สมเด็จนางพญา ส.ก.6 รอบ 7 องค์ 7 สี ปี2547 ของสมเด็จพระราชินี พิธีใหญ่ พระดีราคาเบา

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย joni_buddhist, 25 พฤศจิกายน 2007.

  1. joni_buddhist

    joni_buddhist Legal returns ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กันยายน 2005
    โพสต์:
    13,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    203
    ค่าพลัง:
    +63,444
    สมเด็จนางพญา ส.ก.6 รอบ 7 องค์ 7 สี ปี2547 ของสมเด็จพระราชินี พิธีใหญ่<!--/Topic--> <TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 width="95%" border=0><TBODY><TR><TD><!--MsgIDbody=0--><!--OUT picture-->
    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    พระชุดสมเด็จนางพญา ส.ก. 7 องค์ 7 สี



    เนื้อผง สีเหลือง สีดำ สีแดง สีอิฐ สีเทา สีขาว สีเขียว



    พุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร 15 วัด



    รวมพุทธาภิเษก 16 ครั้งครับ พระดีพิธีใหญ่



    พิธีการจัดสร้าง



    เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุประสงค์คณะกรรมการดำเนิน
    โครงการฯ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา
    เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธาภิเษกมวลสาร ชนวนโลหะ ที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคลฯ พิธีเททอง
    และพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง

    พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทอง และจารแผ่นพระยันต์จะประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์
    7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญรวม 15 วัด





    ครั้งที่ 1 วันอังคาร ที่ 6 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 2 วันอังคาร ที่ 27 มกราคม ประกอบพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก กรุงเทพมหานคร




    ครั้งที่ 3 วันอังคาร ที่ 3 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
    ครั้งที่ 4 วันเสาร์ ที่ 7 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
    ครั้งที่ 5 วันเสาร์ ที่ 28 กุมภาพันธ์ ประกอบพิธี ณ วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) กรุงเทพมหานคร

    ครั้งที่ 6 วันเสาร์ ที่ 6 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 7 วันเสาร์ ที่ 27 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 8 วันอังคาร ที่ 30 มีนาคม ประกอบพิธี ณ วัดพระเชตุพนวิมงมังคลาราม (วัดโพธิ์) ก.ท.ม.




    ครั้งที่ 9 วันเสาร์ ที่ 17 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 10 วันอังคาร ที่ 27 เมษายน ประกอบพิธี ณ วัดห้วยมงคล จังหวัดประจวบศีรีขันธ์

    ครั้งที่ 11 วันเสาร์ ที่ 15 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 12 วันเสาร์ ที่ 29 พฤษภาคม ประกอบพิธี ณ วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

    ครั้งที่ 13 วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร
    ครั้งที่ 14 วันอังคาร ที่ 29 มิถุนายน ประกอบพิธี ณ วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก




    ครั้งที่ 15 พิธีเททองและพุทธาภิเษกทองชนวนโลหะ





    คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้กราบบังคมทูลพระกรุณาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม
    ราชินีนาถเสด็จพระราชดำเนินเททองและเสด็จเป็นองค์ประธานประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดา
    ราม ซึ่งได้นำความกราบบังคมทูลแล้วในราวเดือนมกราคม 2547 สำหรับทองชนวนโลหะที่นำมาจัดสร้างวัตถุมงคลฯ ใน
    ครั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาจากพระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมพิธีรวมเป็นจำนวน 2,588 แผ่น ซึ่งได้
    จารแผ่นพระยันต์เพื่อพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ อย่างถูกต้องตามโบราณพิธี




    ครั้งที่ 16 พิธีมหาพุทธาภิเษก
    กำหนดประกอบพิธีเมื่อการจัดสร้างวัตถุมงคฯ ทุกชนิดเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วจะนำไปประกอบ
    พิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในราวเดือน มิถุนายน 2547 คณะกรรมการดำเนินโครงการฯ
    จะนำความกราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ ต่อไป สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างในครั้งนี้ นอกจากการลงแผ่นพระยันต์ทองคำ นาก
    เงิน และทองแดงอย่างละ 108 แผ่น รวมทั้งนะปถมังอย่างละ 14 แผ่น แล้วยังได้ลงดวงประสูติ และดวงตรัสรู้ ของสมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกชุดละ 2 แผ่น อีกทั้งยังได้นำชนวนโลหะจากโครงการสร้างพระสำคัญๆ มารวมในการสร้างวัตถุ
    มงคลฯ ในครั้งนี้ด้วย

    สำหรับมวลสารและชนวนโลหะที่จะนำมาสร้างพระกริ่งและพระเนื้อผงนั้น คณะกรรมการ
    ดำเนินโครงการฯ ได้รับความเมตตาอย่างดียิ่งจากพระคณะจารย์ผู้ทรงวิทยาคมทุกจังหวัดทั่วประเทศ จังหวัดละ 9 รูป
    รวม 684 รูป ได้เมตตาอธิษฐานจิตและลงจารแผ่นโลหะรวมทั้งได้รับมวลสารผงเถ้าธูปและดินจากสังเวชนียสถานอันศักดิ์
    สิทธิ์ ในประเทศอินเดีย เนปาล และสถานที่ประดิษฐานองค์เจ้าแม่กวนอิมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากประเทศจีน รวมทั้งชนวน
    โลหะจากการสร้างพระกริ่ง 90 พรรษาสมเด็จย่า ปี 2533 ชนวนโลหะ จากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 5 รอบ
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ปี 2535 และชนวนโลหะจากการสร้างวัตถุมงคลเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระบาท
    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ปี 2542
    ที่มา </TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://www.pantipmarket.com/view.php?id=U5194162
     

แชร์หน้านี้

Loading...