ลดกระหน่ำปีใหม่..วัตถุมงคล.ทั่วประเทศ และเกจิอื่นๆ..เริ่มหน้า61เป็นต้นไป

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 26 มิถุนายน 2011.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่586 พระสมเด็จวัดระฆัง อนุสรณ์ 118 ปี เนื้อผง ปี 2533 พิมพ์ใหญ่ หลังตรายาง แท้ดูง่าย ให้บูชา 400 บาท
    พระสมเด็จวัดระฆังฯ ปี 2533 รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์การมรณภาพของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ครบ 118 ปี โดยมีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2533 วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในการซ่อมแซมศาลาการเปรียญของวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติแห่งหนึ่ง ให้คงสภาพดังเดิมไว้ **** รายละเอียดในการจัดสร้างนั้น มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับครั้งที่สร้าง รุ่น 100 ปี และรุ่น 108 ปีหลายอย่าง โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์อย่างยิ่งใหญ่และเข้มขลัง โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกถึง 89 รูปที่โดดเด่น คือ พระภาวนาโกศลเถระ (วีระ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม., พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศน์ฯ กทม., พระปลัดธรรมจริยวัฒน์ (วิเชียร) วัดดวงแข กทม.,พระครูจันทคุณาภรณ์ (จำปา) วัดอินทราวาส กทม., พระครูวิบูลยศีลวัตร (ช้วน) วัดหนัง กทม., พระครูวิมลธรรมธาดา (ถวิล) วัดลาดบัวขาว กทม., พระครูสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษ์มาลา กทม., พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณฯ, พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณฯ, พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเฌอ ชลบุรี, พระครูสารทรพัฒนกิจ (ละมูล) วัดเสด็จ ปทุมฯ, พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม, พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม, พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) วัดพระปฐมเจดียฺ นครปฐม, พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (เชิญ) วัดโคกทอง อยุธยา, พระครูพุทธสิริวัฒน์ (เมี้ยน) วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา, พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อยุธยา, พระครูเกษมคณาบาล (มี) วัดมารวิชัย อยุธยา, พระครูวิบูลรัตนากร (วงศ์) วัดสามกอ อยุธยา, พระครูสุนทรยติกิจ (เอียด) วัดไผ่ล้อม อยุธยา, พระครูโอภาสธรรมวัตร (ล้วน) วัดพิกุลโสภณ อยุธยา, พระครูสุวัฒนาภรณ์ (บี้) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนฯ, พระครูใบฎีกาคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร, พระครูสมุทรพัฒนโสภณ (ทองหล่อ) วัดคันลัด สมุทรปราการ, พระครูการาม (พลับ) วัดชายคลอง พัทลุง, พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา พัทลุง, พระครูกาเดิม (เพิ่ม) วัดเขียนแก้ว พัทลุง, พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง, หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน พัทลุง, พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน พัทลุง, พระอาจารย์ปลอด วัดหัวป่า พัทลุง, พระราชสิงหคณาจารย์ (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี, พระครูจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี, พระครูเมตตานุศาสน์ (บุญช่วย) วัดกุฎีทอง สิงห์บุรี, พระครูอินทคณานุสิกขน์ (เจ๊ก) วัดระนาม สิงห์บุรี, พระครูพิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญาราม พิจิตร ฯลฯ **** วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้ มีทั้งพระบูชา พระเครื่องเนื้อผง เนื้อโลหะ และเหรียญที่ระลึก ดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา **** พระสมเด็จวัดระฆังฯ 118 ปี มีทั้งหมด 5 พิมพ์ ได้แก่ พระสมเด็จพิมพ์พระประธาน (ใหญ่) พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์, พิมพ์สมเด็จฐานแซม, พิมพ์สมเด็จคะแนน, พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ โต ซึ่งทุกพิมพ์ทางวัดได้สั่งจัดทำรูปแบบแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด บรรจุอยู่ในกล่องพลาสติกจตุรัส ขนาด 10X10 ซม. ฝาใสผ้ากัมมะหยี่สีแดงเข้ม ตัวหนังสือสกรีนทอง ด้านหลังตัวกล่องสีขาวครีม พื้นเป็นลายหยาบ มีรูปตราวัดระฆัง **** จุดสังเกตสำคัญ พระสมเด็จวัดระฆังฯ 118 ปี จะแตกต่างจากรุ่น 100 ปี และ 108 ปี ก็คือ ตำแหน่งจุดไข่ปลาในพิมพ์สมเด็จพระประธาน พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์ฐานแซม จะอยู่กึ่งกลางระหว่างฐานชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ส่วนพิมพ์รูปเหมือนก็มีรูปแบบแตกต่างไปจากเดิมคือ องค์สมเด็จฯ โต ประทับนั่งอยู่ในซุ้มดอกมะลิรูปวงรี ในกรอบนูนสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พิมพ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ด้านหลังองค์พระลักษณะตราที่ใช้ปั๊มจะเป็นรูป “ระฆัง” มีแต่เฉพาะ พิมพ์สมเด็จคะแนน เท่านั้น ที่ตราประทับจะเป็นอักษรคำว่า “โต” ทุกพิมพ์สีหมึกตราเป็น สีม่วงอมชมพู ซึ่งจะมีทั้งชัดบ้าง จางบ้างแตกต่างกันไป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • SAM_1295.JPG
      ขนาดไฟล์:
      0 bytes
      เปิดดู:
      25
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กุมภาพันธ์ 2014
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่587 พระสมเด็จวัดระฆัง อนุสรณ์ 118 ปี เนื้อผง ปี 2533 1ชุด5องค์ หลังตรายาง แท้ดูง่าย ให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม บาท มีสมาชิกนิมนต์แล้วครับ
    พระสมเด็จวัดระฆังฯ ปี 2533 รุ่นอนุสรณ์ 118 ปี สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์การมรณภาพของ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ครบ 118 ปี โดยมีพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2533 วัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในการซ่อมแซมศาลาการเปรียญของวัดระฆังฯ ซึ่งเป็นโบราณสถานของชาติแห่งหนึ่ง ให้คงสภาพดังเดิมไว้ **** รายละเอียดในการจัดสร้างนั้น มีวัตถุประสงค์ใกล้เคียงกับครั้งที่สร้าง รุ่น 100 ปี และรุ่น 108 ปีหลายอย่าง โดยประกอบพิธีพุทธาภิเษกทั้งพิธีสงฆ์ และพิธีพราหมณ์อย่างยิ่งใหญ่และเข้มขลัง โดยมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย มีพระเกจิอาจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตปลุกเสกถึง 89 รูปที่โดดเด่น คือ พระภาวนาโกศลเถระ (วีระ) วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม., พระญาณโพธิ (เข็ม) วัดสุทัศน์ฯ กทม., พระปลัดธรรมจริยวัฒน์ (วิเชียร) วัดดวงแข กทม.,พระครูจันทคุณาภรณ์ (จำปา) วัดอินทราวาส กทม., พระครูวิบูลยศีลวัตร (ช้วน) วัดหนัง กทม., พระครูวิมลธรรมธาดา (ถวิล) วัดลาดบัวขาว กทม., พระครูสุทธิธรรมาจารย์ (คอน) วัดชัยพฤกษ์มาลา กทม., พระครูอุดมโชติวัฒน์ (อรรถ) วัดองครักษ์ สุพรรณฯ, พระครูสุนทรสุวรรณกิจ (ดี) วัดพระรูป สุพรรณฯ, พระครูศรีฉฬังคสังวร (เริ่ม) วัดจุกกระเฌอ ชลบุรี, พระครูสารทรพัฒนกิจ (ละมูล) วัดเสด็จ ปทุมฯ, พระครูเกษมธรรมนันท์ (แช่ม) วัดดอนยายหอม นครปฐม, พระครูฐาปนกิจสุนทร (เปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม, พระครูเกษมนวกิจ (เต้า) วัดเกาะวังไทร นครปฐม, พระพิพัฒน์วิริยาภรณ์ (ผูก) วัดพระปฐมเจดียฺ นครปฐม, พระครูวิชัยประสิทธิคุณ (เชิญ) วัดโคกทอง อยุธยา, พระครูพุทธสิริวัฒน์ (เมี้ยน) วัดโพธิ์กบเจา อยุธยา, พระครูสังวรสมณกิจ (ทิม) วัดพระขาว อยุธยา, พระครูเกษมคณาบาล (มี) วัดมารวิชัย อยุธยา, พระครูวิบูลรัตนากร (วงศ์) วัดสามกอ อยุธยา, พระครูสุนทรยติกิจ (เอียด) วัดไผ่ล้อม อยุธยา, พระครูโอภาสธรรมวัตร (ล้วน) วัดพิกุลโสภณ อยุธยา, พระครูสุวัฒนาภรณ์ (บี้) วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, พระครูอุทัยธรรมธารี (เส็ง) วัดป่ามะไฟ ปราจีนฯ, พระครูใบฎีกาคล้อย วัดถ้ำเขาเงิน ชุมพร, พระครูสมุทรพัฒนโสภณ (ทองหล่อ) วัดคันลัด สมุทรปราการ, พระครูการาม (พลับ) วัดชายคลอง พัทลุง, พระครูกาชาด (บุญทอง) วัดดอนศาลา พัทลุง, พระครูกาเดิม (เพิ่ม) วัดเขียนแก้ว พัทลุง, พระอาจารย์ศรีเงิน วัดดอนศาลา พัทลุง, หลวงพ่อฤทธิ์ วัดบ้านสวน พัทลุง, พระอาจารย์แก้ว วัดโคกโดน พัทลุง, พระอาจารย์ปลอด วัดหัวป่า พัทลุง, พระราชสิงหคณาจารย์ (แพ) วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี, พระครูจิตตานุรักษ์ (จวน) วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี, พระครูเมตตานุศาสน์ (บุญช่วย) วัดกุฎีทอง สิงห์บุรี, พระครูอินทคณานุสิกขน์ (เจ๊ก) วัดระนาม สิงห์บุรี, พระครูพิบูลธรรมเวท (เปรื่อง) วัดหิรัญญาราม พิจิตร ฯลฯ **** วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้ มีทั้งพระบูชา พระเครื่องเนื้อผง เนื้อโลหะ และเหรียญที่ระลึก ดั่งเช่นทุกครั้งที่ผ่านมา **** พระสมเด็จวัดระฆังฯ 118 ปี มีทั้งหมด 5 พิมพ์ ได้แก่ พระสมเด็จพิมพ์พระประธาน (ใหญ่) พิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์, พิมพ์สมเด็จฐานแซม, พิมพ์สมเด็จคะแนน, พิมพ์รูปเหมือนสมเด็จฯ โต ซึ่งทุกพิมพ์ทางวัดได้สั่งจัดทำรูปแบบแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด บรรจุอยู่ในกล่องพลาสติกจตุรัส ขนาด 10X10 ซม. ฝาใสผ้ากัมมะหยี่สีแดงเข้ม ตัวหนังสือสกรีนทอง ด้านหลังตัวกล่องสีขาวครีม พื้นเป็นลายหยาบ มีรูปตราวัดระฆัง **** จุดสังเกตสำคัญ พระสมเด็จวัดระฆังฯ 118 ปี จะแตกต่างจากรุ่น 100 ปี และ 108 ปี ก็คือ ตำแหน่งจุดไข่ปลาในพิมพ์สมเด็จพระประธาน พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์ฐานแซม จะอยู่กึ่งกลางระหว่างฐานชั้นที่ 2 และชั้นที่ 3 ส่วนพิมพ์รูปเหมือนก็มีรูปแบบแตกต่างไปจากเดิมคือ องค์สมเด็จฯ โต ประทับนั่งอยู่ในซุ้มดอกมะลิรูปวงรี ในกรอบนูนสูงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พิมพ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ด้านหลังองค์พระลักษณะตราที่ใช้ปั๊มจะเป็นรูป “ระฆัง” มีแต่เฉพาะ พิมพ์สมเด็จคะแนน เท่านั้น ที่ตราประทับจะเป็นอักษรคำว่า “โต” ทุกพิมพ์สีหมึกตราเป็น สีม่วงอมชมพู ซึ่งจะมีทั้งชัดบ้าง จางบ้างแตกต่างกันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่588 พระสมเด็จพิมพ์ไกเซอร์ หลวงปู่นาค วัดระฆัง ปี 2495 ผสมผงเก่าสมเด็จโตฯ แตกลายงา สภาพสวย เลี่ยมพร้อมใช้ ให้บูชา 850 บาท มีสมาชิกนิมนต์แล้วครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่589 เหรียญพระพรหมพระราชทาน ชุดกรรมการ หลวงพ่อชำนาญ วัดบางกุฎีทอง ปทุมธานี เนื้อตะกั่วไม่ตัดปีก สภาพสวย ให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม ครับมีสมาชิกนิมนต์แล้วครับ
    เหรียญพระพรหมรุ่นนี้เป็นเหรียญอาร์ม องค์พระพรหมเต็มองค์ ทรงเครื่องมหาราชะ ดังองค์พระพรหมองค์ใหญ่ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในโลก วิหารแก้ว วัดบางกุฎีทอง มีองค์หลวงพ่อเรียกเงินมาอยู่บนยอดพระพรหม 4 เศียร 4 หน้า 4 ทิศ
    หลวงพ่อชำนาญท่านได้อธิบายไว้ดังนี้ 1.หน้าพรหมมหาเทพ (ด้านหน้า) เชิญพระพรหมทั่วจักรวาล 16 ชั้น แต่ละชั้นมีอานุ ภาพทางอิทธิฤทธิ์แตกต่างกันไป รวมแล้วมีปาฏิหาริย์ทุกอย่าง ตามแต่จะอธิษฐานบอกกล่าวให้พระพรหมช่วย 2.หน้ามหาเทพ (ด้านหน้าขวา) เชิญเทวดา ผู้ทรงฤทธิ์บนสวรรค์ชั้นฟ้ามาช่วยเหลือเรา 3.หน้าเทพธิดา (ด้านซ้าย) เชิญเทพธิดา นางฟ้า นางสวรรค์ ผู้ทรงฤทธิ์บนสวรรค์ชั้นฟ้ามาช่วยเหลือเรา 4.หน้าพ่อครู (ด้านหลัง) พ่อปู่ฤๅษีทั้ง 108 องค์ รวมครูบาอาจารย์ทั้งหมดทั้งสิ้นช่วยเหลือเราในทุกแขนงวิชา สรรพความรู้หนุนนำส่งให้เจริญรุ่งเรืองไม่มีที่ว่างเว้น
    พระกร (มือทั้ง 8) ทรงมหิทธานุภาพ ช่วยเหลือทั้ง 8 ประการ คือ 1.สังข์ หมายถึงชัยชนะที่มิรู้จบสิ้น อำนวยพร ชื่อเสียงเกียรติยศ 2.จักร ปราบศัตรูได้ราบคาบ ชนะปัญหาอุปสรรค ขจัดสิ่งอัปมงคล 3.คทา ผู้นำอำนาจ ชี้เป็นชี้ตาย ชี้ให้มีความเจริญ 4.หม้อน้ำ ชะล้างสิ่งอัปมงคล ละลายสิ่งชั่วร้าย 5.ดอกบัว บริสุทธิ์สะอาด สวยงาม จินตนาการ ความสดใส เบิกบาน 6.คัมภีร์ ความรู้ ปัญญา ความคิด ฉลาดปราดเปรื่อง 7.จับพระอุระ (จับที่อก) แสดงถึงใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธานสำเร็จทุกอย่างได้ด้วยใจ (เป็นปริศนาธรรม) 8.ประทานพร พรทั้งปวงที่ท่านขอให้สำเร็จ ให้สมหวังให้สมใจ ให้ทุกอย่างร่ำรวย

    [​IMG] [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  5. weerapongm

    weerapongm Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2014
    โพสต์:
    30
    ค่าพลัง:
    +70

    ช่วย check รายการท่ี่ PM (19/02/2557) ให้หน่อยว่ายังมีของให้เช่าอยู่ไหม..
     
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **********รายการที่ยังมีให้บูชาครับ***********

    รายการที่414 พระสมเด็จเนื้อผงรุ่นแรก ( ลองพิมพ์ ) พ.ศ.2494 หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สภาพสวยมาก พร้อมตลับเงินหนาอย่างดี ให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม ครับ
    .........พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณ " พระราชสิงหคณาจารย์ " หรือที่รู้จักกันดีในนาม หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง พระเครื่องของท่านทุกรุ่น ทุกพิมพ์ทรงล้วนมีพุทธคุณสูงเยี่ยมในทุกๆด้าน ผู้ประสบปาฏิหาริย์แห่งความเข้มขลังเป็นที่เลื่องชื่อลือชาอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทย ชาวจีน ตลอดจนชาวต่างประเทศ เช่น ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย ต่างรู้จักกิตติคุณของหลวงพ่อแพเป็นอย่างดี
    .........หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง พระสมเด็จเนื้อผง รุ่นแรก ( ลองพิมพ์ ) นิยมมาก จัดสร้าง พ.ศ.2494 พระรุ่นนี้พิมพ์ตื้นๆทุกองค์ สภาพสวยมาก ผิวเดิมๆ สร้างน้อย หายากครับ แท้ ดูง่าย สบายใจ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3909.JPG
      IMG_3909.JPG
      ขนาดไฟล์:
      68.9 KB
      เปิดดู:
      45
    • IMG_3913.JPG
      IMG_3913.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.8 KB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_3915.JPG
      IMG_3915.JPG
      ขนาดไฟล์:
      45.1 KB
      เปิดดู:
      34
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่ 417 เหรียญหยดน้ำ รุ่น 90 ปี หลวงปู่ชอบ เนื้อทองแดงผิวไฟ แดงทั้งเหรียญสวยมากครับ เป็นอีกรุ่นที่หลวงปู่ปลุกเสก พิธีดีโดยมีพระเถระมาร่วมปลุกเสกนับพัน โดยไม่ได้นัดหมายกัน ปลุกเสกทั้งคืน ผู้อาวุโสในจังหวัดเลยที่ได้ร่วมงานนี้เล่าให้ฟังว่า พิธีดีมากๆ ปลุกเสกกันทั้งคืน ประสบการณ์ก็มีให้ปรากฏมากมาย ถือเป็นเหรียญดีอีกรุ่นของหลวงปู่ชอบ รีบเก็บครับก่อนแพงไปกว่านี้ สภาพนี้ถือว่าเป็นเหรียญสวยผิวไฟ แดงทั้งเหรียญ สนใจเชิญครับ ให้บูชา 800 บาท ครับ
    หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ บ้านโคกมน ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย หลวงปู่ชอบ เดิมชื่อ บ่อ เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๔ ณ บ้านโคกมน ต.ผาน้อย อ.วังสะพุง จ.เลย บิดาชื่อ มอ มารดาชื่อพิลา ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน เป็นชาย ๒ หญิง๒ เมื่อท่านอายุได้ ๑๔ ปี ได้มีพระธุดงค์กรรมฐานรูปหนึ่ง ชื่อ พระอาจารย์พา จาริกไปปักกลดรุกขมูลอยู่ที่วัดใกล้บ้านท่าน เมื่อท่านมีอายุย่างเข้า ๑๙ ปี อาจารย์พาก็จัดการดูแลให้ผ้าขาวศิษย์ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านนาแก บ้านนากลาง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู หลวงปู่อุปสมบท เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๖๗ มีพระครูวิจิตรวิโสธนาจารย์เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์แดง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานสโม” หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระอรหันต์เถระเจ้าผู้ได้ฉายาว่า “พระผู้เป็นที่รักของเทวดาทั้งปวง” ในสมัยที่หลวงปู่ชอบยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่มั่น ท่านเมตตาให้หลวงปู่ชอบรับแขกพิเศษในตอนกลางคืนแทนองค์ท่าน ซึ่งจะมีพวกมาจากภพภูมิอื่นเป็นเทวดา นาค มากราบไหว้ขอฟังธรรม มีจำนวนมากบ้าง น้อยบ้าง บางครั้งมีจำนวนเป็นหลักสิบ บางทีก็เป็นจำนวนร้อย บางครั้งก็ถึงจำนวนพัน ๆ ปฏิปทาของท่าน ในสายพระธุดงคกรรมฐานศิษย์ท่านพระอาจารย์มั่น เป็นที่ยกย่องกันว่า หลวงปู่เป็นศิษย์ที่สำคัญที่สุดองค์หนึ่งที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญทางความเพียร มีนิสัยมักน้อย ถือสันโดษ ชอบแสวงหาความสงัดวิเวกอยู่ตามป่าตามเขามาตลอด ข้อปฏิบัติและธรรมภายในของท่านเป็นที่สรรเสริญ และหลวงปู่ชอบท่านยังเป็นตัวแทนแห่งโชคลาภ โดยท่านเดินธุดงค์ไปที่แห่งใด ท่านไม่เคยอดอยาก ต้องมีผู้คนมาใส่บาตรอยู่เสมอแม้จะทุรกันดารขนาดไหนก็ตาม และผู้ใดที่บูชาท่านมักจะมีโชคลาภ ทำมาค้าขายได้สะดวก ประสบความสำเร็จเสมอ-------- หลวงปู่ชอบ ได้มรณภาพ ในวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ สิริรวมอายุได้ ๙๒ ปี ๑๐ เดือน ๒๗ วัน พรรษา ๗๐
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3532.JPG
      IMG_3532.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.2 KB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_3533.JPG
      IMG_3533.JPG
      ขนาดไฟล์:
      79.9 KB
      เปิดดู:
      40
  8. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่418 เหรียญหล่อ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นฝาบาตร โค๊ดเลข9ไทยครับ มีน้อยมากๆ ที่รู้ๆมา มีไม่ถึงร้อยเหรียญครับ มีฝาบาตรของหลวงปู่มั่น หลวงปู่ฝั้น และหลวงปู่ชอบ อื่นๆอีกหลายคณาจารย์นำฝาบาตร มาทำเป็นพระรุ่นนี้ และรุ่นอื่น รุ่นนี้มีไม่ถึง100เหรียญ ให้บูชา 1500 ครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3530.JPG
      IMG_3530.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.9 KB
      เปิดดู:
      42
    • IMG_3531.JPG
      IMG_3531.JPG
      ขนาดไฟล์:
      72.4 KB
      เปิดดู:
      51
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่419 เหรียญอายุครบ67ปี หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี ปี2535 สภาพสวย ให้บูชาที่ 300 บาท ครับมีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
    การระลึกชาติของ..หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี
    ตาม ประวัติของท่านเล่าว่า ชีวิตในเยาว์วัยอายุได้ ๒ ขวบ มารดาของท่านก็ถึงมรณะกรรม คุณตาของท่านก็รับภาระ เลี้ยงดู สิ้นบุญของคุณตาหลวงพ่อสมชายก็มาอาศัยอยู่กับญาติ ซึ่งมีฐานะเป็นลูกผู้พี่ แต่เมื่อพี่สะไภ้ได้เสียชีวิตจากไป ท่านต้องรับภาระเลี้ยงดูหลาน ๔ -๕ คนแทนเพราะพี่ชายเมื่อสิ้นพี่สะไภ้ ก็กระทำตัวเป็นนักเลงหัวไม้ หาได้สนใจในหน้าที่ของพ่อที่มีต่อลูกไม่ ท่านจึงได้พยายามสร้าง ฐาานะขึ้นมา ให้ทัดเทียมกับผู้อื่น ด้วยอุปนิสัยที่เป็นผู้มีนิสัยเด็ดเดี่ยว เอาจริง ถ้าตั้งใจจะทำสิ่งใดแล้วต้องทำให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เป็นนักเสียสละบำเพ็ญประโยชน์ ของส่วนรวม ไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยาก เป็นผู้มีความทรหดอดทน กล้าหาญ ท่านได้สร้างฐานะขึ้นมาจนสำเร็จ เป็นที่เคารพยกย่อง นับถือของตระกูล ตลอดจนคนทั่วไปในหมู่บ้านนั้น
    ระลึกชาติได้
    ตอน ที่ท่านยังไม่บวช เวลาท่านนอน มือท่านทั้งสองข้างมาพนมเข้าหากัน และบริกรรมว่า "โอม ปถวีๆๆ" ขานั้นก็นั่งขัดสมาธิ หลุดปุ๊บ..ก็ระลึกถึงชาติเก่าทันที ท่านบอกว่าเป็นอยู่อย่างนี้ ระลึกได้ถึง ๔ ปี ทุกคืน และเป็นไปอัตโนมัติ ว่า
    ชาติที่ ๑ นั้น ท่านเกิดเป็นฤาษี บวชเป็นฤาษี ลุงของท่านเป็นหัวหน้าฤาษีในชาตินั้น ชาตินี้ลุงของท่านก็กลับมาเป็นพ่อของท่าน
    ชาติที่ ๒ ก็เป็นอย่างนั้นอีก (เหมือนชาติที่ ๑)
    ชาติ ที่ ๓ ได้เกิดเป็นลูกชาวประมง พอโตขึ้นหน่อย พ่อแม่ก็ให้ออกไปหาปลาเพราะเป็นชาวประมง แต่ท่านไม่เอา ท่านก็เลยบวช พอไปก็ไปพบกับสำนักของฤาษีอีก พอกลับชาตินี้ คือชาติปัจจุบัน ท่านก็กลับมาเป็นลูกของลุงในชาติอดีตคือ "ฤาษี" นั่นเอง กลับมาเกิดเป็นพ่อของท่าน ต่อมาท่านได้บรรพชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 อายุ 19 ปี ณ อุโบสถวัดเหนือ อ.เมือง จ. ร้อยเอ็ด โดยมี ท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ธรรมยุต เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ถวายตัวเป็น ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถร เมื่อปลายปี พ.ศ.2487 ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่าน ได้ทำการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดศรีโพนเมือง จ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโลเถร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่ฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่กล่าวมา ทั้งหมดล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นทั้งสิ้นโดยเฉพาะ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ของ หลวงปู่ฝั้น อาจาโรอีกด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หลวงพ่อสมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์ของ หลวงปู่มั่น ภายหลังจากอุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว หลังจากประพฤติปฏิบัติธรรม จนซาบซึ้งในพระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านได้นำเอาธรรมะไปอบรมสั่ง สอนประชาชนในท้องถิ่นเดิมของท่าน จนปัจจุบันหันมานับถือพุทธศาสนาจนหมดสิ้นภาย หลังท่านได้ตั้งสำนักปฏิบัติธรรมบนเขา แล้วตั้งเป็นวัดชื่อว่า วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี จนมีชื่อเสียงและเป็นที่เคารพนับถือทั่วไป ต่อมาท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระวิสุทธิญาณเถระ หลังจากนั้นท่านก็ได้มรณภาพไปในที่สุด
    ระสมชาย ฐิตวิริโย พระสมชาย ฐิตวิริโย เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.
    2468 ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด โยมบิดาชื่อ บุญ มติยาภักดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีของ คุณหลวงเสนา ผู้นำศาสนาพราหมณ์ในท้องถิ่นนั้น
    ชิวิตปฐมวัย

    ท่านต้องกำพร้าแม่ แต่วัยเยาว์ และมาเสียคุณตาผู้เป็นหลักในกาลต่อมาอีก ท่านจึงต้องไปอาศัย อยู่กับญาติ ที่มีศักดิ์เป็นพี่ชาย แต่ต่อมาพี่สะใภ้ก็ถึงแก่กรรม ท่านก็ต้องรับภาระ เลี้ยงหลาน 4-5 คนตั้งแต่ท่านเองอายุได้เพียง 14 ปีเศษ แต่ด้วยความขยัน อดทนเป็นเลิศ คุณความดี และบุญบารมี ที่สั่งสมมา แต่ปางก่อน ทำให้ท่านผ่านวิกฤติ แห่งชีวิตมาได้ และด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในบวรพระพุทธศาสนา ที่บังเกิดในดวงจิตดวงใจ ท่านอย่างล้นพ้น เมื่อท่านอายุได้ 19 ปี ได้เข้ามอบกาย ถวายตัว เป็นนาค กับพระเพ็ง พุทธธัมโม วัดป่าศรีไพรวัลย์ เมืองร้อยเอ็ด และต่อมาได้บรรพชา เป็นสามเณรเมื่อวันที่ มิถุนายน พ.ศ. 2487 ณ อุโบสถวัดเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้าคุณพระโพธิญาณมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ ในระหว่างที่เป็นสามเณร ที่วัดศรีไพรวัลย์ ท่านได้ทราบกิตติศัพท์ว่า พระมั่น ภูริทัตโต เป็นพระอรหันต์ ผู้หมดจดจากกิเลส จึงทำให้สามเณรสมชาย ในครั้งนั้น มีความปิติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ใคร่ที่จะได้เห็นได้กราบไหว้ ได้ศึกษาธรรมจากพระอรหันต์
    ในสมัยปัจจุบัน พระวิสุทธิญาณเถร หรือพระสมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี
    ชาติกำเนิดและชีวิตปฐมวัย
    พระสมชาย ฐิตวิริโยท่านเป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ด เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2468 ตรงกับวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ปีฉลู เวลาเที่ยงวัน ณ หมู่บ้านเหล่างิ้ว ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ดในตระกูลที่เป็นชาวฮินดู พระสมชาย เป็นบุตรคน ที่ 2 ของโยมบิดาชื่อ สอน มติยาภักดิ์ โยมมารดาบุญ มติยาภักดิ์ โยมมารดาของท่านเป็นบุตรีคนเล็กของ คุณหลวง เสนา ผู้นำ ศาสนาพราหมณ์ ในท้องถิ่นนั้น พระสมชาย ฐิตวิริโยท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันเพียง 2 คน คือ 1. นายหนู มติยาภักดิ์ 2. พระสมชาย ฐิตวิริโย
    พระสมชาย ได้ถือกำเนิดในสกุลของศาสนาพราหมณ์ วันที่พระสมชายกำเนิดนั้น เป็นวันตรงกับเวลาประกอบพิธีทาง ศาสนา พอเริ่มขบวนแห่ มารดาของท่าน ให้ กำเนิดท่าน ซึ่งทำให้พิธีการทางศาสนาที่กำลังกระทำอยู่ ต้องหยุด ชะงักลง ด้วย นิมิตหมายอันนี้ คุณตาหรือคุณหลวงเสนา จึงได้ทำนายไว้ว่า "พระสมชาย จะเป็นผู้เปลี่ยนแปลงศาสนาเดิมของตระกูล"และก็ เป็นไปตามนั้น เพราะท่านมีความสนใจในธรรมะทางพระพุทธศาสนา ท่านชอบอ่าน หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาก โดยที่ ท่านมีอุปนิสัยใน ทางธรรมตั้งแต่อายุ 16 ปี ท่านได้ใช้ชีวิตอยู่ในทางฆราวาส จนถึงอายุ 19 ปี ด้วยความเบื่อ หน่ายต่อความเป็น อยู่ของโลกที่เต็มไปด้วยความ สับสนวุ่นวายและเต็มไปด้วยความทุกข์ไม่เที่ยง ท่านจึงคิดที่จะสละเพศฆราวาส ออกบวชในบวร พุทธศาสนาเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ ท่านได้บรรพชาเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2487 ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปีวอก อายุ 19 ปี ณ อุโบสถวัดเหนือ อ.เมือง จ. ร้อยเอ็ด โดยมีท่านเจ้าคุณ พระโพธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ดธรรมยุตเป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์พระมั่น ภูริทัตตเถร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2487 ที่วัดป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ท่านได้ทำการ อุปสม บท ณ พัทธสีมาวัดศรีโพนเมืองจ.สกลนคร เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2489 โดยมีท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโลเถร ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระฝั้น อาจาโร เป็นกรรมวาจาจารย์ พระกงมา จิรปุญโญ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ครูบาอาจารย์ที่กล่าวมาทั้งหมด ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของหลวง ปู่มั่นทั้งสิ้นโดยเฉพาะท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์นั้น เป็นพระอุปัชฌาย์ของพระฝั้น อาจาโรอีกด้วย ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า พระสมชาย ฐิตวิริโย เป็นทั้งลูกศิษย์ หลานศิษย์และเหลนศิษย์ของพระมั่น ภายหลัง จากอุปสมบท เป็นพระภิกษุแล้ว หลังจากประพฤติปฏิบัติธรรม จนซาบซึ้งในพระศาสนาพอสมควรแล้ว ท่านได้นำเอาธรรมะไปอบรมสั่งสอนประชาชนในท้องถิ่น เดิมของท่านจนปัจจุบัน หันมานับถือพุทธศาสนาจนหมดสิ้น ชีวิตสมณะ การแสวงหาธรรม และปฏิปทา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3528.JPG
      IMG_3528.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.2 KB
      เปิดดู:
      62
    • IMG_3529.JPG
      IMG_3529.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      43
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่420 พระกริ่งนฤมิตโชค เนื้อนวโลหะแก่เงิน หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ปี 2554 ให้บูชาที่ 1500 บาท
    หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี รุ่นนฤมิตรโชค
    วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง
    - เพื่อหารายได้สร้างโรงเรียน อาคารปฏิบัติธรรมวัดเขาวง จ.สระบุรี
    - สมทบทุนสร้างอาคารหอพักสงฆ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ขอนแก่น)
    ชนวนมวลสารมากมาย
    ปลุกเสกโดยหลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน วันที่ 21 ธันวาคม 2554
    พระกริ่งนฤมิตโชค เนื้อนวโลหะแก่เงิน หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน ปี 2554 ผสมชนวนพระกริ่งเก่ามากมาย เนื้อนี้จัดสร้าง 5,999 องค์ ไม่ผ่านการใช้มาก่อน ใต้ฐานอุดกริ่ง กริ่งดังไม่ติดขัด ทุกองค์ตอกโค้ด และหมายเลขประจำองค์ บูชาพร้อมกล่องเดิมๆจากวัดขนาดองค์พระ ฐานกว้าง 2.0 ซม. สูง 4.0 ซม.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 25365.jpg
      25365.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.4 KB
      เปิดดู:
      43
    • 251.jpg
      251.jpg
      ขนาดไฟล์:
      55.6 KB
      เปิดดู:
      43
    • 2536.jpg
      2536.jpg
      ขนาดไฟล์:
      67.1 KB
      เปิดดู:
      70
  11. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที423 เหรียญสมเด็จโต วัดระฆัง รุ่น 122 ปี สภาพสวย เปิดบูชาชุดละ 150 บาท รับประกันแท้ตลอดชีวิตมีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3264.JPG
      IMG_3264.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.5 KB
      เปิดดู:
      61
    • IMG_3265.JPG
      IMG_3265.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.1 KB
      เปิดดู:
      33
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 มิถุนายน 2014
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่424 เหรียญลูกเสือชาวบ้าน ปี2521หลวงปู่แหวน ปลุกเสก [COLOR="Navy"[/COLOR]สภาพสวย[COLOR="Olive"] ให้บูชาที่ 150 บาท ครับ[/COLOR]มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1615.JPG
      IMG_1615.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.8 KB
      เปิดดู:
      46
    • IMG_1616.JPG
      IMG_1616.JPG
      ขนาดไฟล์:
      71.4 KB
      เปิดดู:
      33
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มิถุนายน 2014
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่ 425 พระสมเด็จนางพญา พิมพ์ใหญ่ (ชุดพรหมบุรี) เนื้อดินผสมว่าน 2496 หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ให้บูชาที่ 1500 บาทครับ(ภาพถ่ายไม่ค่อยชัดครับแต่ของจริงสวยกว่าในรูปครับ)

    วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7713 ข่าวสดรายวัน
    พระชุดวัดพรหมบุรี 2496 รุ่นแรกของหลวงพ่อจรัญ(1)
    คอลัมน์ มุมพระเก่า
    หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม หรือพระธรรมสิงหบุราจารย์ เจ้าอาวาสวัดอัมพวัน อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
    แม้ท่านไม่ใช่พระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในด้านวิชาอาคม แต่เน้นไปในทางการสอนปฏิบัติธรรมกรรมฐาน แต่ตามประวัติของท่านนั้นไม่ธรรมดา เพราะศึกษาสรรพวิชาจากอดีตเกจิอาจารย์ดังหลายรูปเช่นกัน
    หากกล่าวในเรื่องวัตถุมงคลแล้ว หลวงพ่อจรัญท่านไม่นิยมสร้าง หรือชี้นำให้ญาติโยมพุทธศาสนิกชนหลงใหลได้ปลื้ม ตรงกันข้าม ท่านจะสั่งสอนให้เชื่อในเรื่องของ "กรรม" และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    แต่ในความเป็นจริงนั้น พระเครื่องหรือวัตถุมงคลของหลวงพ่อจรัญแทบทุกชนิดเป็นที่เสาะหาของบรรดาศิษยานุศิษย์อย่างยิ่ง โดยเฉพาะยุคแรกๆ เช่น เหรียญรูปเหมือนรุ่นแรก, พระพุทธนฤมิตรโชค หรือ "พระสมเด็จกวาง" ฯลฯ ฉบับนี้จึงขอนำเสนอ "พระเครื่องชุดวัดพรหมบุรี" ที่ท่านสร้างไว้เมื่อครั้งพำนักอยู่วัดพรหมบุรี อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ซึ่งถือว่าเป็น "รุ่นแรก" ที่แท้จริงของท่าน
    มูลเหตุแห่งการสร้าง พระชุดนี้สร้างเมื่อปี 2496 สมัยที่ท่านยังอยู่วัดพรหมบุรี ซึ่งไม่ไกลจากวัดอัมพวัน ครั้งนั้นวัดพรหมบุรีได้ดำเนินการสร้างโบสถ์ หลวงพ่อท่านมีดำริที่จะสร้างพระไว้แจกแก่ญาติโยมที่มาช่วยบริจาค ท่านได้ไปขอความเมตตาต่อพระราชโมลีเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ขอให้เป็นเจ้าพิธีในการจัดสร้าง พระราชโมลีได้มอบมวลสารผงของสมเด็จโตที่เก็บไว้และได้ออกหนังสือรับรองให้เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 2495
    นอกจากนั้น ยังมีผงเก่าๆ ที่ท่านได้รวบรวมไว้เช่น 1.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน 2.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู 3.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน 4.ผงพุทธคุณของหลวงพ่อเชย วัดปากน้ำ (หรือวัดท่าควาย) 5.ผงธูปจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ อาทิ วัดพระพุทธชินราช, วัดโสธร, วัดพระพุทธบาทสระบุรี, วัดนางพญา พิษณุโลก, วัดพระนอนจักรสีห์
    เมื่อรวบรวมผงที่นำมาสร้างพระแล้วได้นำมาสร้างเป็นพระพิมพ์ทั้งหมด 38 พิมพ์ทรง อาทิ พระสมเด็จ 7 ชั้น, พระสมเด็จ 3 ชั้น, พระสมเด็จคะแนน, พระขุนแผน, พระสังกัจจายน์, พระนางพญา, พระปางประจำวัน ทั้ง 7, นางกวัก, พระรอดเนื้อผง, พระชัยวัฒน์เนื้อผง และลูกอม ฯลฯ แต่ละพิมพ์สร้างไม่มาก ลักษณะของพระชุดนี้เนื้อพระจะแกร่ง เนื้อละเอียดค่อนข้างใส จึงเรียกพระชุดนี้ว่าพระสมเด็จเนื้อหินมีดโกน แล้วนำไปให้หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบาปลุกเสกเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2496 เสร็จแล้วนำมาปลุกเสกอีกทีที่วัดพรหมบุรีในวันที่ 19 มกราคม 2496
    โดยมีเกจิที่ร่วมปลุกเสก เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี, หลวงพ่อจ่าย วัดรุ้ง จ.อ่างทอง, หลวงพ่อเขียว วัดเสาธงทอง จ.อ่างทอง, หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน จ.ลพบุรี, หลวงพ่อโม วัดจันทาราม จ.ชัยนาท, หลวงพ่อปลั่ง วัดภิญโญ จ.ลพบุรี, หลวงพ่อจรัญ วัดพรหมบุรี (วัดอัมพวัน) เป็นต้น เสร็จแล้วได้นำออกแจกจ่ายญาติโยมที่ร่วมทำบุญ
    จะเห็นได้ว่าพระชุดนี้มีการสร้างที่ดี ทั้งเนื้อพระและคณาจารย์ที่ปลุกเสก และถือเป็นพระชุดแรกของหลวงพ่อจรัญ แห่งวัดอัมพวันที่น่าเก็บสะสมมาก

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0121.JPG
      IMG_0121.JPG
      ขนาดไฟล์:
      28.2 KB
      เปิดดู:
      32
    • IMG_0122.JPG
      IMG_0122.JPG
      ขนาดไฟล์:
      24.8 KB
      เปิดดู:
      35
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่426 เหรียญหล่อหลวงปู่คำคะนิง อุบลราชธานี สวยเดิม ๆ สภาพสวย ให้บูชาที่ 850 บาท
    เหรียญหล่อหลวงปู่คำคะนิง อุบลราชธานี สวยเดิม ๆ หายากจริง ๆ ท่านที่เคยทราบประวัติหลวงปู่จะรู้ว่าหลวงปู่ ไม่ใช่เพียงพระที่เราเห็นแค่กายภายนอกเท่านั้น เนื้อในท่านบริสุทธ์ผุดผ่องเพียงใด จะมีกี่คนที่รับรู้ เพียงแค่อภิญญาของท่านที่ศิษย์สายตรงก็บอกได้แต่เพียงว่าสุดยอดจริง ๆ ร่างกายและสังขารของท่านได้ทิ้งไว้ให้ลูกหลานได้กราบไหว้บูชาระลึกถึงความดีของท่าน ยังคงสรีระเยื่ยงคนนอนหลับตาเท่านั้น...นี่คือความสุดยอดอีกประการที่ไม่ต้องอธิบาย...
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3526.JPG
      IMG_3526.JPG
      ขนาดไฟล์:
      95.2 KB
      เปิดดู:
      53
    • IMG_3527.JPG
      IMG_3527.JPG
      ขนาดไฟล์:
      91.3 KB
      เปิดดู:
      36
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที427 พระปรกใบมะขามหลวงปู่ม่น วัดเนินตามาก รุ่นเมตตา เนื้อเงิน พร้อมกล่องเดิม สภาพสวย เปิดบูชาองค์ละ 500 บาท ราคาแบ่งเบาๆครับ รับประกันแท้ตลอดชีวิต***มีสมาชิกนิมนต์แล้วครับ***
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1497.JPG
      IMG_1497.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.4 KB
      เปิดดู:
      40
    • IMG_1498.JPG
      IMG_1498.JPG
      ขนาดไฟล์:
      74.5 KB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_1499.JPG
      IMG_1499.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.9 KB
      เปิดดู:
      34
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่449 สมเด็จคะแนหลวงปู่นาควัดระฆัง ปี 2495 สภาพสวย ให้บูชา 300 บาท ครับ***มีสมาชิกนิมนต์แล้วครับ***[/COLOR]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4178.JPG
      IMG_4178.JPG
      ขนาดไฟล์:
      48.2 KB
      เปิดดู:
      51
    • IMG_4179.JPG
      IMG_4179.JPG
      ขนาดไฟล์:
      43.6 KB
      เปิดดู:
      35
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่450 หลวงพ่อหวล วัดพุทไธสวรรย์ เหรียญที่ระลึกทอดกฐินปี 2535เหรียญเก่าอยุธยา หายาก สภาพสวยๆ ครับ ให้บูชาที่ 300 บาทครับ มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4184.JPG
      IMG_4184.JPG
      ขนาดไฟล์:
      84.8 KB
      เปิดดู:
      51
    • IMG_4185.JPG
      IMG_4185.JPG
      ขนาดไฟล์:
      83.5 KB
      เปิดดู:
      53
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่ 451 เหรียญหลวงพ่อเจียม จ.สุรินทร์ รุ่น30ปีพลังชีวิตมิตรประชาให้บูชาที่ 350 ครับ มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ
    การลงประวัติ “ วัตถุมงคล ” ครั้งนี้ เป็นการลงเพื่อรวบรวมวัตถุมงคลที่หลวงปู่สร้างและอนุญาตให้สร้าง แต่ยังไม่สามารถรวบรวมได้ครบสมบูรณ์เพราะเหตุว่าหลวงปู่สร้างแล้วมอบให้แก่ศิษยานุศิษย์ และพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญ และมาขอพรขอบารมีจากหลวงปู่ จึงไม่สามารถรวบรวมได้ครบสมบูรณ์ แต่จำเป็นต้องหาข้อมูลและรวบรวมปรับปรุงต่อไป
    อนึ่ง ในการรวบรวมวัตถุมลคลของหลวงปู่มาลงในครั้งนี้ โดยความจริงแล้ว หลวงปู่ไม่อยากให้นำมาลงเพราะเหตุว่า หลวงปู่ไม่ต้องการอุตริอวดอ้างสรรพคุณของวัตถุมงคลของหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่มักจะพูดให้ฟังอยู่เสมอว่า “ วัตถุมงคลเป็นแค่วัตถุ หากผู้นำไปไม่เคารพบูชา ไม่ปฏิบัติชอบแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไร ” ผู้เขียนเลยสอบถามหลวงปู่ว่า “ หลวงปู่ครับ วัตถุมงคลของหลวงปู่ รุ่นไหนดีที่สุด ” หลวงปู่ยิ้มแล้วพูดเป็นนัย ๆ ว่า “ ก็ดีทุกรุ่นนั่นแหละ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติ ” แล้วพูดต่อไปว่า “ มีแต่ผู้ประสบพบ พุทธคุณบารมีมาพูดบอกหลวงปู่ว่าแคล้วคลาดอย่างนั้นอย่างนี้ จะเชื่อหรือไม่ก็ไม่ว่า ก็แล้วแต่คน ”
    กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่
    หลวงปู่มีกิจวัตรปฏิบัติอย่างไรในแต่ละวัน หลวงปู่ตอบว่า “ หลวงปู่จะเข้าจำวัดในเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. และจะตื่นเวลา ๒๒.๐๐ น. หากอากาศร้อนหลวงปู่จะสรงน้ำแล้วครองผ้าจีวรสวดมนต์ภาวนาอยู่ในห้องและหลวงปู่จะพักผ่อนจนถึงเวลาประมาณ ๐๒.๐๐ น. เมื่อตื่นแล้วเดินจงกรม หลังจากนั้นจะเข้าไปที่ห้อง วัตถุมงคล สวดมนต์ปลุกวัตถุมงคล และเข้าไปที่ห้องน้ำมนต์ทำการสวดมนต์ ทำน้ำมนต์ จนถึงเวลาประมาณ ๐๔.๐๐ – ๐๕.๐๐ น. จะรอรับญาติโยมที่มาขอพรพึ่งบารมี โดยมาทำพิธีสะเดาะเคราะห์ จนถึงเวลา ๐๗.๐๐ น. จะฉันภัตตาหารเช้า แล้วรับญาติโยมที่มาขอพรพึ่งบารมี จนถึงเวลา ๑๑.๐๐ น. หลวงปู่จะฉันภัตตาหารเพลต่อจากนั้นหลวงปู่จะพักผ่อนจนถึงเวลา ๑๔.๐๐ น. หลวงปู่จะออกมารับญาติโยมต่อ หากไม่มีญาติโยมมารับ หลวงปู่จะเดินรอบ ๆ วัด ดูความเป็นระเบียบเรียบร้อย และจะดูการทำงานของญาติโยมที่ช่วยพัฒนาวัดจนถึงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. หลวงปู่จะเรียกโยมอุปัฏฐากมารับปัจจัย ไปดูแลญาติโยมหากมีสิ่งของเหลือ จากที่ญาติโยมนำมาถวาย หลวงปู่จะแจกจ่ายให้ไปจนหมดต่อจากนั้น หลวงปู่จะเตรียมเข้าจำวัด พักผ่อนต่อไป ซึ่งกิจวัตรประจำวันเช่นนี้ หลวงปู่กระทำมาโดยตลอด ”
    หลวงปู่สอนไว้
    หลวงปู่เคยเล่าให้ฟังว่า การเคารพบูชาวัตถุมงคลใดใด อยู่ที่จิตใจความเชื่อถือ ศรัทธา เลื่อมใสด้วยจิตที่บริสุทธิ์จึงจะเป็นผล หรือเป็นคุณแก่ผู้มีวัตถุมงคลจะช่วยส่งเสริมคนที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ หากผู้มีวัตถุมงคล แม้จะได้ชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์แค่ไหนก็ตาม ถ้าไม่เคารพนับถือ ไม่เชื่อศรัทธาไม่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย
    ความเชื่อมั่นศรัทธาอย่างจริงใจทำให้สำเร็จ
    การแสดงความเคารพนับถือ เชื่อมั่นศรัทธา เลื่อมใส หรือปฏิบัติดีชอบในวัตถุมงคลนั้น ๆ ท่านบอกว่าให้นึกภาวนาในใจตลอดเวลาที่เรามีวัตถุนั้นเสมือนหนึ่งมีท่านอยู่กับเราตลอดเวลา ท่านจึงจะคุ้มครองเรา และเราก็คิดว่าถ้าเราทำมิดีมิชอบพระก็จะไม่คุ้มครองเรา เมื่อเราตรึกตรองให้ดี ในการทำดี พูดดี ก็หมายถึงการมี สติสัมปชัญญะ คือ มีสมาธิ ความสงบ ความนิ่ง จิตใจไม่วอกแวก ไม่วิตกกังวลไม่ทุกข์ร้อน เราก็จะมีแต่ความสงบเย็น ความสงบเย็นนี้แหละคือความสุขที่แท้จริงดัง พุทธสุภาษิตที่ว่า “ นตฺถิ สนฺติ ปรมํ สุขํ ” ความสุขอื่นกว่าความสุขไม่มี
    ความเป็นอยู่ของหลวงปู่
    หลวงปู่เจียม อติสโย ท่านมีความเป็นอยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย มีจริยาวัตรที่งดงามด้วยท่านเคร่งครัด ปฏิบัติชอบในธรรมวินัย ตามแนวทางของพระพุทธศาสนาอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ท่านจะบำเพ็ญสมาธิ เจริญภาวนา มีญาณที่แก่กล้า เป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง เลื่องลือทั่วดินแดนอีสานใต้ ท่านจะมีลูกศิษย์ทุกระดับชั้นตั้งแต่ชาวบ้านธรรม ทหารหาญ พ่อค้า ข้าราชการ เจ้านายระดับสูง เมื่อได้เข้ามากราบไหว้บูชาหลวงปู่แล้วก็จะเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง หลวงปู่ก็จะมีวัตถุมงคลให้เป็นการส่งเสริมมงคลให้สูงยิ่งขึ้น เป็นมหานิยมบ้าง โชคลาภบ้าง แคล้วคลาดบ้างหรือสะเดาะเคราะห์ ตัดเคราะห์ให้เบาลงไปบ้าง
    ในเรื่องวัตถุมงคลนี้ ผู้เขียนเคยสอบถามหลวงปู่ว่า คิดอย่างไรในเรื่องการสร้างวัตถุมงคล หลวงปู่ตอบว่า แต่เดิมหลวงปู่ไปธุดงค์แถบจังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ หลวงปู่ได้ไปพบกับเกจิอาจารย์ เช่น หลวงพ่อคง ที่อำเภอขลุง หลวงพ่อต่วน ที่อำเภอทับไทร หลวงพ่อจาด ที่อำเภอบางกระจับและหลวงพ่อเหลือที่วัดสาวชะโงก ซึ่งเกจิอาจารย์ท่านดังกล่าวได้สร้างตะกรุดให้ญาติโยมไว้บูชา ต่อมาหลวงปู่ไปธุดงค์แถบจังหวัดอุบลราชธานีจะมีญาติโยมมากราบหลวงปู่และขอวัตถุมงคลหลวงปู่ จึงจารแผ่นทองแดงถักด้ายขาวล้อมรอบตะกรุดมอบให้แก่ญาติโยมที่มาทำบุญ ต่อมาผู้นำสายร่มมาถวายแก่หลวงปู่ หลวงปู่จึงปรับเปลี่ยนมาร้อยด้วยสายร่มแทน ตราบเท่าทุกวันนี้
    การสร้างตะกรุดหลวงปู่มีวัตถุประสงค์เพื่อมอบให้แก่ทหาร ที่มาปฏิบัติหน้าที่แถบชายแดน จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ทหารหาญ มีผู้กล่าวถึงพระบารมีวัตถุมงคล ของหลวงปู่ต่าง ๆ นานา ซึ่งผู้เขียนไม่ขอนำมากล่าว ณ ที่นี้
    ส่วนรูปเหมือนและพระผงนั้น หลวงปู่ได้บอกว่าครั้งเมื่อหลวงปู่เดินธุดงค์ไปที่จังหวัดนครสวรรค์ไปพบกับหลวงพ่อจอย วัดเขาขาด อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ได้สนทนาเรื่องการสร้างรูปเหมือน ให้ญาติโยมไว้บูชา หลวงปู่เห็นรูปแบบการสร้างจึงนำมาสร้าง เพื่อให้ญาติโยมไว้บูชา ซึ่งหลวงปู่ได้สร้างตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ เป็นต้นมา ศิษยานุศิษย์ที่มีไว้บูชา ได้กล่าวถึงบารมีของวัตถุมงคลโดยเฉพาะ สมเด็จวัดอินทราสุการาม และเหรียญรุ่น ๑ ว่ามี บารมีคุ่มครองมากมาย ในฐานะที่ท่านทั้งหลายเป็นพุทธศาสนิกชน และเป็นศิษย์ของหลวงปู่เจียม อติสโย “ พระครูอุดมวรเวท ” ในโอกาสอันเป็นมงคลที่หลวงปู่มีอายุครบ ๘๙ ปี ในปี ๒๕๔๒ นี้ จึงขออนุโมทนาสาธุ ในบุญบารมีของหลวงปู่ที่ได้สั่งสมตลอดมาจึงเป็นปัจจัยหนุนนำให้หลวงปู่มีพละกำลังสร้างบารมีแผ่ไพศาลตลอดไป

    ประสบการณ์ที่เล่าขานถึงหลวงปู่
    ประสบการณ์ที่เล่าขานถึงหลวงปู่
    ผู้เขียนได้เคยฟังคำเล่าขานกันหลายครั้ง กล่าวอ้างว่าผู้เล่าเรื่องนี้เป็นศิษยานุศิษย์ จากจังหวัดนครสวรรค์บ้านอยู่แถว ๆ อำเภอหยุหคีรีบรรพตนิสัยหรือแถว ๆ อำเภอไพศาลี จำไม่แม่น เล่าให้ฟังว่าในพรรษาปีหนึ่งประมาณปี ๒๕๐๒ หรือ ๒๕๐๓ นี่แหละในฤดูช่วงดำนา คงราว ๆ เดือน กรกฎาคม ถึงสิงหาคม เขาได้ไปไถนาที่ริมชายป่าใกล้กับเชิงเขาลูกหนึ่งเป็นปกติวิสัย กิจวัตรประ จำวันของเขา ซึ่งการปักดำใกล้จะเสร็จแล้ว บังเอิญในเช้าวันนั้น ฝนตกพรำตั้งแต่เช้ามืดจนสายฝนก็ตกกระหน่ำแบบไม่ลืมหูลืมตา แกไถนาจนเหนื่อยอ่อน ทนความหนาวเปียกไม่ได้ ด้วยความหิวเพราะสายแล้วทางบ้านก็ยังไม่นำข้าวส่งเพราะคงจะรอให้ฝนซาก่อน จึงจะนำข้าวมาส่งให้จึงหยุดความแล้วปลดแอกปลดไถ ปล่อยความให้ไปเล็มหญ้าข้างๆจอมปลวกกลางนาที่กำลังไถและแล้วแกก็ขึ้นไปบนจอมปลวกที่เป็นเนินดินขนาดใหญ่กลางนา หวังจะได้หลบฝนที่กำลังเทกระหน่ำลงมาในขณะที่ วิ่งหลบฝนอยู่ หูก็ได้ยินเสียงไอ ได้ยิน ๒ – ๓ ครั้งติดต่อกัน ก็เงี่ยหูฟัง จึงเหลือบเห็นร่มกระโจมกลดซึ่งอยู่ห่างไกลที่ไถนา ประมาณ ๑๕ เมตร ก็ตรงไปได้พบกับพระธุดงค์ในร่มกรดนั้นกำลังนั่งทำสมาธิอยู่ จึงล้มกราบ๓หนแล้วก็กล่าวคำทักทาย ปราศรัยไต่ถามความว่าพระธุดงค์ได้มาปักลดเป็นเวลา ๑ เดือนกว่า ๆ แล้ว และท่านก็เล่าให้ฟังว่า ได้เห็นผู้เล่าไถนา ดำนาทุกวันเหมือนกัน ก็ไถรอบ ๆจอมปลวกที่ปักกลด นั้นแหละจอมปลวกใหญ่ที่อยู่กลางเนินนา ชายป่าเนินเขานั้น ความจริงเป็นจอมปลวกมีป่าโปร่ง สามารถมองเห็นได้ทั่ว ๆ ไป น่าจะได้รู้ได้เห็นเพราะไถนา ดำนาเป็นเวลาแรมเดือนแล้ว ทำไมจึงไม่เห็นกลดที่ปักอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องแปลก ในใจก็รู้สึกตื่นเต้นที่พระธุดงค์บอกว่ามาปักกลดเป็นเดือนแล้วเมื่อพูดคุยกันแล้วก็มีความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอฝากตัวเป็นศิษย์ และได้นำเรื่องนี้ไปเล่าให้ลูกเมีย และชาวบ้านฟัง ชาวบ้านก็มีความปิติยินดี พามากันกราบไหว้ สนทนา และนำอาหารถวายเป็นประจำ ตลอดพรรษา และฝากตัวเป็นลูกศิษย์ พระธุดงค์นั้นก็คือ หลวงปู่เจียม อติสโย นั่นเอง
    การที่พระธุดงค์มาปักกลดทำสมาธิ ปฏิบัติธรรมนั้น ถ้าเป็นปกติก็มองเห็นแน่ ๆ เพราะมาปักกลดอยู่แรมเดือนแล้วน่าจะเห็นแต่ที่ไม่ได้เห็นเพราะท่านต้องการความวิเวกไม่ต้องการให้ผู้คนไปยุ่งเกี่ยวด้วย จึงต้องอยู่ในมิติหนึ่ง แต่การที่แสดงตัวให้เห็นนั้นเข้าใจว่า เพราะสงสารชาวนาที่กำลังเหนื่อย หิวข้าวและเปียกฝนอยู่และมีความต้องการให้หลบฝนอยู่ที่กลดด้วย ทำให้ได้เห็นและพบปะพูดคุยกัน
    ที่ได้นำมาบอกกล่าวเล่าขานไว้นี้ เป็นตัวอย่างหนึ่งในอีกหลาย ๆ ตัวอย่างพวกเราซึ่งเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่ด้วยกัน ก็จะไม่รู้เรื่องอะไรเลย ถ้าพวกเราไม่ได้นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟัง พวกเราจะเห็นว่า ในการทำบุญต่ออายุหลวงปู่ใสแต่ละปีจะมีศิษยานุศิษย์จากจังหวัดต่าง ๆ ทั่วภูมิภาคเดินเข้าร่วมทำบุญ และเล่าขานเรื่องที่ได้ยินได้ฟังนี่แหละ บางครั้งก็เล่าถึงความสำเร็จในธุรกิจหน้าที่การงานการค้าขายประกอบการบางครั้งเล่าถึงการคลาดแคล้วจากภัยอันตรายจากการสู้รบกับศัตรูแคล้วคลาดจากการใช้รถใช้ถนน อันเป็นผลสืบเนื่องจากพลังใจที่ได้รับวัตถุมงคลจากหลวงปู่ ด้วยจิตใจที่ที่เราเคารพรัก เลื่อมใสศรัทธาในจริยาวัตรของหลวงปู่ที่ท่านเคร่งครัดในจริยาวัตร มีสมาธิแก่กล้าอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ด้วยจิตใจที่มีความเชื่อมั่นจึงเป็นแรงบันดาลใจให้พลังจิตเป็นไปตามที่เราปรารถนาอันเป็นความต้องการที่ดีที่งามที่หลวงปู่ต้องการมอบให้ทุกคนด้วยท่านมีจิตในเมตตาสงสารให้พวกเรามีความสุขกาย สุขใจ หลุดพ้นจากทุกข์ภัยอันตราย หรือ ปลดปล่อยให้เบาบาง จากหนักเป็นเบา ตายเป็นรอดได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4186.JPG
      IMG_4186.JPG
      ขนาดไฟล์:
      84.5 KB
      เปิดดู:
      39
    • IMG_4187.JPG
      IMG_4187.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78 KB
      เปิดดู:
      40
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    [B]รายการที่461 พระสมเด็จหลังรูปเหมือน หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร จ.นครสวรรค์ ปี36 พร้อมกล่องเดิม สภาพสวยมาก ให้บูชาที่ 450 ครับ[/B]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4349.JPG
      IMG_4349.JPG
      ขนาดไฟล์:
      52.1 KB
      เปิดดู:
      46
    • IMG_4350.JPG
      IMG_4350.JPG
      ขนาดไฟล์:
      63.6 KB
      เปิดดู:
      38
    • IMG_4351.JPG
      IMG_4351.JPG
      ขนาดไฟล์:
      67.4 KB
      เปิดดู:
      46
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,626
    ค่าพลัง:
    +4,635
    รายการที่472 พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูน สภาพสวยไม่ผ่านการใช้ บิ่นมาจากกรุ ให้บูชา พีเอมหรือโทรถาม ครับ ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
    พระเปิมลำพูน ยอดพระเมืองลำพูน
    พระเปิม เป็นพระเครื่องยอดนิยม พระเครื่องล้านนาที่สร้างขึ้นด้วยเรื้อดินเผา มีศิลปสกุลช่างทวาราวดีผสมผสานสกุลช่างหริภุญชัย หรือช่างชาวมอญโบราณ ลัทธิมหายาน "พระเปิมลำพูน"มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประทับนั่งใต้ต้นร่มโพธิ์พฤกษ์ หรือร่มจิก เป็นจินตนาการของช่างสมัยโบราณ ได้บรรจงสร้างศิลป์ตามยุคและตามสมัยนั้นได้อย่างงดงาม เอกลักษณ์ของพระศิลปสมัยทวาราวดี ตามพุทธลักษณะของสกุลช่าง จนเราสามารถแยกออกจากกันได้ (อ่านศิลปอวกะ) "พระเปิมลำพูน"พระเครื่องเมืองลำพูนยอดนิยมพิมพ์หนึ่ง สถานที่พบส่วนใหญ่พบที่ วัดพระธาตุ วัดประตูลี้ วัดดอกแก้ว วัดพระคง วัดมหาวัน มีผู้รู้กล่าวว่า พระเปิมมีลักษณะที่น่าสังเกตที่ควรจำ คือ ลำตัวองค์พระจะอวบอ้วน พระโอษฐ์(ปาก) แบะริมฝีปากหนา พระเนตร(ตา)โปน พระนาสิกบาน ศีรษะทุย พระเกศมาลาจิ่ม พระกรรณ(ใบหู)หนา พระศอ(คอ)จะเห็นกรองศอหรือกรองคอเป็นเส้นนูนขึ้นอย่างชัดเจน เต้าพระถัน(เต้านม) จะเห็นชัดเจน พระนาภี(สะดือ)บุ๋มลึกลงไม่ใช่สะดือจุ่นหรือนูนขึ้น ส่วนต่างๆ ของร่างกาย(พระอังคาพยพ) จะไม่สมส่วนสัด เช่น พระหัตถ์จะใหญ่โต พระบาทก็เช่นเดียวกัน เป็นลักษณะหนึ่งของสมัยทวาราวดี ซึ่งมีสัดส่วนแตกต่างกับพระสมัยอื่นหรือสกุลช่างอื่น ที่เราสามารถรู้ได้ว่าเป็นศิลปสมัยทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรีเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา รัตนโกสินทร์ เป็นต้น
    พระเปิมลำพูน พระพิมพ์ที่แสดงลักษณะศิลปะอินเดีย แบบคุปตะและปาละ น่าจะมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-14 พระเปิมลำพูน เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อละเอียดหนึกนุ่ม แห้งแกร่ง แข็ง ถ้าสึกกร่อนจะมีแร่ดอกมะขามเป็นจุดๆ ถ้าสมบูรณ์เช่นที่เห็นนี้ จะมองไม่เห็นแร่ บางองค์มีคราบกระคล้ายกับผิวหนังของช้างตกกระ พระเปิมมีสีหลายสี เช่น สีเขียวมอย สีแดง สีพิกุลแห้ง สีอิฐ สีหม้อใหม่ประทับนั่งใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ อยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ (เบื้องหลัง)ในท่าปางสะดุ้งมาร มีฐานลอยยื่นรองรับเป็นรัตนบัลลังก์ เป็นจุดไข่ปลาเหมือนเกษรบัว นั่งขัดสมาธิเพชร มีใบโพธิ์หรือใบจิก 84 ใบ ฐานผ้าทิพย์จะมีลักษณะของสตางค์ จะมีเส้นรัศมีอยู่ 7 เส้น (จุดที่สำคัญที่สุดในองค์พระ) ถ้ามีเกินกว่าหรือน้อยกว่าจะเป็น พระเปิมลำพูน ของเก๊ค่อนข้างแน่นอน


    พระเปิม ลำพูน

    ประวัติ พระเปิม ลำพูน

    พระเปิม ลำพูนเป็นพระเนื้อดินที่สร้างมาในยุคสมัยเดียวกับพระรอด พระคง พระบาง พระเลี่ยง ฯลฯ มูลเหตุการสร้างก็ต้องเล่าเรื่องเมืองหริภุญชัย และพระนางจามเทวีแบบคร่าวๆ ครับ คืออย่างนี้ครับ จากพงศาวดารโยนก จามเทวีวงศ์ ชินกาลมลินี และตำนานมูลศาสนา พอจะสรุปได้ดังนี้ ว่ามีพระฤๅษี 5 ฅน คือพระสุเทวฤๅษี พระสุกกทันตฤๅษี พระสุพรหมฤๅษี พระนารทะฤๅษี ซึ่งเป็นคณาจารย์ของหริภุญชัย และเป็นผู้สร้างพระศักรพุทธปฏิมาสกุลลำพูน นอกจากนี้ ยังมีพระอนุสิษฏฤๅษี ซึ่งพำนักอยู่ ณ เขาลตางค์ (เขาหลวงเมืองสวรรคโลก)

    พระเปิม เป็นพระที่ขุดพบที่ วัดดอนแก้ว วัดนี้ตั้งอยู่ในตำบลเวียงยอง นอกกำแพงเมืองไปทางทิศตะวันออกของแม่น้ำกวง ต้องข้ามลำน้ำที่สะพานท่าสีห์พิทักษ์ ที่ตั้งของพระอารามนี้อยู่ห่างจากประตูเมืองด้านตะวันออก (ประตูท่าขุนนาง) ประมาณ 600 เมตร ปัจจุบันเป็นวัดร้าง และเป็นที่ตั้งของ ร.ร.เทศบาลบ้านเวียงยอง มีซากวัตถุโบราณปรากฏอยู่ เช่น พระพุทธรูปหินทรายปางสมาธิขัดเพชร ซึ่งชำรุดหักพังอยู่ อีกทั้งที่วัดแห่งนี้ยังพบศิลาจารึกภาษามอญอีก 2 หลัก

    การขุดหา พระเครื่องวัดดอนแก้วนี้มีการขุดค้นกันมานานแล้วในครั้งแรกๆ ไม่อาจสืบหาหลักฐานได้ ต่อมาในปี พ.ศ.2484-85 ซึ่งเป็นเวลาที่บ้านเมืองอยู่ในระหว่างสงครามอินโดจีน ประชาชนกำลังตื่นตัวขุดหาพระเครื่องกันทั่วทุกแห่งหน ก็ได้มีการขุดหาพระที่วัดดอนแก้วด้วยการขุดครั้งนี้ได้กระทำตรงบริเวณซากพระ เจดีย์เก่า ได้พระเป็นจำนวนมาก เช่น พระเปิม พระบาง พระฤๅ พระเลี่ยง พระสาม พระสิบสอง พระสิบแปด และพระกล้วย ตลอดจนพระแผงต่างๆ หลายพันองค์ ถึงกับต้องใช้ตะกร้าหาบ การขุดดำเนินติดต่อกันไปหลายเดือน ต่อมาคณะกรรมการจังหวัดต้องประกาศห้ามจึงได้เลิกขุดกันไป

    ในสมัยนั้นการพบพระเปิม ซึ่งชาวบ้านได้ขุดพบ ก็ได้ตั้งชื่อเรียกเอาตามลักษณะที่พบคือคำว่า "เปิม" เป็นคำเมืองเดิม มีความหมายว่า แป้น ป้าน หรืออวบใหญ่ การตั้งชื่อในสมัยนั้นชาวบ้านจะเรียกตามลักษณะที่พบ เช่น พระรอด หมายถึง เล็ก พระเลี่ยง ก็คือ เลี่ยม หมายถึง แหลม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นเลี่ยง พระคง หมายถึงหนามั่นคงแข็งแรง พระบาง มีลักษณะคล้ายพระคง แต่องค์พระบอบบางกว่า จึงเรียกว่าพระบาง เป็นต้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_4495.JPG
      IMG_4495.JPG
      ขนาดไฟล์:
      77.2 KB
      เปิดดู:
      67
    • IMG_4496.JPG
      IMG_4496.JPG
      ขนาดไฟล์:
      69.7 KB
      เปิดดู:
      35
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...