อย่าเลยพระพุทธเจ้า อย่าเลยครูอาจารย์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ปุณฑ์, 28 มีนาคม 2013.

  1. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ดูกรอานนท์ เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติตาม
    กัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลาย ด้วยประการนั้น
    เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย เมื่อยุคบุรุษใดเป็นไปอยู่ กัลยาณวัตรเห็นปานนี้
    ขาดสูญไป ยุคบุรุษนั้นชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของบุรุษเหล่านั้น เธอทั้งหลายจะพึงประพฤติ
    ตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ได้ด้วยประการใด เรากล่าวอย่างนี้กะเธอทั้งหลายด้วยประการนั้น
    เธอทั้งหลายอย่าได้ชื่อว่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย. ผมไม่ได้เป็นคนสุดทายแล้วนะ ผมส่งให้ท่านแล้วนะจ๊ะ
     
  2. ดาวศุกร์

    ดาวศุกร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    171
    ค่าพลัง:
    +554
    มองดูใบไม้แค่ในกำมือก็มีประโยชน์มากมาย ไม่อยากหลงทางในป่าใหญ่
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..................ม่ายช่าย เจ้.....ส่วนใหญ่พวกเราก็ไม่ไปแตะพระสูตรอยู่แล้ว พระสูตรที่เป็นภาษาเดิมนั้น ยังอยู่ แน่นอน.....เพราะฉนั้นคงไม่มีใคร ไปเปลี่ยนแปลงพระสูตรได้ ส่วน การหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด ที่หลวงพ่อหลวงตาท่านเทศน์ ก็ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงพระสูตร สบายใจได้....ส่วนคนฟังธรรม ก็ ศึกษาและตรวจสอบเป็นธรรมดา...:cool:
     
  4. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ใบไมในกำมือนันแหล่ะคือพระสูตรทังหมดที่พระองค์กล่าวไว้ตรลอด45พรรษาจ๊ะ แต่จะเลือกเอาสักชิ้นสองชิ้น พระองค์ก็กล่าวเพียงพอแล้ว แกความสุขที่จะได้รับตลอดการ แตกเนาะพระองค์ยังกล่าวต่อไปว่า สะสมสุตตะมากจะเป็นไปเพื่อการสะสมอาวุธไว้มากเมื่อยามออกศึก เลือกเอานะจ๊ะตามสบายเลย,,,
     
  5. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    พระรัตนตรัย นั้นไม่สามารถแยกออกจากกันได้
    สรณะที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้แล้วว่าควรน้อมมาเป็นที่ตั้งที่ควรระลึกคือ
    พระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สามสิ่งนี้เป็นสรณะอันประเสริฐ

    หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว พระธรรม พระพุทธวัจนะ ถูกนำมาถ่ายทอดสืบทอดต่อเนื่องมาก ก็ด้วยพระสงฆ์สาวกนี่แหละเป็นผู้นำมาถ่ายทอดแสดงธรรม
    อันพระสาวกผู้เจริญรอยตามพระพุทธเจ้าด้วยอาศัยพระธรรมเป็นเครื่องนำทางแก่ตนเองและผู้อื่น ดังนี้ จึงควรเคารพในพระรัตนตรัยอย่างไม่มีข้อสงสัยใดๆ

    พระธรรมของพระพุทธเจ้ามีมากมาย พระพุทธวัจนะ ก็จัดว่าเป็นพระธรรมส่วนหนึ่ง พระธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ว่าจะส่วนใดล้วนมีความสำคัญเสมอกัน เราไม่ควรกล่าวว่าดีเฉพาะตรงนี้ก็ไม่ถูก แม้พระวินัยก็เช่นกัน พระสุตันตปิฏกก็เช่นกัน

    ใดๆจากพระพุทธองค์ล้วนคือพระสัทธรรม ประเสริฐยิ่ง นักแล
    ควรแก่สรรพสัตย์ทั้งหลายไซร้ น้อมนำปฏิบัติบูชา
    วิจิกิจฉาใดๆควรทำลายสิ้นด้วยศรัทธาปัญญา
    น้อมจิตนำพาก้าวล่วงบรรลุธรรม

    จงหยุดที่จะขัดแย้งในทางธรรม แต่หากจะโต้แย้งแสดงเหตุก็ไม่ว่า พระสัทธรรมลำเลิศเกินพรรณา จิตใดหน้าเสพธรรมล้ำเลิศคุณ
     
  6. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ดูเหมือนเคยฟังเทศน์ของท่านเสถียรโพธินันทะ ก็ให้ยึดพระไตรปิฏกบาลีฝ่ายเถรวาท (ไม่ยืนยัน เพราะฟังเทปเรื่องเถรวาทกับมหายานเมื่อนานมาแล้ว)

    ..
    พระไตรปิฎกมีจุดเริ่มต้นมาจากการจัดรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า ออกเป็นหมวดหมู่ และซักซ้อมทบทวนกันจนลงตัว ในระยะแรก พระไตรปิฎกถ่ายต่อกันมาโดยการท่องจำปากเปล่า จนกระทั่งราว พ.ศ. 460 จึงมีการจารึกลงเป็นลายลักษณ์อักษร กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาสืบทอดมาพร้อมกับพระไตรปิฎก จากสมัยพุทธกาลจนถึงวันนี้เป็นเวลากว่า 2,500 ปี พระไตรปิฎกบาลีของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด ดั้งเดิมที่สุด สมบูรณ์ที่สุด และถูกต้องแม่นยำที่สุด ที่ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน

    พระไตรปิฎก - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2013
  7. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    โดย เสถียรพงษ์ วรรณปก
    ..
    แต่ละนิกายนับการทำสังคายนาไม่ตรงกัน เพราะต่างฝ่ายก็ไม่ยอมรับการทำสังคายนาของอีกฝ่ายหนึ่ง ในที่นี้จะขอยกการทำสังคายนาของสายเถรวาทเป็นหลัก

    สังคายนาครั้งที่ 1 จัดทำหลังจากพุทธปรินิพพาน 3 เดือน สาเหตุเนื่องมาจากพระภิกษุบวชเมื่อแก่รูปหนึ่งชื่อ สุภัททะ กล่าวดูหมิ่นพระธรรมวินัย พระมหากัสสปะเกรงว่า พระธรรมวินัยจะเสื่อมสูญ จึงเรียกประชุมสงฆ์อรหันต์ 500 รูป ทำสังคายนา ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างเวภารพบรรพต ใกล้กรุงราชคฤห์ พระมหากัสสปะเป็นประธานซักถามพระธรรมวินัย พระอานนท์เป็นผู้วิสัชนาพระธรรม พระอุบาลี เป็นผู้วิสัชนาพระวินัย ในการนี้พระเจ้าอชาตศัตรูทรงเป็นผู้อุปถัมภ์กระทำอยู่ 7 เดือนจึงสำเร็จ

    สังคายนาครั้งที่ 2 เกิดขึ้นหลังจากพุทธปรินิพพาน 100 ปี สาเหตุเนื่องมาจากพระภิกษุวัชชี บุตรกลุ่มหนึ่งได้ปฏิบัติย่อหย่อนทางพระวินัย 10 ประการ เช่น เก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์เพื่อนำมาผสมอาหารไว้สำหรับฉันได้ตลอดไป เมื่อตะวันชายเกินเที่ยงวันไปแล้วประมาณสององคุลีฉันอาหารได้ รับเงินและทองได้ ฉันสุราอ่อนๆ ได้ เป็นต้น พระเถระผู้ใหญ่ร่วมมือกันกระทำการครั้งนี้ 8 รูป คือ พระสัพพกามี พระสาฬหะ พระขุชชโสภิตะ พระวาสภคามิกะ พระเรวตะ พระสัมภูต สาณวาสี พระยศกากัณฑบุตร และพระสุมนะ ในการนี้พระเรวตะเป็นผู้ซักถาม พระสัพพกามีเป็นผู้ตอบ วินิจฉัยเรื่องทั้ง 10 ประการท่ามกลางประชุมสงฆ์ 700 รูป การสังคายนาครั้งนี้กระทำที่ วาลุการาม เมืองไพศาลี มีพระเจ้ากาฬาโสก เป็นผู้อุปถัมภ์ กระทำอยู่ 8 เดือนจึงสำเร็จ

    สังคายนาครั้งที่ 3 กระทำเมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 235 ปี (บางแห่งว่า 234 ปี) สาเหตุเนื่องมาจากเดียรถีย์ปลอมบวชในพระพุทธศาสนามากขึ้น แสดงธรรมวินัยผิดแผกไปจากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ด้วยความร่วมมือจาก พระเจ้าอโศกมหาราช เรียกประชุมสงฆ์จำนวน 1,000 รูป สอบสวนชำระสะสางพระธรรมวินัย กำจัดเดียรถีย์เหล่านั้น การสังคายนาครั้งนี้กระทำที่อโศการาม เมืองปาตลีบุตร ทำอยู่ 9 เดือนจึงสำเร็จ
    มีข้อน่าสังเกตคือ พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ได้แต่งคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์หนึ่งในจำนวนพระอภิธรรมเจ็ดคัมภีร์ และมีการส่งคณะสมณทูตไปประกาศพระพุทธศาสนายังต่างประเทศด้วย ว่ากันว่าประเทศไทยได้รับสืบทอดพระพุทธศาสนามาจาก พระโสณะ และ พระอุตตระ ที่ถูกส่งมาเผยแผ่ศาสนา ณ ภูมิภาคแถบนี้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

    สังคายนาครั้งที่ 4 ทำเมื่อพุทธศักราช 238 พระมหินทเถระ ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา ที่ประเทศศรีลังกา มีพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นผู้อุปถัมภ์

    สังคายนาครั้งที่ 5 ทำเมื่อพุทธศักราช 450 (บางแห่งว่า 433) เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะ เป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเกรงว่าการถ่ายทอดโดยระบบท่องจำอาจวิปริตคลาดเคลื่อน สังคายนาครั้งนี้ทำที่อาโลกเลณสถานมตเลชนบท ซึ่งชาวไทยเรียกว่า มลัยชนบทประเทศศรีลังกา พระรักขิตมหาเถระ เป็นประธาน ทำอยู่นานเท่าใดไม่ปรากฏหลักฐาน

    ::

    ...
    หรืออ่านจากวิกิพิเดีย..

    การสังคายนาครั้งที่ห้า
    การทำสังคายนาครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 460 ที่อาโลกเลณสถาน มตเลชนบท ประเทศศรีลังกา โดยมีพระรักขิตมหาเถระเป็นประธาน การทำสังคายนาครั้งนี้เพื่อต้องการจารึกพระพุทธวจนะเป็นลายลักษณ์อักษร หลังจากที่มีการพัฒนาด้านภาษาเขียน จากตัวอักษร อนักษระ (ภาษารูปภาพ)มาเป็นอักษระ(ภาษาเขียนเลียนแบบเสียงพูด) ซึ่งภาษาอนักษระพระอรหันต์ในอดีตเห็นถึงความไม่เหมาะสมในการบันทึกไว้เพราะจะให้พระพุทธคลาดเคลื่อนเสื่อมสูญได้ ถึงจัดหมวดหมู่แบ่งกันรับผิดชอบท่องจำทรงกันเอาไว้ เมื่อภายหลังมีภาษาเขียนแบบอักษระจึงเห็นควรให้จารึกเป็นลายลักอักษร

    พระไตรปิฎก - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2013
  8. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    เห็นมีกระทู้ พระไตรปิฏกซื้อฉบับไหนดี


    http://palungjit.org/threads/พระไตรปิฎกซื้อฉบับไหนดี.307332/page-2
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 เมษายน 2013
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ภิกษุ ท ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการ เหล่านี้ มีอยู่เพื่อการได้เฉพาะซึ่ง
    ปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีในเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้,
    เป็นไปพร้อมเพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบ
    แห่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว,แปดประการ อย่างไรเล่า? แปด
    ประการคือ :-

    ๑. ภิกษุ ท ! ภิกษุในกรณีนี้ เข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือ เพื่อนส
    พรหมจารีผู้เป็นที่ตั้งแห่งความเคารพ รูปใดรูปหนึ่ง อันเป็นที่ซึ่งหิริและโอตัปปะ
    ความรักและความเคารพ ของภิกษุนั้นจะตั้งอยู่อย่างแรงกล้า : ภิกษุ ท ! นี้ เป็นเหตุ
    ปัจจัยประการที่หนึ่ง.

    ๒. ภิกษุ นั้น ครั้นเข้าไปอาศัยซึ่งพระศาสดา หรือเพื่อนส พรหมจารีผู้เป็น
    ที่ตั้งแห่งความเคารพรูปใดรูปหนึ่ง จนกระทั่งหิริและโอตตัปปะ ความรักและความ
    เคารพของภิกษุนั้น ตั้งอยู่อย่างแรงกล้าแล้ว เธอนั้น ก็เข้าไปซักไซ้ สอบถามปัญหา
    ตามกาละอันควรว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ! ข้อนี้ เป็นอย่างไร?ความหมายแห่งข้อนี้
    เป็นอย่างไร? ดังนี้ ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ย่อมเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผย ย่อมทำให้ตื้น
    สิ่งที่ยังไม่ได้ทำให้ตื้น ย่อมบรรเทาความสงสัยในธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย
    มีอย่างต่างๆ แก่ภิกษุนั้น : ภิกษุ ท ! นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่สอง.
    (ข้อ๒นี้ เอาไปเทียบเคียงกับสูตรบริษัทที่ดื้อได้ )
    ๓. ภิกษุนั้น ครั้งฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมทำตนให้ถึงพร้อมด้วยการ หลีกออก ๒
    อย่าง คือหลีกออกทางกาย และหลีกออกทางจิต : ภิกษุ ท ! นี้ เป็นเหตุปัจจัยประการ
    ที่สาม.

    ๔. ภิกษุนั้น เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วย มรรยาท
    และโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลาย แม้ที่ถือว่าเป็นโทษเล็กน้อย สมาทาน
    ศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย : ภิกษุ ท ! นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่สี่.

    ๕.ภิกษุนั้น เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว สั่งสมธรรมที่ฟังแล้ว : ธรรม
    เหล่าใด มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด แสดง
    พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง, ธรรม
    เหล่านั้น อันเธอนั้นดั้งมามากแล้ว จำได้ ว่าได้คล่องแคล่วด้วยวาจา มองเห็นตามด้วย
    ใจ เจาะแทงตลอดอย่างดีด้วยความเห็น : ภิกษุ ท ! นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่ห้า.
    พหูสูต ทรงธรรมที่งามในเบื้องต้น
    ๖.ภิกษุนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรมทั้งหลาย เพื่อความถึง
    พร้อมแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นผู้มีกำลัง (จิต) มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้ง
    ธุระในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ : ภิกษุ ท ! นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่หก.

    ๗.ภิกษุนั้น ไปสู่หมู่สงฆ์แล้ว ไม่พูดเรื่องนอกเรื่อง ไม่กล่าว ดิรัจฉานกถา
    กล่าวธรรมเองบ้าง เชื้อเชิญผู้อื่นให้กล่าวบ้าง ไมดู่หมิ่นความนิ่งอย่างพระอริยเจ้า๑ :
    ภิกษุ ท ! นี้เป็นเหตุปัจจัยประการที่เจ็ด

    ๘.ภิกษุนั้น มีปกติตามความเห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป ในอุปทาน
    ขันธ์ทั้งห้า อยู่ว่า "รูป เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดรูปเป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง
    รูป เป็นอย่างนี้ ; เวทนา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดเวทนา เป็นอย่างนี้,ความตั้งอยู่
    ไม่ได้แห่งเวทนา เป็นอย่างนี้ สัญญา เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสัญญาเป็นอย่างนี้,
    ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสัญญาเป็นอย่างนี้ สังขาร เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิดสังขารเป็น
    อย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งสังขาร เป็นอย่างนี้ วิญญาณ เป็นอย่างนี้, เหตุให้เกิด
    วิญญาณเป็นอย่างนี้, ความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งวิญญาณ เป็นอย่างนี้ ดังนี้: ภิกษุ ท ! นี้
    เป็นเหตุปัจจัยประการที่แปด.

    .....ภิกษุ ท ! เหตุ ๘ ประการ ปัจจัยแปดประการ เหล่านี้แลมี อยู่ เพื่อการได้
    เฉพาะซึ่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกา (ปัญญาที่ต้องมีในเบื้องต้นแห่ง
    พรหมจรรย์) ที่ยังไม่เคยได้, เป็นไปพร้อมเพื่อความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์
    ความทำให้เจริญ ความเต็มรอบ แห่งปัญญาอันเป็นอาทิพรหมจริยิกาที่ได้แล้ว.
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    น้ำทะเล ตักมาตรงไหน ลองชิมดู มันต้องเค็ม ไม่มีเป้นอื่นไปได้

    ขึ้นซื่อว่าพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าประกาศไว้ดีแล้ว ใครจะนำมาประกาศต่อ หรือใครจะไปปฏิบัติจนพบพระสัทธรรมเหล่านั้นได้
    เอง ก็ย่อมเกิดขึ้นได้ สุดท้ายก็เป็นสิ่งอันเดียวกัน

    สติ สมาธิ ภาวนา ปัญญาเท่านั้นที่ต้องฝึกกันให้มาก อย่าไปกังวลในสิ่งอื่น ทำตรงนี้ให้ดีที่สุดเพียรพยายามสุดๆ ผลปรากฏที่ดีย่อมเกิดแก่ท่านครับ สาธุ
     
  11. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    1ในรัตน5ที่หาได้ยากในโลก คือผู้้ประกาศคำตถาคต พุทธวจน เธอจงอย่าเป็นบุรุษคนสุดท้ายของเราเลย
     
  12. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พุทธวจน เรากล่าวว่าเจตนานั้นเป็นกรรม คนที่มีความตั้งใจประกาศคำตถาคตนั้นเขามีเจตนาตั้งใจทำความดี ผู้ที่มีความเห็นคัดค้า่นนั้นท่านมีอะไรเป็นพื้นฐาน นอกจากความไม่พอใจในการกระทำนั้นซึ่งหมายถึงโทษะเป็นมูลฐาน เรากล่าวซึ่งเจตนาเป็นกรรม
     
  13. Satoranai

    Satoranai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    80
    ค่าพลัง:
    +263
    ผมว่า เอาแบบชัดๆไปเลยว่า
    "สำนักนาป่าพง สนับสนุน พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ เท่านั้น"
    หาใช่ "สำนักนาป่าพง สนับสนุน พุทธวจนฉบับต้นกำเนิดด้วยภาษาบาลี"

    ในเมื่อท่านก็ยอมรับเองว่า ๒๒๗ หรือ ๑๕๐ ยังไม่ยุติ
    ไฉนจะมาซ้ำเติม สร้างความแตกแยกที่ขยับใกล้เข้าสู่สังฆเภทอีกเล่า??
     
  14. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ท่านมีสิทธิ์คิด คิดไปเลย จะคิดอะไรก็ได้แต่อย่าพยายามคิดในแง่ลบ โดยเฉพาะกับพระสงฆ์ เพราะท่านอาจคิดร้ายกับพระอริยเจ้าก็ได้ ขอเตือน
     
  15. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    ก็น่าเป็นห่วง คนไม่ยึดสรณะสาม
    พวกไม่เอาคำครูบาอาจารย์ ทั้งในระดับเป็นผู้สังคายนาพระไตรปิฎก
    และมีคำสอนในพระไตรปิฏก รวมถึงพระอรหันต์พระอริยะในกาลปัจจุบัน
    แต่เอาบริษัทสี่โดยอ้างพระวจนะ ซึ่งไม่รู้จะถึงระดับชั้นจะเข้าใจตีความพระวจนะได้ถ่องแท้ตลอดไหม.. มาอรรถกถาหรือตีความแทน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 พฤษภาคม 2013
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............ผมว่า เจ๊ อย่า ไปเต้นตามเขาเลย...พวกยุให้รำ....เดี๋ยวเขาว่า เจ๊ได้ว่า ภาวนา ยังไง อกุศลธรรม ยังไม่รู้จัก..:cool:
     
  17. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    อันนี้เป็นห่วงจริงๆ
    เขาเรียกว่า ปรามาสพระอริยะ กันโดยไม่รู้ตัว
    มันจะปิดมรรคผล ได้ โดยไม่รู้ตัว

    ก็ดูเถอะ ฉลาดๆ กันทั้งนั้น ..
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .........................มันอยู่ที่ โยนิโสมนสิการ กับ กัลญาธรรม.....สำหรับเรื่องปัญหาขัดแย้งต่างต่างถ้า โยนิโสมนสิการให้ดี...มันก็ จบ เพราะมันเป็นเรื่องภายนอกล้วนล้วน ภาวนา เราไม่ได้เอาเรื่องภายนอกเหล่านั้น...เอาธรรมที่รู้ได้เฉพาะตน ดีกว่า....:cool:
     
  19. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    ห่วงอะไรจ๊ะ ห่วงคนศึกษาพุทธวจนเหรอ
     
  20. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    พวกยุให้รำเปนอย่างไรเหรอ
     

แชร์หน้านี้

Loading...