อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์. พระบรมศาสดา และเหล่าผู้พระสาวก

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 11 ตุลาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    บางคนภาวนานะ เกิดทิฐิมานะสูงมาก ใครพูดขวางหูไม่ได้ ไม่รู้ภาวนาเพื่อละ หรือเพื่อโลก ความจริง ถ้าเป็นนักภาวนาแล้ว จิตของเราจะมีความเมตตา ความให้อภัย ความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา มันจะเกิดกับผู้ปฏิบัติธรรมนะ ผู้ปฏิบัติธรรมจะได้เปรียบกว่าคนอื่นมาก..

    โอวาทธรรมหลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450

    "ตั้งสติให้มันเป็นมหาสตินั่น เอาให้มันเข้าอัปปนาสมาธิ เข้าลึกแท้ๆ แล้วมันก็หลับโลดแล้ว มันเข้าภวังจิต ต้องถอนออกมาแล้วถอนมันอุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ ให้มันอยู่ระหว่างกลาง ให้มันเข้าถึงก็ถอนออกมา มันจะมีความรู้ดอก เบิ่งหัวใจเจ้าของนั่น อย่าไปลดละ ทำอยู่นั่นล่ะ ให้จิตอยู่ที่จิต ใจมันอยู่ใจเท่านั้น อันนี่มันบ่มีสติ ให้มีสติ สติให้มันเป็นมหาสติ มันทันๆ อยู่นั่นจึงค่อยสิเห็น สิเกิดดอก มันเกิดไปเองดอก อันนั่นมันเป็นอัตโนมัติ

    สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นเด๊ บ่เอียงเอนแล้ว คือหลักเขื่อนเขาปักไว้ได้ มีแล้ว ลมมาก็บ่เอนเอียง สมถะ แปลว่า สงบ แยกไปแล้วก็เป็นการบริกรรมนั่นแล้ว"

    พระธรรมเทศนาหลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดง จ.อุดรธานี




    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    นิวรณ์ 5 นี่แหละ เป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้จิตลุความดีได้ ความง่วงเหงาหาวนอน ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่อยากจะนั่งอยู่ในสถานที่นี้ ไม่ได้สมาธิ ไม่สงบ เมื่อไม่สงบแล้ว ก็จะเป็นเครื่องจะทำลายสมาธิ

    เพราะฉะนั้นเราต้องมีเพียร มีหมั่นอยู่เสมอๆ แล้วนิวรณ์ดับเมื่อไร ก็จะมีวิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา เกิดขึ้น เมื่ออันนี้ดับไปแล้ว เราก็จะมีอารมณ์ใหม่เกิดขึ้น โอ้..อย่างนี้เราไม่เคยรู้ เราไม่เคยเห็น เราก็จะมีศรัทธาเกิดขึ้น

    ท่านทั้งหลาย พยายามทำใจ ให้สงบอย่างเดียว แล้วมีสติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เมื่อจิตใจสงบก็รู้ เมื่อจิตใจไม่ปรุงแต่งก็รู้ พยายามฝึกฝนให้มาก อันนี้เป็นคุณสมบัติอันที่สูงสุด ที่เราพึงจะมีจะได้..

    โอวาทธรรมหลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    พระยสเถระ ท่านเป็นบุตรของเศรษฐี ในกรุงพาราณสี ซึ่งมีเรือน ๓ หลังเป็นที่อยู่ในสามฤดู ครั้งหนึ่งในช่วงของฤดูฝน ยสกุลบุตรอาศัย อยู่ในเรือนซึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน มีสตรีล้วนประโคมดนตรีบำรุงบำเรอ ในคืนหนึ่ง ยสกุลบุตรนอนหลับก่อนหมู่ชนที่เป็นบริวาร เมื่อตื่นขึ้นมาตอนใกล้รุ่ง จึงเห็นหมู่ชนที่เป็นบริวารของตนนอนหลับมีอาการพิกลต่าง ๆ ไม่เป็นที่พอใจปรากฏแก่ยสกุลบุตร ดุจซากศพที่ทิ้งอยู่ในป่าช้า ยสกุลบุตรเกิดความสลดใจ เบื่อหน่าย จึงอุทานออกมาว่า "ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ" สวม รองเท้าเดินออกจากประตูเมือง มุ่งหน้าไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    ในเวลา จวนใกล้รุ่ง พระบรมศาสดาเสด็จจงกรมอยู่ในที่แจ้ง ทรงได้ยินเสียงยสกุลบุตรเปล่งอุทานเดินใกล้เข้ามา จึงตรัสเรียกว่า "ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง มาที่นี่เถิด เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน" ยสกุลบุตรได้ยินเสียงตรัสเรียกอย่างนั้นแล้วจึงถอด รองเท้าเดินเข้าไปถวายบังคม นั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง พระบรมศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า "อนุปุพพิกถา" เพื่อฟอกจิตใจยสกุลบุตรให่ห่างไกลจากความยินดีในกาม ต่อมาพระองค์ทรงแสดง "อริยสัจ ๔" ยสกุลบุตรได้เห็นธรรมพิเศษ ณ สถานที่นั้นนั่นเอง ในภายหลังได้พิจารณาภูมิธรรมที่ตนเห็นแล้ว จิตก็พ้นจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน สำเร็จเป็นพระอรหันต์

    ส่วนมารดา ของยสกุลบุตร (มารดาดาของยสกุลบุตร คือนางสุชาดา ผู้เคยถวายข้าวมธุปายาสแด่พระมหาบุรุษก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า) พอรุ่งเช้าก็ขึ้นไปบนเรือนไม่เห็นลูก จึงบอกแก่เศรษฐีผู้เป็นสามีให้ทราบ เศรษฐีใช้ให้คนไปตามหาในทิศทั้งสี่ ส่วนตนเองก็เที่ยวตามหาอีกทางหนึ่งด้วย แต่บังเอิญเดินทางมุ่งสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ได้เห็นรองเท้าของลูกชายวางอยู่ ณ ที่นั้นจึงตามไปเมื่อเศรษฐีเดินไปถึงแล้วพระบรมศาสดาจึงแสดงพระธรรมเทศนาชื่อว่า อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ ในที่สุด แห่งพระธรรมเทศนา เศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรม ทูลสรรเสริญพระธรรมเทศนา แสดงตนเป็นอุบาสก ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าขอ ถึงพระองค์ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะ ที่พึ่งที่ระลึก ขอพระองค์จงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัย เป็นที่ระลึกตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป" เศรษฐีนับได้ว่าเป็นอุบาสกที่อ้างเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็น สรณะก่อนกว่าชนทั้งปวงในโลก

    เศรษฐี ผู้เป็นบิดายังไม่ทราบว่า ยสกุลบุตรเป็นผู้ที่สิ้นอาสวะแล้ว จึงขอร้องให้กลับไปเพื่อให้มารดาคลายจากความโศกเศร้าเสียใจ ภายหลังเมื่อทราบว่ายสกุลบุตรมีอาสวะสิ้นแล้ว ไม่สามารถจะหวนกลับไปครอบครองเรือนบริโภคกามคุณเหมือนแต่ก่อน จึง ทูลอาราธนาพระบรมศาสดากับยสะเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จรับบิณฑบาตในเวลาเช้า พระองค์ทรงรับด้วยอาการดุษณียภาพ (ดุษณีภาพ คือการรับนิมนต์ของพระบรมศาสดา ได้แก่ ทรงนิ่ง) เศรษฐีทราบว่าพระองค์ทรงรับนิมนต์ จึงลุกขึ้นจากที่นั่ง ถวายอภิวาท กระทำประทักษิณแล้วก็หลีกไป เมื่อเศรษฐีกลับไปแล้ว ยสกุลบุตรจึงทูลขอบรรพชาอุปสมบทกับพระบรมศาสดา พระองค์ทรงอนุญาตให้เป็นภิกษุด้วยพระวาจาว่า "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ เถิด" ในที่นี่ไม่ได้ตรัสว่า "เพื่อจะทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ" เพราะพระยสะได้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ คือได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว

    เช้าวันรุ่งขึ้น พระบรมศาสดามีพระยสเป็นปัจฉาสมณะตามเสด็จไปรับบิณฑบาตในเรือนของเศรษฐี พระองค์ทรงแสดงพระธรรมเทศนา ชื่อว่า อนุปุพพิกถา และ อริยสัจ ๔ แก่สตรีทั้งสอง คือ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะ ปรากฏว่าสตรีทั้งสองได้ดวงตา เห็นธรรม แสดงตนเป็นอุบาสิกา ถึงพระรัตนตรัยเป็นที่ระลึก และนับได้ว่าสตรีทั้งสองเป็นอุบาสิกาที่เกิดขึ้นในโลกก่อนกว่า หญิงอื่นใด เมื่อเสร็จภุตกิจ ตรัสเทศนาสั่งสอนชนทั้งสามแล้วพรองค์จึงเสด็จกลับไปป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

    การอุปสมบท ของพระยสะในครั้งนี้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะว่าเป็นสิ่งอำนวยประโยชน์สุขให้หมู่ชนเป็นอันมาก เพราะว่าท่านยังสามารถ ชักจูงผู้อื่นเข้ามาอุปสมบทด้วย เช่น สหายของท่านอีก ๕๔ คน ท่านได้เป็นกำลังสำคัญที่ช่วยประกาศพระศาสนาในตอน ปฐมโพธิกาลอีกองค์หนึ่ง เมื่อดำรงอายุสังขารพอสมควรแก่กาลแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]



    วาทะธรรม พระมหากัสสปเถระ

    ผู้ใดไม่มีความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ ผู้นั้นย่อมอยู่ห่างพระสัทธรรม เหมือนแผ่นดินที่อยู่ห่างจากฟ้า

    ผู้ที่มีหิริและโอตตัปปะประจำใจตลอดเวลา ประพฤติพรหมจรรย์ย่อมงอกงาม ภพใหม่ย่อมไม่มี

    ภิกษุผู้ฟุ้งซ่านง่อนแง่น ถึงจะห่มผ้าบังสุกุลก็ไม่งาม ไม่ต่างจากลิงห่มหนังเสือ

    ภิกษุผู้ไม่ฟุ้งซ่านมั่นคง มีปัญญา สำรวมอินทรีย์ห่มผ้าบังสุกุล ย่อมงามเหมือนราชสีห์ บนยอดขุนเขา

    นิพพาน
    พระมหากัสสปเถระ เมื่อทำสังคายนาพระธรรมวินัยเรียบร้อยแล้ว ได้จำพรรษาอยู่ที่เวฬุวนาราม มีอายุประมาณ ๑๒๐ ปี จึงนิพพาน ณ ระหว่างกลางกุกกุฏสัมปาตบรรพตทั้ง ๓ ลูก ในกรุงราชคฤห์

    พระบรมศาสดาแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคะว่า
    เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ทรงธุดงค์คุณ
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  9. จันทลักษณ์

    จันทลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +412
    มาปวารณากันเถิด


    วันสุดท้ายของเทศกาลเข้าพรรษา คนทั่วไปมักเรียกว่า “วันออกพรรษา” แต่น้อยคนจะรู้ว่าวันดังกล่าวมีอีกชื่อหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา”
    ที่มีชื่อดังกล่าวก็เพราะเป็นวันที่พระภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณาต่อกัน พิธีดังกล่าวถือเป็นสังฆกรรมอย่างหนึ่งที่ทำเฉพาะในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา
    “ปวารณา” นั้นแปลว่า ยอมให้ขอ ก็ได้ เช่น ญาติโยมปวารณากับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งว่า ยินดีจัดหาปัจจัยสี่ไปถวายหากท่านขอมา เป็นต้น
    อีกความหมายหนึ่งของปวารณาคือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน ความหมายประการหลังนี้คือที่มาของวันมหาปวารณา
    ในวันดังกล่าวพระภิกษุทั้งหลายจะกล่าวเปิดโอกาสต่อกันและกันให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้
    โดยกล่าวเป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยได้ว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณากะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม
    ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้า ด้วยอาศัยความหวังดีเอ็นดู เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไข แม้ครั้งที่สอง.....แม้ครั้งที่สาม.....”

    พิธีปวารณานี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เข้าใจว่าเกิดขึ้นเนื่องจากพระภิกษุสมัยนั้นมาอยู่ร่วมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานาน ๆ ก็เฉพาะช่วงเข้าพรรษา
    เมื่อออกพรรษามักจะจาริกแยกย้ายกันไป โดยไม่แน่ใจว่าจะได้พบกันอีกเมื่อใด
    ดังนั้นก่อนที่จะแยกย้ายจากกันจึงมีการปวารณาแก่กันและกัน เพื่อเปิดโอกาสให้ว่ากล่าวกันได้หากมีโอกาสมาพบกันใหม่ในวันข้างหน้า

    พิธีกรรมดังกล่าวมีความสำคัญถึงกับทรงมีบัญญัติให้พระสงฆ์งดทำอุโบสถหรือพิธีสวดปาฏิโมกข์เพื่อมาทำปวารณาแก่กันและกันในวันนั้นแทน
    ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าคำว่ากล่าวตักเตือนนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้บุคคลมีความเจริญมั่นคงในทางธรรมได้
    ในสมัยพุทธกาลมีบุคคลจำนวนไม่น้อยบรรลุธรรมได้ก็เพราะได้รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน ด้วยเหตุนี้จึงทรงถือว่าการว่ากล่าวตักเตือนนั้นเปรียบเสมือนการชี้ขุมทรัพย์เลยทีเดียว

    พิธีปวารณามีขึ้นเพื่อย้ำเตือนให้บุคคลเห็นคุณค่าของคำว่ากล่าวตักเตือน โดยไม่เพียงเปิดใจยอมรับคำตักเตือนเท่านั้น
    หากยังเชิญชวนให้สหธรรมิกชี้แนะว่ากล่าวด้วยแม้เพียงแค่ระแวงสงสัยหรือแค่ได้ยินได้ฟังมาก็ตาม
    นี้คือท่าทีของผู้ใฝ่ศึกษาหมั่นพัฒนาตน ที่ชาวพุทธทั้งหลายควรมี ไม่จำเพาะพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น

    น่าเสียดายที่ปัจจุบันการปวารณาได้กลายเป็นเพียงพิธีกรรมอย่างหนึ่งในวันสุดท้ายของการจำพรรษา พระภิกษุจำนวนมากกล่าวคำปวารณาเป็นภาษาบาลีโดยไม่รู้ความหมาย
    ไม่มีการตอกย้ำให้เห็นคุณค่าของการว่ากล่าวตักเตือน ยิ่งญาติโยมด้วยแล้วส่วนใหญ่ไม่รู้เลยว่ามีวันสำหรับการเปิดใจแบบนี้อยู่ด้วยในพุทธศาสนา

    การเปิดใจรับคำว่ากล่าวตักเตือนหรือคำวิพากษ์วิจารณ์ แม้มิใช่ศีลข้อสำคัญในพุทธศาสนา แต่ก็เป็นธรรมข้อสำคัญสำหรับการมีชีวิตที่ดีงาม
    ธรรมข้อนี้มีชื่อเรียกว่า “โสวจัสสตา” คือความเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย พร้อมรับฟังคำชี้แนะว่ากล่าว จัดเป็น ๑ ในนาถกรณธรรม ๑๐ (ธรรมที่ทำให้เป็นที่พึ่งของตนได้)
    และมงคล ๓๘ หากขาดธรรมข้อนี้แล้วนอกจากจะทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ยากแล้ว ชีวิตยังขาดสิ่งที่เป็นมงคลไปอย่างน้อยก็หนึ่งประการ

    คนทั่วไปไม่ชอบฟังคำว่ากล่าวตักเตือนจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม แต่ถึงที่สุดแล้วสาเหตุสำคัญก็เพราะถ้อยคำเหล่านั้นกระทบอัตตา อัตตาหรือตัวตนที่เรายึดถือนั้นต้องการการพะเน้าพะนอ
    คำสรรเสริญชื่นชมเป็นเสมือนภักษาหารที่ทำให้มันพองโตขึ้นเรื่อย ๆ ตรงกันข้ามกับคำวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งเป็นเสมือนของแสลงที่ทำให้อัตตาลีบเล็กลง
    สำหรับชาวพุทธที่เห็นโทษของอัตตา การที่อัตตาลีบเล็กลงนั้นแหละเป็นสิ่งที่พึงประสงค์ ดังนั้นจึงไม่พรั่นพรึงต่อคำวิจารณ์
    แม้ความไม่พอใจจะเกิดขึ้นเมื่อได้ฟังถ้อยคำดังกล่าว แต่ก็ตระหนักดีว่าตัวที่เดือดเนื้อร้อนใจนั้นคือเจ้าตัวอัตตาต่างหาก หาใช่อะไรอื่นไม่
    ดังนั้นจึงไม่ใส่ใจกับอาการดังกล่าว ถือเสียว่าต้องทรมานเจ้าตัวอัตตาเสียบ้าง มันจะได้หายกำเริบ หาไม่มันจะได้ใจจนขึ้นขี่คอบังคับเราให้เป็นข้ารับใช้มันอยู่เรื่อยไป

    ผู้มีปัญญาย่อมตระหนักดีว่าคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นนอกจากจะช่วยทรมานอัตตาให้คลายพยศลงแล้ว ยังช่วยให้เราเกิดปัญญาเพิ่มพูนขึ้น
    เพราะในคำวิพากษ์วิจารณ์นั้นย่อมมีความจริงแฝงอยู่เสมอไม่มากก็น้อย แม้จะออกมาจากปากของผู้ประสงค์ร้ายก็ตาม
    ความจริงนั้นอาจเป็นความจริงเกี่ยวกับตัวเรา เช่น จุดอ่อนของเรา หรือข้อบกพร่องในงานของเรา ความจริงแบบนี้บ่อยครั้งแม้แต่เพื่อนที่ใกล้ชิดก็มองไม่เห็น
    หรือถึงเห็นก็ไม่กล้าพูด มีแต่ศัตรูหรือคู่กรณีเท่านั้นที่กล้าพูด จริงอยู่เขาอาจเติมแต่งใส่สีสันให้มันเลวร้ายเกินจริง
    แต่ถ้าเรารู้จักมองและแยกแยะความจริงออกจากความเท็จหรือความเข้าใจผิด เราก็จะได้เรียนรู้บางแง่มุมเกี่ยวกับตนเองที่อาจมองไม่เห็นมาก่อน
    เมื่อรู้แล้วแทนที่จะเสียใจหรือทดท้อ กลับนำมาปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตน ก็ย่อมเป็นผลดีแก่ตัวเราเองไม่ใช่หรือ

    นอกจากความจริงเกี่ยวกับตัวเราแล้ว คำวิพากษ์วิจารณ์ยังเปิดเผยให้เราเห็นความจริงเกี่ยวกับตัวผู้พูดเอง คนบางคนยิ่งว่ากล่าวเรามากเท่าไร
    เราก็ยิ่งเห็นว่าเขาเป็นคนอย่างไร จริงใจหรือไม่ น่าคบเพียงใด จะว่าไปแล้วถ้าอยากรู้จักใครให้ดี จะดูที่คำสรรเสริญชื่นชมของเขาหาได้ไม่
    หากต้องดูที่คำว่ากล่าวของเขา คนที่หวังดีต่อเราย่อมว่ากล่าวด้วยความปรารถนาดี ระมัดระวังถ้อยคำ ส่วนคนที่มุ่งร้ายย่อมต่อว่าอย่างสาดเสียเทเสีย
    ถ้าเรารู้จักฟังและแยกแยะก็จะเห็นความจริงว่าใครที่เป็นมิตร และใครที่ไม่ใช่มิตร และควรคบกับเขาแค่ไหน ใกล้แค่คืบหรือห่างเป็นวา

    สุดท้ายคำวิพากษ์วิจารณ์ยังเปิดใจให้เราเห็นความจริงเกี่ยวกับโลกว่า นินทากับสรรเสริญเป็นของคู่กัน คนเรามักเคลิบเคลิ้มจนตัวลอยเมื่อได้ยินคำชื่นชม
    แต่คำต่อว่าจะช่วยดึงเรากลับมาสู่ความจริง และตระหนักว่าธรรมดาของโลกนั้นมีทั้งขึ้นและลง บวกและลบ มีได้ก็มีเสีย มีสำเร็จก็มีล้มเหลว
    ดังนั้นเมื่อประสบกับสิ่งที่น่ายินดีก็อย่าหลงดีใจจนลืมตัว ให้ระลึกว่าสักวันหนึ่งเราอาจประสบสิ่งตรงข้าม
    ดังนั้นจึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและเตรียมใจไว้เสมอ นั่นหมายความว่า ถ้าไม่อยากทุกข์เพราะคำตำหนิ ก็อย่าไปดีใจเวลาได้รับคำสรรเสริญ

    ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาผู้มีปัญญาจึงไม่หวั่นกลัวคำว่ากล่าว กลับเชิญชวนด้วยซ้ำ ดังเห็นได้จากพิธีปวารณาในวันสุดท้ายของการจำพรรษา
    จะว่าไปแล้วการปวารณาดังกล่าวไม่ควรเป็นเรื่องของสงฆ์เท่านั้น แม้คฤหัสถ์ก็ควรกระทำต่อกันเช่นกัน
    ดังนั้นจึงอย่าปล่อยให้ปวารณาเป็นแค่พิธีกรรม แต่ควรผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและชุมชน ด้วยวิธีนี้เท่านั้นที่ชีวิตดีงามจึงจะเป็นอันหวังได้

    พระไพศาล วิสาโล
    มติชน ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    a.jpg





    พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธะทรงตรัสว่า ' เธอจะได้ทุก
    สิ่งตามที่ปรารถนา ด้วยการทำเหตุ ๔ ประการนี้ '
    - รักษาศีลให้ดี
    - ไม่เหินห่างจากฌาน (ส้องเสพเมตตาจิต แม้เพียงชั่วการ
    ลัดนิ้วมือ)
    - ประกอบด้วยวิปัสสนา(จิตปราศจากนิวรณ์๕ แล้วจึงค่อย
    พิจารณาธรรม)
    - ทำสุญญาคารวัตรให้งอกงาม(หาสถานที่สันโดษเพื่อ
    เจริญจิตภาวนา)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    a.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]

    ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ใดปรารถนาพระนิพพาน จงยังอสุภ กรรมฐานในตนให้เห็นแจ้งชัดเถิด
    ครั้งไม่เห็นก็ให้พิจารณา ปฏิกูลสัญญาลงในตนว่า
    แม้ตัวของเรานี้ถึงยังมีชีวิตอยู่ ก็เป็นของน่าพึงเกลียดพึงเบื่อหน่ายยิ่งนัก
    ถ้าหากว่าไม่มี หนังหุ้มห่อไว้แล้ว ก็จะเป็นของน่าเกลียดเหมือนอสุภะแท้
    เพราะมีหนังหุ้มห่อไว้จึงพอดูได้ อันที่แท้ตัวตนแห่งเรานี้ จะตั้งอยู่ได้ก็ด้วยลมอัสสาสะ ปัสสาสะเท่านั้น
    ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ตัวตนนี้ก็จะเน่าเปื่อยผุพังไป แต่นั้นก็จะเป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลายมีหนอนเป็นต้น จะมาเจาะไชกิน
    ส่วนลมหายใจเข้าออกซึ่งเป็นเจ้าชีวิต นั้นเล่า ก็เป็นอนัตตา
    ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ของของตัว เขาอยากอยู่ เขาก็อยู่ เขาอยากดับเขาก็ดับ
    เราจะบังคับบัญชาไม่ได้ ตามปรารถนา
    ถ้าขาดลมหายใจเข้าออกแล้ว ความสวย ความงามในตน และความสวยความงามภายนอก คือ บุตรภรรยาและข้าวของเงินทองเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งปวง ก็ย่อมหายไปสิ้นด้วยกันทั้งนั้น เหลียวซ้ายแลขวาจะได้เห็นบุตรภรรยาและหลานก็หามิได้ ต้องอยู่คนเดียวในป่าช้าหาผู้ใดจะเป็นเพื่อนสองมิได้

    ดูก่อนอานนท์ บุคคลผู้ใดพิจารณาเห็นอสุภกรรมฐาน ๓๒ ประการ
    เห็นซากผีดิบในตน ชื่อว่าได้ถือเอาความสุขในทางพระนิพพาน

    วิธีเจริญอสุภกรรมฐานตามลำดับ
    คือ ให้ปลงจิตลงในเกสา (ผม) ให้เห็นเป็นอสุภะ แล้วให้สำคัญในเกสานั้นว่าเป็นอนัตตา แล้วให้เอาโลมา (ขน) ตั้งลงปลงจิตให้เห็นเป็นอสุภะเป็น อนัตตา
    แล้วเอานขา (เล็บ) ทันตา (ฟัน) ตั้งลงปลงจิต ให้เห็นเป็นอสุภะเป็นอนัตตา แล้วให้เอาตโจตั้งลงตาม ลำดับไป จนถึงมัตถเกมัตถลุงคังเป็นที่สุด พิจารณาให้เห็นเป็นอสุภะเป็นอนัตตาโดยนัยเดียวกัน

    ดูก่อนอานนท์ เรา ตถาคตแสดงมานี้โดยพิสดาร
    ให้กว้างขวางทั้งเบื้องต้นและ เบื้องปลาย แท้จริงบุคคลผู้มีปัญญารู้แล้ว ก็ให้สงเคราะห์ลงใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เท่านั้น

    บุคคลผู้มีปัญญา จะเจริญอสุภกรรมฐาน ท่านมิได้เจริญแต่ต้นลำดับไปจน ถึงปลาย เพราะเป็นการเนิ่นช้า ท่านยกอาการอันใดอันหนึ่งขึ้นพิจารณาสงเคราะห์ลงใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ท่านก็ย่อมได้ถึงมรรคผลนิพพานโดยสะดวก

    การที่เจริญ อสุภกรรมฐานนี้ ก็เพื่อจะให้เบื่อหน่ายในร่างกายของตน อันเห็นว่าเป็นของสวยของงามทั้งวัตถุภายในและภายนอก ให้เห็นเป็นของเปื่อยเน่าผุพัง จะได้ยกตนให้พ้นจากกิเลส ตัณหา

    ผู้มีปัญญารู้แล้วไม่ควรชื่นชมยินดีในรูปตนและผู้อื่น ทั้งรูปหญิงรูปชาย ทั้งวัตถุข้าวของดีงามประณีตบรรจงอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เพราะว่าความรักทั้งปวงนั้นเป็นกอง กิเลสทั้งสิ้น ถ้าห้ามใจให้ห่างจากกองกิเลสได้ จึงจะได้รับ ความสุขทั้งชาตินี้และชาติหน้า

    ถ้าหากใจยังพัวพันอยู่ใน กองกิเลสแล้ว ถึงแม้จะได้รับความสุขสบายก็เพียงชาตินี้ เท่านั้น เบื้องหน้าต่อไปไม่มีทางที่จะได้เสวยสุข มีแต่ เสวยทุกข์โดยถ่ายเดียว

    ผู้มีปัญญาเมื่อได้เจริญอสุภานุสสติ กรรมฐาน เอาทวัตติงสาการ ๓๒ เป็นอารมณ์ ก็ควรละกองกิเลสตัณหาให้ขาดสูญ เมื่อรู้แล้วปฏิบัติตามจึงจะเห็น ผลเป็นกุศลต่อไป เมื่อรู้แล้วไม่ปฏิบัติตามก็หาผลอานิสงส์ มิได้ เพราะละกิเลสตัณหามิได้ เปรียบเหมือนบุคคลผู้ตก เข้าไปในกองเพลิง เมื่อรู้ว่าเป็นกองเพลิง ก็รีบหลีกออกหนี จึงจะพ้นความร้อน ถ้ารู้ว่าตัวตกเข้าอยู่ในกองเพลิง แต่มิได้พยายามที่จะหลีกออกหนีออก จะพ้นจากความร้อน ความไหม้อย่างไรได้
    ข้ออุปมานี้ฉันใด บุคคลรู้แล้วว่าสิ่งนี้เป็นโทษแต่มิได้ละเสีย ก็มิได้พ้นจากโทษเหมือนกับผู้ไม่พ้นจากกองเพลิงฉะนั้น

    ดูก่อนอานนท์ผู้รู้แล้วมิได้ทำตามนั้น จะนับว่าเป็นคนรู้ไม่ได้ เพราะไม่เกิดมรรคเกิดผลเลย

    เราตถาคตอนุญาตตั้งศาสนธรรมคำสั่งสอนไว้นี้ ก็เพื่อว่า เมื่อผู้รู้แล้วว่าสิ่งใดเป็นโทษให้ละเสีย มิใช่ตั้งไว้เพื่ออ่านเล่น ฟังเล่น พูดเล่น เท่านั้น

    บุคคลทั้งหลายล้วนเสวยทุกข์ในมนุษย์และในอบายภูมิทั้งนั้น ไม่ใช่สิ่งอื่นเลยเป็นเพราะ กิเลสราคะตัณหาอย่างเดียว ถ้าบุคคลผู้ยังไม่พ้นจากกิเลสราคะตัณหาตราบใด ก็ยังไม่เป็นผู้พ้นจากอบายทุกข์ได้ จนตราบนั้น

    คัดลอกมาจาก คีรีมานนทสูตร

    บทพิจารณาอาการ ๓๒ ประการ

    อะยัง โข เม กาโย-กายของเรานี้แล

    อุทธัง ปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

    อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

    ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

    ปุโรนานัปปะการัสสะ อสุจิโน-เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ

    อัตถิ อิมัสมิง กาเย-มีอยู่ในกายนี้

    เกสา-ผมทั้งหลาย

    โลมา-ขนทั้งหลาย

    นะขา-เล็บทั้งหลาย

    ทันตา-ฟันทั้งหลาย

    ตะโจ-หนัง

    มังสัง-เนื้อ

    นะหารู-เอ็นทั้งหลาย

    อัฏฐี-กระดูกทั้งหลาย

    อัฏฐิมิญชัง-เยื่อในกระดูก

    วักกัง-ม้าม

    หะทะยัง-หัวใจ

    ยะกะนัง-ตับ

    กิโลมะกัง-พังผืด

    ปิหะกัง-ไต

    ปัปผาสัง-ปอด

    อันตัง-ไส้ใหญ่

    อันตะคุณัง-สายรัดไส้

    อุทะริยัง-อาหารใหม่

    กะรีสัง-อาหารเก่า

    ปิตตัง-น้ำดี

    เสมหัง-น้ำเสลด

    เสโท-น้ำเหงื่อ

    เมโท-น้ำมันข้น

    อัสสุ-น้ำตา

    วะสา-น้ำมันเหลว

    เขโฬ-น้ำลาย

    สิงฆานิกา-น้ำมูก

    ละสิกา-น้ำมันไขข้อ

    มุตตัง-น้ำมูตร

    มัตถะเก มัตถะลังคัง-เยื่อในสมอง

    เอวะมะยัง เม กาโย-กายของเรานี้อย่างนี้

    อุทธังปาทะตะลา-เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา

    อะโธเกสะมัตถะกา-เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงไป

    ตะจะปะริยันโต-มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบ

    ปุโรนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน- เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆอย่างนี้แล

    “สงขารา ปรมา ทุกขา สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์อย่างยิ่ง”
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]


    โอวาทธรรมหลวงปู่วีระ คณุตฺตโม

    พึงระวังรักษาศีลให้บริสุทธิ์ สำหรับผู้เป็นฆราวาส ก็อย่างน้อยศีล ๕ ขึ้นไป พึงหลีกเลี่ยงจากกามฉันทะ อย่าไปตรึกนึกถึงมันให้มากนัก เพราะเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ตัวสำคัญเสียด้วย สิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษ อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาททั้งหลาย ตลอดทั้งการดูการละเล่น หรือประโคมดนตรี เหล่านี้ ก็ล้วนแต่เป็นเครื่องกีดกั้นหนทางเจริญสมาธิ และปัญญาทั้งสิ้น

    ......................
    จากหนังสือ
    สมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  16. choksila58

    choksila58 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    631
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,059
    ..รวบรวมมาดีมาก.. สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    [​IMG]



    คติธรรมคำสอนของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    จากหนังสือ ขันธะวิมุติสะมังคีธรรมะ
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,268
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,110
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ..............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 กุมภาพันธ์ 2015
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...