ถึงเวลาที่สยบข่าวภัยพิบัติ  ทางสายเอก

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย คมสันต์usa, 14 ธันวาคม 2012.

  1. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ผัสสะ - การประจวบกันของอายตนะภายใน๑ และอายตนะภายนอก๑ และวิญญาณ๑ เรียกการประจวบกันของธรรมทั้ง ๓ ว่าผัสสะ ดังเช่น ตา + รูป + วิญญาณ; ผัสสะ การถูกต้อง, การกระทบ; ผัสสะ ๖ ผัสสะอันเนื่องมาจากอายตนะต่างๆทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
     
  2. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    สาธุ..เป็นบุญแล้วที่ได้ฟังท่านเล่าขาน......ดังสายธารซึมซาบอาบจิตไว้
    เหมือนมีน้ำอมฤตชโลมใจ..................ให้ลูกได้มีกำลังประทังตน
    ได้พ้นทุกข์ด้วยการเข้ารู้ทุกข์...............และรู้สุขคือทุกข์น้อยทุกแห่งหน
    ทุกทุกแห่งมีแต่ทุกข์ที่เวียนวน.............คอยหลอกตนหลอกตายกาลนาน
    ด้วยอวิชชาพาให้เป็นไป....................ไม่เข้าใครออกใครไม่ผันผ่าน
    มีแต่ทางสายเอกที่พ้นมาร..................มีอาจารย์เป็นกำลังผลักดันไป
    ให้ลูกศิษย์ทุกรุ่นกรุ่นพลัง..................ไม่หยุดยั้งเข้าสู้กับมารได้
    ทรหดค้นลึกเข้าในตนไป...................ให้ถึงจิตถึงใจด้วยวิชชา.
    ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  3. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    วิญญาณ - ในปฏิจจสมุปบาทและขันธ์๕ อันหมายถึงการรับรู้จากอายตนะ หรือความรู้แจ้งอารมณ์ หรือระบบประสาทอันทําหน้าที่ในการสื่อสาร ดังเช่น จักขุวิญญาณ ระบบประสาทรับรู้ของตา กล่าวคือ การรับรู้หรือรู้แจ้งในรูป ที่มากระทบตา

    - ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต(ก็เรียกกัน), ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน เช่น รูปอารมณ์ ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;

    วิญญาณ ๖ คือ
    ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
    ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
    ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
    ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
    ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
    ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)


    วิญญาณาหาร - อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)
     
  4. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    กราบเรียน..
    ท่านครูน้อยตาแดงมีแสงจ้าขอรับ....ข้าน้อยจับตำรากางวางไว้อยู่
    ขอให้ท่านเข้ามาพินิจและช่วยดู.....ว่าถูกคู่ถูกวิธีตามที่เรียน
    จะดุเอ็ดเผ็ดมันก็ยอมสิ้น............ให้เป็นถิ่นปฏิรูปเทสวาโสจเขียน
    เพราะข้าน้อยพบเองในวงเวียน......ว่าอ่านเพียรเองเออเองให้ตำรา
    ถ้าขาดศีลขาดการปฏิบัติ............มันติดขัดนุงนังเหมือนดังว่า
    แค่ไปวัดเจอเพลงลูกทุ่งตามศรัทธา...อะไรหนาหายใจก็หายไป
    ทั้งเสียงดังรูปเต้นกระเด็นหมด........รู้ก็หดหายรู้สู้ไม่ไหว
    อาจารย์ช่วยด้วยทีทำอย่างไร.........ถ้าตกเข้าไปในสถานะการณ์ทราม
    จะกำหนดดูจิตคิดไม่ออก............ลมไม่งอกออกหรือเข้าฉงนฉงาย
    แค่เจอเสียงสนั่นทุ่งทุรนทุราย.......ถ้าใกล้ตายคงเรียบร้อยโรงเรียนจีน.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 มีนาคม 2013
  5. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271


    สาธุ ขอรับท่านอาจารย์ครูน้อย
     
  6. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    หากจะได้ของจริงต้องจับหลักให้ได้ ให้ศึกษาแต่ของเถรวาท อย่างลิ้งเวบนี้ก็ดี มีหลักการดี

    ส่วนพวกปรัชญาอะไรต่างๆ ทางมหายาน อย่าไปใส่ใจ

    เพราะอะไร เพราะหากใส่ใจโดยที่ไม่รู้กุศโลบายทางมหายาน ก็จะนำมายำรวมกัน

    เราเห็นมาเยอะ บางคนก็กลายเป็นอรหันต์โพธิสัตว์ไปโน้นเลย

    หรือหากใส่ใจทางฝ่ายเทพฮินดู นี่ก็อีก หรือเทพปกรณัมกรีกโรมัน จิตจักรวาล ทวิภพ อะไรก็ตาม
    บอกไว้เลย ไม่ได้เรื่องหรอก หากหลงไปแล้วจะกู่ไม่กลับ
    จะกลายเป็นจิตสัมผัส ที่ถูกอวิชชาครอบงำ มารชอบมากพวกนี้

    ที่บอกไว้ไม่ได้ต่อต้านทางฝ่ายมหายาน หรือทางฝ่ายเทพสายเทพ แต่บอกไว้เลยว่ามันไม่ใช่ทาง

    เราเข้ามา ไม่มีใครบอก ไม่มีใครแนะนำ มีเหตุด้วยตนเอง
    ที่ต้องศึกษาใฝ่สดับเรียนรู้ด้วยตนเอง และก็พอรู้ว่าสิ่งไหนคือทาง หรือไม่ใช่ทาง

    ฝากไว้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  7. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271

    สาธุ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  8. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    หรือหากฆราวาสใด มาบอกว่า ตนนั้นเป็นอริยขั้นนั้นขั้นนี้

    ทีนี้เราต้องดูปฏิปทา ดูอาการที่แสดงออกมีทีท่าตื่นไปกับกระแสโลกหรือไม่

    เผยแผ่ให้คนตื่นไปกับกระแสหรือไม่อย่างไร

    ก็เพียงแค่ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย มีไตรสรณคมม์เป็นที่ตั้ง แม้ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ
    ความเป็นอจลศรัทธาน้อยๆ ก็จะไม่คลอนแคลน หรือไม่เชื่อในมงคลตื่นข่าวต่างๆใดๆทั้งสิ้น

    ยิ่งผู้เข้าถึงมรรคผลขั้นต้น ใจของท่านเราเหล่านั้น ท่านจะไม่ให้ค่าใดๆเลย เกี่ยวกับโลกภายนอก
    ท่านจะสนใจแต่โลกภายใน คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ในภูมิวิปัสสนาญาณ ให้ยิ่งขึ้นไป

    ยิ่งเป็นพวกหินทับหญ้านะ สมาธิยังไม่ถูกเซาะกราวด์นะ แล้วยิ่งมีใครมาเป่าหูนะ ว่าเป็นขั้นนั้นขั้นนี้นะ

    โอ้ย...ปัจจัตตัง ที่เป็นสัจญาณ กิจญาณ กตญาณ เฉพาะตน ยังไม่มี แล้วจะเหลืออะไร

    แต่คนพวกนี้ ถือว่าติดดี เขาเป็นคนดีนะ แต่หลงดีติดดี

    แต่อย่าให้โกรธก็แล้วกัน ตาที่สามเปิดเมื่อไหร่ โลกเป็นจุณเมื่อนั้น ทำนองนั้น ดิ่งลงเหว
    หากรู้สึกตัว ก็ขึ้นจากเหวได้ หากไม่รู้สึกตัว ขาดสัมปชัญญะประคับครอง ก็จะดิ่งลงลึก ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  9. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    และหากเคยศึกษาปฏิปทา ของธิดาช่างหูก ตอนนั้นท่านยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ นะ
    ได้ขณะนั้น ได้ถามตอบปัญหากับพระศาสดา ทีนี้ใครเห็น ก็หาว่าท่านยียวน

    แต่พระศาสดาท่านรู้ว่า ธิดาช่างหูก มีอินทรีย์บ่มมาดีแล้ว
    และมีจิตตั้งมั่นอยู่ในวิปัสสนา พอจบปัญหา ก็ได้สำเร็จพระโสดาบัน มีคติอันแน่นอน

    ก็ลองศึกษาดู ในปฏิปทาของ สังฆะรัตนะ
     
  10. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ท่านอาจารย์ครูน้อยขอรับ
    กรณี

    1.ก็เพียงแค่ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัย มีไตรสรณคมม์เป็นที่ตั้ง แม้ยังไม่บรรลุมรรคผลใดๆ
    ความเป็นอจลศรัทธาน้อยๆ ก็จะไม่คลอนแคลน หรือไม่เชื่อในมงคลตื่นข่าวต่างๆใดๆทั้งสิ้น

    2.ยิ่งผู้เข้าถึงมรรคผลขั้นต้น ใจของท่านเราเหล่านั้น ท่านจะไม่ให้ค่าใดๆเลย เกี่ยวกับโลกภายนอก
    ท่านจะสนใจแต่โลกภายใน คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ ในภูมิวิปัสสนาญาณ ให้ยิ่งขึ้นไป

    กรณี 1 และ2
    อย่างใดต้องอาศัย ศรัทธา หรือ ปัญญา หรือสมาธิ หรือสัมมาทิฏฐิ ต้องประกอบกันหรืออย่างใดอย่างหนึ่งก็สำเร็จ ขอรับ ถ้าไม่มีขั้นของสมาธิเลยเป็นไปได้หรือไม่(กรณีฝึกสติให้มั่นคงแล้ว)..หรือไม่ใช่ทุกกรณี....หรือต้องอาศัยมรรคมีองค์ 8 เท่านั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  11. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ศรัทธา คือขั้นต้น เหมือนหัวขบวน หัวรถจักร หัวรถไฟ
    ศรัทธาต้องแนบแน่น ในคุณพระรัตนตรัยจริงๆ แม้จะกวัดแกว่งไปบ้าง
    ก็ต้องกลับมาสู่ฐาน ด้วยความเพียร คือการมีสติ จะพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ อานาปานุสติ ในอนุสติ10 ก็ได้

    ดังนั้น มีความเพียรก็ย่อมมีสติ เมื่อมีสติระลึกขณะนั้น สมาธิย่อมเกิดมีความตั้งมั่น
    ส่วนปัญญาในแก่น หมายไปยังการเห็นไตรลักษณ์

    ฉะนั้น ที่บอกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิก็มีอีกทั้งฝ่ายโลกียะ และโลกุตระ
    สัมมาทิฏฐิ หรือความศรัทธาอันมั่นคง จะเกิดด้วยปัญญาอันชอบอยู่แล้ว
    ก็จะขาดไม่ได้คือตัวสมาธิ มีใจมั่นคง คงจะเคยได้ยิน มรรครวมเป็นหนึ่งเดียว
    ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา และต้องโดยชอบนะ

    เราเชื่อในคุณพระรัตนตรัย เราจึงรู้วิธีการรักษาศีล เพื่อให้ถึงเป้าหมายที่แท้จริงก็เพื่อให้รู้จักสติ
    จนเป็นอินทรียสังวรศีล ก็อาศัยอายตนะ จนเป็นหนึ่งเดียว ใจเดียว คือผู้รักษา

    การรักษาศีล ไม่ได้หมายเพียงเพื่อให้ตนเป็นยองใย เป้าหมายก็เพื่อให้รู้จักสติ ในการก้าวไปในมรรค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  12. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    อนุสติ ความระลึกถึง, อารมณ์ที่ควรระลึกถึงเนืองๆ มี ๑๐ อย่าง คือ
    ๑. พุทธานุสติ ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    ๒. ธัมมานุสติ ระลึกถึงคุณของพระธรรม
    ๓. สังฆานุสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
    ๔. สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา
    ๕. จาคานุสติ ระลึกถึงทานที่ตนบริจาคแล้ว
    ๖. เทวตานุสติ ระลึกถึงคุณที่ทำคนให้เป็นเทวดา
    ๗. มรณัสสติ ระลึกถึงความตายที่จะต้องมีเป็นธรรม
    ๘. กายคตาสติ ระลึกทั่วไปในกายให้เห็นว่าไม่งาม
    ๙. อานาปานสติ ตั้งสติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    ๑๐. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบระงับกิเลสและความทุกข์ คือ นิพพาน;
    เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น อนุสสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  13. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อภิณหปัจจเวกขณ์

    ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ

    ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
    ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความเจ็บไข้ไปได้
    ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
    ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
    ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว

    จาก > พจนานุกรม พุทธศาสน์ พลังจิต
     
  14. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    ฐานสูตร

    [๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
    เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม
    เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความแก่ไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวมีอยู่แก่สัตว์
    ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา
    พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาวนั้นได้โดย
    สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
    นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี
    ความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วง
    พ้นความเจ็บไข้ไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในความไม่มีโรคมีอยู่แก่
    สัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลาย ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ
    เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในความไม่มีโรคนั้นได้โดย
    สิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์
    นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามี
    ความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความตายไปได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความมัวเมาในชีวิตมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย ซึ่ง
    เป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขาพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความมัวเมาในชีวิตนั้นได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลง
    ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น
    ความตายไปได้ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของ
    ชอบใจทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความพอใจ ความรักใคร่ในของรักมีอยู่แก่สัตว์
    ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ เมื่อเขา
    พิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ ย่อมละความพอใจ ความรักใคร่นั้นได้โดยสิ้นเชิง
    หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล
    สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เราจะต้อง
    พลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณาเนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
    กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายทุจริต
    วจีทุจริต มโนทุจริต มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเขาพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ
    ย่อมละทุจริตได้โดยสิ้นเชิง หรือทำให้เบาบางลงได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัย
    อำนาจประโยชน์นี้แล สตรี บุรุษ คฤหัสถ์ หรือบรรพชิต จึงควรพิจารณา
    เนืองๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด
    มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจัก
    เป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่
    ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์
    ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความแก่เป็นธรรมดา
    ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรค
    ย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ
    อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวก
    นั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้น ที่มีความเจ็บไข้เป็น
    ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา
    การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้
    ไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวก
    นั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรค
    นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็น
    ดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตาย
    ไปได้ โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วน
    มีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้น ย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้
    อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียว
    เท่านั้นที่จะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวง
    บรรดาที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนจะต้องพลัดพรากจากของรักของ
    ชอบใจทั้งสิ้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
    อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้
    มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อม
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท
    แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา
    ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
    กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บไข้
    เป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ทั้งหลายย่อม
    เป็นไปตามธรรมดา พวกปุถุชนย่อมเกลียด ถ้าเราพึงเกลียด
    ธรรมนั้น ในพวกสัตว์ผู้มีอย่างนั้นเป็นธรรมดา ข้อนั้นไม่
    สมควรแก่เราผู้เป็นอยู่อย่างนี้ เรานั้นเป็นอยู่อย่างนี้ ทราบ
    ธรรมที่หาอุปธิมิได้ เห็นการออกบวชโดยเป็นธรรมเกษม
    ครอบงำความมัวเมาทั้งปวงในความไม่มีโรค ในความเป็น
    หนุ่มสาว และในชีวิต ความอุตสาหะได้มีแล้ว แก่เราผู้
    เห็นเฉพาะซึ่งนิพพาน บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อเสพกามทั้งหลาย
    จักเป็นผู้ประพฤติไม่ถอยหลัง ตั้งหน้าประพฤติพรหมจรรย์ ฯ

    จบสูตร
    http://www.84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=22&item=57&items=1&preline=0&pagebreak=0
     
  15. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    ขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ครูน้อยตาแดง ขอรับ

    "อินทรีย์บ่มมาดีแล้ว" หรือ"อินทรีย์แก่กล้าแล้ว"
    คือภาวะอย่างใด ขอรับ
    มีอนุสติในข้อใดที่เต็มเพียงข้อเดียวก็เข้าสู่ภาวะในข้อ2 ของท่านอาจารย์ได้ หรือต้องประกอบกับธรรมข้ออื่นเสมอ
     
  16. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    อุปธิ - สิ่งนุงนัง, สภาวะกลั้วกิเลส, สิ่งที่ยังระคนด้วยกิเลส ๑.ร่างกาย ๒.สภาวะอันเป็นที่ตั้งที่ทรงไว้แห่งทุกข์ได้แก่ กาม กิเลส เบญจขันธ์ และอภิสังขาร
     
  17. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    อย่าเรียกว่าอาจารย์เลยดีกว่า เป็นเพื่อนร่วมวัฏฏะล่ะพอได้

    คงเคยได้ยินคติธรรมจากหลวงปู่เทสก์

    ดังนั้น หากจะเสริมในเรื่องการปรับอินทรีย์5
    จะแนะนำให้ลองศึกษาธรรมะจากพระท่านจะละเอียดกว่า

    “การปรับอินทรีย์ให้สมดุล”
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013
  18. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
  19. ชูบดี

    ชูบดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2012
    โพสต์:
    403
    ค่าพลัง:
    +2,271
    เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะนั้น...
    (ฐานะ ๕ ประการนี้ อันสตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สตรี บุรุษ คฤหัสถ์
    หรือบรรพชิต ควรพิจารณาเนืองๆ ว่า
    เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้ ๑
    เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ ๑
    เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้ ๑
    เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น ๑
    เรามีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรม
    เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น ๑ ฯ)

    ...อยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น
    อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้
    มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป อริยสาวกนั้นย่อม
    พิจารณาเห็นดังนี้ว่า ไม่ใช่เราแต่ผู้เดียวเท่านั้นที่มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาท
    แห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น โดยที่แท้ สัตว์ทั้งปวงบรรดา
    ที่มีการมา การไป การจุติ การอุบัติ ล้วนมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่ง
    กรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่ง จักทำกรรมใด
    ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น เมื่ออริยสาวกนั้นพิจารณาฐานะ
    นั้นอยู่เนืองๆ มรรคย่อมเกิดขึ้น อริยสาวกนั้นย่อมเสพ อบรม ทำให้มากซึ่ง
    มรรคนั้น เมื่อเสพ อบรม ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    ..ท่านอาจารย์ขอรับ มรรค ในที่นี้คือมรรคมีองค์ 8 ใช่หรือไม่
    แล้วที่ว่า เบื่อหน่ายคลายกำหนัดเป็นอาการของจิตขณะใดขอรับ
     
  20. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    มรรค คือทางเดิน หากพิจารณาอยู่เนืองๆในขณะนั้น ด้วยสติ สมาธิ

    เห็นด้วยปัญญาอันชอบ ดังนั้น เมื่อเห็นโทษเห็นทุกข์ภัยในวัฏฏะ

    ย่อมไม่ประมาทมัวเมาในกองสังขาร ไม่กลับกลอกง่อนแง่น นิพพิทาความเบื่อหน่ายย่อมเกิดขึ้น

    จนเข้าสู่มรรคญาณ แต่กว่าจะเข้าสู่มรรคญาณ ก็ต้องเพียรอบรมสติ ขจัดนิวรณ์ สร้างความสงบของใจ ให้เกิดขึ้น

    ผู้ที่มีปัจจัตตังเฉพาะตน คือมีผลมารองรับ ท่านผู้นั้นย่อมรู้เหตุปัจจัยด้วยมรรคญาณของตนๆ
    สิ่งทั้งหลายย่อมเกิดแต่เหตุ ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ

    ดังนั้น สิ่งที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆทั้ง5 นั่นคือการสร้างเหตุในทางเดิน คือ มรรค
    เหมือนมะม่วงผลจะเกิดขึ้นได้ นั่นเพราะ ต้องหมั่นรดน้ำดูแลบำรุงรักษา ในสิ่งที่ควรจะเป็น เป็นประโยชน์ต่อต้นมะม่วงนั้น
    ท่านผู้ได้ผลญาณ ท่านจะทราบดีในทางเดินที่ตนได้เดินมาถึง ว่าปฏิบัติมาอย่างไร พิจารณาอย่างไร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มีนาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...