ความแตกต่างระหว่าง สุญญตา(ความว่าง) และ นิโรธ(ความดับ) เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สุดทั่รัก, 26 กันยายน 2013.

  1. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    นั่นแหละ ตามน้ีนเลย

    พูดถึงว่า ถ้าไปไกลแล้วเป็นแบบนี้ เราไปแบบพอดีๆ ดีกว่า
     
  2. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102

    บางอย่างเข้าท่า ดี นะ คุณ น้ำ-จันทร์

    แต่ติดตรงนี้แหละ

    "ความว่าง เป็นสภาวะตามธรรมชาติ มีอยู่แต่เดิม "

    กับ

    "....จิตก็กลับมาว่างเช่นเดิม"

    สภาวะตรงนี้ มันอยู่ในส่วน อจิณไตย นอกเหนือจากบัญญัติ

    ถ้าไป หาที่มาที่ไป คำตอบไม่น่าจะถูกต้อง ลองพิจารณาดูสิ
     
  3. action_jai

    action_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +241

    ที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า
    "ความว่าง เป็นสภาวะตามธรรมชาติ มีอยู่แต่เดิม "
    และ...
    "....จิตก็กลับมาว่างเช่นเดิม"

    เพราะทิฏฐิของข้าพเจ้านั้น ตั้งอยู่บนฐานความเข้าใจที่ว่า..
    "จิตเดิมแท้ ประภัสสร..."

    ดังนั้น ข้าพเจ้า จึงกล่าวว่า จิตว่างมีอยู่แต่เดิม...

    แต่หากท่าน มีทัศนะต่อความเห็นที่ว่า "จิตเดิมแท้ ประภัสสร" เป็นคำกล่าวที่ไม่ถูกต้อง ท่านจึงเห็นว่า ความว่าง เป็นสิ่งใหม่ ที่ต้องพัฒนา....

    สำหรับข้าพเจ้า กิเลส เป็นสิ่งผิดปกติ....
    เรากำจัดสิ่งที่ผิดปกติออกไป... ความปกติก็กลับคืนมาดังเดิม

    มิเช่นนั้น พระพุทธองค์ จะกล่าวกับองคุลีมาล ว่า เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด...เพื่ออะไร?
    และองคุีมาล ท่านก็ได้บรรลุ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองแต่อย่างใด

    ความว่าง จึงมี เมื่อเข้าถึง...ไม่ใช่เกิดจากการพัฒนาส่ิงใหม่
    เป็นการเดินย้อนกลับไป..... ไม่ใช่เดินไปตามหาข้างหน้า

    ความเห็นข้าพเจ้า จึงเป็นเช่นนี้ และข้าพเจ้า ก็ยังยืนยันคำกล่าวของข้าพเจ้า เพราะข้าพเจ้า เข้าใจตามนี้....

    แต่ข้าพเจ้ามิได้กล่าวนะ ว่าถ้าเช่นนั้นก็ไม่ต้องทำอะไร อยู่เฉยๆ เพราะจิตปกติก็ประภัสสรอยู่แล้ว...
    อย่างไรก็ตามยังต้องฝึกสติให้รู้เท่าทัน กับสภาวะปัจจุบัน ... เพราะมันยังมีส่วนที่เป็นอาสวะกิเลส ที่หมักหมมอยู่ข้ามภพข้ามชาติ...
    เราจึงต้องฝึกตน ให้อิสระจากกิเลส.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2013
  4. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    คำกล่าวที่ว่า จิตเดิมประภัสสร ต้องแยกเป็น ๒ คือ

    จิตเดิม กับ จิตประภัสสร รวมกัน

    คำว่า จิตเดิม นั้น ถ้าเอาตามความเข้าใจของคนทั่วไป

    ก็คงจะเป็นดังที่คุณเข้าใจ และอาจมีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก

    (ท่านใดรู้อยู่ตรงไหนช่วยนำมาลงก็จะดี)

    คำว่า จิตประภัสสร หมายถึงสภาวะจิตที่สว่าง ใส ประกอบด้วยปัญญา

    หรือ จิตผ่องใส ดังคำกล่าว

    "ละเว้นความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส นี้คือ

    คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย"

    ถ้าพิจารณากับสิ่งที่คุณ น้ำ-จันทร์ เขียน

    จะรู้ได้ว่า มีอะไร หรือ บางสิ่งบางอย่าง ที่อาจจะบ่งบอกได้ว่า แปลก คือ

    ถ้า จิตเดิมประภัสสร จริงแล้ว เหตุใด จึงมีคำกล่าวที่ว่า

    ทำจิตใจให้ผ่องใส

    เพราะ จิต ที่ผ่องใสแล้ว ย่อมประกอบด้วย สติปัญญา

    ที่สมารถละวางกิเลส หรือ อกุศลกรรมได้ เมื่อสภาวะจิตประภัสสรหรือ

    ผ่องใสแล้ว เหตุใดจึงกลับมาเศร้าหมองอีกได้เล่า? เพราะเหตุใด?

    "สำหรับข้าพเจ้า กิเลส เป็นสิ่งผิดปกติ.... "
    กิเลส เป็นของ คู่โลก ที่มีอยู่ กับจิตใจ ของ มนุษย์ทุกคน

    ที่ยังไม่รู้จัก ว่าสิ่งนี้ คือ กิเลส ทำให้ เศร้าหมอง ทำให้ร้อนใจ

    แต่เมื่อจิต มีสติ และ ปัญญา มากขึ้น ทำให้รู้จักกิเลส และ หาหนทาง

    ลดละวางกิเลส ความผ่องใสของจิตใจ หรือ ความสงบของจิตใจ

    จึงมีมากขึ้น

    มิเช่นนั้น พระพุทธองค์ จะกล่าวกับองคุลีมาล ว่า เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด...เพื่ออะไร?
    และองคุีมาล ท่านก็ได้บรรลุ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้ปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนเองแต่อย่างใด


    ในกรณีของท่านองคุลีมาลย์ ก่อนจะสำเร็จพระอรหันต์

    ได้วิ่งตามพระพุทธองค์ แต่พระพุทธองค์

    ท่านกล่าว ว่า" เราหยุดแล้ว ท่านต่างหากยังไม่หยุด...."

    เมื่อองตุลีมาลย์ ด้วยมีปัญญาเป็นทุนเดิม แต่กรรมมาปิดกั้น

    เริ่มมีสติ ได้คิด ตรงนี้จึงเป็น จุดหักเห ทำให้กลับทิฏฐิ

    สำเร็จเป็น อรหันต์ได้ ด้วย อนุเคราะห์ ของพระพุทธองค์

    ต้องทำความเข้าใจตรงนี้ด้วยว่า ปัญญา ของคนแต่ละคน

    ในการบรรลุธรรม ย่อมมีความแตกต่างกัน ดังนั้น คำพูด ที่จะไปสะกิด

    ปัญญาตรงนั้น หรือ อุบายธรรมในขณะนั้น จึงเป็นไปตามความเหมาะสม

    กับ บุคคลนั้นๆ ตามสถานที่ หรือ เวลา

    ทั้งหมดนี้ คือ ความเห็นของเรา

    อย่างไรก็ขอบคุณท่านที่แสดงความคิดเห็นออกมา
     
  5. Jmind

    Jmind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +756
    กาผมว่านะ นิโรธ คือดับทุกข์
    สุญญตา คือ คุก มองไปทางไหนก็ว่าง
    คนติดคุกอยู่คนเดียว ซ้ายก็ว่าง ขวาก็ว่าง ที่นอนหมอนมุ้งก็ไม่มี มันก็ว่างเหมือนกันนะขอรับ
     
  6. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102

    นั่นสิ

    สุญญตา คือ ความว่าง

    ว่างของคนที่กิเลสดับแล้ว กับ ว่างของคนที่กิเลสยังไม่ดับ

    ต่างกันไหม?
     
  7. action_jai

    action_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +241
    สำหรับข้าพเจ้าข้าพเจ้าเห็นว่า... กิเลส เป็นสิ่งผิดปกติ.... มันมาเกาะจิต ทำให้จิตไม่เป็นปกติ
    แต่สำหรับท่านเห็นเห็นว่า.. กิเลส เป็นของ คู่โลก ที่มีอยู่ กับจิตใจ ของ มนุษย์ทุกคน

    ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเข้าใจ สุญญตา แตกต่างจากท่าน...ด้วยเหตุนี้


    เช่นเดียวกัน...ดังเช่นท่านพระพุทธทาสกล่าวว่า "สันติ" ไม่ต้องไปสร้างให้วุ่นวาย....แค่อยู่ร่วมกันอย่างไม่เบียดเบียน นั่นละ คือ "สันติ" แล้ว

    ก็อย่างที่ จขกท กล่าว...อุบายในการเข้าถึงธรรมนั้นแตกต่างกัน...สติปัญญาแต่ละบุคคลแตกต่างกัน ข้าพเจ้ายอมรับอย่างไม่มีข้อแม้ใดๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ตุลาคม 2013
  8. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102

    ถ้าอย่างนั้น

    การอยากทำบุญ แล้ว ความอยากนั้นมันมาเกาะจิต ทำให้จิตไม่เป็นปกติ

    เป็นสิ่งที่ผิดปกติใช่ไหม?

    หรือ

    ผู้ชายกับผู้หญิง มีความรักต่อกัน เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?

    หรือ ทำมาหากินแล้วอยากรวย เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?

    หรือ ทำบุญแล้วปรารถนา สิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?

    หรืออื่นๆ

    ข้อความข้างต้นนี้ ลึกนะ ลองไปพิจารณาให้ดี

    ถ้าพิจารณาตื้นๆ ความรู้ความเข้าใจ ก็จะได้แค่ตื้นๆ

    สำหรับ คุณ-น้ำจันทร์ ก็ขอขอบคุณสำหรับทุกความคิดเห็น

    หวังว่าคงจะสนุกสนานกับการพิจารณานะ
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ตามความเข้าใจ คงต้องไปเห็นที่อริยสัจจ 4 น่ะครับ
    ในส่วนของจิตเดิมแท้ ประภัสสรคือการเข้าไปเห็นลักษณะจริงๆของจิต ให้รู้จักกิเลสตัญหาตลอดจน การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงในอริยมรรคมีองค์8 ซึ่งต่อมาก็ต้องถอดถอนการยึดมั่นถือมั่น แม้จิตเดิมแท้ประภัสสรนี้ก็เช่นกัน
     
  10. action_jai

    action_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +241

    คำถามเหล่านี้ ข้าพเจ้าคิดว่าท่านไม่น่าถามเลยนะ เพราะท่านก็รู้คำตอบอยู่แก่ใจดีอยู่แล้ว และห้องอภิญญา สมาธิ น่าจะมีภูมิรู้ในระดับหนึ่ง...
    แต่ในเมื่อท่านถามข้าพเจ้าก็จะตอบตามภูมิของข้าพเจ้าก็แล้วกัน เท่าที่สติปัญญาอันน้อยนิดของข้าพเจ้าจะเอื้ออำนวย...

    ถาม...การอยากทำบุญ แล้ว ความอยากนั้นมันมาเกาะจิต ทำให้จิตไม่เป็นปกติ เป็นสิ่งที่ผิดปกติใช่ไหม?

    ตอบ....ก็ลองวิปัสนาดู ว่าขณะนั้น จิตอยากทำบุญเพราะเหตุใด หากแยบคายพอก็จะพบว่า บางครั้งเราต้องการได้บุญ เพื่อจะได้ไปสวรรค์ นั่นคือจิตมีความโลภในบุญ (โลภในสิ่งที่เป็นนามธรรม) ยังประกอบด้วยสังโยชน์สิบ คือ รูปราคะ (ความปรารถนาในภพ) ...แต่สำหรับคนที่ฝึกดีแล้ว วิปัสนาดีแล้ว จะทำบุญด้วยเห็นว่าเป็นหนทางไปสู่การดับทุกข์ คือ การสละออก เพื่อลดความตระหนี่ ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตน....ก็แล้วแต่กรณีไป ข้าพเจ้าไม่อาจตอบคำถามข้อนี้ได้...จิตใครๆ รู้ ปัจจัตตังพิจารณาเอาเอง

    ถาม....ผู้ชายกับผู้หญิง มีความรักต่อกัน เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?
    ตอบ... ก็ต้องวิปัสนาดูว่าในขณะรักเป็นความรักที่บริสุทธิ์หรือไม่ เป็นความรักที่ประกอบด้วยเมตตาคือการให้ ความเกื้อกูล หรือเป็นราคะ ที่ประกอบด้วยความพอใจเป็นหลัก... ก็ต้องพิจารณาดูเอาเอง ไม่อาจตอบได้

    ถาม.... ทำมาหากินแล้วอยากรวย เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?
    ตอบ.... ถ้าถามในฐานะปุุถุชน แล้วก็เห็นว่าเป้าหมายชีวิตคือ ความมั่งมี ความสมบูรณ์ในมนุษย์สมบัติ เพราะไม่ได้ไปเบียดเบียนผู้ใด ประกอบสัมมาอาชีวะ ก็ไม่ผิดปกติอะไร... แต่ถ้าถามฐานะของผู้หาทางดับทุกข์ ก็ขอตอบว่า เป็นสิ่งผิดปกติแน่นอน ผิดปกติอย่างไร ก็ผิดปกติตรงที่เห็นว่าโลกธรรม ๘ เป็นของเที่ยง เป็นของไม่กอบด้วยทุกข์ เป็นของที่ไม่ตั้งอยู่ในหลักอนัตตา....อันนี้ข้าพเจ้าก็ต้องให้ท่านลองวิปัสนาดูเอาเองเช่นกัน

    ถาม.... ทำบุญแล้วปรารถนา สิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นสิ่งผิดปกติใช่ไหม?
    ตอบ.... ทำบุญแล้วปรารถนาส่ิงนั้น สิ่งนี้ เป็นสิ่งผิดปกติแน่นอน เพราะการทำบุญที่ถูกทาง ต้องประกอบด้วยจิตใจบริสุทธิ์ ให้เพื่อการละออก ให้เพื่อการเกื้อกูล มิใช่ให้เพื่อหวังส่ิงใด นั่นละจึงจะเป็นการทำบุญที่ตั้งอยุ่บนสัมมาทิฏฐิ...และข้าพเจ้าก็คงต้องขอให้ท่านไปวิปัสนาดูเอาเอง


    ข้อความข้างต้นนี้ ลึกนะ ลองไปพิจารณาให้ดี

    ถ้าพิจารณาตื้นๆ ความรู้ความเข้าใจ ก็จะได้แค่ตื้นๆ

    หวังว่าคงจะสนุกสนานกับการพิจารณานะ[/QUOTE]
    .....จริงแท้อย่างท่านกล่าว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ตุลาคม 2013
  11. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456

    กั๊กๆๆๆๆ

    พิจารณาแล้ว ทั้งหมดเป็น ตรรกศาสตร์ เป็นเพียงโวหาร

    ไม่ได้กล่าว อุบายในการอบรมจิต ให้ชัดเจน

    มีแต่การ แอบอ้างเป็น ไส้ติ่งด้วยคำว่า " วิปัสสนาเอาเอง "

    เฮีย!!! ชัดๆ ตัวคนบอกว่า " วิปัสสนาเอาเอง " ก็เพราะ ยังวิปัสสนาไม่เป็น
    เลยไม่รู้ว่า จะพูดอะไรให้เป็น อุบายนำออก ที่ใช่ โดยพ้นเงื่อนไข
    พ้นอาการบัญญัติต่างๆ ขึ้นมาได้.......งง ....แต่ทำเฮีย ด้วยการแอบกล่าวว่า
    " ไปวิปัสสนาเอาเอง " .....บอดตึ๊บ !!

    *********

    ปล. บรรทัดนี้เพื่อ " ลา " จึงขอเขียนเป็น สีชมพู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2013
  12. action_jai

    action_jai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2007
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +241

    ข้าพเจ้าสงสัย....ถ้าจิตของ จขกท ข้าพเจ้าสามารถไปวิปัสนาดูแทนได้ด้วยหรือท่านนิวรณ์....หากท่านทำได้ ข้าพเจ้าขอยกให้ท่านเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในสามโลกเลยจริงๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 ตุลาคม 2013
  13. ncc2

    ncc2 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    53
    ค่าพลัง:
    +84
    ความว่างนี่คือ ดับทุกข์ ไปนิพพาน ใช้ความหมายเดียวกันไหมครับ
     
  14. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102

    คนละความหมายกันเลย

    ความว่าง หรือ จิตที่ว่าง คือ ความว่างจาก กิเลส

    หรือ เครื่องเศร้าหมอง เรียก จิตที่มีสภาวะนี้ว่า สุญญตาจิต หรือ

    เข้าถึง ความว่าง หรือ สุญญตา

    ความดับทุกข์ คือ นิโรธ ยามใดที่ดับทุกข์ภายในจิตได้

    เรียกว่าเข้าถึงนิโรธ

    ส่วน นิพพาน เป็น กริยาของการดับ หรือ อาการดับกิเลส ของจิต

    จะเรียกว่า จิตที่เข้าถึง สภาวะ นิพพาน ดังนั้น คำว่า ไปนิพพาน

    จึงยังถือว่า ยังไม่ตรงตามความหมายนัก

    สุญญตา เป้น ผล ที่จิต เข้าถึงสภาวะนิพพาน

    เมื่อจิตเข้าถึง สภาวะนิพพาน ในขณะ ที่ยังมีชีวิตอยู่

    ถ้าในขณะนั้น สภาวะของจิตสามารถดับไฟกิเลส ได้เต็มส่วน ที่ไม่สามารถ

    นำมาก่อเหตุและปัจจัย ก่อภพก่อชาติได้ เรียก สภาวะภูมิจิตนั้นว่า

    อรหันตภูมิ เพราะ ไฟแห่งกิเลสตัณหา นั้นได้ดับมอดสนิท ไม่เหลือเชื้อ

    อีก แต่ถ้าไฟกิเลส ณ ขณะนั้น ลดลงตามสัดส่วน ก็จะเป็น ภูมิธรรม

    ที่ลดหลั่นกันมา คือ อนาคามี สกทาคามี และ โสดาบัน

    หรือเรัยกว่า ภูมิแห่งอริยะบุคคล ทั้ง ๔ คู่ แต่ต้องมีเงื่อนไขว่าต้อง

    รักษาสภาวะนั้นได้ทุกขณะจิต เต็มขั้น หรือเต็มภูมิ จึงจะเรียกได้ว่า

    อยู่ในชั้นนั้นได้ นี้คือความต่าง

    ขอบตุณที่ถามเข้ามา
     
  15. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    อาจารย์ก่งก๊งไปไหน ใครรู้บ้าง
     
  16. Jmind

    Jmind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +756
    พี่คราบ คนที่กิเลสดับแล้วจะไปพูดว่าว่างหาพระแสงอะไรหละขอรับ กร๊าก อิอิ หุหุ
     
  17. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102

    วาจาที่คะนอง นำทุกข์มาให้
     
  18. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    เว่นจากการกล่าวเท็จ

    เว้นจากดารส่อเสียด

    เว้นจาการพูดคำหยาบ

    เว้นจากการพุดเพ้อเจ้อ เหลวไหล

    เป็นองค์ประกอบของ กุศลกรรมบถ ๑๐ ที่นำไปสู่ความสุขความเจริญ
     
  19. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    คำพูด ย่อมบ่งบอก ดังคำที่ว่า สำเนียงส่อภาษา กริยาส่อสกุล
     
  20. สุดทั่รัก

    สุดทั่รัก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2013
    โพสต์:
    120
    ค่าพลัง:
    +102
    สุขุมมาลยชาติ ย่อมมีจิตใจละเอียดอ่อน งดงาม อ่อนหวาน เป็น มธุรสวาจา

    เป็น ผู้มีวาจา อันงาม ใครได้ฟัง ย่อมปรารถนา ที่จะได้ยินได้ฟังอีก
     

แชร์หน้านี้

Loading...