จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเข้าถึงสภาวะจิตได้

ในห้อง 'ประสบการณ์อภิญญา' ตั้งกระทู้โดย sjsbud, 13 กรกฎาคม 2014.

  1. sjsbud

    sjsbud สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    รบกวบผู้รู้ทีนะคะ ว่ามีวีธี หรือ การปฏฺิบัติิเช่นไรที่จะ สามารถเข้าถึง
    สภาวะจิตได้บ้างคะ:'(
     
  2. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    ยังไม่มีท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการประจำห้องอภิญญา xp เข้ามาให้ความเห็นตามกระทู้ของคุณเจ้าของกระทู้ ถ้าอย่างนั้น ผมซึ่งเป็นผู้มีความรู้น้อย ด้อยปัญญา การปฏิบัติก็ยังไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว ขอเข้ามาคุยกับเจ้าของกระทู้ไปพลางๆ ก่อน เพื่อเป็นการคั่นเวลารอท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการประจำห้องอภิญญา xp ที่จะเข้ามาตอบกระทู้ของท่านเจ้าของกระทู้ต่อไปนะครับ

    สำหรับเรื่องการเข้าถึงสภาวะของจิต ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจกับกระบวนการทำงานของจิต (เอาพอสังเขป) กันก่อนนะครับ โดยหลักการแล้ว ในทางพระพุทธศาสนา จัดไว้ว่าจิตใจของคนเรานั้น เป็นธาตุชนิดหนึ่ง มีความรับรู้ได้เป็นการเฉพาะ เรียกว่า “มโนธาตุ” หรือว่าธาตุรู้ นั่นเอง ดังนั้น เมื่อจิตของคนเราเป็นธาตุรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเครื่องปรุงแต่งของจิต ในการหล่อเลี้ยงอาการของจิต ซึ่งในที่นี้คือ “สัญญา” และ “เวทนา” สัญญาหมายถึงความรู้สึกสัมผัสได้จากช่องทางทั้ง 6 ช่องของคนเรา ส่วน เวทนา หมายถึงความรู้สึกในรสสัมผัส คือความเย็น ความร้อน ความสบายหรือไม่สบาย เป็นต้น กล่าวว่าความรู้สึกทั้งสองอย่างนี้ จะก่อให้จิตเกิดมีการปรุงแต่งว่ามีความรู้สึกดี รู้สึกร้ายเกิดขึ้นในใจอยู่เสมอ

    อันนี้เป็นกลไกการทำงานของจิตโดยสังเขป อย่างง่ายๆนะครับ

    ทีนี้ ความรู้สึกทั้งสองประการ คือ สัญญาและเวทนา เมื่อมากระทบเข้ากับจิต จะก่อให้เกิดกระแสคลื่นขึ้นมาภายในจิตก่อนเป็นเบื้องต้น ดังนั้น ผู้ที่มีความสามารถ ในการฝึกฝนจิตใจของตัวเอง ให้มีความรู้พิเศษทางจิต ที่จะรับสัมผัส กระแสคลื่นของจิต ที่เกิดขึ้นมานี้ได้ ก็กล่าวได้ว่า บุคคลผู้นั้นสามารถรับรู้สภาวะของจิตของตัวเองได้นั่นเอง

    คลื่นกระแสจิตที่เกิดขึ้นนี้ ผู้มีความรู้พิเศษจากการฝึกฝนตนเอง จะสามารถรับรู้ได้ เมื่อมีสิ่งใดมากระทบกับจิตใจ เพราะเมื่อจิตมีกระแสคลื่นเกิดขึ้นแล้ว กระแสคลื่นนั้นจะต้องแผ่ออกไปโดยรอบ โดยจะปกปิดไว้ไม่ได้ เหมือนคลื่นน้ำที่เกิดจากความสะเทือนของผิวน้ำ ย่อมต้องเกิดเป็นกระแสคลื่นของน้ำ แผ่กระจายออกไปรอบๆ ไปจนสุดกำลังของมัน เช่นเดียวกันกับคลื่นของกระแสจิต

    สำหรับวิธีการฝึกฝนความสามารถของจิต ให้สามารถรับรู้และเข้าถึงสภาวะของจิต ตามที่กล่าวมาดังข้างต้นได้นั้น ในเบื้องต้น น่าจะไม่มีวิธีใด ที่จะดีไปกว่า การเจริญสติ ในสติปัฏฐาน โดยเฉพาะในเรื่องของจิตตานุปัสสนา คือให้ตั้งสติติดตามดูจิตใจของตนเองเป็นสำคัญ รู้เท่าทันอาการปกติของจิต อาการของจิตที่มีกิเลสเจือปน อาการฟุ้งซ่าน ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นต้น ในทุกๆอาการของจิต แล้วสำเหนียกให้รู้ว่าเป็นเรื่องธรรมดาของจิต คือมีอาการเกิดขึ้น แปรเปลี่ยน และเสื่อมสลายไป ให้รู้เท่าทันไว้อย่างนี้ และตั้งสติไว้เป็นที่รู้ และระลึกให้ได้ว่าจิตจะไม่ยึดถือในสิ่งใดที่มากระทบกับจิตในทุกประการ

    เมื่อกระทำได้ตามอย่างที่กล่าวมานี้ ให้เป็นปกติวิสัย คือผ่านการฝึกอบรมจิตตามหลักจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดังกล่าวมานี้แล้ว จะสามารถรับสัมผัสและตามรู้ตามเห็นจิตใจของตนเองได้ในทุกๆอาการที่เปลี่ยนแปลงไปของจิต และให้คอยหมั่นแก้ไข ปรับปรุงลักษณะอาการที่ไม่ดีของจิต และระวังรักษาให้จิตอยู่กับสิ่งที่เป็นกุศลโดยตลอด หากกระทำได้เป็นการต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จิตก็จะมีอำนาจเหนือกิเลสและอารมณ์ของตนเองในทุกประการ เมื่อนั้น กล่าวได้ว่า ผู้ฝึกฝนตนเองนั้น ได้บรรลุถึงความสามารถในการเข้าถึงสภาวะของจิต ของตัวเอง ได้อย่างสมบูรณ์แล้ว

    ซึ่งในทางพระพุทธศาสนา กล่าวว่า การบรรลุถึงความสามารถในการเข้าถึงสภาวะของจิตของตัวเองได้อย่างสมบูรณ์ นี้ เรียกว่าเป็นความสามารถอันเป็นเครื่องรู้อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “เจโตปริยญาณ” นั่นเอง ซึ่งเป็นญาณหรือเครื่องรู้ ย่อยๆ อันหนึ่ง ในเรื่องของ “ทิพยจักขุญาณ” นะครับ

    ขอจบการให้ความเห็นประกอบข้อกระทู้ไว้เพียงเท่านี้ก่อน เป็นการคั่นเวลา เพื่อรอท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการประจำห้องอภิญญา xp ที่จะมาให้ความเห็นประกอบกระทู้ต่อไป ส่วนผมคนความรู้น้อย ด้อยปัญญา การปฏิบัติก็ยังไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว ก็ขอถอยออกไปอยู่ห่างๆ และขอเรียนรู้จากท่านสมาชิกผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญและชำนาญการประจำห้องอภิญญา xp ที่จะมาให้ความเห็นในกระทู้ ไปพร้อมๆ กับเจ้าของกระทู้ด้วยคนนะครับ
     
  3. sjsbud

    sjsbud สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2014
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +16
    ขอบคุณนะคะ คุณyooyut
    ทำให้ดิฉัน เข้าใจมากขึ้นเยอะเลยทีเดียวค่ะ ดิฉันก็พึ่งเริ่มจะปฏิบัติ ความรู้ยังน้อย
    เผื่อว่าจะมีความรู้อะไรๆที่เราจะนำมาปฏิบัติได้บ้าง..
     
  4. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844

    ฌานสมาบัติครับ เข้าถึงและทำลายมันด้วย ดูรายละเอียดวิธีปฏิบัติในกระทู้แชร์การปฏิบัติของผมได้ครับ
    เจริญในธรรมครับ
     
  5. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    **ทุกวิธีที่ผู้รุ้ในเว็บนี้พูดถึงล้วน แต่เข้าถึงสภาวะจิตใจตัวเองหมดครับ
    แต่สำคัญว่า ผู้ปฏิบัติจะทำได้หรือเปล่าก้เท่านั้น *

    จงเลือกวิธีที่เหมาะกับตัวเองจริงๆ แล้วปฏิบัติเพียงแค่อันเดียว อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา หลายอย่าง ตัวเองจะได้ไม่สับสน ทำได้เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว เพราะแนวทางทุกแนวเปนเพียง "อุบายในการเข้าถึงจิต"

    -ถ้ามีเวลา ผมจะcopy แต่ละวิธีมาให้อ่านอย่างคร่าวๆครับ จะได้ไว้เปนทางเลือกไว้ในใจ
    สำหรับการทำสมาธิอย่างง่ายๆ จะรู้ว่าปฏิับัติแล้วได้อะไร เพื่ออะไร แล้วปฏิบัติยังไง?ไว้เปนBasic กัน **
     
  6. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <table id="table1" border="0" cellpadding="3" cellspacing="3" width="100%"><tbody><tr><td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" colspan="2" bgcolor="#F2F2F2" valign="top">
    เรื่องเกี่ยวกับกรรมฐาน ( สมาธิ ) เริ่มต้นอ่านได้ที่นี่
    </td> </tr> <tr> <td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - ฌาน สมาบัติ
    ขณิกสมาธิ, ฌาน, อุปจารสมาธิ, ปฐมฌาน,
    นิวรณ์ ๕, ทุติยฌาน, ตติยฌาน (ฌาณ๓),
    จตุตถฌาน (ฌาน ๔) รูปฌาน, อรูปฌาน,
    สมาบัติ ๘, นิโรธสมาบัติ, เข้าผลสมาบัติ
    -
    นิมิต, -จริต ๖, -อิทธิบาท ๔, -สมาทาน
    - กฎการปฏิบัติกรรมฐาน

    อธิศีลสิกขา, ระงับนิวรณ์ ๕ ,
    เจริญพรหมวิหาร ๔, บารมี ๑๐,
    อุปกิเลสของวิปัสสนาญาณ ๑๐</td> <td style="font-style: normal; font-variant: normal; font-weight: normal; font-size: 12pt; font-family: verdana, geneva, lucida, 'lucida grande', arial, helvetica, sans-serif" align="left" valign="top"> - วิธีฝึกกรรมฐานด้วยตัวเองแบบง่ายๆ
    -
    เร่งรัดการปฏิบัติ - อริยะบุคคล
    -
    ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

    -
    สังโยชน์ 10
    - มหาสติปัฏฐานสูตร
    - คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน
    -
    รวมคำสอนหนังสือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    เสียงพระธรรมเทศนา
    -
    พระกรรมฐาน (เรื่องการทำสมาธิ)
    -
    แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหันต์ทั้ง ๔ แบบ</td> </tr> </tbody></table> <table style="border-collapse: collapse" id="AutoNumber15" bgcolor="#F9F9F9" border="0" cellpadding="4" cellspacing="4" width="100%"><tbody><tr> <td colspan="3" valign="top" height="23"> <hr size="1" color="#CCCCCC"></td> </tr> <tr> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td> <td valign="top" width="30%"> </td></tr></tbody></table>
     
  7. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,116
    ค่าพลัง:
    +3,084
    ดูภาพข้างบนครับ

    แล้วลองเลือกที่ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน
     
  8. maoleethong

    maoleethong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +731
    ขอบคุณท่าน Saber ครับ
    ผมจะอ่านและจะทำความเข้าใจไปที่ละหัวข้อครับ..
     
  9. karon1

    karon1 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2014
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +1
    ทำบ่อยๆครับเดียวก็เป็นเอง
     
  10. remixsong

    remixsong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +177
    อันดับแรก ต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฎิบัติให้สำเร็จ จากนั้นมุ่งตรงหา อานาปานสติกรรมฐาน ก่อนเลยแล้ว ต่อด้วย อสุภะกรรมฐาน ตัดเรื่องรักสวยรักงามให้ได้ ทำให้จิตยอมรับความตาย ไม่กลัวความตาย พอจิตเริ่มละเอียด จิตก็จะสามารถรวมตัวเป็นฌาน พอตั้งใจทำไปเรื่อยๆ จิตก็จะสามารถก้าวข้าม ฌาน 3 ไปฌาน 4 ได้โดยง่าย พอเข้าถึง ฌาน 4 จิตก็จะเข้าใจถึง สภาวะที่จิตแยกออกจากกาย ว่าเป็นอย่างไร แล้วนำสภาวะที่เกิดขึ้น มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อดับ ขันธ์ ทั้ง 5 เมื่อดับ ขันธ์ ทั้ง 5 ได้ด้วยชั่วคราวแล้ว ก็ฝึกต่อไปจนสามารถดับได้ ขันธ์ ทั้ง 5 ได้อย่างถาวร จึงเรียกได้ว่าจิตเป็นโลกุตระ คือจิตจึงเข้าสู่นิพพาน
     
  11. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    จะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าถึงสภาวะจิตได้...

    คำถาม - จะปฏิบัติอย่างไรให้เข้าถึงสภาวะจิตได้...
    แบ่งได้ ดังนี้
    - จะปฏิบัติอย่างไร? ก็ตอบได้คือ ต้องภาวนา ซึ่งก็มี 2 อย่าง คือ สมถะภาวนา กับ วิปัสนาภาวนา

    - อยากจะเข้าถึง "จิต" ก็ต้องเฝ้าดูจิต มันรู้จักมันให้ทุกแง่ทุกมุม
    - คำว่า "สภาวะจิต" นี่ ถ้าจะให้เข้าใจกันจริงๆ ก็ต้องเริ่มที่ "ขันธ์ 5" กันก่อน

    - ถ้าจะเอาให้เน้นๆ คำว่า "สภาวะจิต" นั้น ก็มีอยู่ 2 อย่างเท่านั้น คือ จิตเกิด กับจิตดับ มีเท่านี้แหละ มันเกิด-ดับ สลับกันเร็วมาก เป็นแสนโกฏิครั้งต่อวินาที หรือเรียกว่า แค่ลัดนิ้วมือเดียว หรือ แค่กระดิกนิ้วครั้งเดียว จิตเกิดดับสลับกันเป็นแสนโกฏิครั้ง นั่นแหละ
    - ถ้าจะรู้ "สภาวะจิต" ก็ต้องเอาให้ทันจิต ว่ามันเกิด-ดับ อย่างไร นั่นแหละ ถึงจะเรียกว่า เข้าถึง "สภาวะจิต" กันเลยทีเดียว

    ท่านก่อนหน้า ได้อธิบาย "การทำงานของจิต" ไปบ้างแล้ว

    จิตนี่ มันเกิด-ดับ มันจะรับช่วงต่อกันเป็นสายๆ ไป เอาง่ายๆเปรียบเทียบแบบนี้ก็แล้วกัน เอาสายลูกปัดมาดู ลูกปัด 1 ลูกคือจิต 1 ดวง มาร้อยต่อกันเป็นสายยาว ลูกปัดแต่ละลูกมันชิดกัน สัมผัสกัน มันก็ถ่ายทอดพลังต่อกัน จิตก็เช่นเดียวกัน เป็นดวงเกิดดับต่อไปเป็นกระแส และมีการถ่ายทอดสิ่งที่จิตมันเก็บไว้ ส่งต่อกันไปเรื่อยๆ สิ่งที่จิตมันเก็บไว้คืออะไร ก็คือ "กรรม" นั่นเอง จิตมันจะส่งต่อกรรมกันไปเรื่อยๆ เพื่อรอ "ผลของกรรม" ที่เรียกว่า "วิบาก" ให้แสดงผล การที่จิตมันเกิดดับต่อกันไปเรื่อยๆ นี้เขาเรียกว่า "กระแสจิต" หรือ "วิถีจิต" ระหว่างที่มันเกิดดับนี้ มันทำหน้าที่ของมันตลอดเวลาคือ "รับรู้"
    - จิต มีหน้าที่คือ รับรู้ , รับรู้อะไร ก็ตอบว่า "รับรู้สิ่งที่มากระทบทางทวาร 6" สิ่งที่มากระทบ เรียกว่า "อารมณ์" เป็นต้น

    ถ้าจะอยากรู้เรื่อง "สภาวะของจิต" ให้ได้ก็ต้องภาวนาเท่านั้น และก็ต้องรู้สิ่งเหล่านี้
    - ลักษณะของจิต
    - ประเภทของจิต
    - การทำงานของจิต
    เป็นต้น

    จิต มีหน้าที่คือ รับรู้ ,บางท่าน ก็เรียก "เครื่องรู้" ก็มีเหมือนกัน
     
  12. lerkiat

    lerkiat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มกราคม 2013
    โพสต์:
    36
    ค่าพลัง:
    +102
    ขันธ์ 5
    ขันธ์ แปลว่า กอง
    ขันธ์ 5 ก็คือ สิ่ง 5 กอง
    ได้แก่ รูป , เวทนา ,สัญญา ,สังขาร ,และ วิญญาณ
    ขันธ์ 5 แบ่งเป็น 2 ได้แก่ รูป กับ นาม ก็ได้
    ดังนั้น ตั้งแต่ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ 4 อย่างนี้ รวมกันก็เรียกว่า นาม

    รูป - ก็ประกอบด้วย มหาภูติรูป 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    นาม - ประกอบด้วย 2 คือ จิต กับ เจตสิก
    จิต คือ วิญญาณ คือ การรับรู้
    เจตสิก ประกอบด้วย เวทนา สัญญา และสังขาร 3 ตัวนี้ เรียกว่า เจตสิก นั่นเอง

    การทำงานของจิต(วิญญาณ) จะเกิดโดยลำพังไม่ได้ จิตจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเจตสิกมาประกอบด้วยเสมอ เกิดขึ้นคู่กันตลอด
    ดังนั้น จึงเรียก เจตสิก ว่า "สิ่งปรุงแต่งจิต" นั่นเอง

    ตอนนี้ ท่านแยกคำว่า รูป นาม จิต เจตสิก ออกจากกันได้หรือยัง เห็นความแตกต่างกันหรือยังครับ
    จิต - ครอบคุมแค่ วิญญาณ(การรับรู้)เท่านั้นนะ ไม่รวม เวทนา สัญญา สังขาร นะครับ จิตเกิดเองไม่ได้ ถ้าไม่มี "เจตสิก"

    เจตสิก มี 3 อย่างคือ เวทนาเจตสิก สัญญาเจตสิก และสังขารเจตสิก


    ลักษณะจิต คือสิ่งที่ จิตแสดงออกมา มี 2 แบบ คือ
    1. สามัญลักษณะ - มี 3 อย่างคือ อนิจจะลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ ก็คือจิตเป็นไปตามกฏ "ไตรลักษณ์" นั่นเอง จิตมีลักษณะเไม่เที่ยง จิตมีลักษณะเป็นทุกข์ จิตมีลักษณะไม่มีตัวตน นั่นแหละ
    2. วิเสสนลักษณะ -คือ ลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของจิต ได้แก่ จิตรับรู้ลักษณะ , จิตเป็นประธานในธรรมทั้งปวง , จิตเกิดดับต่อกันเป็นสาย , จิตมีอดีตกรรม ทวาร อารมณ์และเจตสิก เป็นเหตุให้จิตเกิด

    นี่แหละ "ลักษณะของจิต"
     
  13. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ตามลิงค์นี้เลยครับ อ่านหน้า๓-๕ และหน้า๑๐-๑๒
    https://www.scribd.com/fullscreen/48401176?access_key=key-29zbu3y2i2jwmbqjkpff
     

แชร์หน้านี้

Loading...