เรียนถาม เรื่อง การปฏิบัติกายคตาสติ กรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Nuk036, 2 เมษายน 2013.

  1. Nuk036

    Nuk036 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +99
    อยากถามว่าจะปฏิบัติกายคตสติ อย่างไรครับ

    คือปกติ ผมปฏิบัติแบบอานาปานสติ หายใจเข้า พุท ออก โธ ซึ่งก็ไม่ได้ก้าวหน้ามากเท่าไหร่ จนมาเมื่อวานนี้ได้มีโอกาสถาใท่านผู้รู้ท่านหนึ่ง ท่านบอกว่า สำหรับผมให้ปฏิบัติ กายคตสติกรรมฐาน

    ผมเข้าไปอ่านใน วิสุทธิมรรค และจากเวบ ทราบแล้วว่า คือการพิจารณาเรื่องกาย 32 ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง แต่ที่ไม่เข้าใจคือ วิธีการคือยังไง และมันจะทำให้เราเป็นสมาธิได้อย่างไร ที่ผ่านมาผมมีคำบริกรรมตลอด คือ พุทโธ หรือ บางทีก็ท่องเป็นคาถา มีการวางฐานจิตที่ ปลายจมูก กำหนดรู้ที่ปลายจมูก

    แต่พอในหนังสือให้พิจารณากาย ผมไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร มันเหมือนกับให้เรานึกคิดไปเอง ( มโน ) แล้วแบบนี้จะเป็นสมถกรรมฐาน ได้อย่างไร

    บางทีระหว่างทำงาน หรือ รถติดไฟแดง ผมก็ใช้พุทโธ กำหนดหายใจเข้าออก ช่วงสั้นๆพอให้ใจสบาย แต่ถ้าเป็นกายคตสติ จะทำอย่างไร

    ขอคำชี้แนะ แบบ How to ให้ความกระจ่างด้วยคับ ขอบคุณครับ
     
  2. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ทำตามที่อ่านใน อ่านใน วิสุทธิมรรค ครับ จขก.
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กรรมฐาน 40

    ใคร จริต มาด้านไหน ก็ต้องฝึกด้านนั้น ถึงจะเห็นผล

    ลองถามตัวเองดูครับ


    ถ้าได้กรรมฐาน ไม่ตรงกับ จริต นิสัยตัวเอง

    ถ้าไม่ตรง จริต ของตัวเอง ฝึกอย่างไร ก็ไม่เห็นผล ไม่สามารถเข้าใจ ได้ครับ

    .
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    การนึกคิด ที่เป็น สมถะกรรมฐาน

    ก็คือว่า

    พอเรา บริกรรมจนจิตสงบๆ เบาๆแจ่มๆ สดชื่นๆ

    ก็ให้ น้อมนึก ภาพ ของอาการ 32 มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นต้น

    ปอด ตับ ไต ใส้ พุง น้ำเลือด น้ำหนอง ได้หมด ที่อยู่ในกาย

    แต่ว่า หากจะเริ่มแรก ควรเลือกมา 1อย่าง

    สมมุติ เลือก เล็บ
    ก็ให้เลือกเล็บที่นิ้วใดนิ้วนึง
    หลังจากที่ บริกรรมจน จิตสงบๆ เบาๆแจ่มๆสดชื่นแล้ว

    ก็น้อมนึกภาพเล็บให้ขึ้นตรงหน้า แล้วพิจารณานึกภาพตาม ว่าเล็บเรา

    จากเกิดมาตั้งแต่เด้ก ทารกเป็นอย่างนี้โตมาวัยเด้กเป็นแบบนี้ มีสีนี้
    ต้องแคะต้องตัด ต้องทำความสะอาด วัยทองเป็นอย่างนี้ แก่ชราไปเล็บเป็นอย่างนี้ๆ ตามรูปที่เรามโนขึ้นมา จนแก่ตายไปเล็บก็เน่า ย่อยสลายไป

    จากนั้นก็ไล่น้อมนึกพิจารณาจากย่อยสลายมาเป็นแก่ เป็นหนุ่มเป็นทารก ย้อนกลับไป

    อย่างนี้เรียกว่า 1รอบ จากนั้นพอหมดรอบนี้แล้ว ก็ให้หายใจลึกๆยาวๆ 4-5ครั้งแล้วก็ค่อยๆลืมตา กล่าวบทกรวดน้ำไป 1 รอบ
    จากนั้นก็ตั้งใหม่ แบบเดิม อีก 2รอบ ต่อการนั่งสมาธิในรูปแบบ1ครั้ง

    ข้างต้นเรียกว่า การฝึกพิจารณา อาการ 32
    กรณีข้างต้น หากชำนาญในเรื่องเล็บแล้ว
    ก็ถึงจะแยกไปเป็น ผม ขน ฟัน หนัง ปอด ตับ ไต ไส้ น้ำเลือด น้ำหนอง
    จนครบอาการ 32

    ทีนี้ คำว่า ชำนาญ นี่ คือ ภาพที่เราน้อมนึกในมโนภาพนั้น ต้องเป็นภาพที่เห็นเหมือนลืมตาชัดเจน สามารถย่อขยาย สั่งได้ ตามใจนึก
    อันนี้ถึงจะเรียกว่าเริ่มชำนาญ
    ต้องทำสมาธิอย่างต่ำไม่น้อยกว่า 10ชั่วโมงต่อวัน
    ติดต่อกันอย่างน้อย 3-5 เดือน

    ถึงจะรู้จักคำว่าเริ่มชำนาญ อันนี้แค่เริ่มชำนาญนะ
    ใน 1ของอาการ 32 คือเล็บ

    ไม่งั้นแล้ว เราจะไม่รู้จักคำว่า สมถะกรรมฐาน

    ส่วนเรื่อง บริกรรม คำบริกรรม จะยังจิตให้สงบเพียงอุปจาระสมาธิ
    ยังไม่ถึง อัปนาสมาธิ หรือที่เรียกว่า ขั้นฐานสมถะ(สมถะกรรมฐาน)

    ฉะนั้นแล้ว หากขึ้นด้วยบริกรรม พึงสังเกตุเพียงจิตเริ่มๆสงบๆเบาๆ เป็นอันใช้ได้ จากนั้นจึงเริ่มเดินพิจารณาอาการ 32 ต่อ
     
  5. Nuk036

    Nuk036 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +99
    ผมไม่ทราบครับว่าตัวเองเหมาะหรือไม่เหมาะกับกรรมฐานแบบไหน ท่าแนะนำมาผมก็จะลองทำดู
    แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจ จึงถาม เพราะเกรงจะปฏิบัติผิด

    ในวิสุทธิมรรค (เท่าที่เข้าใจ)บอกให้อ่าน เกศา โลมา นขา ฯ ย้อนไปมา ในเบื้องต้น
    หมายถึงให้ผม หลับตา กำหนด คำว่า เกศา โลมาฯ แบบนี้ไปเรื่อยๆ เหรอครับ
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    อนุสสติ ๑๐


    อนุสสติ แปลว่า "ตามระลึกถึง" กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึกนึกถึง
    มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน
    บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน ๔ และฌาน ๕ กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้ เมื่อถึง
    กรรมฐานหมวดใดมีกำลังเท่าใด จะได้เขียนไว้เพื่อทราบ อนุสสติทั้ง ๑๐ อย่างนี้ ก็เหมาะแก่อารมณ์
    ของนักปฏิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกัน บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวด
    ก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปใน ราคจริตกองใด
    หมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริตใด ก็จะได้เขียนบอกไว้เพื่อทราบเมื่อถึงกองนั้น ๆ อนุสสตินี้
    มีชื่อและอาการรวม ๑๐ อย่างด้วยกัน จะได้นำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบดังต่อไปนี้

    ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒. ธัมมานุสสติ ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๓. สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๔. สีลานุสสติ ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๕. จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๖. เทวานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง ๖ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)
    ๗. มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๘. อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ ๒ กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
    ๙. กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    ๑๐. อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและวิตกจริต
    อนุสสติทั้ง ๑๐ นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฏิบัติแต่ละอย่างดังนี้ ขอท่านนักปฏิบัติ
    พึงทราบ และเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะพอดีแก่อัชฌาสัยของตน จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ตั้งมั่น
    รวดเร็ว ไม่ล่าช้า


    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ttp://www.palungjit.org/smati/k40/index.htm​
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน

    กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครก
    ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้าทุกองค์
    ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณาให้เห็นว่าไม่สวย
    ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์ และกายคตานุสสตินี้ เป็น
    กรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยคาวจรพิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติ
    ผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌาน แต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกายที่ปรากฏมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็น
    อารมณ์ในการเพ่งเป็นกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มีผลได้ฌาน ๔ ตามแบบของกสิณ
    การพิจารณาท่านเขียนไว้ในวิสุทธิมรรควิจิตรพิศดารมาก จะไม่ขอกล่าวตามจนละเอียด
    ขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ พอได้ความ หากท่านนักปฏิบัติมีความข้องใจ หรือสนใจในความละเอียดครบ
    ถ้วน ก็ขอให้หาหนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะเข้าใจละเอียดมากขึ้น ตามแนวสอนในวิสุทธิมรรคท่าน
    ให้พิจารณาอาการ ๓๒ คราวละ ๕ อย่าง เช่น พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม ๕ อย่างเป็น
    หมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณาตามลำดับและย้อนกลับ เช่น พิจารณาว่า เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ย้อน
    จากปลายมาต้น เรียกว่าปฏิโลม คือถอยกลับ ให้พิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็นจริงว่า
    ไม่มีอะไรสวยงาม เพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณอยู่เสมอ ๆ ทั้ง ๆ
    ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใด สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปื้อนสกปรกอยู่เสมอ เช่น ผมต้องคอยหวี
    คอยสระชำระอยู่ทุกวัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจเพียง ๓ วัน เหงื่อไคลก็จะจับทำให้เหม็นสาบ เหม็นสาง
    รวมกายทั้งกายนี้ ท่านแสวงหาความจริงจากกายทั้งมวลว่า มันสวยจริง สะอาดจริงหรือไม่ ค้นคว้าหา
    ความจริงให้พบ กายทั้งกายที่ว่าสวยน่ารักนั้นมีอะไรเป็นความจริง ความสวยของร่างกายมีความจริง
    เป็นอย่างนี้ ร่างกายทั้งกายที่ว่าสวยนั้น ไม่มีอะไรสวยจริงตามที่คิด เพราะกายนี้เต็มไปด้วยสิ่งโสโครก
    คืออวัยวะภายใน มีตับ ไต ไส้น้อย ไส้ใหญ่ กระเพาะ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำหนอง น้ำดี อุจจาระ ปัสสาวะ
    เหงื่อไคล ที่หลั่งไหลออกมาภายนอกนั้น ความจริงขังอยู่ภายในของร่างกาย ที่มีหนังกำพร้าหุ้มห่ออยู่
    ถ้าลอกหนังออก จะเห็นร่างนี้มีเลือดไหลโทรมทั่วกาย เนื้อที่ปราศจากผิวคือหนังหุ้มห่อ จะมองไม่เห็น
    ความสวยสดงดงามเลย ยิ่งมีเลือดหลั่งไหลทั่วร่างแล้ว ยิ่งไม่น่าปรารถนาเลย แทนที่จะน่ารัก น่า
    ประคับประคอง กลับกลายเป็นของน่าเกลียด ไม่มีใครปรารถนาจะอยู่ใกล้ ถ้าลอกเนื้อออก จะแล
    เห็นไส้ใหญ่ ไส้น้อย ปอด กระเพาะอุจจาระ กระเพาะปัสสาวะ และม้าม ไต น้ำเลือด น้ำเหลือง
    น้ำหนอง เสลด หลั่งไหลอยู่ทั่วร่างกาย มองแล้วอยากจะอาเจียนมากกว่าน่ารัก ถ้าจะฉีกกระเพาะ
    ออก ภายในกระเพาะจะพบอุจจาระ ปัสสาวะอยู่ภายใน เป็นภาพที่อยากหนีมากกว่าเป็นภาพที่น่ารัก
    ถ้าเอาอวัยวะต่าง ๆ ออกหมด จะเห็นแต่ร่างโครงกระดูกที่มีสภาพเหมือนโครงบ้านเรือนตั้งตระหง่าน
    อยู่ โครงกระดูกทั้งสองร้อยท่อนนี้ ปะติดปะต่อกันอยู่เป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่ มีเนื้อและเลือดติด
    เกรอะกรัง ท่านคิดตามไป ท่านเห็นหรือยังว่า ส่วนที่มีเปอร์เซ็นต์ที่เห็นว่า พอจะเป็นของสวยของงาม
    มีนิดเดียวคือ ตอนหนังกำพร้าเท่านั้น หนังนี้ใช่ว่าจะเกลี้ยงเกลาเสมอไปก็หาไม่ ต้องคอยชำระล้าง
    ตลอดวันและเวลาเพราะสิ่งโสโครกภายในพากันหลั่งไหลมาลบเลือนความผุดผ่องของผิวตลอดวัน
    ถ้าไม่คอยชำระล้าง เจ้าตัวปฏิกูลนั้นก็จะพอกพูนเสียจนเลอะเทอะ แถมจะส่งกลิ่นเหม็นสาบเหม็นสาง
    ตลบไปทั่วบริเวณช่องทวาร อุจจาระ ปัสสาวะ ก็จะพากันหลั่งไหลออกมาตามกำหนดเวลาที่มันต้อง
    ออก สิ่งที่น่าคิดก็คือ ผู้นิยมตนเองว่าสวย หรือเทิดทูนใครก็ตามว่าสวย ต่อเมื่อสิ่งโสโครกหลั่งไหล
    ออกมาเขากลับไม่สนใจ ไม่พยายามมองหาความจริงจากของจริง กลับรอให้ชำระล้างสิ่งโสโครก
    เสียก่อน จึงใคร่ครวญและสนใจ ต่างคนต่างพยายามหลบหลีก ไม่รับรู้ความเป็นจริงของสังขารร่างกาย
    ในส่วนที่สกปรกโสโครก ทั้งนี้ เพราะกิเลสและตัณหาปกปิดความจริงไว้ ทั้งๆ ที่อุจจาระหลั่งไหลออกมา
    ทุกวัน เหงื่อไคลมีเสมอ เสมหะน้ำลายออกไม่เว้นแต่ละนาที แต่เจ้ากิเลสและตัณหามันก็พยายาม
    โกหกมดเท็จ ปัดเอาความจริงออกมาจากความรู้สึก หากทุกคนพยายามสอบสวน ทบทวนความรู้สึก
    ค้นคว้าหาความจริง ยอมรับรู้ตามกฎของความจริงว่า สังขารร่างกายนี้ไม่มีอะไรน่ารัก มีสภาพเป็น
    ส้วมเคลื่อนที่ เพราะภายในมีสิ่งโสโครกต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาแล้ว ถ้าเรารัก เราก็รักส้วม ถ้าเรา
    ประคับประคองเราก็ประคับประคองส้วม ถ้าเราเทิดทูน เราก็เทิดทูนส้วม จะว่าส้วมปกติเลวแล้ว
    ความจริงส้วมปกติดีกว่าส้วมเคลื่อนที่มาก เพราะส้วมปกติมันตั้งอยู่ตามที่ของมัน มันไม่ไปรบกวน
    ใคร เราไม่เดินเข้าใกล้ มันก็ไม่มาหาเรา ไม่รบกวนไม่สร้างทุกข์ ไม่หลอกหลอน ไม่ยั่วเย้ายียวน
    ชวนให้เกิดราคะ แต่เจ้าส้วมเคลื่อนที่นี่มันร้ายกาจ เราไม่ไปมันก็มา เราไม่มองดูมันก็พูดให้ได้ยิน
    เสแสร้งแกล้งตกแต่งปกปิดสิ่งที่น่าเกลียดด้วยสีผ้าที่หลาก กลบกลิ่นเหม็นด้วยกลิ่นหอม หาอาภรณ์
    มาประดับ เพื่อปกปิดพรางตากันเห็นสิ่งที่ไม่น่าชม เพื่อตาจะได้หลงเหยื่อติดในอาภรณ์เครื่องประดับ
    ผู้เห็นที่ไร้การพิจารณา และมีสภาพเป็นส้วมเคลื่อนที่เช่นเดียวกัน เป็นส้วมที่ไร้ปัญญาเหมือนกัน
    ต่างส้วมต่างก็หลอกหลอนกัน ปกปิดสิ่งโสโครกมิให้กันและกันเห็นความจริงทั้ง ๆ ที่ตัวเองก็มีครบถ้วน
    แทนที่จะเห็นตัว รู้ตัวว่า ข้านี้ก็เป็นผู้เลิศในความเหม็น เลิศในส่วนของความสกปรกเหมือนเธอ
    แทนที่จะเป็นอย่างนั้นกลับปกปิดพยายามชมตนเองว่า ฉันนี่แหละยอดผู้ศิวิไลซ์ละ อนิจจา น่าสงสาร
    สัตว์ผู้เมาไปด้วยกามราคะ มีอารมณ์หน้ามืดตามัวเพราะอำนาจกิเลสแท้ ๆ ถ้าเขาจะมองตัวเองสักนิด
    ก็จะเห็นตัวเอง และจะมองเห็นผู้อื่นตามความเป็นจริง พระอริยเจ้าท่านนิยมความจริง รู้จริง เห็นจริง
    ค้นคว้าจริง ไม่หลอกหลอนตนเอง ท่านจึงได้บรรลุมรรคผล เพราะพิจารณาตนเองเป็นส่วนใหญ่ ขอท่าน
    นักปฏิบัติเพื่อความสุขของตัวทั้งหลาย จงพิจารณาตนเองให้เห็นชัด จนได้นิมิตเป็นปฏิภาคนิมิต สร้าง
    สมาธิให้เป็นอัปปนาสมาธิ โดยพิจารณาสังขารให้เห็นว่าไม่สวยงามนี้ เมื่อถึงอัปปนาสมาธิแล้ว จงยึดสี
    ที่ปรากฏในร่างกายมีสีแดงเป็นต้นหรือจะเป็นสีอะไรก็ได้ยึดเอาเป็นอารมณ์กสิณ ท่านจะได้ฌานที่ ๔
    ภายในเวลาเล็กน้อย ต่อไปก็ยึดสังขารที่ท่านเห็นว่าน่าเกลียดนี้ ให้เห็นอนิจจังคือความไม่เที่ยงเพราะมี
    ความเปลี่ยนแปลงทรุดโทรมไปทุกวันเวลาเป็นปกติ ทุกขังเพราะอาศัยที่มันเคลื่อนไปสู่ความทำลาย
    ทุกวันเวลา มันนำความไม่สบายกายไม่สบายใจจากโรคภัยไข้เจ็บ และในการกระทบกระทั่งทางอารมณ์
    ให้เกิดความเดือดร้อนทุกวันเวลา จึงจัดว่าสังขารร่างกายนี้เป็นรังของความทุกข์ ให้เห็นเป็นอนัตตา
    เพราะความเสื่อมความเคลื่อนและในที่สุดคือความทำลายขันธ์ เราไม่ต้องการอย่างนั้น แต่มันจะต้อง
    เป็นไปตามนั้นเพราะเป็นกฎธรรมดาของขันธ์ จะต้องเป็นอย่างห้ามไม่ได้ บังคับไม่อยู่ ยอมรับนับถือว่า
    มันเป็นอนัตตาจริง เพราะความเป็นอนัตตา คือ บังคับไม่ได้ของสังขารร่างกายนี้แหละ พระพุทธเจ้าจึง
    สอนให้ปล่อยอารมณ์ในการยึดถือเสีย เพราะจะยึดจะถือเพียงใดก็ไม่เป็นไปตามความต้องการ สังขาร
    ร่างกายเป็นอย่างนี้เหมือนกันหมด ไม่ว่าที่มีใจครองหรือไม่มีใจครอง ตราบใดที่เรายังต้องการสังขาร
    เราต้องประสบความทุกข์ ความทรมาน เพราะสิ่งโสโครกที่เข้าประกอบเป็นขันธ์ เราเห็นสภาพความ
    จริงของสังขารร่างกายนี้ว่า เป็นของโสโครก ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา ควรปลีกตัวออกให้พ้นจริง เรา
    เห็นสังขารร่างกายว่าเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนจริง เราเห็นสังขารร่างกายว่าเป็นทุกข์จริง เราเห็น
    สังขารร่างกายว่าเป็นอนัตตาจริง ขึ้นชื่อว่าความเกิดเป็นทุกข์อย่างนี้ การยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ เป็น
    ทุกข์อย่างนี้ เราไม่ต้องการความเกิดอีก เราไม่ปรารถนาชาติภพอีก เพราะชาติความเกิดเป็นแดนอาศัย
    ของความทุกข์ โรคนิทธัง เรือนร่างของขันธ์ ๕ เป็นรังของโรค ถ้าร่างกายไม่มี โรคที่จะเบียดเบียนก็
    ไม่มี เพราะไม่มีร่างกายให้โรคอาศัย ปภังคุนัง เรือนร่างมีสภาพต้องผุพังถ้าไม่มีเรือนร่าง เรื่องการผุพัง
    อันเป็นเครื่องเสียดแทงใจให้เกิดทุกข์ก็ไม่มี เมื่อร่างไม่มีจะเอาอะไรมาเป็นอนัตตา เราไม่ต้องการทุกข์
    ที่มีความเกิดเป็นสมุฏฐาน เราไม่ต้องการความเกิดในวัฏฏะอีก เราต้องการพระนิพพานที่ไม่มีความเกิด
    และความตายเป็นแดนเกษมที่หาความทุกข์มิได้ พระนิพพานนั้นพระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า ท่านที่จะไปสู่
    พระนิพพานได้ไม่มีอะไรยาก ท่านสอนให้พิจารณาให้เห็นความจริงของร่างกายว่าโสโครก ถอนความรัก
    ความอาลัยในสังขารเสีย บัดนี้เราปฏิบัติครบแล้ว เราเห็นแล้ว เราตัดความเห็นว่าสวยงามในสังขาร
    ได้แล้วเราเชื่อแล้วว่า สังขารร่างกายเป็นทุกข์ เพราะอารมณ์ยึดมั่นว่า ร่างกายเป็นเรา เป็นของเรา
    เราคือร่างกาย ร่างกายคือเรา ความคิดเห็นอย่างนี้เป็นความเห็นของผู้มีอุปาทานเรารู้แล้ว เราเห็น
    ถูกแล้ว คือ เราเห็นว่าสังขารร่างกายไม่น่ารัก มีความสกปรกน่าสะอิดสะเอียน ร่างกายไม่ใช่เรา
    ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา เราคือจิตที่มีสภาพไม่แก่ ไม่ตาย ไม่สลายตัว
    ที่เข้ามาอาศัยร่างกายที่ประกอบไปด้วยธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ มีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันเป็นนามธรรม ๔ อย่าง เป็นเครื่องประกอบ เป็นเครื่องจักรกลที่บริหารตนเองโดยอัตโนมัติ
    ร่างกายนี้ค่อยเจริญขึ้นและเสื่อมลง มีการสลายตัวไปในที่สุด พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ตัด ฉันทะ
    ความพอใจในสรรพสังขารทั้งหมดเสียให้ได้ และให้ตัด ราคะ คือความกำหนัดยินดีในสรรพสังขาร
    ทั้งหมด คือ ไม่ยึดอะไรเลยในโลกนี้ว่า เป็นเรา เป็นของเรา ไม่มีอะไรในเรา เราไม่มีในอะไรทั้งสิ้น
    เราคือจิตที่มีคุณวิเศษดีกว่าอัตภาพทั้งปวง เราเกลียดสรรพวัตถุทั้งหมด เราไม่ยอมรับสรรพวัตถุ
    แม้แต่เรือนร่างที่เราอาศัยนี้ว่าเป็นของเราและเป็นเรา เราปล่อยแล้วในความยึดถือ แต่จะอาศัยอยู่
    ชั่วคราวเพื่อสร้างสรรค์ความดี สังขารจะเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องของสังขาร สังขารร่างกายจะผุพัง
    ก็เป็นเรื่องของสังขารร่างกาย เราไม่รับรู้รับทราบ เราว่างแล้วจากภาระในการยึดถือ เรามีความสุขแล้ว
    เรามีพระนิพพานเป็นที่ไปในกาลข้างหน้า สร้างอารมณ์ ความโปร่งใจให้มีเป็นปกติ ยึดพระนิพพาน
    เป็นอารมณ์ ทำจนเป็นปกติ จิตยึดความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาจนเป็นปกติ เห็นอะไร ได้อะไรมา
    คิดเห็นว่า นี่มันไม่ใช่ของเราจริง เขาให้ก็รับ เพื่อเกื้อกูลแก่อัตภาพชั่วคราว ไม่ช้าก็ต่างคนต่างสลาย
    ทั้งของที่ได้มาและอัตภาพ ใครไปก่อนไปหลังกันเท่านั้น จนอารมณ์มีความรู้สึกอย่างนี้เป็นปกติ จิตก็
    จะว่างจากอุปาทาน ในที่สุดก็จะถึงพระนิพพานสมความมุ่งหมาย




    (อธิบายในกายคตานุสสติโดยย่อพอได้ความ ก็ขอยุติไว้เพียงเท่านี้)

    คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ๔๐ กอง
    โดย พระราชพหรมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)

    ttp://www.palungjit.org/smati/k40/index.htm​
     
  8. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846


    การบริกรรม เกสา โลมา นขาทันตา ตโจ
    จะใช้บริกรรมแบบนี้ก็ได้ อย่างนี้เรียกว่า บริกรรม ไม่ต่างอะไรกับพุทโธ สัมมาอะระหัง ยุบหนอ พองหนอ หรือจะเป็นการ สาธยายมนต์บทยาวๆ ก็เรียกว่า บริกรรม


    ทีนี้ หาก เราบริกรรม เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ
    พร้อมกับ นึกภาพตามไปตามที่เราท่อง ให้ภาพขึ้นมาทีละอย่าง
    ก็จะเป็นการเริ่มเข้ามาพิจารณาอาการ 32

    แรกๆบางคน ขึ้นรูป 5อย่างพร้อมกันไม่ได้ สำหรับการเริ่มตั้น จึงควรขึ้นรูป อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ชัดเจนมาพิจารณาก่อน



    บางคำเรียก กรรมฐาน 5 นั่นก็คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
    ตอนก่อนบวช อุปัชฌา ท่านจะให้ กรรมฐาน 5เสมอ
    คือเป็นการยกตัวอย่างเพื่อนำมา พิจารณา คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง

    หากเรามั่น คงในสิ่งนี้คือกรรมฐาน 5 ก็มีลุ้นในชาตินี้
     
  9. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    กายคตานุสสตินั้น เหมาะมากสำหรับผู้มีจริตในด้าน ราคะจริต หรือรักสวยรักงาม
    (ไม่เกี่ยวกับบ้ากามนะครับ)
    รายละเอียดในการปฏิบัติลองอ่านตรงนี้นะครับ
    http://www.palungjit.org/smati/k40/anu.htm

    แต่ผมนั้นเคยได้ยินมาว่าครูบาอาจารย์ท่านให้ชนดะ คือพิจารณาไปเรื่อยๆ
    เจออะไรก็พิจารณาให้จิตมันชินกับการพิจารณา โดยเฉพาะเมื่อเจออารมณ์กระทบ
    เช่น... สาวสวย
    เจอปั๊บ เราก็... สวยแบบนี้ถูกใจเรา
    ลองพิจารณาดู ตา พิจารณาเห็นลูกตาเลย ลูกตากลมๆกลิ้ง มันสวยมั้ย มันน่ารักมั้ย
    จมูก มีขนในโพรงจมูก ตัดออกมาจากหน้า มีเลือดเกรอะกรัง
    ผม... ไอ้ผมนี่มันตัวสกปรกนะ ลองคิดดูสิว่าเวลาเจอเส้นผมในอาหารมันรู้สึกอย่างไร
    ผิวหนัง มันต้องอาบน้ำทุกวันใช่มั้ย ถ้าใช่ ก็แสดงว่ามันสกปรกมาก วันหนึ่งต้องอาบสองรอบด้วย
    ลอกหนังออก ดูไม่ได้จริงๆ ลอกหนังออกดูไม่ได้กันทุกคน
    .... นี่เอาแบบคิดเรื่อยๆเพลินๆนะครับ ถ้าจิตจับอยู่ในอารมณ์พิจารณาแบบนี้
    เป็นสมาธิ

    จริงๆแล้วเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการพิจารณากายคตานุสสติก็คือ... ตอนอาบน้ำ
    พิจารณาร่างกายของเรานี่แหละ ว่ามันสะอาดหรือสกปรก
    ขน ผม เล็บ ฟัน หนัง
    มันร่วงลงมาในจานอาหารใส่มาให้เรากินเรารู้สึกอย่างไร
    ทำความสะอาดมันทุกวันนะ... อยู่ในจานอาหาร เรารู้สึกอย่างไร
    น้ำลายอยู่ในปาก มันสะอาดหรือสกปรกละ... คายออกมากลืนไปใหม่ดีมั้ย...?

    เห็นอะไรสะอาด พื้นสะอาด รถสะอาด เสื้อสะอาด เลียได้มั้ยละ อมได้มั้ยละ
     
  10. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    สมาธิเกิด เพราะ นิวรณ์(เครื่องกางกั้นจิต) มี กามฉันทะเป็นต้นดับครับ

    ส่วนวิธีเจริญกายานุสตินั้น ผมขอแนะนำว่า

    ขั้นแรกก็ต้องท่องให้ได้ก่อนครับ
    แบบในวิสุทธิมรรค คือ ท่องไป และ ท่องย้อนกลับได้
    แบบชำนาญก่อน ไม่อย่างนั้นตอนนั่งสมาธิจะมาเกิดอาการ
    เอ่อ...วักกัง...แล้วอะไรนะ?
    ซึ่งภาวะสับสนอย่างนี้ ทำให้ไม่เกิดสมาธิ

    ขั้นสอง ก็ลองหาจาก youtube
    เช่น human anatomy for beginer หรือ human dissection
    (ตอนดูนี้ สำรวมจิตให้ดีครับ พยายามไม่วอกแวก แล้วถ้าเป็นไปได้ก็ลองพยามเข้าใจด้วยครับว่าเขาพูดถึงอะไร)

    สามเมื่อเริ่มพิจารณาจริงๆ ควรเริ่มจากไอที่รังเกียจสุด (แล้วไล่มา ซึ่งจริงๆ มันก็น่าเกลียดพอกันแหล่ะ) อย่างผมจะพิจารณา สมอง กับ เยื่อในกระดูก(พวกไขสันหลัง)ก่อน
    เพราะรู้สึกว่ามันน่ารังเกียจดี (ตอนผมพิมพ์นี้ ระลึกถึงยังเสียวจี๊ดขึ้นหัวเลย 555)

    ขั้นสุดท้าย เนื่องจากการศึกษาของเราเป็นการมองมือสอง(ดูจากคอม) มันอาจจะไม่เกิดความรังเกียจเท่าที่ควร ผมแนะนำว่า ให้ลองพิจารณาดูถึงโรคภัยที่เกิดจากอวัยวะเหล่านั้น
    เช่น ตับ ผมก็อาจนึกถึง ท่านสมัครครับ ว่าเป็นมะเร็งตับแล้วเป็นยังไง ถึงแก่อสัญญกรรมยังไงแล้วนึกถึงตัวเอง เราก็อาจจะแจ็กพอตเป็นเหมือนท่านได้เหมือนกัน (เป็นมรณานุสติอย่างหนึ่ง)

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 เมษายน 2013
  11. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    ไปงานมอเตอร์โชว์ ดูพริตตี้ซิ ผิวขาวๆสวยๆเพียบเลยสวยมั๊กๆ สวยจริงๆ
    แต่ที่สวยนะแค่หนังกำพร้าที่ห่อน่างกายไว้แค่นั้นแหละ การทำกรรมฐานกองนี้
    ก็คือพิจารณาเข้าไปว่าถ้าลอกหนังกำพร้าพริตตี้ออกมาจะมีสภาพเป็นยังไง ต่อด้วย
    แล่เนื้อออกมากองฝักตับไตไส้พุงออกมากอง มีตรงไหนที่ว่าสวยบ้างมีไหม
    เมื่อพิจารณาแล้วเห็นตามความเป็นจริงโพลงขึ้นในจิตเหมือนเราตอบคำถามได้ถูกต้อง
    ก็นับว่าได้กรรมฐานกองนี้ แล้วต่อด้วย วิปัสสนา โดยจับมันลงไตรลักษณ์
    ก็จะส่งผลให้เกิด นิพพิทาญาณคือความเบื่อหน่ายในร่างกาย เมื่อเบื่ิอหน่ายมากเข้าก็จะ
    เบื่อหน่ายไปหมดทั้งโลก ถึงตอนนั้น จิตเราก็จะคลายกำหนัดยินดีในสิ่งต่างๆ
    เป็นเหตุให้จิตเลิกยึดมั่นถือมั่นในโลกและสิ่งทั้งปวงได้ เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จิตย่อมหลุดพ้น

    นี่แหละผลของการพิจารณากายคตานุสสติกรรมฐาน
     
  12. Nuk036

    Nuk036 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    65
    ค่าพลัง:
    +99
    ขอบคุณทุกๆคำแนะนำนะครับ

    พูดถึงการท่องจำ ถ้าจะท่องเเค่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ แค่นี้ได้มั๊ยครับ หรือต้องท่องให้ครบ 32
     
  13. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ท่องแค่ เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ

    เอาจริงไหมล่ะ ถ้าเอาจริง เพียงแต่แค่นี้ ใช้ได้เหมือนกัน

    แต่ถ้า ท่องจำเพียงแค่นี้ แบบหยุดๆทำๆ ก็จะได้เพียงจิตสงบๆ เป็นคราๆไป

    ไม่ถึงขั้น สมถะจริงๆ


    คำว่าสมถะกรรมฐาน

    จะปฏิบัติด้วยวิธีการที่ถึงขั้นสมถะกรรมฐาน
    จะเริ่มนับ ที่จิตเดินเข้าอัปนาสมาธิ
    เริ่มต้นที่ปฐมฌานเป็นเบื้องต้น

    อัปนาสมาธิข้างต้น คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จนไปถึงอัปนาสมาธิอย่างละเอียด คือ จตุถฌาน

    ที่กล่าวมานี้เรียกว่า รูปฌาน 4
    จิตจะประกอบสมาธิจนแนนแน่นถึง รูปฌาน 4 ต้องอาศัยสิ่งเหนี่ยวนำจิต
    ที่เป็นรูปนิมิต

    อาการ 32 เป็นการใช้รูปนิมิต ในอาการ 32
    มาสร้างสอน อบรมจิตให้เป็นสมาธิ เพื่อคลายความถือมั่น ในอาการ32
    ว่าเป็นตน เป็นตัวตน เป็นของตน จนกว่าจะเจอ อาการที่ 33
    ไม่ง่ายหรอกที่จะเจออาการที่ 33
     
  14. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    รู้ลมก็เท่ากับรู้กาย

    ภิกษุทั้งหลาย ! สมัยนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
    เป็นผู้มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกออกเสียได้.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เราย่อมกล่าว
    ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก
    ว่าเป็นกายอย่างหนึ่งๆ
    ในบรรดากายทั้งหลาย.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ ภิกษุนั้นย่อมชื่อว่า
    เป็นผู้ตามเห็นกายในกาย อยู่เป็นประจำ
    มีความเพียรเผากิเลส มีสัมปชัญญะ มีสติ นำอภิชฌาและโทมนัส
    ในโลกออกเสียได้.

    ********************************************


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ...

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดบริโภคแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นบริโภคแล้ว ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดเบื่อแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเบื่อแล้ว ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดหลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นหลงลืม ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่หลงลืม อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่หลงลืม ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดไม่ซ่องเสพแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ซ่องเสพแล้ว ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดเจริญแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นเจริญแล้ว ฯ

    กายคตาสติอันชนเหล่าใดทำให้มากแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้มากแล้ว ฯ
     
  15. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด
    รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นรู้ด้วย
    ปัญญ่อันยิ่ง;
    ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด
    ไม่กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่กำหนดรู้แล้ว;
    ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด
    กำหนดรู้แล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่นั้นกำหนดรู้แล้ว;
    ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด
    ไม่ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นไม่ทำให้แจ้ง
    แล้ว;
    ภิกษุทั้งหลาย ! กายคตาสติอันชนเหล่าใด
    ทำให้แจ้งแล้ว อมตะชื่อว่าอันชนเหล่านั้นทำให้แจ้งแล้ว,
    ดังนี้.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 เมษายน 2013
  16. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    อณุโมทนาสาธุด้วยครับ ชอบมาก...*_*...
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรียนถาม
    1.อภิชฌาแปลว่าอะไรครับ
    2.โทมนัสแปลว่าอะไรครับ
    3.ดีหรือไม่ดีถ้าไม่ดีกำจัดยังไง...จากผู้รู้น้อย...
     
  18. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    เรียนถามคุณปราบเทวดา ที่ว่านิมิตๆ อย่างไรได้ชื่อว่านิมิต เพราะเวลาผมทำสมาธิที่ฌาณ๔ ผมไม่เห็นนิมิต ถาม 2 ข้อ 1.การทำสมาธิหรือเข้าฌาณต้องกำหนดนิมิตหรือไม่ 2.ผมทำสมาธิไม่เห็นนิมิตธรรมนี้เรียกว่าอะไร ต้องปรับปรุงแก้ไขหรือไม่...*_*...
     
  19. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    นายไปงานมอเตอร์โชว์แล้วพิจรณากรรมฐานที่พริ๊ตตี้สวยๆ แล้วถ้าแฟนเขารู้ว่ระจิตนายล่ะ บังเอิญว่าแฟนเขาหล่อด้วย หล่อกว่านาย นายจะเคลียร์กับแฟนเขายังไง...ตัวเอง...*_*...
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ขอเสนอเรื่อง รูปนิมิต ที่ช่วยในการทำรูปฌาน 4

    นิมิต คือ เครื่องหมาย หรือที่หมาย

    รูปนิมิต ก็คือ รูปที่เรากระทำไว้ในใจ ด้วยการ น้อมนึกขึ้นมา

    สร้างให้เห็นเป็นรูปร่างแบบหลับตาแล้วนึกภาพเอาไว้ในใจ


    จนกว่าภาพ หรือรูปนิมิตจะชัดดั่งที่ตาเห็นเหมือนลืมตา และสั่งการได้

    ลักษณะนี้เป็นการใช้ รูปนิมิต เพื่อทำรูปฌาน 4

    หากถามว่า
    การทำสมาธิหรือเข้าฌานต้องกำหนดนิมิตหรือไม่

    ตอบว่า สมาธิที่เป็นสมถะ ต้องกำหนดรูปนิมิตในการสร้าง
    และต้องเป็นรูปนิมิต ที่เราสร้าง
    ไม่ใช่รูปนิมิตที่ไม่ได้เชิญมา มีรูปผู้วิเศษ พระสงฆ์องค์เทพเจ้าเป็นต้นฯ


    ส่วนสมาธิ ที่ไม่ใช้รูปนิมิต ก็ทำได้เช่นกัน
    สมาธิชนิดนี้เป็น สุญตสมาธิ
    เป็น สมาธิที่ทำได้ง่ายกว่าสมาธิที่ใช้รูปนิมิตเสียอีกและยังเป็นสายตรงอีกด้วย
    เพียงแต่ต้องศึกษาวิธีให้เข้าใจและลงมือทำอย่างเต็มที่

    และอีกอย่าง หากทำสมาธิไม่เห็นนิมิต แต่รู้อารมณ์ใจตัวเองได้เนืองๆ
    ถือว่า ใช้ได้แล้ว ไม่ต้องแก้ไขอะไร
    ขาดแต่เพียง ฝึกให้ชำนาญมากขึ้นเท่านั้น
    พร้อมกับ ประครองศีล 5 ให้ได้อย่างสมบูรณ์ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...