สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    วันนี้วันพระ
    แรม ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑
    วันพุธที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๗
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]




    ปรมัตถ์ คือ อะไร ?
    ปัญหาคาใจ

    สัจจะหรือความจริง ในโลกนี้มีความจริงอยู่ 2 ระดับ คือ
    ความจริงระดับสมมุติ และความจริงระดับปรมัตถ์

    ... มนุษย์ส่วนใหญ่จะเข้าใจเพียงความจริงระดับสมมุติจากภาษาเท่านั้น ได้แก่ บัญญัติชื่อต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ วัตถุ และความเป็นเจ้าของสิ่งเหล่านั้นทั้งโดยชื่อและโดยความรู้สึก เช่น นายดำ แมว เงินของฉัน ลูกของฉัน เป็นต้น เป็นความจริงที่ต้องขึ้นกับการอ้างอิงและเปรียบเทียบ ซึ่งรู้จักกันเฉพาะในกลุ่มชนบางกลุ่มที่ใช้ภาษาเดียวกัน วัฒนธรรมเดียวกันเท่านั้น จะใช้กับต่างกลุ่ม ต่างภาษา ต่างวัฒนธรรมไม่ได้
    ส่วนความจริงอีกระดับหนึ่ง คือ ความจริงระดับปรมัตถ์ ปรมัตถ์นี้จะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกลุ่มชน สถานที่ หรือยุคสมัย อดีตนับตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ไฟเคยให้ความร้อนและเผาไหม้อย่างไร ในอนาคตจนถึงโลกถูกทำลาย ไฟก็ยังคงให้ความร้อนและเผาไหม้ตลอดไป
    คำว่าไฟเป็นจริงเฉพาะในหมู่คนไทย ต่างชาติจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง แต่ความรู้สึกร้อนจะเป็นสากลสำหรับสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งคนและสัตว์ เมื่อถูกไฟจะรู้สึกว่าร้อน ความร้อนเป็นความจริงระดับปรมัตถ์ของไฟ
    เนื่องจากมนุษย์มีความเข้าใจติดอยู่แค่ระดับสมมุติ ซึ่งสื่อกันด้วยภาษา และจำเป็นต้องมีคน สัตว์ วัตถุขึ้นอ้างอิงด้วย ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงยึดมั่นโดยไม่รู้ตัวว่า ภาษาเป็นความจริง คิดว่าคน สัตว์ วัตถุ มีจริง จนกระทั่งไม่มีใครนึกถึงความจริงระดับปรมัตถ์ที่แฝงอยู่
    ในระดับปรมัตถ์แล้ว สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ด้วยการรวมกลุ่มของเหตุปัจจัยเพียงขณะหนึ่งเท่านั้น แล้วก็สลายตัวไป ไม่มีอะไรเกิดขึ้นนอกจากปัจจัย ไม่มีอะไรสลายไปนอกจากการสลายไปของปัจจัย ที่เรียกว่า นายดำ ก็เพราะโครงสร้างโดยรวมของลักษณะหน้าตา แขนขา จำได้ว่าชื่อดำ
    ถ้าตัดแขนมาส่วนเดียวก็จะเรียกว่าแขน ไม่เรียกแขนว่าเป็นนายดำ ถ้าตัดนิ้วมาหนึ่งก็จะเรียกนิ้วแทน ไม่เรียกนิ้วว่าเป็นแขน เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งที่เรียกว่าคนเลย โครงสร้างโดยรวมจึงเป็นที่มาของความจริงระดับสมมุติมากมายนับไม่ถ้วน แต่การกระจายโครงสร้างดังกล่าวออกเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วนแล้ว จะเหลือความจริงระดับปรมัตถ์เพียง 2 อย่าง คือ ไม่เป็นรูปธรรม ก็เป็นนามธรรม รูปเป็นสิ่งที่ถูกรู้เท่านั้น จะรับรู้อะไรไม่ได้ ส่วนนามเป็นทั้งตัวรู้และถูกรู้ได้ด้วย
    ปรมัตถ์ธรรม เป็นธรรมชาติที่ทรงสภาพของตนไม่มีการวิปริตผันแปรด้วยอำนาจอื่น (ขุนสรรพกิจโกศล 2510 : 7) ในพระพุทธศาสนาแบ่งปรมัตถธรรมออกเป็น 4 อย่าง คือ
    จิตปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์) เจตสิกปรมัตถ์(ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต)
    รูปปรมัตถ์ (ธรรมชาติที่เสื่อมเป็นนิจ) และนิพพานปรมัตถ์(ธรรมชาติที่พ้นจากกิเลสและขันธ์ 5) สภาวะของปรมัตถ์รวมอยู่ในธรรมชาติทั้งหลายทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต มีลักษณะประจำตัวอยู่ 3 อย่าง คือ ความไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ และบังคับบัญชาไม่ได้ แต่มนุษย์ทั้งหลายเข้าใจผิดกันไปเองว่าโลกและชีวิตมีอยู่จริง (เที่ยงแท้ถาวร) เป็นสุข และมีตัวตนบงการได้ ความเข้าใจผิดดังกล่าวถูกยึดมั่นเป็นความคิดสำคัญของมวลมนุษยชาติ ถ้าเป็นชาวพุทธที่แท้แล้ว จะเห็นว่าความเข้าใจผิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้มนุษย์ยินดีในภพชาติ มองไม่เห็นว่าภัยแห่งวัฏฏะสงสารเป็นอย่างไร






    .......................................
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น

    [​IMG]


    ความสุขเราปรารถนานัก แต่ว่าความประพฤติไขว้เขวไปเสียอย่างนี้ อย่างนี้หลอกตัวเองนี่ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นเท่านั้น ไม่ต้องไปสงสัย

    หลอกตัวเองเป็นอย่างไร ตัวอยากได้ความสุข แต่ไปประพฤติความทุกข์เสีย มันก็หลอกตัวเองอยู่อย่างนี้ละซิ ตัวเองอยากได้ความสุข แต่ความประพฤตินั่นหลอกตัวเองเสีย ไปทางทุกข์เสีย มันหลอกอยู่อย่างนี้นี่ ใครเข้าใกล้มันก็โกง โกงทุกเหลี่ยมนั่นแหละ ถ้าลงหลอกตัวเองได้ มันก็โกงคนอื่นได้ ไว้ใจไม่ได้ทีเดียว เหตุนี้ พุทธศาสนาท่านตรง ตรงตามท่านละก็ มรรผลไม่ไปไหน อยู่ในเงื้อมมือ อยู่ในกำมือทีเดียว พุทธศาสนาท่านตรง แต่ว่าผู้ปฏิบัติ ไม่ตรงตามพุทธศาสนา มันก็หลอกลวงตัวเอง โกงคนอื่นเท่านั้น นี่หลักจริงเป็นอย่างนี้ ให้จำไว้ให้มั่น


    .........................
    พระมงคลเทพมุนี
    หลวงปู่สด จนฺทสโร

    จากเทศนาธรรม
    ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม
    ๑๒ มกราคม ๒๔๙๗
    ......................
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    “ระวังกาย ระวังใจให้มากๆ
    และเวลานั่งสมาธิไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่ง ที่จะให้เห็นลูกแก้วหรือองค์พระให้ได้
    เพียงทำจิตให้สงบ ให้นิ่ง ให้หยุด เดี๋ยวก็จะเห็นเอง”
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    “อมตะวาทะ”
    หลวงพ่อวัดปากน้ำ
    ------------------------------
    ขันธ์ ๕

    ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นภาระสำคัญและหนักด้วย ใครปล่อยวางขันธ์ ๕ ละไม่ได้ ผู้นั้นต้องเวียนว่ายตายเกิด ผู้ใดปล่อยได้ผู้นั้นนับวันจะหมดชาติหมดภพ จะมีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ที่เทศนานี้ล้วนสอนให้ถอดขันธ์ ๕ ออกเป็นชั้นๆไป แต่ว่าจะถอดขันธ์ ๕ จะถอดอย่างไร มันเหมือนมะขามสด เนื้อกับเปลือกมันติดกันไม่หลุด ไม่กรอกจากกัน ไม่ล่อนจากกัน ถอดไม่ได้ เรายังไม่เห็นขันธ์ ๕
    ต่อเมื่อใดถอดขันธ์ ๕ เราจะเห็นขันธ์ ๕ เห็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์ รูปเราเห็นได้ เวทนาเราก็เห็นได้ หน้าตาแช่มชื่นดี เราก็รู้ว่าสุข เรื่องสัญญา สังขาร วิญญาณ เราก็ไม่เห็น เราจะต้องเห็นทั้ง ๕ อย่างจึงจะละได้วางได้ ถ้าไม่เห็นขันธ์ทั้ง ๕ อย่าง ละวางไม่ได้
    ถ้าอยากเห็นขันธ์ ๕ เราต้องถอดกายออกเป็นชั้นๆ ต้องถอดกายทิพย์ออกจากกายมนุษย์ วิธีจะถอดขันธ์ไม่ใช่เป็นของง่าย เป็นของยากหมื่นยากแสนยากทีเดียว แต่วิธีเขามีที่วัดปากน้ำ วิธีเข้ากายถอดขันธ์ คือ ทำจิตให้หยุดให้นิ่งที่กำเนิดเดิม ถอดขันธ์ออกไปแล้วจึงเห็นขันธ์
    [​IMG]


    จาก พระธรรมเทศนากัณฑ์ที่ ๖๑
    เรื่อง ภารสุตตกถา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ผู้เจริญ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    เมื่อปฏิบัติภาวนา ดับอธิษฐานถอนปาฏิหาริย์ ธาตุธรรมภาคดำและภาคกลางๆ ... จนสุดละเอียด
    เพื่อชำระธาตุธรรมของตน ให้ใสสะอาดบริสุทธิ์
    ได้เข้าถึง ...
    "พระพุทธเจ้า"
    "จักรพรรดิ"
    และ "พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม"
    แล้วอาราธนา ...
    พระพุทธเจ้า จักรพรรดิ และ พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม
    ทับทวี ... บุญศักดิ์สิทธิ์ บารมี รัศมี กำลังฤทธิ์ อำนาจ สิทธิ สิทธิเฉียบขาด
    และตั้งผังสุขสมบูรณ์ บริบูรณ์ ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติ
    ... ตลอดธาตุตลอดธรรม
    แล้วตั้งเป็น "วิชชาเป็น" ไม่ขาดสาย
    นับอายุธาตุอายุบารมี "พระพุทธเจ้า" "จักรพรรดิ" และ "ต้นธาตุต้นธรรม" ไม่ถ้วน นี้ประการหนึ่ง
    อีกประการหนึ่ง
    ด้วยการเจริญ "วิชชาธรรมกายชั้นสูง" ของผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวข้างต้น
    ยังผลให้วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ส่องสว่างถึงเวไนยสัตว์ คือ สัตว์โลกที่ควร และที่พึงแนะนำสั่งสอน ... ได้มากยิ่งขึ้น
    เมื่อมีผู้มีปัญญาปฏิบัติพระสัทธรรม และเข้าถึงธรรมเพิ่มมากขึ้น
    การสืบต่อปฏิบัติพระสัทธรรม
    ก็ยิ่งเป็น "วิชชาเป็น" ไม่ขาดสายเพิ่มมากขึ้นๆ เป็นทับทวี
    ยังผลให้ทับทวี ...
    "พุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ สังฆานุภาพ"
    ในพระที่สร้างขึ้น ด้วยวิชชาธรรมกายชั้นสูงนั้น
    แก่กล้าทรงความศักดิ์สิทธิ์
    ... ยิ่งขึ้นไปไม่ขาดสายด้วย
    เพราะการเจริญภาวนาถึง "ธรรมกายของพระพุทธเจ้า"
    และ "อายตนะนิพพาน" นั้น
    ล้วนแต่ดำเนินไปโดยผ่าน "มัชฌิมาปฏิปทา" (ทางสายกลาง) คือ มรรคมีองค์ ๘
    อันมีนัยอยู่ใน "มหาสติปัฏฐาน ๔" คือ
    การมีสติพิจารณาเห็น
    กายในกาย
    เวทนาในเวทนา
    เห็นจิตในจิต
    และธรรมในธรรม
    ณ "ศูนย์กลางกาย"
    อันเป็นที่ตั้ง "กำเนิดธาตุธรรมเดิม" ของทุกกาย
    สุดกายหยาบ (ตั้งแต่กายเนื้อมนุษย์)
    จนถึงสุดละเอียด คือ กายธรรม และ ธรรมกายที่สุดละเอียด
    ถึงอายตนะนิพพาน และ "พระนิพพาน" (ธรรมกายที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ) ของพระพุทธเจ้า
    ไปจนสุดละเอียดถึง ...
    “พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม” ในอายตนะนิพพานเป็น
    ซึ่งเป็นมิติเดียวกัน คือ
    กลางของกลางของ “ธรรมกาย” และ “จักรพรรดิ”
    ที่ผู้สร้างได้เจริญภาวนาเข้าถึง
    และอาราธนา “พระพุทธเจ้าต้นธาตุต้นธรรม”
    ทับทวีความศักดิ์สิทธิ์ ในพระที่สร้างขึ้นนั้นทุกองค์ด้วย
    พระวัดปากน้ำ และ พระตระกูลวัดปากน้ำ
    ยิ่งนานจึงยิ่งแก่กล้าด้วย
    "พระพุทธคุณ" "พระธรรมคุณ" และ "พระสังฆคุณ"
    เพราะมีผู้ปฏิบัติภาวนา "วิชชาธรรมกายชั้นสูง"
    สืบต่อๆกันไปอย่างกว้างขวาง เพิ่มมากขึ้น
    และตั้ง "วิชชาเป็น" ไม่ขาดสาย
    โดยมิต้องมีพิธีกรรมอื่น ประกอบการสร้างพระ
    นอกจาก "การเจริญภาวนาธรรม"
    ชำระกาย วาจา ใจ
    และชำระสะสางธาตุธรรม
    โดยทาง "ศีล สมาธิ ปัญญา"
    ผ่านมัชฌิมาปฏิปทา (ทางสายกลาง) คือ มรรคมีองค์ ๘
    อันมีนัยอยู่ใน "มหาสติปัฏฐาน ๔" ทางสายเอก เพียงประการเดียว ... ด้วยประการฉะนี้แล






    * ที่มา : หนังสือ "อานุภาพพระตระกูลวัดปากน้ำ"
    วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม





    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ทานบางอย่างมีผลมากและมีอานิสงส์น้อย




    ๑. บางคนให้ทานด้วยความหวังว่า เมื่อตายไปแล้วจักเสวยผลของทานนี้ ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๒. บางคนให้ทานเพราะรู้ว่าทานเป็นของดี เป็นบุญเป็นกุศลจึงให้ ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๓. บางคนให้ทานเพราะละอายใจที่พ่อแม่ปู่ย่าตายาย บรรพบุรุษเคยทำมา ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๔. บางคนให้ทานเพราะเห็นสมณะพราหมณ์เหล่านั้นหุงหากินไม่ได้ ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๕. บางคนให้ทานเพราะต้องการจำแนกแจกทานเหมือนกับฤๅษีทั้งหลายในปางก่อนที่ได้กระทำมหาทานมาแล้ว ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    ๖. บางคนให้ทานเพราะคิดว่า เมื่อให้แล้วจิตเลื่อมใสโสมนัสจึงให้ ทานอย่างนี้มีผลมากแต่ไม่มีอานิสงส์มาก
    แต่บางคนให้ทาน เพราะเห็นว่าทานเป็นเครื่องขัดเกลาจิตให้หมดจดจากกิเลส ให้ละซึ่งความตระหนี่หวงแหน ทานชนิดนี้มีผลมากและมีอานิสงส์มาก






    *บทความจากหนังสือธรรมะที่พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน
    --------




    ร่วมเผยแพร่โดย
    เพจวิชชาธรรมกาย
    เพื่อการเผยแผ่วิชชาธรรมกายที่บริสุทธิ์บริบูรณ์ตามที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสั่งสอนและถ่ายทอดไว้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 ตุลาคม 2014
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]



    "ในบทบูชาพระพุทธเจ้า ๒ ล้านกว่าพระองค์ นี้เป็นคัมภีร์เก่าที่มีอาจารย์ท่านหนึ่งเคยไปอยู่ศึกษาที่ประเทศพม่าแล้วได้คัมภีร์เก่ามา จนผุแล้ว ก็มีขาดๆ ตกๆ แต่ก็พอจับส่วนมากได้กว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ ที่เล็กๆ น้อยๆ ก็พอรู้ว่ามันคืออะไร บทเจริญพระพุทธมนต์นี้น่ะ เป็นบทอาราธนาคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ตั้งแต่อดีตนับเป็นล้านๆ องค์มาถึงปัจจุบัน ถ้าท่านปฏิบัติถึงธรรมกาย พิสดารกายสุดกายหยาบกายละเอียดถึงพระนิพพาน อาราธนาพระนิพพานธาตุทับทวีขึ้นมาที่ศูนย์กลางท่าน ซึ่งมีลักษณะที่ผ่านโอกาสโลก ขันธโลก สัตวโลก ภพสาม ผ่านโลกมนุษย์และทับทวีมาถึงตัวท่านขณะนั้นน่ะ นอกจากช่วยชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของท่านให้ใสบริสุทธิ์ เป็นการช่วยให้อายุยืน สุขกายสุขภาพจิตดีแล้วยังช่วยสังคม ตั้งแต่สังคมพระไปถึงสังคมโยมและประเทศชาติได้ ถ้าท่านทำได้"
    หลวงป๋า

    เสียงคณะสงฆ์วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เจริญพระพุทธมนต์บูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์ นำโดย พระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า)
    wlps47010103 พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์

    เจริญพระพุทธมนต์บูชาพระพุทธเจ้า ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์ นำโดย พระครูอาทรปริยัติสุธี
    พระคาถาบูชาพระพุทธเจ้า 2,048,109 พระองค์



    <object width="640" height="480"><param name="movie" value="//www.youtube.com/v/80kxSYIkXv4?hl=en_US&amp;version=3&amp;rel=0&amp;controls=0&amp;showinfo=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="//www.youtube.com/v/80kxSYIkXv4?hl=en_US&amp;version=3&autoplay=&amp;rel=0&amp;controls=0&amp;showinfo=0" type="application/x-shockwave-flash" width="640" height="480" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ตุลาคม 2014
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]




    อาศัยญาณพระธรรมกาย ดูที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์

    จะเห็นสมุทัย ซ้อนอยู่ในดวงทุกข์

    ทับทวีพระธรรมกายผ่านกลาง เก็บเหตุทั้งหมด จนเป็นนิโรธ และ มรรค

    เป็นวิกขัมภนวิมุติ ,ตทังควิมุติื ไปจนถึงสมุเฉทปาน ตามกำลังและเหตุปัจจัยเฉพาะตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ตุลาคม 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    อบรมพระกรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสี่ จนถึงธรรมกาย และพระนิพพาน

    ฟรี ........ไม่มีค่าใช้จ่าย




    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ตุลาคม 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 และวิธีฯตามแนววิชชาธรรมกาย

     
     [​IMG]
     


     

    1. เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร 4


    การเจริญพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์

    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

    อนึ่ง พรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ

    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น 2 ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ "ด่าง" เป็น "กลาง" ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ

    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย

    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้

    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน "ขันติธรรม" และ "พรหมวิหารธรรม" อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้

    2. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 โดยทั่วไป และอานิสงส์



    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร

    คำว่า "เมตตา" นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ 4 เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก

    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด

    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง 4 เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง

    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ 3 (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย

    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.23/224/480) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว

    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ 11 ประการเป็นไฉน ?   คือ ย่อมหลับเป็นสุข 1 ย่อมตื่นเป็นสุข 1 ย่อมไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย 1 เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ 1 จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 1 สีหน้าย่อมผ่องใส 1 เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก 1

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการนี้แล." (อํ.เอกาทสก.24/222/370-371)

    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร

    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น

    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหาร

    ให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นจากโทสะเสียก่อน แล้วให้ตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนปรารถนาแต่ความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์เพียงใด ผู้อื่นก็ปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทั้งสิ้น ในการพิจารณาและตั้งความปรารถนาไปยังผู้อื่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังจิตใจอันแข็งกระด้างอยู่ ให้เริ่มตั้งความปรารถนาแผ่พรหมวิหารไปยังผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนาไปยังผู้ที่ตนชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว ก็จงตั้งความปรารถนา แผ่พรหมวิหารธรรมนี้ไปยังผู้ที่มีเวรต่อกัน ให้จิตใจอ่อนโยนดีกับบุคคลและสัตว์ทุกหมู่เหล่า จึงจะได้ผลดี

    มีข้อสังเกตว่า หากชำนาญมากเข้า ก็สามารถเจริญภาวนาได้รวดเร็ว ความรู้สึกในบุคคลหรือสัตว์ที่รัก ที่ชัง หรือที่มีเวรต่อกัน ก็จะจางลง ความรู้สึกดังกล่าวยิ่งจางลงได้มากเพียงใด ย่อมแสดงว่าการเจริญพรหมวิหารธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ระดับสมาธิก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายกว่าเดิม นิวรณธรรมก็จะพลอยลดน้อยลง ระดับสติปัญญาและภูมิธรรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามลำดับ

    กล่าวโดยสรุป อานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์สูงเป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว (อํ.นวก.23/224/480) ทั้งนี้ก็เพราะการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นก็เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียน โกรธพยาบาทจองเวร หรืออิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน ให้มีความรักใคร่ ปรองดอง เอื้ออารี เผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้รู้จักสงบจิตใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ

    จุดมุ่งหมายเบื้องสูงยิ่งขึ้นไปอีก ก็เพื่อให้ผู้เจริญพรหมวิหารธรรมได้บำเพ็ญเมตตาและอุเบกขาบารมีให้เต็มส่วน ถึงอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่จะสามารถช่วยให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้จิตใจของผู้เจริญคุณธรรมนี้ สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ธรรมข้อพยาบาท และระงับความคิดที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ คุณธรรมข้อนี้ยังเป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือความริษยาและความผูกโกรธ หรือพยาบาทจองเวรได้ดีอีกด้วย

    จิตใจที่สงบระงับจากนิวรณธรรมนั้น ย่อมสามารถรับการฝึกหัดให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงได้ง่าย จึงเป็นพื้นฐานสำคัญแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง และรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้สะดวก

    เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหารนั้น มีอานิสงส์แก่ผู้เจริญให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้สำเร็จขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นต้นของปฐมฌาน และให้สามารถพัฒนาต่อไป ถึงทุติยฌาน และตติยฌาน ได้ตามลำดับ ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารนั้น มีอานุภาพให้ผู้เจริญ ได้ถึงจตุตถฌาน โดยจตุกนัย หรือถึงปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยทีเดียว

    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 3 ระดับกล่าวคือ

    พรหมโดยสมมติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เป็นพรหมของบุตร เป็นต้น แต่ในทางธรรมปฏิบัตินั้น ได้แก่ มนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ และทิพย์ละเอียด ซึ่งทรงพรหมวิหารธรรม
    พรหมโดยอุบัติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็หมายเอาผู้ที่ได้กำเนิดหรือถือคติเป็นพรหมในพรหมโลก ด้วยพรหมธรรมและผลจากการเจริญภาวนาสมาธิ โดยที่ก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากฌานในระดับใดระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติ ได้แก่ รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางทิพย์และมนุษย์, กับอรูปพรหมหยาบ และอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของพรหม อันเป็นผลจากการเจริญพรหมวิหารและภาวนาสมาธิ อีกนัยหนึ่ง สามารถจะเข้าถึงได้โดยทางธรรมปฏิบัติในปัจจุบันชาติ
    พรหมโดยวิสุทธิ อีกหนึ่ง ในทางปริยัติ หมายเอาพระอริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกพระพุทธเจ้า ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์จากอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว ส่วนในทางธรรมปฏิบัติ ก็ได้แก่ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของกายโลกิยะทั้ง 8 กายข้างต้น เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์นั่นเอง เพราะกายนี้เป็นกายที่สะอาดบริสุทธิ์และทรงพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะที่จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมใสสะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่ง แล้วเข้าถึงได้ หรือเป็นกายธรรมพระอรหัตที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ดังพระพุทธดำรัสว่า "วาเสฏฐะและภารัทวาชะ   คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต." (ที.ปา.11/55/92)
    นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้เจริญหรือผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้นยังแตกต่างกันด้วยภูมิธรรม และภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการแผ่พรหมวิหารก็ย่อมจะมีอานุภาพที่ไม่เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้นว่า พระนิพพานคือพระธรรมกายที่ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมทรงพรหมวิหารธรรม และแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อย่างกว้างขวางสุดประมาณ และมีอานุภาพสูงที่สุดยิ่งกว่าธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    และส่วนธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล หากแต่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ก็ย่อมทรงพรหมวิหารและแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสัตว์ทั้งหลาย ได้ดีกว่าผู้ที่ยังเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคลอยู่

    ธรรมกายที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดเลย หากแต่ได้พยายามเจริญภาวนาพิจารณาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรมตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีความเข้าใจในทุกข์, ในเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย, ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า นิโรธ, และในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แจ่มแจ้งเพียงใด ก็ย่อมจะเจริญและทรงพรหมวิหารได้มาก และสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น

    ด้วยเหตุนี้ การเจริญและแผ่พรหมวิหาร ในขณะที่จิตทรงสมาธิและได้เจริญปัญญาภายหลังจากการพิจารณาอริยสัจแล้ว จึงมีอานุภาพมากคือมีผลต่อผู้อื่นมาก และมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญภาวนาเองมาก
     

    3. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ระดับฌาน
    ลำดับนี้จะแนะนำวิธีการเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานแก่ผู้ที่ถึงธรรมกาย ซึ่งได้ฝึกหัดเจริญฌานสมาบัติแล้วต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกายก็ให้น้อมใจตามไปได้ แต่ขอให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสนั่นไว้เสมอ ก็จะได้ผลดีกว่าการเพียงแต่สวดบทแผ่พรหมวิหาร โดยที่ใจมิได้รวมหยุดเป็นสมาธิถูกศูนย์ถูกส่วน ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    จึงขอให้ทุกท่านจงตั้งใจเจริญภาวนา แผ่พรหมวิหารธรรมต่อไป

    ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามรวมใจหยุดในหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางเครื่องหมายที่นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ พยายามนึกให้เห็นใสละเอียด ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน แล้วก็คอยน้อมใจตามคำแนะนำต่อไป

    ส่วนผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด  แล้วพิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติ พร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลมและปฏิโลมหลายๆ เที่ยว เพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ใสละเอียด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ เที่ยวสุดท้ายให้เจริญฌานสมาบัติโดยอนุโลม เพียงรูปฌาน 4 พิจารณาสัจจะทั้ง 4 ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และธรรมกายทำนิโรธดับสมุทัย โดยพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัต ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จนเป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ใสบริสุทธิ์

    แล้วน้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกาย ให้ใจของธรรมกายเพ่งลงไปที่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะมีองค์ฌาน (เหมือนแผ่นกระจกใส) ปรากฏขึ้นรองรับหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็นปฐมฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล ให้ข่ายของญาณหว่านล้อมธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ เข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ให้อายตนะภายใน ที่ตั้งความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้, ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ ของทุกกายตรงกันกับของเราหมด แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดเมตตาพรหมวิหารและคุณของเมตตาพรหมวิหารว่า ตัวเราเองปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติ, มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาในความสุขเช่นนั้นเหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อน จากการเบียดเบียนหรือเวรภัยใดๆ ผู้อื่นก็ไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อนเช่นกัน เมื่อจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ที่จะให้อยู่ดีมีสุขด้วยกันแล้ว ก็แผ่ฌานและเมตตาพรหมวิหาร ด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัตินั้น จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเรา ไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายให้หมดทั่วทั้งจักรวาล ให้ใสละเอียดหมด

    แล้วพิสดารกายทิพย์ในกายทิพย์ ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ในทิพย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายทิพย์ในทิพย์ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของกายธรรมก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง ศูนย์กลางกายทิพย์ในทิพย์ จนใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนละวิตกวิจารได้ คงแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่ปรากฏขึ้นรองรับทุกกาย นี้เป็นทุติยฌาน ก็ให้ข่ายของญาณพระธรรมกายขยายกว้างออกไปจนเต็มจักรวาลอีก หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดกรุณาธรรมและคุณของกรุณาพรหมวิหารว่า เราประจักษ์ในทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งของตัวเราเองด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานในสังขารธรรมทั้งหลาย จึงเป็นทุกข์ ด้วยความเกิด แก่ เจ็บ และตาย, เป็นทุกข์เพราะความที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และต้องประสบเข้ากับสิ่งที่ตนเกลียดชัง, เป็นทุกข์ด้วยความไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ จะมี จะเป็น, หรือเป็นทุกข์ที่ต้องได้รับผลจากอกุศลกรรม ได้แก่ เหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการได้กำเนิดทุคคติ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น และแม้แต่จะกำลังได้เสวยผลจากกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และ วิปากวัฏฏะ แล้ว ก็ไม่วายที่จะต้องเสื่อมจากความสุขและสมบัติที่เคยได้รับ

    ตนเองปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านั้นเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยกรุณาพรหมวิหาร คือความสงสาร ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเองด้วยได้พ้นทุกข์เหล่านี้ไปเสีย ดังนี้แล้ว ก็แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารจากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราเอง ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เร่งประกอบความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น กระทำนิโรธให้แจ้ง และเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายด้วยปัญญาอันเห็นชอบเถิด ให้แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์และละเอียดอ่อนนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดหมดทั่วทั้งจักรวาล

    แล้วพิสดารกายรูปพรหมในรูปพรหม ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายรูปพรหมในรูปพรหมปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม ในรูปพรหม จนใสละเอียดหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตจนละปีติได้ คงแต่สุขกับเอกัคคตา ก็จะปรากฏองค์ฌานใหม่บังเกิดขึ้นรองรับทุกกาย ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น ตติยฌาน แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายมายังศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วพิจารณาโทษของการขาดมุทิตา และคุณของการมีมุทิตาพรหมวิหารว่า เราปรารถนาที่จะไม่เสื่อมจากสุขสมบัติและคุณสมบัติอย่างไร และปรารถนาในความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น จากผลของทาน ศีล ภาวนา ขึ้นไปเป็นผลของ ศีล สมาธิ และปัญญา, อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต และมรรคปัญญา, ธรรมโคตรภู, พระโสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล, พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็น พระอรหัตมรรค พระอรหัตตผล หรือถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อนเปี่ยมด้วยมุทิตาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและมุทิตาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่ใสละเอียดบริสุทธิ์ จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย ให้ใสละเอียดไปทั้งหมด

    แล้วพิสดารกายอรูปพรหมในอรูปพรหมต่อไป ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายอรูปพรหมในอรูปพรหม ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดนิ่งกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม ใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนสุขหมดไป คงแต่เอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่เกิดขึ้นรองรับทุกกาย เพ่งให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น จตุตถฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนสุดจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายสุดละเอียดต่อไปอีก พิจารณาโทษของการขาดอุเบกขาพรหมวิหาร และคุณของการมีอุเบกขาพรหมวิหารว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับผลกรรมเอง เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยอุเบกขาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและอุเบกขาพรหมวิหารนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดทั่วกันหมดทั้งจักรวาล

    นี้เป็นวิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌาน เป็นการเจริญภาวนาที่มีผลมากแก่ผู้อื่น และมีอานิสงส์มากแก่ผู้เจริญภาวนา แม้ผู้เจริญภาวนาที่มีสมาธิในระดับที่ต่ำอยู่ ก็สามารถน้อมใจเจริญภาวนาตามนี้ได้ แต่ต้องรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางนิมิตที่ตรึกนึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมก็ได้ แล้วพยายามเพ่งพิจารณาตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน นึกให้เห็นนิมิตนั้นใสละเอียด แล้วก็แผ่ความใสละเอียดนั้นไปให้กว้างที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ อย่างนี้ก็เป็นผลมาก และมีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสักแต่กล่าวคำแผ่พรหมวิหารออกไป โดยที่ส่งใจไปจรดที่อื่นมากมายนัก

    การเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานนี้ มีอานิสงส์และอานุภาพมาก เมื่อกระทำจนชำนาญมากเข้า ก็จะสามารถแผ่พรหมวิหารนี้ไปยังสรรพสัตว์ในจักรวาลอื่น โดยอธิษฐานจิตซ้อนเข้ามาในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ให้ศูนย์กลางตรงกันหมด ทับทวีทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณทีเดียว


    -------------------------------------------------------------


    ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่, พยาบาท จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่, วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่, อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด. เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่,ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่, ราคะ จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่, อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.
    **********************
    - ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • %20_1_~1.JPG
      %20_1_~1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      136.2 KB
      เปิดดู:
      1,454
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ตุลาคม 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    รวมสวดมนต์เสียงพระวัดหลวงพ่อสด

    My Files


    *********************************************








    [​IMG]




    หนังสือ " อริยสัจ 4 " โดยหลวงป๋า  

    ดาวน์โหลดได้ที่
    อริยสัจ 4
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    <object width="640" height="480"><param name="movie" value="//www.youtube.com/v/baB_GWg5PEo?hl=en_US&amp;version=3&amp;rel=0&amp;controls=0&amp;showinfo=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="//www.youtube.com/v/baB_GWg5PEo?hl=en_US&amp;version=3&amp;rel=0&amp;controls=0&amp;showinfo=0" type="application/x-shockwave-flash" width="640" height="480" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    [​IMG]




    ตอนนี้มีแอพพลิเคชั่นออกใหม่ ชื่อว่า "ธรรมกาย" สามารถดาวโหลดได้ฟรี ทั้ง ios และ android
    เป็นแอพที่รวมรวมธรรมเทศนาของพระเทพญาณมงคล (หลวงป๋า) "วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม" อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี
    เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาธรรมปฏิบัติ




    - ธรรมกายคืออะไร ?
    - สภาวะ "พระนิพพาน" เป็นอย่างไร ?
    - หลักปฏิบัติสมถ-วิปัสสนา ตามแนวสติปัฏฐาน ๔
    ตามแบบ สัมมา อะระหัง (ของหลวงปู่สด วัดปากน้ำ)
    ปฏิบัติอย่างไร ?



    ------------------------------------------------------------------------




    ท่านใด ใช่ iOS (iPhone iPad) สามารถดาวโหลด Application "ธรรมกาย" ได้แล้วครับ (search คำว่า ธรรมกาย เป็นภาษาไทยได้เลย)
    (สำหรับ Android และ amazon ก็สามารถดาวน์โหลดได้เหมือนกัน)
    (เนื้อหายังไม่เยอะมากนะครับ ผมพยายามจะเพิ่มเนื้อหาเรื่อยๆ พอดีงานเยอะครับ ไม่ค่อยว่างเลย)
    ใครสนใจ ทดลองดาวน์โหลดดูก่อนได้นะครับ
    มีข้อแนะนำติชมอันไดก็บอกได้เลยนะครับ



    [​IMG]



    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 พฤศจิกายน 2014
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เทศนาธรรมกัณฑ์ที่ ๖๔
    พระเดชพระคุณหลวงปู่สด จนฺทสโร ได้กล่าวถึงพระบวชใหม่รูปหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันก็คือ พระเดชพระคุณหลวงปู่วีระ คณุตฺตโม รองเจ้าอาวาสและพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา ของวัดปากน้ำภาษีเจริญ ขอคัดเอาใจความสำคัญมาให้ได้ศึกษาดังต่อไปนี้
    ..................
    พระบวชใหม่นี้เป็นคนรู้แล้ว เรียนแล้ว จะเอาไปสอนเข้าเป็นไม่กี่คนนัก แล้วก็เป็นอยู่ ๓๐ กว่าคนแล้ว ๓๘ หรือ ๔๐ แล้ว ๓๙ แล้ว ไปสอนเป็นให้มีธรรมกาย เป็นพระพุทธเจ้าไป ๓๘ อ้า ๓๙ คนแล้ว เรียนเป็นไปไม่เท่าไหร่หรอก สอนได้ขนาดนี้ มีฤทธิ์มีเดชอย่างนี้ องค์นี้แหละ เขาสั่งลงมาให้เป็นครูพวกญี่ปุ่น จะสั่งสอนญี่ปุ่นให้ได้มากทั่วทั้งประเทศ นั่นแน่ะ องค์นี้แหละ ญี่ปุ่นจะต้องเคารพยำเกรงหมดทีเดียว สอนศักดิ์สิทธิ์ สอนเก่ง สอนพวกเร็ว คล่องแคล่ว เข้าใจสอน พอเป็นธรรมะเท่านั้น ก็เข้าใจแจก เพราะเป็นตัวประกาศ เขาส่งเขาสั่งให้มาเป็นมนุษย์ มาประกาศพระพุทธศาสนา ไม่ใช่มาทำเรื่องอื่น มาประกาศพระพุทธศาสนา

    .......................
    หลวงปู่สด จนฺทสโร





    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เดินสมาบัติ ดูอริยสัจจ์สี่ สรุปง่ายๆ เฉพาะตัวบางท่าน(ที่สอบถามมา ไม่เข้าใจศัพท์ในคัมภีร์ )


    1.ดับหยาบไปหาละเอียดซ้อน สับ ทับทวี เดินสมาบัติไปกลับสลับฌาณนับไม่ถ้วนจนตกศูนย์เข้านิพพานองค์ปัจจุบัน และเข้านิพพานองค์ต่อๆไปย้อนหลังไปนับไม่ถ้วน

    2.เมื่อใสสะอาดเป็นประกายไร้อณูผงฝุ่นดำแล้ว อาศัยญาณพระธรรมกายดูอริยสัจจ์ที่กลางดวงธรรมกายมนุษย์ก่อน

    -เห็น 4ดวงใสเป็นดวงเห็น จำ คิด รู้

    -มองกลางสุดละเอียดของเห็นจำคิดรู้ จะเห็นดวงอริยสัจจ์

    ดวงแรกเล็กเท่าเมล็ดโพธิ์เมล็ดไทรเป็นดวงเกิด จะเห็นข่าวใส เป็นดวงที่นำมาเกิดในกาย
    มนุษย์ของบิดามารดา
    ดวงที่สองเรียกว่าดวงแก่ จะมีสีเทาไปจนดำ ตามอายุของกายเนื้อ ถ้าหมั่นเจริญอิทธิบาทหรือสมาธิก็ประทังให้แก่ช้าได้
    ดวงที่สามเรียกว่าดวงเจ็บ จะมีสีทาไปจนดำ ตามอาการเจ็บป่วย ถ้าเห็นให้รีบแก้ไข
    ดวงที่สี่เรียกว่าดวงตาย มีสีดำนิล ถ้ามาจรดกลางดวงธรรมกายมนุษย์เมื่อไร มีอันตรายสุงมาก กายภายในใกล้ขาดจากกายมนุษย์แล้ว

    ดวงอริยสัจจ์ข้อแรกคือดวงทุกข์ ซึ่งแยกเป็น4ดวงย่อยคือเกิดแก่เจ็บตายนี้ มีในทุกกาย
    เว้นจากธรรมกาย


    2.ต่อไป ดวงสมุทัย จะอยู่กลวงดวงทุกข์ หรือ ซอนในกลางที่ละเอียดของดวงทั้ง4 เกิดแก่เจ็บตาย แยกเป็นสามดวงย่อยคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

    ให้เข้ากลางไปจนสุดละเอียดกลางดวงนี้ จะเกิดการเปลี่ยนแปลงคือ......

    3. เกิดดวงนิโรธ (สภาพที่ทุกข์ดับ)
    4.เข้ากลางดวงนิโรธ จะเห็นดวงมรรค ( ศีล สมาธิ ปัญญา) ซ้อนกับ3 ดวงเมื่อเห็นอย่างหยาบ
    จะเห็น8ดวง (อริยมรรคมีองค์8 เมื่อดูอย่างละเอียด)

    ดวงนิโรธ และมรรค จะขาวใสสว่างมาก


    เห็นเช่น่นี้แล้ว ดับหยาบไปหาละเอียดไปเป็นธรรมกายที่ละเอียดขึ้นเรือ่ยๆๆๆๆๆๆ
    จนดับสมุทัยไปเรื่อยๆ แม้เป็นการดับชั่วคราว ก็ให้เจริญไป เพื่อเกิดปัญญาที่เพิ่มพูนประหารกิเลส อาสวะ ไปเรื่อยๆ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?


    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    วิธีปฏิบัติ ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่ พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้


    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หยุดในหยุดกลางของหยุด นิ่งลงตรงนั้น ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น หยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายออก และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด


    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 10 พฤศจิกายน 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ความสำคัญของ... “ศูนย์กลางกาย ฐานที่ ๗”


    โดย
    * มงคลบุตร
    * ปัจจุบันคือ พระเทพญาณมงคล (เสริมชัย ชยมงฺคโล)




    พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ(สด จนฺทสโร) ได้ย้ำนักหนาว่า.....

    ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี้...สำคัญนัก
    ให้เอาใจไปจรดไว้ที่นั่นเสมอ...ทุกอิริยาบถเมื่อมีโอกาส
    ไม่ว่าจะในขณะ เดิน ยืน นั่ง นอน หรือ ในขณะไหว้พระสวดมนต์
    และ อธิษฐานปรารถนาในสิ่งที่ดีที่ชอบทั้งหลาย
    เพราะที่ศูนย์กลางกายนี้ มีอานุภาพยิ่งกว่าที่ใดๆทั้งสิ้น


    การรวมใจให้หยุดในหยุด ณ ศูนย์กลางกายนั้น...นับว่าเป็นผลดีอย่างมาก
    เพราะเป็นจุดแห่ง “ดุลย” ทั้งกายภาพและจิตใจ กล่าวคือ

    ในทางกายภาพ
    ศูนย์กลางของสรรพวัตถุทั้งหลาย ย่อมอยู่ในแนวเดียวกันกับแรงดึงดูดของโลก
    ที่เรียกว่า Center of Gravity


    ส่วนทางด้านจิตใจ
    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาธรรมจนถึง “ธรรมกาย” แล้ว
    ก็จะสามารถทราบได้ด้วยตนเองว่า.....
    ศูนย์กลางกายนั้นเอง คือ “ที่ตั้งถาวรของใจ”

    เวลาจะเกิด จะดับ จะหลับ จะตื่น
    ดวงธรรม...จะลอยมาสู่ศูนย์กลางนี้ก่อนอื่นที่เดียว
    และศูนย์กลางกายนี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับ.....
    อายตนะภพสาม อายตนะนิพพาน และ อายตนะโลกันต์


    จึงนับเป็นศูนย์ที่สำคัญที่สุด มีพลัง และอำนาจมากที่สุด
    ช่วยให้รู้เห็นได้แม่นยำ และกว้างขวาง...ไม่มีประมาณ





    *** คัดลอกบางตอนจาก
    หนังสือ ธรรมสู่สันติ เล่มที่ ๑
    จัดพิมพ์โดย โครงการธรรมปฏิบัติเพื่อประชาชน วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    มิถุนายน ๒๕๒๐
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ....วันๆหนึ่ง สำหรับผู้ที่เข้าถึงพระธรรมกาย
    ที่สามารถพิศดารกาย สับกาย ซ้อนกาย เดินสมาบัติ เป็นอนุโลม-ปฏิโลม แล้วปล่อยความยินดีในฌาณสมาบัติ จนเข้าถึงอายตนะพระนิพพานได้แล้ว


    ......ใน่ชีวิตประจำวันที่ต้องพบปะ ทำหน้าที่ในสังคม
    ควรแบ่งใจไว้ครึ่งหนึ่งเป็นอย่างน้อย ไว้ที่กลางของกลาง

    ทันที ที่ดวงธรรมหรือกาย หรือสภาวะธรรมใดๆ ที่ปรากฏ ไม่มีความผ่องใส ขาว ใส
    แต่มีความขุ่นมัว หมอง หรือ เป็นสีต่างๆที่ไม่ใส

    ......ให้ เจริญวิชชาให้ขาว ให้ใส โดยทันที

    เพื่อละ เพื่อดับ กิเลส นิวรณ์ ฯลฯ ที่เข้ามา

    ที่ฟูขึ้น ให้หมดกำลังลง (แม้ชั่วคราว)

    การรู้ การเห็น สภาวะธรรมจะไม่ผิดพลาดหรือผิดพลาดน้อยลง

    ...การศึกษาธรรมที่ละเอียดขึ้นไป ก็จะทำได้ดียิ่งขึ้น


    ........ทำไปเรื่อยๆ จนกว่ามรรคจิต มรรคปัญญา
    จะเจริญจนเข้าเขตอริยมรรค อริยผล หรือ ตามที่
    อธิษฐานจิตเอาไว้


     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,278
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    บางครั้งเห็นดวงแกว่งลอยไปด้านซ้ายบ้างด้านขวาบ้าง หรือวิ่งเป็นวงบ้าง จะทำอย่างไร เพราะรู้สึกปวดหัว ?

    ---------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขณะปฏิบัติภาวนาอยู่เช่นนั้น ให้เหลือบตากลับขึ้นนิดๆ พร้อมกับกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกาย นิ่งๆ เข้าไว้ ไม่ต้องใช้ใจบังคับดวงที่แกว่งนั้น ดวงจะเลื่อนไปไหนก็ช่าง อย่าตาม อย่าเสียดาย


    คงให้รวมใจหยุดนิ่งๆ คือนึกให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางกายไว้ให้มั่น กลางของกลางเข้าไว้ จะใช้บริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” ณ จุดเล็กใสนั้นช่วยด้วยก็ได้

    ไม่ช้าใจจะหยุดนิ่ง และก็ปรากฏดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใสแจ่มขึ้นมาเอง

    ข้อสำคัญอีกประการหนึ่งคือ ขณะปฏิบัติภาวนา อย่าบังคับใจที่จะให้เห็นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกร็งและปวดศีรษะ ให้ผ่อนใจพอดีๆ แล้วจะค่อยๆ เห็นชัดเอง.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...