พระคาถาธารณปริตรศักดิ์สิทธิ์ที่สุดจริงหรือเปล่าครับ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย noum77, 28 กรกฎาคม 2013.

  1. noum77

    noum77 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2010
    โพสต์:
    189
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +620
    พอดีมีคนเเนะนำให้ท่องคาถานี้ทุกวันครับครับว่าบอกว่าถ้าท่องทุกวันนี้ไม่ต้องกลัวอะไรเลย เเละ ปฏิบัติดีด้วยเค้าว่าจะทำให้ชีวิตเราดีวันดีคืนจริงหรือเปล่าครับ
     
  2. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    ความเป็นมาของพระคาถาธารณปริตร​

    เมื่อครั้งออกพรรษาปี 2526 พระป่ากรรมฐานรูปหนึ่งได้มีโอกาสออกวิเวก เจริญรุกขมูล ธุดงค์ทางภาคเหนือ และชายแดนฝั่งพม่า เขตติดต่อพรมแดนในแวดวงหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่าง ๆ นานเกือบ 3 เดือน ขณะปักกลดพักที่ดอยพระพุทธบาทห้วยต้น อ.ลี้ จ.ลำพูน ได้พบและปรึกษาธรรมปฎิบัติและอื่น ๆ กับพระอาจารย์รังสรรค์ โชติปาโล ซึ่งเพิ่งจะธุดงค์เดินป่ามาจากประเทศพม่าและได้จดจำเอา"พระคาถาธารณปริตร" จากวัดอรัญตะยา ในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่ามาด้วย เนื่องจากเห็นว่าเป็นบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณที่ในประเทศไทยเรายังไม่คุ้นเคย หรือมีปรากฎมาก่อน

    จะด้วยสาเหตุใดก็ตามที เมื่อพระป่ามาพบกันหลายองค์ที่จังหวัดลำพูน ก็ได้นำพระคาถาธารณปริตรบทนี้ ทำวัตรเย็นร่วมกัน ติดต่อกันอยู่ 5 วัน ก่อนทำเพียรภาวนาทุกค่ำคืน ได้ปรากฎเห็นหมู่เทวาอารักษ์ในนิมิตมาชุมนุมและร้องชมเชยสรรเสริญ ชื่นบาน ร่าเริงมาก ที่ได้ยินพระป่ากรรมฐานเจริญพระคาถาธารณปริตร อันทรงคุณเป็นเลิศนี้

    พระภิกษุกรรมฐานทั้ง 5-6 รูป ครั้นเจริญพระปริตรที่ห้วยต้น อ.ลี้ จ.ลำพูน ต่างได้เห็นนิมิตเทวาอารักษ์ ชื่นชมตรงกันทั้งสิ้น แม้จะน้อมนำทำน้ำพระพุทธมนต์โปรดหมู่ญาติโยมในที่ต่าง ๆ ก็ศักดิ์สิทธิ์เหลือประมาณ จึงได้พิจารณาเห็นว่า พระพุทธานุภาพของพระปริตรบทนี้ ทรงคุณเหลือประมาณ สมควรที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านจะได้นำไปสาธยายบูชาต่อไป

    อนึ่ง ข้าพเจ้าได้ทราบจากหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ว่า ผู้ที่สาธยายมนต์พระปริตรบทนี้ทุก ๆวันอย่างน้อยวันละ ๑ ครั้ง พร้อมกับเร่งบริจาคทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา จะสามารถรอดพ้นจากวิกฤติมหาอุบัติภัยโลกที่จะบังเกิด


    พระคาถาธารณปริตร

    น้อมรำลึกถึงพระปัญญาธิคุณ พระเมตตาธิคุณ พระมหากรุณาธิคุณ แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ โดยกล่าวคำนอบน้อมนมัสการคือ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ จบ

    ๑. พุทธานัง ชิวิตตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ อันตะราโย กาตุง ตถา เม โหตุ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง ปัจจุปันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต อัปปฏิหะตะญาณัง

    ๒. อิเมหิ ตีหิ ธัเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง

    ๓. อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ นัตถิ ธัมมะเทสนายะ หานิ นัตถิ วิริยัสสะ หานิ นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ นัตถิ สมาธิธัสสะ หานิ นัตถิ วิมุตติยา หานิ

    ๔. อิเมหิ ทะวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต นัตถิ ทะวา นัตถิ ระวา นัตถิ อัปผุฏฏัง นัตถิ เวคายิตัตตัง นัตถิ พะยาวะฏะมะโน นัตถิ อัปปฏิสังขารุเปกขา

    ๕. อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภะคะวะโต นะโม สัตตันนังสัมมาสัมพุทธัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ กายะทุจริตตัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ วจีทุจริตตัง นัตถิ ตะถาคะตัสสะ มโนทุจริตตัง นัตถิ อตีตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง นัตถิ อนาคตัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง นัตถิ ปัจจุปันนัง เส พุทธัสสะ ภะคะวะโต ปะฏิหะตะญาณัง นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง นัตถิ สัพพัง มะโนกัมมัง ญาณานุปุพพัง คะมัง ญาณัง นานุปริวัตตัง อิมัง ธาระณัง อะมิตัง อะสะมัง สัพพะสัตตานัง ตาณังเลณัง สังสาระ ภะยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง

    ๖. อิมัง อานันทะ ธาระณะปริตตัง ธาเรหิ วาเรหิ ปริปุจฉาหิ ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กะเมยยะ อุทะเกนะ ลัคเคยยะ อัคคีนะ ทะเหยยะ นานาภะยะวิโก นะ เอกาหาระโก นะ ทะวิหาระโก นะ ติหาระโก นะ จะตุหาระโก นะ อุมมัตตะกัง นะ มุฬะหะกัง มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา

    ๗. ตัง ธาระณัง ปริตตัง ยถา กะตะเม ชาโล มหาชาโล ชาลิตเต มหาชาลิตเต ปุคเค มหาปุคเค สัมปัตเต มหาสัมปัตเต ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

    ๘. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง สัตตังสะเตหิ สัมมาสัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง วัตเต อะวัตเต คันธะเว อะคันธะเว โนเม อะโนเม เสเว อะเสเว กาเย อะกาเย ธาระเณ อะธาระเณ อิลลิ มิลลิ ติลลิ มิลลิ โยรุกเข มหาโยรุกเข ภูตัง คะมะหิ ตะมังคะลัง

    ๙. อิมัง โข ปะนานันทะ ธาระณะปริตตัง นะวะ นะ วุติยา สัมมาสัมพุทธโกฏีหิ ภาสิตัง ทิฏฐิลา ทัณทิลา มันติลา โรคิลา ขะระลา ทุพพิลา เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา.

    คำแปลพระคาถาธารณปริตร

    ๑. อันชีวิตแห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย อันใคร ๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ฉันใด ขอชีวิตความเป็นอยู่แห่งข้าพเจ้า จงเป็นเหมือนเช่นกัน อันว่าญาณที่ไม่มีเครื่องกระทบของพระพุทธเจ้าผู้มีบุญมีย่อมมีในอดีต ในอนาคต ในปัจจุบัน

    ๒. อันว่ากายกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่าวจีกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ อันว่ามโนกรรมทั้งปวงของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรมทั้งหลายสามเหล่านี้มีญาณเป็นประธานเป็นไปตามญาณ

    ๓. อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของประโยชน์ที่ประสงค์ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๖ ประการเหล่านี้ อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของความเพียร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงของวิปัสสนาญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความเสื่อมถอยน้อยลงแห่งกามาวจรและรูปาวจรวิมุตติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๔. อันว่าการพูดเล่น ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบด้วยคุณธรรมทั้งหลาย ๑๒ ประการเหล่านี้ อันว่าการพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความไม่แพร่หลายในเญยยะธรรม ๕ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าการกระทำใด ๆ อย่างผลุนผลัน โดยไม่การพิจารณาเสียก่อน ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าความมีใจวุ่นวายด้วยกิเลส ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าการกระทำที่ไม่มีอุเบกขาในเตภูมิสังขาร ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    ๕. อันว่าความเคารพนอบน้อม ขอจงมีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ผู้ประกอบแล้วด้วยคุณธรรม ๑๘ ประการเหล่านี้ อันว่ากายทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อันว่าวจีทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อันว่ามโนทุจริต ย่อมไม่มีแด่พระตถาคต อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอดีต อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในปัจจุบัน อันว่าญาณ อันมีเครื่องกระทบขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีบุญ ย่อมไม่มีในอนาคต อันว่ากายกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่าวจีกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่ามโนกรรมทั้งปวง ไม่มีญาณเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามญาณ ย่อมไม่มีแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันว่า ธารณปริตร นี้ ไม่มีเครื่องเทียบ ไม่มีเครื่องเสมอเหมือน เป็นที่ต่อต้าน เป็นที่หลบซ่อนของสัตว์ผู้ที่กลัวภัยในสังสารวัฏทั้งหลาย อัคคัง ประเสริฐ มหาเตชัง มีเดชมาก

    ๖. ดูกรอานนท์ ท่านจงท่องจดจำ สอบถาม ซึ่งธารณปริตรนี้ อันว่ากายของผู้ท่องสวดมนต์ธารณปริตรนี้ ไม่พึงตายด้วยพิษงู พิษนาค ไม่พึงตายในน้ำ อันว่าไฟไม่พึงไหม้เป็นผู้พ้นภัยพิบัติต่าง ๆ ใครคิดทำร้ายในวันเดียวก็ไม่สำเร็จ ใครคิดร้ายทำลายในสองวัน สามวัน สี่วันก็ไม่สำเร็จ ไม่พึงเป็นโรคหลงลืม ไม่พึงเป็นบ้าใบ้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถเบียดเบียนได้

    ๗. อันว่าธารณปริตรนี้ มีความศักดิ์สิทธิ์ คือ ชาโล มีอานุภาพเหมือนพระอาทิตย์ ประชุมกัน ๗ ดวง ที่ขึ้นมาในเวลาโลกาพินาศ มหาชาโล มีอานุภาพเหมือนมุ้งเหล็ก ที่สามารถป้องกันภัยจาก เทวดา อินทร์ นาค ครุฑ ยักษ์ เป็นต้น ชาลิตเต มีอานุภาพประหารศัตรูทั้งหลาย มหาชาลิตเต มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป, สัตถันตรกัป และทุพภิกขันตรกัป มีอานุภาพให้พ้นจากโลกต่าง ๆ ในเวลาปฏิสนธิคือ การเป็นใบ้ เป็นพิการ เป็นคนหูหนวก อีกทั้งไม่พึงตกต้นไม้ ตกเหว ตกเขาตาย สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้มาแล้วก็จะเจริญขึ้นโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

    ๘. ดูกรอานนท์ อันธารณปริตร ซึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตรัสไว้พึงสมาคมคนดี ไม่พึงสมาคมคนชั่ว พึงนำมาซึ่งกลิ่นและรสอันเป็นธรรม พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจดี ไม่พึงน้อมนำมาซึ่งน้ำใจร้าย พึงทำกายให้เป็นกายดี พึงนำมาแต่สิ่งอันเป็นกุศล ไม่ถึงนำมาซึ่งสิ่งอันเป็นอกุศล พึงฟังแต่สิ่งที่ดีไม่พึงฟังสิ่งที่ไม่ดี พึงเห็นแต่นิมิตดี ไม่ถึงเห็นนิมิตร้าย โยรุกเข ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นขึ้นมาได้ มหาโยรุกเข ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ ก็ทำให้เจริญงอกงามโดยความเป็นจริง สามารถประหารความมืด แล้วได้ความสว่าง

    ๙. ดูกรอานนท์ อันธารณปริตรนี้ สามารถรู้ความคิดร้ายของผู้อื่น อาวุธต่าง ๆ มีเครื่องประหาร เช่น มีด หอก ปืน ไฟ เป็นต้น ไม่สามารถทำอันตรายได้ มันติลา สามารถทำน้ำมนต์คาถา ให้มีความศักดิ์สิทธิ์ขึ้น สามารถประหารโรคต่างได้ และโรคร้ายแรงต่าง ๆ ไม่อาจทำอันตรายได้ ทุพพิลา สามารถหลุดพ้นจากเครื่องผูกมัด ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้ ขอความสวัสดีมีชัยจงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อเถิด

    ที่มา : จากหนังสือสวดมนต์ ที่จัดพิมพ์แจกเป็นธรรมทาน


    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็สุดแท้แต่ผู้ใช้จะนำไปใช้และพิจารณาเอาเองเถิด ส่วนตัวข้าพเจ้าผู้นำมาโพสบอกกล่าวเป็นธรรมทานนั้น สวดพระคาถานี้ทุกวันเป็นประจำ อานุภาพใด ๆ จากพระคาถานี้จะบังเกิดก็สุดแท้แต่ผู้นั้นจะรู้สึกได้ด้วยตนเอง ทุกสิ่งเป็นปัจจัตตัง
     
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    การที่เราจะไม่กลัวอะไรนั้นมีมาจาก ๒เหตุ คือ ...

    ๑ ประมาท/กร่าง คิดว่าตนแน่เจ๋งเก่งด้วยคุณสมบัติบางอย่างเช่นมีร่างกายกำยำ มีความสามารถเชิงต่อสู้ มีเงิน และอิทธิพลมาก ฯลฯเป็นราก... นี้เรียกว่า"ไม่กลัว"เพราะ"โมหะ"หรือหลงผิด

    และ๒ . เพราะสามารถกำจัดกิเลสคือโทสะได้โดยสิ้นเชิงเกลี้ยงเกลาแล้ว จึงจะหมดความกลัวได้อย่างแท้จริง เพราะความกลัวเกิดในจิตที่มีโทสะเป็นมูล..บุคคลผู้หมดจดจากกิเลสมีโลภะ โทสะและโมหะ นั้นได้แก่พระอรหันต์ทั้งหลาย ..ท่านเหล่านี้ เท่านั้นที่ไม่มีความกลัวอะไรๆอย่างแท้จริง จึง แม้มีใครกำลังพุ่งมาหาพร้อมระเบิดพลีชีพหรือมีดดาบ อาวุธอื่นๆ ฯลฯท่านก็ไม่วิ่งหลบหนีหรือปัดป้องอะไรๆเลย..

    ดังนั้นคำกล่าวที่ว่าเมื่อสวดมนตร์หรือคาถาอะไรๆที่นิยมว่าขลังนัก...แล้วจะไม่กลัวอะไรในแง่นี้นับว่า"ไม่อาจเป็นได้จริง"..

    แต่ถ้าตีความหมายของ "ไม่กลัว" เพื่อสนับสนุนการท่อง/สวดมนตร์เพื่อความเจริญในกุศล ก็อาจกล่าวว่าจริงทีเดียวที่ไม่ต้องกลัวอะไรๆ เพราะหากจิตใจตนแนบแน่นอยู่กับการสวด เข้าใจในความหมายของบทสวดว่าเป็นการบรรยายถึงคุณสมบัติอันยอดเยี่ยม เลิศประเสริฐที่สุดของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในทุกกาล แล้วเกิดปิติ โสมนัสว่า ดีจริงหนอ เป็นบุญอันดียิ่งหนอที่เราได้มีศรัทธา มีพระองค์เป็นสรณะ...ยังศรัทธาให้แล่นไปในคุณของพระองค์ ได้ต่อเนื่อง แม้ผจญภัยร้ายอยู่จนถึงกับต้องเสียชีวิตในเวลานั้น แต่ใจยังแนบแน่นศรัทธาในคุณของพระพุทธเจ้ายิ่งนัก...ก็มีสุคติภพเป็นที่ไปได้ เรียกว่าปลอดภัยไปครั้งหนึ่งด้วยอาการนี้...ตรงนี้คือจุดโปรโมทให้เกิดความไม่กลัวได้..


    แต่ถ้าสวดไปด้วยไม่รู้ว่าบทสวดนั้นหมายถึงอะไร คิดแต่ว่าขลัง เกิดความกล้าหาญในเรื่องไม่ควร กระทำในสิ่งที่ผิดศีลธรรมไปเสีย นี้เรียกว่า ไม่กลัวด้วยความหลง(โมหะ) มีโทษมาก พึงพิจารณาให้ดีว่าควรละ...เพราะหากต้องย้ายภพในเวลานั้น ทุคติก็เป็นที่หวังได้..

    สิ่งใดที่ใครๆแนะนำนั้น เราพึงตรวจสอบหาเหตุผลต้นปลายให้ทราบเสีย จะได้ไม่สักว่าทำไปเพราะเขาว่าดี..

    ช่างกลผู้ชำนาญย่อมต้องเรียนรู้วิชาให้ถ่องแท้เสียก่อนจึงจะสร้าง/ซ่อมเครื่องกลให้ดีมีประสิทธิภาพได้ฉันใด เราผู้ประสงค์จะเดินทางโดยปลอดภัยในสังสารวัฏก็ต้องเรียนรู้ตำราของพระพุทธเจ้า เพื่อที่จะทำสิ่งที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญกุศลขั้นต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพได้ โดยไม่หลง หรือไม่รู้อันเป็นลักษณะของปัญญาที่เสียหาย ซึ่งนำไปสู่ความทุรพลแก่ปัญญาสืบไป เำพราะเคยชินด้วยอำนาจสั่งสมสันดานของตนนั่นเอง..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  4. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    พระธารณะปริตรคาถา

    ...

    (๑). พุทธานัง ชีวิตัสสะ นะ สักกา เกนะจิ, อันตราโย กาตุง ตถา เม โหตุ

    * อันพระชนม์ชีพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บุคคลใดไม่อาจกระทำอันตรายได้ฉันใด ขออันตรายทั้งปวงจงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเช่นเดียวกัน

    ...

    (๒). อตีตังเส พุทธัสสะ ภควโต อัปปฏิหะตัง ญานัง,

    อนาคะตังเส พุทธัสสะ ภควโต อัปปฏิหะตัง ญานัง,

    ปัจจุปปันนังเส พุทธัสสะ ภควโต อัปปฏิหะตัง ญานัง,

    * พระพุทธองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญ ๖ ประการ*
    * ทรงมีพระญาน ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบัน
    * ที่ไม่มีเครื่องกระทบ ไม่มีการปิดกั้น ถดถอย

    ...

    อิเมหิ ตีหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภควโต

    * ทรงเป็นผู้มีพระคุณ สมบูรณ์ด้วยพระญานทั้ง ๓ ดังกล่าวแล้วนี้

    (* บุญทั้ง ๖ ประการ คือ อิสลริยะ ธัมมะ ยสะ สิริ กามะ และปยัตตะ)

    ...

    (๓). สัพพัง กายะกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง,

    สัพพัง วจีกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง,

    สัพพัง มโนกัมมัง ญาณะปุพพังคะมัง ญาณานุปริวัตตัง,

    * พระพุทธองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญ ๖ ประการ*
    * กายกรรมทั้งปวง วจีกรรมทั้งปวง มโนกรรมทั้งปวงของพระองค์ ทรงมีพระญาณเป็นเครื่องนำ เป็นไปตามลำดับพระญาน

    ...

    อิเมหิ ฉะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภควโต

    * ทรงเป็นผู้มีพระคุณสมบูรณ์ด้วยพระญาณทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วนี้

    (* บุญทั้ง ๖ ประการ คือ อิสลริยะ ธัมมะ ยสะ สิริ กามะ และปยัตตะ)

    ...

    (๔). นัตถิ ฉันทัสสะ หานิ,

    * อันว่าความเสื่อมลงของคุณธรรมทั้ง ๖ นี้ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญ ๖ ประการ*
    * คุณธรรม ๖ นี้ได้แก่ ความเสื่อมถอยลงของพระพุทธประสงค์ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    นัตถิ ธัมมะเทสะนายะ หานิ,

    * ความเสื่อมถอยลงของการแสดงธรรม ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    นัตถิ วีริยัสสะ หานิ,
    *

    ความเสื่อมถอยลงแห่งความเพียร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    นัตถิ วิปัสสะนายะ หานิ,

    * ความเสื่อมถอยลงของวิปัสสนาญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    นัตถิ สมาธิสสะ หานิ,

    *

    ความเสื่อมถอยลงของสมาธิ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    นัตถิ วิมุตติยา หานิ,

    * ความเสื่อมถอยลงของความสุขในอรหัตผล ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    อิเมหิ ทวาทะสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ พุทธัสสะ ภควโต

    * พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้มีพระคุณ สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมทั้ง ๑๒ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

    ...

    (๕). นัตถิ ทวา, นัตถิ รวา,

    * พระพุทธองค์ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วยบุญ ๖ ประการ* ชื่อว่า
    * การหัวเราะสรวลเสเฮฮา ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์
    * การพูดพลั้งเผลอโดยขาดสติ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    (* บุญทั้ง ๖ ประการ คือ อิสสริยะ ธัมมะ ยสะ สิริ กามะ และปยัตตะ)

    ...

    นัตถิ อัปผุตัง,

    * พระธรรมที่มิได้สัมผัสด้วยพระญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    นัตถิ เวคายิตัตตัง,

    * การหุนหันพลันแล่น ขาดวิจารณญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    นัตถิ อัพยาวะฏะมโน,

    * การปล่อยใจเหม่อลอย ขาดสติ ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    นัตถิ อัปปฏิสังขานุเปกขา,

    * การเพ่งเฉยโดยปราศจากการพิจารณา ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    อิเมหิ อัฏฐาระสะหิ ธัมเมหิ สะมันนาคะตัสสะ

    * พระพุทธองค์ทรงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณธรรมทั้ง ๑๘ ประการ ดังกล่าวแล้วนี้

    พุทธัสสะ ภควโต นโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานัง

    * ข้าพเจ้า ขอน้อมไหว้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ (พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ อันมีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู เป็นต้น)

    ...

    (๖). นัตถิ ตถาคะตัสสะ กายะทุจจะริตัง,

    นัตถิ ตถาคะตัสสะ วจีทุจจะริตัง,

    นัตถิ ตถาคะตัสสะ มโนทุจจะริตัง,

    * การประพฤติไม่ดี ที่เรียกว่า กายทุจริต วจีทุจริต และมโนทุจริต ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นผู้เสด็จมาดีแล้ว เหมือนดังพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ

    ...

    นัตถิ อตีตังเส พุทธัสสะ ภควโต ปฏิหะตัง ญาณัง,

    นัตถิ อนาคะตังเส พุทธัสสะ ภควโต ปฏิหะตัง ญาณัง,

    นัตถิ ปัจจุปปันนังเส พุทธัสสะ ภควโต ปฏิหะตัง ญาณัง,

    * พระญานที่เป็นไปในส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน ซึ่งมีการปกปิด กีดกัน ถดถอย ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า ผู้ทรงสมบูรณ์ด้วย บุญทั้ง ๖ ประการ*
    * (* บุญทั้ง ๖ ประการ คือ อิสลริยะ ธัมมะ ยสะ สิริ กามะ และปยัตตะ)

    ...

    นัตถิ สัพพัง กายะกัมมัง ญาณาปุพพังคมัง ญานัง นานุปริวัตตัง,

    นัตถิ สัพพัง วจีกัมมัง ญาณาปุพพังคมัง ญานัง นานุปริวัตตัง,

    นัตถิ สัพพัง มโนกัมมัง ญาณาปุพพังคมัง ญานัง นานุปริวัตตัง,

    * กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ไม่มีพระญานเป็นประธาน ไม่เป็นไปตามพระญาน ย่อมไม่มีแก่พระพุทธองค์

    ...

    อิมัง ธาระนัง อะมิตัง อะสะมัง,

    * พระธารณะปริตรที่ได้สาธยายเป็นประจำนี้ ไม่มีอะไรเสมอเหมือน

    สัพพะสัตตานัง ตาณัง เลณัง,

    * เป็นที่พึ่งพึงอาศัยของสรรพสัตว์ทั้งหลาย

    สังสาระภยะภีตานัง อัคคัง มหาเตชัง.

    * ผู้กลัวภัยในวัฏสงสาร

    ...

    อิมัง อานันทะ ธารณะปริตตัง,

    * ดูก่อนอานนท์ เธอจงท่องสาธยายพระธารณะปริตรนี้

    ธาเรหิ วาเจหิ ปริปุจฉาหิ,

    * จงสอนและให้สอบถามพระคาถาอันประเสริฐยิ่ง มีเดชมากนี้เถิด

    ...

    ตัสสะ กาเย วิสัง นะ กเมยยะ อุทะเก นะ ลัคเคยยะ,

    * ผู้สวดมนต์นี้เป็นประจำไม่ตายด้วยพิษงู พิษนาค

    อัคคิ นะ ฑเหยยะ, นานาภยะวิโก,

    * ไม่ตายในน้ำ ในไฟ เป็นผู้พ้นภัยนานา

    ...

    นะ เอกาหาระโก, นะ ทวิหาระโก, นะ ติหาระโก,

    นะ จตุหาระโก,

    * ใครคิดทำร้ายวันเดียวไม่สำเร็จ สองวัน สามวัน สี่วันก็ไม่สำเร็จ

    ...

    นะ อุมมัตตะกัง, นะ มูฬหะกัง,

    * ไม่เป็นโรคบ้าฟุ้งซ่าน ไม่หลงสติ

    มนุสเสหิ อะมนุสเสหิ นะ หิงสะกา.

    * มนุษย์ อมนุษย์ทั้งหลาย ไม่สามารถทำร้าย หรือเบียดเบียนได้

    ...

    (๗). ตัง ธารณะปริตตัง ยะถา กตะมัง

    * อันว่าพระธารณะปริตรนี้ศักศิ์สิทธิ์อย่างไร

    ชาโล, มหาชาโล,

    * มีอานุภาพ เหมือนพระอาทิตย์ ๗ ดวงขึ้นพร้อมกันในเวลาโลกาวินาศ
    * มีฤทธิ์เดชเหมือนตาข่ายเหล็กกางกั้นภัยจาก เทวดา นาคา ครุฑ ยักษ์ รากษส เป็นต้น

    ...

    ชาลิตเต, มหาชาลิตเต,

    * สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากน้ำ ไฟ พระราชา โจร ศัตรูทั้งหลาย
    * มีอานุภาพให้พ้นจากกัปทั้ง ๓ คือ โรคันตรกัป สัตถันตรกัป และ ทุพภิกขันตรกัป

    ปุคเค, มหาปุคเค,

    * มีอานุภาพให้พ้นจากโรดต่างๆในขณะปฏิสนธิ คือเป็นใบ้ บอด หนวก เป็นบ้าฟุ้งซ่าน และไม่ตกต้นไม้ ตกเขา ตกเหวตาย

    ...

    สัมปัตเต, มหาสัมปัตเต,

    * สามารถได้สมบัติที่ยังไม่ได้ ทรัพย์สมบัติที่ได้แล้วก็เจริญเพิ่มพูนขึ้น

    ภูตังคัมหิ ตะมังคะลัง,

    * สามารถกำจัดความมืด ให้เข้าถึงความสว่างได้

    ...

    (๘). อิมัง โข ปนานันทะ ธารณะปริตตัง สัตตะสัตตะติ สัมมาสัมพุทธะโกฏีหิ ภาสิตัง,

    * ดูก่อนอานนท์ พระธารณะปริตรนี้ อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗๗ โกฏิ ตรัสไว้ว่า:

    ...

    วัตเต, อะวัตเต, คันธะเว, อะคันธะเว,

    * พึงทำประโยชน์ที่ดี ไม่พึงทำประโยชน์ที่ไม่ดี
    * พึงนำมาซึ่งกลิ่นรสแห่งธรรมะที่ดี ไม่นำมาซึ่งธรรมะที่ไม่ดี

    ...

    โนเม, อะโนเม, เสเว, อะเสเว,

    * พึงน้อมนำมาซึ่งจิตใจดี ไม่น้อมนำมาซึ่งจิตใจร้าย
    * พึงสมาคมกับคนดี ไม่พึงสมาคมกับคนไม่ดี

    ...

    กาเย, อะกาเย, ธาระเณ, อะธาระเณ,

    * พึงทำกายให้เป็นกายดี ไม่ทำให้เป็นกายร้าย
    * พึงนำมาแต่การกระทำที่เป็นฝ่ายดี ไม่นำมาซึ่งการกระทำไม่ดี

    ...

    อิลลิ, มิลลิ, ติลลิ, มิลลิ,

    * พึงหลับฝันเห็นแต่สิ่งดี ไม่พึงหลับฝันร้าย
    * พึงเห็นอดีตนิมิตที่ดี ไม่พึงเห็นอดีตนิมิตที่ไม่ดี

    ...

    โยรุกเข, มหาโยรุกเข,

    * ต้นไม้ที่ตายแล้วสามารถฟื้นคืนมาได้
    * ต้นไม้ที่ยังเป็นอยู่ก็ทำให้เจริญงอกงาม

    ...

    ภูตังคัมหิ, ตะมังคะลัง,

    * สามารถกำจัดความมืด ให้เข้าถึงความสว่างได้

    ...

    (๙). อิมัง โข ปนานันทะ ธารณะปริตตัง นวะนวุติยา สัมมาสัมพุทธะโกฏีหิ ภาสิตัง,

    * ดูก่อนอานนท์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๙๙ โกฏิ ได้ตรัสแสดงไว้ว่า พระธารณะปริตรนี้ช่วยให้:

    ...

    ทิฏฐิลา, ทัณฑิลา,

    * รู้ความคิดร้ายของผู้อื่น
    * แคล้วคลาดจากอาวุธ เครื่องประหารทุกชนิด

    ...

    มันติลา, โรคิลา,

    * สามารถทำให้เวทมนต์คาถาศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น
    * กำจัดปัดเป่าอันตรายจากโรคต่างๆได้

    ...

    ขะระลา, ทุพภิลา,

    * รอดปลอดภัยจากโรคร้ายแรง
    * หลุดพ้นจากเครื่องจองจำ พันธนาการได้

    ...

    เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

    * ด้วยอำนาจแห่งสัจจะวาจานี้

    โสตถิ เม โหตุ สัพพะทา.

    * ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ.


    ขอบพระคุณ คุณหมอวัลลภ ด้วยนะครับที่รวบรวมและพิมพ์เอาไว้

    http://www.gotoknow.org/posts/178881
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2013
  5. mahamettayai

    mahamettayai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    1,199
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +10,673
    ขอบคุณ/ขออนุโมทนาบุญกับ คุณ buakwun และคุณ ddman ด้วยค่ะ ^^
     
  6. wt

    wt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2009
    โพสต์:
    110
    ค่าพลัง:
    +315
    คาถาอะไรก็แล้วแต่จะให้มีอานุภาพอยู่ที่จิตผู้สวดครับ ถ้าสวดเหมือนเด็กท่องจำไปก็ไม่ได้อะไร
     
  7. ชีวอน

    ชีวอน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2012
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +763
    ถ้าเป็นพระปริตรของพระพุทธเจ้า ศักดิ์สิทธิ์หมดครับ เพราะอานุภาพแผ่ไปได้ถึง แสนโกฏจักรวาล
     
  8. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    พระคาถานี้ผมสวดภาวนาเป็นประจำ เพราะเป็นการสรรเสริญในความบริสุทธิของพระพุทธเจ้าผู้ทรงละหมดสิ้นจากกิเลส ทั้งกาย วาจา ใจ

    แต่จะบอกว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดหรือเปล่า ไม่ทราบครับ

    แต่ครูอาจารย์บอกว่า มีพุทธานุภาพมาก แคล้วคลาดปลอดภัยครับ ควรสวดทุกวัน
    หรือมีอีกบทคือพระคาถาข่ายเพชรพระพุทธเจ้า ก็สามารถใช้แทนด้วยกันได้ครับ
     
  9. กลางทาง

    กลางทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2013
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +702
    เห็นด้วยกับคุณwtครับ ผมไม่ค่อยทราบเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ แต่ผมว่ามันอยู่ที่จิตในขณะสวด (เป็นความเห็นส่วนตัวครับ)
     
  10. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    คำแปลบางบรรทัดยังวางสลับกันอยู่ อ่านเอาความหมายคงจะได้

    ขณะที่สวดสรรเสริญพุทธคุณย่อมดีที่สุดอยู่แล้ว ไม่ว่าบทใด
    เพราะจิตขณะที่สวดนั้นเป็นภาวกุศลจิต


    ที่สุดหรือไม่นั้นเป็นการเปรียบเทียบและเป็นปัจจัตตัง
     
  11. design8743

    design8743 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 เมษายน 2013
    โพสต์:
    194
    ค่าพลัง:
    +3,037
    อ้อนก็สวดธารณปริตร ค่ะ เป็นคาถาเดียวที่สวดแล้ว มักมีเรื่องแปลกๆเกิดขึ้น ครั้งแรกที่สวดได้ยินเสียงผู้หญิงกรีดร้องโหยหวน บอกกูไม่เอา อ้อนเลยยิ่งสวดเลยเพราะคิดว่าดีค่ะ คงเป็นเจ้ากรรมนายเวรค่ะ แล้วตอนสวดก็ฝันดี ค่ะ
     
  12. Yurichan

    Yurichan Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2010
    โพสต์:
    154
    ค่าพลัง:
    +97
    คาถาเป็นเครื่องรวมให้เกิดสมาธิครับ เพราะทุกอย่างสำเร็จได้ด้วยใจ หากผู้สวดมีศรัทธาในพระรัตนไตร เชื่อมั่นในคาถาที่สวด ก็จะสำเร็จตามนั้น
     
  13. cartoonguru

    cartoonguru เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +108

    เห็นด้วยเลยค่ะ ส่วนตัวก็สวดแค่ชินบัญชรบทเดียว เคยได้ยินว่า ถ้าตั้งใจแม้จะสวดแค่นะโมตัสสะ ก้อมีอานุภาพแล้วค่ะ แต่เราอย่าไปยึดเลยว่าบทสวดมนต์ใดจะมีพุทธคุณสูงสุด ...............................
     
  14. น้ำเกลี้ยง

    น้ำเกลี้ยง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2014
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +505
    เป็นพุทธมนต์บทหนึ่งที่ชอบมากครับ [ame=http://www.youtube.com/watch?v=CGvK8_yn_Ts]พระคาถาธารณปริตร.mp4 - YouTube[/ame]
     

แชร์หน้านี้

Loading...