@@...การใช้อำนาจด้วยอคติสี่ เป็นการตัดทอนบารมีของตน/วิบากกรรมฯ....@@

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย NAMOBUDDHAYA, 25 พฤศจิกายน 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    .................................

    ในการสร้างความดี สั่งสมบุญ บารมี ในชีวิตจริง

    ย่อมพบ กับอุปสรรค นานาประการ

    ในสภาพสังคมต่างๆ ไมว่า สังคมโลกๆ และสังคมศาสนา


    ....ผู้บำเพ็ญบารมี เมื่อมีอำนาจเอง แล้วเผลอสติ หรือ พบกับ ผู้มีอำนาจที่มีอคติ


    เราควรทำอย่างไร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 เมษายน 2016
  2. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    ในทางโลก เราเห็นผู้มีอำนาจรักษากฏฯ ของสังคมต่างๆ ใช้กิเลส รัก-ชัง
    ความโลภ โกรธ หลง ความเห็นแก่พวกพ้อง ฯลฯ ในการกระทำการ ที่ดูเหมือนจะดูเหมือนว่า
    จะเป็นสิ่งดีงาม น่าเชิดชู ยกย่อง แต่ เบื้องหลังการกระทำ อาจเป็น ไปด้ยวยสาเหตุต่างๆ

    ................ซึ่งทราบดี อยู่แก่ใจ ว่าทำด้วยเหตุผลอะไร.......................


    เเละ สิ่งเหล่านี้ จะส่งผลทางลบ ต่อตนเอง และพวกพ้อง ที่เคยสร้างบารมีทางธรรมมามาก แต่ หลงใช้อำนาจในทางที่ผิดอย่างไร




    รอตอนต่อไปครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤศจิกายน 2014
  3. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    วิบากกรรม ของ การหลงอำนาจ

    สรรพสัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เหมือนดอกไม้ แต่เดิมเราเคยเห็นมันยังเป็นต้นเล็กๆ ไม่นานก็เจริญเติบโตขึ้น แตกใบแผ่กิ่งก้านสาขา ผลิดอกออกช่อให้ความสดชื่นแก่ทุกชีวิต ครั้นไม่นานดอกไม้ที่เคยดูสวยสดงดงามนั้น ก็ต้องเหี่ยวแห้งร่วงโรยไปตามกาลเวลา สังขารร่างกายของเราก็เช่นเดียวกัน ถูกความแก่ ความเจ็บ ความตายคืบคลานเข้ามาในชีวิตเรา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกอนุวินาที โดยที่ตัวเราเองสังเกตไม่ออก เมื่อเวลาผ่านไป ๑๐ ปี ๒๐ ปี ๖๐ ปี จึงจะรู้สึกตัวว่าสังขารของเราเสื่อมลง เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องไปสู่ความเสื่อมสลาย ดังนั้นเราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต

    มีพระบาลีที่กล่าวไว้ใน มัจฉริยสูตร ว่า

    “คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว ดีแต่ว่าคนอื่น ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้ทานอยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก คนพาลเหล่านั้นประสงค์สิ่งใดจากผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังไปทุคติอีกด้วย”

    พิจารณาดูเถิด เราเกิดมาแต่ละชาติเราไม่ได้นำอะไรติดตัวมาเลย มีแต่บุญและบาปเท่านั้นที่ติดตัวเรามา

    * ดังเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในสมัยอดีต มีพระราชาทรงพระนามว่าปิงคละ ในสุรัฏฐประเทศ ได้เสด็จไปเฝ้าพระเจ้าโมริยธรรมาโศกพร้อมด้วยข้าราชบริพาร เสด็จมาถึงที่มีเปีอกตม ช่วงขณะเวลาเที่ยงวันซึ่งเป็นเวลาที่อากาศร้อน ขณะกำลังเดินทางเสด็จกลับ ทอดพระเนตรเห็นหนทางน่ารื่นรมย์ ซึ่งเป็นหนทางที่เปรตเนรมิตเอาไว้ จึงตรัสบอกนายสารถีว่า “ทางนี้น่าร่มรื่น ทั้งยังปลอดภัย พวกเราไปทางนี้กันเถิด” ในขณะที่เข้าไปใช้เส้นทางนั้น ทุกคนต่างสังเกตว่า แม้จะเดินทางมาไกลแล้ว ก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะพบทางออกกันสักที หนทางก็ดูยิ่งน่ากลัวขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากดินแดนที่ย่างกรายเข้ามานั้น เป็นดินแดนของเปรตนั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้มีบุรุษคนหนึ่งกราบทูลว่า “พวกเราเดินมาผิดทางเสียแล้วพระเจ้าข้า เพราะหนทางปรากฏเฉพาะข้างหน้า แต่ข้างหลังไม่เห็นมีอะไรเลย พวกเราคงเดินเข้ามายังดินแดนของพวกอมนุษย์เป็นแน่แล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ยินเสียงพิลึกน่าสะพรึงกลัวใกล้เข้ามาเรื่อยๆ”

    พระราชาเมื่อสดับอย่างนั้น จึงให้เหล่าข้าราชบริพารเตรียมป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ส่วนพระองค์เสด็จเข้าไปพักแรมที่ใต้ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ทอดพระเนตรเห็นขันน้ำที่มีน้ำเต็มพร้อมกับขนมหวานดูมีรสน่าอร่อย และยังทอดพระเนตรเห็นคนคล้ายเทวดา ประดับประดาด้วยเครื่องอาภรณ์สวยงามตรงเข้ามาหาพระองค์แล้วกราบทูลว่า “ข้าแต่มหาราช พระองค์เสด็จมาดีแล้ว พระองค์ไม่ได้เสด็จมาร้าย ขอเชิญพระองค์เสวยน้ำและขนมนี้เถิดพระเจ้าข้า” เมื่อสดับอย่างนั้น พระราชาพร้อมทั้งข้าราชบริพาร ต่างพากันดื่มน้ำและรับประทานขนมนั้นจนหมด จากนั้นจึงตรัสถามว่า “ท่านเป็นใคร เป็นเทพหรือเป็นคนธรรพ์ ทำไมถึงช่วยเหลือพวกเรา”

    อมนุษย์นั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์ไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ข้าพระองค์เป็นเปรต ขอพระองค์ทรงทราบประวัติของข้าพระองค์เถิด เมื่อก่อนข้าพระองค์ เป็นนันทกเสนาบดีของพระองค์เอง เป็นคนใจบาป เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล มีความตระหนี่ ชอบบริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ห้ามปรามมหาชนที่พากันทำบุญให้ทานว่า ผลแห่งทานไม่มี ผลแห่งการสำรวมไม่มี อาจารย์ไม่มี สัตว์ทั้งหลายเป็นสัตว์เสมอกัน การเคารพอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลไม่มี กำลังแห่งความเพียรไม่มี ความพากเพียรของบุรุษจักมีแต่ที่ไหน ทานและศีลไม่ทำให้มนุษย์หมดจดได้ โลกอื่นจากโลกนี้ก็ไม่มี ทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พลีกรรมไม่มีผล แม้ทานอันบุคคลตั้งไว้ดีแล้วก็ไม่มีผล แล้วยังทำร้ายหมู่ชนที่กำลังให้ทานอีกด้วย

    ด้วยกรรมนั้นอีก ๖ เดือนจากนี้ไป ข้าพระองค์จะต้องตายเข้าสู่นรกอันเผ็ดร้อน มีแต่ความทุกข์ทรมาน นรกนั้นมี ๔ เหลี่ยม ๔ ประตู จำแนกออกเป็นส่วนๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นนรกนั้นเป็นเหล็กแดง เปลวเพลิงลุกโชติช่วงแผ่กว้างออกไปร้อยโยชน์ติดอยู่ตลอดเวลา

    ล่วงไปได้แสนปี ข้าพระองค์จึงจะได้ยินเสียงในนรกนั้นว่า เพื่อนยาก พวกเราไหม้อยู่ในนรกนี้ได้แสนปีแล้ว ข้าแต่มหาราช แสนโกฏิปีเป็นกำหนดอายุของสัตว์นรกผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นคนทุศีล ติเตียนพระอริยเจ้าทั้งหลาย แม้ข้าพระองค์เองก็จะไปเสวยทุกขเวทนาอยู่ในนรกนั้นตลอดกาลนาน นี้เป็นผลแห่งกรรมชั่วของข้าพระองค์ เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงเศร้าโศกนัก ข้าแต่มหาราช ธิดาของข้าพระองค์ชื่ออุตตรา นางทำแต่ความดี รักษาศีลอยู่เป็นนิตย์และอุโบสถศีล ยินดีในทานจำแนกแจกทาน รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่ เป็นสะใภ้อยู่ในตระกูลอื่น เป็นอุบาสิกาของพระศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ

    นางอุตตราเห็นภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปบิณฑบาตในบ้าน จึงถวายน้ำขันหนึ่งและขนมมีรสหวานอร่อย แล้วอุทิศส่วนกุศลให้ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอผลทานที่ดิฉันถวายนี้ จงพลันสำเร็จแก่บิดาของดิฉันที่ตายไปแล้วด้วยเถิด ในทันใดนั้น ผลแห่งการถวายทานของนางนั้นก็บังเกิดมีแก่ข้าพระองค์ ทำให้ข้าพระองค์ได้เสวยสุขประดุจท้าวเวสวัณมหาราช แต่จะเสวยทิพยสมบัตินี้ได้ไม่นาน

    ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเถิด ชนทั้งหลายย่อมบรรลุอมตบทด้วยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ ใด ขอพระองค์จงถึงพระธรรมนั้นเป็นสรณะเถิด พระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติอยู่ในมรรค ๔ จำพวก และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ จำพวกเหล่านี้ เป็นพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ประกอบด้วยปัญญาและศีล ขอพระองค์พร้อมทั้งพระโอรสและพระอัครมเหสี จงถึงพระสงฆ์นั้นเป็นสรณะเถิด ขอพระองค์จงงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ทรงยินดีด้วยพระมเหสีของพระองค์ ไม่ตรัสเท็จ ไม่ทรงดื่มน้ำจัณฑ์เถิด"

    พระราชาทรงสดับเช่นนั้น ทรงสลดสังเวชพระทัย จึงตรัสกับเปรตตนนั้นว่า “ดูก่อนนันทกเสนาบดี ท่านเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแก่เรา ปรารถนาประโยชน์เกื้อกูลแก่เรา เราจักทำตามคำของท่าน ท่านเป็นอาจารย์ของเรา เราจักถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์อันยอดเยี่ยมกว่าเทวดาและมนุษย์ว่าเป็นสรณะ เราจะงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ จะยินดีด้วยภรรยาของตน จะไม่พูดเท็จ จะไม่ดื่มน้ำเมา เราจะคลายความเห็นอันชั่วช้า เหมือนโปรยแกลบลอยไปในลมอันแรง เหมือนทิ้งหญ้าและใบไม้ลอยไปในแม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวฉะนั้น จักเป็นผู้มั่นคงในพระรัตนตรัยไม่เสื่อมคลาย”

    เมื่อเปรตกราบทูลพระเจ้าปิงคละเรียบร้อยแล้ว ชี้ทางออกจากป่าใหญ่ ให้ทุกท่านเดินทางกลับเมืองโดยสวัสดิภาพ จากนั้นก็อันตรธานหายไป เมื่อเสด็จกลับถึงพระนครแล้ว ได้ทรงนึกทบทวนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานั้นทั้งหมด แล้วตั้งพระทัยมั่นในการงดเว้นจากความเห็นผิด ทรงสมาทานศีลห้า อีกทั้งยังทรงแนะนำพสกนิกร ให้ดำรงอยู่ในศีลห้าอีกด้วย เมื่อละโลกไปแล้ว พาไปบังเกิดในสวรรค์กันอย่างมากมาย

    จากเรื่องนี้ จะเห็นว่า การทำบาปอกุศลบนโลกมนุษย์นี้แม้เพียงไม่กี่ปี แต่วิบากกรรมนั้นเป็นผลอันเผ็ดร้อน มันยาวนานเป็นแสนเป็นล้านปี สิ่งใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นบุญหรือบาปที่ได้ประกอบเอาไว้ ในช่วงที่เราได้อัตภาพเป็นมนุษย์อยู่นี้ ย่อมตามส่งผลทั้งนั้นไม่ช้าก็เร็ว ผลของบาปนั้นเผ็ดร้อนแสนทรมานยิ่งนัก กว่าจะทราบว่าได้ทำบาปอกุศลซึ่งเป็นโทษมหันต์ กว่าจะไปรับใช้กรรมในนรก แล้วได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์มาเริ่มต้นสร้างบุญกันใหม่ก็ต้องรอไปอีกยาวนาน





    <iframe width="1" height="1" src="//www.youtube.com/embed/iwbmEGYBKkE?rel=0&autoplay=1&amp;showinfo=0" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2014
  4. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    “คนเหล่าใดในโลกนี้ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว ดีแต่ว่าคนอื่น ทำการกีดขวางคนเหล่าอื่นผู้ให้ทานอยู่ คนเหล่านั้นย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือยมโลก ถ้าหากถึงความเป็นมนุษย์ ก็เกิดในสกุลคนยากจน ซึ่งจะหาท่อนผ้า อาหาร ความร่าเริงและความสนุกสนานได้โดยยาก คนพาลเหล่านั้นประสงค์สิ่งใดจากผู้อื่น เขาย่อมไม่ได้แม้สิ่งนั้นสมความปรารถนา นั่นเป็นผลในภพนี้ และภพหน้าก็ยังไปทุคติอีกด้วย”
     
  5. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    คนพาล ไม่ต้องการเหตุผล

    <IFRAME height=480 src="//www.youtube.com/embed/eTUJ-w30sMA?&autoplay=&rel=0&showinfo=0" frameBorder=0 width=853 allowfullscreen></IFRAME>

    ....................................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 พฤศจิกายน 2014
  6. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 ธันวาคม 2014
  7. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    มีอำนาจ แล้วระเริง เหลิง....ลืมสติ

    จิตมีอคติ ชี้ดีชั่ว มัวเมาหลง

    ผยองกล้า ท้าทายกรรม ที่เที่ยงตรง

    เพียงความตาย คงไม่สม กับผลกรรม

    สรวมหน้ากาก แห่งธรรมะ คละดี-ชั่ว



    ด้วยเมามัว ในสักกา- ยะทิฐิ

    ยามวิบาก ย้อนมา ด้วยฤทธิ

    ผลกรรมผลิ เป็นวิบากกล้า ล้าจะทน

    อิทธิฤทธิ์ หรือ่จะสู้ บุญฤทธิ์

    บุญฤทธิ์ ก็เกินกล้า ท้ากรรมใหญ่

    ก่อนจะตาย ไม่อโหสิ ก็ต้องชดใช้

    ทำอะไร ก็ควรกรอง ตรองก่อนจะทำ
     
  9. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    บุพกรรมของพระพุทธเจ้า ที่ทำมาจากสมัยยังไม่ตรัสรู้

    พระพุทธเจ้าทรงเล่าบุพกรรมของพระองค์ ในพระชาติต่าง ๆ ๑๔ ชาติ ทรงเริ่มพระชาติแรกที่ทรงปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า และได้ถวายท่อนผ้าเก่าผืนหนึ่งแก่พระผู้อยู่ป่าเป็นวัตร
    ผลแห่งทานนี้ได้เกิดแก่พระองค์ การที่ทรงเล่าบุพกรรมทั้งฝ่ายกุศลและฝ่ายอกุศลนี้ ก็เพื่อเป็นตัวอย่างว่า พระองค์เมื่อยังเป็นปุถุชน ก็ได้ทำดีและทำชั่วมาแล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นบทเรียนแก่พวกเรา ดังที่ตรัสไว้ตอนหนึ่งในพุทธาปทาน มีใจความว่า
    เมื่อเห็นความเกียจคร้านเป็นภัย เห็นความเพียรเป็นความปลอดภัย ก็จงปรารภความเพียรเถิด นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    อนึ่ง เรื่องบุพกรรมเล่มนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงกรรมและผลของกรรมที่แต่ละคนได้ทำไว้ ในเรื่องบุญและบาป ที่มักพูดกันว่า ด้วยอำนาจบาปที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบาปส่งผลให้ไปเกิดในอบายภูมิทั้ง ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย และกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
    ด้วยอำนาจบุญกุศลที่ได้กระทำไว้ในชาตินี้ จะกลายเป็นแรงบุญส่งผลให้ไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ในชาติหน้าหรือชาติต่อ ๆ ไป
    ผลกรรมที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนดีที่นิยมเรียกว่าบุญ หรือส่วนชั่วที่นิยมเรียกกันว่าบาป ย่อมทำหน้าที่ในการตามให้ผลอย่างเที่ยงตรงและต่อเนื่อง โดยไม่มีอำนาจอื่นใดจะมาเบี่ยงเบนให้เป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนจะตามให้ผลทันตาเห็นในชาตินี้ หรือตามให้ผลในชาติต่อๆไปนั่น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
    ค่านิยมในสังคมปัจจุบันนี้ มีอะไรหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไปมาก บุคคลส่วนใหญ่ไม่ค่อยคำนึงถึงบาปบุญคุณโทษกันเท่าไรนัก จนบางครั้งถึงกับมีการพูดว่า ถ้ามัวแต่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ ก็ไม่ต้องไปทำมาหากินอะไรกันหรอก มีหวังอดตายกันหมด หรือเรื่องบาปบุญคุณโทษเป็นเพียงนิทานหลอกเด็ก ประกอบกับคนทำความชั่วบางคนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญ และได้รับการยกย่องนานัปการว่าเป็นผู้มีเกียรติ เป็นผู้ทำคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพียงแค่การบริจาคเงินให้แก่องค์กรสาธารณกุศลเพียงเล็กน้อย เป็นต้นตัวอย่างที่เห็นกันอยู่นี้เองทำให้คนอีกเป็นจำนวนมากเกิดความรู้สึกสับสน หรือให้ความสำคัญเรื่องบาปบุญคุณโทษน้อยไปได้
    ความจริง เรื่องบาปบุญคุณโทษมิใช่เป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ เพียงแต่ว่าคนที่ทำความดีและความชั่วยังมิได้ประสบผลของมันโดยตรง จึงทำให้บุคคลอีกส่วนหนึ่งเกิดความเข้าใจสับสนไป แต่เมื่อใดที่ผลของความดีและความชั่วให้ผลโดยตรงแล้วนั่นแหละ บุคคลนั้น ๆ จึงจะยอมรับว่า บาปบุญคุณโทษนั้นมีจริง และให้ผลตามที่แต่ละบุคคลได้ทำไว้ทุกประการ ดังตัวอย่าง เรื่อง บุพกรรมของพระพุทธองค์
    ท่านพระอานนทเถระ เมื่อจะประกาศประวัติอดีตชาติของพระพุทธเจ้าว่าด้วยบุพกรรมเก่า จึงกล่าวว่า
    ณ พื้นศิลาที่น่ารื่นรมย์ ใกล้สระอโนดาตโชติช่วงด้วยรัตนะต่าง ๆ ในละแวกป่า มีดอกไม้มีกลิ่นหอมนานาชนิด พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้นำสัตว์โลก มีหมู่ภิกษุหมู่ใหญ่ห้อมล้อม ประทับนั่งที่ศิลาอาสน์นั้น ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์ว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังบุพกรรมของเรา ดังต่อไปนี้

    ๑. เรื่อง ถวายผ้าไว้ในอดีต จึงได้รับผลบุญ
    คราวหนึ่ง ขณะที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เรา เมื่อครั้งเสวยพระชาติเป็นพราหมณ์ เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร จึงได้ถวายผ้าเก่าผืนหนึ่ง ในกาลนั้น ข้าพเจ้าปรารถนาการตรัสรู้ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งแรก ผลของการถวายผ้าเก่าให้ผลในความเป็นพระพุทธเจ้า
    เรื่องนี้ มีกล่าวอธิบายขยายความไว้ว่า หลังจากที่พระสิทธัตถโพธิสัตว์ได้เจริญในศากยสกุล มีถิ่นกำเนิดชื่อว่ากรุงกบิลพัสดุ์ พระบิดามีพระนามว่า
    สุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลัง มีชื่อว่า สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่า ราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตายและสมณะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจ กลางคืนได้เสด็จทรงม้ากัณฐกะ พร้อมกับนายฉันนะ แล้วเสด็จถึงแม่น้ำอโนมานที รับสั่งให้นายฉันนะนำม้าและเครื่องทรงกลับ แล้วพระองค์ก็ตัดพระโมลีแล้ว ตั้งสัจจะอธิษฐานโยนไปในอากาศว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานทีแล้ว ก็ดำริอีกว่า ผ้าของชาวกาสีอย่างดีเหล่านี้ ไม่สมควรแก่ความเป็นสมณะของเรา ในทันใดนั้นเอง สหายเก่าเมื่อครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ซึ่งไปเกิดเป็นพรหมชื่อว่า ฆฏิการมหาพรหม ช่วงระยะพุทธันดรหนึ่ง ไม่ถึงความพินาศเลย (คือดำรงอยู่ในชั้นพรหมโลกตลอด) เพราะเคยเป็นเพื่อนกัน จึงคิดว่า วันนี้ สหายเก่าของเราจะบวช เราจะถือสมณบริขาร ๘ อย่างกล่าวคือ ไตรจีวร บาตร มีดน้อย เข็ม ประคดเอว และผ้ากรองน้ำไป เพื่อสหายเก่าของเรานั้นดีกว่า ครั้นแล้ว ก็นำสมณบริขารทั้ง ๘ อย่างนั้น มาถวายด้วยตนเอง พระโพธิสัตว์ก็รับแล้วครองผ้าที่เป็นธงชัยแห่งพระอรหันต์อธิษฐานเพศนักบวชผู้อุดม

    ๒. เรื่อง ห้ามผู้อื่นดื่มน้ำ ทำให้ต้องอดน้ำ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาต ได้ตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ชาติปางก่อน เรา เมื่อครั้งเกิดเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง ได้เห็นแม่โคกำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมันไว้ไม่ให้ดื่ม ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตามความปรารถนา
    มีเรื่องกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ก่อนที่พระผู้มีพระภาคจะปรินิพพานหลังจากเสวยพระกระยาหารที่นายจุนทกัมมารบุตรจัดถวายแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต(ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด) ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัส(กระหายน้ำอย่างมาก) แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาไว้ ตรัสชวนท่านพระอานนท์ ออกเดินทางต่อไปยังกรุงกุสินารา ระหว่างทางทรงหยุดพักและรับสั่งให้พระเถระนำน้ำดื่มมาถวาย แต่พระอานนท์กราบทูลว่า น้ำในแม่น้ำตรงนั้น มีน้ำน้อยและถูกกองเกวียน ๕๐๐ เล่มเหยียบย่ำไปก่อนหน้านั้นแล้วก็ไม่ไปตักมาถวาย จนพระองค์ต้องรับสั่งในครั้งที่ ๓ พระอานนท์จึงไปตักน้ำนำมาถวายให้พระองค์ได้ทรงดื่ม และน้ำที่พระอานนท์ไปตักนั้น กลับเป็นน้ำใสสะอาด น่าอัศจรรย์ใจมาก

    ๓. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ต้องตกนรก
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ใกล้สระอโนดาด ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติปางก่อน เราได้เคยเกิดเป็นนักเลงชื่อว่าปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้ามีนามว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร ด้วยผลกรรมนั้นเราจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน เสวยทุกขเวทนาหลายพันปี ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น ในภพสุดท้ายนี้ เราจึงได้รับการกล่าวตู่เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้อธิบายไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก เป็นเหตุให้พวกเดียรถีย์ทั้งหลายอับเฉาสิ้นลาภสักการะไปตาม ๆ กัน ไม่ผิดอะไรกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น วันหนึ่ง พวกเดียรถีย์ได้ปรึกษากันหาทางจะทำลายลาภสักการะของพระพุทธเจ้า เพื่อจะทำให้ตนได้ลาภสักการะ ดังที่เคยเป็น จึงขอแรงนางสุนทรีปริพาชิกาผู้มีรูปงามให้ไปทำลายพระพุทธเจ้า โดยให้ไปใส่ความว่าประพฤติร่วมประเพณีกับพระพุทธเจ้า
    นางสุนทรีทำเช่นนั้นอยู่ ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ก็จ้างพวกนักเลงให้ไปฆ่านางสุนทรี แล้ว หมกไว้ที่ระหว่างกองขยะดอกไม้ใกล้พระคันธกุฎี พวกนักเลงได้ทำตามสั่งทุกประการ เอาละคราวนี้ พวกเดียรถีย์ก็แกล้งโจษจันหานางสุนทรี กราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชารับสั่งให้ค้นหาจนทั่ว จึงได้ไปพบศพนางที่กองขณะดอกไม้ พวกเดียรถีย์จึงยกศพนางขึ้นเตียงแล้วหามเข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า สาวกของพระพุทธเจ้าฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองขยะดอกไม้ด้วยคิดว่า เราจักปกปิดกรรมชั่วที่พระพุทธเจ้าได้ทำไว้
    พระราชาได้ให้ป่าวร้องไปทั่วพระนคร พวกเดียรถีย์ได้เที่ยวป่าวร้องด่าพวกภิกษุในภายในและภายนอกพระนคร แม้กระทั่งในป่า ภิกษุได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเธอจงกลับโจทมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ แล้วตรัสคาถาเหล่านี้ว่า คนที่ชอบพูดเท็จ หรือคนที่ทำความชั่วแล้วกล่าวว่า “ฉันไม่ได้ทำ” ต่างก็ตกนรก คน ๒ จำพวกนั้น ต่างก็มีกรรมชั่ว มีกรรมเลวทราม ตายไปแล้ว มีคติเท่าเทียมกันในโลกหน้า
    พระราชาได้ส่งตำรวจไปสืบสวนเรื่องนั้น บังเอิญว่า วันนั้น พวกนักเลงผู้ฆ่านางสุนทรี กำลังเมาสุราทะเลาะกันอยู่ในร้านสุราแห่งหนึ่ง พูดพาดพิงไปถึงนางสุนทรีว่าตนเองเป็นผู้ฆ่านางสุนทรีเอง พวกตำรวจจึงจับกุมตัวไปถวายพระราชา พระราชาได้ตรัสถาม ทราบความจริงว่า เดียรถีย์จ้างให้ฆ่านางสุนทรี จึงรับสั่งให้เรียกพวกเดียรถีย์มาแล้วทรงบังคับให้ไปเที่ยวป่าวร้องบอกแก่ชาวพระนครว่า นางสุนทรีนี้พวกข้าพเจ้าประสงค์จะสาดโคลนใส่พระพุทธเจ้าให้ฆ่านางแล้ว โทษของพระสาวกของพระพุทธเจ้าไม่มี เป็นโทษของพวกข้าพเจ้าฝ่ายเดียว พวกเดียรถีย์ได้ทำอย่างนั้นแล้ว คลายความสงสัยของมหาชนผู้โง่เขลาเสียได้ ต่อมา เดียรถีย์เหล่านั้น พร้อมด้วยพวกนักเลง ก็ถูกตัดสินประหารชีวิตฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา ตั้งแต่นั้นมา ลาภสักการะของพระพุทธเจ้าก็เจริญรุ่งเรืองตามเดิม
    ๔. เรื่อง กล่าวตู่พระอรหันต์ ทำให้ตกนรกถึงแสนปี
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๔ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า เราเมื่อครั้นเกิดเป็นนักเลงหัวไม้ เป็นอันธพาล เพราะการกล่าวตู่พระนันทเถระ ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เราจึงเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ถึง ๑๐๐,๐๐๐ ปี ครั้นได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็ได้รับการกล่าวตู่มาก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่นั้น นางจิญจมาณวิกาจึงมากล่าวตู่เรา ด้วยคำไม่จริงท่ามกลางหมู่ชน
    มีเรื่องกล่าวไว้ว่า สมัยนั้น ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ฝ่ายพวกเดียรถีย์ลดน้อยลง ราวกับแสงหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น พวกเดียรถีย์จึงประชุมตกลงกัน ออกอุบายให้นางจิญจมาณวิกาปริพพาชิกา ผู้มีรูปงามคนหนึ่งทำลายพระพุทธเจ้า นางจิญจมาณวิกาได้ทำทีเป็นเดินเข้า-ออกในเวลาเช้าตรู่และเวลาเย็น ทำให้พวกอุบาสกผู้ไปฟังธรรมสงสัย นางบอกว่า ได้อยู่ร่วมในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ยิ่งทำให้คนพวกนั้นสงสัยขึ้นอีก
    ต่อมา นางได้เอาผ้าพันท้อง ทำเป็นคล้ายคนมีท้องได้ ๘-๙ เดือนจวนจะคลอด เมื่อพระพุทธเจ้ากำลังประทับนั่งแสดงธรรมอยู่บนธรรมาสน์นั่นเองได้ไปสู่ธรรมสภา ทูลพระองค์ว่า มหาสมณะ พระองค์ดีแต่พูดเท่านั้น เสียงพระองค์ไพเราะ พระโอษฐ์ของพระองค์สนิท ส่วนหม่อมฉันอาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว พระองค์ไม่ทรงทราบที่คลอดของหม่อมฉัน ไม่ทรงทราบเครื่องบริหารครรภ์แก่หม่อมฉัน เมื่อไม่ทรงทำเอง ก็ไม่ตรัสบอกพระเจ้าโกศล อนาถบิณฑิกเศรษฐี หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา คนใดคนหนึ่ง แล้วด่าพระพุทธเจ้าต่าง ๆ นานาในท่ามกลางบริษัท
    ฝ่ายท้าวสักกะ เมื่อเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น จึงสั่งให้เทพบุตร ๒ องค์โดยให้แปลงเป็นหนู และแปลงเป็นลม มาทำลายพิธีของนาง กัดเชือกที่ผูกท่อนไม้ไว้ และลมพัดเลิกผ้าห่มขึ้น ไม้กลมพลัดตกลงบนหลังเท้าของนาง ปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างแตก มนุษย์ทั้งหลายก็พูดว่า นางกาฬกัณณี เจ้าด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถ่มเขฬะลงบนศีรษะ ขับออกจากวิหาร นางวิ่งเตลิดเปิดเปิงไป พอล่วงคลองพระจักษุของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ก็ถูกแผ่นดินสูบตกไปเกิดในอเวจีมหานรก ลาภสักการะของพวกเดียรถีย์เสื่อมลงอีก แต่ของพระทศพลยิ่งเจริญขึ้น

    ๕. เรื่อง กล่าวว่าร้ายผู้ทรงศีล จึงทำให้ถูกใส่ร้าย
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๕ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    เราเกิดเป็นพราหมณ์ ผู้มีสุตะ มีประชาชนสักการะบูชา ได้สอนมนตร์ให้มาณพประมาณ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่ ได้เห็นฤาษีผู้น่าเกรงกลัว ผู้ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก มายังสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษี ผู้ไม่ประทุษร้ายใคร โดยบอกลูกศิษย์ว่า ฤาษีผู้นี้มักบริโภคกามคุณ เพียงเราบอกเท่านั้น พวกมาณพก็พลอยเชื่อ ตั้งแต่นั้นมา ครั้นไปเที่ยวหาอาหารในตระกูลทั้งหลาย พากันบอกประชาชนว่า ฤาษีตนนี้มักบริโภคกามคุณ ด้วยผลกรรมนั้น ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับการกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรี เป็นเหตุ
    มีเรื่องกล่าวไว้ว่า พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระพุทธเจ้าผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนครได้ด่าบริภาษด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า เจ้าเป็นโจร เป็นคนพาล เป็นคนหลง เป็นอูฐ เป็นโค เป็นฬา เป็นสัตว์นรก เป็นสัตว์ดิรัจฉาน ไม่มีหวังจะได้สุคติ ทุคติเท่านั้น ที่เจ้าควรหวัง
    ท่านพระอานนท์สดับคำนั้นแล้วได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกชาวเมืองได้ด่าบริภาษพวกเรา พวกเราจะไปที่อื่นจากเมืองนี้เถิด พระพุทธเจ้าตรัสถามว่า จะไปที่ไหน เมื่อถูกด่าที่นั่นอีก จะทำอย่างไร พระอานนท์กราบทูลว่า จะไปเมืองอื่นอีก เมื่อถูกด่าที่นั่นอีกก็หนีไปเรื่อย ๆ พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า การทำอย่างนั้น ไม่สมควร เมื่ออธิกรณ์เกิดขึ้นในที่ใด ต้องสงบในที่นั้นเสียก่อน จึงสมควรไปที่อื่น แล้วตรัสถามต่อไปว่า พวกไหนเล่าด่าพวกเรา
    อานนท์กราบทูลว่า คนทั้งหมดกระทั่งทาสและกรรมกรก็พากันด่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า อานนท์ เราเป็นเหมือนกับช้างที่เข้าสู่สงคราม การอดทนต่อคำพูดของคนไม่มีศีล มีจำนวนมากเป็นภาระของเรา เช่นเดียวกันกับการอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจกทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม
    ๖. เรื่อง ทรัพย์เป็นเหตุ ทำให้พี่ฆ่าน้อง
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๖ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราได้ฆ่าน้องชายต่างมารดา เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับโยนลงซอกภูเขาแล้วโยนหินทับไว้ ด้วยผลกรรมนั้น พระเทวทัตจึงผลักก้อนหินกลิ้งลงมา สะเก็ดหินกระทบนิ้วหัวแม่เท้าของเราจนห้อเลือด
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ครั้งที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงโกสัมพี พระเทวทัตถูกความมักใหญ่ครอบงำจิต ชักจูงให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสในฤทธิ์ของตน คิดจะขอพระพุทธเจ้าปกครองภิกษุสงฆ์ พระเทวทัตได้เสื่อมจากฤทธิ์ พร้อมกับความคิดนั้น ต่อมา ถูกสงฆ์ทำปกาสนียกรรม จึงไปยุยงให้อชาตศัตรูกุมารปลงพระชนม์พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นชนก ส่วนตนเองได้ส่งคนไปลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค แต่คนเหล่านั้นกลับเลื่อมใสในพระองค์ ได้ฟังอนุปุพพีกถาสำเร็จโสดาปัตติผลทุกคน สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมอยู่ ณ ที่ร่มเงาภูเขาคิชฌกูฏ ทีนั้น พระเทวทัตขึ้นภูเขาคิชฌกูฏกลิ้งศิลาก้อนใหญ่ ด้วยหมายใจว่า เราจะปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคด้วยก้อนศิลา ยอดภูเขา ๒ ข้างมาบรรจบกันรับศิลาก้อนนั้นไว้ สะเก็ดศิลากระเด็นจากก้อนศิลานั้นไปกระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคจนพระโลหิตห้อขึ้น ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแหงนพระพักตร์ ได้ตรัสว่า โมฆบุรุษ เธอสั่งสมสิ่งที่มิใช่บุญไว้มากที่มีจิตคิดร้าย คิดฆ่าทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ แล้วตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า เทวทัตทำโลหิตของตถาคตให้ห้อ ได้ทำอนันตริยกรรมแล้ว
    ๗. เรื่อง เคยแกล้งพระไว้ จึงได้รับการแกล้งตอบ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๗ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เรายังเป็นเด็กเล่นอยู่ที่หนทางใหญ่ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ากำลังเดินทางมา ณ ทางนั้น จึงได้หว่านก้อนกรวดไว้ที่หนทาง ด้วยผลกรรมนั้น ในภพสุดท้ายนี้ พระเทวทัต จึงชักชวนนักแม่นธนู ผู้เป็นนักฆ่า เพื่อฆ่าเรา
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า ณ กรุงราชคฤห์ หลังจากพระเทวทัตไปถวายพระพรให้พระเจ้าอชาตศัตรูกุมารส่งราชบุรุษไปปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าแล้ว ต่อมา พระเทวทัตก็สั่งบุรุษคนหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่โน้น ท่านจงไปปลงพระชนม์พระองค์แล้วกลับมาทางนี้ แล้วซุ่มบุรุษไว้ริมทาง ๒ คนด้วยสั่งว่า พวกท่านจงฆ่าคนที่เดินมาทางนี้ เพียงลำพังแล้วมาทางนี้ ซุ่มบุรุษไว้ริมทางอีก ๔, ๘, ๑๖ คน ด้วยสั่งว่า พวกท่านจงฆ่าคนพวกนี้ ที่เดินมาทางนี้ ๆ ต่อมา บุรุษคนหนึ่งนั้น ถือดาบและโล่ห์สะพายธนูเข้าหาประชิดตัวพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วก็ยืนกลัวจนตัวแข็งทื่อไม่ห่างจากพระผู้มีพระภาค
    พระองค์จึงตรัสว่า อย่ากลัวเลย พอบุรุษนั้นได้ฟังพระดำรัสเช่นนั้นแล้ว ได้วางดาบและโล่ห์ ปลดธนูวางไว้ แล้วซบศีรษะแทบพระยุคลบาทกราบทูลว่า กระผมทำความผิดเพราะความโง่เขลา ที่มีจิตคิดประทุษร้ายคิดจะปลงพระชนม์จึงเข้ามาที่นี้ ขอพระองค์โปรดประทานอภัยโทษแก่กระผม เพื่อความสำรวมต่อไป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ไม่เป็นไร การที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้อง นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย แล้วตรัสอนุปุพพีกถาให้บุรุษนั้นฟัง จนบุรุษได้บรรลุเป็นโสดาบัน แล้วตรัสกับบุรุษนั้นว่า ท่านอย่าไปทางนั้น จงไปทางนี้ แล้วส่งเขาไปทางอื่น
    ต่อมาบุรุษอีก ๒ คนปรึกษากันว่า ทำไม บุรุษคนนั้น จึงมาชักช้านักแล้วเดินสวนทางไป ได้พบพระผู้มีพระภาค ณ ควงไม้แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปสนทนาด้วย พระผู้มีพระภาคได้แสดงธรรมให้ฟังจนบุรุษทั้ง๒ ได้บรรลุเป็นโสดาบัน แม้บุรุษ ๔, ๘ และ ๑๖ ก็มีนัยเดียวกันแล ต่อมา บุรุษคนแรกนั้น ได้ไปหาพระเทวทัตแล้วพูดว่า กระผมไม่สามารถปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคได้ พระองค์มีฤทธิ์มาก พอพระเทวทัตได้ฟังเช่นนั้นพูดตัดบทว่า ไม่เป็นไร ท่านอย่าได้ฆ่าเลย เราจะลงมือปลงพระชนม์พระพุทธเจ้าเอง
    ๘. เรื่อง ควาญช้างไสช้างไล่พระ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๘ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นนายควาญช้าง ได้ไสช้างไล่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เป็นพระมุนีสูงสุด ที่กำลังเที่ยวบิณฑบาต ด้วยผลกรรมนั้น ช้างนาฬาคีรีเชือกดุร้าย จึงวิ่งไล่เราในกรุงราชคฤห์อันประเสริฐ
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกว่า หลังจากที่พระเทวทัตลอบปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาคหลายครั้งแล้ว แต่ไม่สำเร็จเลย ก็หาได้หยุดการกระทำเช่นนั้นไม่ สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีช้างชื่อนาฬาคีรีดุร้าย ชอบฆ่าคน ต่อมาพระเทวทัตได้ไปที่โรงช้าง แล้วอ้างเหตุผลกับนายควาญช้างว่า พวกเราเป็นพระญาติของพระราชา สามารถจะแต่งตั้งผู้อยู่ในตำแหน่งต่ำไว้ในตำแหน่งสูง และเพิ่มเงินเดือนให้ได้ ทำอย่างนี้ เวลาพระพุทธเจ้าเสด็จมาทางตรอกนี้ พวกท่านจงปล่อยช้างนาฬาคีรีนี้เข้าไป
    เมื่อพระผู้พระภาคเสด็จดำเนินถึงตรอกนั้น พวกนายควาญช้างจึงได้ปล่อยนาฬาคีรีไปปลงพระชนม์พระผู้มีพระภาค ช้างนาฬาคีรีได้ชูงวงหูชัน หางชี้ วิ่งตรงไปที่พระผู้มีพระภาค เวลานั้นคนทั้งหลายหนีขึ้นไปบนปราสาทนั้นบ้าง เรือนโล้นบ้าง บนหลังคาบ้าง พวกที่ไม่ศรัทธาพูดว่า พระสมณโคดมจะถูกช้างฆ่า ส่วนผู้มีศรัทธาก็พูดว่า ประเดี๋ยวจะคอยดูสงครามระหว่างพระพุทธเจ้ากับช้าง ทีนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแผ่เมตตาจิตไปที่ช้างนาฬาคีรี ช้างนาฬาคีรีได้สัมผัสกระแสเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาค จึงหมดพยศยืนอยู่ตรงพระพักตร์ แล้วพระผู้มีพระภาคทรงยกพระหัตถ์ขวาลูบกระพองช้างนาฬาคีรี
    ๙. เรื่อง เคยเป็นทหารรับจ้าง จึงได้รับความทรมาน
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๙ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นทหารรับจ้าง ได้ใช้หอกฆ่าคนจำนวนมาก ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงถูกไฟไหม้อย่างร้อนแรงในนรก ด้วยผลกรรมที่เหลืออยู่ เพราะกรรมยังไม่สิ้นไป ในบัดนี้ ไฟ (ความร้อน) นั้นยังตามมาไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทุกแห่ง
    เรื่องนี้ มีกล่าวขยายความไว้ในชาดกว่า เมื่อครั้งพระโพธิสัตว์ เกิดเป็นคนรักษาป่า มีบริวาร ๕๐๐ คน ได้รับจ้างคุ้มครองพวกพ่อค้าเกวียน ให้ข้ามดงที่มีโจรผู้ร้ายซุ่มอยู่ด้วยความกล้าหาญตามหน้าที่ที่รับผิดชอบ บุตรชายพ่อค้าเห็นความกล้าหาญของโพธิสัตว์จึงถามว่า
    เมื่อความตายปรากฏอยู่ตรงหน้า เพราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูที่แหลมคมเข้ามาด้วยความว่องไว และยังถือดาบอันคมกริบวิ่งเข้ามาอีก เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่สะดุ้งกลัว พระโพธิสัตว์บอกว่า เวลาที่เห็นโจรร้ายวิ่งเข้ามา ข้าพเจ้ากลับมีความยินดีที่จะได้ย่ำยีศัตรู เพราะก่อนที่จะมาทำหน้าที่นี้
    ได้ยอมสละชีวิตไว้แล้ว จึงไม่มีความอาลัยในชีวิต สามารถทำกิจของตนได้อย่างกล้าหาญทุกเวลา
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระเทวทัตทำพระโลหิตของพระผู้มีพระภาคให้ห้อแล้ว แล้วพระผู้มีพระภาคเสด็จไปชีวกัมพวันให้หมอชีวกรักษา หมอชีวกได้รักษาโดยปรุงยาอย่างแรงกล้าเพื่อสมานแผลแล้ว ปิดแผล แล้วกราบทูลว่า กระผมมีธุระในเมือง ขอให้ยานี้อยู่จนกว่ากระผมจะกลับมา แล้วหมอชีวกก็เข้าเมืองไป แต่กลับมาไม่ทันประตูเมืองเพราะประตูปิดก่อน แล้วก็นึกตกใจว่า ถึงเวลาที่จะเอายาออกแล้ว ถ้าไม่เอายาออกล่ะก็ พระผู้มีพระภาคก็จะเกิดความเร่าร้อนในสรีระตลอดทั้งคืนเป็นแน่ ต่อมา พระผู้มีพระภาค ได้รับสั่งให้พระอานนท์นำยาที่ปิดแผลนั้นออกในตอนค่ำนั่นเอง
    ๑๐. เรื่อง เด็กเล็กเห็นปลาถูกฆ่า แล้ว แต่ดีใจ
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๐ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นเด็กเล็กลูกของชาวประมง อาศัยอยู่ในเกวัฏฏคาม เห็นชาวประมงฆ่าปลาแล้ว เกิดความโสมนัส ด้วยเจตนาที่เป็นอกุศลกรรมนั้น จึงทำให้ไปเสวยทุกข์ในอบายทั้ง ๔ ด้วยเศษแห่งผลบาปกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ เมื่อพวกเจ้าศากยะถูกที่พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าตายเป็นจำนวนมาก
    ๑๑. เรื่อง ด่า แช่งผู้อื่นไว้อย่างไร ก็ได้รับผลอย่างนั้น
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๑ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    เราเมื่อครั้งเกิดเป็นคนสามัญ ได้ด่า แช่งเหล่าสาวกในศาสนาของพุทธเจ้า พระนามว่าผุสสะด้วยคำว่า ท่านทั้งหลายจงขบเคี้ยว จงฉันแต่ข้าวเหนียว อย่าได้ฉันข้าวสาลีเลย ด้วยผลกรรมนั้น เรารับนิมนต์พราหมณ์ อยู่จำพรรษา ณ เมืองเวรัญชา ได้ฉันแต่ข้าวเหนียว ตลอด ๓ เดือน
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า หลังจากที่พระพุทธองค์รับคำของเวรัญชพราหมณ์ว่าจะอยู่จำพรรษาแล้ว สมัยนั้นเมืองเวรัญชาเกิดข้าวยากหมากแพง ประชาชนมีความเป็นอยู่แร้นแค้น ใช้สลากปันส่วนซื้ออาหาร ล้มตายกันกระดูกขาวเกลื่อน ยากที่พระอริยะจะบิณฑบาตยังชีพได้ ต่อมา พวกพ่อค้าม้าชาวเมืองอุตตราบถ มีม้าอยู่ประมาณ ๕๐๐ ตัว เข้าพักแรมช่วงฤดูฝนในเมืองเวรัญชา พวกเขาตระเตรียมข้าวนึ่ง (ข้าวสารเหนียวที่เอาแกลบออกแล้วนึ่งเก็บไว้ จะเรียกว่าข้าวตาก ก็ได้ พวกพ่อค้านิยมนำติดตัวไป ในเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างเมือง เพื่อเป็นอาหารม้าในถิ่นที่อาหารม้าหายาก) เพื่อถวายพระภิกษุรูปละประมาณ ๑ ทะนานไว้ที่คอกม้า รุ่งเช้า ภิกษุทั้งหลายครองอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรไปบิณฑบาตในเมืองเวรัญชา บิณฑบาตไม่ได้เลย จึงไปที่คอกม้า รับข้าวนึ่งรูปละประมาณ ๑ ทะนาน นำไปตำให้ละเอียดแล้วฉัน ส่วนพระอานนท์บดข้าวนึ่งประมาณ ๑ ทะนานบนหินบดแล้ว น้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค พระองค์เสวยข้าวนั้น
    ๑๒. เรื่อง เคยเป็นนักมวยปล้ำ หักหลังผู้อื่นไว้
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๒ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเมื่อครั้งเกิดเป็นนักมวย ได้ทำการชกกับนักมวยผู้อื่น ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงเกิดความทุกข์ที่สันหลัง (ปวดหลัง)
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า คราวหนึ่งพระโพธิสัตว์ เกิดในตระกูลคหบดี มีกำลังมากมหาศาล แต่ตัวเตี้ย ต่อมามีนักมวยปล้ำต่างถิ่นมาท้าต่อสู้ และทำให้บุรุษหลายคนในหมู่บ้าน ถูกทำร้ายบาดเจ็บและพ่ายแพ้ และเมื่อพระโพธิสัตว์พบเหตุการณ์นั้น จึงขออาสาต่อสู้ด้วย พอได้ฟังคำพูดเช่นนี้ นักมวยปล้ำผู้นั้นได้พูดดูถูกต่าง ๆ นานา และเมื่อทั้งสองได้ต่อสู้กัน พระโพธิสัตว์แม้ถึงจะตัวเตี้ย แต่ก็ได้จับนักปล้ำผู้นั้นขึ้นแล้วหมุนไปในอากาศ แล้วทุ่มลงภาคพื้น แล้วจับดัดหลัง จนนักปล้ำผู้นั้น กระดูกหักเจ็บปวดอย่างมาก และยอมแพ้ในที่สุด แล้วพระโพธิสัตว์สั่งสอนว่า อย่ามาทำอย่างนี้อีกในหมู่บ้านนี้ ด้วยกรรมนั้น เราได้เสวยผลกรรมมีโรคประจำเช่นปวดหลังเป็นต้น แม้ในชาตินี้ ถึงเราจะทรงพลังอย่างนับไม่ได้ แต่ก็ยังเป็นโรคปวดหลังอยู่
    ๑๓. เรื่อง หมอรักษาโรค แต่ประมาท
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๓ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    ในชาติก่อน เราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้ลูกชายเศรษฐี (ถึงแก่ความตาย) ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงป่วยเป็นโรคปักขันทิกาพาธ
    เรื่องนี้ มีกล่าวไว้ว่า เมื่อครั้งที่พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลคหบดี ได้เป็นหมอรักษาคนไข้ คราวหนึ่ง ได้รักษาลูกเศรษฐีคนหนึ่ง ตรวจโรคแล้ว จัดยารักษาโรคชนิดนั้น แต่เพราะความประมาท ตอนจ่ายยานั้น ได้จ่ายยารักษาโรคต่างชนิดกันให้ไป ทำให้ลูกเศรษฐีนั้นรับประทานยาไปแล้วถ่ายอย่างรุนแรง
    ตรงนี้ มีกล่าวขยายความไว้ว่า ในชาตินี้ ในสมัยเป็นที่ปรินิพพาน หลังจากพระผู้มีพระภาคเสวยพระกระยาหารที่ชื่อว่าสุกรมัททวะ ของนายจุนทกัมมารบุตรแล้ว ได้เกิดอาการพระประชวรอย่างรุนแรงลงพระบังคนหนักเป็นโลหิต ทรงมีทุกขเวทนาอย่างแสนสาหัสจวนเจียนจะปรินิพพาน แต่ทรงใช้สติสัมปชัญญะข่มทุกขเวทนาเหล่านั้นอย่างไม่พรั่นพรึง
    ๑๔. เรื่อง สบประมาทผู้อื่น จึงต้องประสบทุกข์
    คราวหนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ทรงตรัสเล่าบุพกรรมของพระองค์เรื่องที่ ๑๔ ให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า
    เราเมื่อครั้งเกิดเป็นมาณพ ชื่อโชติปาละ ได้กล่าวประสบประมาทพระกัสสปพุทธเจ้าว่า การตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ์จักมีมาแต่ที่ไหน การตรัสรู้หาได้แสนยาก ด้วยผลกรรมนั้น เราจึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยานานถึง ๖ ปี แต่ว่า เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณที่สูงสุด ด้วยทางนี้ ต่อมา จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ ที่ตำบลอุรุเวลา เราถูกกรรมในปางก่อนตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณผิดทาง เราสิ้นบาปสิ้นบุญแล้ว ปราศจากความเร่าร้อนทุกอย่าง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น ไม่มีอาสวะ จักปรินิพพาน พระพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวง ทรงพยากรณ์บุพกรรมเช่นนี้ มุ่งหวังประโยชน์สำหรับหมู่ภิกษุ ณ สระอโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล
    ตรงนี้ มีเนื้อความกล่าวไว้ว่า หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถโพธิสัตว์ ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี ทรงเห็นนิมิต ๔ ทำความสังเวชให้เกิดขึ้น ขึ้นม้ากัณฐกะพร้อมกับนายฉันนะออกไป ทรงรับสมณบริขารที่มหาพรหมถวาย แล้วผนวชที่ริ่มฝั่งแม่น้ำอโนมานทีบำเพ็ญเพียรประพฤติทุกรกิริยาอย่างหนักอยู่ ๖ ปี อาทิเช่น กดฟันด้วยฟัน ใช้ลิ้นดันเพดานไว้แน่น ใช้จิตข่มคั้นจิต ทำจิตให้เร้าร้อน เมื่อทำเช่นนั้น เหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง กลั้นลมหายใจเข้า-ออกทั้งทางปาก-จมูก ทำให้ลมออกทางหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ ๆ และเกิดลมแรงกล้าเสียดแทงศีรษะ ทำให้เกิดทุกขเวทนาในศีรษะอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดลมอันแรงกล้าบาดในช่องท้อง
    เมื่อพระองค์ประพฤติตนเช่นนี้แล้ว ทำให้เกิดความกระวนกระวายในร่างกายอย่างแรงกล้า ทำให้เกิดกายกระสับกระส่ายไม่สงบ ต่อมาก็ลดอาหารที่ละน้อย จนฉันอาหารประมาณเท่าเมล็ดถั่วพูและเมล็ดบัว จึงทำให้ร่างกายซูบผอมมาก เดินไปไหนก็ซวนเซล้มลง ณ ที่นั้น จนชนทั้งหลายเห็นแล้ว พากันทักต่าง ๆ นานา ทำให้ได้คิด จึงเปลี่ยนวิธีปฏิบัติเสียใหม่ กลับมาฉันอาหารตามเดิม แล้วปฏิบัติฌาน ๔ และวิชชา ๓ จึงตรัสรู้พระพุทธเจ้า (จึงได้บรรลุพระโพธิญาณ) ภายใต้ต้นโพธิ
    เรื่องบุพกรรมของพระพุทธองค์ดังที่กล่าวมานี้ เป็นการชี้ให้เห็นว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าเป็นผู้มีพระคุณมากมายปานใด เช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือแม้แต่พระคุณน้อยนิดเช่น เด็กน้อยเดียงสาแกล้งผู้อื่นก็ตาม ผู้ที่ได้กระทำบุญหรือบาปไว้ ย่อมจะต้องได้รับผลของกรรมนั้น ๆ อย่างแน่นอน ตราบที่ยังเวียนว่ายตายเกิด ยังไม่สิ้นอาสวะกิเลส หรือแม้แต่สิ้นอาสวะกิเลส ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ปรินิพพานก็ย่อมได้รับผลของกรรมเช่นเดียวกัน ซึ่งตรงกับเนื้อความกล่าวรับรองไว้ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เป็นผู้รับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมใด เป็นบุญหรือเป็นบาปก็ตาม เราจะต้องรับผลของกรรมนั้น



    ท้ายนี้ ฝากคติธรรมว่า เวรกรรมที่แต่ละคนได้กระทำไว้นั้น อย่าคิดประมาทว่าเป็นกรรมเล็กน้อยและจักไม่ให้ผล กรรมที่กระทำไว้นั้นรอวันให้ผลทั้งนั้น แต่จะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับว่ากรรมนั้นหนักหรือเบานั่นเอง


    ปิดทางบุญผู้อื่น ก็จะส่งผล ให้ตนพลาดจากทางบุญที่ควรจะได้ จะมี จะเป็น
     
  10. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]
     
  12. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    มีคนถามมาว่า ทำไมท่านพญายมราชถึงได้มีใจเมตตากรุณา แตกต่างไปจากที่เขาคิดเอาเองว่า นรกภูมินั้นสยดสยองน่ากลัว ใครๆก็ไม่อยากตกนรก และนึกเลยเถิดไปว่า ท่านพญายมราชก็ดี ท่านยมทูต หรือ ท่านนิรยบาลก็ดี คงจะน่ากลัวไปด้วย

    ผมเองก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร เพราะไม่เคยมีประสบการณ์เหมือนท่านจี้กงซึ่งไปท่องอเวจี หรือ พระมาลัยที่เคยไปเยี่ยมเมืองนรก
    หากว่าตามเรื่องพระมาลัยนั้น ที่แรกพระมาลัยก็คิดเหมือนกับที่ท่านผู้ถามคิดนั่นแหละว่า พญายมราชนั้นจะต้องมีจิตใจโหดเหี้ยมทารุณ มิเช่นนั้นจะปล่อยให้พวกวิญญาณเหล่านั้นต้องได้รับความทุกข์ทรมานต่อหน้าต่อตาอยู่เช่นนั้นได้อย่างไร

    เรื่องนี้พญายมราชได้อธิบายให้พระมาลัยฟังว่า ตัวท่านเองมีความเมตตา แต่ทุกอย่างมันเกิดจากกรรมที่วิญญาณสัตว์พวกนั้นก่อไว้เองทั้งสิ้น และกรรมนั่นแหละที่ทำร้ายพวกเขาอยู่ ซึ่งใครจะคัดค้านทัดทาน หรือช่วยเหลืออย่างไรก็ไม่ได้ ใครทำไว้อย่างไร ก็ต้องได้รับอย่างนั้น”
    พระมาลัยยังติดใจสงสัยอีกว่า เมื่อท่านช่วยเหลืออะไรเขาไม่ได้ท่านจะมาอ้างว่ามีความเมตตาได้อย่างไร
    พญายมราชอธิบายว่า เมื่อคนตายดวงวิญญาณจะถูกนำมาที่นี่ ข้าพเจ้าจะให้สุวานเปิดดูบัญชีความดี ความชั่วที่เขาทำไว้ ใครทำความดีไว้มากก็จะส่งไปสวรรค์ แต่ถ้าทำความชั่วไว้มาก ก็จะส่งไปลงโทษตามความผิดทันที โดยไม่มีการลดหย่อนใดๆทั้งสิ้น
    แต่อย่างไรก็ตาม ข้าพเจ้ายังให้โอกาสซักถามเขาถึงความดี ที่เขาทำอีกหลายครั้ง เพราะบางทีท่านสุวานอาจจะลืมจด เพื่อจะให้เขาได้สติ ระลึกนึกถึงความดีบางสิ่งบางอย่างที่เขาทำไว้บ้าง จนกระทั่งเห็นว่าเขาไม่ได้ทำความดีอะไรจริงๆ นั่นแหละ จึงจะส่งตัวไปลงโทษ และถ้าตอนนั้นเกิดนึกขึ้นมาได้ ก็จะส่งตัวไปสวรรค์ทันที
    คำถามของท่านอาจยากเกินไป พระมาลัยยังติดใจ
    ไม่ยากหรอกขอรับ เรื่องความดี ข้าพเจ้าถามว่าเมื่ออยู่เป็นมนุษย์ ได้ทำบุญให้ทาน หรือช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากบ้างหรือไม่ เท่านั้นแหละ

    ส่วนผมคิดว่าพญายมราชนั้น ท่านน่าจะเป็นผู้ที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะท่านเป็นผู้พิพากษาตัดสินลงโทษดวงวิญญาณให้ไปสวรรค์หรืออยู่นรก ท่านจึงต้องมีพรหมวิหารธรรม นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ปกครองดวงวิญญาณทั้งหลายในนรกภูมิ ท่านจึงไม่ลุแก่อำนาจอคติ สามารถผูกใจเหล่าดวงวิญญาณด้วยสังคหวัตถุธรรม 4 ประการ ได้แก่

    1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน)
    2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือ กล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยินดี)
    3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม)


    4. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะบุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี)

    (พระพรหมคุณาภรณ์.143)



    ที่นำเสนอมานี้ก็เพื่อว่า หากท่านพญายมราชถามถึงความดี จะได้พอตอบท่านได้บ้างว่าได้ช่วยเหลือเกื้อกูลใครบ้าง แต่อย่าไปบอกท่านละว่า ช่วยเหลือเกื้อกูลเฉพาะแต่พวกพ้องเท่านั้น









    ….
    อ้างอิง
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต).(2553)พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม.พิมพ์ครั้งที่ 18.กรุงเทพฯ:มูลนิธิ การศึกษาเพื่อสันติภาพ.


    http://www.wisut.net/wisut-post/สังคหวัตถุธรรม-4/
     
  13. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    ถ้าเธอ เลือกที่จะ คิด พูด ทำ ด้วย ความรัก ความเมตตา
    แทนที่จะเลือก คิด พูด ทำ ด้วยความกลัว และอคติอื่นๆ
    รักตนเอง รักผู้อื่น รักในสิ่งที่ทำ เลือกในสิ่งที่จะได้แก่ทุกฝ่าย
    นั่นคือหนทางที่เร็วที่สุดที่จะพัฒนาจิตวิญญานของเธอ
    เมื่อจิตวิญญานของเธอพัฒนา กายภาพของเธอก็จะพัฒนาด้วย.




    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 พฤศจิกายน 2014
  14. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    ระหว่างหนทางสร้างบารมีของพระโพธิสัตว์ ไม่ใช่ราบเรียบเสมอไป เพราะชาติที่สร้างบารมีได้มากที่สุด คือชาติที่ได้เกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีป เพราะเป็นสถานที่เหมาะสมในการสร้างบารมีทุกชนิด จะทำทานก็มีคนยากจน หรือสมณชีพราหมณ์เป็นผู้รับทาน จะถือศีลก็มีความชั่วนานาชนิดให้ละเว้น จะบำเพ็ญเนกขัมมะ ก็มักจะมีพระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ ให้ได้มีโอกาสออกบวช เหล่านี้เป็นต้น

    แต่พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อยังมีบารมีอ่อนอยู่ ได้เกิดเป็นมนุษย์ในชมพูทวีปแล้วก็จริง แต่จำความหลังในอดีตชาติไม่ได้ เมื่อจำไม่ได้ก็หลงลืมเรื่องการเกิดมาเพื่อนสร้างบารมี เกิดแล้วต้องใช้ชีวิตประมาทไปต่างๆ ต้องพลาดพลั้งทำบาปเพิ่มอีกก็มีในบางชาติ เมื่อดำเนินชีวิตผิดพลาดก็ต้องเสียเวลาไปเกิดในอบายภูมิ เหมือนเดินถอยหลัง

    ดังนั้น ในกำเนิดต่างๆ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดมของเรา ซึ่งพระองค์ทรงระลึกชาติย้อนหลัง นำมาเล่าให้ฟังไว้มากมายนั้น จึงมีหลายชาติที่พระองค์ต้องพลาดไปเกิดเป็นสัตว์นรกบ้าง ดิรัจฉานบ้าง เป็นสตรีบ้าง ฯลฯ

    เมื่อใดบารมีแก่กล้าขึ้น ความประมาทลดลง พอเกิดมาก็ไม่กระทำความชั่ว เร่งทำแต่ความดี จนกระทั่งบารมีแก่มากพอได้พบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นทรงพยากรณ์ให้ว่า จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในชาติข้างหน้าเมื่อใด


    ..........ถ้าไม่โกหกตัวเอง และ ทำอะไรบังพรางความผิดด้วยเจตนาของตน ก็อาจทราบได้ว่า บารมีตนเพียงระดับใด ไม่ต้องถามให้ใครเอาใจว่า ตนทำดีมามาก เข้มข้น ขนาดไหน...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 พฤศจิกายน 2014
  15. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
  16. ศิลปินชนบท

    ศิลปินชนบท เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    773
    ค่าพลัง:
    +1,678
    ขอกราบอนุโมทนาสาธุค่ะ ในนี้มีเพลงได้ยังไงคะ เพลงชื่ออะไร:cool:ไพเราะมาก
     
  17. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    1012796_465423466896672_713313984_n.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2019
  18. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    เป็นพญา อินทรี ที่เหินฟ้า
    มรณา ที่กลางดิน สิ้นชีวิต
    ตัวไร้ขา ที่พาลง มาปลงปลิด
    ปรากฏการณ์ อันน่าคิด ปริศนาธรรม
    ..อย่าลำพอง ผยองตน ว่าตนเก่ง
    โดยตัวเอง ชาญเชี่ยว ด้วยเขี้ยวเล็บ
    เรื่องพลั้งพลาด มิคาดการณ์ ถึงวันเจ็บ
    ด้วยเขี้ยวเล็บ อหังการ์ พาตัวตาย



    1521378_630944396955368_1346943242_n-jpg.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤษภาคม 2019
  19. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]







    ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง


    ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดี เพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง
     
  20. NAMOBUDDHAYA

    NAMOBUDDHAYA ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    21,459
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,024
    ค่าพลัง:
    +70,068
    [​IMG]


    อุปาทาน และ อคติ ๔ (ตัวเดียวกัน)























    สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องนี้ไว้ มีความสำคัญดังนี้







    ๑. กฎของกรรมนั้นเที่ยงอยู่เสมอ ไม่ว่าจักเป็นกรรมดี หรือกรรมชั่ว การมีชีวิตอยู่ในวัฏฏะสงสารย่อมไม่พ้นกฎของกรรมตามส่งผล







    ๒. จิตของบุคคลผู้ไม่หมดจากกิเลส ย่อมหวั่นไหวไปตามผลของกฎของกรรมนั้นๆ ที่มากระทบ กรรมดีปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักดีใจ กรรมชั่วปรากฏแก่ตน ก็ย่อมจักเสียใจ จัดเป็นความหวั่นไหว อันเป็นธรรมดาของบุคคล ที่ยังไม่เข้าถึงพระอรหัตผล เรียกว่ายังไม่พ้นอุปาทาน และอคติ ๔ นั้นแหละเจ้า ตัวเดียวกัน







    ๓. เพราะฉะนั้นจง ศึกษากฎของกรรม อย่าตำหนิกรรม เพราะพวกเจ้าเองก็ยังไม่หมดอุปาทาน เมื่ออุปาทานมี อคติ ๔ ก็ยังหมดไปไม่ได้เช่นกัน ดูอารมณ์จิตของตนเองเข้าไว้ให้ดี ๆ อย่าหลงอารมณ์ของตนเอง ตราบใดที่ยังมีอารมณ์พอใจกับไม่พอใจอยู่ ก็ยังเป็นแค่อนาคามีมรรค ยังไม่ถึงผล สังโยชน์เบื้องสูงอีก ๕ ข้อ ก็ยังไม่หมด ดังนั้น อย่าพึงคิดว่าตนเองดี อย่าพึงตำหนิใคร จักเป็นเหตุให้ตนเองสิ้นความดี เพราะมีความประมาทในกรรมทั้งปวง







    ๔. การที่จักให้เข้าถึงความหมดอุปาทาน หรืออคติ ๔ นั้น จักต้องไม่วางอารมณ์กำหนดรู้ในอริยสัจ ๔ หรือกำหนดรู้กฎของกรรมทั้งปวง คือ รู้ทั้งกรรมที่เป็นกุศล - อกุศลและอัพยากฤต รู้ผลของกรรมทั้ง ๓ ประการ ที่ส่งผลแก่มนุษยโลก พรหมโลก เทวโลก และอบายภูมิ ๔ อยู่เนือง ๆ







    ๕. แม้ในขณะนี้พวกเจ้าเองก็ยังอยู่ในกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการส่งผลอยู่ ให้หมั่นตรวจสอบอารมณ์จิตอยู่เสมอ ก็จักรู้ว่ากรรมดีส่งผล จิตพวกเจ้าก็ยังยินดีมีความพอใจอยู่ กรรมชั่วส่งผล จิตของพวกเจ้าก็ยังเศร้าหมองมีความไม่พอใจอยู่ และในบางขณะกรรมไม่ชั่ว-ไม่ดีส่งผล จิตของพวกเจ้ามีความสบายไม่สุข-ไม่ทุกข์ แต่ก็ยังมีความประมาทอยู่ เพราะกรรมหรือธรรมอัพยากฤต ยังมีกำลังอ่อน ไม่ใช่ขั้นของพระอนาคามี หรือเต็มระดับอย่างพระอรหันต์ เป็นสังขารุเบกขาญาณยังไม่ได้ เพราะยังเฉยไม่จริง







    ๖. อย่ามองใครว่าผิดหรือถูก อย่ามองใครว่าชั่วหรือว่าดี จงมองให้ทะลุถึงกฎของกรรมทั้ง ๓ ประการนั้น ๆ และ คำนึงถึงความจริงเอาไว้เสมอ กรรมใดใครก่อ ผลแห่งกรรมนั้นย่อมตกอยู่แก่บุคคลนั้นๆ และกรรมใครกรรมมัน เตือนจิตตนเองให้ยอมรับอยู่อย่างนี้เสมอ ให้ยอมรับจริง ๆ มิใช่สักเพียงแต่ว่าคิด ยอมรับเพียงชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเป็นอารมณ์ยอมรับหลอกๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้ ผลของการปฏิบัติจักไม่ปรากฏ มีผลไม่ทรงตัว ต้องใช้ความเพียรให้เป็น อย่าให้ความเกียจคร้านเข้ามาบั่นทอนความดี ปล่อยให้ความเลวมันขยันทำกรรมชั่วอยู่เรื่อย ก็ใช้ไม่ได้ ไม่ต้องดูอารมณ์จิตของบุคคลอื่น ให้มุ่งดูอารมณ์จิตของตนเองเป็นสำคัญ







    ๗. หากรู้อารมณ์จิตของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไตร่ตรองใคร่ครวญกรรมให้รอบคอบ การแก้ไขอารมณ์จิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความดี เป็นของไม่ยาก แต่ทุกวันนี้พวกเจ้ามักจักปล่อยให้กิเลสมันจูงจมูกไปก่อนเป็นประจำ นี่เพราะไม่คล่องในอานาปานัสสติกรรมฐาน และอ่อนในการใช้จริต ๖ ประการ ที่จักแก้อารมณ์ของจิตในขณะหนึ่ง ๆ ส่วนใหญ่จับจด พิจารณาลวก ๆ ตรงเป้าบ้าง ไม่ตรงเป้าบ้าง แล้วด่วนปล่อยกิเลสให้ผ่านไป จุดนี้ต้องแก้ไขให้ดี ถ้ายังดีไม่ได้ ก็แก้ไขจุดอ่อนไม่ได้เช่นกัน
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...