ทำไมนอนสมาธิก็ยังปวดท้ายทอย!

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย DharmaJaree, 26 สิงหาคม 2013.

  1. DharmaJaree

    DharmaJaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +107
    ปกติจะสวดมนต์หรือเดินจงกรมก่อน วันนี้แอร์เย็นๆนอนเล่น ใจนึก อุกาสะ สมาทานพระกรรมฐานซะงั้น นอนท่าไหนก็อยู่ท่านั้น สบายๆ แต่ก็ไม่วายมีอาการกระดุก กระดิก ที่แปลกใจคือมันชอบปวดท้ายทอย ไม่ว่าจะนั่งหรือนอน พักหลังรู้สึกตัวเองชอบตากระปิบๆ เวลากระปิบปิ๊บๆจะสว่างไปหมด

    ไม่เข้าใจตัวเองเหมือนกันวันนี้ขี้เกียจ แต่ทำไมต้องนึกอยากสมาธิซะงั้น ยังตึงท้ายทอยไม่หายเลยค่ะ แรกๆนั่งไม่เห็นมีอาการเหล่านี้เลย
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..........เช็ค ความดันหน่อยครับ..........
     
  3. DharmaJaree

    DharmaJaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +107
    ความดันปกติค่ะ
     
  4. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เคร่งเครียดไป บางทีก็ขึ้นสูงถึงหัวโหนกแหละ
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    มันก็มีหลายอย่าง

    ผู้ภาวนาจะต้อง อาศัย ปิติ พื้นฐาน เป็นตัวจำแนก แยกแยะ ว่า กำลังรู้อะไร

    ปิติ พื้นฐาน ก็มีแต่ ยุบๆยิบๆ ที่คุ้นๆ ที่เจอบ่อยๆ ถ้า บ่อยมากๆ มันจะลง
    ไปเป็นพื้น ต้องชะโงกหน่อยๆ มันถึงจะเห็นว่า มี

    ถ้า ปิติ ไม่มี ก็ฟันธงลงไปเลยว่า เป็นอาการทาง โรคา พยาธิ

    ถ้า ปิติ มีประกอบอยู่ในพื้นจิต จิตมันละจาก วิตก วิจาร แล้วหาก
    นักทำสมาธิระลึกอยู่ในกายในใจ ไม่ส่งไปในนิมิตกสิณ มโนทวาร
    ก็มักจะปรากฏ อาการทางกาย จำพวก ปิติ5 ซึ่งมีหลายชนิด หลาก
    หลายอาการ .... ผู้ภาวนาไม่จำเป็นจะต้องไปใส่ใจว่า ไอ้ปิติ5 เหล่า
    นี้เรียกว่าอะไร ชื่ออะไร ธาตุไหน

    หน้าที่คือ ตามดูความไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นหลัก

    หากไป อึ๊ อ๊ะ เอ๊ะ รึว่ากุ สระอูยาวก็จะ ฤาว่ากู ...ก็จะ ตกจาก
    กรรมฐาน กลายเป็นพวก " ปิ๊ดตู่ (ไม่ใช่ชื่อคน แต่ หมายถึง
    เกิดอาการ น้อยนิดมหาศาล แล้ว ตู่ ว่าสำเร็จโน้น นั่น นี่)" ได้

    ตามดูความไม่เที่ยงไปเรื่อยๆ แล้วจะ มั่นใจได้อย่างไรว่าเห็น
    อะไร

    ก็ดู ปิติ แวดล้อม ที่เคยคุ้นๆ ว่า มันยังอยู่หรือเปล่า โดยไม่ต้องไป คว้า
    ขึ้นมาดู ผู้ภาวนาเพียงแต่ ระลึกถึงการมีอยู่ก็รู้ ไม่มีอยู่ก็รู้ ระลึกแค่นี้
    เดี๋ยวจุ๊กกรู้ออกมาเอง ไม่ต้องไป สร้าง อาการปิติขึ้นมา

    ถ้าเป็น กองปิติ ทั้งหลาย ก็ไม่มีอะไรมาก ไม่ต้องไปเอ๊ะ ไปอะ ภาวนา
    ต่อไปเรื่อยๆ

    ปิติ5 สำหรับนัก วิปัสสนายานิก หากปรากฏ จะทำให้ ผู้ภาวนาเห็น อนิจจา
    ลักษณะกับสิ่งไรๆ ที่กำลังกระทบได้ ความปรากฏของอนิจจาลักษณะ ก็จะ
    เป็นเรื่อง การละวิตก วิจาร นั่นแหละ

    แต่ถ้า วิตกดับ เหลือแต่วิจาร จะเกิด อานิจจาลักษณะในลักษณะ ข้องเป็น
    สัญญายิบๆ แย๊บๆ แสบๆ คันๆ เสียวๆ ซ่านๆ ลังๆไม่ถึงเลๆ ถ้าเป็นแบบนี้ก็
    เรียกว่า นานัตตสัญญา

    หากยก นานัตสัญญา ร่วมกับ อนิจจสัญญา ก็จะทำให้ ล่วงรูปสัญญา ไปสู่ การ
    เฝ้นหา นามสัญญา .......ซึ่งหาก ล่วงไปได้ ตรงนี้จะไม่ใส่ใจ อาการทางกาย
    ฮาเฮ้วอะไรแล้ว เพราะล่วงรูปขันธ์ไปเกือบจะขาดแล้ว จดจ่ออยู่กับ สิ่งที่เรียกว่า
    " ฝากตาย " อยู่เนืองๆ

    ถ้าทำอานาปานสติ ลมหายใจก็จะเหมือนว่า ขาดไปจากกายแล้ว แต่จริงๆ กาย
    มันก็พงาบๆ ของมันไปตามจังหวะ แต่มันเกิดเป็นหุ่นยนต์ คือ มันหายใจของมัน
    เองตาม วิบากวาสนา ที่ภวังค์มาเป็นตัวรักษาภพ บางครั้งก็หายใจนิดเดียว เบียดเบียน
    สัพสัตว์น้อยที่สุด(แย่ง ออกซี่เจน มาเป็นของตน น้อยที่สุด) บางครั้งก็ พงาบ
    ซึ่งก็เรื่องของมัน กายมันโง่ของมันเอง มันก็ลักขโมยอ๊อกซี่เจนของมัน ก็มี

    ซึ่ง ทุกครั้งที่ กายมันโลภ มันเบียดบังโลก จะเห็นเลยว่า จะถูกเสียดแทงด้วย
    สิ่งบางสิ่ง จึ๊กเข้ามาที่กาย

    เราก็ดูไปแบบนั้น กรรม ย่อมมี วิบากกรรม ติดตามกันดั่งเงา ยิ่งกว่าจรวดอีก
    หาก เล็งเห็นให้เป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 สิงหาคม 2013
  6. Limtied

    Limtied เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    822
    ค่าพลัง:
    +3,662
    ปวดคอ
    สาเหตุที่พบบ่อย
    1. กล้ามเนื้ออักเสบ หรือ กล้ามเนื้อเคล็ด ซึ่งมักเกิดจาก อิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น การแหงนหน้า หรือ ก้มหน้าเป็นเวลานาน นอนในท่าที่คอพับ หรือ บิดไปข้างใดข้างหนึ่ง นอนหนุนหมอนที่สูง หรือ แข็งเกินไป

    2. ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดอาการปวดต้นคอ ท้ายทอยหรือขมับ มักมีอาการช่วงบ่าย หรือ ตอนเย็น

    3. อุบัติเหตุ ทำให้คอเคลื่อนไหวมากหรือเร็วกว่าปกติ อาจจะเกิดกล้ามเนื้อ / เส้นเอ็นฉีกขาด หรือ กระดูกคอเคลื่อน

    4. หมอนรองกระดูกคอเคลื่อนกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง ทำให้มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน และมือ มีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาสั่น เดินเซ หรือ ขากระตุกบางครั้งอาจมีอาการ กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด ร่วมด้วย

    5. กระดูกคอเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือ กดทับไขสันหลัง พบบ่อยในผู้สูงอายุ แต่ผู้สูงอายุบางคนเท่านั้นที่มีอาการมากจนต้องรับการรักษา ถ้าเอ๊กซเรย์กระดูกคอในผู้สูงอายุก็จะพบว่ามีกระดูกงอกได้ โดยไม่มีอาการผิดปกติ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ในผู้ป่วยทุกราย

    6.ข้ออักเสบ เช่น ในผู้ป่วยที่เป็นโรค รูมาตอยด์ เก๊าท์ โรคกระดูกสันหลังยึดติด การติดเชื้อแบททีเรีย เป็นต้น

    7.กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดในกล้ามเนื้อและเมื่อใช้งานกล้ามเนื้อนั้นก็จะปวดมากขึ้นและรู้สึกอ่อนแรง มักจะมีจุดที่กดเจ็บชัดเจนและอาจคลำได้ก้อนพังผืดแข็ง ๆ ร่วมด้วย

    การรักษาเบื้องต้น
    1. ระวังอิริยาบถ หรือ ท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
    - หลีกเลี่ยง การก้ม หรือ แหงน คอ นานเกินไป หรือ บ่อยเกินไป ถ้าจำเป็นก็ควรหยุดพักเป็นช่วง ๆ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อคอ หรือ ขยับเคลื่อนไหวคอเปลี่ยนอิริยาบถสัก 2 - 3 นาทีทุก ๆ ชั่วโมง
    - ควรนอนบนที่นอนแข็งพอสมควร ไม่ควรนอนคว่ำอ่านหนังสือ หรือ ดูทีวี เพราะจะทำให้คอแหงนมาก
    - นอนหนุนหมอนที่นุ่มและยืดหยุ่นพอที่จะแนบส่วนต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณส่วนโค้งของคอ และ มีความหนาพอเหมาะที่จะทำให้คออยู่ในแนวตรง ( เมื่อมองจากด้านข้าง ) ไม่ทำให้คอแหงนหรือก้มมากเกินไป

    2. ประคบด้วยน้ำแข็งหรือน้ำอุ่น อาจใช้ครีมนวด ร่วมด้วยแต่อย่านวดแรงเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อฟกช้ำมากขึ้น

    3. รับประทานยา เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

    4. ทำกายภาพบำบัด ในกรณีที่มีอาการมาก รับประทานยาและบริหารกล้ามเนื้อ แล้วไม่ดีขึ้น เช่น
    - ใส่เครื่องพยุงคอ ซึ่งควรใช้ชั่วคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้ติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น
    - ดึงถ่วงน้ำหนักกระดูกคอ
    - ประคบบริเวณที่ปวดด้วย ความร้อน ความเย็น หรือ อัลตร้าซาวน์

    ถ้าอาการต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์
    1. มีอาการปวดร้าวไปที่ไหล่ แขน หรือ มือ โดยอาจจะมีอาการชา หรือ กล้ามเนื้อมืออ่อนแรง ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้

    2. มีอาการ ขาชา หรือ ขาอ่อนแรง เวลาเดินรู้สึกว่าขาจะสั่น เดินเซ เดินแล้วจะล้ม หรือ รู้สึกขากระตุก

    3. กลั้นอุจจาระหรือปัสสาวะไม่ได้ ทำให้มีอุจจาระ หรือปัสสาวะราด

    4. อาการไม่ดีขึ้น หรือ รู้สึกเป็นมากขึ้น เพราะโดยทั่วไป ถ้าเกิดจากสาเหตุที่ไม่ร้ายแรง อาการมักจะดีขึ้นใน 2-3 วัน

    ที่มา. PANTIP.COM : L4973677 �Ǵ���·�� �鹤� �����ѧ��Ъ�����йӷ� [�آ�Ҿ���]
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทีนี้ หากภาวนาไปแล้ว ทนไม่ได้

    อดสงสัยไม่ได้ หากอาการปวด เสียดแทง เป็น ความป่วยไข้ หละ
    หากมันไม่ใช่ ปิติ5 อะไรที่เป็น ของดีที่บัณฑิตเขาสรรเสริญหละ

    ก็ต้องอาศัย อริยาบท 4 เข้ามา ซักฟอก สำแดง ยืนยัน รส ที่รู้ว่า
    มันเป็นอะไรกันแน่

    สมาธินั้น หากผู้ภาวนา มีอาการ ตกร่องปิติ ( ติด ปิติ ตัวเดิม ที่เคย
    ติดมาหลายชาติ ไม่เคยหน่าย--เพราะลืมยก การตั้งอยู่ ดับไป เสียสนิท)

    ต่อให้เปลี่ยนอริยาบท อาการปิติตัวเดิม จะปรากฏอยู่ดี มันจะมา จุกกรู้
    เสมอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ในอริยาบทใดก็ตาม เช่น อาการขาชา หากเดิน
    จงกรมจนถึงจุด กายมันก็ชาของมันปรกติ เหมือนตอนนั่งสมาธิ หากไม่
    โง่ไปตกอกตกใจ ก็เดินภาวนาต่อไป กายเบาจิตเบา คล่องแคล้ว ว่องไว
    เดินไม่มีชนใคร หรือ ชนใครแล้วไม่รู้เป็นไม่มีแก่ผู้ภาวนากายคตาสติ

    แต่................

    ถ้าเป็นอาการทางกาย โรคา พยาธิสภาพ แม้ไม่ทำสมาธิ มันก็ แฮ่ !!!
     
  8. รโชหรณัง

    รโชหรณัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2013
    โพสต์:
    547
    ค่าพลัง:
    +732
    ต้องหมั่นสังเกตุร่างกายตนให้ดีก่อนนะครับ บางทีเวลาเราทำงานมากไป หรือใช้สมองมากไป ร่างกายก็อาจจะมีการบีดรัดกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ ขมับ กล้ามเนื้อรอบศรีษะ ลองกดกล้ามเนื้อนวดกล้ามเนื้อบริเวณดังกล่าวก่อนว่า รู้สึกเจ็บปนปวด หรือไม่ อาการเหล่านี้จะสะสมไปเรื่อยๆ จนเส้นเลือด เส้นลม ไปเลี้ยงสมองและประสาทต่างๆ ขัดข้องไป ทำให้เกิดอากาคผิดปรกติได้ ทางแก้ไขคือ บริหารร่างกาย ยืดเส้นยืดสาย ขยับต้นคอ หมุนซ้ายขวาบ้างนะครับ
    การนั่งสมาธิบางครั้งอาจจะทำให้อาการดังกล่าวมีมากขึ้น เพราะพลังจิตเพิ่มขึ้น พลังที่ส่งไปยังจุดที่บีบรัดตัวก็อาจจะรุนแรงขึ้นได้ หากยังทำสมาธิเพื่อคลายยังไม่เป็นจะเกิดการตึงมากขึ้นดังกล่าว การทำสมาธิเพื่อผ่อนคลายนั้น ควรจะต้องมีอารมณ์ที่ผ่อนคลายและเบิกบานก่อน อย่าทำเวลาที่ปวด แต่ควรทำตอนเบิกบานแล้วจำอารมณ์ผ่อนคลายนั้นเอาไว้ใช้ในยามตึงเครียด
    อย่าทำสมาธิตอนเคร่งเครียด ตอนปวด ตอนป่วย เราจะแยกสภาวะธรรมไม่ออกครับ ให้ใช้สติคอยประคอง อย่าไปร้อนรนตามอาการ แต่ให้ใช้สติประคองใจ อารมณ์ให้ผ่อนคลาย
    ลองปฏิบัติดูนะครับ
     
  9. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    นอนมาก ก็อาจจะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้ายทอยด้านนอกได้ขอรับ ถ้าหากนอนหงายนานเกินไป เรื่องธรรมดาขอรับ
    แต่ถ้าปวดท้ายทอยตั้งแต่ด้านในมาจนถึงด้านนอกบ่อยๆ ก็ควรไปวัดความดันโลหิตซะหน่อยขอรับ
     
  10. DharmaJaree

    DharmaJaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +107
     
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    หาคำตอบเองซี่คร้าบท่าน

    การหาคำตอบเอง ก็แค่ ทำให้มากๆ อย่าถาม อย่าตอบเอง.... ( งง ไหม )

    วิปัสสนานั้น หากเข้ามาแล้ว และ ถ้า สมาทานสิกขาถูก

    จะได้ สุญญตาสมาธิ .... ยืน เดิน นั่ง นอน จิตจะมี ปิติ ทั้งวัน
    ตลอดเวลาเพราะไม่มี " รูปราคะ " ด้วยอำนาจวิปัสสนา

    ภาวนาไปอีก จะเป็น อนิมิตสมาธิ ไม่มีนิต ไม่มีการหมายรู้
    เพราะเห็นแล้วว่า รูปราคะ ก็คือ บ่อเกิดนิมิต หรือ บ่อเกิดกสิณ

    คำว่า รู้ว่าเป็นบ่อเกิด คือ ข้ามเรื่องกสิณไปแล้ว ภูมิจิตภูมิปัญญา
    ข้าความโง่ดัดดานบางประการไปแล้ว ไม่จำเป็นต้องไป เอะ อะ
    มี ภพภูมิ หรือ ไม่มี

    ภาวนาไปอีก จะไม่มีที่ตั้ง เพราะตั้งเมื่อไหร่ มันก็ แสบนั่น ปวดนี่
    เวทนากายมันมีของมันเป็น กองขี้ ไหลออกตลอดเวลา

    กาย มันเสื่อมตลอดเวลา ..... กายจึงเป็นกองขี้ ที่แบกเอาไว้

    ตรงนี้ ซ่อนเรื่องบางอย่างไว้ ไม่ได้บอกหมด

    เวลาเรียนธรรมะ ให้ จำให้แม่นๆ ว่า คนที่เขาสอน เขาหวังดี

    ไม่มีหรอก จะบอกทุกสิ่งออกไปหมด

    ดังนั้น

    คนโง่ เท่านั้น ที่จะคอย อ้าปาก ถาม หาคำตอบจากคนอื่น
    ซึ่ง "ด้วยธรรม" จะไม่มีทางได้


    กัลยณธรรม มีไว้ ตอนที่ไปติด ไม่ใช่ มีไว้เพื่อยกตูดเข้าไปโน้น นั่น นี่

    ***************

    ขออภัยนะครับ ที่ต้อง ส่งรมณ์แรงๆ บ้าง เพราะ คนถาม มัวแต่ จ้องสิ่ง
    แปลกหูแปลกตา จัดเข้าเป็นความ บ้าสังขาร จึงต้อง กำหราบ

    กำหราบแล้วได้อะไร ได้ การทำซ้ำสิ่งที่ทำอยู่ต่อไป ทำให้มากๆ
     
  12. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
  13. ณฏฺฐ

    ณฏฺฐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    63
    ค่าพลัง:
    +11
    ปวดท้ายทอยใช่มั้ย เวลานั่งสมาธิ กำหนดไปเลยที่ท้ายทอยรู้สึกจุดไหนกำหนดจุดนั้น อย่าสมาธิลอย ต้องกำหนดไปเรื่อยๆ ถึงเรียกสมาธิครับ
     
  14. อภิมาร

    อภิมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    711
    ค่าพลัง:
    +2,154
    เช็คระดับหมอน...ดูก่อน

    ถ้าระดับได้แล้ว..ก็น่าจะดีขึ้น

    แต่อย่าภาวนาจนหมอนแตกก็แล้วกัน.
     
  15. DharmaJaree

    DharmaJaree เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2013
    โพสต์:
    61
    ค่าพลัง:
    +107
    พอจะตาสว่างบ้างแล้ว ขอบคุณนะคะ
     
  16. DuchessFidgette

    DuchessFidgette เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    2,607
    ค่าพลัง:
    +9,301
    เหตุใดจึงปวดท้ายทอย ไม่มีใครในนี้สามารถตอบคำถามไปได้ดีกว่าตัวท่าน ธัมมจารี เอง ลองนึกดูดีๆ ว่าไปทำอะไรมา ดิฉันก็เคยปวดท้ายทายไปยังหัวมากมาก ชนิดเจ็บตลอดเวลา อาการเป็นมา เกือบ หก-เจ็ดปีได้ ตอนอยู่มัธยมต้น.......แต่ตอนนี้หายมานานแล้ว ชนิดไม่รู้สึกอีกเลย แต่ตอนที่ปวดหัวอยู่หกเจ็ดปีนั้นมานึกขึ้นได้ว่า มีอาการปวดรุนแรงครั้งแรกหลังจากวันที่ไปเที่ยวต่างจังหวัดและลงไปเล่นน้ำในลำธานแห่งนึงในป่า กับพี่สาวและน้องผู้ชาย ปรากฏว่าจมน้ำ น้ำเข้าหัว วันต่อมาก็ปวดท้ายทอยอย่างรุนแรงเรื่อยมาหลายปี และ เดี๋ยวมันก็หายไปเอง
     
  17. torelax9

    torelax9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    167
    ค่าพลัง:
    +527
    ผมก็เคยเป็น จะปวดเป็นจุดแหลมเล็กที่ท้ายทอย หากภาวนาแบบเอาจริงเอาจัง เผลอไปเพ่งแบบไม่รู้ตัว จะเกิดปวดขึ้น ผมแก้โดยการทำการสำรวจว่า เกร็งไหม ก็ผ่อน ลองเพิ่มลดเกร็งผ่อน ดูความแตกต่างเกร็งกับผ่อนคลาย ทำความรู้สึกแผ่ไปในกาย กว้างขึ้น เบาๆ
    นึกถึงสภาวะท้องฟ้าโปร่งๆ เอาสติมาอยู่กับกายเป็นวงกว้างขึ้น หากยังไม่หาย ก็ออกไปเดินเล่นมองวิวไกลๆ มองท้องฟ้ากว้าง สบายแล้วค่อยกลับมาภาวนาใหม่ แต่เคยอ่านตำราบางแห่งเค้าใช้จุดนี้ที่ท้ายทอยหมุนเป็นลูกข่าง กับอุณาโลมตรงหน้าผาก ถอดกายใน ผมเคยลองฝึก แต่ทนเวทนาไม่ไหว ไม่ค่อยถูกจริตวิธีนี้
     
  18. L-Walkers

    L-Walkers เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2013
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +176
    คุณ torelax9 คุณทำถูกต้องแล้ว ผมกำลังจะบอกว่า ถ้าจะพูดในเรื่องของการ
    ทำสมาธิ ไม่ว่าจะทำในท่าทางใดก็ตาม ตัวผมมักจะยึดหลักทางสายกลางคือ
    ไม่หย่อนไม่ตึงเกินไป เมื่อกำหนดดูอาการปวดบริเวรนั้นก็
    เราก็จะใช้สติพินิจพิจรณามัน รู้สึกหนักเกินไป ปวดเกินไปเอาสติเข้าไปรับรู้มัน
    แล้วปล่อยวางมัน โดยไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป เมื่อรู้แล้วก็รู้ว่ารู้แล้ว จะทราบว่า
    แท้แล้วเป็นเพียงแค่เวทนาที่เกิด เวทนาก็คือความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกไม่ทุกข์ หลัง
    จากนั้นก็จะเกิด ความรู้สึกเฉยๆ จะสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ จะเรียกว่า อุเบกขาเวทนา
    และจะเกิดสตินึกขึ้นได้ว่า สุข หมายถึง ความสุข ความสบายทางกาย ทุกข์ หมายถึง
    ความทุกข์ ความไม่สบาย ความเจ็บปวดทางกาย ก็ทำให้เกิดปัญญาคิดได้ว่า
    เมื่อทราบแล้ว รู้แล้ว ว่าแท้จริงเป็นการ เสวยอารมณ์ ความรู้สึก อย่างใดอย่างหนึ่ง
    เรานั้นก็จะรู้ว่า ควรปล่อยวาง การเสวยอารมณ์ ความรู้สึกเหล่านั้น เมื่อพ้นแล้วก็รู้ว่าพ้นแล้ว
    อาการปวดที่มีเราจะนึกขึ้นได้ว่าเป็นเพียงการรับรู้อารมณ์ของขันธ์ 5 ต่างๆเหล่านั้นเองและเมื่อเราเลือกที่จะละ
    วางอารมณ์ต่างๆเหล่านั้นแล้ว ฉันใดก็ฉันนั้น อาการปวดที่มีของคุณ DharmaJaree ก็จะไม่รู้สึกว่ามีอยู่อีกต่อไป
    เมื่อมีอาการใดขึ้นมาอีกก็กำหนดดังที่ผมกล่าวมาในทุกๆส่วน จนกว่าจะเกิดความรู้สึกว่าว่างไม่มีที่สุดหรือ ว่างในว่างในว่าง
    จนทำให้บรรลุฌาณที่สมควรจะพึ่งได้ในฌาณต่างๆ นั้นหมายถึงคุณจะทราบได้เองเด่นชัด และคิดว่าคุณควรไปอ่าน
    ความรู้เรื่องเกี่ยวกับกรรมฐาน ( สมาธิ ) เพื่อพัฒนาฌาน สมาบัติ ต่อไปจะทำให้คุณเข้าใจ ธรรมะ ยิ่งขึ้น
    และจะไม่มีความปวดใดๆ ความใดๆ มาทำลายสมาธิคุณได้อีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...