เรามาดูเรื่องวิธีดับโทสะกัน ดับได้มั๊ยนะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โกมีนัม, 4 พฤษภาคม 2014.

  1. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ๒๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้ย่อมเกิด ๔ ประการเป็นไฉน คือ
    ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑
    โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคล
    ในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่รักนั้น
    ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อ
    บุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่น่าพอใจ เขา
    ย่อมเกิดความรักในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคลในโลก นี้เป็นที่น่า
    ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลนั้นด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา
    ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา
    น่าใคร่ น่าพอใจของเราด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดโทสะ
    ในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ไม่เป็นที่น่า
    ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอัน
    ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติ
    ต่อบุคคลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่
    ไม่น่าพอใจเขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ
    อย่างนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลในโลกนี้ไม่เป็นที่น่า
    ปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆ มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอัน
    น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นๆ มาประพฤติต่อคนที่
    ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขา
    ย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด ฯ
     
  2. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ๑๖. นตฺ ราคสโม อคฺคิ
    นตฺถิ โทสสโม คโห
    นตฺถิ โมหสมํ ชาลํ
    นตฺถิ ตณฺหาสมา นที ฯ ๒๕๑ ฯ


    ไม่มี ไฟใด เสมอราคะ
    ไม่มี เคราะห์ใด เสมอโทสะ
    ไม่มี ข่ายดักสัตว์ใด เสมอโมหะ
    ไม่มี แม่น้ำใด เสมอตัณหา

    พุทธวจนในธรรมบท
     
  3. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ภิกษุ ท. ! ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวหาเธอ ๕ อย่าง เหล่านี้ มีอยู่ คือ
    ๑. กล่าวโดยกาลหรือโดยมิใช่กาล
    ๒. กล่าวโดยเรื่องจริงหรือโดยเรื่องไม่จริง
    ๓. กล่าวโดยอ่อนหวานหรือโดยหยาบคาย
    ๔. กล่าวด้วยเรื่องมีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์
    ๕. กล่าวด้วยมีจิตเมตตาหรือมิโทสะในภายใน

    ภิกษุ ท. ! เมื่อเขากล่าวอยู่อย่างนั้น ในกรณีนั้น ๆ เธอพึงทำการสำเหนียกอย่างนี้ว่า“จิตของเรา จัก
    ไม่แปรปรวน, เราจักไม่กล่าววาจาอันเป็นบาป เราจักเป็นผู้มีจิตเอ็นดูเกื้อกูลมีจิตประกอบ และจักมีจิตสหรคตด้วย เมตตา อันเป็นจิตไพบูลย์ ใหญ่หลวง ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปสู่โลกถึงที่สุดทุกทิศทาง มีบุคคลนั้นเป็นอารมณ์ แล้วแลอยู่” ดังนี้.

    การวางจิตเมื่อถูกกล่าวหา
     
  4. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440

    นตฺถิ ราคสโน อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ

    นตฺถิ ขนฺธาทิสา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ.

    " ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี,
    โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,
    ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี,
    สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี."


    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓
     
  5. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    โกธนาสูตร

    คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์

    ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติ

    สิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำปาณาติบาตด้วยกาย

    และวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้มัวเมา

    เพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร

    และสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้

    โกรธย่อมไม่รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัย

    ที่เกิดมาจากภายในนั่น คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก

    คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม ความโกรธ

    ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี

    ในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยาก

    เหมือนทำได้ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขา

    ย่อมเดือดร้อนเหมือนถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อม

    แสดงความแก้ยากก่อน เหมือนไฟแสดงควัน

    ก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อมโกรธ

    ในกาลนั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปปะ และไม่

    มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อม

    ไม่มีความสว่างแม้แต่น้อยเลย กรรมใดยังห่าง

    ไกลจากธรรม อันให้เกิดความเดือดร้อน เราจัก

    บอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น

    ไปตามลำดับ คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดาของ

    ตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูก

    ที่มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้น

    กิเลสหยาบช้า โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้

    ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริงอยู่ สัตว์เหล่านั้นมี

    ตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะคนเป็นที่รัก

    อย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่าง ๆ ย่อมฆ่า

    ตัวเองได้เพราะเหตุต่าง ๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบ

    บ้าง กินยาพิษบ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดด

    เขาตายบ้าง คนเหล่านั้นเมื่อกระทำกรรมอันมีแต่

    ความเสื่อม และทำลายตน ก็ไม่รู้สึกความเสื่อม

    เกิดแต่โกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของมัจจุ-

    ราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย บุคคลผู้มักโกรธ มีการ

    ฝึกตน คือปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฏฐิ พึง

    ตัดความโกรธนั้นขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรม

    แต่ละอย่างเสียให้ขาด พึงศึกษาในธรรมเหมือน

    อย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า ขอความ

    เป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ

    ปราศจากความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตน

    แล้ว ละความโกรธได้ เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จัก

    ปรินิพพาน.
     
  6. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    วิธีระงับความโกรธ

    ความโกรธ คืออารมณ์เดือดพล่านที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
    ในยามที่เราต้องเกี่ยวข้องผู้อื่น อ่านเทคนิควิธีทำให้หายโกรธแบบง่าย ๆ
    ท่านสามารถนำเทคนิคเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตครอบครัวและการทำงาน


    วิธีที่ ๑. ยามใดเมื่อเราโกรธ เราต้องรู้ตัวของเราเองว่า
    เรากำลังได้รับพิษร้ายเข้าไปแล้วควรสร้างความรู้สึก"สะดุ้งกลัว"ขึ้นมาทันที
    และ พยายามระงับความโกรธนั้นไว้
    ไม่ให้พิษโกรธกำเริบแสดงเป็นกริยาอาการอะไรออกมาอย่างเด็ดขาด
    ด้วยการพิจารณาโทษของความโกรธให้มากที่สุด

    ตัวอย่างวิธีคิด
    "หากเราโง่เขลาคิดตอบโต้ผู้อื่นด้วยความโกรธเมื่อใด
    พิษร้ายของความโกรธก็จะเพิ่มขึ้นและหมักหมมอยู่ในใจมากขึ้นทุกที
    มันจะคอยออกมาเผาลนจิตใจของเราไปชั่วกาลนาน
    เสมือนหนึ่งเราได้สร้างนรกให้เกิดขึ้นในใจของตัวเอง "
    (เป็นการนำคุณธรรมข้อ "โอตตัปปะ"หรือ "ความสะดุ้งกลัว" มาอธิบาย
    ให้ตัวเองเห็นถึงผลร้ายของความโกรธ / สุตตันต.เล่ม ๑๓ ข้อ ๑๑ หน้า ๑๔ )

    การระงับความโกรธ(น้ำใส)
     
  7. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    สู้กับโทสะ


    กราบนมัสการหลวงตาที่เคารพอย่างสูง
    กระผมได้ฝึฏปฎิบัติมานานพอสมควรแต่ไม่ได้เข้มข้นมากนัก จะเน้นไปในด้านการพิจารณาภาวะจิตเป็นหลัก เช่น ขณะขับรถอยู่แล้วมีคันอื่นแซง ก็จะมองดูจิตตัวเองว่ากระเพื่อมขึ้นด้วยอารมณ์โทสะหรือไม่ บางครั้งก็กำหนดทันบางทีก็ไม่ทัน เป็นต้น ส่วนการปฏิบัติด้านสมถะนั้น จะนั่งเป็นหลัก และกำหนดอาณาปานสติตลอดเวลาที่มีโอกาส มาช่วงหลัง ๆ มีรู้สึกว่าผลจากการกำหนดลม หายใจเข้าออกนั้นทำให้มีสติควบคุม กาย และวาจามากขึ้น เกิดความสบายใจมากกว่าแต่ก่อนมาก แต่ที่เจอปัญหาตอนนี้คือ อารมณ์โทสะ จะมาเร็ว และจะหงุดหงิด รำคาญง่ายมาก บางครั้งแม้กระทั้งกับ มารดาเอง และภรรยา บางครั้งไม่ทราบสาเหตุว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทั้ง ๆที่กับมารดานั้นพยายามระลึกอยู่ตลอดเวลาว่าไม่ดี เป็นบาป ไม่ควรเกิดอาการแบบนี้ กับคนใกล้ชิด อยากขอคำแนะนำจากหลวงตาว่า จะอบรมจิตอย่างไรดี ไม่ให้จิตหงุดหงิดรำคาญ อยากให้จิตสงบ ไม่อยากโกรธใคร ทำอย่างไรให้เป็นคนโกรธไม่เป็น อยากจะให้จิตของตัวเองเป็นอย่างแผ่นดินซึมซับทุกอย่างได้โดยไม่กระเทือน
    กราบนมัสการถามหลวงพ่อด้วยความเคารพ ขอหลวงพ่อช่วยชี้ทางให้คนโง่อย่างผมด้วยครับ



    คำตอบ

    เมื่อวันที่ 6 ก.ย. 2547



    เรียนคุณผู้ถาม
    หลวงตาเมตตาแสดงธรรมตอบปัญหาให้คุณ
    เมื่อเช้าวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๔๗ ณ วัดป่าบ้านตาด ดังนี้

    หลวงตา : ให้ภาวนาอารมณ์สงบเข้าให้มาก พอจิตมีความสงบบ้างแล้วจิตจะค่อยละเอียดเข้าไป โทสะจึงปรากฏได้ง่าย ทั้งๆ ที่แต่ก่อนโทสะมันมีอยู่แล้วแต่ไม่รู้ เพราะมันมากต่อมากทับเอาจนจะตายว่างั้นเถอะ ทีนี้พอจิตมีความสงบละเอียดเข้าไป โทสะแย็บขึ้นมามันก็รู้ จึงมาว่าโทสะนี้เกิดได้ง่าย ความจริงสติดีขึ้น เข้าใจ เท่านั้นละ เอา ทำใจให้สงบมากเข้า โทสะมีก็ให้รู้ว่ามี



    ที่มาสู้กับโทสะ
     
  8. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    โกธนาสูตร

    [๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ เป็นความมุ่งหมายของ
    คนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือ
    ชายผู้มีความโกรธ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้เป็นข้า
    ศึกกันในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกันอย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้มีผิว
    พรรณทรามเถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดี
    ให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีผิวพรรณงาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธ
    ครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วก็
    ตาม แต่ถูกความโกรธครอบงำแล้ว ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นธรรมข้อที่ ๑ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการ
    ของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนที่เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้พึงนอนเป็นทุกข์เถิดหนอ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคน
    ผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันอยู่สบาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะนอนบนบัลลังก์อันลาดด้วยผ้า
    ขนสัตว์ ลาดด้วยผ้าขาวเนื้ออ่อน ลาดด้วยเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีผ้า
    ดาดเพดาน มีหมอนหนุนศีรษะและหนุนเท้าแดงทั้งสองข้างก็ตาม แต่ถูกความโกรธ
    ครอบงำแล้ว ย่อมนอนเป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๒ เป็นความ
    มุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมา
    ถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนเป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีความเจริญเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
    คนผู้เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีความเจริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
    ก็สำคัญว่าเราถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ แม้ถือเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็สำคัญว่า
    เราถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้อันคนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำ
    ถือเอาแล้ว เป็นข้าศึกแก่กันและกัน ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายมิใช่ประโยชน์
    เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๓ เป็นความมุ่ง
    หมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึง
    หญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามีโภคะเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็น
    ข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีโภคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ
    ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะมีโภคะที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร
    สั่งสมได้ด้วยกำลังแขน อาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม
    พระราชาทั้งหลายย่อมริบโภคะของคนขี้โกรธเข้าพระคลังหลวง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    นี้เป็นธรรมข้อที่ ๔ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของ
    คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลผู้นี้อย่ามียศเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนผู้เป็นข้าศึก
    กันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมียศ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ
    โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะได้ยศมาเพราะความไม่ประมาท ก็เสื่อมจากยศนั้น
    ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๕ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้อย่ามีมิตรเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึก
    กันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันมีมิตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความ
    โกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้เขาจะมีมิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิต มิตรอำมาตย์ญาติสา-
    *โลหิตเหล่านั้น ก็เว้นเขาเสียห่างไกล ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๖ เป็น
    ความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ ฯ
    อีกประการหนึ่ง คนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมปรารถนาต่อคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้ เมื่อตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้อ
    นั้นเพราะเหตุไร เพราะคนที่เป็นข้าศึกกันย่อมไม่ยินดีให้คนที่เป็นข้าศึกกันไปสุคติ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว ย่อมประพฤติทุจริต
    ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ครั้นตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมข้อที่ ๗ เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึกกัน
    เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความโกรธ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นความมุ่งหมายของคนผู้เป็นข้าศึก
    กัน เป็นความต้องการของคนผู้เป็นข้าศึกกัน ย่อมมาถึงหญิงหรือชายผู้มีความ
    โกรธ ฯ
     
  9. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    โกธนาสูตร

    คนโกรธมีผิวพรรณทราม ย่อมนอนเป็นทุกข์ ถือเอาสิ่งที่เป็น
    ประโยชน์แล้ว กลับปฏิบัติสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ ทำ
    ปาณาติบาตด้วยกายและวาจา ย่อมถึงความเสื่อมทรัพย์ ผู้
    มัวเมาเพราะความโกรธ ย่อมถึงความไม่มียศ ญาติมิตร
    และสหาย ย่อมเว้นคนโกรธเสียห่างไกล คนผู้โกรธย่อมไม่
    รู้จักความเจริญ ทำจิตให้กำเริบ ภัยที่เกิดมาจากภายในนั้น
    คนผู้โกรธย่อมไม่รู้สึก คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ ไม่เห็นธรรม
    ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อย่อมมี
    ในขณะนั้น คนผู้โกรธย่อมก่อกรรมที่ทำได้ยากเหมือนทำได้
    ง่าย ภายหลังเมื่อหายโกรธแล้ว เขาย่อมเดือดร้อนเหมือน
    ถูกไฟไหม้ คนผู้โกรธย่อมแสดงความเก้อยากก่อน เหมือน
    ไฟแสดงควันก่อน ในกาลใด ความโกรธเกิดขึ้น คนย่อม
    โกรธ ในกาลนั้น คนนั้นไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ และไม่
    มีความเคารพ คนที่ถูกความโกรธครอบงำย่อมไม่มีความ
    สว่างแม้แต่น้อยเลย กรรมใดยังห่างไกลจากธรรม อันให้
    เกิดความเดือดร้อน เราจักบอกกรรมเหล่านั้น เธอทั้งหลาย
    จงฟังธรรมนั้นไปตามลำดับ คนโกรธฆ่าบิดาก็ได้ ฆ่ามารดา
    ของตนก็ได้ ฆ่าพระขีณาสพก็ได้ ฆ่าปุถุชนก็ได้ ลูกที่
    มารดาเลี้ยงไว้จนได้ลืมตาดูโลกนี้ ลูกเช่นนั้นกิเลสหยาบช้า
    โกรธขึ้นมาย่อมฆ่าแม้มารดานั้นผู้ให้ชีวิตความเป็นอยู่ได้ จริง
    อยู่ สัตว์เหล่านั้นมีตนเป็นเครื่องเปรียบเทียบ เพราะตนเป็น
    ที่รักอย่างยิ่ง คนโกรธหมกมุ่นในรูปต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเอง
    ได้เพราะเหตุต่างๆ ย่อมฆ่าตัวเองด้วยดาบบ้าง กินยาพิษ
    บ้าง เอาเชือกผูกคอตายบ้าง โดดเขาตายบ้าง คนเหล่านั้น
    เมื่อกระทำกรรมอันมีแต่ความเสื่อมและทำลายตนก็ไม่รู้สึก
    ความเสื่อมเกิดแต่ความโกรธ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นบ่วงของ
    มัจจุราช มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย บุคคลผู้มักโกรธ มีการฝึกตน
    คือมีปัญญา ความเพียรและสัมมาทิฐิ พึงตัดความโกรธนั้น
    ขาดได้ บัณฑิตพึงตัดอกุศลธรรมแต่ละอย่างเสียให้ขาด พึง
    ศึกษาในธรรมเหมือนอย่างนั้น เธอทั้งหลายปรารถนาอยู่ว่า
    ขอความเป็นผู้เก้อยากอย่าได้มีแก่เราทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
    เป็นผู้ปราศจากความโกรธ ไม่มีความคับแค้นใจ ปราศจาก
    ความโลภ ไม่มีความริษยา ฝึกฝนตนแล้ว ละความโกรธได้
    เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน ฯ
     
  10. momogo

    momogo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +1,158
    เคยโกรธมากและกดข่มไว้ หลายๆปี แต่พอถึงจังหวะระเบิด แค่คนกระทบนิดเดียว น้อยกว่าทุกครั้งกลับทนไม่ได้
    บทเรียนครั้งนี้ สอนให้รับรู้ว่า เป็นการแก้ความโกรธผิดวิธี

    ควรตามรู้ตามดูไป การอยากเป็นคนดีมากเกินไป ฝืนความจริง ทำให้เราเลวที่สุดเลย เมื่ออดทนจนถึงจุดอิ่มตัวเกินต้านไหว
     

แชร์หน้านี้

Loading...