    ดอกอัญชัญ 4-5 ดอก (ต่อ 2 แก้ว)

    น้ำสะอาด 2 แก้ว

    น้ำผึ้งแท้ , น้ำตาลทรายแดง (เล็กน้อยพอมีรส)

    มะนาว (พอสมควร)

    วิธีทำ

    เด็ดก้านสีเขียวๆ ที่ติดตรงขั้วออก แล้วนำดอกอัญชัญไปล้างให้สะอาด

    ตั้งไฟต้มน้ำแล้วใส่ดอกอัญชัญลงไป พอถึงตอนนี้น้ำจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดอก

    รอให้น้ำเดือดแล้วเติมรสหวาน

    เสร็จแล้วน้ำมากรองเอากากออก พักทิ้งไว้ให้เย็น เวลาดื่มให้ใส่น้ำแข็ง แค่นี้ก็จะได้น้ำอัญชัญสีสวยสดใส

    สำหรับใครที่ชอบรสเปรี้ยวก็บีบมะนาวตามชอบ สีของน้ำอัญชัญจากสีฟ้าก็จะเปลี่ยนเป็นสีม่วง เวลาดื่มจะได้กลิ่นมะนาว ทำให้สดชื่นแถมสีก็ดูสวยแปลกตา

    เรียกได้ว่าแก้วนี้ นอกจากจะมีสรรพคุณทางยาแล้ว ยังเพิ่มสีสันให้ชีวิตอีกด้วย

    น้ำสมุนไพรดอกอัญชัน
     
  5. sroader17

    sroader17 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2013
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +3
    เป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากครับ
     
  6. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผบช.น. มือปราบหมอเทวดา

    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROaVoyc3dOVEF4TURVMU5RPT0=

    [​IMG]

    พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) หรือบิ๊กแจ๊ส ประธานชมรมถ้ำเสือเมืองปทุม ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งรักษาการผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 1 (ผบช.ภ.1) ที่บรรดาโจรผู้ร้ายต่างหวาดผวาหัวหดไปตามๆ กัน ด้วยผลงานที่พิชิตคดีดังมาอย่างโชคโชนนับไม่ถ้วน

    อาทิ คดีกุดหัว “โจด่านช้าง” สุพรรณบุรี คดีสังหารนายปรีษณะ ผู้ว่าราชการ พร้อมทั้ง คดีโจ๊ก-จิบ ไผ่เขียว สองพี่น้องฆาตรกรโหดนักค้ายาเสพติดชื่อดังของจังหวัดอยุธยา ที่พึ่งปิดแฟ้มอาชญากรไปหมาดๆ นี้

    และรายล่าสุดคือ นายนิพนธ์ กันชาติ เจ้าพ่อค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่มีเครือข่ายอยู่ตามแนวรอยตะเข็บชายแดนทางภาคเหนือ พร้อมของกลางจำนวน 3.8 ล้านเม็ด และยาไอซ์ 71 กิโลกรัม มูลค่านับ 1,000 ล้านบาท

    รวมถึงคดีดังๆ อีกมากมาย แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งของมือปราบคุณธรรมผู้นี้ น้อยคนนัก ที่จะรู้จักว่า รองแจ๊สเมื่อยามถอดเครื่องแบบวางปืนจากการเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์แล้ว ยังเป็นแพทย์รักษาคนไข้ตามแบบฉบับแพทย์แผนไทย ที่รักษาผู้ป่วยสารพัดโรคด้วยตัวยาสมุนไพรดังกล่าว

    พล.ต.ท.คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง ในบทบาทแพทย์แผนไทย ได้เริ่มศึกษาหาความรู้มาตั้งแต่ 30 ปีก่อน ซึ่งตอนนั้นยังดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย 2 โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน

    จึงได้มีโอกาสรู้จักกับนายตำรวจรุ่นพี่คนหนึ่ง ชื่อ พ.ต.อ.เฉลิม สังข์ทอง หรือพี่เหลิม ที่เข้ามาอบรมหลักสูตรผู้กำกับการ ระหว่างการเข้ามาอบรมพี่เหลิมได้รักษาข้าราชการตำรวจในโรงเรียนนายร้อยด้วยยาสมุนไพรไทย และได้มีโอกาสไปดูวิธีการรักษาที่เป็นการรักษาแบบแพทย์แผนไทยที่แปลกมาก

    คนที่ป่วยเป็นโรคนั้นโรคนี้ เมื่อได้รับการรักษาอาการกลับดีขึ้นอย่างน่าประหลาดใจ ทำให้เกิดความสนใจและขอเป็นผู้ช่วยของพี่เหลิมมาตั้งแต่บัดนั้น ตลอดเวลาที่ได้ศึกษาศาสตร์แขนงนี้อย่างต่อเนื่อง

    [​IMG]

    ในวันหยุดหรือยามว่างก็จะอาสาไปเป็นลูกมือให้กับพี่เหลิมรักษาคนไข้เรื่อยมา และพยายามหาทางสนับสนุนพี่เหลิมมาโดยตลอด เพราะกลัวว่าวิชาแพทย์แผนไทยแขนงนี้จะหายสาบสูญไปจากสังคมไทย

    จึงได้แนะนำให้พี่เหลิมไปขอใบประกอบการรักษาโรคจากกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมาย จนได้รับใบประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย สาขาเวชกรรม จากกระทรวงสาธารณสุขอย่างเป็นทางการ

    หลังจากเปิดรักษาไปได้ไม่นาน เริ่มมีผู้ป่วยแห่มารักษากันเป็นจำนวนมากจนทำให้สถานที่ที่ทำการรักษาคับแคบไปถนัดตา หลังจากนั้นจึงมองหาพื้นที่เพื่อปลูกสร้างอาคารถ้ำเสือเพื่อรักษาคนไข้แบบถาวร

    ต่อมาปี 2553 พรรคพวกเพื่อนฝูงที่สนิทกันได้รวบรวมเงินจำนวนหนึ่งเพื่อก่อสร้างอาคารถ้ำเสือขึ้นมา และขออนุญาตเปิดเป็นสถานพยาบาลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย จนเป็นที่รู้จักกันมากในเมืองปทุม หลังจากที่ได้คลุกคลีอยู่กับวิธีการรักษาอย่างจริงจังต่อเนื่อง

    โดยเฉพาะในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เริ่มรู้จุดต่างๆ ของการรักษาและประกอบกับพี่เหลิมผู้ไม่เคยหวงวิชาจะคอยถ่ายทอดความรู้ให้อยู่ตลอดเวลา และนอกจากนี้พี่เหลิมยังได้มอบตำราแพทย์แผนไทยที่มีอยู่ทั้งหมด ให้เก็บรักษาไว้เพื่อศึกษาเพิ่มเติม จึงทำให้เกิดมีความเชียวชาญมากขึ้นจนสามารถรักษาผู้ป่วยด้วยตัวเองตั้งแต่นั้นมา

    หลังจากทำการรักษาคนไข้จนพี่เหลิมเห็นว่าตนมีความเชียวชาญในการรักษาคนไข้ในวิชาชีพแผนไทยแขนงนี้แล้ว จึงได้ทำพิธีครอบครูให้ เนื่องจากกลัวจะเกิดอาถรรพณ์ต่างๆ โดยได้ไปทำพิธีที่จังหวัดพิษณุโลก เมื่อทำพิธีอย่างถูกต้องจึงถือว่าได้เป็นหมอแผนไทยอย่างเต็มตัว

    แต่ทุกวันนี้ ยังคงทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยพี่เหลิมรักษาคนไข้ อยู่ที่ถ้ำเสือทุกเดือน ตนรู้สึกดีใจทุกครั้งที่ได้มีโอกาสช่วยเหลือคนไข้และไม่จำเป็นว่าต้องทำหน้าที่เป็นตำรวจเพียงอย่างเดียว แต่หน้าที่อื่นก็สามารถช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ได้

    ซึ่งบางคนป่วยด้วยโรคเรื้อรังมานานกว่าสิบยี่สิบปี แต่พอมารักษาก็หายยอมรับว่าดีใจและปราบปลื้มมากเมื่อสามารถช่วยให้เขาหายจากโรคร้ายได้ ส่วนอนาคต ตนจะขอเป็นแพทย์แผนไทยไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยเหลือคนที่เจ็บป่วยให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน

    และหลังเกษียณอายุราชการแล้วจะมีเวลามากพอ ก็จะเปิดการรักษาตามแบบแพทย์แผนไทยอย่างเต็มตัว พล.ต.ท.คำรณวิทย์ กล่าวทิ้งท้าย

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กุมภาพันธ์ 2013
  7. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    ชูสมุนไพร “5 ราก เบญจโลกวิเชียร” แก้หวัดพันธุ์ใหม่ ได้ผลชะงัด

    [​IMG]

    รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ โชว์ขวดบรรจุยาสมุนไพร 5 ราก หรืออีกชื่อหนึ่งว่า ยาเบญจโลกวิเชียร ที่ผลิตโดย ม.รังสิต

    อาจารย์แพทย์แผนไทย ม.รังสิต แนะใช้ยาสมุนไพรสู้หวัด 2009 เผยตำรับยารักษาไข้หวัดใหญ่มีมาแต่โบราณ ชูสมุนไพร “5 ราก” มีในบัญชียาหลักแห่งชาติ

    กินแก้หวัดตั้งแต่เริ่มมีอาการ ประสิทธิภาพฆ่าเชื้อไวรัสเทียบชั้นยาปัจจุบัน รับประกันได้ผลชะงัด พร้อมตัดโอกาสเชื้อดื้อยา ระบุฟ้าทะลายโจรเป็นยาแฟชัน ใช้เสริมได้แต่ไม่ควรใช้เป็นยาหลัก

    รศ.ดร.สุรพจน์ วงศ์ใหญ่ คณบดีผู้ก่อตั้งคณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดเผยถึงแนวทางการใช้แพทย์แผนตะวันออก ในการต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ในระหว่างการประชุมระดมความคิดเห็นเรื่อง “แนวทางการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์และนวัตกรรมสมุนไพรไทยมาใช้ในการป้องกันและรักษาการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด เอช1เอ็น1 (H1N1)ที่จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 7 ส.ค.52 ณ โรงแรมสยามซิตี

    ”การแพทย์แผนตะวันออก ไม่ว่าจะเป็นตำราอายุรเวชของอินเดีย การแพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนไทย มีหลักการคล้ายกัน คือเมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติ ก็จะต้องหาวิธีรักษาโดยปรับเข้าสู่สมดุล ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

    ขณะที่การแพทย์ตะวันตกรักษาทางร่างกายเพียงด้านเดียว จึงทำให้การรักษาไม่ได้ผลในบางครั้ง”
    รศ.ดร.สุรพจน์ เผย

    สำหรับกรณีของโรคไข้หวัดใหญ่ H1N1 สายพันธุ์ใหม่นั้นมีลักษณะอาการไข้เช่นเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ตักศิลา ซึ่งเป็น 1 ใน 14 คัมภีร์ ของตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ซึ่ง รศ.ดร.สุรพจน์ เผยว่า ตำราดังกล่าว เป็นตำราแพทย์แผนไทยที่รวบรวมไว้ตั้งแต่ปี 2416 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งรวบรวมขึ้นจากตำราพระโอสถพระนารายณ์

    ”วิธีการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ตามที่ระบุในคัมภีร์ตักศิลา แบ่งเป็นยา 3 ตำรับ ตำรับที่ 1 เป็นยากระทุ้งพิษ ใช้ขับพิษออกจากร่างกายหรือฆ่าเชื้อไวรัส โดยใช้ยา 5 ราก (ยาเบญจโลกวิเชียร) ที่ประกอบด้วยรากของพืชสมุนไพร 5 ชนิด

    ได้แก่ ชิงชี่, ท้าวยายม่อม, มะเดื่อชุมพร, คนทา และย่านาง ซึ่งเป็นพืชสมุนไพรไทยที่หาได้ไม่ยาก และยานี้ยังได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติด้วย”
    รศ.ดร.สุรพจน์ อธิบาย

    หลังจากรักษาด้วยยากระทุ้งพิษแล้วจึงรักษาตามด้วยตำรับยาแปรไข้ ได้แก่ ยาจันทลีลา ช่วยลดอาการไข้ จากนั้นรักษาด้วยตำรับยาครอบไข้ ได้แก่ ยาจันทหฤทัย ช่วยบำรุงร่างกาย ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคแทรกเข้าสู่อวัยภายใน และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก

    [​IMG]

    จากซ้าย ยาจันทลีลา, ยาเบญจโลกวิเชียร และยาจันทหฤทัย ยา 3 ตำหรับ จากคัมภีร์ตักศิลาในตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สำหรับรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ทุกชนิด


    ”จุดเด่นของการรักษาด้วยตำรับยาสมุนไพรคือ เชื้อไม่ดื้อยา ไม่มีผลข้างเคียง เพราะในยาสมุนไพรมีหลายสูตรโครงสร้างของโมเลกุลมากมายหลายร้อยโมเลกุล ทำให้โอกาสที่เชื้อจะดื้อยาเป็นไปได้ยาก

    และในแต่ละตำรับ จะมีตัวยาหักฤทธิ์ด้ว ยนอกจากตัวยาหลักและยารอง จึงไม่ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงเมื่อนำไปใช้ ขณะที่ยาแผนปัจจุบันอาจมีผลข้างเคียงในการรักษา และเชื้อมีโอกาสดื้อยาได้ง่าย เพราะในตัวยาปัจจุบันมีสูตรโครงสร้างเดียว ทำให้เชื้อปรับตัวและดื้อยาง่าย”
    อาจารย์ด้านแพทย์แผนไทย อธิบาย

    นอกจากนี้ รศ.ดร.สุรพจน์ ยังได้แนะนำสมุนไพรที่มีฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน ได้แค่ อิคินาเซีย เป็นสมุนไพรท้องถิ่นในอเมริกา ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลกว่ามีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเห็ดหลินจือ ขมิ้นชัน ปัญจขันธ์ และชาจีน

    อย่างไรก็ดี รศ.ดร.สุรพจน์ ได้กล่าวถึงฟ้าทะลายโจรด้วยว่าเป็นยาแฟชันในขณะนี้ เพราะมีการโปรโมทกันมาก ทั้งที่จริงๆ แล้วฟ้าทะลายโจรสามารถนำมาใช้เป็นยาเสริมในการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้ แต่ไม่ควรนำมาใช้เป็นยาหลัก เพราะฤทธิ์ต้านไวรัสอ่อน และเตือนว่าไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์และผู้ที่เป็นโรคความดัน เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ และมีผลทำให้ความตันต่ำด้วย

    อาจารย์ด้านแพทย์แผนไทยจาก ม.รังสิต ย้ำว่าตำหรับยาสมุนไพรไทยสามารถใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้และได้ผลดีกว่ายาโอเซลทามิเวียร์ที่ใช้กันอยู่ด้วยซ้ำ จึงควรสนับสนุนให้ประชาชนได้เข้าถึงยาสมุนไพรเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศได้มหาศาล

    พร้อมกันนี้ ได้เสนอแนวทางการพัฒนายาในประเทศไทยว่าควรพัฒนาต่อยอดจากภูมิปัญญาไทย และใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย ด้วยการสกัดสารสำคัญออกมา ทำให้เข้มข้นขึ้น และพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้ง่ายคล้ายยาแผนปัจจุบัน

    ซึ่งตำรับยาสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยที่ใช้กันมาแต่โบราณ จึงเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าใช้รักษาโรคได้ผลและไม่เป็นอันตราย ซึ่งวันนี้อาจเป็นการแพทย์ทางเลือก แต่ต่อไปอาจเป็นทางหลักของคนไทย
     
  8. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    ชู ผักสมุนไพรไทย 6 ชนิด ตำลึง มะระขี้นก ว่านหางจระเข้ กะเพรา ใบหม่อน บัวบก ลดน้ำตาลในเลือด ช่วยผู้ป่วยเบาหวาน

    http://www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin_hotnew/show_hotnew.php?idHot_new=51344

    นพ.สมชัย นิจพานิช อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวถึง สมุนไพรใกล้ตัวและผักพื้นบ้านต้านโรคเบาหวาน พร้อมระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 285 ล้านคน และคาดการณ์ว่าอีก 20 ปีข้างหน้า จะเพิ่มขึ้นเป็น 438 ล้านคน โดยผู้ป่วย 4 ใน 5 เป็นชาวเอเชีย

    สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน แพทย์แผนไทยจะแนะนำให้ใช้รสชาติอาหารเป็นยา คือ รสขม ซึ่งปัจจุบัน มีนักวิชาการจากองค์กรและสถาบันต่างๆ ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรและผักพื้นบ้านของไทย พบว่า หลายชนิดมีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลในเลือด อาทิ ตำลึง กะเพรา มะระขี้นก หม่อน เป็นต้น

    และสมุนไพรเร่งการหายของแผล ได้แก่ บัวบก นอกจากนี้ สิ่งที่ผู้ป่วยไม่ควรมองข้ามคือ การออกกำลังกาย เช่น การเดินแทนการใช้รถ การทำความสะอาดบ้าน รำไทเก๊ก ฤาษีดัดตน เดินกะลา โยคะ หรือเดินในสวน รถน้ำตนไม้

    รวมถึง ไม่ควรเครียด อาจจะหากิจกรรมอื่นทำ เช่น ทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ ฟังเทศน์ เพื่อให้จิตใจสงบ และผ่อนคลาย และการนวดเท้าเพื่อกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิต เลี้ยงอวัยวะส่วนปลายลดอาการชา

    ด้าน ภญ.ดร.อัญชลี จูฑะพุทธิ รองผู้อำนวยการสถาบันการแพทย์แผนไทย กล่าวว่า ผักพื้นบ้านและสมุนไพรไทยอย่างน้อย 5 ชนิด ที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือด ได้แก่

    [​IMG]

    1.ตำลึง โดยใช้เถาแก่ๆ ประมาณ 1 กำมือ ต้มกับน้ำ หรือน้ำคั้นจากผลดิบ ดื่มวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จะช่วยลดน้ำตาลในเลือดได้ เพียงแต่ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า การรับประทานในรูปแบบของแกงจืด มีผลในการลดสาระสำคัญในตำลึง ที่ช่วยในการลดน้ำตาลในเลือดหรือไม่

    2.มะระขี้นก วิธีการใช้ หั่นเนื้อมะระตากแห้งชงน้ำดื่ม หรือรับประทานผลสดครั้งละ 6-15 กรัม หรือคั้นน้ำจากผลสด 1 ผลแล้วดื่ม

    3.วุ้นว่างหางจระเข้ ใช้โดยวุ้นว่านหางจระเข้หั่นสดประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ มาปั่นแล้วรับประทานวันละ 2 ครั้ง แต่นักวิจัยระบุว่า สาระสำคัญไม่คงตัว ในการใช้เองที่บ้านอาจต้องใช้แบบหั่นสด

    4.กะเพรา นำใบกะเพราตากแห้ง 2-5 กรัม ละลายน้ำแล้วดื่ม

    5.ใบหม่อน มีสาระสำคัญในการลดน้ำตาลในเลือด โดยสารชนิดนี้ จะออกมาได้ดีเมื่อนำไปชงแบบชา ทิ้งไว้ 3-5 นาที ซึ่งสารชนิดนี้ ช่วยยับยั้งเอนไซม์ย่อยน้ำตาล การดูดซึมกลูโคสลด ระดับน้ำตาลในร่างกายก็จะลดลงด้วย

    “สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผล และหายช้ากว่าคนปกติทั่วไป มีการวิจัยพบว่า บัวบก สามารถเร่งการหายของแผลได้เร็วขึ้น โดยปั่นน้ำบัวบกเข้มข้น ดื่มต่างน้ำ

    อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่กินสมุนไพรในการช่วยลดน้ำตาลในเลือด ควรแจ้งให้แพทย์แผนปัจจุบัน ที่ทำการรักษาด้วย เนื่องจาก บางครั้งแพทย์อาจจะจัดยาให้ ในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว เมื่อรับประทานผักหรือสมุนไพร ควบคู่ด้วย อาจทำให้น้ำตาลลดมากเกินไป” ภญ.ดร.อัญชลีกล่าว
     
  9. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    กระทู้นี้มีประโยชน์มากจริงๆ ขอบคุณมากนะคะ
     
  10. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    ดีใจจังค่ะที่กระทู้มีประโยชน์ ขอเสนอเรื่องของบรมครูการแพทย์แผนไทย คือท่านอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์ ต่อเลยนะคะ

    [​IMG]

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี หญิงนครโสเภณีประจำเมืองราชคฤห์ แห่งแคว้น มคธ ในสมัยโบราณหญิงนครโสเภณีเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ทรงแต่งตั้งโดยพระมหากษัตริย์เหมือนตำแหน่งเศรษฐีประจำเมือง เช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น เมื่อนางสาลวดีตั้งครรภ์โดยบังเอิญ ทารกที่เป็นชายจะถูกนำไปทิ้งนอกเมือง ถ้าเป็นหญิงจะเลี้ยงไว้เพื่อให้สืบทอดอาชีพหญิงโสเภณี

    บุตรคนแรกของนางสาลวดีเป็นชาย เมื่อนางให้สาวใช้นำไปทิ้งไว้ที่นอกเมือง บังเอิญพระราชโอรสของพระเจ้าพิมพิสารพระองค์หนึ่งนามว่า อภัยราชกุมาร ได้มาพบเห็นจึงนำไปเลี้ยงไว้เป็นบุตรบุญธรรมและตั้งชื่อให้ตามคำกราบทูลมหาดเล็กว่า “ชีวก ยังมีชีวิตอยู่ ส่วนคำว่า “โกมารภัจจ์ แปลว่า กุมารที่ได้รับการเลี้ยงดู หรือกุมารในราชสำนัก” อันหมายถึง “บุตรบุญธรรม” นั่นเอง

    ชีวกโกมารภัจจ์ มักถูกล้อเลียนจากเพื่อน ๆ ว่าเป็นลูกไม่มีพ่อจึงหนีไปเรียนวิชาการแพทย์อยู่กับอาจารย์ที่เมืองตักกศิลาเป็นเวลา ๗ ปี โดยอาสาปรนนิบัติรับใช้เนื่องจากไม่มีเงินค่าเล่าเรียน จนเป็นที่รักใคร่จึงได้รับการถ่ายทอดวิชาการแพทย์ให้ทั้งหมดโดยไม่ปิดบัง เมื่ออาจารย์ทดสอบโดยให้ชีวกโกมารภัจจ์ไปสำรวจต้นไม้ในป่าว่าต้นไหนที่สามารถใช้เป็นตัวยาได้ ชีวกโกมารภัจจ์หาไม่พบเพราะต้นไม้ทุกต้นนำมาประกอบเป็นยาได้ทั้งสิ้น อาจารย์จึงบอกว่าได้เรียนรู้จบหลักสูตรแล้วให้กลับสู่บ้านเมืองเพื่นนำวิชาความรู้ช่วยเหลือคนเจ็บป่วยทุกข์ยาก

    เมื่อกลับสู่เมืองราชคฤห์หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้รักษาพระอาการประชวรด้วยพระโรค “ภคันทลาพาธ” หรือโรคริดสีดวงทวาร ของพระเจ้าพิมพิสารจนหายขาดจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหมอหลวงพร้อมพระราชทานสวนมะม่วงให้ ต่อมาสวนมะม่วงแห่งนี้หมอชีวกได้ถวายเป็นวัดที่ประทับของพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ในภายหลังเมื่อพระเจ้าพิมพิสารสวรรคตเพราะถูกพระเจ้าอชาตศัตรูพระราชบุตรองค์หนึ่งชิงราชบัลลังก์ตามคำยุยงของพระเทวทัต หมอชีวก ก็ได้ทำหน้าที่เป็นแพทย์หลวงประจำพระองค์ และเป็นผู้ชักนำพระเจ้าอชาตศัตรูให้มาเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรมจนเกิดความศรัทธาในพระรัตนตรัย
     
  11. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ครั้นนางกุมารีสาลวดี (สาสวดี) ได้รับเลือกเป็นหญิงงามเมืองแล้ว ไม่ช้านานเท่าไรนัก ก็ได้เป็นผู้ชำนาญในการฟ้อนรำ ขับร้องบรรเลงเครื่องดนตรี มีคนที่มีความประสงค์ต้องการตัวไปร่วมอภิรมย์ ราคาตัวคืนละ ๑๐๐ กษาปณ์ ครั้นมิช้ามินาน นางสาลวดีหญิงงามเมืองก็ตั้งครรภ์

    นางมีความคิดเห็นว่า ธรรมดาสตรีมีครรภ์ไม่เป็นที่พอใจของพวกบุรุษ ถ้าใคร ๆ ทราบว่า เรามีครรภ์ ลาภผลของเราจักเสื่อมหมด ถ้ากระไร เราควรแจ้งให้เขาทราบว่าเป็นไข้ ต่อมานางได้สั่งคนเฝ้าประตูไว้ว่า

    “นายประตูจ๋า โปรดอย่าให้ชายใดๆ เข้ามา และผู้ใดถามหาดิฉัน จงบอกให้เขาทราบว่า เป็นไข้นะ !”

    คนเฝ้าประตูนั้นรับคำนางสาลวดีหญิงงามเมืองว่า “จะปฏิบัติตามคำสั่งเช่นนั้น”

    หลังจากนั้น อาศัยความแก่แห่งครรภ์นั้น นางได้คลอดบุตรเป็นชาย และสั่งกำชับทาสีว่า “แม่สาวใช้จงวางทารกนี้ลงบนกระด้งเก่าๆ แล้วนำออกไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ (กองขยะ)”

    ทาสีนั้นรับคำนาง แล้ววางทารกนั้นลงบนกระด้งเก่า ๆ นำออกไปทิ้งไว้ ณ กองขยะ ในเวลาเช้าวันนั้น เจ้าชายอภัย กำลังเสด็จเข้าสู่พระราชวัง ได้ทอดพระเนตรเห็นทารกนั้นอันฝูงกาห้อมล้อมอยู่ จึงได้ตรัสถามมหาดเล็กว่า

    “พนายนั่นอะไร ฝูงการุมกันตอม”

    มหาดเล็ก “ทารก พ่ะย่ะค่ะ “

    เจ้าชายอภัย “ยังเป็นอยู่หรือ พนาย“

    มหาดเล็ก “ยังเป็นอยู่ พ่ะย่ะค่ะ“

    เจ้าชายอภัย "พนาย.. ถ้าเช่นนั้น จงนำทารกนั้นไปที่วังของเรา ให้นางนมเลี้ยงไว้“

    คนเหล่านั้นรับสนองพระบัญชาว่า “อย่างนั้น พ่ะย่ะค่ะ“

    แล้วนำทารกนั้นไปวังเจ้าชายอภัย มอบแก่นางนมว่า “โปรดเลี้ยงไว้ด้วย“

    อาศัยคำว่า “ยังเป็นอยู่" เขาจึงขนานนามทารกนั้นว่า ชีวก (ยังมีชีวิตอยู่)

    ชีวกนั้น อันเจ้าชายรับสั่งให้เลี้ยงไว้ เขาจึงได้ตั้งนามสกุลว่าโกมารภัจจ์ ต่อมาไม่นานนัก ชีวกโกมารภัจจ์ก็รู้เดียงสา จึงเข้าเฝ้าเจ้าชายอภัย ครั้นแล้วได้ทูลคำนี้แด่เจ้าชายอภัยว่า

    “ใครเป็นมารดาของเกล้ากระหม่อม ใครเป็นบิดาของเกล้ากระหม่อม พ่ะย่ะค่ะ“

    เจ้าชายรับสั่งว่า “พ่อชีวก แม้ถึงตัวเราก็ไม่รู้จักมารดาของเจ้า ก็แต่ว่าเราเป็นบิดาของเจ้า เพราะเราได้ให้เลี้ยงเจ้าไว้“

    จึงชีวกโกมารภัจจ์ มีความคิดเห็นว่า ราชสกุลเหล่านี้คือ ราชสกุลของพระเจ้าแผ่นดิน หากคนที่ไม่มีศิลปะจะเข้าพึ่งพระบารมี ทำไม่ได้ง่าย ถ้ากระไรเราควรเรียนวิชาแพทย์ไว้ เพราะเป็นวิชาที่อาศัยเมตตา กรุณา เพื่อสัตว์ทั้งหลาย อันเป็นความคิดตามความคำนึงของกุศลกรรม

    ซึ่งในอรรถกถาว่า อาจารย์ทิศาปาโมกข์ถามว่า "พ่อเป็นใครกัน?" ตอบว่า "กระผมเป็นนัดดาของมหาราชพิมพิสาร เป็นบุตรของท่านอภัยราชกุมาร มาเพื่อศึกษาศิลปแพทย์" ท่านว่าซึ่งศิษย์คนอื่น ๆ ที่เป็นบุตรหลานของพระราชาแว่นแคว้นต่าง ๆ ล้วนให้ทรัพย์แก่อาจารย์แล้วขอเรียนเป็นศิษย์ แล้วไม่ต้องทำการงานอะไรให้อาจารย์นอกจากเรียนอย่างเดียว แต่ชีวกไม่ได้มีทรัพย์ให้แก่อาจารย์ เป็นศิษย์ที่ทำการงานให้อาจารย์แลกกับวิชาความรู้ ต้องทำงานเวลาหนึ่ง เรียนเวลาหนึ่ง แม้ว่าต้องทำงาน แต่ชีวกก็สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เป็นผู้มีปัญญมาก

    ครั้งนั้นชีวกโกมารภัจจ์ เรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย และวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม ในอรรถกถาว่า คนส่วนมากต้องใช้เวลาเรียน ๑๖ ปี แต่ชีวกใช้เวลาเรียนแค่ ๗ ปี ครั้นล่วงมาได้ ๗ ปี ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า

    “ตัวเราเรียนวิชาได้มาก เรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้ก็ไม่ลืม และเราเรียนมาได้ ๗ ปีแล้ว ยังไม่สำเร็จศิลปะนี้ เมื่อไร จักสำเร็จสักที“

    จึงเข้าไปหาอาจารย์ผู้นั้นแล้วได้เรียนถามว่า

    “ท่านอาจารย์ กระผมเรียนวิชาได้มากเรียนได้เร็ว เข้าใจดีด้วย ทั้งวิชาที่เรียนได้แล้วก็ไม่ลืม และกระผมได้เรียนมาเป็นเวลา ๗ ปีก็ยังไม่สำเร็จ เมื่อไรจักสำเร็จสักทีเล่า ขอรับ“

    อาจารย์ตอบว่า “พ่อชีวก ถ้าเช่นนั้นเธอจงถือเสียมเที่ยวไปรอบเมืองตักกสิลา ในระยะทาง ๑ โยชน์ ตรวจดูสิ่งใดไม่ใช่ตัวยา จงขุดสิ่งนั้นมา“

    ชีวกโกมารภัจจ์รับคำอาจารย์แล้ว ถือเสียมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์ มิได้เห็นสิ่งใดที่ไม่เป็นตัวยาสักอย่างหนึ่งจึงเดินทางกลับ เข้าไปหาอาจารย์และได้กราบเรียนคำนี้ว่า

    “ท่านอาจารย์ กระผมเดินไปรอบเมืองตักกสิลาระยะทาง ๑ โยชน์แล้ว มิได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นยาสักอย่างหนึ่ง“

    อาจารย์บอกว่า “พ่อชีวก เธอศึกษาสำเร็จแล้ว เท่านี้ก็พอที่เธอจะครองชีพได้แล้ว“

    แล้วได้ให้เสบียงเดินทางเล็กน้อยแก่ชีวกโกมารภัจจ์ ด้วยอาจารย์คิดว่า ชีวกเป็นบุตรราชสกุล เรียนจบไปแล้วกลับไปถึงเมืองจักได้ลาภสักการะใหญ่จากราชสกุล เขาจะไม่รู้คุณค่าของศิลปะ และไม่รู้คุณของอาจารย์ แต่หากเขาหมดเสบียง เขาจะใช้ศิลปะที่เรียนมาหาเสบียงเดินทาง เขาก็จะรู้คุณของอาจารย์

    ชีวกโกมารภัจจ์ถือเสบียงเล็กน้อยนั้นแล้ว ได้เดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์ ครั้นเดินทางไปเสบียงเพียงเล็กน้อยนั้นได้หมดลงที่เมืองสาเกต ในระหว่างทาง จึงเกิดความปริวิตกว่าหนทางเหล่านี้แลกันดารอัตคัดน้ำ อัตคัดอาหาร คนไม่มีเสบียงจะเดินไป ทำไม่ได้ง่าย จำเราจะต้องหาเสบียง
     
  12. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ซึ่งในเวลานั้น ภรรยาเศรษฐีที่เมืองสาเกต เป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปี นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำให้สูญเสียเงินไปเป็นอันมาก ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์เข้าไปสู่เมืองสาเกต ถามคนทั้งหลายว่า

    “พ่อนาย ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยมคุณนาย“

    คนเฝ้าประตูรับคำชีวกโกมารภัจ ดังนั้นแล้วจึงได้เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี แล้วได้กราบเรียนว่า

    “คุณนายขอรับ หมอมาแล้ว เขามีความประสงค์จะเยี่ยม“

    ภรรยาเศรษฐีถามว่า “พ่อนายเฝ้าประตูจ๋า หมอเป็นคนเช่นไร“

    พนาย “เป็นหมอหนุ่มๆ ขอรับ“

    ภรรยาเศรษฐี “ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก“

    นายประตูนั้น จึงเดินออกมาหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้เรียนว่า

    “ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีพูดอย่างนี้ว่า ไม่ละ พ่อนายเฝ้าประตู หมอหนุ่ม ๆ จักทำอะไรแก่ฉันได้ นายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “พ่อนายเฝ้าประตู ท่านจงไปกราบเรียนภรรยาเศรษฐีว่า คุณนายขอรับ คุณหมอสั่งมาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ต่อเมื่อหายโรคแล้ว คุณนายประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด“

    นายประตูรับคำชีวกโกมารภัจจ์แล้วเข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ได้กราบเรียนว่า “คุณนายขอรับ คุณหมอบอกข่าวมาอย่างนี้ว่า ขอคุณนายอย่าเพิ่งให้อะไร ๆ ก่อน ต่อเมื่อคุณนายหายโรคแล้ว ประสงค์จะให้สิ่งใด จึงค่อยให้สิ่งนั้นเถิด”

    ภรรยาเศรษฐีสั่งว่า “พ่อนายประตู ถ้าเช่นนั้นเชิญคุณหมอมา” นายประตูรับคำภรรยาเศรษฐีแล้วเข้าไปหาชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้แจ้งให้ทราบว่า ท่านอาจารย์ ภรรยาเศรษฐีขอเชิญท่านเข้าไป

    หมอชีวกโกมารภัจจ์ เข้าไปหาภรรยาเศรษฐี ครั้นแล้วตรวจดูอาการป่วยของภรรยาเศรษฐี แล้วได้กล่าวขอเนยใสหนึ่งซองมือ” ครั้นภรรยาเศรษฐีสั่งให้หาเนยใสหนึ่งซองมือมาให้แก่ชีวกแล้ว ชีวกโกมารภัจจ์จึงหุงเนยใสหนึ่งซองมือนั้น กับยาต่าง ๆ ให้ภรรยาเศรษฐีนอนหงายบนเตียง แล้วให้นัตถุ์ ขณะนั้นเนยใสที่ให้นัตถุ์นั้นได้พุ่งออกจากปาก จึงภรรยาเศรษฐีถ่มเนยใสนั้นลงในกระโถน สั่งทาสีว่า “แม่สาวใช้จงเอา สำลีซับเนยใสนี้ไว้”

    ชีวกโกมารภัจจ์คิดว่า “ภรรยาเศรษฐีคนนี้ช่างสกปรก เนยใสนี้จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงมากกว่า กลับปล่อยให้เสีย แม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง”

    ขณะนั้น ภรรยาเศรษฐีสังเกตรู้อาการอันแปลกของชีวกโกมารภัจจ์ แล้วได้ถามคำนี้แก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า “อาจารย์ท่านแปลกใจอะไรหรือ?“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “เวลานี้ผมกำลังคิดอยู่ว่า แปลกจริงแม่บ้านคนนี้ช่างสกปรกเหลือเกิน เนยใสนี้ จำเป็นจะต้องทิ้ง ยังใช้ให้ทาสีเอาสำลีซับไว้ ส่วนยาของเรามีราคาแพงมากกว่าปล่อยให้เสียแม่บ้านคนนี้จักให้ขวัญข้าวอะไรแก่เราบ้าง”

    ภรรยา “อาจารย์ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นคนมีเหย้าเรือน จำเป็นจะต้องรู้จักสิ่งที่ควรสงวน เนยใสนี้ยังดีอยู่จะใช้เป็นยาสำหรับทาเท้าพวกทาสหรือกรรมกรก็ได้ ใช้เป็นน้ำมันเติมตะเกียงก็ได้ อาจารย์ท่านอย่าได้คิดวิตกไปเลย ค่าขวัญข้าวของท่านจักไม่ลดน้อย”

    คราวนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้กำจัดโรคปวดศีรษะของภรรยาเศรษฐี ซึ่งเป็นมา ๗ ปีให้หาย โดยวิธีนัตถุ์ยาคราวเดียวเท่านั้น ครั้นภรรยาเศรษฐีหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๔,๐๐๐ กหาปณะ บุตรเศรษฐีได้ทราบว่ามารดาของเราหายโรคแล้ว ได้ให้รางวัลเพิ่มอีก ๔,๐๐๐ กหาปณะ

    บุตรสะใภ้ได้ทราบว่า แม่ผัวของเราหายโรคแล้ว ก็ได้ให้รางวัล ๔,๐๐๐ กหาปณะ เศรษฐีคหบดีทราบว่าภรรยาของตนหายโรคแล้วได้เพิ่มรางวัลให้อีก ๔,๐๐๐ กหาปณะ และให้ทาสทาสี รถม้าอีกด้วย ชีวกโกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ กับทาส ทาสี และรถม้าเดินทางมุ่งไปพระนครราชคฤห์
     
  13. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ถึงพระนครราชคฤห์แล้ว ได้เข้าเฝ้าเจ้าชายอภัยแล้วได้กราบทูลว่าเงิน ๑๖,๐๐๐ กหาปณะ กับทาส ทาสี และรถม้านี้เป็นการกระทำครั้งแรกของเกล้ากระหม่อม ขอใต้ฝ่าพระบาทจงทรงพระกรุณาโปรดรับค่าเลี้ยงดูเกล้ากระหม่อมเถิด พระเจ้าข้า พระราชกุมารอภัยปฏิเสธการรับเงินและสิ่งของเหล่านั้น พร้อมรับสั่งว่าให้สร้างบ้านอยู่ในวังของพระองค์

    สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาธราช ทรงประชวรโรคริดสีดวงงอก พระภูษาเปื้อนพระโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้วพากันเย้ยหยันว่า “บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมาพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ” พระราชาทรงเก้อเพราะคำเย้ยหยันของพวกพระสนมนั้น ซึ่งท้าวเธอได้ตรัสเล่าความนั้นแก่เจ้าชายอภัยว่า

    “พ่ออภัย พ่อป่วยเป็นโรคเช่นนั้นถึงกับภูษาเปื้อนโลหิต พวกพระสนมเห็นแล้ว พากันเย้ยหยันว่า บัดนี้พระเจ้าอยู่หัวทรงมีระดู ต่อมพระโลหิตบังเกิดแก่พระองค์แล้ว ไม่นานเท่าไรนัก พระองค์จักประสูติ เจ้าช่วยหาหมอชนิดที่พอจะรักษาพ่อได้ให้ทีเถิด”

    เจ้าชายอภัยเสนอให้หมอชีวกผู้เป็นหมอประจำตัวรักษาให้ หมอขีวกโกมารภัจจ์ได้รับคำสั่งของเจ้าชายอภัยแล้ว เอาเล็บตักยาเดินไปในราชสำนัก ครั้นถึงแล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารขออนุญาตตรวจพระอาการ แล้วทายาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พระโรคก็หายสนิทเป็นปกติ

    ครั้นพระเจ้าพิมพิสาร ทรงหายประชวรจึงรับสั่งให้สตรี ๕๐๐ นางตกแต่งเครื่องประดับทั้งปวง ให้เปลื้องออกใส่ห่อไว้ทั้งหมด ได้มีพระราชโองการแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า “เครื่องประดับทั้งปวงของสตรี ๕๐๐ นางนี้จงเป็นของเจ้า”

    ชีวกโกมารภัจจ์ปฏิเสธไม่รับ ทูลว่าขอพระองค์จงทรงโปรดระลึกว่า เป็นหน้าที่ของข้าพระพุทธเจ้าเถิด พระเจ้าพิมพิสารจึงตรัสว่า “ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงบำรุงเรากับพวกฝ่ายใน และภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข”

    อรรถกถาธิบายว่า พระเจ้าพิมพิสารลองใจหมอชีวก ดำริว่า หากหมอชีวกรับเครื่องประดับ ก็จะตั้งไว้ในตำแหน่งตามสมควร แต่หากไม่รับ ก็จะตั้งเขาให้เป็นคนสนิทภายในวัง พระอภัยราชกุมารก็ดี นางระบำทั้งหลายก็ดี ต่างคิดกันว่า ชีวกไม่ควรจะรับ หมอชีวกก็รู้ความคิดของท่านเหล่านั้น จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นเครื่องประดับของอัยยิกา (ปู่) ของหม่อมฉัน เครื่องประดับเหล่านี้ไม่สมควรที่หม่อมฉันจะรับไว้"

    ความประพฤติเหล่านี้ ทำให้พระเจ้าพิมพสารทรงเลื่อมใสหมอชีวก ได้พระราชทานเรือนพร้อมด้วยเครื่องประดับ ทั้งสวนอัมพวันและหมู่บ้าน สำหรับใช้เก็บส่วย ๑ แสนต่อปี (วินย.อ.๕/๒/๓๒๓-๔)
     
  14. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    สมัยนั้น เศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ป่วยเป็นโรคปวดศีรษะอยู่ ๗ ปีนายแพทย์ทิศาปาโมกข์ใหญ่ ๆ หลายคนมารักษา ก็ไม่สามารถรักษาให้หาย ขนเงินไปเป็นอันมาก อนึ่ง เศรษฐีนั้นถูกนายแพทย์บอกคืน นายแพทย์บางพวกได้ทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗

    ครั้งนั้น พวกคนร่ำรวย ชาวพระนครราชคฤห์ได้มีความปริวิตกว่า เศรษฐีคหบดีผู้นี้ มีอุปการะมากแก่พระเจ้าอยู่หัวและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดีจักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ก็ชีวกผู้นี้เป็นนายแพทย์หลวงที่หนุ่มทรงคุณวุฒิ ถ้าเช่นนั้นพวกเราพึงทูลขอนายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะให้รักษาเศรษฐีคหบดี แล้วจึงพากันไปในราชสำนัก

    ครั้นถึงแล้วได้เข้าเฝ้ากราบบังคมทูลแด่พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชว่า

    “ขอเดชะ ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม เศรษฐีคหบดีผู้นี้มีอุปการะมาก แก่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทและชาวนิคม แต่ท่านถูกนายแพทย์บอกคืนเสียแล้ว นายแพทย์บางพวกทำนายไว้ อย่างนี้ว่า เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ บางพวกทำนายไว้อย่างนี้ว่า จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงทรงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อได้รักษาเศรษฐีคหบดี”

    ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ ไปรักษาเศรษฐีคหบดีตามที่ประชาชนขอ หมอชีวกไปหาเศรษฐีสังเกตอาการที่ผิดแปลกของเศรษฐีคหบดีแล้ว ได้ถามเศรษฐีคหบดีว่า

    “ท่านคหบดี ถ้าฉันรักษาท่านหายโรค จะพึงมีรางวัลอะไรแก่ฉันบ้าง?”

    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน และตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน”

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”

    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้”

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”

    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้”

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ไหม?”

    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้”

    ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ให้เศรษฐีคหบดีนอนบนเตียง มัดไว้กับเตียงถลกหนังศีรษะเปิดรอยประสานกระโหลกศีรษะ นำสัตว์มีชีวิตออกมาสองตัว แล้วแสดงแก่ประชาชนว่า ท่านทั้งหลายจงดูสัตว์มีชีวิต ๒ ตัวนี้ เล็กตัวหนึ่ง ใหญ่ตัวหนึ่ง พวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า

    “เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๕ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวใหญ่นี้ มันจักเจาะกินมันสมอง ของเศรษฐีคหบดี ในวันที่ ๕ เศรษฐีคหบดี ถูกมันเจาะกินสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวใหญ่นี้ชื่อว่า อันอาจารย์พวกนั้น เห็นถูกต้องแล้ว “

    ส่วนพวกอาจารย์ที่ทำนายไว้อย่างนี้ว่า

    “เศรษฐีคหบดี จักถึงอนิจกรรมในวันที่ ๗ เพราะท่านได้เห็นสัตว์ตัวเล็กนี้ มันจักเจาะกินมันสมอง ของเศรษฐีคหบดี ในวันที่ ๗ เศรษฐีคหบดี ถูกมันเจาะกินมันสมองหมด ก็จักถึงอนิจกรรม สัตว์ตัวเล็กนี้ชื่อว่า อันอาจารย์พวกนั้น เห็นถูกต้องแล้ว“

    ดังนี้ แล้วปิดแนวประสานกระโหลกศีรษะ เย็บหนังศีรษะแล้วได้ทายาสมานแผล ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    "ท่านอาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนข้างเดียว ตลอด ๗ เดือน ได้ดังนี้ มิใช่หรือ? “

    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างเดียวตลอด ๗ เดือนได้“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนเถิด“

    ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้านอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้มิใช่หรือ? “

    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนข้างที่สองตลอด ๗ เดือนได้“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนอนหงายตลอด ๗ เดือนเถิด"

    ครั้นล่วงสัปดาห์หนึ่ง เศรษฐีคหบดี ได้กล่าวคำนี้ต่อชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้"

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ท่านรับคำฉันว่า ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าอาจนอนหงายตลอด ๗ เดือนได้ดังนี้ มิใช่หรือไม่?"

    เศรษฐี “ข้าพเจ้ารับคำท่านจริง ท่านอาจารย์ แต่ข้าพเจ้าจักตายแน่ ข้าพเจ้าไม่อาจนอนหงาย ตลอด ๗ เดือนได้“

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ท่านคหบดี ถ้าฉันไม่บอกท่านไว้ ท่านก็นอนเท่านั้นไม่ได้ แต่ฉันทราบอยู่ก่อน แล้วว่า เศรษฐีคหบดีจักหายโรคในสามสัปดาห์ ลุกขึ้นเถิด ท่านหายป่วยแล้ว ท่านจงรู้ จะได้รางวัลอะไรแก่ฉัน“

    เศรษฐี “ท่านอาจารย์ ก็ทรัพย์สมบัติทั้งปวงจงเป็นของท่าน ตัวข้าพเจ้าก็ยอมเป็นทาสของท่าน"

    ชีวกโกมารภัจจ์ “อย่าเลย ท่านคหบดี ท่านอย่าได้ให้ทรัพย์สมบัติทั้งหมดแก่ฉันเลย และท่านก็ไม่ต้องยอมเป็นทาสของฉัน ท่านจงทูลเกล้าถวายทรัพย์แก่พระเจ้าอยู่หัวแสนกหาปณะ ให้ฉันแสนกษาปณ์ก็พอแล้ว“

    ครั้นเศรษฐีคหบดีหายป่วย ได้ทูลเกล้าถวายทรัพย์แด่พระเจ้าอยู่หัวแสนกษาปณ์ ได้ให้ แก่ชีวกโกมารภัจจ์ แสนกษาปณ์ ซึ่งอรรถกถาธิบายว่า หมอชีวกรู้ว่าหากเศรษฐีผลัดเปลี่ยนอิริยาบทบ่อย ๆ จะทำให้เนื้อสมองเคลื่อนไหว และแผลก็หายช้า จึงออกอุบายให้เศรษฐีรับคำว่าจะนอนตะแคงและนอนหงายอิริยาบถละ ๗ เดือน แต่ที่จริงต้องการให้นอนอิริยาบถเดิมอย่างละ ๗ วันเท่านั้น
     
  15. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    สมัยนั้น เศรษฐีบุตรชาวพระนครพาราณสีได้เล่นกีฬาหกคะเมน ได้ป่วยเป็นโรคเนื้องอกที่ลำไส้ ข้าวยาคูที่เธอดื่มเข้าไปก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เพราะโรคนั้น เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้น ๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น ครั้งนั้น เศรษฐีชาวพระนครพาราณสี ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า

    “บุตรของเราได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก บุตรของเรานั้นจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีด เหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ถ้ากระไร เราพึงไปพระนครราชคฤห์แล้วทูลขอ นายแพทย์ชีวกต่อพระเจ้าอยู่หัว เพื่อจะได้รักษาบุตรของเรา“

    ต่อแต่นั้นเศรษฐีชาวพระนครราชคฤห์ แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราช แล้วได้กราบทูลว่า

    “ขอเดชะฯ บุตรของข้าพระพุทธเจ้าได้เจ็บป่วยเช่นนั้น ข้าวยาคูที่เธอดื่มก็ดี ข้าวสวยที่เธอรับประทานก็ดี ไม่ย่อย อุจจาระและปัสสาวะออกไม่สะดวก เธอจึงซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณซูบซีดเหลืองขึ้นๆ มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น เพราะโรคนั้น ขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาส ขอใต้ฝ่าละอองธุลี พระบาทจงมีพระบรมราชโองการสั่งนายแพทย์ชีวก เพื่อจะได้รักษาบุตรของข้าพระพุทธเจ้า“

    ดังนั้น พระเจ้าพิมพิสาร ได้ทรงมีพระราชดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ ให้ไปพระนครพาราณสี หมอชีวกเดินทางไปตรวจอาการป่วยแล้วทำการผ่าตัด โดยการมัดลูกเศรษฐีไว้กับเสา ผ่าหนังท้องนำเนื้องอกในลำไส้ออกมาให้ภรรยาของเขาดู แล้วสอดลำไส้กลับดังเดิม เย็นหน้าท้องแล้วทายาสมานแผล ไม่นานนักเขาก็หายจากโรค ซึ่งเศรษฐีจึงให้รางวัลแก่ชีวกโกมารภัจจ์เป็นเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์ ชีวกโกมารภัจจ์รับเงิน ๑๖,๐๐๐ กษาปณ์นั้น เดินทางกลับมาสู่พระนครราชคฤห์ตามเดิม
     
  16. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตราชาในกรุงอุชเชนี ทรงประชวรโรคผอมเหลือง นายแพทย์ที่ใหญ่ ๆ มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนมารักษา ก็ไม่อาจทำให้โรคหาย ได้ขนเงินไปเป็นอันมาก ครั้งนั้น พระเจ้าปัชโชตได้ส่งราชทูตถือพระราชสาส์น ไปในพระราชสำนักพระเจ้าพิมพิสาร มีใจความว่า

    “หม่อมฉันเจ็บป่วยเป็นอย่างนั้น ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาส ขอพระองค์โปรดสั่งหมอชีวก เขาจักรักษาหม่อมฉัน“

    พระเจ้าพิมพิสารจึงได้ดำรัสสั่งชีวกโกมารภัจจ์ให้ไปเมืองอุชเชนีรักษาพระเจ้าปัชโชต ชีวกโกมารภัจจ์ทูลรับสนองพระบรมราชโองการ แล้วเดินทางไปเมืองอุชเชนี เข้าไปใน พระราชสำนัก แล้วเข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชตได้ตรวจอาการที่ผิดแปลกของพระเจ้าปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้แด่ท้าวเธอว่า

    “ขอเดชะฯ ข้าพระพุทธเจ้าจักหุงเนยใส พระองค์จักเสวยเนยใสนั้น"

    พระเจ้าปัชโชตรับสั่งห้ามว่า “อย่าเลย พ่อนายชีวก ท่านเว้นเนยใสเสีย อาจรักษาเราให้หายโรคได้ด้วยวิธีใด ท่านจงทำวิธีนั้นเถิด เนยใสเป็นของน่าเกลียด น่าสะอิดสะเอียน สำหรับฉัน“

    ขณะนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกว่า “พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้แล ทรงประชวรเช่นนี้ เราเว้นเนยใสเสียไม่อาจรักษาพระองค์ให้หายโรคได้ เอาละเราควรหุงเนยใสให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด“

    ดังนี้แล้ว ได้หุงเนยใส ด้วยเภสัชนานาชนิดให้มีสี กลิ่น รส เหมือนน้ำฝาด ครั้นแล้วฉุกคิดได้ว่า เนยใสที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้เสวยแล้ว เมื่อย่อย จักทำให้เรอ พระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ ถ้ากระไรเราพึงทูลลาไว้ก่อน วันต่อมาจึงไปในพระราชสำนัก เข้าเฝ้าพระเจ้าปัชโชต แล้วได้กราบทูลคำนี้ แด่ท้าวเธอว่า

    “ขอเดชะ ฯ พวกข้าพระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็นนายแพทย์ จักถอนรากไม้มาผสมยาชั่วเวลาครู่หนึ่ง เช่นที่ประสงค์นั้น ขอประทานพระบรมราชวโรกาส ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงมี พระราชโองการตรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลายว่า หมอชีวกต้องการไปด้วยพาหนะใด จงไปด้วยพาหนะนั้น ปรารถนาไปทางประตูใด จงไปทางประตูนั้น ต้องการไปเวลาใด จงไปเวลานั้น ปรารถนาจะเข้ามาเวลาใด จงเข้ามาเวลานั้น “

    พระเจ้าปัชโชตได้มี พระราชดำรัสสั่งเจ้าพนักงานในโรงราชพาหนะและที่ประตูทั้งหลาย ตามที่หมอชีวกกราบทูลขอบรมราชานุญาตไว้ทุกประการ สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตมีช้างพังชื่อภัททวดี เดินทางได้วันละ ๕๐ โยชน์ จึงหมอชีวกโกมารภัจจ์ได้ทูลถวายเนยใสนั้นแด่พระเจ้าปัชโชตด้วยกราบทูลว่า

    “ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงเสวยน้ำฝาด “

    ครั้นให้พระเจ้าปัชโชตเสวยเนยใสแล้ว ก็ไปโรงช้างหนีออกจากพระนครไปโดยช้างพังภัททวดี ขณะเดียวกันนั้น เนยใสที่พระเจ้าปัชโชตเสวยนั้นย่อย ได้ทำให้ทรงเรอขึ้น จึงพระเจ้าปัชโชตได้รับสั่งแก่พวกมหาดเล็กว่า

    “พนายทั้งหลาย เราถูกหมอชีวกชาติชั่วลวงให้ดื่ม เนยใส พวกเจ้าจงค้นจับหมอชีวกมาเร็วไว"

    พวกมหาดเล็กกราบทูลว่า “หมอชีวกหนีออกจากพระนครไปโดยช้างพังภัททวดีแล้ว พระพุทธเจ้าข้า“

    สมัยนั้น พระเจ้าปัชโชตมีมหาดเล็กชื่อกากะ ซึ่งอาศัยเกิดกับอมนุษย์ เดินทางได้วันละ ๖๐ โยชน์ พระเจ้าปัชโชตดำรัสสั่ง กากะมหาดเล็กว่า

    “พ่อนายกากะ เจ้าจงไปเชิญหมอชีวกกลับมา ด้วยอ้างว่าท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่ง ให้เชิญท่านกลับไป ขึ้นชื่อว่า หมอเหล่านี้แลมีมารยามาก เจ้าอย่ารับวัตถุอะไร ๆ ของเขา“

    ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เดินไปทันชีวกโกมารภัจจ์ ผู้กำลังรับประทานอาหารมื้อเช้า ในระหว่างทางเขตพระนครโกสัมพี จึงได้เรียนแก่ชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    “ท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัว รับสั่งให้เชิญท่านกลับไป"

    ชีวกโกมารภัจจ์ “พ่อนายกากะ ท่านจงรออยู่เพียงชั่วเวลาที่เรารับประทานอาหาร เชิญท่านรับประทานอาหารด้วยกันเถิด“

    กากะ “ช่างเถิดท่านอาจารย์ พระเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งข้าพเจ้าไว้ว่า พ่อนายกากะ ขึ้นชื่อว่า หมอเหล่านี้มีมารยามาก อย่ารับวัตถุอะไรของเขา“

    ทันใดนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้แซกยาทางเล็บ พลางเคี้ยวมะขามป้อม และดื่มน้ำ รับประทาน แล้วได้ร้องเชื้อเชิญกากะมหาดเล็กว่า

    “เชิญพ่อนายกากะมาเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทานด้วยกัน“

    จึงกากะมหาดเล็กคิดว่า หมอคนนี้แลกำลังเคี้ยวมะขามป้อมและดื่มน้ำรับประทาน คงไม่มีอะไรจะให้โทษ แล้วเคี้ยวมะขามป้อมครึ่งผล และดื่มน้ำรับประทาน มะขามป้อมครึ่งผลที่เขาเคี้ยวนั้นได้ระบายอุจจาระออกมาในที่นั้นเอง ครั้งนั้น กากะมหาดเล็กได้เรียนถามชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    “ท่านอาจารย์ ชีวิตของข้าพเจ้า จะรอดไปได้หรือ? “

    ชีวกโกมารภัจจ์ตอบว่า “อย่ากลัวเลย พ่อนายกากะ ท่านจักไม่มีอันตราย แต่พระเจ้าอยู่หัวทรงเกรี้ยวกราด จะพึงรับสั่งให้พิฆาตเราเสียก็ได้ เพราะเหตุนั้นเราไม่กลับละ“

    แล้วมอบช้างพังภัททวดีแก่นายกากะ เดินทางไปพระนครราชคฤห์ รอนแรมไปโดยลำดับ ถึงพระนครราชคฤห์แล้วเฝ้าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบทุกประการ

    พระเจ้าพิมพิสารรับสั่งว่า

    “พ่อนายชีวก เจ้าไม่กลับไปนั้นชื่อว่าได้ทำถูกแล้ว เพราะพระราชาองค์นั้นเหี้ยมโหด จะพึงสั่งให้สำเร็จโทษเจ้าเสียก็ได้"

    ครั้นพระเจ้าปัชโชตทรงหายประชวร ทรงส่งราชทูตไปที่สำนักชีวกโกมารภัจจ์ว่า “เชิญหมอชีวกมา เราจักให้พร"

    ชีวกกราบทูลตอบไปว่า "ไม่ต้องไปก็ได้ พระพุทธเจ้าข้า ขอใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จงทรงโปรดอนุสรณ์ถึงความดีของข้าพระพุทธเจ้า“

    ต่อมา พระเจ้าปัชโชตได้ผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเยี่ยมกว่าผ้าอื่น ๆ ทั้งหลายเป็นอันมากคู่หนึ่ง ทรงระลึกถึงความดีของหมอชีวก ครั้นนั้น พระเจ้าปัชโชต ทรงส่งผ้าสิเวยยกะคู่นั้น ไปพระราชทานแก่ชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความดำริว่า ผ้าสิเวยยกะคู่นี้ พระเจ้าปัชโชตส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อ ดีเลิศ ประเสริฐ มีชื่อเด่น อุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก นอกจากพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น หรือพระเจ้าพิมพิสารจอมมหาราชแล้ว ใครอื่นไม่ควรอย่างยิ่ง เพื่อใช้ผ้าสิเวยยกะ คู่นี้

    อรรถกถาว่า ผ้าสีเวยยกะเป็นผ้าอวมงคล ที่ทิ้งไว้ในป่าช้าของอุตตรกุรุทวีป มนุษย์ในทวีปนั้ นห่อศพนำไปทิ้งป่าช้า มีนกหัสดีลิงค์คิดว่า ผ้าเป็นชิ้นเนื้อ จึงเฉี่ยวไปวางที่ยอดเขาหิมพานต์ พวกพรานพบผ้าแล้วนำถวายแก่พระราชา แต่อาจารย์บางจำพวกอธิบายว่า เป็นผ้าที่สตรีผู้ฉลาดในแคว้นสีพี ฟั่นด้ายด้วยขนสัตว์ ๓ เส้น แล้วทอขึ้นมาเป็นผ้าสีเวยยกะ
     
  17. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    สมัยนั้น พระกายของพระผู้มีพระภาค หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า “ดูกร อานนท์ กายของตถาคต หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ ตถาคต ต้องการจะฉันยาถ่าย"

    ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะชีวกโกมารภัจจ์ว่า “ท่านชีวก พระกายของพระตถาคต หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ พระตถาคต ต้องการจะเสวยพระโอสถถ่าย“

    ชีวกโกมารภัจจ์กล่าวว่า “พระคุณเจ้า ถ้าอย่างนั้น ขอท่านจงโปรดทำพระกายของพระผู้มีพระภาค ให้ชุ่มชื่นสัก ๒-๓ วัน“

    ครั้งนั้น ท่านพระอานน ท์ได้ทำพระกายของพระผู้มีพระภาค ให้ชุ่มชื่น ๒-๓ วันแล้ว เดินไปหาชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นถึงแล้วได้กล่าวคำนี้กะชีวกโกมารภัจจ์ว่า

    “ท่านชีวก พระกายของพระตถาคต ชุ่มชื่นแล้ว บัดนี้ ท่านรู้กาลอันควรเถิด“

    ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า “การที่เราจะพึงทูลถวายพระโอสถ ถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาค นั้น ไม่สมควรเลย ถ้ากระไร เราพึงอบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วทูลถวาย พระตถาคต “

    ครั้นแล้วได้อบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า

    “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้ จักยังพระผู้มีพระภาค ให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง"

    แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาคกราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงสูดอุบลก้านที่ ๒ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้ จักยังพระผู้มีพระภาค ให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง"

    แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๓ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้ จักยังพระผู้มีพระภาค ให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ด้วยวิธีนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายถึง ๓๐ ครั้ง"

    ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทูลถวายพระโอสถถ่าย แด่พระผู้มีพระภาค เพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณกลับไป ขณะเมื่อชีวกโกมารภัจ จ์เดินออกไปนอกซุ้มประตูแล้ว ได้มีความปริวิตก ดังนี้ว่า

    "เราทูลถวายพระโอสถถ่าย แด่พระผู้มีพระภาค เพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระกายของพระตถาคต หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาค ให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้ว จักถ่ายอีกครั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาค จักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง"

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของชีวกโกมารภัจจ์ ด้วยพระทัยแล้ว รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า

    “อานนท์ ชีวกโกมารภัจจ์ กำลังเดินออกนอกซุ้มประตูวิหารนี้ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า "เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกายของพระตถาคต หมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคทรงสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้วจักถ่ายอีกครั้งหนึ่ง อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคจักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง อานนท์ถ้าอย่างนั้น เธอจงจัดเตรียมน้ำร้อนไว้ “

    พระอานนท์ ทูลรับสนองพระพุทธพจน์แล้ว จัดเตรียมน้ำร้อนไว้ถวาย ต่อมา ชีวกโกมารภัจจ์ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า พระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายแล้วหรือ พระพุทธเจ้าข้า

    พระพุทธองค์ “เราถ่ายแล้ว ชีวก”

    ชีวกโกมารภัจจ์ “พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้ากำลังเดินออกไปนอกซุ้มประตูพระวิหารนี้ ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า "เราถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาค เพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว พระกายของ พระผู้มีพระภาคหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาค ให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้ว จักถ่ายอีกครั้งหนึ่งอย่างนี้ พระผู้มีพระภาค จักทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาค จงโปรดสรงพระกาย"

    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาค ทรงสรงน้ำอุ่น ครั้นสรงแล้ว ทรงถ่ายอีกครั้งหนึ่งอย่างนี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาค ทรงถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง ลำดับนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มีพระภาค ว่า

    “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ไม่ควรเสวยพระกระยาหาร ที่ปรุงด้วยน้ำต้มผักต่าง ๆ จนกว่าจะมีพระกายเป็นปกติ“

    เมื่อพระกายของพระผู้มีพระภาค ได้หายเป็นปกติแล้ว พระมหาโมคคัลลานะ ได้นำบิณฑบาตเป็นข้าวสุกจากข้าวสาลี หอมราดด้วยน้ำนมสดจากเรือนของบุตรเศรษฐีชื่อโสณะ (ต่อมาคือพระโสณะโกฬิวิสะ) มีการอบบาตรด้วยของหอมด้วย ซึ่งเทวดาแทรกโอชา ลงในบิณฑบาตทีละคำด้วย (ซึ่งเทวดาแทรกโอชารส ลงในอาหารที่ยังอยู่ในภาชนะ ๒ ครั้ง คือ บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวาย คราวตรัสรู้ และบิณฑบาตที่นายจุนทกัมมารบุตร ถวายคราวปรินิพพาน)

    พระโมคคัลลานะ นำบิณฑบาตส่งกลิ่นหอมมา พระเจ้าพิมพิสาร ทรงได้กลิ่นบิณฑบาตจนอยากเสวย พระพุทธเจ้า ทรงทราบความคิดของพระราชาแล้ว ตรัสให้ถวายอาหารนั้นหน่อยหนึ่ง ซึ่งเทวดายังไม่ได้แทรกโอชาลงไป พระราชาตรัสถามว่า เป็นอาหารจากอุตตรกุรุทวีปหรือ? พระพุทธเจ้าตรัสบอกว่า เป็นบิณฑบาตที่นำมาจากบ้านของโสณะ ผู้เป็นลูกเศรษฐี ผู้ละเอียดอ่อน มีขนขึ้นที่ฝ่าเท้า ทำให้พระเจ้าพิมพิสารเสด็จไปทอดพระเนตร

    ต่อมา โสณะและกุลบุตร ๘๐,๐๐๐ คน ออกบวช พระพุทธเจ้าตรัสให้แบ่งอาหารให้พระราชาก็เพื่อประโยชน์นี้
     
  18. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ ถือผ้าสิเวยยกะคู่นั้น ไปในพุทธสำนัก ครั้นถึงแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ชีวกโกมารภัจจ์ นั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ แด่พระผู้มีพระภาคว่า

    “ข้าพระพุทธเจ้า จะขอประทานพร ต่อพระผู้มีพระภาค สักอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าข้า“

    พระพุทธองค์ “พระตถาคตทั้งหลาย เลิกให้พรเสียแล้ว ชีวก"

    ชีวกโกมารภัจจ์ “ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพรที่สมควรและไม่มีโทษ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระพุทธองค์ “จงว่ามาเถิด ชีวก”

    ชีวกโกมารภัจจ์ “พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค และพระสงฆ์ทรงถือผ้าบังสุกุลเป็นปกติอยู่ ผ้าสิเวยยกะของข้าพระพุทธเจ้าคู่นี้ พระเจ้าปัชโชต ทรงส่งมาพระราชทาน เป็นผ้าเนื้อดีเลิศ ประเสริฐมีชื่อเสียงเด่นอุดม และเป็นเยี่ยมกว่าผ้าทั้งหลายเป็นอันมาก ขอพระผู้มีพระภาค จงทรงพระกรุณา โปรดรับผ้าคู่สิเวยยกะ ของข้าพระพุทธเจ้า และขอจงทรงพระพุทธานุญาตคหบดีจีวร (คือจีวรที่มีผู้ถวาย) แก่พระสงฆ์ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า”

    พระผู้มีพระภาค ทรงรับผ้าคู่สิเวยยกะแล้ว ครั้นแล้ว ทรงชี้แจงให้ชีวกโกมารภัจจ์ เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมมีกถา หลังจากหมอชีวกลากลับไปแล้ว ทรงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตคหบดีจีวร รูปใดปรารถนาจะถือผ้าบังสุกุลก็จงถือ รูปใดปรารถนาจะรับคหบดีจีวรก็จงรับ แต่เราสรรเสริญการยินดีในปัจจัยตามมีตามได้.."

    อรรถกถาว่า หลังตรัสรู้จนถึง ๒๐ ปี ต่อมาภิกษุทั้งหลาย ใช้กันแต่ผ้าบังสุกุล (คือผ้าที่คนทิ้งไว้ ภิกษุไปเก็บมาแล้ว ตัด เย็ย ย้อม นุ่งห่ม) หมอชีวกจึงกราบทูลขอพรอย่างนั้น

    สมัยต่อมา พระเจ้ากาสี ราชาแห่งแคว้นกาสี (เป็นน้องร่วมพระบิดาเดียวกับพระเจ้าปเสนทิโกศล) ทรงพระราทานผ้ากัมพล (ผ้าทอด้วยขนสัตว์) มีราคาครึ่งกาสีแก่ชีวกโกมารภัจจ์ หมอชีวกนำผ้ากัมพลเข้าเฝ้ากราบทูลถวายแด่พระพุทธเจ้าด้วยคำว่า

    "ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงพระกรุณาโปรดรับผ้ากัมพลของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพพระพุทธเจ้า ตลอดกาลนานเทอญ พระพุทธเจ้าข้า"

    พระพุทธเจ้าทรงรับและอนุญาตให้ภิกษุรับผ้ากัมพลได้ (วินย.มหา.ข้อ ๑๒๘-๑๓๘) รวมทั้ง ผ้าที่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายด้วย อรรถกถาอธิบายว่า หนึ่งพันเรียกว่ากาสีหนึ่ง ผ้ากัมพลมีราคาพันหนึ่ง เรียกว่ามีค่ากาสีหนึ่ง แต่ผ้ากัมพลผืนนี้ราคา ๕๐๐ จึงเรียกว่าครึ่งกาสี (ดู วินย.อ.๕/๒/๓๑๙-๓๒๙)
     
  19. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ อันพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมมีกถาแล้ว หมอชีวกได้บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน และด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า ปรารถนาจะไปเฝ้าเพื่อทำการอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าวันละ ๒-๓ ครั้ง เห็นว่า พระเวฬุวันไกลเกินไปจากบ้านที่หมอชีวกพักอาศัย จึงได้ดำริว่าสวนมะม่วง (อัมพวัน) ที่ได้รับพระราชทานมาจากพระเจ้าพิมพิสารมหาราชนั้นอยู่ใกล้และสดวกกว่า จึงได้สร้างวัดถวายในอัมพวัน คือ สวนมะม่วงของตนเรียกกันว่า ชีวกัมพวัน (อัมพวัน ของหมอชีวก)

    แล้วให้สร้างที่หลบเร้น กุฏีและมณฑป เป็นต้น สำหรับพักกลางคืนและที่พักกลางวัน ให้สร้างพระคุนธกุฏีที่เหมาะสมกับพระพุทธเจ้า จากนั้นให้สร้างกำแพงสีใบไม้แดงสูง ๑๘ ศอก ล้อมรอบสวนอัมพวันไว้ สร้างเสร็จแล้วได้อาราธนานิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขฉันภัตตาหารและรับจีวร แล้วหลั่งน้ำทิกษิโณทกมอบถวายวิหารอัมพวัน (ม.อ.๒/๑๑๑๐๔-๕,ที.อ.๑/๑/๓๓๘-๙) นอกจากนั้น หมอชีวกได้กราบทูลเสนอให้ทรงอนุญาตที่จงกรมและเรือนไฟเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นที่บริหารกายช่วยรักษาสุขภาพของภิกษุทั้งหลาย
     
  20. ~:*พนมวัน*:~

    ~:*พนมวัน*:~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +1,214
    [​IMG]

    ครั้นหนึ่ง มีโรคระบาดในมคธชนบท ๕ ชนิด คือ โรคเรื้อน ๑ โรคฝี ๑ โรคกลาก ๑ โรคมองคร่อ ๑ โรคลมบ้าหมู ๑ จึงเป็นเหตุให้มีคนมาบวชเพื่ออาศัยวัดเป็นที่รักษาตัวจำนวนมาก จนหมอชีวกต้องทูลเสนอพระพุทธเจ้า ให้ทรงบัญญัติข้อห้ามมิให้รับบวชคนเจ็บป่วย ด้วยโรค ๕ ชนิด ใครบวชให้ถือว่าเป็นอาบัติทุกกฏ
     

แชร์หน้านี้

Loading...