จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ธรรมะสำหรับจิตบุญ
    โดยเฉพาะนามธรรม/กิเลสตัวละเอียด ได้แก่ สังขารขันธ์และวิญญาณขันธ์
    ส่วนรูปหรือนาม เช่น เวทนา สัญญา ไม่นำมากล่าวในเวลานี้

    สองธรรมารมณ์นี้(สังขารขันธ์+วิญญาณขันธ์) คือจุดอ่อนของจิตบุญ มักสอบผ่านยาก
    เพราะเป็นอารมณ์ของคราบมนุษย์โดยแท้ จิตอยู่เหนือขันธ์๕ไม่เด็ดขาดก็ตสองตัวนี้แหล่ะ
    จิตหรือดวงจิตของเหล่าจิตบุญน่ะรอดไปแล้ว แต่ที่บอกว่าไม่รอดนั่นก็คือ สติหรือกายหยาบ
    เพราะฉะนั้น ถ้าจิตบุญเอาสติห่างจิตเมื่อไหร่ก็เป็นเรื่อง
    อย่าลืม สติก็เรา จิตก็เรา แต่ถ้าเอาเราห่างเราแล้วมันจะเป็นยังไง ผลก็คือสอบตกไม่เป็นท่า
    อย่าลืม เอกัคคตารมณ์แปลว่าไร แปลว่า..เอาสติมารวมกับจิตให้เป็นอารมณ์หนึ่งเดียวเท่านั้น
    แต่สติห่างจิตก็แปลว่า เรามีสองอารมณ์ในเวลาเดียวกัน สังเกตดูกันให้ดี
    เช่น เวลาเรารู้สึกเป็นทุกข์ แต่ถ้าเอาสติไปถามจิตดูสิว่า จิตมันทุกข์ไหม นั่นไง คำตอบคือ ไม่
    แล้วถามต่อไปว่าแล้วอะไรหรือใครทุกข์หล่ะ ก็ตอบว่า เราไง เราก็คือสติของเรา นั่นไงหล่ะ
    แต่ถ้าไม่อยากเป็นทุกข์กันอีก ก็ให้เราเอาสติไปอยู่รวมกับจิตก็หมดเรื่อง (จิตที่มันรอดไปก่อนแล้ว)
    อย่าลืม พระอรหันต์ ท่านรอดทั้งสติและก็จิต จิตจึงจะเข้าถึงสุญญตารมณ์ได้ นั่นก็คือความว่าง
    มิใช่ว่างแบบจิตบุญทุกวันนี้ คือเมื่อวานว่าง แต่วันนี้ไม่ว่าง อย่างนี้ถือว่ายังใช้ไม่ได้
    ว่างเป็นบางครั้งหรือว่างแบบชั่วคราว แต่ความว่างของพระอรหันต์นั้นเป็นความว่างแบบถาวร
    พระอรหันต์ท่านจะไม่มีอารมณ์ขึ้นๆลงๆ

    ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น...
    ในเฟสบุ๊คเช่น ถูกใจกดLike ไม่ถูกใจกดลิ้นซะงั้น เลือกกดLikeเฉพาะที่ถูกใจ แต่ถ้าไม่ถูกใจข้ามซะงั้น
    ในกระทู้เช่น ถูกใจกดอนุโมทนา ไม่ถูกใจกดไม่เห็นด้วย กดอนุโมทนาเฉพาะถูกใจ แต่ไม่ถูกใจข้ามซะงั้น
    หรือบางท่านบอกว่า อยากกดlike/อนุโมทนาสัก 100 ครั้ง 1000 ครั้ง อะไรประมาณนี้
    นั่นก็แสดงว่า จิตเรายังมีอารมณ์สองอารมณ์ หรือมีอารมณ์สองมาตราฐานอยู่
    เช่น ชอบ/ไม่ชอบ พอใจ/ไม่พอใจ ดีใจ/เสียใจ เป็นต้น นั่นก็ถือว่า..ยังใช้ไม่ได้
    เพราะเราละคราบของความเป็นมนุษย์ของตนเอง..ยังไม่ได้
     
  2. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    (ตอนที่ ๔)
    ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายเธอจงเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจเข้า เมื่อหายใจออกก็จงรู้ว่าเป็นผู้หายใจออก" หมายความว่า การรู้ลมหายใจเข้า รู้ลมหายใจออกนี่เราไม่ต้องระวังกัน ไม่ต้องตั้งท่า ไม่ต้องหาเวลา เป็นเวลาใดก็ตาม เวลาที่กินข้าวอยู่ก็ดี หรือว่าทำการงานก็ดี เวลาพูดคุยกับเพื่อนฝูงก็ดี เดินไปก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ทุกอิริยาบทเราสามารถรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้อย่างสบาย อย่างนี้เรียกว่าเข้าถึงอานาปานาสติ มหาสติปัฏฐานสูตรข้อนี้แล้ว

    เรื่องของพระกรรมฐานกับนิมิตเป็นของธรรมดา นิมิตของอานาปานาสติกรรมฐานก็มี เช่น สีเขียว สีแดง สีสว่างคล้าย ๆ แสงไฟฉาย หรือเหมือนแสงฟ้าแลบ การที่จะได้บุญ อยู่ตรงที่จิตเป็นสมาธิ ตัวบุญอยู่ที่จิตเป็นสมาธิที่มีอารมณ์ตั้งมั่น ไม่ใช่อยู่ที่องค์ภาวนาอย่างเดียว การภาวนาด้วย ก็เพื่อจะใช้อารมณ์ยึด คือ สติ ให้รู้อยู่ว่าเรากำหนดลมหายใจเข้าออก หรือว่าเราภาวนาว่ายังไง แล้วก็ควบคุมอารมณ์อยู่เฉพาะอย่างนั้นอย่างเดียวให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คำว่า เอกัคคตารมณ์ แปลว่า เป็นหนึ่ง ตัวบุญใหญ่คือการทรงสมาธิจิต ถ้าสมาธิทรงได้สูงมากเพียงใด นิวรณ์ที่จะมากั้นความดีคืออารมณ์ของความชั่ว คำว่านิวรณ์ได้แก่ อารมณ์ของความชั่ว ถ้าขณะใดจิตทรงสมาธิที่เรียกกันว่าเป็นฌาน คำว่าฌานนี้ แปลว่า การเพ่ง การทรงอยู่ของจิต จิตเพ่งอยู่เฉพาะอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง อันนี้เราเรียกกันว่า ฌาน
    เมื่อเรามีสติสามารถจะรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก ที่กระทบเข้าและกระทบออกที่จมูกได้ เข้าก็รู้ออกก็รู้ จิตก็จะเริ่มเป็นสมาธิ สมาธิขั้นต้นเรียกว่า ขณิกสมาธิ แปลว่า สมาธิเล็กน้อย เมื่อขณิกสมาธิละเอียดขึ้น จิตก็จะเข้าสู่อุปจารสมาธิ ตอนนี้อารมณ์ของที่เป็นทิพย์จะปรากฎ จิตเป็นทิพย์ คือ จิตย่อมว่าจากกิเลส จิตว่างจากนิวรณ์ทั้ง ๕ เมื่อจิตว่างจากนิวรณ์ ๕ ประการแล้ว จิตก็สามารถจะเป็นทิพย์ แต่จะเป็นมากหรือเป็นน้อยขึ้นอยู่กับสมาธิจิต จะเห็นแสง เห็นภาพ แต่ภาพที่ปรากฎก็ดี แสงสีที่ปรากฎก็ดี จงอย่าเอาจิตเข้าไปเกาะ เพียงกำหนดว่า ถ้าหากว่าเราเห็นนานหรือเร็ว จงรู้ตัวว่า นี่จิตของเราเป็นทิพย์ เข้าสู่อุปจารสมาธิ


     
  3. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    (ตอนที่ ๔)
    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ถ้ามีบารมีแก่กล้า หมายถึงมีกำลังใจสูง มีการระมัดระวังการปฏิบัติเป็นปกติไม่ขาดวรรคขาดตอน เรียกว่า วันทั้งวัน มีอารมณ์ครุ่นคิดอยู่ในมหาสติปัฏฐานสูตรทั้งสี่นี้ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้นั้นบำเพ็ญบารมีเพียงแค่ไม่เกิน ๗ วัน จะเข้าถึงอรหัตตผล ถึงพระนิพพาน ถ้าหากว่ามีอารมณ์ย่อหย่อนไปนิดหนึ่งก็ไม่เกิน ๗ เดือน ถ้าหย่อนไปอีกก็เรียกว่า ไม่เกิน ๗ ปี
    การดัดแปลงอารมณ์ของมหาสติปัฏฐานสูตร ความจริงมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในขั้นสุขวิปัสสโก การบรรลุมี ๔ สายด้วยกัน คือ สุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    สุขวิปัสสโก บรรลุแล้วไม่เห็นผี ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก มีแต่จิตสบาย กิเลสแห้งเหือดไป
    เตวิชโช มีทิพย์จักขญาณ สามารถรู้สัตว์และคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน แล้วมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติของตนเองได้
    ฉฬภิญโญ ก็ทรอภิญญา หมายความีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด
    ปฏิสัมภิทัปปัตโต มีความรู้พิเศษ ทรงพระไตรปิฎก รู้ภาษาสัตว์ต่าง ๆ ภาษาคนภาษาสัตว์ไม่ต้องเรียน รู้ แล้วก็รู้อธิบายขยายความให้กว้างก็ได้ หรือเนื้อความที่กว้างก็ย่อลงให้สั้นให้เข้าใจได้ดีก็ได้

    คนที่ชอบสงัดก็ศึกษาด้านสุขวิปัสสโก
    คนที่อยากรู้นั่นรู้นี่ อยากเห็นผี เห็นเทวดา ก็ศึกษาเตวิชโช เรียนวิชชาสาม
    ส่วนคนที่ชอบฤทธิ์ อยากแสดงฤทธิ์ ก็ต้องศึกษาฉฬภิญโญ

    พื้นฐานของวิชชาสาม จะต้องกำจัดอุปกิเลสทิ้งเสีย อุปกิเลส คือการเข้าถึงความเศร้าหมองจองจิต คือการไม่ไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านเขา ไม่อวดดีอวดเ่ด่น
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับนิโครธปริฺพฺพาชกว่า "นิโครธปริพพาชก อันนี้บริสุทธิ์บริบูรณ์หรือยัง เป็นสาระเป็นแก่นสารไหม การไม่ไปยุ่งกับเรื่องของชาวบ้านนี่ ใครจะด่าจะว่านินทายังไงก็ช่างเขา มันเป็นเรื่องของเขา เราไม่อวดดีอวดเด่นกับเขา ไม่เห็นว่าเขาเลวกว่า เขาเสมอเราหรือเขาดีกว่า ไม่โอ้อวดในข้อวัตรปฏิบัติที่ตนทำแล้ว ไม่เอาไปข่มขู่ชาวบ้าน ข้อนี้บริสุทธิ์เป็นแก่นสารหรือยัง"
    นิโคธปริพพาชกตอบว่า "ข้อนี้เป็นสาระเป็นแก่นสารบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแล้วพระเจ้าข้า"
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนนิโครธ แค่นี้ยังไม่บริสุทธิ์บริบูรณ์ แค่นี้เป็นสะเก็ดของพระพุทธศาสนาเท่านั้น"
    นิโครธปริพพาชกถามต่อว่า "ยังไงจึงจะบริสุทธิ์บริบูรณ์ เป็นสาระแก่นสารล่ะพระเจ้าค่ะ"
    พระพุทธเจ้าตรัสต่อไปว่า "นิโครธะ คนที่จะบริสุทธิ์บริบูรณ์ก็ต้องปฏิบัติในยามสี่ ได้แก่ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลฆ่าสัตว์ และไม่ยินดีเมื่อเขาฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นลัก และไม่ยินดีเมื่อเขาลักมาแล้ว ไม่ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้คนอื่นประพฤติผิดในกาม และไม่ยินดีเมื่อเขาประพฤติผิดในกามแล้ว ไม่กล่าววาจามุสาวาทด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นกล่าววาจมุสาวาท และไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นกล่าวมุสาวาทแล้ว จากนั้นพยายามระงับนิวรณ์ ๕ ประการจากจิตเสีย คือ ไม่ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส และสัมผัส ไม่พยาบาท ไม่ง่วงเหงาหาวนอนในเวลาที่ปฏิบัติความดี ไม่ทำจิตฟุ้งซ่านยึดถืออารมณ์ภายนอก ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า และก็แผ่เมตตาไปในทิศทั้ง ๔ คือทรงพรหมวิหาร ๔ คิดว่าบุคคลและสัตว์ทั้งหมดเป็นมิตรกับเรา เราไม่เป็นศัตรูกับใคร แล้วก็ทำใจให้สบาย นิโครธะ นี่บริสุทธิ์บริบูรณ์หรือยัง"
    "บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว พระเจ้าข้า"
    "นิโครธะ นี่ยังไม่บริสุทธิ์ไม่บริบูรณ์ นี่แค่เปลือของความดีในพระศาสนาเท่านั้น"
    "ทำยังไงจะเข้าถึงแก่นล่ะ พระเจ้าข้า"
    "เมื่อทำอย่างนี้แล้ว จำทำปุพเพนิวาสานุสติญาณให้ปรากฎ คือระลึกชาติหนหลังได้"
    "แค่นี้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้วหรือยัง พระเจ้าข้า"
    "แค่นี้เพียงกระพี้ของความดีเท่านั้น"
    "ถ้าจะให้เข้าถึงจุดของความดีจริง ๆ เป็นสาระแก่นสาร ก็ต้องทำทิพยจักขุญาณ คือสามารถรู้ว่าสัตว์ที่เกิดแล้ว เกิดมานี่ตายแล้วไปไหน เป็นอะไร สัตว์และคนที่เกิดมาในโลกนี้มาจากไหน ชาติก่อนเขาเป็นอะไรมา อย่างนี้แหละที่เรียกว่าถึงแก่นถึงสาระ"
    การเจริญพระกรรมฐานเอาดี จะเป็นด้านสุขวิปัสสโกก็ดี เตวิชโชก็ดี ฉฬภิญโญก็ดี ปฏิสัมภิทัปปัตโตก็ดี ต้องวางภาคพื้นไว้ก่อนสำหรับภาคพื้นในด้านวิชชาสาม พื้นของวิชชาสามนี้ใช้ได้ทั้งอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทาญาณ หรือแม้คนที่เจริญสุขวิปัสสโกก็ใช้ได้ แต่ต้องตัดปุพเพนิวาสานุสติญาณออก แล้วก็ตัดทิพยจุกขุญาณออก ก็เป็นสุขวิปัสสโก สำหรับท่านที่เจริญวิชชาสามก็ต้องเจริญปุพเพนิวาสนุสติญาณ และทิพยจักขุญาณด้วย ส่วนในด้านอภิญญา ๖ ก็ต้องเจริญกสิณทั้ง ๑๐ ประการ และหัดเข้าฌานตามลำดับญาณและลำดับกสิณ สลับฌานสลับกสิณให้คล่อง หากว่าท่านจะเข้าถึงปฏิสัมภิทาญาณ ก็เอากสิณเป็นภาคพื้น แล้วก็เจริญอรูปฌานให้ได้ อรูปฌาน ๔ ทรงอยู่ในฌาน ๔ เหมือนกันเท่านี้ ต่อไปก็เป็นปฏิสัมภิทาญาณ


     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    (ตอนที่ ๖)
    เรื่องทิพยจักขุญาณ ว่าไปเริ่มจับกันตอนที่ได้จตตุถฌาน คือฌาน ๔ นักเจริญมหาสติปัฏฐานสูตร เจริญอานาปานสติกรรมฐาน มาถึงฌานที่ ๔ แล้วก็ทรงฌานที่ ๔ แล้ว แต่ความจริงการเจริญทิพยจักขุญาณ ถ้าเราทำกรรมฐาน ๔๐ เริ่มฝึกทิพยจักขุญาณกันตั้งแต่อุปจารสมาธิ คือยังไม่เข้าปฐมญาน พอถึงอุปจารสมาธิแล้วจับภาพกสิณขึ้นเพิกภาพกสิณ อธิษฐานให้ภาพกสิณหายไปขอภาพสวรรค์และนรกจงปรากฎ อย่างนี้จะเห็นได้เงา ๆ เห็นได้ดำ ๆ ต่อมาเมื่อฝึกฝนจิตเข้าถึงฌานก็เห็นใสขึ้น พอถึงฌาน ๔ ภาพก็นิ่งนาน เราดูภาพได้นาน เราสนทนาปราศรัยกันได้นาน นี่คือหลักที่องค์สมเด็จพระสัมมาพุทธเจ้าสอนไว้ แต่นักเจริญมหาสติปัฏฐานสูตรแล้ว ก็เข้าถึงฌาน ๔ แล้วทุกท่านก็ไม่จำเป็นต้องไปตั้งต้นกันแค่อุปจารสมาธิ เราก็เข้ากันถึงจตุตถฌานเลย เพราะเป็นภาพนิ่งดีมาก แล้วก็สดใสดีมาก เมื่อถอยหลังจิตมาถึงอุปจารสมาธิอธิษฐานภาพกสิณให้หายไป แล้วอธิษฐานภาพสวรรค์ นรก พรหมโลก หรือบุคคลที่ตายไปแล้วจงปรากฎ ที่เราต้องการก็จะปรากฎเฉพาะหน้า นี่อาศัยกำลังจตุตถฌาน เป็นฌานที่ทรงสมาธิได้นาน แล้วก็มีความแจ่มใส ก็สามารถจะพูดจาปราศัยกันได้นาน ถ้าหากว่าท่านได้ฌาน ๔ แล้ว ได้ทิพยจักขุญาณแล้ว สามารถจะเห็นสวรรค์ เห็นนรกก็ได้ เห็นพรหมโลกก็ได้ ถ้ามีวิปัสสนาญาณพอสมควร จะรู้ภาวะพระนิพพานตามความเป็นจริง รู้ด้วยอำนาจของฌาน ถ้าอยากจะรู้จริง เห็นจริง ก็พยายามทำให้ปรากฎ ถ้าได้ทิพยจักขุญาณแล้ว ก็เจริญวิปัสสนาญาณพอสมควร พอจิตเข้าสู่โคตรภูญาณ อันนี้แหละจะเห็นพระนิพพานได้ชัดเจนแจ่มใส

    ทิพยจักขุญาณที่ได้ ญาณที่ติดตามได้มาเป็นผลพลอยได้คือ จุตูปปาตญาณ เจโตปริยยญาณ อดีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ และยถากัมมุตาญาณ นี่รวมความว่า ถ้าได้ทิพยจักขุญาณแล้ว ญาณอีก ๗ อย่างได้มาโดยไม่ต้องหาใหม่
    และอย่าลืมว่าคนที่เข้าถึงความดีได้ต้อง
    ไม่เอาจิตไปกังวลกับเรื่องของชาวบ้าน เราควบคุมของเราเท่านั้นพอ
    ทรงศีลห้า จะไม่ละเมิดศีลห้าด้วยตนเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอ่นละเมิดศีลห้า และไม่ยินเมื่อเขาละเมิดแล้ว
    ระงับนิวรณ์ ๕ ประการ
    ทรงพรหมวิหารสี่


    พอจิตถึงจตุตฌาน ฌานที่ ๔ เมื่อเราได้ทิพยจุกขุญาณแล้ว คำว่าทิพยจักขุญาณ หมายความว่ามีความรู้คล้ายกับตาทิพย์ เห็นกันด้วยใจ ทิพยจักขุญาณเห็นสวรรค์ก็ได้ เห็นนรก เห็นพรหม เห็นใครตายไปแล้วก็ได้ คำว่าเห็นนี่เรียกกันว่า ทิพยจักขุญาณ

    จุตูปปาตญาณ ก็ใช้ทิพยจักขุญาณนั่นเอง ดูคนที่ตายไปแล้วหรือสัตว์ที่ตายไปแล้วว่าไปเกิดที่ไหน หรือว่าดูคนที่มาเกิดนี้ สัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน เราสามารถจะรู้ได้ด้วยญาณนี้ โดยวิธีใช้ดูภาพกสิณ เห็นภาพกสิณชัด แล้วอธิษฐานให้ภาพกสิณนั้นหายไป ขอภาพอดีตของคนและสัตว์จงปรากฎ หรือขอภาพในปัจจุบันของคนและสัตว์จงปรากฎ

    ญาณที่สาม เจโตปริยัติญาณ ญาณนี้รู้วาระจิตของคน หมายความว่ารู้ใจคน เจโตปริยัติญาณพระพุทธเจ้าสอนไว้ คือ

    ในขั้นมีไว้ให้เปลื้องความสงสัยว่า กิเลสมีจริงไหม
    รู้จิตของตนเองว่า เวลานี้กิเลสอะไรมันเข้ามาสิงอยู่ เราจะแก้อารมณ์ของกิเลสนันด้วยประการใด ไว้ดูใจตนเองนะ ส่วนใจของชาวบ้านเค้าไม่ต้องยุ่ง ยกเว้นจะเป็นบุคคลที่เราจะต้องสงเคราะห์จึงค่อยรู้เขา หรือเมื่อรู้แล้วก็นิ่งไว้ ถ้าเขาไม่ปรารถนาที่จะรับฟังก็อย่าพูด เขาไม่เลื่อมใสไม่ศรัทธาจงอย่าพูด
    เจโตปริยญาณนี้ ก็เอาทิพยจักขุญาณนั่นเองดูจิตของตน ดูสีของใจโดยแบ่งออกเป็น ๖ สีด้วยกัน แต่ในที่นี้จะพูดแค่ ๓ สี คือ
    ถ้าจิตมีความเดือดร้อน สีของอารมณ์จะดำ
    ถ้าจิตมีความรื่ีนเริง มีความยินดี อารมณ์จิตจะมีสีแดง
    ถ้าจิตมีความสุขมีความว่างเป็นอุเบกขา จิตจะมีสีใสเป็นแก้วใส จิตที่มีสีใสเป็นแก้วใสนี่ก็เป็นจิตของฌาน ๔

    พยายามฝึกดูบ่อย ๆ นึกขึ้นได้ก็ดูเสีย ถ้าเห็นเป็นสีใดสีหนึ่ง แสดงว่าเรายังเลวอยู่ สภาวะของจิตจริง ๆ มันเป็นกายซ้อนกาย ที่พระพุทธเจ้าตรงไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรว่า เห็นกายในกาย เห็นกายในกายนั้น ในสภาพของสุขวิปัสสโกเห็นชิ้นเนื้อ เห็นอาการของกาย แต่ว่าในสภาพของนักวิชชาสามแล้ว เห็นกายทิพย์ที่ซ้ายกายอยู่ที่เข้ามาสิงในกาย ซึ่งจะบอกได้ว่า เวลาตายในระหว่างนี้จะเป็นเทวดาหรือเป็นพรหม หรือเป็นสัตว์นรกเป็นเปรต อสุรกายเป็นสัตว์เดรัจฉาน หรือว่าเป็นมนุษย์ ภาพเทวดาหรือพรหมมันจะทรงเป็นกายทิพย์แพรวพราวมีเครื่องประดับเต็มที่ ถ้าจะเป็นสัตว์ประเภทไหน ก็จะมีสภาพเป็นรูปสัตว์ประเภทนั้น


     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    มหาสติปัฏฐานสูตร
    (ตอนที่ ๗)
    เจโตปริยัติญาณ เห็นอัตภาพร่างกายของตัว สภาวะการเห็นของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การที่ใช้ฌานโลกีย์ ถ้าจะเห็นอย่างดีเท่าไรก็ตาม ก็เป็นสภาพมัว ๆ สลัว ๆ เท่านั้น ฌานที่เราได้กัน เรียกว่า ฌานโลกีย์ ซึ่งมีสภาพเสื่อม และมีอุปาทานเข้ากันมาก เวลาจะดูอะไรจะรู้อะไรจริง ๆ ต้องเข้าฌานให้จิตใจแจ่มใสจริง ๆ ดูสภาพจิตของเราให้เป็นแก้วจริง ๆ ถ้ามัวไปนิดพยากรณ์อะไรจะผิดพลาดได้ เพราะกิเลสเข้ามาบังจิตเสีย ที่เรียกกันว่า นิวรณ์ ๕ เราก็ต้องดูว่า นิวรณ์ ๕ นั้น ข้อไหนที่มาสิงสู่ใจของเรา ข้อดีของทิพยจักขุญาณ รับรู้จิตของตัวเอง ทำให้บรรลุมรรคผลได้ง่าย

    ทิพยจักขุญาณ จะดูกันให้แจ่มใสจริง ๆ ต้องทำจิตให้เข้าสู่อารมณ์วิปัสสนาญาณ การได้ทิพยจักขุญาณใหม่ ๆ ทำให้มีอุปาทานกันมาก รู้ผิดรู้ถูก เพราะอุปาทานเห็น อุปาทานนี้ก็ได้แก่ความยึดมั่น แปลง่าย ๆ ก็คือ ความชั่วของจิตนั่นเอง เป็นการยึดถืออารมณ์ หมายความถึง ยึดถือสัญญาเดิม ความจำ ไว้มากเกินไป ไม่ใช่ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ถ้าจิตยังเป็นอย่างนี้อยู่ พยายามเข้าฌาน ๔ ให้มาก ทรงฌาน ๔ ให้มาก เมื่อถอยหลังออกจากฌาน ๔ แล้ว ก็เข้าเจริญวิปัสสนาญาณ ชำระจิตให้ผ่องใส เมื่อจิตผ่องใสดีแล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่ ทำอย่างนี้สลับไปเรื่อย ๆ จนกว่าสภาพจิตจะแจ่มใส เมื่อจิตแจ่มใสดีแล้วก็คุมสภาวะไว้ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ อย่ายุ่งเรื่องของชาวบ้าน ระวังนิวรณ์ ๕ ประการอย่าให้กวนใจ จิตทรงพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้ ไม่ช้าก็จะถึงความดี

    ถ้าจิตของเราต้องดูให้แจ่มใส นี่คือ เจโตปริยญาณ ดูว่าสภาพของจิตเป็นยังไง สภาวะจริง ๆ เป็นคนอีกคนหนึ่ง เรียกว่า คนทิพย์ เป็นกายซ้อนกาย กายภายในเห็นกายในกายของพวกทิพยจักขุ ญาณวิชชาสาม เราอยากจะรู้เรื่องราวของคนอื่นบ้าง อยากจะรู้พอเห็นหน้าปั๊บ พอได้ยินชื่อปั๊บว่า คนคนนี้เขาดีหรือเขาไม่ดีตามเสียงที่ชาวบ้านว่า เราก็จงปลดอารมณ์นั้นเสีย กำหนดเห็นจิตของเขา รู้จิตของเขาเสียก่อน ถ้ารู้จิตของเราจนคล่องแล้วจิตของชาวบ้านก็รู้ไม่ยาก ง่ายกว่าจิตของเรา ดูจิตของเราผ่องใส ดูจิตของเขาปั๊บ นึกน้อมอารมณ์ให้เห็นจิตของเขา ถ้าเห็นจิตของเราได้ ก็เห็นจิตของเขาได้ เอาจิตของเราเป็นกสิณไปเลย ถ้าทำแบบนี้ก็เป็นวิญญานัญจายตนะฌานด้วย เป็นอรูปฌานไปในตัวเสร็จ เห็นจิตของเขาปั๊บ คนนี้มีกิเลสอะไร จิตสีอะไร กำลังดีใจ หรือมีความทุกข์ เขามีความทุกข์ ๆ เพราะอะไร ขอภาพนั้นจงปรากฎ

    อยากรู้ตัวจิต ดวงจิตเราเห็นแล้ว สภาพของจิต คือกายที่ซ้อนกายของเขา ว่า คนนี้หากว่าเขาตายเวลานี้เขาจะไปไหน ก็ดูสภาพของเขาคือ กาย ในกายที่มันซ่อนอยู่กายอยู่ ถ้าเขาจะไปเกิดเป็นพรหม ภาพพรหมก็ปรากฎ ถ้าจะไปเกิดเป็นเทวดา ภาพเทวดาก็ปรากฎ ถ้าไปเกิดเป็นเปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน ภาพนั้น ๆ ก็ปรากฎ คนที่ได้ฌานเราจะรู้ได้ยังไง เราก็เอากำลังฌานของเราเป็นเครื่องวัด ว่าฌานของเราสูงกว่าหรือเสมอเขา ถ้าฌานของเราไม่แค่เขาเราก็รู้ของเรา เลยไปนั้นเรารู้ไม่ได้ ถ้าเราไม่เป็นพระอริยเจ้า เราจะรู้เรื่องราวของพระอริยเจ้าไม่ได้เลย อย่าไปวัดกับท่านที่มีคุณธรรมสูงกว่า จะเป็นกรรมหนัก

    ปุพเพนิวาสนุสติญาณ การระลึกชาติได้ วิธีคือ เข้าฌาน ๔ แล้วก็ถอยหลังมาถึงอุปจารสมาธิ เพ่งภาพกสิณแล้วก็เข้าฌาน ๔ ใหม่ แล้วถอยหลังออกมา แล้วก็ให้นึกถึงวันเวลาที่ผ่านมาเมื่อวานนี้ เมื่อวานซืน เมื่อวันก่อน ปีก่อน ชาิตก่อน เป็นลำดับไป แล้วก็จะรู้เองระลึกชาติหนหลังได้ แต่ผู้ที่ได้ทิพยจักขุญาณแจ่มใส ทรงฌาน ๔ ได้แล้ว ไม่ต้องฝึก ปุพเพนิวาสานุสติญาณ การระลึกชาติได้มันปรากฎเอง

    อดีตังสญาณ เรื่องราวในอดีต เรื่องราวในอดีตนี้ หมายความถึง คนอื่นและสถานที่ ว่าความเป็นมาเขายังไง ในชาตินี้และชาติก่อน ก็ใช้ทิพยจักขุญาณ

    อนาคตัง ความเป็นไปในอนาคต ทั้งส่วนตัวของเราและบุคคลอื่น สัตว์และสถานที่

    ปัจจุบันนังสญาณ เวลานี้ใครอยู่ที่ไหน กำลังทำอะไร อยู่ใกล้หรือไกล อยู่คนมากหรือน้อย มีความสุขหรือความทุกข์

    ยถากัมมุตาญาณ รู้กฎของกรรม คนหรือสัตว์ในปัจจุบัน เพราะอาศัยกรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศลอะไรในชาติก่อน หรือในชาตินี้ให้ผล คนที่ตายไปแล้วมีความสุขหรือความทุกข์อย่างใด อาศัยกรรมอะไรให้ผล

    ญานต่าง ๆ เป็นเครือของทิพยจักขุญาณ โดยเจริญมหาสติปัฏฐานสูตรในกายานุปัสสนามหาสติปัฏฐานข้อต้น เรียกว่า อานาปานบรรพ แล้วก็สามารถดัดแปลงให้เป็นวิชชาสามได้ ดูสิว่า ที่เรามา มีอะไรติดตัวมา เอาจิตมา จิตที่เป็นนามธรรมคือ กายที่เป็นนามธรรม มาสิงอยู่ในร่างกายในชาตินี้ ชาติก่อน ๆ เคยเป็นกษัตริย์ เป็นเศรษฐี เป็นยาจก ก็กลายมาเป็นยาจก มาเป็นเศรษฐีกันได้ ว่าเป็นอนัตตา เป็นอนุตตาจริงหรือไม่จริงเพียงใด ก็ถอยไปดูสภาพในชาติก่อน ๆ พิจารณาไปก็แลเห็นความจริง ว่าจริงไหม เราเกิดมาทิ้งร่างกายของเรามานับไม่ถ้วน เป็นคนเท่าไหร่ เป็นสัตว์เท่าไหร่ มีความสุขความทุกข์กันมาเท่าไหร่ เราทำอะไรก็ทำเพื่ออยู่แต่เราก็ไม่สามารถอยู่ได้ เมื่อเห็นจริงอย่างนี้แล้ว จิตใจเลื่อมใสในคำสอน ปฏิบัิติเรื่อย ไป ในไม่ช้าสังโยชน์ ๓ สังโยชน์ ๕ สังโยชน์ ๑๐ ซึ่งเป็นคุณธรรมของพระอริยเจ้าก็สามารถกำจัดเสียได้



    ***เปลี่ยนบรรยากาศ คัดมาบางตอน อ่านประดับความรู้***​
     
  6. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตนำการบ้านลูกศิษย์มาให้ได้โมทนาบุญกันอีกแล้วจ้า...ท่านนี้หลังจากไปร่วมบุญถวายสังฆทาน ณ วัดท่าซุง กับ ชาวคณะสมาคมจิตเกาะพระมาแล้ว ได้รับพลังบุญ พลังพุทธะบารมีจากท่านพ่อ และหลวงพ่อ มามากโขเลยค่ะ กลับมาคราวนี้ จิตท่านเดินมรรคไปโล้ดๆ เร็วมาก จิตออกมาวิปัสสนาใหญ่เลยจ้า...ม้ามืดตัวจริงมาแล้วววว...สาธุๆๆ..:cool::cool::cool:

    วันนี้ตื่นนอนก็ยังมีความคิดอีกแต่ก็ดึงสติให้มาอยู่กับพระตลอด ช่วงอาบน้ำก็พิจารณาเกี่ยวกับความสกปรกของร่างกายความไม่สะอาดของมัน ช่วงทานข้าวเช้าก็พิจารณาว่าอาหารที่กินนี้กินเพื่อบรรเทาโรคหิวเท่านั้น ไม่ว่าจะกินดีไม่ดีสุดท้ายมันก็เสื่อมก็ตายไม่เที่ยงแท้แน่นอน มีแค่เกิดขึ้น อยู่แล้ว ก็ดับไป ช่วงเช้ามีเรื่องยุ่งๆ ผมก็เอามาพิจารณาว่าการที่เราต้องทำงานนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราต้องการเงินเพื่อเอาเงินนั้นไปซื้ออาหารหาของบำรุงบำเรอใส่ตัว เราต้องทุกข์เพราะตัองเหนื่อยเพราะการทำงานเพื่อหาเลี้ยงร่างกายนี้มากี่ภพกี่ชาติแล้ว ช่วงพักกลางวันผมมานอนพักแล้วพิจารณามองดูร่างกายที่มีแต่ของสกปรก ช่วงทำงานช่วงบ่ายได้เอาถุงทุกข์ที่ครูให้มาฟังตอนทำงานแล้วค่อยๆ คิดตามไปด้วยพอจบผมก็ใช้พิจารณามาเรื่อยแต่มันวนมาพิจารณาเรื่องความไม่เที่ยงของร่างกายที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พิจารณาจบ ผมก็ดูอารมณ์จิตต่อ รู้สึกว่าอารมณ์จิตมันเบาสบายมากๆ ชุ่มๆ โล่งคล้ายคนดีใจแล้วสังเกตุว่าปากมันยิ้มเองนิดๆ ตลอดผมไม่ได้ไปบังคับให้มันยิ้มนะครับ พอนึกถึงพระมันรู้สึกตื้นตันใจอย่างไรบอกไม่ถูกครับมันเหมือนดีใจแล้วน้ำตาจะซึมๆครับ(สงสัยใกล้บ้าแล้วมั่งครับ เฮอ เฮอ เฮอ) วันนี้มีอารมณ์ไม่พอใจกับเพื่อนร่วมงานเกิดขึ้นผมก็ตามดูมันจนดับมันเกิดแค่แป็บเดียว ผมก็ใช้สติตามดูอีกทีให้แน่ใจ แล้วมันเหมือนรู้สึกเห็นว่าอารมณ์นี้เหมือนกลุ่มหมอกควันที่เกิดขึ้้นแล้วมันก็ค่อยๆ จางหายแล้วก็เหลือแต่ความว่างเปล่าครับ ช่วงเย็นจู่ๆ ก็นึกถึงเรือ่งๆ หนึ่งที่ผมเคยฟังมานานแล้วว่าร่างกายเหมือนเสาวิทยุ จิตเหมือนเครื่องรับ กิเลสก็เหมือนคลื่นวิทยุผมก็เลยพิจารณาต่อว่าถ้าวิทยุไม่มีเสาก็รับคลื่นไม่ได้ แล้วถ้าจิตนี้ไม่มีร่างกายแล้วกิเลสมันมาจะจากไหน ตอนเย็นก่อนเซ็นชื่อเลิกงานผมก็ไปนั่งที่ริมสระบัวแล้วพิจารณาบัวที่เพิ่งเกิด ที่ตั้งอยู่ระหว่างที่ตั้งอยู่ต้องเจอแดด เจอปลากัดกิน แล้วก็แห้งตายมาเทียบกับร่างกายผมที่มีสภาพที่ไม่แตกต่างกันที่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ระหว่างที่ตั้งอยู่มีทุกข์อะไรบ้าง สุดท้ายร่างกายนี้ก็ต้องตายลงไป กลับมาห้องพักดูทีวีครู่หนึ่งก็ทำงานต่อแล้วเปิดวิทยุฟังเทศน์หลวงตามหาบัวไปด้วยพอดีหลวงตาเทศน์เรื่องอสุภะพอดีผมเลยได้พิจารณาไปด้วย ส่วนภาพพระผมจับอยู่เป็นช่วงตลอดบางครั้งพอเพ่งสติมากๆ ก็จะรู้การขยับของร่างกายหรือลมหายใจไปด้วย (ตอนนี้พยายามจะให้สติรู้อาการของร่างกายให้ได้ตลอดครับ)

    ผมนึกออกแล้วครับที่จะถามครูช่วงนี้ทำไม่ชอบรู้สึกปรามาสพระบ่อยครับแต่ทุกครั้งผมก็จะขอขมาทันที บางครั้งเดินๆ ไปมองดูคนมันเห็นอยู่ข้างในจิตเห็นเป็นโครงกระดูกแล้วก็ค่อยๆ สลายไปเหลือแต่ความว่างเปล่า บางครั้งก็เห็นเหลือแต่ดวงแสงขาวอมเหลืองๆ ลอยอยู่ ผมเลยใช้พิจารณาว่าไม่ว่าสูง ต่ำ ดำขาว หล่อ สวย รวย จนสุดท้ายก็ไม่แตกต่างกัน แล้วตอนนี้ทำไมพอพิจารณาเสร็จทำไมมันเหมือนจิตมันเบาๆ โล่งๆ มันทำให้ผมรู้สึกเหมือนไม่ได้พิจารณา เพราะเมื่อก่อนพอพิจารณาแล้วมันมีอารมณ์เหมือนเบื่อๆ เซื่องๆ ซึมๆ ไม่ค่อยอยากพูดกับใครครับ

    เกียรติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤษภาคม 2013
  7. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การปฏิบัติธรรม ถ้าผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ท่านทรงชี้บอกไว้แล้วนั้นก็จะเป็นผู้รู้เห็นตาม เพราะความจริงเป็นสิ่งอันประเสริฐที่ผู้ใดปฏิบัติตามแล้วต้องเห็นตาม เพราะกิเลสตัณหาที่เราๆท่านๆท่านมีอยู่ พอเราเห็นตามว่าเป็นของไม่ดีแล้วเราก็จะไม่เอา หรือหลี่กเลี่ยงหนีไป เหมือนเราเดินอยู่บนถนนพอเดินไปเห็นของสกปรกเราก็จะเดินหลี่กออกโดยเราผู้เห็นของสกปรกนั้นจะไม่เข้าไปเหยียบ เพราะจะทําให้ติดเท้าของเรา แล้วก็ต้องเสียเวลาไปล้างออกอีก จึงต้องหลี่กออกไปเสีย ก็เหมือนกันกับทางธรรมผู้ปฏิบัติพอเห็นสิ่งไหนเป็นภัยคือ กิเลสก็จะไม่ไปยุ่งกับมัน คือรู้ว่ามันไม่ดีนั้นเอง จึงต้องปฏิบัติจนเห็นว่าสิ่งไหนดี และสิ่งไหนเป็นของไม่ดีนั้นแหละ เพราะจะต้องเห็นด้วยปัญญาที่เราเฝ้าเพียรรักษาอยู่ตลอด คือใจมีสติรับรู้อยู่นั้นแหละ คือความเห็นที่ถูกต้องตามหลักธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านบอกไว้ คือสัมมาทิฏฐินั้นเอง...สาธุค่ะ
     
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ขออนุโมทนาสาธุ กับคุณเกียรติ ที่ท่านได้รับรู้อารมณ์ที่เห็นตามความเป็นจริงของสังขารร่างกายค่ะ ผู้จะเกิดอาการได้อย่างนี้ ก็คือ ผู้จะเริ่มเห็นแสงสว่างแห่งธรรม และจิตเริ่มรับรู้ธรรม คือนํ้าดับทุกข์ค่ะ ขอให้การปฏิบัติของท่านจงเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้นไป และขออนุโมทนาสาธุ กับครูเกษ ที่ท่านได้มีความพยยาม ที่จะอบรมความรู้ ที่ท่านได้รับรู้มาจากพระพุทธเจ้าเพื่อพาดวงจิตของผู้เป็นศิษย์ให้หลุดพ้นไปได้ ขอให้ท่านจงเป็นผู้เจริญยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ นิพพานัง ปรมัง สุขัง เทอญ
     
  9. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    ขอให้พวกเจ้าหาความปกติให้พบ พบแล้วให้วางในปกตินั้น ๆ จิตจักเบาบาง สบายจากอารมณ์กระทบทั้งปวง จะหมั่นเพียรขยันปฏิบัติสมณธรรมให้มาก ๆ คำนินทาและสรรเสริญ ใด ๆ เกิดกับพวกเจ้า ขอจงมองเห็นไตรลักษณ์ที่เกิด-ดับแห่งโลกธรรมนั้นว่าเป็นปกติของโลก เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป หาสาระธรรมอันใดมิได้ จงหมั่นตระหนักถึงกฏของกรรมเข้าไว้ ไม่ต่อกรรมไปในกาย-วาจา-ใจของตนอีก กฏของกรรมเที่ยงเสมอ ใครทำใครได้ กรรมใครกรรมมัน อย่าเอาแต่ท่องจำ รู้แล้วต้องหมั่นนำมาปฏิบัติให้เกิดผลด้วย ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง ความตายเป็นของเที่ยง ความจริงของชีวิตมันเป็นอย่างนี้ จงอย่าประมาทก็แล้วกัน~

    ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น เล่มที่ ๑
    รวบรวมโดย : พล.ต.ท. นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน

    พระราชพรหมยานมหาเถระ
    หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
     
  10. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    นิสัยดังเดิม หรือ นิสัยเก่าที่ติดตัวออกมานั้นก็เปรียบเหมือนวัว ที่รออยู่ปากคอกที่จะรอออกอยู่เป็นถ่ายเดี่ยว พอเปิดคอกก็จะออกอย่างรวดเร็ว เหมือนกิเลสที่ติดแนบมากับเรา ก็มีแต่จะแสดงออกมาทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นแหละ พอมีอะไรมากระทบหน่อยจิตก็จะกระเพื้อม คือ วิ่งไปตามกระแสของกิเลสนั้นๆที่มาสัมผัส เพราะกิเลสก็เหมือนเป็นนิสัยดังเดิมที่ติดตามมาอยู่แล้ว ก็เป็นการง่ายที่จะติดเชื่อต่ออย่างรวดเร็ว ก็มีแต่สติเท่านั้นที่เราจะหยุดยั้งกิเลสไว้ได้ ต้องใช้สติ สมาธิ ปัญญา เป็นขั้นๆที่เกิดจากการปฏิบัติ หรือความเพีบรที่เรามีต่อความหลุดพ้น ที่จะปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า พระธรรมคําสั่งสอนของท่านนั้นแหละจึงจะไปได้...สาธุค่ะ
     
  11. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    .ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง จะหาความสุขในโลกนั้นไม่มี
    โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน​


    ::: เงินเหลือเท่าไหร่ยังรู้ ชีวิตเหลือเท่าไหร่ไม่รู้ :::

    “... มีโอกาสให้พึงประพฤติปฏิบัติธรรมให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง ก็อย่าให้หายใจทิ้งไปเสียเปล่า มีอายุขัยที่กินไปๆ หมดไปๆ จนอายุนั้นสั้นลงๆ เพราะเราไม่สามารถทราบได้ว่าอายุที่เหลือนั้นกี่ปี แต่เราสามารถทราบได้ว่าอายุที่หมดไปนั้นกี่ปี ที่เราเรียกว่า อายุสามสิบ สี่สิบ นั่นคือนับอายุที่หมดไปนั่นเอง พอใจอะไร? วันเกิดๆ เกิดแล้ว ครบวันเกิดๆ นั้นคือวันที่เราจะตายไวขึ้น ฉลองความตายของเราให้เร็วขึ้นนั่นเอง เพราะที่เราฉลองกันอายุครบสามสิบ ครบสี่สิบ ครบห้าสิบก็ตาม นั่นคืออายุที่เราใช้ไปทั้งหมด ให้พิจารณาดูว่าอายุที่เราใช้ไปทั้งหมดนั้น เป็นบุญเท่าไหร่ เป็นบาปเท่าไหร่ เป็นประโยชน์เท่าไหร่ เป็นโทษเท่าไหร่ ให้มานั่งคิดอย่างนี้เสียดีกว่าในวันเกิด และวันข้างหน้า อายุที่เหลือไม่มีใครทราบได้ว่าเหลือเท่าไหร่?

    เรามีเงินหนึ่งร้อย ใช้ไปสิบบาท ก็ยังรู้ได้ว่าเหลือเก้าสิบบาท ใช้ไปสิบบาท แต่นี่อายุของเราใช้ไปเท่าไหร่ก็ไม่ทราบว่าเหลือเท่าไหร่ แต่ทราบว่าใช้ไปเท่าไหร่ ฉะนั้นน่าสลดสังเวชที่สุด อายุตัวเองก็ยังไม่ทราบว่าเหลือเท่าไหร่ เงินนี่ยังทราบได้ว่า เหลือเท่านั้นบาท หมดไปเท่านี้บาท อายุมนุษย์ของคนและสัตว์ทั้งหลายไม่ทราบว่าเหลือเท่าไหร่ ทราบแต่ว่าหมดไปเท่าไหร่นั้นเอง ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายจงอย่างเป็นผู้ประมาท จงเป็นผู้ตั้งอกตั้งใจเจริญทางด้านจิตตภาวนา เจริญทางด้านสติปัญญาของตนเพื่อเห็นตามความเป็นจริง ความเกิดของเราท่านทั้งหลายจะได้ไม่เป็นหมันในชาติปัจจุบันนี้เพราะพระพุทธศาสนายังมีความอิ่มสมบูรณ์อยู่ทางด้านมรรคผลนิพพาน ไม่ใช่คร่ำครึเก่าล้าสมัยว่าบัดนี้มรรคผล นิพพานไม่มี มีแต่ในสมัยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ยุคเรานี้ไม่มีมรรคผล นิพพานแล้ว อันนี้ไม่ถูก ตราบใดที่มีบุคคลปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดแล้ว ตราบนั้นพระอรหันต์จะไม่ว่างไปจากโลกอันนี้ ขอให้เชื่ออันนี้เพราะเป็นคำตรัสคำสอนของพุทธเจ้า นี้ของฝากแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายเห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติลงเพียงเท่านี้ ...”


    ที่มา ...FB ธรรมคำสอน หลวงพ่อ ครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน
     
  12. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    (อิทธิบาท...๔)

    ...คุณธรรมที่นำสู่ความสำเร็จ...

    ๑. ฉันทะ - ความพอใจ...ใฝ่ใจรักและทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ...

    ๒. - วิริยะ - ความเพียร...ขยันมั่ประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม...

    ๓. จิตตะ - ความคิด ...คือตั้งใจรับรู้ในสิ่งที่ทำ...

    -และทำสิ่งนั้นด้วยจิตฝักใฝ่...ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป...

    -๔. วิมังสา - ความไตร่ตรอง...ใช้ปัญญาใคร่ครวญ...

    ...ตรวจหาเหตุผลและตรวจสอบ...

    ...ข้อยิ่งหย่อนในสิ่งที่ทำนั้นๆ...

    ...คัดจากหนังสือยกระดับชีวิตด้วยธรรม...
     
  13. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    สวัสดี ทุกท่านครับ ไม่ได้เข้ามาซะนาน ยังพิมพ์กันยาวๆ เหมือนเดิม อ่านแล้ว ชวนง่วงเลย ครับ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การสร้างบุญ/บารมี
    ขอให้พวกเราบำเพ็ญบุญบารมีให้ครบทั้ง ทาน ศีล ภาวนา
    สำหรับเรื่องทานบารมี จะได้ผลบุญมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ ประการนี้ก็คือ
    ๑.วัตถุทานหรือทรัพย์ต้องบริสุทธิ์ คือการได้มาต้องบริสูทธิ์หรือไม่เบียดผู้อื่น
    ๒.เจตนา คือทั้งก่อน/กำลัง/หลังของการให้ทานและจะต้องเพื่อขจัดกิเลสโลภตน
    ๓.เนื้อนาบุญ คือผู้ที่รับทานจากเรา
    เช่น ถ้าเราให้ทานแก่ผู้ที่มีศีลและธรรมสูง ย่อมได้อานิสงส์มากกว่าผู้ที่ไม่มีศีลและไม่มีธรรม

    เพราะฉะนั้นเรื่องทานบารมีโดยเฉพาะจิตบุญ ทำบุญจะต้องด้วยปัญญา(อย่าไปทำบ้าบุญ)
    นับตั้งแต่การให้ทานต่ำสุดก็คือ..
    ๑.สัตว์เดรัจฉาน ๒.ผู้ที่ไม่มีศีล ๓.ผู้ที่มีศีลตั้งแต่ศีล๕ ๔.ศีล๘(เนกขัมมะ/ชี) ๕.ศีล๑๐(เณร)
    ๖.สมมุติสงฆ์ ๗.พระโสดาบัน ๘.พระสกิทานามี ๙.พระอนาคามี ๑๐.พระอรหันต์
    ๑๑.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า ๑๒.พระพระพุทธเจ้า ๑๓.วิหารทาน ๑๔.ธรรมาทาน ๑๕.อภัยทาน

    การสร้างบารมีทานทำได้ง่าย(๑-๑๔) ยกเว้นอภัยทาน เพราะผู้ที่จะให้อภัยทานนั้น มิใช่เรื่องง่ายๆ
    แต่จะทำได้ง่ายสำหรับผู้ที่มีทรงจิตเป็นพรหมวิหาร๔ เท่านั้น

    ***ลองถามใจของตนเองสิว่า..เราให้อภัย โดยเฉพาะศัตรูหรือผู้ที่เห็นต่างกับตนเองได้หรือไม่
    แต่ถ้าจิตทรงวิหาร๔(ครบ)ก็ให้อภัยได้ง่าย โดยมิต้องไปเสียเวลาคิด
    แต่ถ้าผู้ใดบอกว่า..จิตมันปิด นั่นแสดงว่าอะไร? แปลว่าจิตมันไม่ยอมรับ/ไม่ยอมให้อภัยนั่นเอง
    เพราะคำว่า"พรหมวิหาร"แปลว่า จิตเป็นพรหม มิใช่จิตมนุษย์
    ส่วนจิตเทวดาก็แค่มี"หิริ-โอตตัปปะ"เท่านั้นก็พอ

    คำว่า"ธรรมาทาน"มีอานิงส์มาก ก็คือชนะการให้ทั้งปวง
    แต่ก็ยังมีคำว่า "อภัยทาน" ซึ่งมีอานิสงส์มากกว่าบารมีธรรมาทาน
    เหนือฟ้ายังมีฟ้าหรือมีผลบุญมากกว่านี้อีกนั่นก็คือ ศีลบารมี หรือการรักษาศีลของตน
    แต่ยังมีมากกว่านี้อีกก็คือ ภาวนาบารมี หรือการปฎิบัติธรรม(สมถ+วิปัสสนา)
    มีโอกาสเปลี่ยนดวงจิตใหม่ คือเปลี่ยนจากจิตที่เคยเต็มไปด้วยอวิชชาหรือความหลงมานาน
    นับภพชาติไม่ถ้วนได้มีโอกาสกลับเป็นคนดีได้ คือมีดวงตาเห็นธรรม
    หรือเห็นความเป็นไป เป็นมาของชีวิตของคนเรา

    โดยเฉพาะนักปฎิบัติธรรมจะต้องเจริญบารมีให้ครบทั้ง ๑๐ ทัศ เป็นอย่างต่ำ
    แต่ถ้าผู้ใดที่มีกำลังใจมากหน่อย ก็เจริญให้สูงยิ่งขึ้นไปอีกก็คือ บารมี ๓๐ ทัศ
    เพราะคำว่า"บารมี" แค่กำลังใจเบื้องต้นเท่านั้น เบื้องกลางคือ"อุปบารมี"
    ส่วนเบื้องสูงสุดก็คือ"ปรมัตถบารมี"
    สำหรับคำว่า"บารมี" ทำแค่บริจาคทรัพย์ภายนอกหรือสละความรักความห่วงใยของมนุษย์ทั่วไป
    สำหรับคำว่า"อุปบารมี" สละอวัยวะร่างกาย ด้วยกำลังสมาธิหรือฌาน
    แต่คำว่า"ปรมัตถบารมี" สามารถสละได้กระทั้งชีวิต ด้วยอริยมรรค เห็น/เข้าใจอริยสัจ๔หมด
    นักภาวนาทั้งหลายลองตรวจตราบารมีของตนครบ ๑๐ ทัศไหม
    สำหรับผู้ที่มอบกายถวายชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนา นั่นก็แสดงว่ากำลังบำเพ็ญปรมัตถบารมี

    ปล. ผิดถูกอย่างไร ขอให้ผู้รู้ร่วมกันแชร์ด้วยครับ จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง


    บารมี ๓๐ ทัศ
    [ame]www.youtube.com/watch?v=QXsOAsJc8nU[/ame]​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 พฤษภาคม 2013
  15. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุ
    นี่ยังดีนะคุณเจตน์ อ่านแค่ง่วง ถ้าฟังเทศน์คุณไม่หลับคาธรรมาสน์เลยหรอนี่
    เพราะมีจิตบุญเคยหลับคาธรรมาสน์ไปแร๊ะ เอิ๊กๆๆ (ผลัดกันเทศน์)
     
  16. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    น้องเกียรติ ศิษย์ครูเกษ จิตเธอน่ารักมาก ๆ ค่ะ
    เธอพาครอบครัวมาวัดท่าซุง..ทั้งบ้าน
    ภรรยา ลูกสาว 2 คน แม่ภรรยารวม 5 คน
    เธอไม่ทราบว่าครูเกษอยู่แคนาดาค่ะ
    จิตน้องเกียรติดีมาก หน้าตายิ้มแย้มผ่องใส..
    โมทนากับครูเกษ และศิษย์ด้วยนะคะ..
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    อ่านแล้ว ชวนง่วง

    ************************************
    ใช่ค่ะ กระทู้นี้ขาดรสอะไรสักอย่าง เงียบกริบ ไม่มีเสียงพูดคุยกันเลย เลยเอานี่มาแถมหน่อยค่ะ
    แก้ง่วงค่ะน้อง Jate

    rabbit_sleepy
    Elvis Presley Jailhouse Rock 1957 colour
    https://www.youtube.com/watch?v=tpzV_0l5ILI
    ************************************
    Michael Jackson - Beat It
    https://www.youtube.com/watch?v=6B2wtC91_0U
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    แถมอีกรสนึงค่ะ
    Pachelbel - Canon In D Major. Best version.
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=NlprozGcs80]Pachelbel - Canon In D Major. Best version. - YouTube[/ame]
    ********************************
    Great composer now decomposing !
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    Princess Ninja;aa51 หายไปใหนน้อblack_pig ขอเก้าอี้ตัวนึงค่ะ ให้ท่าน อ ภู นั่ง ท่านก็แวปไปแวปมาเหมือนน้องเลย สงสัยโรคติดต่อมาจากน้องพอใจcatt3
     
  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,936
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    วิธีแก้นิมิต
    โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
    วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
    ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่างๆ มาปรากฏในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกใจประหม่ากระดากและอย่าทำความกลัวจนเสียสติและอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ

    นิมิตทั้งหลายไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่าเป็นเงาๆ พอให้เห็นปรากฏแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ

    นิมิตที่ปรากฏนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑

    นิมิตที่ปรากฏเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี เรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัวฯ

    นิมิต ที่ปรากฏเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้วย่อมไม่กลัว ยิ่งเป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียว และน้อมเข้ามาพิจารณาภายในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิมีกำลังยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ

    มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ

    วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย

    คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไรๆ มาปรากฏ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไปตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป จะเป็นความคิดผิดที่เรียกว่า จิตวิปลาส แปลว่า ความคิดเคลื่อนคลาด แปลกประหลาดจากความจริง นิ่งอยู่ในสมาธิไม่ได้ ให้บังเกิดเป็นสัญญา ความสำคัญผิดที่เรียกว่า สัญญาวิปลาส แปลว่า หมายมั่นไปตามนิมิตเคลื่อนคลาดจากจิตผู้เป็นจริงทั้งนั้น จนบังเกิดถือทิฎฐิมานะขึ้นที่เรียกว่า ทิฎฐิวิปลาส แปลว่า ความเป็นเคลื่อนคลาดจากความเป็นจริง คือเห็นไปหน้าเดียว ไม่แลเหลียวดูให้รู้เท่าส่วนในส่วนนอก ชื่อว่าไม่รอบคอบ เป็นจิตลำเอียง ไม่เที่ยงตรง

    เมื่อรู้เช่นนี้จึงไม่ควรส่งจิตไปตาม เมื่อไม่ส่งจิตไปตามนิมิตเช่นนั้นแล้ว ก็ให้คอยระวังไม่ให้จิตเป็นตัณหาเกิดขึ้นคือ ไม่ให้จิตดิ้นรนยินดีอยากเห็นนิมิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นก็ดี หรือยินร้ายอยากให้นิมิตนั้นหายไปก็ดี หรือแม้ไม่อยากพบไม่อยากเห็นซึ่งนิมิตที่น่ากลัวก็ดี ทั้ง ๓ อย่างนี้ เรียกว่า ตัณหา ถ้าเกิดมีในจิตแต่อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ก็ให้รีบระงับดับเสีย คือถอนความอยาก และความไม่อยากนั้นออกเสีย

    เมื่อ นิมิตมีมา ก็อย่ายินดี เมื่อนิมิตหายไป ก็อย่ายินร้าย หรือเมื่อนิมิตที่น่ากลัวมีมาก็อย่าทำความกลัว และอย่าทำความคดโกง อยากให้หายไปก็ไม่ว่า ไม่อยากให้หายไปก็ไม่ว่า อยากเห็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเห็นก็ไม่ว่า ให้เป็นสันทิฏฐิโก คือ เห็นเอง อยากรู้ก็ไม่ว่า ไม่อยากรู้ก็ไม่ว่า ให้เป็นปัจจัตตัง รู้จำเพาะกับจิต ตั้งจิตไว้เป็นกลางๆ แล้วพึงทำความรู้เท่าอยู่ว่าอันนี้เป็นส่วนจิต อันนั้นเป็นส่วนนิมิต แยกส่วนแบ่งส่วนตั้งไว้เป็นคนละอัน รักษาเอาแต่จิตกำหนดให้ตั้งอยู่ เป็นฐีติธรรมเที่ยงแน่ว ทำความรู้เท่าจิตและนิมิตทั้งสองเงื่อน รักษาไม่ให้สติเคลื่อนคลาดจากจิต ทั้งไม่ให้เผลอสติได้เป็นดี

    “สติมา” ชื่อว่าเป็นผู้มีสติ “วิเนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ” และโทมนัสในโลกเสียได้แล้ว ก็เป็นผู้ตั้งอยู่ในวินัย เมื่อประกอบข้อปฏิบัติอันนี้อยู่อย่างนี้ สติก็ตั้งมั่น จิตก็ตั้งมั่นประชุมกันเป็นสมาธิดังนี้ เรียกว่า ญาตปริญญา แปลว่า รู้เท่าอารมณ์ฯ

    วิธีที่ ๒ ตรวจค้นปฏิภาคนิมิต

    คือ เมื่อเห็นว่าจิตมีกำลังประชุมกันอยู่เป็นปึกแผ่นแน่นหนาดีแล้ว พึงฝึกหัดปฏิภาคนิมิตให้ชำนาญ คือ เมื่อเห็นรูปนิมิตมาปรากฏในตาในจิต เห็นเป็นรูปคน เด็กเล็ก หญิงชาย หนุ่มน้อย บ่าวสาว หรือแก่เฒ่าชรา ประการใดประการหนึ่งก็ตาม แสดงอาการแลบลิ้นปลิ้นตา หน้าบิดตาเบือน อาการใดอาการหนึ่งก็ตาม ให้รีบพลิกจิตเข้ามากลับตั้งสติ ผูกปัญหาหรือทำในใจก็ได้ว่า รูปนี้เที่ยงหรือไม่เที่ยง จะแก่เฒ่าชราต่อไปหรือไม่

    เมื่อนึกในใจกระนี้แล้วถึงหยุด และวางคำที่นึกนั้นเสีย กำหนดจิตพิจารณานิ่งเฉยอยู่ จนกว่าจะตกลงและแลเห็นในใจว่า เฒ่าแก่ชราได้เป็นแท้ จึงรีบพิจารณาให้เห็นแก่เฒ่าชราหลังขดหลังโขสั่นทดๆ ไปในขณะปัจจุบันทันใจนั้น แล้วผูกปัญหาถามดูทีว่า “ตายเป็นไหมเล่า”

    หยุด นิ่งพิจารณาอยู่อีก จนกว่าจะตกลงเห็นในใจได้ว่า ตายแน่ตายแท้ไม่แปรผัน จึงรีบพิจารณาให้เห็นตายลงไปอีกเล่า ในขณะปัจจุบันทันใจนั้น “เมื่อตายแล้วจะเปื่อยเน่าตายทำลายไปหรือไม่” หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก “จนกว่าจิตของเราจะตกลงเป็นว่า เปื่อยเน่าแตกทำลายไปหรือไม่” หยุดนิ่งพิจารณาเฉยอยู่อีก จนกว่าจิตของเราจะตกลงเห็นว่า เปื่อยเน่าแตกทำลายไปได้แท้แน่ในใจฉะนี้แล้ว ก็ให้รีบพิจารณาให้เห็น เปื่อยเน่า แตกทำลาย จนละลายหายสูญลงไป เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ ไปตามธรรมดา ธรรมธาตุ ธรรมฐีติ ธรรมนิยาม

    แล้วพลิกเอาจิตของเรากลับ ทวนเข้ามาพิจารณากายในกายของเราเอง ให้เห็นลงไปได้อย่างเดียวกัน จนกว่าจะตกลงและตัดสินใจได้ว่าร่างกายของเรานี้ ก็แก่เฒ่าชรา ทุพพลภาพแตกตาย ทำลาย เปื่อยเน่าไปเป็นเหมือนกัน แล้วรีบตั้งสติพิจารณาเห็นเป็นแก่เฒ่าชราดูทันที และพิจารณาให้เห็นตายลงไปในขณะปัจจุบัน แยกส่วนแบ่งส่วนออกดูให้เห็นแจ้งว่า หนังเป็นอย่างไร เนื้อเป็นอย่างไร กระดูกเป็นอย่างไร ตับไตไส้พุงเครื่องในเป็นอย่างไร เป็นของงามหรือไม่งาม ตรวจดูให้ดีพิจารณาให้ละเอียดจนกว่าจะถอนความยินดียินร้ายเสียได้ แล้วพิจารณาให้เห็นเปื่อยเน่าผุพังลงถมแผ่นดินไป ภายหลังกลับพิจารณาให้เห็นเป็นคืนมาอีก

    แล้วฝึกหัดทำอยู่อย่างนี้จน กว่าจะชำนาญ หรือยิ่งเป็นผู้มีสติได้พิจารณาให้เนื้อ หนัง เส้น เอ็น และเครื่องในทั้งหลาย มีตับ ไต ไส้ พุง เป็นต้น เปื่อยเน่าผุพังลงไปหมดแล้ว ยังเหลือแต่ร่างกระดูกเปล่า จึงกำหนดเอาร่างกระดูกนั้นเป็นอารมณ์ทำไว้ในใจ ใคร่ครวญให้เห็นแจ้งอยู่เป็นนิจ จนกว่าจะนับได้ทุกกระดูกก็ยิ่งดี เพียงเท่านี้ก็เป็นอันแก้นิมิตได้ดีทีเดียวฯ

    คราวนี้ถึงทำพิธีพิจารณาเป็น อนุโลม ถอยขึ้นถอยลง คือตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดีแล้ว เพ่งพิจารณาให้เห็นผมอยู่บนศีรษะมีสีดำ สัญฐานยาว ก็จะหงอกขาวลงถมแผ่นดินทั้งนั้น และพิจารณาให้เห็นขนซึ่งเกิดตามชุมชนตลอดทั่วทั้งกายนอกจากฝ่ามือฝ่าเท้า ก็จะลงถมแผ่นดินเหมือนกัน

    พิจารณาเล็บที่อยู่ปลายนิ้วเท้า นิ้วมือ ให้เห็นเป็นของที่จะต้องลงถมแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น

    พิจารณาฟันซึ่งอยู่ในปากข้างบน ข้างล่าง ให้เห็นแจ้งว่าได้ใช้เคี้ยวอาหารการกินอยู่เป็นนิจ แต่ก็จะต้องลงถมแผ่นดินเหมือนกัน

    คราว นี้พิจารณาหนังเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหลังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ ยังชีวิตนี้ให้ตั้งอยู่ได้แล้วเป็นไป ถ้าถลกหนังนี้ออกหมดแล้วก็ต้องตาย ตายแล้วต้องถมแผ่นดิน พิจารณาเห็นความจริงฉะนี้

    แล้วเลิกหนังออกวางลงไว้ที่พื้นดิน พิจารณาเส้นเอ็นให้เห็นแจ้งว่า เส้นเอ็นทั้งหลายรัดรึงกระดูกไว้ให้ติดกันอยู่ เมื่อเลิกเส้นเอ็นนี้ออกหมดแล้ว กระดูกก็จะหลุดจากกัน ผุพังลงถมแผ่นดินทั้งสิ้น

    แล้วกำหนดเลิกเส้นเอ็นนี้ออกเสีย กองไว้ที่พื้นดิน พิจารณาร่างกระดูกให้เห็นแจ้งว่า กระดูกในร่างกายนี้มีเป็นท่อนๆ เบื้องต่ำแต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไป เบื้องบนแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นมา เห็นได้กระจายสมควร

    แล้วเพ่งเล็ง พิจารณาดูเครื่องในทั้งหลาย ให้เห็นว่า ปอดอยู่ที่ไหน ม้ามอยู่ที่ไหน ดวงหฤทัยอยู่ที่ไหน ใหญ่น้อยเท่าไร เห็นตับไต ไส้พุง อาหารใหม่ อาหารเก่า เป็นอย่างไร อยู่ที่ไหน มีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร มีสีสันวรรณะเป็นไฉน เครื่องในทั้งปวงนี้ เป็นที่ประชุมแห่งชีวิตก็จริง แต่ก็จะต้องถมแผ่นดิน เมื่อพิจารณาเห็นฉะนี้แล้วจึงกำหนดให้ขาดตกลงไปกองไว้ที่พื้นดิน ยังเหลือแต่ร่างกระดูก

    จึงพิจารณาดูกระดูกกระโหลกศีรษะเป็นลำดับลงมา กระดูกคอ กระดูกแขน กระดูกหัวไหล่ กระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กระดูกเอว กระดูกตะโพก กระดูกต้นขา กระดูกแข้ง กระดูกพื้นเท้า พิจารณาอย่างนี้เรียกว่า อนุโลมฯ

    คราวนี้พึงพิจารณาเป็น ปฏิโลม คือพิจารณาถอยกลับขึ้นเบื้องบนตั้งแต่กระดูกพื้นเท้าขึ้นไปตลอดถึงกระดูกกระ โหลกศีรษะ พิจารณาทบทวนกลับจากศีรษะถอยลงมาตรงหน้าอกนั้นให้มั่นคง ทำในใจว่า ร่างกายทั้งหมดนี้มีจิตเป็นใหญ่ ประชุมอยู่ที่จิต จึงกำหนดรวมจิตเข้าให้สงบ แลตั้งอยู่เป็นเอกัคคตา วิธีที่ ๒ นี้ เรียกว่า ตีรปริญญา แปลว่า ใคร่ครวญอารมณ์ฯ

    ขอ เตือนสติไว้ว่า ในระหว่างกำลังพิจารณาอยู่นั้น ห้ามไม่ให้จิตเคลื่อนจากที่คิด ระวังไม่ให้ส่งจิตไปตามอาการ จิตจะถอนจากสมาธิ ถ้าจิตถอนจากสมาธิเป็นใช้ไม่ได้ ข้อสำคัญให้เอาจิตเป็นหลัก ไม่ให้ปล่อยจิต ให้มีสติเพ่งเล็งให้รอบจิต พิจารณาให้รอบกาย รักษาใจไม่ให้ฟุ้ง จึงไม่ยุ่งในการพิจารณาฯ

    (อ่านต่อค่ะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 พฤษภาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...