ผมปฏิบัติธรรมมานานเหมือนมันไม่ก้าวหน้าเลย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย data44, 27 พฤษภาคม 2014.

  1. data44

    data44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +158
    คือผมปฏิบัติธรรมมานานมากแล้ว หลายปี ผมก็ไม่ได้ต้องการได้ฤทธิ์ได้เดชอะไรนะครับ แต่นี่มันไม่อะไรเลย แม้กระทั่งจิตสงบบ้าง เย็นๆบ้างก็ยังไม่มีเลย กำลังใจมันก็เสียสิครับ เปิดธรรมมะ อ่านวิธีปฏิบัติของพระอาจารย์แต่ละท่านแล้วนำมาพิจารณาลองปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ แต่ละอย่างไป แต่ก็ไม่เห็นเป้นผลสักอย่าง ผ่านมาเป้น 10 ปีแต่ก้ยังไม่ขยับ ตั้งอารมณ์ ไปหาพระอารย์ปรึกษาวิธีปฏิบัติ มาลองทำก็แล้ว ไม่อะไรเลย นิดเดียวก้ไม่มี งงเลยครับ เสียกำลังใจ อย่าว่าผมไม่พยายามนะครับ ผมทำมาตั้ง 10 ปีแล้วนะ ศีลก็รักษาครบ งงเลยๆๆๆๆๆๆ งงๆๆๆๆๆๆ

    บอกผมทีครับควรทำไงดี
     
  2. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    เคยปรามาส พระอาจารย์ หรือป่าวครับ ด้วย กาย ก็ดี วาจา ก็ดี ใจ ก็ดี ถ้าจำไม่ได้ว่าเคย ก็ ขอขมา เลยครับ จุดธูป 3 ดอกหน้าพระ นโม 3 จบ ขออำนาจ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า กรรมได้ที่ข้าพเจ้า ชื่อ นามสกุล ที่เคยปรามาส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระครูบารอาจารย์ ด้วย กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ต่อหน้าก็ดี รับหลังก็ดี ขอให้ กรรมนั้นหมดสิ้นไป และขอให้ได้มรรคผล ในการเจริญพระกรรมฐาน ด้วยเทอญ สาธุ

    เจริญธรรม สาธุ ขอให้ได้มรรคผลนะครับ
     
  3. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    ดิฉันก็ใช้เวลานานเหมือนกัน เฉพาะสมถะอย่างเดียว
    นี่ใช้เวลานาน 17 ปี (ก่อนจะรู้แนวทางขี้นวิปัสสนา)
    ในช่วง 17 ปีนั้น สมาธิเล็กน้อยมากจิตแฉลบออก
    อย่างเดียว ก็อดทนทำมาเรื่อยๆ งานทางธรรมมัน
    เป็นงานของคนแกร่งจริงๆ เพราะเราไม่รู้ไงว่าต้อง
    ทำมากแค่ไหน ถึงจะถึงฝั่ง แต่เราก็เชื่อมั่นในครู
    อาจารย์ จะอีกกี่ชาติก็ต้องทำ ถึงมันไม่ได้อะไรเลย
    แต่จริงๆเมื่อเริ่มทำมันก็ได้อยู่นะ (วิริยะ ขันติ)
    ก็เป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ๆ
     
  4. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    1.คุณไม่ตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ เปรียบดัง คนเดินทางโดยไม่มีจุดหมาย วิธีแก้ว ให้ตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติ เช่น เพื่อนิพพาน เพื่อพ้นทุกข์ เป็นต้น
    2.คุณชอบปฏิบัติหลาย ๆ อย่าง หลายวิธี ทำให้ไม่มีวิธีใดได้ผลเลย วิธีแก้ ต้องหาแนวทางที่ถูกจริตกับตน
    3.คุณเคยปรามาส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ วิธีแก้ว ขอขมาซะ
    4.คุณหวังผลในการปฏิบัติมากเกินไป วิธีแก้ ปล่อยวางเสีย (วิธีัหลวงปู่พุทธอิสระ)
    5.คุณเคร่งเครียดมากไป วิธีแก้ ปล่อยวาง (ช่างมันเถอะนะท่องไว้)
    6.คุณเก็บสิ่งต่าง ๆ มาไว้ในจิตมากไป ต้องปล่อยวาง ครับ
    7.คุณกำลังสงสัยในการปฏิบัติว่าถูกหรือไม่ ทำไมคนอื่น ทำได้ แบบนี้ เราทำได้แบบนี้ ครับ คุณกำลังวาดทางแล้วเดินไปตามทางที่วาด คุณต้องปล่อย แล้วแต่จิตจะเป็นไปครับ ตามรู้ ไม่บังคับ เท่าทัน
    8.สุดท้ายนี้ ขอให้คุณเริ่มไปนับหนึ่งในการปฏิบัติใหม่ อย่าเพิ่งท้อ ครับ ค่อยทำไป ไม่ได้อย่างเขาก็ช่างมัน ฉันรู้สึกพอใจในการปฏิบัติของฉันก็พอ สบาย สบาย ไม่เร่งรีบ ไม่กดดัน ไม่บังคับ เค้น จับได้พิจารณาปล่อยไป มันไม่เที่ยง ลองดูนะครับ น่าจะดีขึ้น
    9. ทั้งแปดข้อที่เล่ามา เป็นผมเองทั้งหมด เพียงแต่เทียบเคียงให้ท่านได้เข้าใจและมีกำลังใจ ครับ ท่านต้องปล่อยวางก่อน ตั้งมั้น ผมว่าท่านเจ้าของกระทู้นะ ปฏิบัติแล้วยังได้อะไร ๆ มากกว่าผมอีก ตั้งมั่นนะครับ ขออนุโมทนา
     
  5. data44

    data44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +158
    ขอบคุณครับ ก่อนนอนผมจะขอขมาแบบนี้ประจำเลยนะครับ เกือบจะทุกคืนเลย แล้วก็ทำสมาธิต่อ ค่อยนอน
     
  6. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ควรทำความเข้าใจว่าแต่ละคนมีบุญ กรรม ทำมาไม่เหมือนกันครับ
    ใช่ว่าต้องได้ผลเหมือนกันทุกคน เมื่อคุณได้ทำแล้ว พยายามแล้วก็ย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่จะส่งผลที่ดีแก่ตนต่อไปในอนาคต
    หากย้อนอดีตไปในสมัยพุทธกาล มีพระภิกษุอาจารย์ที่ปริยัติท่านหนึ่งมีลูกศิษย์มากมาย ต่อมาท่านออกปฏิบัติคาดเอาว่าก่อนเข้าพรรษาจะให้สำเร็จพระอรหันต์ แต่ท่านใช้เวลาปฏิบัติจริงเป็นเวลา 30 ปีจึงสำเร็จครับ สู้ๆนะครับ
    ผมเองก็ปฏิบัติมาหลายอย่างแต่ก็ติดขัดไปหมด ติดขัดจนไม่สามารถปฏิบัติอะไรได้เลย ต่อมาพบแนวปฏิบัติแบบเพ่งฌานสมาบัติ สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องไม่ติดขัดอีก หากสนใจก็เปิดดูที่เวปหลวงปู่สาวกโลกอุดรครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  7. data44

    data44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +158
    อดทนจังเลยครับ ผมบางทีก็ชักจะเริ่มท้อแล้วละ อย่างที่พูดไปคือ ไม่ได้อยากได้อะไรมากมายหรอก แต่มันก้รู้สึกเกินไป ไม่แม้แต่เย็นๆหลายปีแล้ว ไปถามหลวงปู่ก็ว่าแบบนี้แหละครับ มันได้อยู่ ทำไปเถอะ แต่ผมยังเป้นคนธรรมดานะครับ ความอยากก้ยังมี ความท้อก็ยังมีเป้นธรรมดาแต่ก็ทำมาทุกวันไม่หยุด
     
  8. Lo_olLo

    Lo_olLo เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,825
    ค่าพลัง:
    +12,030
    เคยอ่านเจอพระพุทธเจ้าท่านตรัสเรื่องการปฎิบัติธรรมของบุคคล 4 จำพวกครับคือ
    1.ปฎิบัติแบบสบาย แต่ได้ผลเร็ว
    2.ปฎิบัติแบบสบาย แต่ได้ผลช้า
    3.ปฎิบัติแบบลำบาก แต่ได้ผลเร็ว
    4.ปฎิบัติแบบลำบาก แต่ได้ผลช้า

    เคยฟังหลวงตามหาบัวท่านว่า "แม้ความท้อถอย อ่อนแอ ก็เป็นกิเลสประเภทหนึ่งที่ต่อต้านธรรม"

    แม้คุณปฎิบัติมา 10 ปีแล้วไม่เกิดผลลองภาวนาอะไรยาวๆดูสิครับ เช่น ไตรสรณะคม
    เพราะการผูกจิตให้ยาวขึ้นเป็นอุบายเหมาะกับ ผู้ปฎิบัติแบบลำบาก แต่ได้ผลช้า

    พระอรหันต์บางองค์ในสมัยพุทธการทำทั้งชีวิต แต่ไปบรรลุพระโสดาบัน ในช่วงชีวิต7วันสุดท้ายก็มีครับ แล้วบรรลุอรหันต์ในวันตาย ตอนถูกเสือกินก็มีครับ แต่ถ้าท้อถอยแล้วก็เหมือนยอมกิเลส ชิวิตจิตใจ ก็ถอยไปด้วย ถอยไปถึงวันที่เริ่มปฎิบัติแรกๆ คือวันแรกที่ปฎิบัติ

    เป็นกำลังใจครับ
     
  9. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะ "งง" ทำไมหละคร้าบ

    การปฏิบัติธรรมเนี่ยะ หากปฏิบัติได้ผลแล้ว มันจะ เห็น " งง " ปรากฏที่จิต

    จะเห็น " งง " เป็นรากเง้าของมูลจิตอื่น เช่น

    งง แล้วก็หงุดหงิด ( โมหะ เป็นรากเง้าของ โทษะ )
    งง แล้วก็ฝุ้งซ่าน ( โมหะ เป็นรากเง้าของ โทษะ )
    งง แล้วก็อยากสำเร็จเร็ว ( โมหะ เป็นรากเง้าของ โลภะ )
    งง แล้วก็อยากหายงง ( โมหะ เป็นรากเง้าของ โลภะ )
    งง แล้วก็งง ( โมหะ เป็นสิ่งปลิ้นปล้อน ด้วยตัวมันเอง )

    งง แล้วหมุนคอ หมอคุณ หมอยู หมูยอ ....เอ้าๆ !! อย่าเอา งง
    งง ให้รู้ว่า งง จะเกิด สัมมาสมาธิ จะเห็นจิตไปตามความเป็นจริง

    นอกจาก งง ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจาก งง ไม่มีอะไรดับ

    งง ดับ หงุดหงิดก็ดับ
    งง ดับ ฝุ้งซ่านก็ดับ
    งง ดับ นิวรณ์ก็ดับ
    งง ดับ ปัญญาก็เป็นทุรพล( อ่อนกำลังลง )

    งง ดับตัวเดียว นิวรณ์ดับ ปัญญาก็เป็นทุรพล น้อมไปสู่ ญาณทัศนะ เห็น งง ชัดๆ

    งง ไม่ใช่สภาพของสัตว์ เป็นแค่ ปัจจัยการที่ เกิดขึ้นมาในจิต หากมีอุปทาน งับ งง
    สำคัญว่า งง คือตัวตนกู (หากไม่งง ก็ไม่ใช่กู) มีงงเป็นของของกู ( ถ้า กูยังอยู่
    ในโลก กูก็ จะ งง อยู่อย่างนี้ )

    ก็นะ

    เขาให้พิจารณา เห็น งง เป็นสิ่งถูกรู้ ถูกดู

    พิจารณาห่างๆ อย่าไป คว้า อย่าไปหมายด้วยสัญญา อย่าเอา วิญญาณ
    เข้าไปยึด ครองความ งง มาเป็นตัวกู ของๆกู

    งง มันก็จะถูกรู้ ถูกดู ถูกสังเกตุ

    มีเหตุ ก็ งง

    หมดเหตุ ก็หาย งง


    งง ไม่เกิด นิวรณ์ก็ไม่เกิด ปัญญาไม่ล้ำหน้า " สมาธิก็ก่อเกิด ทุกแห่งหน
    แข็งแรงทรหด อด งง สติว่องไวไม่ย่นระย่อใคร. (สร้อย) อึม อึม..อึ่ม..อึม.... "


    ฟังให้ดีๆนะ

    เราไม่ได้ภาวนาให้ จิตมันไม่แสดงอาการ งง ให้ดู

    เราจะภาวนาเพื่อให้ จิตมันแสดงสภาพ งง ให้เราดู

    หน้าที่เรา ไม่ใช่ คว้า งง แต่ แล งง นั้นห่างๆ ถ้าห่างออกมาได้
    จนเห็น สภาวะ งง เป็นเพียง สภาวะธรรม ไม่ใช่สัตว์ ตัวตน บุคคล
    เรา เขา พระเจ้า พระองค์มัธยม .....

    งง ก็จะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเนืองๆ

    ไม่มีใครไปทำลาย งง ได้ เพราะ งง เป็น พฤติกรรมของจิต มีติดกับจิต หาก
    ยังยึดมั่นถือมั่นจิต จิตก็ย่อมเอา งง มาล่อให้สำคัญว่า มี กูเข้าไป งง

    นะ

    ภาวนาได้ดี ได้ดีมาตั้งนานแล้ว เพียงแต่ ไม่เฝ้นธรรมขึ้นมาพิจารณาไตรลักษณ์
    ในทุกสิ่งที่ถูกรู้ถูกดู จิตเองก็ถูกรู้ถูกดูได้ จิตแสดงไตรลักษณ์ได้ ขันธ์5 ก็หงาย
    ไอ้ที่คว่ำเอาไว้ไม่ยอมพิจารณาขึ้นมา พิจารณา รื้อค้น กันไป
     
  10. มันไม่แน่

    มันไม่แน่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2013
    โพสต์:
    1,555
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +7,956
    ควร จะปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ

    สงบก็เอา ไม่สงบก็เอา ครับ
     
  11. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    อะไรคือความไม่ก้าวหน้าทางจิต ขอให้ลองเทียบเคียงดูว่า ในอดีตและปัจจุบัน สภาพทางจิต มันเปลี่ยนไปหรือไม่ อันหมายถึง

    1 การมีสติระลึกรู้สึกตัวดีขึ้นหรือไม่
    2 การมีสติปัญญา รู้จักคิดวิเคราะห์ในเหตุผล มีมากขึ้นหรือไม่
    3 ความเป็นผู้ใหญ่ รู้กาละเทศะมีปัญญารู้ทันมากขึ้นหรือไม่
    4 ความสงบของจิตมากขึ้นหรือไม่
    5 ความโลภ ลดลงหรือไม่
    6 ความโกรธ ลดลงหรือไม่
    7 ความหลงลดลงหรือไม่
    8 ความรู้จักข่มใจ ปล่อยวาง สงบนิ่งว่างเปล่า เพิ่มขึ้นหรือไม่

    ดูแค่นี้ หากดีขึ้นแสดงว่าอบรมจิตมาถูกทาง หากไม่ใช่ให้ทบทวนใหม่และฝึกตนเองใหม่ครับ
     
  12. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าจะสอนให้ และไม่ใช่สอนเฉพาะตัวคุณเท่านั้น เพราะข้าพเจ้าเห็นว่า มันเป็นประโยชน์ต่อพุทธศาสนา เป็นประโยชน์ ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศสานา ถ้าไม่สอน ก็คงหลงงมงายเข้าใจผิดกันไม่รู้จักสิ้น
    ท่านทั้งหลายที่ได้อ่าน รวมไปถึงพวกผู้ดูแลทั้งหลาย จงอย่าได้คิดไปว่าข้าพเจ้าดูหมิ่นดูแคลน
    ท่านที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา ไม่ว่าจะอยู่ใน เพศ ใดใดก็ตาม ล้วนเข้าใจผิด หลงผิด สอนกันผิดๆ ข้าพเจ้าเห็นมามากแล้ว แถมยัง อวดรู้ อวดหวงแหน อวดอุตริฯ โดยรู้เท่าไม่ถึงกาล ข้าพเจ้าสอนให้เพราะเห็นแก่ศาสนา ก็ยังถูกด่า ถูกใส่ร้าย ดังนั้นข้าพเจ้าจะสอนให้ บรรดาผู้ที่โอ้อวดตัว ตั้งสำนัก หรือ อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรม สามารถนำไปเผยแพร่ได้
    การปฏิบัติธรรมของคุณ อาจจะปฏิบัติได้ถูกวิธีก็ได้ หรืออาจจะปฏิบัติไม่ถูกวิธีก็ได้ ขึ้นอยู่กับความรู้ ความเข้าใจของ ผู้สอน แต่คุณและใครต่อใครอีกมากมาย มักเข้าใจผิดคิดว่า นั่งสมาธิ ปฏิบัติสมาธิ แล้วจะได้โน่นได้นี่ สำเร็จนั่น สำเร็จนี่
    ซึ่งในทางที่เป็นจริง การปฏิบัติสมาธิ หรือการฝึกสมาธิ เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในจำนวนหลายๆปัจจัย เป็นเพียงเครื่องประกอบอย่างหนึ่ง ในอันที่จะทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และเป็นปัจจัยประกอบที่นำพาไปสู่ความสำเร็จได้ แต่ไม่ใช่ว่า ปฏิบัติสมาธิ หรือฝึกสมาธิ แล้วจะสำเร็จนั่น สำเร็จนี่ เพราะ
    การฝึกสมาธิ หรือการปฏิบัติสมาธิ เป็นเพียง การฝึกหรือเป็นอุบายทำให้ใจสงบเท่านั้น เมื่อใจสงบขณะปฏิบัติสมาธิ พอออกจากการปฏิบัติสมาธิแล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุให้บุคคลนั้นๆ มี "สติ สัมปชัญญะ" คือมีความรู้สึกตัว และ ระลึกได้ อยู่เนือง ๆ
    การที่คุณบอกว่า จิตใจคุณไม่สงบ แม้คุณจะปฏิบัติหรือฝึกสมาธิมานาน ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะ คุณไม่มีความรู้ ความเข้าใจในหลักธรรม แม้ข้อศีลคุณก็บอกว่า ปฏิบัติได้ไม่ครบถ้วน ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะคุณไม่มีความเข้าใจในข้อศีล ว่ามีผล มีประโยชน์ต่อสภาพจิตใจของคุณอย่างไร
    จิตใจคุณไม่สงบ ก็เพราะ คุณไม่สามารถ ระลึกได้ ถึง หลักธรรม หลักศีล ไม่มีความรู้ ไม่รู้จักใช้หลักธรรม หลักศีล จิตใจคุณจึงว้าวุ่น ไม่เจริญดังที่คุณกล่าวมา
    แต่ถ้าหาก คุณมีความรู้ ความเข้าใจ ประกอบกับคุณ ฝึกสมาธิ ปฏิบัติ สมาธิ มาดี ก็จักทำให้คุณมี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัว และ ระลึกได้ ถึง ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรม หลักศีล นั่นย่อมสามารถทำให้จิตใจของคุณสงบได้ ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเพียง ชั้นพื้นฐานเท่านั้น
    เพราะถ้าหากเป็นในชั้นอริยะบุคคลแล้ว ยังมีหลักการและวิธีการที่แยบยลยิ่งขึ้นไปอีก สามารถใช้ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรม และอื่นๆ ที่มีอยู่ในตัว ขจัดอาสวะ หรือ ดับกิเลส ได้อย่างมหัศจรรย์

    ลงชื่อ เพื่อรับผิดชอบ ไว้เป็นหลักฐาน
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    เขียนเมื่อ ๒๘ พ.ค. ๒๕๕๗
     
  13. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    สอบถามเพิ่มเติมครับ คุณสำรวม สติ ได้มากไหมในการใช้ชีวิต ประจำวัน

    เช่น
    1.ตา เห็น รูป ว่าผู้หญิงคนนั้นสวย แต่ไม่เพลิน ต่อความสวยนั้น กลับมาดู ลมหายใจ ได้ไหม
    2.หู ได้ยิน เสียง นินทา ยกย่อง สรรเสริญ ไม่ตามความโกรธแค้นที่เค้านินทา ไม่เพลิน ต่อคำ ยกย่องสรรเสริญ กลับมาดู ลมหายใจต่อ ได้ไหม
    3.จมูก ได้กลิ่น หอม เหม็น ไม่ไปปรุ่งแต่ง ว่าหอม อะไร น่ากินไหม หรือ ว่าเหม็นอะไรนะ กลับมาดู ลมหายใจต่อได้ไหม
    4.ลิ้น สัมผัส รสชาติ ในความอร่อยของอาหาร ยังติดในความเพลินนั้นอยู่หรือป่าว
    5.กาย กายผัสสะ ในกายของผู้หญิง ว่านุ่มนวล น่ากอดรัด ติดในความเพลินนั้นอยู่หรือป่าว

    ถ้าคุณยังติดอยู่ หรือ เรียก สติ กลับมาไม่ทันรู้ คุณก็ จะโดน กิเลส ตัณหา อุปาทาน เข้ามาคอบงำได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น ต้องสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กายใจ ทั้งลืมตา หรือ หลับตา จะเกิด อินทรีย์สังวรได้ โดยง่าย

    สาธุเจริญธรรมครับ
     
  14. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    ไม่อยากได้..ไม่จริงครับ
     
  15. data44

    data44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +158
    ขออนุญาติตรวจสอบตามทีละข้อเลยนะครับ
    ผมจะลองดปล่อยดูนะครับ
     
  16. data44

    data44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +158
    ยอมรับครับ ผมใช้คำว่าไม่ได้อยากได้อะไรมากมาย หมายถึงผมก็มีอยากได้บ้างเพราะผมก็ยังเป้นคนธรรมดายังมีกิเลสตันหา การทำอะไรก็ย่อมต้องมีการหวังผล แต่เริ่มแรกสิ่งที่หวังคือให้มีอะไรเปลี่ยนแปลงหลังจากการปฏิบัติธรรมบ้าง จิตสงบลงบ้างไม่มากก้น้อย แต่นี่มันเหมือนไม่มีอะไรเลยยังโกรธเร็วเหมือนเดิม สมาธิก้เหมือนไม่ค่อยมี:'(
     
  17. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไม่ได้มาทางสายฤทธิ์ ถ้าปฏิบัติไปแล้ว รัก โลภ โกรธ หลง มันน้อยลง ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว
     
  18. Apinya17

    Apinya17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    775
    ค่าพลัง:
    +3,023
    ลองกราบขอขมาอโหสิกรรมต่อ คุณพ่อ คุณแม่ บ้างหรือยังค่ะ
     
  19. ชินนา

    ชินนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +248
    คนปฏิบัติภาวนาก็ต้องการความสงบสุขด้วยกันทั้งนั้นครับ คุณก็ไม่ได้ผิดปรกติจากคนทั่วไป

    แต่การพอใจในการปฏิบัติไม่ว่าจะมีผลอย่างไรก็คือความสงบอย่างยอด ที่คุณบอกมานั่นแหละคือความไม่สงบ

    ถ้ามีพระผู้วิเศษบอกคุณว่า ให้คุณเพียรทำไปเถิดร้อยปีห้ามเว้นแม้แต่วันเดียว แต่วันที่จะสำเร็จกำหนดได้ไม่แน่นอน คุณจะยังทำต่อไปทุกวันไหมครับ

    นี่คือบททดสอบความเพียร ความสำเร็จไม่ได้สำเร็จรูป บะหมี่ยังมีแค่กึ่งสำเร็จเองครับ

    ถ้าจะวัดความสงบกันจริงๆ ก็มาดูว่าเวลาโกรธแล้วอยากฆ่าใครไหม อยากจะทำร้าย แก้เผ็ด แก้แค้นบ้างหรือเปล่า ถ้าโกรธเฉยๆแล้วก็หายโกรธ นั่นก็คือความก้าวหน้าที่ทำได้ยากครับ
     
  20. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
    อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต


    ธัมมัญญูสูตร
    [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้
    ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

    ๑.ธัมมัญญู รู้จักธรรม
    ๒.อัตถัญญู รู้จักอรรถ
    ๓.อัตตัญญู รู้จักตน
    ๔.มัตตัญญู รู้จักประมาณ
    ๕.กาลัญญู รู้จักกาล
    ๖.ปริสัญญู รู้จักบริษัท
    ๗.ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักบุคคล

    ๑.ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะอัพภูตธรรม เวทัลละ
    หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ
    ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๒.ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักเนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ
    หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ
    ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญูด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๓.ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักตนว่าเราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้
    ถ้าภิกษุไม่พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้
    ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๔.ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
    หากภิกษุไม่พึงรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร
    ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๕.ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น
    หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น
    ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นกาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๖.ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้
    หากภิกษุไม่รู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู
    แต่เพราะภิกษุรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ ... พึงนิ่งอย่างนี้
    ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นปริสัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญูปริสัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ๗.ก็ภิกษุเป็นปุคคลปโรปรัญญูอย่างไร
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักบุคคล
    -โดยส่วน ๒ คือ บุคคล ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งต้องการเห็นพระอริยะ
    พวกหนึ่งไม่ต้องการเห็นพระอริยะ
    บุคคลที่ไม่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่ต้องการเห็นพระอริยะก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งต้องการจะฟังสัทธรรม
    พวกหนึ่งไม่ต้องการฟังสัทธรรม
    บุคคลที่ไม่ต้องการฟังสัทธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่ต้องการฟังสัทธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งตั้งใจฟังธรรม
    พวกหนึ่งไม่ตั้งใจฟังธรรม
    บุคคลที่ไม่ตั้งใจฟังธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรม พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่ตั้งใจฟังธรรมก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งฟังแล้วทรงจำธรรมไว้
    พวกหนึ่งฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้
    บุคคลที่ฟังแล้วไม่ทรงจำธรรมไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้
    พวกหนึ่งไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม ที่ทรงจำไว้
    บุคคลที่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    พวกหนึ่งหารู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    บุคคลที่หารู้อรรถรู้ธรรมไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม พึงได้รับความสรรเสริญ ด้วยเหตุนั้นๆ
    -บุคคลที่รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ก็มี ๒ จำพวก คือ
    พวกหนึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของตน และ ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
    พวกหนึ่งปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน แต่ ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น
    บุคคลที่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงถูกติเตียนด้วยเหตุนั้นๆ
    บุคคลที่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น พึงได้รับความสรรเสริญด้วยเหตุนั้นๆ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักบุคคลโดยส่วน ๒ ฉะนี้แล ภิกษุเป็นบุคคลปโรปรัญญูอย่างนี้แล

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๗ ประการนี้แล เป็นผู้
    ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ฯ

    จบสูตรที่ ๔

    _______________________________________________

    ในพระสูตรนี้ได้แจกแจงมิติต่างๆของผู้เรียนธรรม
    รวมทั้งได้ระบุระดับการเรียนรู้ของผู้เรียนธรรม
    น่าจะตอบคำถามในกระทู้นี้ได้อย่างชัดเจน

    อนึ่ง
    การรักษาศีลของคนทั่วไปในปัจจุบัน เป็นการรักษาศีลท่ามกลางอบายมุข
    จึงเป็นการรักษาศีลในระดับ ระวังไม่ให้ขาด
    แต่การรักษาศีลให้บริสุทธิ์นั้น นอกจากจะพยายามรักษาศีลไม่ขาดแล้ว
    ยังต้องก้าวไปให้ถึง ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
    รักษาศีลบริสุทธิ์ 1วัน คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 1วัน
    รักษาศีลบริสุทธิ์ 2วัน คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 2วัน
    รักษาศีลบริสุทธิ์ 3วัน คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 3วัน
    รักษาศีลบริสุทธิ์ 1ปี คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 1ปี
    รักษาศีลบริสุทธิ์ 10ปี คือ ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย 10ปี
    รักษาศีลแต่ไม่เข้าใจรายละเอียดและไม่เข้าใจเป้าประสงค์ในทางมรรคผล ก็ไม่อาจจะก้าวข้าม สีลัพพัตตุปาทาน และ สีลัพพตปรามาส ไปได้

    รักษาศีลจนไม่สามารถตำหนิตนเองได้ และ รักษาศีลจนหมดความสงสัยในศีล
    เรียกว่ารักษาศีลบริสุทธิ์ จนกระทั่งเป็นผู้บริบูรณ์ในศีล

    ผู้มีศีลบริบูรณ์
    ผู้นี้เป็นผู้ควรต่อการฝึกสมาธิอย่างเต็มรูปแบบ !

    เอวัง !
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤษภาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...