บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย thepkere, 8 สิงหาคม 2013.

  1. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    [​IMG]

    กสิณสูตร
    [๒๕]
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ

    (๑)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง ปฐวีกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้
    (๒)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง อาโปกสิณ ...
    (๓)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง เตโชกสิณ ...
    (๔)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง วาโยกสิณ ...
    (๕)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง นีลกสิณ ...
    (๖)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง ปีตกสิณ ...
    (๗)บุคคลผู้หนึ่งย่อมชัดซึ่ง โลหิตกสิณ ...
    (๘)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง โอทาตกสิณ ...
    (๙)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง อากาสกสิณ ...
    (๑๐)บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง วิญญาณกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำเบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้แล ฯ

    จบสูตรที่ ๕
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๔๓/๓๓๓
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ว่าด้วยบ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์๑
    {๒๕} [๒๕]
    ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการนี้
    บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ อะไรบ้าง คือ

    ๑. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน)เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
    ๒. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ...
    ๓. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ...
    ๔. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ...
    ๕. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ...
    ๖. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ...
    ๗. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ...
    ๘. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ...
    ๙. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ...
    ๑๐. บุคคลหนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ)เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ

    ภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์ ๑๐ ประการ นี้แล

    กสิณสูตรที่ ๕ จบ

    พระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๕๖/๔๔๙
     
  3. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้
    วิญญาณกสิณในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางไม่มีสอง หาประมาณมิได้ ที่บุคคลผู้หนึ่งจำได้
    เป็นยอดสัตว์ทั้งหลาย แม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนก็มีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมหน่ายแม้ในบ่อเกิดแห่งกสิณ เมื่อหน่ายในบ่อเกิดแห่งกสิณนั้น
    ย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ


    (บรรดาบ่อเกิดแห่งกสิณ ๑๐ ประการนี้ วิญญาณกสิณ เลิศที่สุด)

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ

    คนหนึ่งมีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อย ทั้งที่มีผิวพรรณดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม
    ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๑ ฯ

    คนหนึ่งมีรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณทั้งที่มีผิวพรรณดี
    ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๒ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเล็กน้อยทั้งที่มีผิวพรรณดี
    ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๓ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกไม่มีประมาณทั้งที่มีผิวพรรณ
    ดี ทั้งที่มีผิวพรรณทราม ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๔ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอกเขียว มีสีเขียวรัศมีเขียว แสง
    สว่างเขียว เปรียบเหมือนดอกผักตบเขียว มีสีเขียว รัศมีเขียวแสงสว่างเขียว ฉันใด หรือ
    เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เขียว มีสีเขียว รัศมีเขียว แสง
    สว่างเขียว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเขียว มีสีเขียว
    รัศมีเขียว แสงสว่างเขียว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็น
    อภิภายตนะประการที่ ๕ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกเหลืองมีสีเหลือง รัศมี
    เหลือง แสงสว่างเหลือง เปรียบเหมือนดอกกัณณิกาเหลืองมีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสง
    สว่างเหลือง ฉันใด หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง เหลือง
    มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูป
    ทั้งหลายในภายนอกเหลือง มีสีเหลือง มีรัศมีเหลือง แสงสว่างเหลือง ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า
    เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ ๖ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดงรัศมีแดง
    แสงสว่างแดง เปรียบเหมือนดอกเส้งแดง มีสีแดง รัศมีแดงแสงสว่างแดง ฉันใด หรือ
    เปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง แดง รัศมีแดง แสงสว่างแดง
    ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกแดง มีสีแดง มีรัศมีแดง
    แสงสว่างแดงก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็นอภิภายตนะ
    ประการที่ ๗ ฯ

    คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว รัศมีขาว
    แสงสว่างขาว เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ฉันใด
    หรือเปรียบเหมือนผ้าเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงเกลาทั้งสองข้าง ขาว มีสีขาว รัศมีขาว แสง
    สว่างขาว ฉันใด คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปทั้งหลายในภายนอกขาว มีสีขาว
    รัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้น ฉันนั้น นี้เป็น
    อภิภายตนะประการที่ ๘

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อภิภายตนะ ๘ ประการนี้แล บรรดาอภิภายตนะ๘ ประการนี้
    อภิภายตนะประการที่ ๘ คือ คนหนึ่งมีอรูปสัญญาในภายในเห็นรูปทั้งหลายใน
    ภายนอกขาว มีสีขาว มีรัศมีขาว แสงสว่างขาว ก็มีสัญญาอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็นย่ำยีรูปเหล่านั้นนี้เป็นเลิศ
    ดูกรภิกษุทั้งหลายสัตว์ทั้งหลายแม้ผู้มีสัญญาอย่างนี้แลมีอยู่
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอย่างอื่นมีอยู่แท้ ความแปรปรวนมีอยู่แก่สัตว์ทั้งหลายแม้มีสัญญาอย่างนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในอภิภายตนะนั้น
    เมื่อหน่ายในอภิภายตนะนั้นย่อมคลายกำหนัดในสิ่งที่เลิศ จะป่วยกล่าวไปไยในสิ่งที่เลวเล่า ฯ


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๔
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
    หน้าที่ ๕๔/๓๓๓
     
  4. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    รบกวนอธิบายเพิ่มเติมหน่อยได้ไหมครับ..
    อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ..

    คำว่า เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
    ที่ผมเข้าใจนะไม่รู้ว่าถูกหรือเปล่า เปรียบเทียบกับนิมิตรกสิณ
    ที่เกิดนะครับ.โดยดูจากนิมิตรกสิณน้ำ..เข้าใจว่าคือ
    ลักษณะของนิมิตรกสิณรูปแบบต่างๆที่ต้องเจอ

    เบื้องบน(มุมที่มองจากข้างบนวัดจากระดับสายตาไปยังนิมิตรกสิณ) เห็นแบบนี้ได้จากท่านอนหลับตา
    และท่านั่งแบบหลับตา.ท่านั่งแบบหลับตายัง
    แบ่งได้ ๓ ระยะคือ ระยะไกล ระยะพอดี
    (ระยะที่สามารถทำปฏิภาคได้)
    และระยะประชิดเบื้องต่ำ(มุมของสายตาที่เกือบติดนิมิตรกสิณ)

    เบื้องต่ำ (มุมที่มองจากสายตาไปยังด้านล่างนิมิตรกสิณ)เห็นในท่านอนทั้งแบบหลับตาและลืมตา.และท่านั่งแบบลืมตา
    เบื้องขวาง(เข้าใจว่าลักษณะนิมิตรที่เป็นทางยาวมีขอบชัดเจน
    ทั้ง ๒ ด้านคล้ายไม่บรรทัด) เห็นแบบนี้ได้เฉพาะในอีกภพภูมิและสามารถฝึกต่อได้
    ถ้าเพิกเฉยต่อสภาพแวดล้อมต่างๆได้.และตัดการรบกวนจากทาง
    ฝ่ายภพภูมิที่จะมาแกล้งเราได้.


    ไม่มีสอง ก็คือนิมิตรกสิณน้ำอย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่นอย่างใดมาปนเป็นนิมิตรที่
    สามารถฝึกปฏิภาคต่อได้
    (ปกติชอบมี.สิ่งปลูกสร้าง หรือวัตถุอื่นๆมาหลอกเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจนิมิตร)
    ส่วนไม่มีประมาณคือขนาดของนิมิตรกสิณที่หาจุดสิ้นสุดไม่ได้
    เห็นได้ในท่านั่นและท่านอนแบบหลับตา..
    เพราะเรามองไม่เห็นจุดสิ้นสุดหรือขอบนิมิตรกสิณ
    เป็นจุดที่สามารถฝึกปฏิภาคได้.แต่ระยะห่างต้องพอดี.

    ปล.หรือเป็นปริศนาธรรมอะไรรบกวนด้วยนะครับ​
     
  5. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    บทธรรมบรรยาย
    ของ
    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    -------------------------------------------------------

    1 วิเวกธรรม

    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิเวกธรรมแก่เมตตคูมาณพดังต่อไปนี้
    อุปธิกิเลสมีประเภท 10 ประการ คือ 1 ตัณหา 2 ทิฏฐิ 3 กิเลส 4 กรรม 5 ทุจริตความประพฤตชั่วด้วย กาย วาจา และใจ 6 อาหาร 7 ปฏิฆะ 8 อุปาทินนกะ ธาตุสี่ 9 อายตนะหก 10 วิญญาณกายหก ทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้น ย่อมมีอุปธิกิเลสเหล่านี้เป็นเหตุ เป็นนิพพาน เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลมารู้ทั่วถึง รู้แจ้ประจักษ์ชัดด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า สังขารที่หลายไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา หรือมารู้ทั่วถึงว่า ยํ กิญจิ สมุทยธมมํ สพพนตํ นิโรธธมมํ สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา ดังนี้แล้วเป็นผู้ตามเห็นซึ่งชาติว่าเป็นแดนเกิดแห่งวัฏฏทุกข์ และมาเห็นว่าอุปธิเป็นแดนเกิดแห่งชาติทุกข์เป็นต้นแล้ว ก็ไม่พึงทำอุปธิมีตัณหาเป็นต้น ให้เจริญขึ้นในสันดานเลย

    เมื่อจะทรงแสดงธรรมเครื่องข้ามตัณหา จึงตรัสพระคาถาว่า ยํ กิญจิ สญชานาสิ อุทธํ อโธ ติโยญจาปิ มชเฌ เอเตสุ นนทิญจ ปนุชชวิญญาณํ ภเว น ติฏฐ ดูก่อนท่านทั้งหลาย ท่านจงรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่งในเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง สถานกลางแล้วจงบรรเทาเสีย จะละเสียซึ่งความเพลิดเพลินและความถือมั่นในสิ่งเหล่านั้น วิญญาณของท่านก็จะไม่ตั้งอยู่ในภพดังนี้

    คำว่าเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลางนั้น ทรงแสดงไว้ 6 นัย คือนัยที่ 1 อนาคตเป็นเบื้องบน อดีตเป็นเบื้องต่ำ ปัจจุบันเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 2 เหล่าธรรมที่เป็นกุศล เป็นเบื้องบน เหล่าธรรมที่เป็นอกุศล เป็นเบื้องต่ำ เหล่าธรรมที่เป็นอัพยากฤตเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 3 เทวโลกเป็นเบื้องบน อบายโลก เป็นเบื้องต่ำ มนุสสโลกเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 4 สุขเวทนา เป็นเบื้องบน ทุกขเวทนา เป็นเบื้องต่ำ อุเบกขาเวทนาเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 5 อรูปธาตุเป็นเบื้องบน กามธาตุเป็นเบื้องต่ำ รูปธาตุเป็นเบื้องขวางสถานกลาง นัยที่ 6 กำหนดแต่พื้นเท้าขึ้นมาเบื้องบน กำหนดแต่ปลายผมลงไปเป็นเบื้องต่ำ ส่วนท่ามกลางเป็นเบื้องขวางสถานกลาง เมื่อท่านมาสำคัญหมายรู้เบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ทั้ง 6 นัยนี้แล้ว แม้อย่างใดอย่างหนึ่งพึงบรรเทาเสียซึ่งนันทิ ความยินดี เพลิดเพลิน และอภินิเวส ความถือมั่นด้วยตัณหา และทิฏฐิในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง เสียให้สิ้นทุกประการ แล้ววิญญาณของท่านจะไม่ตั้งอยู่ในภพและปุณภพอีกเลย เมื่อบุคคลมารู้ชัดด้วยญาณจักษุในส่วนเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวางสถานกลาง ไม่ให้ตัณหาซ่านไปในภพน้อย ภพใหญ่ มีญาณหยั่งรู้ในอริยสัจจ์ 4 เป็นผู้ไม่มีกังวล คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และทุจจริตต่างๆ ละกังวลทั้งปวงเสียแล้ว กามภเว อสตตํ ก็เป็นผู้ไม่ข้องเกี่ยวพัวพันในวัตถุกาม และกิเลสกาม ในกามภพและปุณภพอีกเลย ท่านนั้นเป็นผู้ข้ามโอฆะ ห้วงลึกที่กดสัตว์ให้จมอยู่ในวัฏฏสงสารฯ โอฆะนั้น 4 ประการคือ 1 กามโอฆะ 2 ภวโอฆะ 3 ทิฏฐิโอฆะ 4อวิชชาโอฆะ ติณโณ จ ปรํ ท่านนั้นย่อมข้ามห้วงทั้ง 4 ไปฟากโน้น คือ พระนิพพานธรรม อขีเณ เป็นผู้ไม่มีตะปูคือกิเลสเป็นเครื่องตรึงแล้ว กิเลสทั้งหลายที่เป็นประธาน คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และกิเลสที่เป็นบริวาร มี โกโธ อุปนาโห เป็นต้น จนถึงอกุศลอภิสังขารซึ่งเป็นประหนึ่งตะปูเครื่องตรึงจิตให้แนบแน่นอยู่ ยากที่สัตว์จะฉุดจะถอนให้เคลื่อนให้หลุดได้ เมื่อบุคคลมาละเสียแล้ว ตัดขึ้นพร้อมแล้ว เผาเสียด้วยเพลิงคือญาณแล้ว เป็นนรชนผู้รู้ผู้ดำเนินด้วยปัญญาอันเป็นเครื่องรู้แจ้งชัดเป็นเวทคู ผู้ถึงฝั่งแห่งวิทยาในพระศาสนานี้ ไม่มีความสงสัยใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และปฎิจจสมุปบาทธรรม ปัจจยการ ย่อมบรรลุถึงวิเวกธรรม คือพระอมฤตนฤพานด้วยประการฉะนี้

    �����������·�� 1 - 8 ����Ҩ�������� ���Էѵ��84000.org
     
  6. ความตาย-1

    ความตาย-1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +44
    บอกได้คำเดียวว่า....มั่วววววววววววววววววววววววววววววววววววว
    ไม่มีแก่นสารสาระที่ถูกต้อง
     
  7. ไม้เกาหลัง

    ไม้เกาหลัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +89
    กรรมฐาน 40 กอง ไม่มี กองไหนดีกองไหนครับ ขึ้นอยู่กับ ว่าของเก่าท่านมีอะไรอยู่ ก็แค่นั้น
    ดังนั้น กสิณ 10 ก็ คือ กรรมฐาน 10 กองใน 40 กองเท่านั้น
     
  8. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    (กสิณคือน้ำ)เพ่งน้ำจนเป็นนิมิต แล้วเคลื่อนย้ายไป
    ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
    ไม่มีสอง คือ น้ำอย่างเดียว
    หาประมาณมิได้ คือ ย่อน้ำและขยายน้ำได้ ไม่มีประมาณ
    ความเข้าใจผมอย่างนี้ จากการศึกษานะครับ ผมลองแล้วทำไม่ได้ ทำนิมิตก็ไม่ได้ก็จบ เลยมาฝึกสติก่อน ทำในสิ่งตัวเองพอจะฝึกได้
     
  9. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ลืมบอกไปว่าเมื่อ๔ปีที่แล้วมาเคยไปวัดหลวงพ่อจรัญ ทำสมาธิพองยุบ เล่นนิมิตท้องได้
    ทำให้เล็กแล้วเอาไปซ่อนข้างช้ายขวาได้และทำให้ใหญ่เท่าเดิมก็ได้ เล่นวนไป วนมา
    อยู่อย่างนี้มีความสุขมาก ชั่วโมงครึ่งหมดเวลาต้องเลิกพร้อมกันเสียดายมาก หลังจากนั้นเล่น
    ไม่ได้อีกเลย จนทุกวันนี้
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    ขอบคุณ คุณthepkere ที่เล่าให้ประสบการณ์ให้ฟังครับ..การแปรความ
    ของคุณก็แปรออกทางปฏิบัติคล้ายผมเลย..ส่วนถ้าจะขยายความไปทางธรรม

    ถ้าอย่างเราๆคงงานงอกและหงายเงิบหละครับ ฮ่าๆๆ ถ้าไม่ได้
    คุณ MindSoul1นำบทธรรมบรรยายของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
    นำมาลงให้อ่านไม่รู้ว่าชาตินี้จะคิดออกตอนไหน.
    .แต่ถ้า คุณ thepkere วันใดเกิดสนใจอยากจะฝึกกสิณน้ำ


    ขึ้นมาเพื่อพัฒนากำลังสมาธิไว้ต่อยอดสำหรับการเดินปัญญในอนาคต.หลังจากฝึกสติ
    จนพอจะคมขึ้นมาในระดับหนึ่งแล้ว.

    ก็จะเล่าให้ฟังว่าเพ่งในที่นี้คือให้ทำเหมือนเราใช้ตามองผ่านระหว่างคิ้ว
    ออกไปในขณะที่ฝึกเพื่อสร้างความทิพย์ให้กับจิตสำหรับให้เกิดนิมิตรกสิณน้ำ..
    ทำแบบนี้จะเป็นการตัดการใช้

    ความจำภาพน้ำเข้าสู่ระบบสมอง..อย่าลืมว่าน้ำปกติธรรมชาติมีสีใส
    จะไปใช้หลักการเหมือนการฝึกกสิณแบบกองอื่นๆไม่ได้.
    และในระหว่างวันถ้าจะจำให้ย้ายการจำหรือนึกภาพน้ำให้มาอยู่ระหว่างลิ้นปี่.
    .แรกๆอาจต้องดูน้ำก่อน แต่ต่อไปไม่จำเป็นครับ
    .
    แล้วจำไว้ตรงกลางลิ้นปี่.ถ้าใช้ตาดูแล้วจำภาพน้ำฝึกชาตินี้ อาจจะสำเร็จชาติหน้า.
    แล้วถ้าทำอย่างนี้จนเกิดอุคนิมิตรน้ำจริงๆ คือใส มีคลื่นแต่ไม่มีฟอง.อย่าไปคิดย่อหรือ
    ขยายคับ..การย่อขยายทำได้เฉพาะในกรณีที่เราหลุดไปอยู่อีกภพภูมิเหมือนที่
    บอกว่าแบบทางขวาง..ให้คิดหรือเพ่งผ่านระหว่างคิ้ว.บังคับให้น้ำหมุนให้ได้.


    กำลังจิตเราจะเกิดจากตรงนี้ครับ..ในอนาคตจะพัฒนาเรียกขึ้น.เป็น PSI ball ได้
    เล่าให้ฟังประมาณนี้ก่อนในเบื้องต้น.
    .ส่วนคุณไม้เกาหลัง พูดไว้ก็ไม่ผิดครับ..เมื่อก่อนก็เคยคิดอย่างนี้เหมือนกัน
    ไม่มีกองไหนดีกว่ากองไหน.แต่ว่าใน ๔o กองยังไงก็ขาดกันไม่ครับ
    .ขึ้นอยู่กับแนวทางการปฏิบัติของเราด้วยครับ เราตั้งปลายทางการปฏิบัติไว้ระดับไหน.
    ยิ่งปฏิบัติไปเราจะทราบได้ด้วยตัวเองว่าเราต้องอาศัย
    กรรมฐานตัวไหนมาช่วยหนุนเพื่อให้เราเดินหน้าต่อไปได้..
    และเราจะทราบได้ว่า.ไม่มีกองไหนสำคัญกว่ากองไหน แต่ก็ขาดกันไม่ได้
    ..เราอาจจะเข้าใจในหลายๆกองแล้วก็ได้...โดยที่เราไม่รู้ตัวตอนนี้ก็เป็นได้ครับ.
    ส่วนตัวรู้ว่ามีกสิณไฟเป็นกรรมฐานเก่า.แต่อยากจะพิสูจน์คำสอน

    .ของพระมีชื่อท่านหนึ่ง.ที่ท่านบอกไว้ว่า ถ้าเรามี อิทธิบาท ท่านบอก
    ยังไงก็ฝึกสำเร็จได้ฝึกกรรมฐาน กองไหนก็ได้
    ....จริงอยู่การที่เรารู้ว่าเรามีของเก่าอะไรอาจทำให้เราฝึกง่าย


    ก็ถูกครับ.แต่เรามั่นใจในตนเองไหมว่าจะไม่เกิดความประมาทได้
    อย่างเช่นไปยึดติดในนิมิตรที่เห็นเล็กๆน้อยๆ
    หรือสิ่งที่ทำได้ในนิมิตร..ที่เรียกขึ้นมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ไม่ได้
    ทั้งๆที่สิ่งที่เราทำได้นั้นก็ไม่ได้มีผลต่อการพัฒนากำลังสมาธิเรา
    ที่จะไปส่งเสริมเรื่องการเดินปัญญา
    เพื่อลดกิเลสตัวเองให้ตัวเอง.ยังแต่จะสร้างอัตตาให้ตนเองโดยที่เรา
    อาจไม่รู้ตัว.ทำให้คิดว่าตัวว่าตนนะดีกว่าคนอื่นๆ เหนือกว่าคนอื่น
    ยกตนข่มท่าน ยอมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างไม่ได้ คิดว่าความคิดตนเองถูกเสมอ.โดยมิได้วิเคราะห์ถึงเหตุและผล
    เพียงเพื่อต้องการจะเอาชนะผู้อื่นๆ แต่หาได้กลับมามองย้อนดูใจตนเอง
    และยินดีในความสำเร็จของบุคคลอื่นๆได้ยาก...


    ..แต่ถ้าเราไม่มีของเก่าหละครับ. แต่เรามีอิทธิบาท เราจะฝึกได้ไหม
    ตอบว่าได้แน่นอนครับยืนยัน..ที่เขียนคำว่าเบื้องบนและขีดเส้นใต้ไว้
    .ที่ทราบเพราะท่านมาแนะกุศโลบายในนิมิตรให้ด้วย..เล่าให้ฟังประมาณนี้ก่อนนะครับ..

    ปล.ในจักรวาลนี้ยังมีสิ่งที่เราไม่รู้อีกมากมาย.ขอบคุณมากครับ
     
  11. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449
    ใครที่ฝึกกสิณได้ ในความรู้สึกของผม ผมถือเก่งนะครับเพราะผมไม่เอาไหนเลย
    จุดอ่อนผมเป็นคนคิดมาก มีมาฝึกสตินี้แหละที่เอาความคิดอยู่ และทำให้สมาธิดีขึ้น
    ตอนนี้ขอฝึกสติเป็นหลัก สมาธิก็ไม่ทิ้ง ทั้ง พองยุบ และ ลมหายใจ แต่ไม่บริกรรม
    เพราะบริกรรมแล้วรู้สึกว่าเหนื่อย ใจเลยไม่เอา เรื่องกสิณคงให้เป็นเรื่องของอนาคต
    แต่อยากฝึกแน่ๆถ้าวาสนาถึง แต่ตอนนี้ผมไม่มีแววสักนิดเลย
     
  12. ความตาย-1

    ความตาย-1 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    44
    ค่าพลัง:
    +44
    ทำไมคิดว่าไม่มีกองไหนดีกว่ากองไหนล่ะ
    ...รู้ไหมทำไมคุณคิดแบบนี้ นั้นเพราะคุณไม่ได้ปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่ได้ปฏิบัติมาสายนี้โดยตรง แค่ความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นซึ่งผิดอย่างมาก ส่วนเรื่องของเก่าจำเป็นด้วยหรือว่าเราต้องรู้ว่าเราทำอะไรมาบ้าง เอาแค่ปัจจุบันนี้คุณทำอะไรอยู่ก็พอ
     
  13. ไม้เกาหลัง

    ไม้เกาหลัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +89
    เปล่าเลยท่าน วาระจิต ตะหาก ที่บอกให้รู้ คำว่า"อยู่ปัจจุบันทุก ขณะจิต" คือ ปัญญาญาณ จาก จิต เมื่อตัดกิเลส จิตท่านจะบอกให้รู้เอง ว่าจะเดินไปทางไหน หรือ ไม่ ก็เป็นไปตามวาระ ก็จะมี คนมีรู้ซึ้งถึง พร้อมด้วยอภิญญาจะมาแนะนำแนวทาง หรือ ไม่ก็มีบุญวาสนาพบกับครูบาอาจารย์ที่มองเห็นของเก่า และแนะนำให้ ปฏิบัติได้ไวขึ้น

    ผมไม่ได้ยึดติดอะไรกับอดีต ความตายคือ อนาคตที่จะมาในไม่ช้า และตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท ผม ไม่อยาก ให้หวังยึดติดกับของเก่า จน ไม่เริ่มปฏิบัติ อย่างน้อย การเริ่มต้นกรรมฐาน ไม่ว่าสายใด สายหนึ่ง เมื่อ เข้าถึงฌาณ 4 คุณก็จะเริ่มรู้แนวทางของตนเอง ไม่อยากพูดมาก เพราะมันเป็นปัจจัตตัง แต่ควรเริ่มปฏิบัติ หมั่นเพียร ไปเรื่อยๆ ก่อน (แต่ก็ไม่ควรคิด หวังของเก่าเราเคยได้อะไรมา) อย่างน้อยก็เจริญสติ รู้ลมหายใจ เข้าออก ไม่ว่า จะยืน เดิน นั่งนอน บารมี 10 ทัศที่เคยสั่งสมในอดีตจะช่วยคุณก้าวหน้าได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...