จิตและวิญญาณ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน อ้างจากพระสูตร

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย rasa84000, 28 พฤศจิกายน 2014.

  1. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    สิกขาสูตรที่ ๒
    [๕๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้ ๓ เป็นไฉน คือ อธิศีลสิกขา ๑
    อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิศีลสิกขา เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิศีลสิกขา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศล และ... ฯลฯ
    บรรลุปฐมฌาน.....ถึง จตุตถฌาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิจิตตสิกขา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อธิปัญญาสิกขาเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอธิปัญญาสิกขา
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิกขา ๓ นี้แล ฯ

    ภิกษุผู้มีความเพียร มีเรี่ยวแรง มีปัญญา เพ่งพินิจ มีสติ คุ้มครองอินทรีย์
    พึงครอบงำทั่วทุกทิศ ด้วยอัปปมาณสมาธิ ประพฤติทั้งอธิศีล อธิจิต
    และอธิปัญญา เมื่อก่อนฉันใด ภายหลังก็ฉันนั้น ภายหลังฉันใด
    เมื่อก่อนก็ฉันนั้น เบื้องต่ำฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด
    เบื้องต่ำก็ฉันนั้น ในกลางวันฉันใด ในกลางคืนก็ฉันนั้น ในกลางคืน
    ฉันใด ในกลางวันก็ฉันนั้น ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นนักศึกษา
    เป็นนักปฏิบัติ และเป็นผู้มีความประพฤติเรียบร้อยดี

    ภิกษุเช่นนั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้ตรัสรู้ชอบ เป็นนักปราชญ์ เป็นผู้
    ถึงที่สุดของการปฏิบัติในโลก ท่านผู้ประกอบด้วยวิมุตติ อันเป็นที่สิ้นตัณหา

    ###ย่อมมีจิตหลุดพ้นจากสังขารธรรม เพราะวิญญาณดับสนิท
    เหมือนความดับของประทีป ฉะนั้น ฯ
    """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
    พระสูตร เล่มที่สิบสอง อังคุตตรนิกาย ข้อ 530 หน้าที่ 226-227
    พระไตรปิฎก เล่มที่20 บาลีสยามรัฐ
     
  2. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    จิตหลุดพ้นจากสังขาร เพราะวิญญาณดับสนิท
    จิต วิญญาณจึงไม่ใช่อันเดียวกัน
    ผิดถูกขออภัยค่ะ
     
  3. SegaMegaHyperSuperCyberNeptune

    SegaMegaHyperSuperCyberNeptune "โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านกระทู้ผม"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2011
    โพสต์:
    4,087
    ค่าพลัง:
    +3,394
    จิตคือธรรมชาติรู้ วิญญาณคือธาตรู้
    ผสมกันคือการรู้ถึงการปรุงแต่ง กลายเป็นมโนกรรม
    ระวังกลายเป็นนิมิตนะ แล้วภารกิจอื้อ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2014
  4. where?

    where? เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +883
    จิต คือ อารมณ์ จินตนาการ และความรู้สึกนึกคิด
    วิญญาณ คือ ข้อมูลความรู้ ความทรงจำข้ามชาติ
     
  5. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    จิตเป็นประธาน เป็นใหญ่
    เมื่อวิญญาณดับสนิท นามรูปย่อมดับเช่นกัน
    จิตจึงหลุดพ้น สิ้นตัณหา เข้าถึงนิพพาน
    (มีสติอยู่กับลมหายใจ ไร้ทุกข์)
     
  6. PooPowerZ

    PooPowerZ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +18
    เอาตัวให้รอด...ในการกิน..ขี้..ปี้..นอน..เขาเราเองก่อนนิ..ดุลยภาพสมดุลแล้ว..มันมาเองแหล๊ะ..ไอ้สังขารา..จิตติตัง..วิญาน..เชื่อต๊ะนิ..เอาที่รู้ใกล้ตัวก่อนกันต๊ะ...ขี้..ยังขี้กันไม่เป็นเวลาแล้วนิ..
     
  7. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    กิน ..นอน เดรัจฉานก็ทำได้ แต่มนุษย์มีหน้าที่พัฒนาจิตใจ ให้พ้นทุกข์
    ไม่เสียทีที่ได้เกิดมาเป็นคนพบพุทธศาสนา
     
  8. raming2555

    raming2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,552
    ค่าพลัง:
    +18,998
    วิญญาณ มีสองความหมาย...
    ความหมายแรก คือ ธาตุรู้ประการหนึ่ง เป็นสภาพที่ เมื่อตา(รูปภายใน) เห็นรูป(ภายนอก) เกิดจักขุวิญญาณ คือตัวธาตุรู้นี้ ส่งมายังจิต...หู จมูก ลิ้น กาย ก็จะมีวิญญาณธาตุตัวนี้เหมือนกัน...แต่ตัวรู้นี้ ไม่ใช่ตัวสติ ที่เรามักได้ยินเรียกกันว่าผู้รู้...

    ส่วนวิญญาณในอีกความหมายหนึ่ง คือกายทิพย์ กายใน หรืออาทิสมานย์กาย นี่เป็นอีกความหมายหนึ่ง...

    จิต...เดิมเป็นประภัสสร มีสภาพว่างๆอยู่...ต่อเมื่อจิตเสวยอารมณ์เข้า จึงเกิดการคิดนึกปรุงแต่ง ที่เรียกว่าสังขาร ซึ่งสังขารนี้ก็ยังมีอีกความหมายหนึ่งคือ หมายถึงร่างกาย จิตใจ และรูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น ...เมื่อจิตเสวยอารมณ์แล้วจึงเกิดสภาพไม่ว่างขึ้น บางคนก็เรียกจิตสภาพที่เสวยอารมณ์นี้ว่า เจตสิก ที่ว่ามีถึง 120 แบบ อันที่จริงก็คือจิตเสวยอารมณ์ต่างๆที่แตกต่างกัน แต่ก็เป็นจิตดวงเดียวนี่เอง...

    การที่จิตเห็นจิต ในมหาสติปัฏฐานนั้น เวลาฝึกกันจริงๆ อันนี้ไม่ได้อ้างอิงตำรานะขอรับ..คือสภาวะที่สติเห็นจิตนี้ว่าไม่เที่ยง ... เป็นทุกข์คือทนยาก ทนต่อการไม่เปลี่ยนแปลงสภาพไม่ได้ ในที่สุดจึงเห็นจิตนี้เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรยึดถือว่าเราว่าตัวว่าตนของเรา อาการที่จิตคลายจากการยึดมั่นถือมั่นในจิต จึงสมมติเรียกว่าจิตในจิต...
    อะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ขอยกไว้ไม่อธิบายต่อนะครับ...
     
  9. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    จิต มโน วิญญาน ทำหน้าที่ต่างกันไป และมีความเกี่ยวข้องกัน
    จิตเป็นประธาน เป็นใหญ่
    มโนหรือใจ เป็นอายตนะ ที่รับสัมผัสทางธรรมารมณ์ อารมณ์
    วิญญาณคือธาตรู้ ที่เข้าไปรับรู้ ไปตั้งอาศัย ในผัสสะ(สัมผัส)
    ที่อายตนะ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ

    เป็นความเข้าใจส่วนตัว ผิดถูกขออภัยค่ะ
     
  10. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    มโนคือใจคืออายตนะรู้ คือธรรมชาติรู้คือธรรมธาตุรู้ คือที่รู้นิพพาน
    วิญญาณคือขันธ์ คือสิ่งที่ถูกยึดมั่นถือมั่นว่า มันมีมันเที่ยงเลยยึดมารวมกับขันธ์อื่นๆร่วมอุปทานกันเพื่อสร้างจิตขึ้นมาอีกที จิตในที่นี้คือ รูปหรืออัตตาตัวตนนั่นเองผลของการยึดมั่นถือมั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ธันวาคม 2014
  11. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    ความเห็นส่วนตัวครับ อาจจะเขียนตอบแบบงงๆ

    เพราะจิตเป็นตัวเกิด วิญญาณไม่ใช่ตัวเกิด
    อาจจะเป็นไปได้ว่า
    จิต เดิมๆที่ใส สะอาด ซึ่งเกิดมายังไงก็ไม่รู้ +อวิชชา >ส่งกระแสความคิดความปรุงแต่ง (สังขาร) เป็นปัจจัยให้ เกิดเป็นอาการรับรู้(วิญญาณ) > นามรูปก็ว่ากันไป

    วิญญาณ ไม่รู้จะนิยามว่าอะไรดี ให้ดูไม่ขัดแย้ง
    -ธาตุรู้ ความรับรู้ การรับรู้
    -ความรู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    -การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การรู้สึกทางกาย รู้สึกทางใจ
    -มอง ฟัง ดม ลิ้มรส สัมผัสโผฏฐัพพ รู้ธรรมารมณ์
    ซึ่ง วิญญาณ ต้องอาศัย อายตนะ หรือ สฬายตนะ ทั้งภายใน และ ภายนอก
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ , รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์

    ตา+รูป >ธาตรู้,ความรู้อารมณ์ทางตา หรือแล้วแต่จะนิยาม (จักขุวิญญาณ)

    ถ้า3อย่างรวมกัน ก็เป็น จักษุสัมผัส(ผัสสะ) ความกระทบทางตา,การที่ไปรับรู้สัมผัสทางตา
    แล้วแต่จะนิยามว่าผัสสะคือ สัมผัส การกระทบ การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก ก็ว่าไป

    น่าจะ เหมือนการดม กับ การรับรู้กลิ่น ถือว่าเป็นคนละอย่าง
    หรือ การมองเห็น,การได้กลื่น เป็นคนละอย่าง กับการรับรู้ในสิ่งที่เห็น รับรู้ในสิ่งที่ได้กลื่น หรือเปล่านะ ?


    แล้วไหนจะ ความรู้สึก ความคิด ความจำ เอาเข้าจริงก็ถือว่าเป็นคนละอย่างกัน ทำหน้าที่ต่างกันไปอีก
     
  12. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    ขอบคุณ ความเห็นทุกท่านค่ะ
    จากพุทธพจน์ ก็มีการตีความกันไปคนละแบบ ที่ยังไม่ชัดเจน
    ดังนั้นจึงต้องภาวนา และศึกษา จนเข้าใจด้วยตัวของเราเอง
    บุคคลพ้นทุกข์ได้ด้วยความเพียรค่ะ
    เมื่อใดที่เข้าใจอริยสัจ และปฏิจจสมุปบาทแล้ว
    จึงจะเข้าใจในจิต มโน วิญญาณ ได้เองค่ะ สาธุค่ะ

    ขณะนี้กำลังหายใจเข้า หรือหายใจออก
    มีสติอยู่กับลมหายใจ อย่างต่อเนื่อง
    จะได้ทั้งสมถะและวิปัสสนาไปตามลำดับ สาธุค่ะ
     
  13. เมิล

    เมิล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    421
    ค่าพลัง:
    +3,132
    จิตและวิญญาณขันธ์ ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แต่อยู่ด้วยกัน
    เมื่อดับวิญญาณขันธ์ หรือ อัตตาจิตตัวกูของกู จะเหลือแต่สภาวะรู้บริสุทธิ์
    อาการของวิญญาณ คือ ดู คือการเพ่งเข้าไปจนสภาวะรู้ถูกบดบัง
    จนเมื่อเรียนรู้วิธีการแยกอาการของสองสิ่งนี้ออกจากกัน(แยกดูออกจากรู้)
    ถึงจะเข้าใจว่าจิตไมีใช่วิญญาณ
     
  14. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เพิ่มเติมข้อมูล
     
  15. gratrypa

    gratrypa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2011
    โพสต์:
    1,283
    ค่าพลัง:
    +1,505
    จะตีความให้ชัดเจนก็ได้นะ ถ้าเอาปฏิจจะ เป็นเกณฑ์ กรอบ แกน และแก่น
    เนื้อความตามท่านระมิงค์นั้น ก็ยกมาได้ใกล้เคียงมากพอเปรียบได้แล้ว

    เพราะถ้าจะเอาให้พ้นทุกข์ ก็ต้องยึดปฏิจจะนี้ เป็นแกนสำคัญ กว่าสิ่งอื่น
    ถ้าตัดกระแสปฏิจจะได้ ทุกข์ก็ไม่เกิด วิญญานก็ไม่ทำงาน ใจก็สงบนิ่ง

    ใช้เพียงอาณาปา ปฏิจจะ และอนัตตา
    แค่สามหลักสำคัญนี้ ก็พาไปนิพพานได้แล้วล่ะครับ ขอบอก
    ไม่ต้องสิกขาให้มันมากมายก่ายกอง ปวดหัวเปล่าๆ ๕๕๕

    พุทธะเค้าไม่พูดอะไรยาวๆ ต่อเนื่องกันไปเป็นหลายๆ หน้ากระดาษหรอกครับ
    คนฟังเค้าจะจำไม่ได้ เช่นในมหาสติเป็นต้น แค่อ่านก็เป็นวันแล้ว
    ถ้าพุทธะพูดแล้วใครมันจะจำได้หมด ไอ้ที่ยาวๆ น่ะเติมมาทีหลังทั้งน้านนน


    ลูกนาฬิเกร์ / กระต่ายป่า ข้างวัด

    .
     
  16. rasa84000

    rasa84000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    139
    ค่าพลัง:
    +263
    สาธุ ขอบคุณทุกท่านค่ะ ใครต้องการศึกษาตำรามากๆ ก็ดีแล้ว และต้องภาวนาไปด้วย
    ใครไม่อยากศึกษาตำรามาก อ่านแต่พอให้เข้าใจ ภาวนาอย่างเดียว ตามที่ตนถนัด ก็ดีค่ะ
     
  17. svt

    svt เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2006
    โพสต์:
    235
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ผมมีความเห็นว่า...

    จิต เป็นคำบาลี เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวไม่มีตน หมายถึง สภาพรู้(รูปแบบคือพลังงาน)
    เป็นสภาพรู้ที่เกิดขึ้นมา และดับไปในขณะหนึ่งๆ ติดต่อกันไป
    และสภาพรู้(จิต) ในการเกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเดี่ยวๆ
    แต่มาเป็นคู่ นั่นคือมีเจตสิกเกิดขึ้นมาด้วย นี้คือ องค์ประกอบของจิต.

    วิญญาณ ก็เป็นคำบาลี เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวมีตน (ไม่ใช่ผีวิญญาณอันนั้นขอเรียกว่ากายทิพย์)
    วิญญาณ หมายถึง การรับรู้(รูปแบบก็คือพลังงานเช่นกัน) มีการเกิด-ดับ
    คือ ส่วนที่รับรู้จากนามรูป คือการมองเห็นทางตา, ทางการได้ยินเสียงทางหู ..ทางจมูก, ลิ้น, กาย, ใจ .. นี้หมายถึงรับรู้ทางอายตนะ6

    พลังงานที่ออกมารับรู้นี้นั้น เกิดขึ้นมาจากการปรุงแต่ง(สังขาร) ของเวทนา(เจตสิก) และสัญญา(การจำได้หมายรู้)
    สิ่งที่ถูกรับรู้จะได้รับการแปลความจาก สังขาร(สัญญาและเวทนา)

    มีอวิชชาเป็นเหตุปัจจัย จึงมีสังขาร
    มีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    มีวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    มีนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีอายตนะ
    .. เรียงวนรอบกันไปถึง ชรา มรณะ

    'ปัจจัย'เมื่อเกิดมาแล้ว มันเกิดดับเองตามธรรมชาติ
    แต่เมื่อจะดับ ท่านว่าควรเข้าไปดับที่'เหตุ'แห่งทุกขังคืออวิชชา และตัณหา

    ดังกล่าวมาแล้ว วิญญาณ คือพลังงานในการออกมารับรู้ ที่เกิด-ดับทางอายตนะ
    มีแหล่งกำเนิดภายใน คือ ธาตุรู้ มโนธาตุ ซึ่งทางมหายานเรียก อนาลยวิญญาณ และอนาลยวิญญาณ นี้ทางเถรวาทบางท่านเรียกว่า ภวังคจิต

    การเรียกแยกชนิดกัน หรือการรวมกัน ของคำว่า จิต มโน วิญญาณ ไม่ใช่สิ่งสำคัญในการตีความในเบื้องต้น เป็นเพียงการเรียกชื่อ การแยกจัดหมวดหมู่

    มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและเชื่อมโยงรวมกันสู่การทำงานที่ต่อเนื่องเกิดดับเร็วมาก เหมือนการทอดตัวไหลไปของน้ำ หรือเช่นกรณีแสงไฟฉาย เราไม่แยกว่านั่นคือ โฟตอน นี่เป็นอีเลคตรอน แต่ที่มีเฉพาะหน้าคือ แสงสว่าง .::
     

แชร์หน้านี้

Loading...