ร่วมบูชาพระหลวงปู่ทวด รุ่นกรรมฐาน และยังได้ร่วมมหาบุญกับวัดพุทธพรหมปัญโญ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย 789987, 5 กันยายน 2007.

  1. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    <TABLE id=AutoNumber2 style="BORDER-COLLAPSE: collapse" borderColor=#111111 height=573 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" colSpan=2 height=38>
    เรือพระที่นั่งสำคัญในกระบวนพยุหยาตราทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค



    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=169>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=169>กระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    ในจินตนาการของศิลปินชาวฝรั่งเศส แสดงออกถึงความมโหฬารของขบวนเรือในพระราชพิธี

    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=82>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=82>เรือพระที่นั่งนาราณย์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ เนื่องในวโรกาสที่เสด็จขึ้นเถลิงถวัยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี แทนเรือนารายณ์ทรงสุบรรณในสมัยรัชกาลที่ ๔ นับเป็นเรือพระที่นั่งลำแรกที่สร้างขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน

    </TD></TR><TR><TD width="35%" height=106>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=106>เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
    เป็นพระเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง ใช้สำหรับเป็นเรือที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ ในสมัยรัชกาลที่ ๑

    </TD></TR><TR><TD align=middle width="35%" height=38>[​IMG]

    </TD><TD width="65%" height=38>สุพรรณหงส์ทรงพู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
    เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
    (กาพย์เห่เรือ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์)
    </TD></TR><TR><TD align=middle width="35%" height=38>[​IMG]</TD><TD width="65%" height=38>เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
    เป็นเรือพระที่นั่งประเภทเรือกิ่ง พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้สร้างขึ้นแทนลำเดิมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    กระบวนพระยุหยาตราทางชลมารค เดิมคือการยาตรากระบวนทัพเพื่อการศึกสงคราม อันประกอบด้วยริ้วขบวนของเหล่าทหารหาญผู้เชี่ยวชาญการศึก และพร้อมพรั่งด้วยระเบียบวินัยอันเข้มแข็ง สำแดงถึงแสงยานุภาพอันยิ่งใหญ่เกรียงไกรแห่งองค์พระมหากษัตริย์สยามในการปกป้องอธิปไตยของแผ่นดิน อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความจงรักภักดีของเหล่าทหารหาญ บรรดาข้าราชบริพารต่อองค์พระประมุขและบ้านเมือง
    ในยามว่างเว้นจากการศึกสงคราม เรือรบเหล่านี้ถูกปรับเป็นกระบวนเรือเสด็จพยุหยาตราชลมารค อันประกอบด้วยเรือและฝีพายเป็นจำนวนมากในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ได้แก่
    พระราชพิธีราชาภิเษก เพื่อสถาปนาความเป็นกษัตริยาธิราชโดยสมบูรณ์
    การเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้ากฐินตามอารามหลวงริมแม่น้ำ
    พระราชพิธีจองเปรียง ในเดือนสิบสอง เป็นอีกพระราชประเพณีหนึ่งที่พระมหากษ้ตริย์จะเสด็จพระราชดำเนินบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดสำคัญริมน้ำ พร้อมกับมีการลอยพระประทีปเพื่อเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งนัมมทานที และบูชาเจดีย์จุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
    พระราชพิธีไล่น้ำ ในเดือนอ้ายอันเป็นฤดูน้ำหลาก ทั้งพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเสด็จด้วยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ไปทรงไล่น้ำโดยการโบกพัชนี(พัด) ด้วยพระบารมีและอำนาจธรรมของพระองค์ ไล่น้ำที่กำลังท่วมทำความเสียหายต่อทุ่งนาให้ลดลง เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับข้าแผ่นดิน
    พิธีสำคัญของบ้านเมืองในบางกรณี เช่นพิธีรับพระราชสาส์นและราชทูต
     
  3. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    [​IMG]ความหมาย

    พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
      • กฐินที่เป็นชื่อของกรอบไม้ กรอบไม้แม่แบบสำหรับทำจีวร ซึ่งอาจเรียกว่าสะดึงก็ได้ เนื่องจากในครั้งพุทธกาลการทำจีวรให้มีรูปลักษณะตามที่กำหนดกระทำได้โดยยาก จึงต้องทำกรอบไม้สำเร็จรูปไว้ เพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำเป็นผ้านุ่งหรือผ้าห่ม หรือผ้าห่มซ้อนที่เรียกว่าจีวรเป็นส่วนรวม ผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ในภาษาไทยนิยมเรียก ผ้านุ่ง ว่า สบง ผ้าห่ม ว่า จีวร และ ผ้าห่มซ้อน ว่า สังฆาฏิ
        การทำผ้าโดยอาศัยแม่แบบเช่นนี้ คือทาบผ้าลงไปกับแม่แบบแล้วตัดเย็บย้อม ทำให้เสร็จในวันนั้นด้วยความสามัคคีของสงฆ์ เป็นการร่วมใจกันทำกิจที่เกิดขึ้นและเมื่อทำเสร็จ หรือพ้นกำหนดกาลแล้ว แม่แบบหรือกฐินนั้นก็รื้อเก็บไว้ใช้ในการทำผ้าเช่นนั้นในปีต่อๆ ไป การรื้อแบบไม้นี้เรียกว่า เดาะ ฉะนั้น คำว่า กฐินเดาะ หรือ เดาะกฐิน จึงหมายถึงการรื้อไม้แม่แบบเพื่อเก็บไว้ใช้ในโอกาสหน้า
      • กฐินที่เป็นชื่อของผ้า หมายถึงผ้าที่ถวายให้เป็นกฐินภายในกำหนดกาล 1 เดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผ้าที่จะถวายนั้นจะเป็นผ้าใหม่ หรือผ้าเทียมใหม่ เช่น ผ้าฟอกสะอาด หรือผ้าเก่า หรือผ้าบังสุกุล คือผ้าที่เขาทิ้งแล้ว และเป็นผ้าเปื้อนฝุ่นหรือผ้าตกตามร้านก็ได้ ผู้ถวายจะเป็นคฤหัสถ์ก็ได้ เป็นภิกษุหรือสามเณรก็ได้ ถวายแก่สงฆ์แล้วก็เป็นอันใช้ได้
      • กฐินที่เป็นชื่อของบุญกิริยา คือการทำบุญ คือการถวายผ้ากฐินเป็นทานแก่พระสงฆ์ผู้จำพรรษาอยู่ในวัดใดวัดหนึ่งครบ 3 เดือน เพื่อสงเคราะห์ผู้ประพฤติปฏิบัติชอบให้มีผ้านุ่งหรือผ้าห่มใหม่ จะได้ใช้ผลัดเปลี่ยนของเก่าที่จะขาดหรือชำรุด การทำบุญถวายผ้ากฐิน หรือที่เรียกว่า ทอดกฐิน คือทอดหรือวางผ้าลงไปแล้วกล่าวคำว่าถวายในท่ามกลางสงฆ์ เรียกได้ว่าเป็น กาลทาน คือการถวายก่อนหน้านั้น หรือหลังจากนั้นไม่เป็นกฐิน ท่านจึงถือโอกาสทำได้ยาก
      • กฐินที่เป็นชื่อของสังฆกรรม คือกิจกรรมของสงฆ์ก็จะต้องมีกานสวดประกาศขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสงฆ์ ในการมอบผ้ากฐินให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อทำจีวรสำเร็จแล้วด้วยความร่วมมือของภิกษุทั้งหลายก็จะได้เป็นโอกาสให้ได้ช่วยกันทำจีวรของภิกษุรูปอื่น ขยายเวลาทำจีวรได้อีก 4 เดือน ทั้งนี้เพราะในสมัยพุทธกาลการหาผ้า การทำจีวรทำได้โดยยาก ไม่ทรงอนุญาตให้เก็บสะสมผ้าไว้เกิน 10 วัน แต่เมื่อได้ช่วยกันทำสังฆกรรมเรื่องกฐินแล้วอนุญาตให้แสวงหาผ้าและเก็บไว้ทำเป็นจีวรได้จนตลอดฤดูหนาว คือจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4
    จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง



    ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่เราได้ยินกันก่อนจะมีการทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
    อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรุปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น

    ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน
    และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทยจึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน
     
  4. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]ตำนาน

    ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกตตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
    พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นเรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกตและการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวายและการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
    พระพุทธเจ้าทรงทราบและเห็นความลำบากของภิกษุจึงทรงยกเป็นเหตุและมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้วกรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้วจะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ
    1. อยู่ปราศจากไตรจีวรได้ จะไปค้างคืนที่ไหน ไม่ต้องถือเอาไตรจีวรไปครบสำรับก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    2. จะไปไหนมาไหน ไม่ต้องบอกลาก็ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    3. ฉันคณะโภชน์ได้ ไม่ต้องอาบัติ
    4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
    5. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้น เป็นของได้แก่พวกเธอทั้งได้โอกาสขยายเขตจีวรกาล ให้ยาวออกไปอีกจนถึงกลางเดือน 4
    [​IMG]ข้อกำหนดเกี่ยวกับกฐิน
    • จำนวนพระสงฆ์ในวัดที่จะทอดกฐิน สงฆ์ผู้จะให้ผ้ากฐินนั้น จะต้องมีจำนวนอย่างน้อย 5 รูป เพราะจะต้องจัดเป็นผู้รับผ้ากฐิน 1 รูป เหลืออีก 4 รูปจะได้เข้าเป็นองค์คณะ (สงฆ์) มากกว่า 5 รูปขึ้นไปใช้ได้ แต่น้อยกว่า 4 รูปใช้ไม่ได้
    • คุณสมบัติของพระสงฆ์ที่มีสิทธิรับกฐิน คือพระสงฆ์ที่จำพรรษาในวัดนั้นครบ 3 เดือน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่าจะนำพระสงฆ์จากวัดอื่นมาสมทบ จะใช้ได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แต่พระรูปที่มาสมทบจะไม่มีสิทธิในการรับผ้าและไม่มีสิทธิออกเสียงว่าจะถวายผ้าให้กับรูปใด (เป็นเพียงแต่มาร่วมให้ครบองค์สงฆ์เท่านั้น) แต่คณะทายกทายิกาอาจถวายของสิ่งอื่นได้
    • กำหนดกาลที่จะทอดกฐิน การทอดกฐินนั้นทำได้ภายในเวลากำหนด คือ ตั้งแต่วันแรม 1 คำ เดือน 11 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 ก่อนหรือหลังจากนั้นไม่นับเป็นกฐิน
    • กฐินไม่เป็นอันทอดหรือเป็นโมฆะ การที่พระในวัดเที่ยวขอโดยตรงหรือโดยอ้อม ด้วยวาจาบ้าง ด้วยหนังสือบ้าง เชิญชวนให้ไปทอดกฐินในวัดของตน การทำเช่นนั้นผิดพระวินัย กฐินไม่เป็นอันกราน นับเป็นโมะ การทอดก็ไม่เป็นทอด พระผู้รับก็ไม่ได้อานิสงส์
    [​IMG]ประเภทของกฐิน
    การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ กฐินหลวง และ กฐินราษฎร์
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  5. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    [​IMG]กฐินหลวง

    เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิและประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวง ทั้งสิ้น
    ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณาให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
    [​IMG]กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธี
    กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 16 วัด คือ
    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD width=75></TD><TD>
    1. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
    2. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กรุงเทพมหานคร
    3. วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    4. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    5. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
    6. วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
    7. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม กรุงเทพมหานคร
    8. วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร
    9. วัดราชาธิวาส กรุงเทพมหานคร
    10. วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร
    11. วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
    12. วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
    13. วัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
    14. วัดสุวรรณดาราราม พระนครศรีอยุธยา
    15. วัดนิเวศน์ธรรมประวัติ พระนครศรีอยุธยา
    16. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8-9 วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย
    กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า
    [​IMG]แนวปฏิบัติ
    การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการและกำหนดการแต่งการเฝ้าฯ รับเสด็จฯ <SUP>*</SUP>
    ผู้ที่เฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้รับรองเชิญให้นั่งพัก ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถตามลำดับชั้นยศและตำแหน่ง
    งานเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินตามราชประเพณีประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการแต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ตั้งแถวรับเสด็จฯ
    เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ 5 หรือ 10 นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญข้าราชการผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่ไม่พอจะเข้าแถว ก็คงรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นั้น)
    ได้เวลาเสด็จฯ มีแตรวงกองทหารเกียรติยศบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าฯ ที่นั่งพักยืนถวายความเคารพ ผู้มาเฝ้าที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพเมื่อเสด็จฯ ผ่าน
    เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่จะนั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหน่ง เมื่อทรงปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับเมื่อเสด็จมาถึง
    ราชประเพณีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ ย่อมจัดลูกเสือหรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อเสด็จฯ ถึง และเสด็จฯ กลับ
    โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์แทนพระพุทธรูป มีแจกัน พานดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม แต่ไม่ต้องจุดเทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรมีธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ใส่พานตั้งไว้ เป็นการถวายความเคารพสักการะในการรับเสด็จฯ
    ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์ ครู นักเรียนจบแล้วถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลับไปยืนเฝ้าฯ ณ ที่เดิม


    <SUP>*</SUP> ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


    [​IMG]


    [​IMG]กฐินต้น
    กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการหรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า
    "กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาสเพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็กหรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
    เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นก็เพราะเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2447 เสด็จทรงเรือมาด 4 แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด 4 แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำสำหรับแจวตามเรือพระที่นั่งเวลามีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ เมื่อซื้อเรือมาดได้ดังพระราชประสงค์แล้วพระราชทานชื่อเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรมที่เมืองราชบุรีเกือบ 3 ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยว ผู้คนในขบวนเส็จเหนื่อยหอบตามกัน
    ประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาสอย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กันต่อมา


    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินต้นเป็นประจำทุกปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดใดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
    1. เป็นวัดที่ยังไม่เคยเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินมาก่อน
    2. ประชาชนมีความเลื่อมใสในวัดนั้นมาก
    3. ประชาชนในท้องถิ่นนั้นไม่ค่อยมีโอกาสได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อเสด็จพระราชดำเนินไปจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิดด้วย
    [​IMG]แนวปฏิบัติ
    ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นารส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด สำนักพระราชวังจะออกเป็นหมายรับสั่ง ส่วนมากจะแต่งเครื่องแบบปกติขาว เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่นอกนั้นหรือข้าราชการมนท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติกากีคอตั้งแบบข้าราชการ หรือกากีคอพับผูกผ้าผูกคอ
    การเฝ้าฯ รับเสด็จ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะรับรองข้าราชการและผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถ
    การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับเสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเอง และเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ เช่น
    ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
    ข้าพระพุทธเจ้า ............... ผู้ว่าราชการจังหวัด............ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสเบิกผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท (ในกรณีที่ภริยาเฝ้าฯ อยู่ด้วย) นาง.............. ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไปควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะ ข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ เท่านั้น


    [​IMG]


    [​IMG]กฐินพระราชทาน
    เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวงแก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทานเพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจาก วัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่าปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคลหรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัวโดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
    ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคลหรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใดก็ติดต่อไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
    [​IMG]แนวปฏิบัติ

    ขั้นตอนของกฐินพระราชทานมีดังนี้
    1. เมื่อได้รับผ้าพระกฐินพระราชทานจากกรมการศาสนาแล้ว ควรถวายหลังวันแรม 6 ค่ำ เดือน 11 หรือเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระกฐินวันแรกแล้ว
    2. ให้ติดต่อกับวัดโดยตรง เพื่อแจ้งวัน เวลา และขอให้เจ้าอาวาสสั่งไวยาวัจกรเตรียมสถานที่และสิ่งจำเป็นที่มีบูชาพระรัตนตรัยมีเครื่องบูชาพร้อม อาสนสงฆ์สำหรับพระสงฆ์อนุโมทนาพระกฐิน โต๊ะขนาดกว้างพอสมควรสำหรับวางพานแว่นฟ้า ผ้าไตรพระกฐินและพานเทียนพระปาติโมกข์ โต๊ะวางเครื่องบริขารพระกฐินและเครื่องไทยธรรม โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีตามสมควร
    3. เมื่อถึงวันกำหนด ก่อนผู้เป็นประธานจะไปถึงหรือก่อนเริ่มพิธี ให้เจ้าหน้าที่เชิญเครื่องพระกฐินจัดไว้บนโต๊ะ วางเทียนปาติโมกข์ไว้บนพาน และให้มีเจ้าหน้าที่แต่งเครื่องแบบหรือแต่งสากลนิยมคอยส่งให้ผู้เป็นประธานที่เชิงบันไดหรือประตูเข้าสถานที่ประกอบพิธี
    4. ประธานรับผ้าพระกฐินจากเจ้าหน้าที่ที่เชิงบันได พระอุโบสถอุ้มประคองยืนตรงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขณะดนตรีบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี แล้วจึงเข้าสู่พระอุโบสถตรงไปวางไว้ที่พานแว่นฟ้า ซึ่งตั้งอยู่หน้าอาสนสงฆ์
      (ถ้ามีปี่พาทย์หรือเครื่องดนตรีให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ขณะผู้เป็นประธานรับผ้าไตรจากเจ้าหน้าที่หรือรับที่โต๊ะหมู่ในกรณีที่จัดไว้ ต่อจากนั้นจึงบรรเลงเพลงช้า) ขณะประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธีจนถึงเวลาจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย แล้วจึงส่งเทียนชนวนคืน ให้หยุดบรรเลงทันทีแม้จะยังไม่จบเพลงก็ตาม และควรมีเจ้าหน้าที่คอยให้สัญญาณเวลาให้เริ่มเพลงหรือให้หยุดบรรเลง
    5. เมื่อวางผ้าพระกฐินแล้ว จุดธูปเทียนเครื่องสักการะบูชาพระรัตนตรัย แล้วกราบ 3 หน
    6. เมื่อกราบพระรัตนตรัยแล้ว ไปที่พานแว่นฟ้าหยิบผ้าห่มพระประธานส่งให้เจ้าหน้าที่นำไปมอบแก่ไวยาวัจกร แล้วยกผ้าพระกฐินขึ้นประคอง พนมมือหันไปทางพระประธานว่า นโม 3 จบ ต่อจากนั้นหันหน้าไปทางพระสงฆ์ว่าด้วยคำถวายพระกฐินดังนี้
      "ผ้าพระกฐินทานกับทั้งผ้าอานิสงส์บริวารทั้งปวงนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐกอปรด้วยพระราชศรัทธา โปรดเกล้าฯ ให้ข้าพเจ้า <SUP>*</SUP> น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์ซึ่งจำพรรษากาลด้วยไตรมาสในอาวาสวิหารนี้ ขอพระสงฆ์จงรับผ้าพระกฐินทานนี้ กระทำกฐินัตถารกิจตามพระบรมพุทธานุญาตนั้นเทอญ"
      ( <SUP>*</SUP> ถ้าเป็นกระทรวง ทบวง กรม องค์การ สมาคม บริษัท ห้างร้าน ให้เปลี่ยนคำว่า ข้าพเจ้า เป็นชื่อหน่วยงานนั้นๆ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล่าฯ พระราชทาน)
      กล่าวถวายพระกฐินทานจบแล้วประเคน พร้อมด้วยเทียนพระปาติโมกข์เสร็จแล้ว เข้านั่ง ณ ที่ซึ่งจัดไว้ในระหว่างที่ผู้เป็นประธานเข้าสู่สถานที่ประกอบพิธี ผู้อยู่ในพิธีทั้งหมด ยืนแสดงความเคารพจนกว่าประธานจะนั่งลง จึงนั่งลงพร้อมกัน
    7. พระสงฆ์ทำพิธีกรรม
    8. เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีกรรมเสร็จออกไปครองผ้า (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงสาธุการ ถ้ามี) ครองผ้าเสร็จกลับเข้านั่งยังอาสนสงฆ์ (ปี่พาทย์หยุดบรรเลง) ผู้เป็นประธานและผู้ไปร่วมพิธีถวายเครื่องพระกฐินแก่องค์ปกครอง เริ่มตั้งแต่บาตรเป็นต้นไปจนถึงเครื่องมือก่อสร้าง ถ้าจัดเครื่องไทยธรรมถวายเพิ่มเติมควรถวายภายหลังเครื่องพระกฐินหลวง
    9. ถ้ามีผู้บริจาคร่วมโดยเสด็จพระราชกุศล ควรประกาศให้ที่ประชุมทราบ
    10. พอพระสงฆ์อนุโมทนา ผู้เป็นประธานกรวดน้ำ แล้วพระสงฆ์ถวายอดิเรก จบประธานกราบพระรัตนตรัยเป็นอันเสร็จพิธี (ปี่พาทย์บรรเลงเพลงกราวรำ ถ้ามี)
    11. กรมการศาสนาเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการขอพระราชทาน จึงขอให้รายงานถวายผ้าพระกฐินพระราชทานและยอดเงินโดยเสด็จพระราชกุศลไปยังกรมศาสนา หลังจากการถวายผ้าพระกฐินเสร็จแล้ว เพื่อจะได้รวบรวมดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานถวายพระราชกุศลโดยพร้อมเพรียงกัน
    ที่มา : หนังสือแนวทางการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
     
  6. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]กฐินราษฎร์
    ฐินราษฎร์ เป็นกฐินที่ประชาชนหรือราษฎรที่เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา มีกำลังศรัทธานำผ้ากฐินของตนเองไปทอดถวาย ณ วัดต่างๆ (เว้นไว้แต่วัดหลวงที่กล่าวมาแล้วในกฐินหลวง) การทอดกฐินของราษฎรตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีการเรียกชื่อแตกต่างกันออกไปตามลักษณะวิธีการทอดถึง 4 รูปแบบคือ

    <TABLE width="90%"><TBODY><TR><TD width=75></TD><TD></TD></TR></TBODY></TABLE>[​IMG]กฐิน หรือ มหากฐิน
    เป็นกฐินที่ราษฎรนำไปทอด ณ วัดใดวัดหนึ่ง ซึ่งตนมีศรัทธาเป็นการเฉพาะ กล่าวคือ ท่านผู้ใดมีศรัทธาจะทอดกฐิน ณ วัดใด ก็ให้ทำใบปวารณาจองกฐินติดใบบอกไว้ ณ เขตวัดนั้นๆ เมื่อถึงเวลากำหนดก็นำผ้ากฐิน บางครั้งเรียกว่า ผ้าที่เป็นองค์กฐิน ซึ่งจะเป็นผืนเดียวก็ได้ หลายผืนก็ได้ เป็นผ้าขาวซึ่งยังมิได้ตัด ก็ตัดออกเป็นชิ้นๆ พอที่จะประกอบเข้าเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ ทำเสร็จแล้วยังมิได้ย้อมหรือย้อมแล้วก็ได้ อย่างใดอย่างหนึ่งจัดเป็นองค์กฐิน นำไปทอด ณ วัดที่ได้จองไว้นั้น
    นอกจากองค์กฐินแล้ว เจ้าภาพบางรายอาจศรัทธาถวายของอื่นๆ ไปพร้อมกับองค์กฐินเรียกว่า บริวารกฐิน ตามที่นิยมกันประกอบด้วยปัจจัย 4 คือ
    1. เครื่องอาศัยของพระภิกษุสามเณร มี ไตร จีวร บริขารอื่นๆ ที่จำเป็น
    2. เครื่องใช้ประจำปี มีมุ้ง หมอน กลด เตียง ตั่ง โต๊ะ เก้าอี้ โอ่งน้ำ กระถาง กระทะ กระโถน เตา ภาชนะสำหรับใส่อาหารคาวหวาน
    3. เครื่องซ่อมเสนาสนะ มี มีด ขวาน สิ่ว เลื่อย ไม้กวาด จอบ เสียม
    4. เครื่องคิลานเภสัช มียารักษาโรค ยาสีฟัน แปรงสีฟัน อุปกรณ์ซักล้าง เป็นต้น
    หรือจะมีอย่างอื่นนอกจากที่กลาวมานี้ก็ได้ ขอให้เป็นของที่สมควรแก่พระภิกษุ สามเณร จะใช้อุปโภคบริโภคเท่านั้น หากจะมีของที่ระลึกสำหรับแจกจ่ายแก่คนที่อยู่ในวัดหรือคนที่มาร่วมงานกฐินด้วยก็ได้ สุดแต่กำลังศรัทธาและอัธยาศัยไมตรีของเจ้าภาพ
    นอกจากนั้นยังมีธรรมเนียมที่เจ้าภาพผู้ทอดกฐินจะต้องมี ผ้าห่มพระประธานอีกหนึ่งผืน เทียนสำหรับจุดในเวลาที่พระภิกษุสวดปาติโมกข์ ที่เรียกสั้นๆ ว่า เทียนปาติโมกข์ จำนวน 24 เล่ม และมีธงผ้าขาวเขียนรูปจระเข้ หรือสัตว์น้ำอย่างอื่น เช่น ปลา นางเงือก สำหรับปักหน้าวัดที่อยู่ตามริมน้ำ เมื่อทอดกฐินเสร็จแล้ว (ถ้าเป็นวัดที่อยู่ไกลแม่น้ำให้มีธงผ้าขาวเขียนรูปตะขาบปักไว้หน้าวัดแทนรูปสัตว์น้ำ) การปักธงนี้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าวัดนั้นๆ ได้รับกฐินแล้ว และอนุโมทนาร่วมกุศลด้วยได้
    ธงจระเข้ ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ
    1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงามทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัย คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยการกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
    2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้
    นอกจากนี้แล้วยังมีประเพณีนิยมอีกอย่างหนึ่งที่เกี่ยวกับเวลาของการทอดกฐิน ถ้าเป็นเวลาเช้าจะมีการทำบุญถวายอาหารเพลแด่พระภิกษุ สามเณร ในวัดด้วย
    กฐินที่ราษฎรเป็นเจ้าภาพนำองค์กฐินและบริวารกฐินไปทอดยังวัดต่างๆ นี้เรียกว่า กฐิน หรือ มหากฐิน เหตุที่เรียกว่ามหากฐินอาจเป็นเพราะจะให้เห็นความแตกต่างจากกฐินอีกชนิดหนึ่งคือ จุลกฐิน ก็ได้
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  7. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1> <!-- / icon and title --><!-- message -->
    [​IMG]ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกฐิน
    เมื่องานบุญกฐินเป็นงานมหากุศลที่พุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธา การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดงานบุญประเพณีนี้ต้องทำให้ถูกพระธรรมวินัยจึงจะได้อานิสงส์ ข้อปฏิบัติที่น่าสนใจมีดังนี้
    [​IMG]การจองกฐิน
    การจองกฐิน ก็คือ การแจ้งล่วงหน้าให้ทางวัดและประชาชนได้ทราบว่าวัดนั้นๆ มีผู้ศรัทธาทอดกฐินกันเป็นจำนวนมากถ้าไม่จองไว้ก่อนอาจไม่มีโอกาส จึงเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นว่าจะทอดกฐินต้องจองล่วงหน้า เพื่อให้มีโอกาสและเพื่อไม่ให้เกิดการทอดซ้ำ วัดหนึ่งวัดปีหนึ่งทอดกฐินได้ครั้งเดียว และในเวลาจำกัด คือหลังจากออกพรรษาแล้วเพียงเดือนเดียวดังได้กล่าวมาแล้ว
    แต่อย่างไรก็ตาม กฐินหลวงไม่มีการจองล่วงหน้า เว้นแต่กฐินพระราชทาน ผู้ประสงค์จะขอรับพระราชทานกฐินไปทอดต้องจองล่วงหน้า โดยแจ้งไปยังกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการดังกล่าวมาแล้ว

    ตัวอย่างใบจองกฐิน

    ข้าพเจ้าชื่อ ............................................................ บ้านเลขที่ ............. ตำบล ................................................. อำเภอ ..................................................... จังหวัด ....................................... มีศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐินแก่พระสงฆ์วัดนี้ มีองค์กฐิน .................... มีบริวารกฐิน ....................... กำหนดวัน ............. เดือน ............................................. ปี ..................... เวลา ........................

    ขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมกุศลด้วยกัน หากท่านผู้ใดมีศรัทธามากกว่ากำหนด ขอผู้นั้นจงได้โอกาสเพื่อทอดเถิด ข้าพเจ้ายินดีอนุโมทนาร่วมกุศลด้วย
    ถ้าหากว่ามีผู้ศรัทธามากกว่าจะนำกฐินมาทอด ณ วัดเดียวกัน ก็ต้องทำใบจองดังกล่าวมานี้มาปิดไว้ที่วัดในที่เปิดเผย เช่น ศาลาการเปรียญ เป็นต้น และเป็นธรรมเนียมที่ถือกันว่า การที่มีผู้มาจองทับเช่นนี้ไม่เป็นการเสียมารยาทแต่อย่างใด แต่ถือเป็นเรื่องสนุกสนานในการทำบุญกุศลอย่างหนึ่ง ในภายหลังไม่นิยมจองทับกันแล้ว ถ้ามีศรัทธาวัดเดียวกันก็มักจะรวมกันซึ่งเรียกว่า กฐินสามัคคี
    ในการทอดกฐินสามัคคีนี้ ผู้ทอดอาจเชิญชวน ผู้มีจิตศรัทธาให้มาร่วมกันทำบุญ โดยแจกใบบอกบุญหรือเรียกว่า ฎีกา ก็ได้
    [​IMG]การทอดกฐิน
    เมื่อได้ตระเตรียมพร้อมแล้ว ถึงกำหนดก็นำผ้ากฐินกับบริวารไปยังวัดที่จองไว้ การนำไปนั้นจะไปเงียบๆ หรือจะแห่แหนกันไปก็ได้เมื่อไปถึงแล้ว พักอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งที่สะดวก เช่น ที่ศาลา ท่าน้ำ ศาลาโรงธรรม โรงอุโบสถ หรือที่ใดที่หนึ่งซึ่งทางวัดจัดไว้ เมื่อพระสงฆ์พร้อมแล้วก่อนถวายกฐิน อาราธนาศีล รับศีล เมื่อรับแล้ว ทายกประกาศให้รู้พร้อมกัน หัวหน้าผู้ทอดกฐินหันหน้าไปทางพระพุทธรูป ตั้งนโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์กล่าวถวายเป็นภาษาบาลี ภาษาไทย หรือทั้งสองภาษาก็ได้ ว่าคนเดียวหรือว่านำแล้วคนทั้งหลายว่าตามพร้อมกันก็ได้ การกล่าวคำถวายจะกล่าวเป็นคำๆ หรือจะกล่าวรวมกันเป็นวรรคๆ แล้วแต่ความสะดวกของผู้กล่าวนำและผู้กล่าวตาม คำถวายมีดังนี้

    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 1

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ


    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์


    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 2

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ทุติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    ตะติยัมปิ อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โร ภันเต อิมัง สะปริวารา กะฐินะทุสสัง ปฏิคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ

    คำแปล

    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสอง ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    แม้คำรบสาม ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายซึ่งผ้ากฐินกับบริวารนี้ แก่พระสงฆ์
    ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐินทั้งบริวารนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ

    คำถวายภาษาบาลี แบบที่ 3

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า 3 หน)
    อิมัง ภันเต สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง สังฆัสสะ โอโณ ชะยามะ
    สาธุ โน ภันเต สังโฆ อิมัง สะปะริวารัง กะฐินะทุสสัง ปะฏิคคันหาตุ
    ปะฏิคคเหตะวา จะ อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง อัตถะระตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ


    คำแปล

    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับบริวารนี้ ครั้นรับแล้วจงกรานกฐินด้วยผ้าผืนนี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญฯ
    เมื่อจบคำถวายแล้ว พระสงฆ์รับสาธุพร้อมกัน องค์กฐินพร้อมทั้งบริวารนั้นถ้าปรารถถวายเป็นของสงฆ์ทั้งหมดก็ไม่ต้องประเคน ถ้าปรารถนาจะประเคนก็อย่าประเคนสมภาร หรือองค์ที่รู้ว่าจะต้องครอง ให้ประเคนองค์อื่น องค์ที่เหมาะสมก็คือองค์รองลงมา เฉพาะองค์กฐินนั้นไม่จำเป็นต้องประเคน ส่วนบริวารนั้น ถ้าจำนงถวายแก่ภิกษุสามเณรในวัดนั้นส่วนเฉพาะ ก็ช่วยกันถวายโดยทั่วกัน เมื่อประเคนเสร็จแล้วจะกลับเพียงนั้นก็ได้ แต่ถ้ายังไม่กลับจะรอจนพระสงฆ์อปโลกน์ และมอบผ้ากฐินเสร็จแล้วก็ได้
    ถ้าผ้ากฐินนั้นต้องทำต่อไปอีกเช่น ต้องซัก กะ ตัด เย็บย้อม จะอยู่ช่วยพระก็ได้ จึงมีธรรมเนียมอยู่ว่า ประเคนเฉพาะองค์กฐินแก่พระรูปใดรูปหนึ่งเท่านั้น แล้วรออยู่เมื่อพระสงฆ์ทำพิธีเบื้องต้นของท่านเสร็จจึงประเคนบริวารกฐินในภายหลัง พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ถวายทั้งหมดตั้งใจฟังคำอนุโมทนา และขณะนั้น เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
    เพียงเท่านั้นก็เสร็จพิธีถวายกฐินสำหรับทายกผู้มีศรัทธา ต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์จะได้ดำเนินการในเรื่องกรานกฐินต่อไป



    ที่มา : http://www.isangate.com/local/katin_01.html
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  8. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์
    [​IMG]
    หลวงปู่ทวด


    วัดช้างให้ จ.ปัตตานี ท่านเป็นพระมหาเถระที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในนาม " หลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด "

    คาถาบูชาท่าน คือ นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
    ชาติกาล 3 มีนาคม พ.ศ. 2125
    ชาติภูมิ บ้านเลียบ ต.ดีหลวง อ.สทิงพระ จ.สงขลา
    บรรพชา เมื่ออายุได้ 15 ปี
    อุปสมบท เมื่ออายุ 20 ปี
    มรณภาพ 6 มีนาคม พ.ศ.2225
    สิริรวมอายุได้ 99 ปี

    คติธรรมคำสอน ของ หลวงปู่ทวด

    ธรรมประจำใจ
    พูดมาก เสียมาก พูดน้อย เสียน้อย ไม่พูด ไม่เสีย นิ่งเสีย โพธิสัตว์

    ละได้ย่อมสงบ
    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ล้วนแต่เคลื่อนที่ไปสู่ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ทุกอย่างในโลกนี้ เคลื่อนไปสู่การสลายตัวทั้งสิ้น ไม่ยึด ไม่ทุกข์ ไม่สุข ละได้ย่อมสงบ

    สันดาน
    " ภูเขาถูกมนุษย์ทำลายลงมาได้ แต่สันดานของคนเราที่นอนนิ่งอยู่ในก้นบึ้ง ซึ่งไม่เหมือนกันย่อมขัดเกลาให้ดีเหมือนกันได้ยาก

    ชีวิตทุกข์
    การเกิดมาเป็นมนุษย์ชาติหนึ่ง จะว่าประเสริฐก็ประเสริฐ จะว่าไม่ประเสริฐก็ไม่ประเสริฐ จะเห็นได้ว่า ตื่นเช้าก็มีความทุกข์เข้าครอบงำ จะต้องล้างหน้า ล้างปาก ล้างฟัน ล้างมือ เสร็จแล้วจะต้องกินต้องถ่าย นี่คือความทุกข์แห่งกายเนื้อ เมื่อเราจะออกจากบ้านก็จะประสบความทุกข์ในหมู่คณะ ในการงาน ในสัมมาอาชีวะ การเลี้ยงตนชอบ นี่คือ ความทุกข์ในการแสวงหาปัจจัย

    บรรเทาทุกข์
    การที่เราจะไม่ต้องทุกข์มากนั้น เราจะต้องรู้ว่า เรานี้จะต้องไม่เอาชีวิตไปฝากสังคม เราต้องเป็นตัวของเราเองและเราจะต้องวินิจฉัย ในเหตุการณ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเราว่าส่งใดเราควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ

    ยากกว่าการเกิด
    ในการที่เราเกิดมา ชีวิตแห่งการเกิดนั้นง่าย แต่ชีวิตแห่งการอยู่นั้นสิยาก เราจะทำอย่างไรให้อยู่ได้อย่างสุขสบาย

    ไม่สิ้นสุด
    แม่น้ำทะเล และมหาสมุทร ไม่มีที่สิ้นสุดของน้ำ ฉันใด กิเลสตัณหาของมนุษย์ก็ย่อมไม่มีที่สิ้นสุด ฉันนั้น

    ยึดจึงเดือดร้อน
    ทุกวันนี้ เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ก็เพราะมนุษย์ไปยึดโนน่ ยึดนี่ ยึดพวกยึดพ้อง ยึดหมู่ยึดคณะ ยึดประเทศเป็นสรณะ โดยไม่คำนึงถึงธรรม สากลจักรวาลโลกมนุษย์นี้ ทุกคนมีกรรมจึงเกิดมาเป็นสัตว์โลก สัตว์โลกทุนคนต้องใช้กรรมตามวาระ ตามกรรม ถ้าทุกคนยึดถือเป็นอารมณ์ ก็จะเกิดการเข่นฆ่ากัน เกิดการฆ่าฟันกัน เพราะอารมณ์แห่งการยึดถืออายตนะ ฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่า สิ่งใดทำแล้ว สัตว์โลกมีความสุข สิ่งนั้นควรทำ นี่คือ หลักความจริงของธรรมะ

    อยู่ให้สบาย
    ในภาวะแห่งการที่จะอยู่อย่างสบายนั้น เราต้องอยู่กันอย่างไม่ยึด อยู่กันอย่างไม่ยินดี อยู่กันอย่างไม่ยินร้าย อยู่กันอย่างพยายามให้จิตวิญญาณของนามธรรมนั้นเหนืออารมณ์ เหนือคำสรรเสริญ เหนือนินทา เหนือความผิดหวัง เหนือความสำเร็จ เหนือรัก เหนือชัง

    ธรรมารมณ์
    การอยู่อย่างมีธรรมารมณ์คือ การอยู่เหนือความรู้สึกทั้งปวง อยู่อย่างรู้หน้าที่การเป็นคน และรู้หน้าที่ในการงาน คือรู้ว่าสิ่งที่เราทำนั้น เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ไม่ใช่ทำเพื่อหวังผลตอบแทน เพราะถ้าเราทำงานเพื่อหวังผลตอบแทนต่างๆแล้ว ถ้าสิ่งต่างๆไม่สัมฤทธิ์ผลตามความหวังนั้น เราย่อมเกิดความโทมนัส เสียใจน้อยใจ เป็นทุกข์

    กรรม
    ถ้าเรามีชีวิตอยู่อย่างที่ว่า เกิดเพราะกรรม อยู่เพื่อกรรม ทำเพราะกรรม ตายเพราะกรรมแล้ว ชีวิตการเป็นมนุษย์ย่อมมีความภิรมย์ มีความรื่นเริง

    มารยาทของผู้เป็นใหญ่
    " ผู้ใหญ่ไม่ใช่อยู่ที่เกิดก่อน ผู้ดีไม่ใช่อยู่ที่เรียนสูง " มารยาทจรรยาของการเป็นผู้ใหญ่ ก็คือต้องสุขุมรอบคอบ และไม่ยึดติดเสียงเป็นหลัก คือ ต้องไม่หวั่นไหวกับคำนินทาและสรรเสริญ

    โลกิยะหรือโลกุตระ
    คนที่เดินทางโลกุตระ ย่อมไปดีทางโลกิยะไม่ได้ คนที่เดินทางโลกิยะย่อมสำเร็จทางโลกุตระได้ยาก เพราะอะไร ? ถ้าคนหนึ่งสำเร็จได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตระง่ายแล้ว ทำไม องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธโคดม ต้องสละราชบัลลังก์แห่งจักรพรรดิไปเป็นธรรมราชาเล่า ถ้าเป็นไปได้ พระองค์เป็นมหาจักรพรรดิพร้อมทั้งธรรมราชา ไม่ดีหรือ? แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะโลกของโลกิยะและโลกุตระเดินคู่ขนานกัน เราต้องตัดสินใจ ต้องมีความเด็ดเดี่ยวและกล้าหาญในการที่จะเลือกทางใดทางหนึ่ง

    ศิษย์แท้
    พิจารณากาย ในกาย พิจารณาธรรม ในธรรม พิจารณาวิญญาณ ในวิญญาณ นั่นแหละ คือ สานุศิษย์อันแท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    รู้ซึ้ง
    ทุกอย่างจะต้องมีเหตุ เมื่อมีเหตุจึงจะมีผล ผลนั้นเกิดจากเหตุ เราได้วินิจฉัยข้อนี้แล้ว เราจึงรู้ซึ้งถึงพุทธศาสนา

    ใจสำคัญ
    การทำบุญนั้น จะต้องทำด้วยจิตใจบริสุทธิ์ จะต้องทำด้วยความศรัทธา ผลสะท้อนมันจะเกิดขึ้น เกินความคาดหมาย

    หยุดพิจารณา
    คนเรานี้ ถ้าไม่มีอะไรทำอยู่ในที่วิเวกคนเดียว จิตมันจะฟุ้งซ่าน และถ้าภาวะนั้นตนไม่ปล่อยให้จิตฟุ้งซ่านไปเรื่อยๆ คือหยุดพิจารณาแล้วค้นสัจจะของ ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมที่จะค้นหาสัจจะในธรรมะได้

    บริจาค
    ทำบุญสังฆทานเป็นจาคะ จาคะเป็นการบริจาคโภคทรัพย์ภายนอน การสวดมนต์เป็นการภาวนา การภาวนาเป็นการบริจาคภายใน เพราะฉะนั้น ถ้านับในด้านทิพย์อำนาจ การบริจาคภายในย่อมได้กุศล มากว่า การบริจาคภายนอก นี่คือเรื่องของนามธรรม

    ทำด้วยใจสงบ
    เราจะทำบุญก็ดี เราจะทำอะไรก็ดี จงทำด้วยความสงบ อย่าทำด้วยอารมณ์แห่งความร้อน เพราะการทำด้วยอารมณ์ร้อนนั้น มันจะพาเราไปสู่หายนะ เมื่อเกิดอารมณ์ร้อน เราจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จงอย่าทำ นั่งให้จิตใจมันสบายเสียก่อน เมื่อจิตใจสบายแล้วปัญญาก็เกิด เมื่อเกิดปัญญาแล้ว จะทำสิ่งใดก็เป็นไปโดยความสะดวก

    มีสติพร้อม
    จะทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องมีสติพร้อม คือ อย่าให้มีโทสะ อย่าให้อารมณ์เข้ามาควบคุมสติ อย่าให้เรื่องส่วนตัวและขาดเหตุผลมาอยู่เหนือความจริง

    เตือนมนุษย์
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่งานส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีงานทำในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่ทรัพย์ส่วนตัว มนุษย์ผู้นั้น จะไม่มีทรัพย์ครองในไม่ช้า
    มนุษย์ผู้ใด เห็นแก่นอนมาก มนุษย์ผู้นั้น จะไม่ได้นอนในไม่ช้า

    พิจารณาตัวเอง
    คืนหนึ่งก็ดี วันหนึ่งก็ดี ควรให้มีเวลาว่างสัก 5 นาที หรือ 10 นาที ไม่ติดต่อกับใคร ให้นั่งเฉยๆ คิดถึงเหตุการณ์ที่เราทำไปแต่ละวันๆ ว่าที่เราทำไปนั้นเป็นอย่างไร คือให้ปลีกตัวมีเวลาเป็นของตัวเองบ้าง คิดเอาแต่เรื่องของตัว อย่าไปคิดเรื่องของคนอื่น เพราะมนุษย์เราส่วนมากทุกวันนี้ มักเอาแต่เรื่องของคนอื่นมาคิด ไม่ค่อยคิดเรื่องของตัวเอง


    คัดลอกจากหนังสือ เรียนธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของหลวงปู่ทวดขอให้ทุกท่านเจริญในธรรม
     
  9. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    ท่านใดที่จองกฐินและโอนเงินแล้ว
    อย่าลืมแฟกซ์สลิปยืนยันไปด้วยนะครับ
     
  10. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    <TABLE cellSpacing=3 cellPadding=0 width="98%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=big22 vAlign=center align=left colSpan=2>หลวงปู่ทวด-เจ้าพ่อเสือ ช่วยเขตต์รอดปาฏิหาริย์ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=450 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD class=text1 vAlign=top align=left>ใจหายกันทั้งวงการบันเทิง เมื่อพระเอกเขตต์ ฐานทัพ หวานใจนางเอกสาวนุ่น-วรนุช วงษ์สวรรค์ ขับรถอัดท้ายรถ 6 ล้อเมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 11 มกราคม ท้องที่ของสน.ดินแดง บริเวณปากซอยมหาวงศ์ ใกล้โบสถ์แม่พระ ถนนอโศก-ดินแดงขาเข้า แขวงและเขตดินแดง
    ที่เกิดเหตุอยู่บริเวณเกาะกลางถนน ซึ่งอยู่ระหว่างปรับพื้นที่เพื่อทำสะพานข้ามแยกโบสถ์แม่พระ รถเก๋ง MINI COOPER ป้ายแดง สีน้ำเงิน ทะเบียน ว.3394 กรุงเทพมหานคร จอดอยู่ในสภาพตัวถังด้านหน้าแตกร้าวพังยับ ฝากระโปรงฉีกออกเป็นสองซีก กระจกหน้าแตกร้าวทั้งบาน พวงมาลัยยุบเข้ามาเกือบติดเบาะ ซึ่งคนงานที่กำลังทำงานอยู่ตรงจุดที่พระเอกเขตต์ประสบอุบัติเหตุนั้นเล่าว่า เห็นพระเอกเขตต์ขับรถคันดังกล่าวมาด้วยความเร็วแล้วรถเกิดเสียหลักหักเข้าเสยท้ายรถ 6 ล้ออย่างแรง ตอนแรกคนงานนึกว่าคนขับคงไม่รอดแน่ แต่ปรากฏว่าเดินออกมาจากรถได้อย่างสบาย มีเพียงเลือดที่ออกจากศีรษะเท่านั้น
    [​IMG]
    ต่อมาเพื่อนของเขตต์ได้ขับรถมารับพาไปโรงพยาบาลวิภาวดี โดยรักษาตัวอยู่ห้อง 3514 ชั้น 15 เมื่อผู้สื่อข่าวได้เข้าไปสอบถามเรื่องราวเห็นสภาพของพระเอกยังอิดโรยแต่ก็ยิ้มและต้อนรับผู้สื่อข่าวเหมือนอย่างเคย โดยเขตต์มีผ้าปิดแผลสีขาวแปะอยู่บริเวณหน้าผาก ซึ่งต่อมาทราบว่าเย็บไป 9 เข็ม เนื่องจากเขตต์ขับรถไม่คาดเข็มขัดนิรภัย เดชะบุญที่เขาไม่เป็นอะไรมาก
    เขตต์ได้นำพระเครื่องที่ติดตัวอยู่ตลอดเวลาออกมาโชว์ทีมข่าวบันเทิงวันหยุดบอกว่า อาจจะเป็นเพราะเหรียญเจ้าพ่อเสือที่เสาชิงช้ากับหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ช่วยชีวิตของเขาเอาไว้ เพราะคนที่เห็นเหตุการณ์วันนั้นบอกว่า เห็นรถของเขตต์มุดเข้าไปในรถ 6 ล้อแล้วคิดว่าคนขับคงไม่รอดแน่ แต่เขากลับออกมาจากรถเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทั้งที่ตัวเขตต์เองก็ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัยด้วยซ้ำ แรงกระแทกแค่ทำให้หน้าเขาไปฟาดกับกระจกหน้าทำให้แค่หน้าผากแตกเท่านั้นเอง
    ทั้งนี้ ตัวเขตต์และญาติของเขาต่างก็เชื่อว่าอาจจะเป็นอิทธิฤทธิ์ของเหรียญเจ้าพ่อเสือกับเหรียญหลวงปู่ทวดที่เขตต์ห้อยคออยู่ ซึ่งเขตต์ศรัทธามาก ว่ากันว่าเพราะสิงศักดิ์สิทธิ์สองสิ่งนี้เลยทำให้เขตต์รอดชีวิตจากอุบัติครั้งนี้อย่างปาฏิหาริย์
    "ผมเองก็งงเหมือนกันว่าทำไมถึงไม่เป็นอะไรมาก เพราะเห็นสภาพรถที่ชนแล้วยังหวาดเสียวอยู่เลย ผมก็ไม่ได้ขับเร็วนะครับแค่ 80 แต่ช่วงที่ลงสะพานมีรถมอเตอร์ไซค์มาตัดหน้าเลยหักหลับ พอดีมีรถ 6 ล้อที่เขาจอดทำงานอยู่ตรงนั้นพอดี ก็เลยมุดเข้าไปเสยท้ายอย่างแรง ตอนแรกก็ตกใจ งงไม่รู้สึกว่าเป็นอะไร แต่รถพังขับไม่ได้ พอหายงงแล้วจึงรู้ว่าตัวผมเองไม่ได้เป็นอะไรมากแค่หัวแตกเย็บ 9 เข็ม ได้เอกซเรย์สมองแล้วคุณหมอบอกว่าไม่มีอะไรกระทบกระเทือนสมอง ผมเชื่อว่าอาจเป็นเพราะเหรียญเจ้าพ่อเสือกับหลวงปู่ทวดที่ผมห้อยคออยู่นี้ทำให้ตัวผมไม่เป็นอะไรมาก จากหนักเลยกลายเป็นเบา แต่เรื่องนี้ก็อยู่ที่ความเชื่อส่วนบุคลนะครับ" เขตต์กล่าว
    อย่างไรก็ตาม หากขับรถโดยประมาท หรือขับรถไม่คาดเข็มขับนิรภัย หรือเมาแล้วขับเมื่อไหร่ อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ความโชคดีอาจจะไม่มีบ่อยนัก เช่นเดียวกับพระเอกเขตต์ ฐานทัพ ที่ครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่ไม่เป็นอะไรมาก แต่อย่าประมาท เพราะครั้งหน้าความโชคดีและสิ่งปาฏิหาริย์อาจจะไม่เกิดขึ้นซ้ำสองก็เป็นได้

    ที่มา : http://www.wanyood.com/Content/Conte...-0501311200299
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  11. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    ประสบการณ์พิศวง:บารมีหลวงปู่ทวด โจรใต้รัวm16 ยิงไม่เข้า

    ผมได้มีโอกาสไปปฎิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ผมไปก็อยู่ใน อ.สุไหปาดี จ.นราธิวาส ในขณะที่ผมตั้งด่านอยู่ อีกที่หนึ่งห่างกันประมาณ 2 กม.ก็มีด่านอีกซึ่งเป็นด่านของชุด.ชรบ. ได้มีคนร้ายมาที่ด่านของชุด.ชรบ.แล้วได้ใช่อาวุธปืนออกมาหันมาทางผู้ใหญ่บ้าน แต่กระสุนไม่ทำงาน และในขณะเดียวกันก็หันมายิงอีกคน ที่นี้โดนเต็มๆ ปรากฎว่าล่วงครับ ส่วนที่ผู้ใหญ่บ้านคนนั้นได้แขวนพระองค์เดียว คือหลวงปู่ทวด ที่สร้างโดย วัดประชุมชลธารา พอวันรุ่งขึ้นผู้ใหญ่บ้านคนนั้นได้มาคุยกับผม และเป็นเพราะเขาแขวนหลวงปู่ทวดแน่ๆ และไม่ใช่เพราะเหตุบังเอิน แต่เป็นบารมีของหลวงปู่ทวด และไม่เท่านั้นครับ พนง.ขร.ของวัดประชุมชลธาราก็โดนยิงด้วยปืน M16. พรุนรถทั้งคัน ในมือกำหลวงปู่ทวด ของวัดประชุม.. ก็รอดตายมาได้ โดยที่เขาบอกผมว่าตอนที่โดนยิงเขาคิดอย่างเดียวว่าเขาตายแน่ๆ แต่ก็รอดตายมาได้ และอีกครั้งหนึ่ง ตชด.โดนภรรยาหลวงยิงแบบเข้าเต็มที่ชายโคลงขวาเพราะจับได้ว่ามีภรรยาน้อย ด้วยปืนขนาด 9 มม.ถึง 3 นัดซ้อน ทำให้ซิ้โคลงขวาหักไป 3 ท่อน แต่ กระสุนไม่เข้าเลยสักนัดเดียวครับ และภรรยาหลวงคนนั้นก็หันมายิงTV. เขานึกว่าเป็นกระสุนปลอม แต่TV. กระจายเลย และมีเหตุการณ์อีกหลายครั้งครับ
    จ่าแดน.

    ที่มา : http://xchange.teenee.com/index.php?showtopic=41465
    <!--IBF.ATTACHMENT_570971--><!-- THE POST -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. annyindy

    annyindy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +543
    อยากร่วมทำบุญกฐิน 4 กองค่ะ
    ไม่ทราบว่ายังทันมั้ยค่ะ
     
  13. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    ทันครับผมเปิดให้ร่วมบุญถึงวันงานเลยครับ
    โมทนาบุญด้วยนะครับ
    ติดต่อขอทราบรายละเอียด จองกฐิน
    และโอนเงินได้ที่


    คุณธงชัย ยังยืนยงค์ โทร. 08 5902 8248
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบ้านฟ้าปิยรมย์ ลำลูกกา
    เลขที่บัญชี 3692050079

    คุณวาสนา เบ็ญอาซัน โทร. 08 9894 8245
    ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาย่อยโลตัส รังสิต คลอง 3
    เลขที่บัญชี 3682097926

    คุณสมศักดิ์ แก้วสิริอุดม โทร. 08 1553 9248
    ธนาคารกรุงเทพ สาขาสุขสวัสดิ์
    เลขที่บัญชี 1644239681

    คุณศิวกร วิชญะไพบูลย์ศรี โทร. 08 1817 8827
    ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนจันทร์
    เลขที่บัญชี 7152510882

    คุณฟองน้อย วรนาวิน โทร. 08 1843 3474
    ธนาคารกรุงเทพ สาขาถนนรัชดา-สี่แยกสาธุประดิษฐ์
    เลขที่บัญชี 1954605067

    คุณอดุลย์ ชีวพิทักษ์ผล โทร. 08 1622 6052
    ธนาคารกรุงไทย สาขาย่อยโกรกกราก
    เลขที่บัญชี 6820000901

    ขอทุกท่านช่วยค่าจัดส่งพระตามรายละเอียดนี้ครับ

    1. จองจำนวน 1 องค์ ช่วยค่าส่ง 60 บาท
    2. จองจำนวน 2 องค์ ช่วยค่าส่ง 100 บาท
    3. จองจำนวน 3-5 องค์ ช่วยค่าส่ง 150 บาท
    4. จองจำนวน 5 องค์ขึ้นไป ช่วยค่าส่ง 200 บาท

    เมื่อโอนเสร็จแล้วให้ถ่ายสลิปใบโอน
    พร้อมเขียนชื่อ...นามสกุล.....
    ที่อยู่.....เบอร์โทรที่ติดต่อได้......
    รายการพระที่จอง......จำนวน....องค์
    จำนวนเงินทำบุญ.........บาท ค่าจัดส่ง.....บาท
    (เพราะบางครั้งยอดเงินในสลิปจะไม่ชัด)
    และชื่อบัญชีที่ท่านโอนเงินเข้าไป

    <!-- / message -->แล้วกรุณาแฟกซ์ใบนำฝากไปที่เบอร์
    02987 9204
    ช่วยโทรเช็คเอกสารว่าได้รับชัดหรือเปล่า
    เพื่อง่ายต่อการอ่านและจัดส่ง
     
  14. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    "สุเทพ วงศ์คำแหง" แขวน'หลวงปู่ทวด'ไม่ตายโหงจริงๆ

    [​IMG]
    ปัจจุบัน "นักร้องลูกกรุง" ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในอดีตมีมากมาย อาทิ สวลี ผกาพันธุ์, ชรินทร์ นันทนาคร, จินตนา สุขสถิตย์, ธานินทร์ อินทรเทพ, ดาวใจ ไพจิตร, จิตติมา เจือใจ, อุมาพร บัวพึ่ง

    และหากจะเอ่ยชื่อ สุเทพ วงศ์คำแหง ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ปี ๒๕๓๓ คนส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ยังคงรู้จักกันเป็นอย่างดี เนื่องจากท่านผู้นี้เคยฝากผลงานเพลงเอาไว้เป็นตำนานเพลงรักมากมาย ที่หลายคนต่างรู้จักจนกลายเป็น เพลงอภิมหาอมตะนิรันดร์กาล ไปแล้ว เช่น รักคุณเข้าแล้ว เธออยู่ไหน จงรัก นางใจ บทเรียนก่อนวิวาห์ พ่อแง่แม่งอน เทพเจ้าแห่งความระทม ฯลฯ

    แต่ชีวิตที่โด่งดังของศิลปินแห่งชาติท่านนี้เคยหวิดดับเพราะลูกปืนมาแล้ว

    สุเทพ เล่าว่า เมื่อครั้งเดินทางไปร้องเพลงกล่อมขวัญทหารที่ประเทศเวียดนาม มีเหตุการณ์เฉียดตายอย่างหวุดหวิด เนื่องจากได้ยินเสียงลูกกระสุนปืนลอยผ่านไปผ่านมาเท่านั้น

    เหตุการณ์ที่เฉียดตายสุดๆ น่าจะเป็นเหตุการณ์ไปร้องเพลงกล่อมขวัญทหารที่ จ.หนองคาย เช่นกัน ระหว่างขึ้นไปร้องเพลงอยู่นั้น มีนายทหารกลุ่มหนึ่งที่ยังอยู่ฝ่ายตรงข้ามใช้อาวุธปืนยิงขึ้นมาบนเวทีที่เรากำลังยืนร้องเพลงอยู่ แต่ทั้งนี้การยิงขึ้นมาครั้งนั้นฉิวเฉียดอย่างมาก ลูกปืนพุ่งไปโดนผู้หญิงที่นั่งอยู่ในรถจิ๊ปเพื่อมาตามสามีที่ทำงานเกี่ยวกับอุตสาหกรรมไม้ ให้ไปร่วมงานศพญาติที่กรุงเทพฯ

    กระสุนไปโดนผู้หญิงคนนั้นเสียชีวิตคาที่ ทหารนายนี้เห็นว่าพลาดเป้าแล้วขยับตัวเตรียมที่จะยิงปืนขึ้นบนเวทีอีกครั้ง นับว่าโชคดีอย่างมากที่มีนายทหารคอยคุ้มกันอยู่โดยรอบ ได้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงระดมยิงนายทหารคนนั้นเสียชีวิตทันที


    [​IMG] [​IMG]
    การรอดตายมาได้ในวันนั้น เป็นวันที่จำได้ไม่เคยลืมเลย แม้จะผ่านมาเป็นเวลาสิบๆ ปีแล้วก็ตาม สิ่งหนึ่งที่จะลืมไม่ได้คือ พระหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ที่แขวนติดตัวไม่เคยห่าง น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชีวิตเอาไว้ ซึ่งคิดว่าท่านมีคุณต่อตนเองอย่างมาก จนวันนี้ก็ยังมีองค์ท่านแขวนติดตัวอยู่เป็นประจำ

    หลายคนที่พูดว่าใครมีพระหลวงปู่ทวดแขวนติดตัว จะไม่ตายโหงนั้น น่าจะเป็นเรื่องจริง

    "แม้จะยากต่อการพิสูจน์ให้ใครๆ ได้เห็นก็ตามที จึงทำให้ผมมีความเคารพนับถือพระหลวงปู่ทวดมาก ผมรอดตายมาได้นับเป็นปาฏิหาริย์จริงๆ เป็นปาฏิหาริย์ที่เกิดจากพระหลวงปู่ทวดที่ผมแขวนติดตัวระหว่างเกิดเหตุ เพราะว่าเราคนไทยมีอะไรที่เรายึดมั่นในองค์พระที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราทำอะไรก็จะมีความสบายใจทั้งชีวิตการทำงาน และความเป็นอยู่ รวมทั้งความแคล้วคลาดจากภัยอันตรายทั้งปวง ยิ่งผมรอดตายมาได้หลายครั้ง ผมจึงมีความเชื่อในเรื่องเหล่านี้มาตลอดชีวิต" นักร้องศิลปินแห่งชาติ เชื่อรอดตายเพราะแขวนพระหลวงปู่ทวด

    ส่วนพระเครื่องและวัตถุมงคลที่แขวนติดตัวอยู่ในสร้อยทั้ง ๓ เส้น ได้แก่ เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์ จ.ลำปาง ได้มาจากอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง หลวงพ่อบ้านแหลม ได้มาจาก อนันต์ เหล่าพาณิชย์ เพื่อนร่วมอัสสัมชัญคอมเมอร์ซ ปัจจุบันคือ "บิ๊กบอส" ของบริษัท ไทยซังเกียว จำกัด มอบให้พร้อมกับสร้อย ตั้งแต่ได้พระองค์นี้มาชีวิตมีแต่ดีขึ้นเรื่อยๆ การเงินการทองก็คล่องตัวขึ้น รวมทั้ง อีแปะ ที่ไม่ใช่เครื่องรางของขลัง โดยมีข้าวสารสามเม็ด ที่เชื่อว่าจะช่วยให้คนไม่มีความทุกข์


    อย่างไรก็ตาม ศิลปินแห่งชาติยังเชื่อในเรื่องกฎแห่งกรรมด้วยว่า ใครทำความดีย่อมได้ดีตอบแทน เพราะการทำดีคงไม่ได้ทำให้เราจะต้องได้รับเรื่องร้ายต่างๆ ส่วนที่คนเราจะได้รับเรื่องร้ายครั้งใดผลความดีทั้งหลายที่เราทำเอาไว้ก็จะดลบันดาลมาช่วยเรา ฉะนั้นเรามีพระเครื่องแขวนติดตัวก็เพื่อว่าเราทำอะไรแล้วให้นึกถึงคุณพระคุณเจ้าว่าสิ่งไหนไม่ดีแล้วเราก็จะไม่ต้องทำ เพราะถ้าเราทำอะไรไม่ดีลงไปก็จะเป็นการสร้างบาปติดตัว และบาปที่ทำไปก็ไม่รู้ว่าจะหมดลงในภพชาติไหน แต่ถ้าจะให้ดีเราต้องลดการทำบาป น่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด

    "ทุกวันนี้นอกจากจะทำบุญเป็นประจำแล้ว ผมยังชอบสวดคาถาวันเสาร์ ยะโตหัง ภะคินิ อะริยา ชาติยา ชาโต นาภิชา นามิ สัญจิจจะ ปาณัง เพราะเป็นคนเกิดวันเสาร์ ตามความเชื่อว่าจะค่อนข้างเป็นคนแข็ง พอสวดคาถาแล้วเชื่อกันว่าจะได้เป็นที่รักของคนรอบข้าง แล้วถ้าวันไหนต้องเดินทางไกลๆ ก็จะต้องระลึกนึกถึงคุณพ่อแม่และคุณพระให้ช่วยเหลือในยามที่ตกอยู่ในอันตราย"

    ที่มา : http://www.bp-th.org/webboard/index....4727318907fafe
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  15. okilu220

    okilu220 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +2,090

    หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด


    คัดลอกจาก http://www.manager.co.th

    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวด เป็นที่รู้จักของชาวไทยทุกภูมิภาคในฐานะพระศักดิ์สิทธิ์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์และอภิญญาแก่กล้าจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อทวดเหยียบน้ำทะเลจืด" ประวัติอันพิสดารของท่านมีเล่าสืบกันมาไม่รู้จบสิ้น ยิ่งนานวันยิ่งซับซ้อนและขยายวงกว้างออกไปกลายเป็นความเชื่อความศรัทธาอย่างฝังใจ
    หลวงพ่อทวดเป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์ หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
    ทารกอัศจรรย์
    เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง พุทธศักราช 2125 ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้นี้มีนายว่า "ปู" เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่ และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้ จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
    สามีราโม
    เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง (วัดดีหลวง) เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง) ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า "ราโม ธมฺมิโก" แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า "เจ้าสามีราม" หรือ "เจ้าสามีราโม" เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
    เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
    เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ พ.ศ. 2149 ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
    รบด้วยปัญญา
    กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงพ่อทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี แห่งประเทศลังกา ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนันแปลธรรมะ และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามาเป็นประเทศราช แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์ จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
    เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตนแก่พระเจ้าเอกาทศรถ มีใจความในพระราชสาส์นว่า
    พระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้เป็นต้นไป ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพของพระองค์ และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
    พระสุบินนิมิต
    เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้ แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
    ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาในพระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่วทั้งสี่ทิศ เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่นจากพระบรรทม
    รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพจะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจากทางทิศตะวันตก มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
    อักษรเจ็ดตัว
    ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ "เจ้าสามีราม" ที่วัดราชานุวาส และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน) เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า "เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของพระเจ้าอยู่หัว จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้" ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์ ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงานปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเราจะแก้ปริศนาธรรมมิได้ พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้ จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม
    ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด" ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า "ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด"
    ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที ด้วยอำนาจบุญญาบารมี กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000 ตัว เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
    ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น
    พระราชมุนี
    สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้ จึงพระราชทานสมณศักดิ์ให้เจ้าสามีรามเป็น "พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์" ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
    โรคห่าเหือดหาย
    ต่อจากนั้น กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยพระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้ ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า "พระสังฆราชคูรูปาจารย์" และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า "หากสมเด็จเจ้าฯ ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ"
    กลับสู่ถิ่นฐาน
    ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม พระองค์ทรงอาลัยมาก ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า "สมเด็จอย่าละทิ้งโยม" แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา
    ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้ ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์ ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
    สมเด็จเจ้าพะโคะ
    ต่อจากนั้น ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่ และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า "สมเด็จเจ้าพะโคะ" และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า "วัดพะโคะ" มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ กับท่านอาจารย์จวง คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงแล้วเสร็จ สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่าพระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ ได้จำพรรษาเผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา
    เหยียบน้ำทะเลจืด
    ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น 3 คด ชาวบ้านเรียกว่า "ไม้เท้า 3 คด" ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเลอยู่นั้น ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่ พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้
    เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
    เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา "ไม้เท้า 3 คด" พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
    สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงพ่อทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข เทศนาสั่งสอนธรรมของพระพุทธองค์ ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
    สังขารธรรม
    หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านลังกา" และได้ไปพำนักที่วัดช้างไห้ ชาวบ้านเรียกท่านว่า "ท่านช้างให้" ดังนี้ ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้ วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
    ปัจฉิมภาค
    สมเด็จเจ้าฯ ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณอันล้ำเลิศ กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ" ตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 ตุลาคม 2007
  16. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    พระเครื่องคู่ใจคนดัง :
    ประสบการณ์ปาฏิหาริย์หลวงปู่ทวด ของ ส.ส.สุพร อัตถาวงศ์ (ส.ส.แรมโบ้)


    [​IMG] พระครูนครธรรม โฆสิต (หลวงปู่นิล อิสฺสริโก) วัดครบุรี ต.ครบุรีใต้ อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพ ศรัทธาและเลื่อมใส ของชาวโคราชมาเป็นเวลาช้านาน ท่านได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๓๗ สิริอายุได้ ๙๒ ปี พรรษา ๗๒ และได้มีการจัดงาน พระราชทาน เพลิงศพเมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๕ นับเป็นพระเกจิอาจารย์ ที่เคารพ นับถือของ "ส.ส.แรมโบ้" สุพร อัตถาวงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต ๑๒ จ.นครราชสีมา ในฐานะกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย
    นอกจากนี้ ส.ส.สุพร ยังนับถือ หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จ.ปัตตานี อีกด้วย แม้ว่าก่อนหน้านี้จะเป็นคนที่แขวนพระหลวงปู่ทวดติดตัว เป็นประจำ แต่ระยะหลังไม่ได้แขวนอันเนื่องมาจากเป็นคนขี้ร้อน ตามคอจะมีอาการ แพ้สายสร้อยกับองค์พระ จึงนำพระหลวงปู่ทวด ที่เคยแขวนเก็บไว้ในตู้เซฟ
    ส.ส.สุพร เล่าถึงเหตุการณ์ เฉียดตายว่าครั้งแรกเกิดขึ้น ระหว่างนั่งเครื่องบิน ๔๓๐ ไปประชุมที่ จ.แม่ฮ่องสอน ในฐานะเลขานุการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปรากฏว่าเครื่องบิน ไม่สามารถลงจอดได้เนื่องจาก สภาพอากาศปิด กัปตันจึงขับเครื่องบินวนอยู่รอบๆ สนามบินนานเป็นชั่วโมง
    กระทั่งมีอธิบดีท่านหนึ่ง ที่นั่งมาด้วยกันได้ถามว่า ส.ส.สุพร มีพระหลวงปู่ทวดไหม จึงตอบไปว่ามีอยู่ที่คอ อธิบดีท่านนั้น ก็เลยขอยืมไปแล้วก็ยกมือขึ้นไหว้อธิษฐาน ทันใดนั้นเองเครื่องบินก็กระแทกรันเวย์ตึงๆ เสียงดัง จนน่ากลัว ความรู้สึกในตอนนั้นเหมือนล้อจะหลุด
    [​IMG] เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเรื่องรอดตายจากบารมีหลวงปู่ทวด จากที่ได้ศึกษาบารมีของหลวงปู่ทวด ตามความเชื่อก็พบว่า ใครที่มี พระหลวงปู่ทวดไว้บูชาจะทำให้ชีวิตมั่งมีศรีสุข ผู้ใหญ่เห็นก็ จะให้ความรัก ความเมตตา สงสาร ยิ่งความเชื่อเกี่ยว กับอุบัติเหตุ ด้วยแล้วต่างเชื่อกันมากว่า ใครมีพระหลวงปู่ทวดไว้บูชา จะไม่มี วันตายโหงเพราะ บางครั้งไม่ว่าคนเรา จะพบกับ ภัยอันตรายใดๆ ก็จะแคล้วคลาดเสมอ เหมือนกระแสจิต ของท่านจะแผ่บารมี มาช่วยให้ปลอดภัยตลอดเวลา
    "ถ้าถามว่าจิตใจในวันที่เกิดเหตุ เป็นอย่างไร ขอบอกตาม ตรงว่าจิตใจตอนนั้นไม่ดีเลย คิดว่าถ้าบินกลับกรุงเทพฯ ก็คงไม่ถึงแน่เพราะ น้ำมันจะหมดเสียก่อน จึงทำได้สถานเดียวคือ ต้องนำเครื่องลงจอดให้ได้ แต่วันนั้นอากาศมันปิด ลงไม่ได้จริงๆ เชื่อไหมว่าผมใจสั่นไปหมด ทุกคนใจหายใจคว่ำไปตามๆ กัน เครื่องมันทำท่าร่อนลงอยู่หลายครั้ง แต่ก็ลงไม่ได้สักที ที่ผมรอดตายมาได้ก็เชื่อว่าเป็นเพราะบารมีหลวงปู่ทวดอย่างแน่นอน" นี่คือความเชื่อในปาฏิหาริย์ของ ส.ส.แรมโบ้
    ส.ส.สุพร เล่าต่อว่า ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอีกเมื่อครั้ง นำคณะพี่น้องในพื้นที่ครบุรีและเสิงสางกว่าร้อยคนขึ้นรถบัสไป ๒ คัน เดินทางไป จ.ภูเก็ต จากนั้นได้เดินทางต่อไปเพื่อไหว้หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    บังเอิญระหว่างเดินทาง มีคนหนึ่ง พูดเล่นขึ้นมาว่า หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด ทำไมไม่ไปเหยียบทะเลน้ำเค็มบ้าง
    คนที่พูดเขาไม่ได้คิดอะไร เชื่อไหมว่ารถบัสวิ่งออกจากวัดช้าง ให้มาไม่ถึงกิโลเมตรปรากฏว่าแอร์ดับทั้งสองคัน เมื่อรถไม่มีแอร์อากาศหายใจก็มีไม่พอ ทำให้หลายคนเป็นลมต้องนำส่งโรงพยาบาล
    [​IMG] จังหวะที่กำลังช่วยคนนำส่งโรงพยาบาลอยู่นั้น ก็นึกขึ้น ได้ว่ามีคนพูดจา ดูหมิ่นหลวงปู่ทวดจึงได้พนมมืออธิษฐานว่า หลวงปู่หากพวกลูกๆ กระทำสิ่งหนึ่ง สิ่งใดหรือบุคคลหนึ่ง บุคคลใดในคณะดูหมิ่น หรือกล่าวด้วยคำพูดที่ไม่ดีต่อหลวงปู่ ก็ขอให้อโหสิกรรมด้วย และให้อภัยไว้ตรงนี้เพราะ ทุกคนที่มาสักการะหลวงปู่ทวด ล้วนมีเจตนาดีด้วยกันทุกคน พออธิษฐานจบลงก็เป็นช่วงเวลาที่รถเสียนานเป็นชั่วโมง ไม่น่าเชื่อว่ารถยังไม่ทันขับเข้าอู่เลย แอร์ที่ดับอยู่นั้นกลับเปิดขึ้นมา เป็นปกติ อย่าง น่าประหลาด ในวันนั้นทุกคนต่างก็เดินทางกลับ จ.นครราชสีมา ได้อย่าง ปลอดภัยทุกคน
    ส่วนปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งนั้นอยู่ที่ในระหว่างเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยมีลูกน้องเป็นคนขับ ไม่รู้ว่าลูกน้องอ่อนเพลีย หรืออย่างไรไม่ทราบ เกิดหลับใน ขับรถวิ่งไปในเขตเลนที่มีรถประจำทางสวนมา ภาพที่เห็นคือ รถวิ่งผิดเลน ประกอบกับก็เห็นรถกำลังวิ่งสวนเข้ามาหา มีความรู้สึกว่าตกใจคิด ในใจว่างานนี้ ต้องตายแน่ๆ ไม่รอดอย่างแน่นอน "จังหวะที่รถวิ่งเข้าไปในเลนรถบัส ที่วิ่งสวนมา ผมก็เอามือกำหลวงปู่ทวดที่แขวนติดตัวไว้ ฉับพลันทันใดนั้น คนขับรถ ก็หักพวงมาลัย ทำให้รถวิ่งเข้ามา ในเลนเดิม เชื่อไหมว่ารถประจำทางกับรถของผมเฉียดกันนิดเดียว รถผมก็เสียหลัก ไปนิดเดียว ผมไม่รู้จะทำอะไรพอผ่านพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้ก็ยกมือไหว้หลวงปู่ทวดทันที มาวันนี้ผมจึงโดยแท้จริงว่า รอดตายมา ได้ก็เพราะบารมี ของพระหลวงปู่ ทุกวันนี้จะไปไหนมาไหน ผมต้องมีพระหลวงปู่ทวดติดตัวเป็นประจำ" ส.ส.สุพร กล่าว

    ที่มา: http://www.komchadluek.net/column/pra/2005/08/06/02.php
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    เรื่องอัศจรรย์ของหลวงปู่แหวนและหลวงปู่ทวด


    [​IMG]
    [​IMG]
    ราว 2 สัปดาห์ก่อนที่กรรมการชมรมรักษ์พระบรมธาตุจะเดินทางไปยังจังหวัดเชียงใหม่เพื่อจัดงานผ้าป่าบูรณะเจดีย์วัดสวนดอก และ งานนิทรรศการพระบรมธาตุครั้งที่ 3 ณ วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ พวกเราได้ไปพบอาจารย์เทพนมที่บ้าน และ อาจารย์ได้กรุณาเล่าเรื่องเหตุอัศจรรย์เกี่ยวกับพระเครื่องของหลวงปู่แหวนและหลวงปู่ทวดให้ฟัง ดิฉันเห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง จึงขอนำเรื่องเหล่านี้มาถ่ายทอดให้กับท่านทั้งหลายได้อ่านกันนะคะ

    [​IMG]
    ราว 20 ปีก่อนเมื่อ อ.เทพนม ยังอาศัยอยู่ที่บ้านย่านดินแดง บ้านที่อยู่ติดกับบ้านอาจารย์เปิดเป็นร้านของชำ วันหนึ่งเกิดเหตุการณ์โจรปล้นบ้านขายของชำ และ จ่อยิงที่หน้าอกของเจ้าของร้าน น้องชายเจ้าของร้านรีบอุ้มร่างพี่ชาย วิ่งตรงมาที่บ้านอาจารย์ และ ร้องเรียกว่า
     
  18. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    หลวงปู่ทวด-หลวงปู่ดู่

    วันหนึ่งในคราวที่ปลอดคน ข้าพเจ้าได้มีโอกาสอยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อกับท่านโดยลำพัง หลวงพ่อได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า มีลูกศิษย์นายทหารคนหนึ่งมาเล่าให้ท่านฟังว่า หลวงปู่ทวดท่านไปหลอกเขา

    "หลอกยังไงหรือครับ" ข้าพเจ้าถามท่าน

    "เขาว่าเวลาที่เขาภาวนาอยู่ หลวงปู่ทวดไปยืนอยู่ข้างหน้าเขา สักพักตัวท่านก็เปลี่ยนไป หัวเป็นหลวงปู่ทวด ตัวเป็นข้า..."
    หลวงปู่ตอบข้าพเจ้ายังไม่จบ ข้าพเจ้าอดถามแทรกไม่ได้ว่า "เขารู้ได้อย่างไรครับว่าตัวเป็นหลวงพ่อ"

    ท่านตอบข้าพเจ้าว่า "เขาจำรอยสักรูปผีเสื้อที่มือข้าได้" หลวงพ่อได้เล่าต่อว่า "เมื่อหลวงปู่ทวดไปหลอกเขาโดยแสดงให้เห็น หัวเป็นหลวงปู่ทวด ตัวเป็นข้าแล้ว สักพักก็เปลี่ยนใหม่ ทีนี้หัวเป็นข้า ส่วนตัวเป็นหลวงปู่ทวดถือไม้เท้า กลับไปกลับมาอย่างนี้"

    เรื่องที่หลวงพ่อได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังนี้ ตรงกับนิมิตที่ศิษย์ของหลวงพ่อหลายคนเคยมีนิมิตเกี่ยวกับท่าน คือ เป็นนิมิตรูปพระพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง ด้านขวา ด้านซ้าย มีรูปหลวงปู่ทวด และหลวงพ่อดู่ สักพักภาพทั้งสามก็ค่อยๆ เลื่อนมารวมเป็นภาพเดียวกัน คือ เป็นภาพพระพุทธเจ้า

    หากหลวงพ่อดู่และหลวงปู่ทวด มิใช่พระองค์เดียวกันแล้ว สมควรแล้วหรือที่นิมิตที่ศิษย์นายทหารท่านนั้นจะเห็นศรีษะของหลวงพ่อดู่ไปวางบนลำตัวหลวงปู่ทวด สมควรแล้วหรือที่ศรีษะของหลวงปู่ทวดมาวางบนลำตัวของหลวงพ่อดู่ และสมควรแล้วหรือที่ภาพพระพุทธเจ้า หลวงปู่ทวด และหลวงพ่อดู่ มารวมเป็นภาพเดียวกัน

    ข้าพเจ้าเชื่อว่าหลวงพ่อดู่เป็นพระโพธิสัตว์ที่ปรารถนาพุทธภูมิเช่นเดียวกับหลวงปู่ทวด ส่วนท่านจะเป็นองค์เดียวกันหรือไม่นั้น ข้าพเจ้าไม่ทราบได้ เพราะเป็นวิสัยของผู้มีญาณเท่านั้นจะพึงทราบ เหตุที่บันทึกเรื่องนี้ไว้ ก็เพียงเพื่อเตือนใจตัวเองที่ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้เคยเมตตาเล่าเรื่องนี้ให้ข้าพเจ้าฟัง และหากจะเป็นประโยชน์กับใครบ้าง ช่วยสร้างศรัทธาปทาสะ ให้เกิดความพากความเพียร ที่จะก้าวล่วงความทุกข์ให้ได้แล้ว ข้าพเจ้าขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่งครับ

    ที่มา : ๑๐๑ ปี หลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  19. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    ความเป็นมา - ความเป็นไป

    ประมาณเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๐๙ ข้าพเจ้านายยวง พึ่งกุศล (ปัจจุบันบวชเป็นพระภิกษุวัดสะแก) (สมัยเขียนเรื่อง-leo_tn) ป่วยเป็นโรคท้องเดินอย่างกระทันหัน ได้ไปอยู่โรงพยาบาลปัญจะมาธิราชอุทิศ หมอจัดให้อยู่ในห้องพิเศษ (มีเตียงคู่และห้องน้ำ) แต่ละวันแต่ละคืน ข้าพเจ้าต้องเข้าห้องน้ำเพื่อถ่ายแบบยิบย่อย คือถ่ายมากแล้วก็ค่อยๆ ถ่ายน้อยลง แต่ต้องเข้าห้องน้ำอยู่เรื่อย ไม่มีกากถ่ายไปนั่งเบาสักนิดก็ยังดี ประมาณ ๒ ถึง ๓ นาที ก็ต้องไปเข้าห้องน้ำอีก เป็นอยู่อย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะถึงเวลาเช้ามืดตี ๒ ถึงตี ๔ ก็จะอ่อนเพลียหมดกำลังหลับไปเอง พอเช้ามืดใกล้สว่างจะต้องลุกขึ้นทำสมาธิบนเตียง ซึ่งมีครูถมยาทำสมาธิอีกเตียงหนึ่ง ทุกวันทุกคืนเป็นอย่างนี้ประมาณ ๑๐ วัน

    ในคืนวันหนึ่ง ข้าพเจ้าก็เข้าๆ ออกๆ ห้องน้ำ ตั้งแต่ตอนหัวค่ำปวดท้องเหลือเกิน จะลุกขึ้นเดินก็ตัวขดตัวงอ มือประคองท้องอยู่เรื่อยไป งีบหลับไปได้หน่อยก็ตื่นขึ้นมา ต่างคนต่างทำสมาธิกันไป คืนนั้นข้าพเจ้าหลับตาเห็นแสงสว่างอย่างมากเป็นลำยาวไกลออกไปข้างหน้าอย่างประมาณหาที่สุดมิได้ แสงสว่างนั้นยิ่งมากขึ้นๆ แล้วก็ใหญ่ขึ้นจนมองเห็นต้นไม้ใบไผ่ ใบไม้สีเขียวชะอุ่มไกลลิบสุดลูกนัยน์ตา จากนั้นข้าพเจ้าได้เห็นแสงสว่างเป็นรัศมีของดวงอาทิตย์อ่อนๆ แล้วก็ค่อยๆ ลอยตัวขึ้นทีละน้อยๆ จนเห็นว่าดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาจากริมเขาชายต้นไม้ เป็นสีเหลืองเข้มค่อยๆ ลอยขึ้นๆ จากน้อยมาหามาก จนใกล้จะถึงครึ่งวงกลมของดวงอาทิตย์ ตอนนั้น จิตของข้าพเจ้าได้เห็นองค์หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืดได้อย่างชัดเจน!

    ข้าพเจ้าดีใจมาก รู้สึกว่าตัวของข้าพเจ้าสั่นด้วยความดีใจ ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลอยขึ้นทีละน้อย จนกระทั่งเต็มดวง ดวงอาทิตย์สว่างเจิดจ้า เย็นหู เย็นตา เย็นจิต เย็นใจ ขนพองสยองเกล้าจนถึงศรีษะ ตอนนั้นหลวงพ่อทวดหายไป เปลี่ยนเป็นหลวงน้าดู่ พรหมปัญโญ นั่งอยู่ตรงที่หลวงพ่อทวดนั่ง ดวงอาทิตย์ยังลอยขึ้นใกล้จะถึงตรงศรีษะของข้าพเจ้า หลวงน้าดู่หายไปกลายเป็นหลวงพ่อทวดนั่งอยู่ตามเดิม (บนดวงอาทิตย์) ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดต่ำลงมาทีละน้อยๆ จนกระทั่งใกล้ถึงตรงหน้าข้าพเจ้า หลวงพ่อทวดหายไป กลายเป็นหลวงน้าดู่ ท่านลงจากดวงอาทิตย์ แล้วเดินมาหยุดข้างหลังข้าพเจ้า ก้มลงเล็กน้อย พร้อมกับยื่นมือขวามาจับพุงของข้าพเจ้า แล้วกระชากดึงพุงอย่างแรงจนตัวไหวไปทั้งตัว ๓ ครั้ง แล้วท่านบอกว่า "หาย" ข้าพเจ้าก็คิดในใจว่าท่านดึง ๓ ครั้งแค่นี้จะหายหรือ เลยลองขยับกายไปทางขวาจะปวดไหม เอ๊ะ! ไม่ปวด ลองขยับมาทางซ้ายบ้างก็ไม่ปวดอีก คราวนี้ลองอีกแรงๆ ก็ไม่เป็นอะไร ด้วยความดีใจก็บอกคุณถมยาว่า "เลิกเหอะ ฉันหายแล้ว หลวงพ่อทวดมาช่วย หลวงน้าดู่รักษาโดยการจับพุงฉันดึง ๓ ที ก็เลยหายพอดี" คุณถมยาเปิดไฟแล้วให้ข้าพเจ้าลุกขึ้นเดินภาวนา กลับไปกลับมาจากหน้าเตียงถึงประตู ๓ ครั้ง ก็ไม่เป็นไรแน่ หายดีเป็นปกติ รูปหลวงน้าดู่ที่ท่านดึงอยู่ก็หายไป เอ๊ะ นี่จะเป็นองค์ไหนกันแน่ที่ทำให้เราหาย ใจหนึ่งคิดว่าหลวงน้าดู่ดึงพุงทำให้เราหาย อีกใจหนึ่งก็คิดว่า หลวงพ่อทวดเหยียบดวงอาทิตย์มารับหลวงน้าดู่เพื่อรักษาเรา มันสับสนคิดไม่ออก หายแล้วกลับไปวัดจะต้องถามหลวงน้าดู่ให้ได้<!-- / message --><!-- edit note --><!-- / message --><!-- edit note -->
     
  20. 789987

    789987 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    489
    ค่าพลัง:
    +11,476
    เมื่อครบกำหนด ๑๖ วัน ตามที่หมอสั่งก็กลับบ้านแล้วมาที่วัดทันที ไม่มีดอกไม้ ธูปเทียน มีแต่ใจมากราบนมัสการ พร้อมกับทองคำเปลวอย่างดี ข้าพเจ้าได้ถามหลวงน้าดู่ว่า

    ข้าพเจ้า "การที่หลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด ขึ้นมานั่งบนดวงอาทิตย์ครั้งแรก แล้วต่อมาเป็นหลวงน้าดู่ พรหมปัญโญ พอจะถึงพื้นกลายเป็นหลวงพ่อทวด พอลอยต่ำลงมาถึงพื้น ก็กลายเป็นหลวงน้าดู่ ลงมาช่วยดึงพุงผม ๓ ครั้งจนหาย หมายความว่าอย่างไร เดี๋ยวเป็นหลวงพ่อทวด เดี๋ยวเป็นหลวงน้า"

    หลวงน้า "แล้วแกว่าอย่างไร"

    ข้าพเจ้า "เห็นกลับไปกลับมา ก็คงเป็นหลวงพ่อทวดองค์เดียวกัน"

    หลวงน้า "ก็อย่างแกว่านั่นแหละ"

    ข้าพเจ้า "ถ้าอย่างนั้น ก็เป็น พระศรีอริยเมตไตรย นะสิ"

    หลวงน้า "ก็หลวงพ่อทวดคือ พระศรีอริยเมตไตรย ท่านกลับชาติมาเกิดเพื่อสร้างบารมี รู้แล้วอย่าพูดไป เพราะคนที่เขาไม่เชื่อ เขาจะพากันตกนรก เราจะพลอยบาปไปด้วย"

    ทองคำที่ปิดเท้าหลวงน้าดู่นั้น
    ข้าพเจ้าติดถวายแก่พระศรีอริยเมตไตรย
    ที่เท้าของหลวงน้าดู่ พรหมปัญโญ


    สาเหตุที่นำเรื่องนี้มาเปิดเผย เนื่องจากก่อนที่จะทำการพระราชทานเพลิงศพบิดาของผู้เขียน ผู้เขียนได้มีโอกาสคุยกับน้ายวง ผู้เขียนได้ถามว่า "น้าคิดว่าหลวงปู่เป็นพระอรหันต์ หรือเป็นหน่อพุทธภูมิ" น้ายวงจึงตอบว่า "อาจารย์คิดว่าหลวงน้าเป็นอะไร" ผู้เขียนตอบว่า "ท่านเป็นหน่อพุทธภูมิ เพราะท่านเคยบอกครั้งหนึ่ง เมื่อครั้งที่นำพระนาคปรก ซึ่งหลวงปู่บุดดาฝากถวายมาให้ และมีอีกหลายอย่าง ครั้งจากนั่งสมาธิ มีคนเห็นหลวงพ่อกับหลวงพ่อทวดสลับกันไป สลับกันมา ซึ่งแสดงว่าท่านต้องเป็นองค์เดียวกัน" น้ายวงจึงตอบว่า "ถ้าอย่างนั้นผมจะเขียนเรื่องราวที่ผมสัมผัสมากับหลวงน้า ซึ่งหลวงน้าสั่งให้ปิดไว้เป็นความลับ เป็นเวลานานหลายสิบปีแล้ว คงจะถึงเวลาที่จะเปิดได้แล้ว" ผู้เขียนจึงได้นำบทความนี้มาลง ซึ่งเป็นการเขียนจากผู้มีประสบการณ์จากตัวเอง และผู้เขียนเอง มีความรู้สึกอยากสรุปเรื่องของหลวงปู่ เพราะแม้แต่เกศาหรือฟันของท่านก็กลายเป็นพระธาตุ พระเครื่องเกิดเป็นพระธรรมธาตุ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธวิสัย คือผู้ที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมมีบุญญาธิการเกินกว่าปุถุชนอย่างเรา ไม่ควรที่จะวิจารณ์ ดังที่พระพุทธองค์กล่าวไว้ว่า เป็น จินไตย หรือแม้แต่องค์หลวงปู่เอง ท่านเคยกล่าวว่า "เรื่องของข้าบางทีก็เกินพระไตรปิฎก ต้องรู้เอง ปฏิบัติเอง พูดมากไม่ดี เดี๋ยวคนจะลงนรก"
     

แชร์หน้านี้

Loading...