*** อานิสงส์ของการเป็นผู้นำบุญ ***

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย loveday, 12 พฤษภาคม 2014.

  1. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    กระทู้นี้อยากเป็นกำลังใจ ให้ผู้เป็นสะพานบุญทุกท่าน นะคะ สู้ ๆๆ




    [​IMG]



    อานิสงส์ของการเป็นผู้นำบุญ

    ขึ้นชื่อว่า “บุญ” ย่อมมีทั้ง บุญทาน บุญศีล และบุญภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงขึ้นไปตามลำดับ การทำบุญเหล่านี้มีอานิสงส์เพียงใด ผู้นำบุญ ผู้ชักชวนให้ทำบุญ และทำด้วยตนเองด้วย เป็นเสมือนผู้ส่องทางสว่างให้แก่ตนเองและแก่ผู้อื่น ย่อมได้อานิสงส์เป็นทับทวี




    อยากทำคนเดียว

    มีหลายท่านค่อยๆ ทยอยมาบอกว่า “ต้องการสร้างพระประธานในโบสถ์ จะทำคนเดียว” คนนั้นก็มาบอกว่า “ขอทำคนเดียว” คนนี้มาก็บอก “ขอทำคนเดียว” แต่ก็ได้อธิบายไปกับบางท่านให้เข้าใจแล้วว่า สำหรับพระประธานนั้นมีเพียงองค์เดียวในอุโบสถ เพราะฉะนั้นเรามาเฉลี่ยบุญกันเถอะ ตั้งใจจะทำเท่าไรก็ทำเลย ไม่มีใครว่าอะไร


    อีกประการหนึ่ง ไม่ได้ให้มุ่งหมายแต่เพียงองค์พระเท่านั้น ให้กินหมายรวมถึงฐานพระและสิ่งประกอบ เพราะฉะนั้น อย่าไปคิดเพียงว่า บุญจะต้องไปใหญ่อยู่ที่องค์พระ ถ้าไปคิดอยู่อย่างนั้นก็จะหงุดหงิดกัน ถ้าทำบุญแล้วมีความหงุดหงิดเข้า ก็จะเป็นกิเลส โดยเริ่มมาตั้งแต่จะขอ “ทำแต่เพียงผู้เดียว” นี่อย่างนี้ก็มี บางคนก็ยังใจกว้างหน่อยว่า “เออ คนอื่นจะทำด้วยก็ดี”




    ผู้นำคนเนื่องจากผลผู้นำบุญ

    ความจริงเรื่องของบุญนี่เป็นเรื่องใจกว้างนะ ต้องใจกว้าง ไม่ใช่ใจแคบ เพราะบุญเป็นเครื่องกำจัดกิเลส ใจจะได้ใส สภาพของใจมันใหญ่ตรงที่มันใสนะ
    ความจริงแท้ๆ นี่ ถ้าจะนึกว่าทำบุญอะไร จะได้เป็นผู้นำคนก็คือ บุญที่เกิดจากการเป็นผู้นำบุญนั่นเอง คืออะไร คือ การบอกบุญ ชักนำคนอื่นเข้ามาในกองการกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล ภาวนากุศล นี่แหละผลบุญจึงจะส่งให้เป็นผู้มีบริวารสมบัติ เมื่อมีบริวารสมบัติตัวเองก็จะเป็นผู้นำ


    แต่ผู้ที่ร่วมอนุโมทนาบุญก็อย่าไปคิด อย่าน้อยใจว่า “เอ ! แล้วเราจะต้องไปกินน้ำใต้ศอกคนอื่นละกระมัง !” ไม่ใช่ ถ้าเรายังมีสติปัญญาความสามารถน้อยกว่าผู้อื่น ที่เขาเป็นผู้นำบุญ เราก็อนุโมทนาบุญ ร่วมบุญไปกับเขาได้ และในโอกาสเช่นนี้ ก็จะเป็นเหตุเป็นผลให้เรามีพลัง กลายเป็นผู้นำบุญต่อไปอีกได้ และได้พบกับผู้นำที่ดีด้วย เหมือนอะไร ? เหมือนว่าแต่เดิมเราก็เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการชั้นตรี เมื่อมีคุณสมบัติเพียงพอเมื่อใด ก็เป็นชั้นโท แล้วก็ชั้นเอก แล้วก็ได้ตำแหน่งหัวหน้ากองเป็นหัวหน้าเขา และยังมีอธิบดีที่ดีเป็นผู้นำอีก


    ถ้าเรารู้จักอนุโมทนาบุญที่ดี รู้จักเลือกผู้นำบุญที่ดี ก็จะได้ผู้นำที่ดี แล้วกำลังของเราก็จะสูงขึ้นๆ ไปตามลำดับ นี่คือลักษณะของบุญในทานกุศล จะให้ผลในอาการอย่างนี้

    ดั่งกษัตริย์ไร้บัลลังก์



    เพราะฉะนั้นจะไปกลัวใย ที่เราจะอนุโมทนาบุญคนอื่น และเราจะคิดแต่เพียงว่าจะตามคนอื่น ไยไม่คิดว่าจะนำคนอื่นบ้างละหรือ ? การเป็นผู้นำบุญนั่นแหละ บุญจะส่งให้เป็นผู้มีบริวารสมบัติ แล้วนั่นก็หมายถึงว่า การเป็นหัวหน้าหรือผู้นำ เป็นที่เคารพสักการบูชา หรือเป็นปูชนียบุคคลแก่ผู้อื่น ไม่ใช่มัวไปแย่งกันว่า “พระประธานนี้ ดิฉันอยากจะทำคนเดียว” มันจะกลายเป็นกิเลสเสียส่วนหนึ่งแล้ว บุญก็พลอยไม่สะอาดไปด้วย เอ้า ! ถ้าอยากจะสร้างพระประธาน ทำบุญลงไปเลย เสียสละลงไปเลย แม้เราอยากจะสร้างทั้งองค์ ก็ทำลงไปเลยทั้งองค์ ใครเขาจะมาร่วม ก็อนุโมทนาบุญกับเขา และลองถามตัวเองดูว่า “พระประธานไม่มีฐานตั้งอยู่ น่าดูไหม?” และ “มีแต่พระมีฐาน ไม่มีโบสถ์ อยู่ได้ไหม ?” นี่ขอให้คิดดูให้ดี

    อุปมาว่า แม้เราจะอยากเป็นกษัตริย์ แต่ถ้าเราเป็นกษัตริย์ไร้บัลลังก์ จะเป็นอย่างไรบ้าง? ถ้าเป็นกษัตริย์มีบัลลังก์ มีประเทศอยู่ แต่ไม่มีปราสาทราชวัง จะอยู่ได้ไหม ?

    หรือ ถ้าเป็นกษัตริย์มีบัลลังก์ มีปราสาทราชวัง มีประเทศอยู่ แต่ไม่มีบริวาร ไม่มีพลเมืองที่ซื่อสัตย์จงรักภักดี จะอยู่ได้ไหม ?



    เห็นไหมล่ะ เพราะฉะนั้น บุญที่เราจะได้ทำนี่ ได้บุญรวมกันไปหมดเลย ดังนั้นเราจึงควรมาคิดช่วยกันสร้างโบสถ์ก่อนโดยเป็นทั้งผู้นำบุญ ชักชวนผู้อื่นให้มาร่วมบุญ ก็จะได้อานิสงส์คือ บริวารสมบัติ เหมือนกับว่า มีพื้นดิน มีประเทศ มีพลเมือง นี่อุปมานะ เป็นบริวารสมบัติ แล้วเราค่อยมาสร้างพระประธาน พร้อมด้วยรัตนบัลลังก์ด้วยกัน พอถึงตอนนั้นก็กลายเป็นของเล็กน้อยแล้ว ก็เพียง ๑ ล้านบาทเศษเท่านั้นนี่ เพราะบางทีเพียงเจ้าภาพ ๒-๓ เจ้าก็ครบแล้ว เพราะฉะนั้นเราต้องสร้างหมดทั้งประเทศนะ เหมือนใคร ? ก็เหมือนต้นๆ ตระกูลของพระพุทธเจ้าของเรานะซิ




    ก่อนเป็นศากยวงศ์

    ต้นตระกูลศากยวงศ์ ท่านทราบไหมว่า มีความเป็นมาอย่างไร เริ่มแต่สมัยก่อนพุทธกาลเป็นเวลาย้อนหลังไปนาน มีพระเจ้าโอกกากราชและมเหสีที่มีพระราชโอรส ๔ พระราชธิดา ๕ รวมเป็น ๙ พระองค์ ต่อมาพระมเหสีองค์นั้นก็เสด็จทิวงคต ท่านก็มีมเหสีใหม่ แต่ต่อมาก็ประสูติราชโอรส ๑ องค์ มเหสีใหม่ก็อยากจะให้ลูกของตนเองเป็นใหญ่ เมื่อเวลาเหมาะก็ทูลขอพรจากพระเจ้าโอกกากราช ซึ่งพระองค์ก็ลั่นพระวาจาไปว่า จะขออะไรก็จะให้ ทั้งนี้ก็ด้วยรักในพระมเหสีและราชโอรส พระนางจึงทูลทันทีว่า ขอราชบัลลังก์ให้โอรสของตน เลยจบกัน โอรสองค์ใหญ่เลยไม่ได้ราชสมบัติ ด้วยพระเจ้าโอกกากราชได้ทรงพลั้งพระโอษฐ์ไปแล้ว เลยจำต้องให้ราชโอรสราชธิดาทั้ง ๙ องค์ไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ ซึ่งอยู่ในเขตสักกชนบท อันเป็นส่วนเหนือของชมพูทวีป ทั้ง ๙ พระองค์พร้อมด้วยอำมาตย์ ๘ คนและข้าราชบริพาร ก็ไปก่อตั้งเมืองขึ้นโดยคำแนะนำของท่านกบิลดาบส เมื่อสร้างเสร็จก็ได้ชื่อว่า “นครกบิลพัสดุ์”

    ในสมัยนั้นพวกกษัตริย์ถือเอาความบริสุทธิ์ในการสืบสายเลือด ดังนั้นพระราชโอรสกับราชธิดาทั้ง ๘ องค์ ยกเว้นพระธิดาองค์ใหญ่ ก็ได้มีงานพิธีวิวาหมงคลขึ้นเป็น ๔ คู่ แล้วจึงได้ตั้งวงศ์ขึ้นเป็น “ศากยวงศ์” นี่คือวงศ์ต้นๆ ของพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นไม่นานพระเชษฐภคินี คือพระธิดาองค์ใหญ่เกิดมีความรักกับเจ้าครองนครเทวทหะ ก็ได้มีการอภิเษกสมรสไปตั้งวงศ์ใหม่ ชื่อ “โกลิยวงศ์” ต่อแต่นั้นมา ๒ วงศ์นี้ก็มีการแต่งงานกันมาตลอด เพื่อรักษาวงศ์อันบริสุทธิ์ไว้ จนมาถึงพระเจ้าสุทโธทนะ และเจ้าชายสิทธัตถะซึ่งมีพระนางพิมพายโสธราเป็นมเหสีอย่างนี้เป็นต้น นี่ก็เป็นตัวอย่างว่า เขาได้พากันสร้างกันทั้งเมืองเลยนะ บุญที่ส่งให้สามารถทำได้เช่นนั้นก็คือ บุญที่เกิดจากทานกุศล ซึ่งได้ทำไว้ทุกสิ่งทุกอย่างประกอบกันขึ้น อย่างเช่นพวกเราช่วยกันสร้างสถาบันฯ สร้างโบสถ์ และจึงไปสร้างพระประธาน นี่แหละที่สร้างกันได้อย่างนั้นก็ด้วยอานิสงส์ทำนองนี้

    บุญตามให้ผล ตามเรื่องราวในพระไตรปิฎกบางตอนก็แสดงได้ว่า แม้เพียงถือศีล ๘ แล้วตั้งจิตอธิษฐาน อยากจะเกิดเป็นพระราชโอรสพระราชธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อแตกกายทำลายขันธ์แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดตามนั้นเหมือนกัน จะเห็นว่าเรื่องบุญนี่ เมื่อจิตใจสะอาดแล้วอธิษฐานไปด้วยดีแล้วนี้ บุญย่อมส่งผลให้ได้ หรือหากแม้ไม่ได้อธิษฐาน บุญก็ย่อมทำหน้าที่เองให้ผลเอง อย่าได้สงสัยเลย เท่าที่ได้เล่ามานี้ ก็เพื่อให้ท่านทั้งหลายได้มีจิตใจที่กล้าหาญ รื่นเริงที่จะประกอบการบุญการกุศลที่ดีทุกอย่าง โดยไม่เฉพาะเจาะจง แต่ให้รู้จักเขตหรือเนื้อนาบุญที่อุดมแก่การสร้างบุญสร้างกุศล ดั่งพันธุ์พืชที่ดี บรรยากาศที่ดี มีการดูแล ประคบประหงมที่ดี ทั้งทาน ศีล ภาวนา ลงท้ายก็คือการอบรมจิต ดำเนินไปตามแนวนี้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุขแต่ฝ่ายเดียว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2014
  2. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    การบอกบุญคนอื่นให้ได้เต็มพลานิสงส์ (หลวงปู่ครูบาชัยวงศา)


    [​IMG]



    คนประเภทหนึ่ง เจตนาเอง ศรัทธาเอง หาทรัพย์ได้ด้วยตนเอง
    ไปทำบุญเอง ประเคนเอง นี่ก็จำพวกหนึ่ง ได้บุญเต็ม

    อีกพวกหนึ่งอยากทำบุญ รอเขามาบอกก่อนถ้าเขาไม่บอกก็ไม่ไป
    รอให้เขามาบอก บังคับให้ไปเมื่อไรก็เมื่อนั้น
    ถ้าไปอย่างนั้นได้แก่คนบอกบุญครึ่งหนึ่ง คนไปได้ครึ่งหนึ่ง

    อีกพวก บอกก็ไม่ไป ไม่บอกก็ไม่ไป
    อย่างนั้นหาผลบุญมิได้ได้เต็มแก่คนบอกเพียงผู้เดียว

    ทำบุญด้วยตนเอง สร้างด้วยตนเอง ไม่บอกให้ใครรู้ เราได้บุญโขก็จริง
    แต่ไร้ข้าบริวารเพื่อนมิตร อยู่แต่ตนเอง อย่างคนปัจจุบัน
    เวลาทำบุญไม่ยอมบอกใคร อยู่ด้วยตนเองไม่มีเพื่อน

    ถ้าหากเราอยากทำเองจริงหมด ให้ประกาศนะว่า
    พี่น้องทั้งหลายทุกคนจงโมทนาในบุญข้าเจ้า ด้วยนะ ใครอยากทำไรเสริมร่วมกะข้าเจ้าก็ทำ

    ในที่สุดมาก็ขอโมทนาด้วยกันนะ เราก็เป็นใหญ่มีบริวารมากมายเยี่ยงต๋าป๊ะอิน
    (พระอินทร์หมายว่าในอดีตพระอินทร์ทำบุญเดียวแต่ประกาศให้มิตรสหาย
    มาร่วมมาโมทนาตายไปเลยได้เป็นเทวราชาเหนือเทพองค์อื่น)

    พูดไหนก็ได้นั่น หากเขาไม่ทำไม่เป็นไร เราบอกเขาแล้ว อานิสงส์มันเกิดแล้วเน้อ




    ที่มา ธรรมสวนีย์ ครูบาเจ้าชัยวงศาพัฒนา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ลำพูน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014
  3. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    [​IMG]



    อานิสงส์ แห่งการทำบุญ และ ชักชวนผู้อื่นทำบุญ


    เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

    มีอุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน ในกรุงสาวัตถีได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

    “บุคคลบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาย่อมได้รับโภคสมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไม่ให้ทาน ทั้งไม่ชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมไม่ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไห้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด”

    อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้า ก็ทรงรับคำอาราธนานั้น อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาคข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวายก็ได้รับสิ่งของต่างๆ มากบ้างน้อยบ้างตามศรัทธาและฐานะของผู้บริจาค

    อุบาสกคนนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดไม่ชอบในที่เห็นอุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า “อุบาสกคนนี้เมื่อไม่สามารถถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของตน ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาทั่วไปอย่างนี้”

    เพราะเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านจะร่วมทำบุญกับอุบาสกนั้นด้วย แต่ท่านก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบของนั้น จะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลย ตั้งชื่อท่านว่า เศรษฐีเท้าแมว เป็นการเปรียบเทียบความมือเบาของท่าน กับความเบาของเท้าแมว

    อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้แยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับ มาจากผู้อื่น เศรษฐีก็คิดว่า “อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจานเป็นแน่” เมื่อคิดอย่างนี้ จึงใช้ให้คนใช้ติดตามไปดู คนรับใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่ใช้หุงต้มอาหารนั้นหม้อละนิด อย่างข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า “ขอให้ทานของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก” คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่านเศรษฐีก็คิดอีกว่า “วันนี้เขายังไม่ประจานเราพรุ่งนี้เวลานำเอาอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงจะประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา เราจะฆ่าเสีย”

    ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเหน็บกริชซ่อนไว้แล้วไปที่วัดเชตวัน ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมือง ช่วยกันอังคาสเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว อุบาสกผู้นั้นได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ ถวายทานนี้ ขอให้คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาคของมาก ทั้งผู้บริจาคของน้อยจงได้รับผลมากทุกคนเถิด” ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจ กลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านให้ของเพียงหยิบมือเดียว คิดอีกว่า “ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย” แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า “แม้ผู้ที่บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด”

    ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ได้สติ คิดเสียใจว่า “เราได้คิดร้ายล่วงเกิดต่ออุบาสกนี้อยู่ตลอดเวลา แต่อุบาสกนี้เป็นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก” คิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอให้ยกโทษให้ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นกริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนี้ ก็ตรัสถามขึ้น เมื่อทรงทราบแล้วจึงได้ตรัสว่า “ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเช่นนี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็มด้วยน้ำฉันนั้น”

    ในตอนท้าย พระพุทธองค์ตรัส พระคาถาว่า “บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วย หยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อย ทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น”

    ท่านเศรษฐีได้ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งอย่างนี้ ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอและฟังด้วยความตั้งใจก็ย่อมได้ปัญญา ดังเศรษฐีท่านนี้เป็นตัวอย่าง

    จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชักชวนผู้อื่นให้ทานนั้นเป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนไปเกิด

    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญ หรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่างได้ขัดขวางห้ามปรามเขาเพราะการกระทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลทั้ง ๓ ฝ่าย คือตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑
    และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก การที่กิเลสคือความตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบางลงไปได้ชั่วขณะนี้แหละ คืออานิสงส์ที่แท้จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก็มีอานิสงส์มากเท่านั้น

    เสื้อผ้าที่สกปรกเปรอะเปื้อนต้องการสบู่หรือผงซักฟอกเข้าไปช่วยชำระล้างให้สะอาดฉันใดจิตใจที่เปรอะเปื้อนด้วยกิเลสก็ต้องการบุญ มีทานเป็นต้น เข้าไปช่วยชำระล้างขัดเกลาให้สะอาดหมดจดฉันนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2014
  4. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    ** การชักชวนผู้อื่นร่วมบุญ อยู่ในบุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ ลองอ่านดู นะคะ


    [​IMG]



    ทุกที่มีบุญ


    มีคนอีกมากที่ไม่มีโอกาสเข้าวัดเพราะต้องทำงานทุกวัน หรือคนที่ทำงาน
    กลางคืนต้องนอนตอนเช้า ไม่ทันได้ไปวัดหรือใส่บาตร แล้วก็คิดว่าจะมีบุญที่ไหน
    มาให้เบิก แต่ความจริงแล้วในการทำงานทุกวัน ถ้าเราพูดดี คิดดี ทำดี มันก็มีบุญ
    ให้เบิกอยู่แล้ว อย่างวันนี้ ถ้าเราทำอาหารไปเผื่อเพื่อนบ้าน ซื้อกาแฟเย็น
    ไปฝากเพื่อนที่ทำงานหรือบางทีเราเห็นคนที่เดินในซอย เราก็รับเขาขึ้นรถมา
    อย่างนี้ก็เป็นบุญแล้ว เพราะเขาก็ไม่ต้องเดินไปไกลหรือขึ้นรถเมล์แล้วเราลุกให้เด็กนั่ง
    ลุกให้คนแก่ลุกให้ผู้หญิงนั่ง ช่วยเขาถือของ แค่นี้นิด ๆ หน่อย ๆ อย่างนี้คือ
    ความช่วยเหลือ อะไรทึ่เกิดขึ้นจากใจที่เราทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มันมีความสุข
    แล้วถ้ามีคนจอดรถถามทางว่าถนนเส้นนี้จะทะลุถนนเพชรเกษมไหม เราบอกว่า
    ทางนี้ผิด ต้องไปทางนี้ครับ คือถ้าเราไม่บอกเขาก็คงเสียน้ำมันไปไหล ถือว่า
    ได้เจอคนบอกทาง แค่นี้ก็เป็นบุญแล้วนะ คือทำแล้วมันเป็นความสุขกายสุขใจ
    คนที่ได้รับก็สุขกายสุขใจ เราอาจจะไม่รู้ว่าเป็นบุญ แต่มันก็เป็นบุญแล้ว

    พระพุทธองค์ได้ทรงสั่งสอนถึงบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการ นอกจากบุญสำเร็จได้ด้วย

    ๑.การให้ทาน

    ๒.การรักษาศีล

    ๓.การเจริญภาวนา


    ๔.บุญสำเร็จได้ด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
    ในเรื่องของการอ่อนน้อมถ่อมตน
    แม่ชีมีต้นแบบมาจากหลวงพ่อปรีชาและแม่ดำ แม่ของแม่ชี แม่ดำบอกว่าถ้าเราพูดไม่เพราะใครเขาอยากจะคุยด้วย
    พูดคำด่าคำใครเขาจะอยากมาฟังเรา แล้วพอมาบวชกับหลวงพ่อปรีชา
    แม่ก็ได้เห็นจากหลวงพ่อท่านจะรับไหว้พระทุกรูปที่มาที่วัด นี่คือ
    ความนอบน้อมที่แม่ได้จากท่าน ท่านสอนแม่คำเดียวนะ “ผู้ไหว้ย่อมได้รับการไหว้ตอบ”
    คำนี้มันโดนเลย ทีนี้ก็มีบางท่านบอกว่า โยมเขามีศีลน้อยกว่า แต่แม่ชีคิดว่าความบริสุทธิ์ มันอยู่ที่ใจ ไม่ได้อยู่ที่ร่างกาย
    ไม่ได้อยู่ที่ลักษณะ ไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย เครื่องแบบอะไรทั้งนั้น
    ถึงแม่ว่าเขาจะมีศีลน้อยกว่ามีอายุน้อยกว่า แต่การอ่อนน้อม
    ถ่อมตนจะทำให้เราเป็นที่รักของทุกคน สังเกตไหม ไม่ว่าแม่จะไปตรงไหน แม่ก็ไหว้
    เป็นนักมวยเลยนะ เคยเห็นนักมวยไหว้ไหม แต่ถ้าถามแม่ว่าแม่ไหว้ด้วยใจไหม
    แม่ตอบเลยว่าแม่ไหว้ด้วยใจ พอใครเขาไหว้ แม่ก็รับไหว้ “สวัสดีค่ะ” แล้วพอ
    แม่รับไหว้ทุกคนก็ชื่นใจ แต่คนที่ยังมีทิฐิถือว่าฉันอายุมากกว่า ฉันตำแหน่งสูงกว่า
    ก็อาจจะยังไหว้ใครไม่ได้ ยังอ่อนน้อมไม่ได้ แม่ชีเคยนะ แม่ชีเคยไหว้คน ๆ
    นี้มาแล้ว ๓ ครั้ง แต่เขาไม่รับไหว้ แม่ก็คิดว่าคราวหน้าเราอย่าไหว้เขาดีกว่า
    ไหว้ทีไรเขาก็ไม่รับไหว้สักที นี่ไอ้ตัวทิฐิมันเกิดแล้วนะ แต่พอเจออีกทีแล้วทิฐิมันหาย
    ก็ยังอยากไหว้อยู่ คือพอถึงเวลากำลังของบุญมันมากกว่า ก็เลยทำให้ตัวทิฐิตัวมาร
    ในใจมันบางลงไป แม่ก็ไหว้จนเขารับ แม่คิดว่าการไหว้เป็นเรื่องดี ไปลามาไหว้
    มันเป็นเรื่องดี แค่นี้ก็ทำให้เราสุขใจ นี่ก็เป็นบุญแล้ว บุญที่ใจ เป็นความสุขที่ใจ
    มันเป็นบุญที่ใจเพราะทิฐิไม่มาเกาะใจเรา

    ๕.บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจการที่ชอบ เป็นการทำคุณงามความดี
    ที่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนรวม คนที่ขวนขวายในบุญชักชวนให้คนเห็นธรรมหรือการ
    ชักชวนให้ผู้อื่นร่วมบุญด้วย แต่ว่าการชักชวนผู้อื่นให้ร่วมบุญนั้น บางคนไปบอกบุญ
    กับใครก็จะถูกตอกกลับมา ถ้าวันไหนที่เราบารมีถึง เราทำให้เขาเห็นจริงว่า นี่เรา
    ทำจริงนะ เขาก็จะเอาเงินมาใส่มือ เอาข้าวเอาของมาให้เลย นั้นเขาเห็นว่าเราทำจริง
    ต้องทำให้เขาเห็นก่อนว่าเราทำอะไร ก็มีคำถามของญาติโยมที่ถามว่า มีผู้ร่วมงานเป็น
    คนรักษาศีล สวดมนต์ไหว้พระ สวดมนต์เก่งมากเลย แต่ไม่ช่วยเหลือใครเลย ถ้าเขา
    จะไม่ช่วยคนอื่น ถามว่าคนสวดมนต์เขาผิดไหม เขาก็ไม่ผิดนะ แต่ถ้าเป็นแม่ชี
    หลวงพ่อสอนให้ดูตัวเองว่าเพราะอะไรเขาจึงไม่ช่วยเรา เรามีข้อบกพร่องอะไรหรือเปล่า
    เมื่อก่อนที่แม่ชียังไม่มีบารมี โบกรถอะไรก็ไม่มีใครรับ เรียกมอเตอร์ไซค์ก็ไม่จอด
    แม่ต้องหิ้วของทั้งสองมือเดินจากตลาดกลับวัด ๓ กิโลเป็นอย่างนี้อยู่นาน แต่ตอนนี้
    ถ้าแม่จะเดินออกไปจับไม้กวาด ทุกคนจะวิ่งมาจับไม้กวาดหมดเลย ถ้าแม่ไปจับ
    สายยางรดน้ำ ทุกคนก็จะวิ่งมาจับสายยางรดน้ำหมดเลยเพราะว่าแม่ก็อนุเคราะห์
    คนอื่นโดยไม่คิดชีวิตเหมือนกัน แต่คำถามตรงนี้ คนที่ไหว้พระสวดมนต์แล้ว ทำไม
    ไม่มีน้ำใจกับผู้ร่วมงาน คิดว่าคงมีหลายหน่วยงานที่มีเรื่องราวอย่างนี้ ก็คงต้องถาม
    คนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือของคนอื่น ว่าเคยช่วยใครบ้างหรือเปล่า ส่วนคน
    ที่ไม่ช่วยเหลือใคร ก็ยังทำบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ไม่ครบเหมือนกัน แม่ชีมีธรรม
    จากหลวงพ่อปรีชาที่ได้จากการจัดปฏิบัติธรรมที่วัดใหญ่คลายคีรี คือที่วัดนี่เป็นวัดป่า
    คนปฏิบัติก็ต้องอยู่ในป่า กินนอนในป่า แต่มีเต็นท์ให้นอน ก็มีหลายคนที่ได้นอน
    ใต้ร่มไม้ใหญ่ ก็นอนสบาย ไม่ร้อน หลวงพ่อท่านเมตตาท่านเดินดูว่าพวกเราลำบาก
    หรือเปล่า แล้วก็มีบางคนที่ได้นอนใต้ต้นไม้ที่ไม่กันร้อนได้เท่าไหร่ ท่านมีเมตตา
    ท่านให้ธรรมะกับผู้บวชว่า “ไอ้คนที่นอนตรงนั้น ถามจริง ๆ ว่าตั้งแต่เกิดมาเคย
    ปลูกต้นไม้กับเขาบ้างหรือเปล่า” โยมก็ตอบว่า “เคยแต่กินค่ะ” หลวงพ่อ
    ท่านบอกว่า “ไม่เคยปลูกต้นไม้ ไม่เคยให้ร่มเงากับใคร เวลาเอ็งจะนอน เอ็ง
    ก็ไม่ได้นอนใต้ร่มไม้เหมือนอย่างคนอื่นเขา” นี่คือธรรมะของท่าน เข้าใจไหม
    นี่จับฉลากนะ ไม่ใช่เลือกที่นอนเอง คือทุกอย่างต้องเริ่มที่ตัวเรา ถ้าเราเห็นว่า
    เขาไม่มีน้ำใจ เราก็ต้อบงกลับมาดูที่ตัวเรา เรื่องอย่างนี้ แม่ชีว่าเราอย่าเอา
    การทำดีของเขามาต่อรองเลยนะ

    ๖.บุญสำเร็จได้ด้วยการให้ส่วนบุญ ในการทำบุญทุกครั้ง ไม่ว่าโยม
    จะทำอะไรที่เป็นบุญ ก็จะนำส่งบุญให้ผู้อื่นได้ด้วยการให้ส่วนบุญ คือทุกข้อที่กล่าวมา
    ก็เป็นบุญอยู่แล้ว ในข้อนี้เป็นการให้ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมา นำส่งให้กับผู้อื่นได้
    ก็เป็นบุญด้วย ถ้าไม่กรวดน้ำ นำส่งบุญให้บุญส่งผลเลย ก็เป็นบุญของโยมแต่ก็ต้อง
    รอเวลาให้บุญส่งผล ไม่รู้เมื่อไหร่ อย่าแม่ทำทุกบุญแม่กรวดน้ำทุกครั้ง แต่ต้องเริ่ม
    จากการให้บุญตัวเองก่อน โดยขอให้แม่พระธรณีมาเป็นทิพยญาณในการทำบุญ
    ของเราทุกครั้ง ก็เหมือนบุญที่เราทำมา อย่างไรก็เป็นของเราอยู่แล้ว แต่เรา
    ก็ต้องรวมยกให้ตัวเองก่อน เหมือนถ้าอยากมีแรงก็ต้องกินข้าวก่อนถึงจะมีแรง
    ไปช่วยคนอื่นได้ พอเรามีแรงแล้วบุญที่เราแผ่เมตตาไปให้บุคคลอื่นเขาได้อานิสงค์
    ผลบุญจากเรา แล้วการที่เราแผ่บุญกุศลให้คนอื่น เราจะได้บุญนั้นกลับมาอีก
    มาจากไหน ก็มาจากความปราถนาดีให้ผู้อื่นเป็นสุขกลับมาเพิ่มอีก แม่ชีกรวดน้ำ
    ด้วยบทกรวดน้ำบทรวมใหญ่ นี่เราให้รอบทิศเลยนะ

    การกรวดน้ำคือการเทน้ำลงพื้นดิน ถ้าอยู่คอนโดก็หาภาชนะใส่ดิน
    แล้วเอาไปไว้ในบ้าน แล้วก็มาสวดบทกรวดน้ำให้จบก่อนแล้วค่อยเทน้ำ
    ไม่ใช่ว่าสวดไปแล้วเทน้ำไป เพราะเราจะมากังวลว่าน้ำจะหมดแล้ว แต่ยังสวด
    บทกรวดน้ำไม่จบเลย น้ำเป็นพิธีกรรมแสดงความสำเร็จไม่ใช่ว่าน้ำเยอะแล้ว
    จะได้บุญเยอะ ถามว่าทำไมบทกรวดน้ำนี้ถึงได้ยืดยาวขนาดนั้น ก็เพราะว่าไม่ให้
    มีรูรั่วเลย จะได้ไม่เป็นหนี้

    ๗.บุญสำเร็จได้ด้วยการอนุโมทนา ส่วนในการทำบุญอีกประเภทหนึ่ง
    ที่ได้บุญโดยไม่ต้องเสียเงินเลย แต่ไม่ค่อยมีใครทำ ถ้าใครมาวัดพิชยญาติการาม
    ทุกวันอาทิตย์จะมีการถวายสังฆทาน และทุกคนก็จะกล่าวอนุโมทนาบุญกัน
    เป็นร้อย ๆ ครั้ง โยมคิดดูสิว่าเขาจะได้บุญกันเท่าไหร่ แต่ก็ยังมีบางคนก็ยังสงสัยว่า
    เรื่องบุญนี่ใครทำใครก็ได้ ถ้าเราไม่ได้ทำ แต่พูดว่าอนุโมทนาจะได้บุญได้อย่างไร
    คือในการทำบุญมันมีความเบิกบานในบุญ เช่น เราเห็นใครทำบุญ เราก็ยกมือไหว้
    เราเห็นความเอิบอิ่มในบุญของเขา เราก็ขออนุโมทนาด้วยนะ แค่พนมมือขึ้นมา
    แล้วพูดว่า “อนุโมทนาด้วยนะ” พอเราอนุโมทนาปุ๊ป อนุโมทนาด้วยใจ
    แค่นี้มันสัมผัสได้เลยนะ บุญมันเกิดที่ใจ ว่าใจมันเป็นสุขขึ้นมาทันที เพราะปิติ
    มันเกิด น้ำตาไหล ขนลุกซาบซ่านเลยนะ เพราะมันเป็นบุญ

    ๘.บุญสำเร็จได้ด้วยการฟังธรรม
    นี่ชัดเจน ในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้า
    เทศนาสั่งสอนพระสาวกสั่งสอนกษัตริย์ สั่งสอนเศรษฐีมหาเศรษฐี เพียงแค่
    ได้ฟังธรรม ก็มีดวงตาเห็นธรรม เป็นพระอรหันต์เลย นิพพานเลย

    ๙.บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
    การแสดงธรรมไม่ว่าจะเป็นรูป
    ของการกระทำ หรือการประพฤติปฏิบัติด้วยกาย วาจา ใจ ในทางที่ชอบ
    ตามรอยพระพุทธเจ้าทำบุญด้วยการให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ ช่วยคนทุกข์
    ด้วยข้อธรรม สอนลูกสอนหลาน สอนนักเรียนให้เป็นคนดี ล้วนเป็นบุญในข้อนี้

    ๑๐.บุญสำเร็จได้ด้วยการทำความเห็นให้ตรง เห็นว่าบาป-บุญ มี เห็นว่า
    พ่อแม่มีคุณ เห็นว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีคุณ เห็นว่าตายแล้วไม่สูญ
    เห็นว่านิพพานมีจริง เชื่อหลักไตรลักษณ์ อนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา นี่เห็นถูก
    ถ้ามีความเห็นถูกนะ ข้ออื่นถูกหมด ถ้าเห็นผิดก็ผิดหมด ถ้าไม่มีความเห็นที่ถูกต้อง
    ฟังธรรมก็ไม่รู้เรื่อง หยิบยื่นอะไรให้ใครไม่ได้ ความเห็นถูกเป็นเส้นทาง
    แห่งความเจริญนะ แต่ว่าสังคมปัจจุบันนี่แยกแยะไม่ได้ว่าเห็นถูกคืออะไร
    เพราะทุกคนเอาอารมณ์เข้าไปใส่ อย่าเช่นมีการแข่งขันฟุตบอล เขาก็บอกว่า
    “กีฬา ๆ เป็นยาวิเศษ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย” แต่เดี๋ยวนี้มีการพนันเกิดขึ้น
    พอคนเล่นข้างนี้ไว้ แล้วข้างนี้แพ้ บอลแพ้ คนไม่แพ้ เพราะมันเสียพนัน
    พอเสียพนันแล้วก็ลุแก่โทสะ ก็ไปทำร้ายกัน เป็นกลุ่มเป็นก้อน ทำให้เดี๋ยวนี้
    กีฬาไม่ใช่ยาวิเศษ กีฬาเป็นยาพิษ เพราะว่าทุกคนไปเล่นการพนันเข้า
    แพ้ก็หาเรื่อง ในความเห็นถูกต้องรู้ว่าเป็นอบายมุข เป็นการพนันต้อง
    ไม่เข้าไปเกี่ยวข้อง

    นี่เป็นเรื่องของบุญล้วน ๆ ใครขาดข้อไหนก็เพิ่มเติมในข้อนั้น ถ้าใคร
    เป็นลูกศิษย์แม่จะรู้เลยว่า แม่สอนทั้ง ๑๐ อย่างครบถ้วน แล้วถ้าใครเคย
    ไปร่วมในโรงทานที่มหาจุฬาฯ กับแม่จะเห็นได้เลย เป็นที่ที่แม่กับลูกศิษย์
    ทำครบทุกบุญ เพราะที่นี่เราทำอาหารถวายพระและทำโรงทานสำหรับคนทั่วไป
    ในขณะที่เราไม่สามารถสร้างบุญได้คนเดียวในเวลาที่มีพระมาเป็นจำนวนพัน
    ญาติโยมมาเป็นจำนวนหมื่น นี่ก็คือการชักชวนให้ผู้อื่นได้ร่วมบุญ การให้ทาน
    มีบางอย่างที่คนนี้ยังให้ไม่ได้ ยังตักของให้ใครไม่ได้ แม่ก็จะให้ไปทำอย่างอื่น
    เพราะว่าการทำทาน มันต้องอยู่กับน้ำกับไฟ อย่างถ้าแจกก๋วยเตี๋ยวอย่างเดียว
    ก็จะมีหม้อก๋วยเตี๋ยวตั้งเกือบ ๑๐ ใบ ที่จะต้องเร่งไฟให้แรงอยู่ตลอด คนที่ตัก
    อยู่ตรงนี้มันต้องอยู่กับไฟ แม่จะให้ลูกศิษย์บริกรรมในใจ ให้ใจเป็นบุญ ถ้าใจ
    เป็นบุญแล้ว ไฟตรงนี้ไม่ร้อนเลย ทีนี้ถ้าคนตักกำลังใจยังไม่พอกับบุญ
    คนนี้มารับ ๕ ครั้ง มารับอีกแล้ว แม่ก็สอนเขาว่า “ให้คิดว่าไม่ใช่คนนี้
    เพราะมันเป็นโรงทาน ที่เราไม่ได้เขียนไว้ว่า แจกถ้วยเดียวหรือได้รับคนละ ๑ ถ้วย
    แต่เราเขียนคำว่าโรงทาน ถึงแม้เขาจะมารับ ๑๐ ครั้ง ถือว่าเขามีบุญที่ได้
    มากินอาหารในโรงทานของเรา” นั่นคือสิ่งที่แม่สอนทุกคน และที่บอกว่า
    เวลาไปให้ทาน แม่บอกไม่ให้มองคนรับ เพราะว่าแม่กลัวทุกคนจะให้ไม่ได้
    ถ้าเราจะมองคนรับ ต้องมองด้วยความยิ้มแย้มนะ ใครขออีกก็ให้อีก ไม่รู้จักก็ให้ได้
    ทีนี้ในส่วนของคนทั่วไปจะชักชวนให้คนอื่นมาทำบุญมันก็เริ่มจากการแจกซอง
    บางคนไปบอกบุญกับใครก็จะถูกปฏิเสธ แต่หลวงพ่อท่านไม่ได้สอนแม่อย่างนั้น
    แม่ต้องทำให้เขาเห็นก่อนว่าเราทำอะไร มีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง คนที่มีทรัพย์มาก ๆ
    ทำบุญแล้วไม่อยากให้ใครรู้เลยว่าเราเป็นคนทำ เพราะว่ากลัวถูกเรียไร
    อย่างเช่นทำบุญหนึ่งล้านก็ไม่อยากให้ใครรู้ว่าทำบุญเป็นล้านเพราะกลัวที่อื่น
    มาขออีก รู้ว่าทำบุญแล้วเขาก็กรวดน้ำก็จบ และก็อีกกลุ่มหนึ่งไม่อยากทำบุญ
    ในพระพุทธศาสนา อยากช่วยเหลือสังคม อยากให้ที่นอนหมอนมุ้ง ถามว่า
    มีเงินระดับนั้นทำไมถึงไม่ทำบุญกับพระพุทธศาสนา ก็กำลังบุญของเขายังไม่พอ
    กำลังใจของเขายังไม่พอ ถามว่าทำบุญอย่างนั้นผิดไหม ไม่ผิดหรอก
    ก็ทำบุญกับคนไม่มีศีลไปก่อน


    จากหนังสือ "เบิกบุญ ๒ สมปราถนา"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2014
  5. tharathan

    tharathan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    816
    ค่าพลัง:
    +7,128
    สาธุๆๆ อนุโมทนาด้วยค่ะ
    ขออนุญาตนำไปเผยแพร่ต่อนะคะ
     
  6. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    ได้ คะ อนุโมทนาบุญด้วยนะคะ สาธุ ๆ ๆ
     
  7. ลูกจันทร์

    ลูกจันทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    169
    ค่าพลัง:
    +547
    อนุโมทนา สาธุค่ะ
    อ่านแล้วรู้สึกดีมากเลยค่ะ:cool:
     
  8. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    + + + เคล็บลับการทำบุญสมัยพุทธกาล "ลงทุนน้อยกว่า ได้บุญมากกว่า" + + +


    [​IMG]


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. tharathan

    tharathan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2013
    โพสต์:
    816
    ค่าพลัง:
    +7,128
    ขออนุโมทนา คุณ loveday เป็นอย่างสูงค่ะ

    ชอบมากๆ เลยค่ะ
    บางท่านอาจจะมุ่งแต่ทำทานเพียงอย่างเดียว
    แต่ไม่คำนึงถึงการรักษา " ศีล " ซึ่งให้ผลมากกว่า ทาน
    และบุญที่ทำน้อยแต่ได้มากกว่า ทาน ที่ทำได้ง่ายๆ คือ " การเจริญสมาธิวิปัสนา "
    แค่ นั่งสมาธิ ก็ได้บุญมากแล้ว เพราะการทำสมาธิ เป็นการฝึกพัฒนาจิตของเราโดยตรง
    หากฝึกจิตให้เข้มแข็ง ละกิเลสทั้งปวงและเข้าใจกฏธรรมดาของโลก
    ก็จะนำไปสู่ทางแห่งความหลุดพ้น นั่นเอง

    ส่วนการทำทาน ไม่ใช่ว่าไม่ควรทำ แต่ถึงจะทำมาก
    แต่ทำเพื่อหวังผลแห่งบุญที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองอย่างเดียวนั้น
    ก็อาจจักเกิดเป็นกิเลสเผาผลาญใจเราเองได้

    แทนที่จะคิดว่า " เราทำบุญเพื่ออะไร "

    เพื่อบริหารใจ ให้จิตใจสงบ เพื่อช่วยให้เราคลายความตระหนี่ถี่เหนียว

    ละความยึดมั่นถือมั่นในทรัพย์สินเงินทองที่มีอยู่

    หรือทำบุญ เพื่อทานนั้นจะก่อเกิดประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร

    หรือทำบุญ เพื่อทานนั้นจะก่อเกิดประโยชน์ต่อผู้ได้รับผลจากทานนั้นอย่างไร

    ที่สำคัญ ควรทำตามกำลังทรัพย์ ตามกำลังศรัทธา โดยไม่ให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

    และทุกครั้งที่ทำควรทำด้วยใจบริสุทธิ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 พฤษภาคม 2014
  10. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    20 นาที ชีวิตเปลี่ยน




    [​IMG]



    ขอใช้พื้นที่นี้ ชักชวนทุกท่าน ร่วมสร้างบุญที่ลงทุนน้อย แต่ได้บุญมหาศาล

    โดยใช้เวลา 20 นาที

    คนเราทานข้าว ทุกวัน วันละ 3 มื้อ แต่ทำไมเราจะสวดมนต์ รักษาศีล เจริญภาวนา ทุกวัน วันละ 1 ครั้ง ไม่ได้หรือ

    ชีวิตนี้คนเราสั้นนัก ไม่รู้ ว่า วันพรุ่งนี้จะมีลมหายใจต่อไปหรือไม่ ฉะนั้นควรทำวันนี้ให้ดีที่สุดคะ



    ************************​


    บูชาพระรัตนตรัย


    อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
    อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ


    บทกราบพระรัตนตรัย


    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ (กราบ)
    สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิฯ (กราบ)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต, สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ (กราบ)



    ขอขมาพระรัตนตรัย


    วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
    วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต
    วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต


    อาราธนาศีล ๕

    มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
    ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
    ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ


    คำนมัสการพระพุทธเจ้า

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า 3 ครั้ง)



    ไตรสรณคมน์


    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ



    ศีล 5

    ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
    สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ


    บทถวายพรพระ

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
    สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    พุทโธ ภะคะวาติ ฯ

    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
    โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ (อ่านว่า วิญญูฮีติ)

    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
    สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
    อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ ฯ

    จากนั้นนั่งสมาธิ

    จะนั่งกี่นาทีก็แล้วแต่เรา : ก่อนนั่งสมาธิให้พิจารณาร่างกายของเรา ตั้งแต่เส้นผม ตา หู จมูก ปาก ฟัน ผิวหนัง และมือ แขน ขา เท้า วันหนึ่งก็ต้องเสื่อมไปตามกาลเวลา แล้วเริ่มนั่งสมาธิ หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ” หรือจะใช้ “ยุบหน่อ” “พองหน่อ” หรือจะใช้วิธีใดก็ได้ แต่ที่สำคัญอย่าไปติดในสุข ขณะนั่งสมาธิ ให้ปล่อยวาง จะสุขหรือทกข์ ทุกอย่างมันย่อมเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปเสมอ


    บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง


    อะหัง สุขิโต โหมิ -- ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข
    อะหัง นิททุกโข โหมิ -- ปราศจากทุกข์
    อะหัง อะเวโร โหมิ -- ปราศจากเวร
    อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ -- ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
    อะหัง อะนีโฆ โหมิ -- ปราศจากความลำบาก
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ -- จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด


    บทแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์

    สัพเพ สัตตา -- สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
    อะเวรา โหนตุ -- จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อัพยาปัชฌา โหนตุ -- จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
    อะนีฆา โหนตุ -- จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
    สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ -- จงมีความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยสิ้นเถิด


    บทสวดแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล

    อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่มารดา บิดาของข้าพเจ้า ขอให้มารดา บิดาของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

    อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเทวา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพเวรี
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข

    อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
    ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ


    บทกรวดน้ำให้เจ้ากรรมนายเวร


    ข้าพเจ้า(ชื่อ-สกุล) …… ขออุทิศบุญกุศลจากการรักษาศีล เจริญภาวนานี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายของข้าพเจ้า ที่ข้าพเจ้าได้เคยล่วงเกินท่านไว้ ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ ท่านจะอยู่ภพใดหรือภูมิใดก็ตาม ขอให้ท่านได้รับผลบุญนี้ แล้วโปรดอโหสิกรรม และอนุโมทนาบุญแก่ข้าพเจ้า ด้วยอำนาจบุญนี้ด้วยเทอญ


    คำอธิษฐานอโหสิกรรม

    ข้าพเจ้า(ชื่อ-สกุล) …… ขออโหสิกรรม กรรมใดที่ทำแก่ผู้ใด ในชาติใดๆ ก็ตาม ขอให้เจ้ากรรมและนายเวร จงอโหสิกรรมให้กับข้าพเจ้า อย่าได้จองเวรจองกรรมต่อไปเลย

    แม้แต่กรรมที่ใครๆ ได้ทำกับข้าพเจ้าก็ตาม ข้าพเจ้าขออโหสิกรรมให้ทั้งสิ้น และขอยกถวายพระพุทธเจ้าเป็นอภัยทาน เพื่อจะได้ไม่มีเวรกรรมต่อไป

    ด้วยอานิสงส์แห่งอภัยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัว บุตรหลาน ตลอดจนวงศาคณาญาติ และผู้มี อุปการคุณของข้าพเจ้า จงมีความสุข ความเจริญ ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดี และสิ่งที่ชอบด้วยเทอญ.


    สุดท้ายอธิษฐานจิต

    ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้า(ชื่อ-สุกล) ..... ได้สร้างจากการรักษาศีล เจริญภาวนานี้ จงส่งผลให้ .......(อธิษฐานอะไรก็ได้).......
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 พฤษภาคม 2014
  11. loveday

    loveday เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    5,148
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +19,926
    อธิษฐานขอต่ออายุพ่อแม่



    [​IMG]



    คนที่เป็นลูกก็สามารถทำได้ อย่าไปรอให้ใกล้ตาย ลูกบางคนเมื่อพ่อแม่ป่วยก็ขอต่ออายุให้พ่อแม่

    ก็สามารถขอต่ออายุ ให้ได้ต่อได้จริง ๆ มันเป็นความกตัญญูที่มีเป็นแรงบุญ แต่เราต้องขอต่ออายุในลักษณะที่ว่า

    ถ้าใครมีพ่อแม่ที่กำลังป่วย คนที่เป็นลูกสามารถอธิษฐานทอนอายุของเราเพื่อต่อชีวิตพ่อแม่ได้ว่า

    “ข้าพเจ้ามีอายุขัยเท่าไหร่ก็แล้วแต่ ข้าพเจ้าขอให้อายุขัยกับพ่อแม่เพื่อให้พ่อแม่อยู่รอดอย่างปกติ
    อีก ๑๐ ปี” หรือ “ข้าพเจ้ามีอายุขัยแค่ไหน ขอให้อายุขัยที่ข้าพเจ้ามีอยู่ ส่งผลให้พ่อแม่ของข้าพเจ้าที่กำลังป่วยหายวันหายคืน เป็นปกติ ไม่ได้วนเวียนอยู่ในความทุกข์”

    ๑. นั้นคือการต่ออายุ เป็นการแสดงความกตัญญูให้พ่อแม่เป็นสุข แต่ว่าถ้าเกิดเขามี
    บุญกุศลที่เขาจะใช้ชีวิตอย่างเป็นมนุษย์ได้แค่ไหน ก็ขอให้บุญเราที่มีอยู่ส่งผลให้เขาได้
    ไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้นสู่ภพภูมิที่สุคติ

    ๒. นั่นคือการต่ออายุให้เขาเป็นสุข แต่ว่าถ้าเกิดเขามีบุญกุศลที่เขาจะใช้ชีวิตอย่าง
    เป็นมนุษย์ได้แค่ไหน คนที่เป็นลูกก็สามารถอธิษฐานได้ว่า

    “ขอให้บุญที่ข้าพเจ้ามีอยู่ส่งผลให้พ่อแม่ของข้าพเจ้าได้ไปสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น สู่ภพภูมิที่สุคติ”

    แต่ถ้าใครอยากเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ทุกวัน ไม่ต้องรอให้ถึงตอนที่เขาป่วย พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ คนเป็นลูกต้องรีบสร้างบุญกับท่าน เริ่มจากวันนี้ดูแลพ่อแม่ให้ดีกว่าที่พ่อแม่ได้ดูแลเรา ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นลูกกตัญญู



    จากหนังสือ "ที่สุดคำอธิษฐาน"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...