วีดีโอ poysian ถามเรื่องสร้างบาตรแก้ว หน้า 9 #169

ในห้อง 'ธรรมทาน - วิทยาทาน' ตั้งกระทู้โดย glassbuddha2009, 8 ธันวาคม 2014.

  1. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    [​IMG]
    ทรายทะเลขาวที่เขานำมาหลอมแก้ว ในภาพนี้เป็นทรายทะเลขาวล้วน ๆ หากนำมาหลอมโดยไม่ใช่เคมีหรือแก้วรีไซเคิ้ลปะปน ต้องใช้ความร้อนสูงขึ้นมากและเวลาการหลอมก็นานขึ้น เมื่อได้นำแก้วที่หลอมจากทรายล้วนก็จะหนืดกว่าทรายผสมเคมีและกระจกรีไซเคิ้ลปน
     
  2. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    เย็นวันนี้คุณโอโทรเรียกผมไปกราบพระสุปฏิปันโนที่มาจากต่างจังหวัด มาพักที่วัดใหม่เสนา ตอนจะกลับผมจึงขอถ่ายพระแก้วกลวงสีฝ้าหน้าตัก 9 นิ้วที่ผมได้ถวายไว้ที่ห้องนั่งสมาธิของนักเรียนครูสมาธิหลวงปู่วิริยังค์ครับ องค์นี้ผมถวายโดยตรงกับครูสมาธิ ที่ถวายหลวงปู่นั้นไปถวายที่วัดธรรมมงคลครับ

    ผมลองถ่ายแบบเร็ว ๆ เพราะเขาเปิดห้องให้ถ่ายเป็นพิเศษ เกรงใจคนเปิดห้องครับ


    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17641.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17642.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17643.jpg">

    ต้องยอมรับว่าครูสมาธิที่นี่เขาดูแลรักษาพระแก้วจริง ๆ นี้ได้ดีทีเดียวครับ
     
  3. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    ขออนุญาตโพสต์รูปใหญ่สักระยะหนึ่ง ( หากทำให้ช้าจะลบทิ้ง )

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17645.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17646.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17647.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17648.jpg">
     
  4. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    โพสต์ภาพพระแก้วกลวงฝ้าหน้าตัก 9 นิ้ว ภาพใหญ่สุดจากการขยายเพิ่ม

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/17649.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/1764a.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/1764b.jpg">

    <img border="1" bordercolor="#cccccc" src="http://www.picsiam.com/img/1764c.jpg">
     
  5. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    บันทึกการปรากฏของภาพใหญ่สุดในความคิดเห็นที่ #104 นั้น เนื่องจากสองวันนี้มีฝนตกหรือไม่ ? ภาพใน smarttv จึงปรากฏได้เฉพาะรูปสุดท้ายด้านล่างใน 104

    ขอรอดูอากาศอีกวันสองวัน และหากได้ถ่ายภาพใหม่จากกล้องที่ได้รับบริจาคมาใหม่ จะได้เปรียบเทียบคุณภาพของภาพด้วย
     
  6. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    melting sand into glass

    ผมลองค้นหาใน google โดยใช้ศัพท์ melting sand into glass เผื่อว่าท่านที่กำลังสนใจ ต้องการสร้างชิ้นงานแก้วในลักษณะต่าง ๆ โดยทดลองสร้างจากทรายแม่น้ำธรรมดาก่อน ผมจึงพยายามนำไปตามที่เมืองนอกเขาได้ลองทำ การลองทำนี้จะทำให้เกิดความมั่นใจในการหลอมทรายทีละเล็กละน้อยก่อน แค่เผาด้วยแก๊ส หรืออะไรที่จะเป็นการลองเล่น ๆ เมื่อท่านเข้าใจธรรมชาติของทรายที่หลอมเป็นแก้ว ไม่ว่าจะเป็นทรายทะเลขาว หรือที่ภาษาชาวช่างแก้วเรียกว่าทรายแก้ว ซึ่งผมค่อนข้างค้าน เพราะทรายแม่น้ำ ทรายอื่น ๆ รวมทั้งหินที่มีสีโปร่งแสงต่าง ๆ ก็อาจหลอมเป็นแก้วได้เช่นกัน จึงไม่ควรเหมาว่าทรายแก้วนั้นเฉพาะทรายทะเลขาว

    เอาละครับ ลองดูว่าเมืองนอกเขาทำอะไรกับทรายแม่น้ำบ้าง


    [​IMG]
    หัวแร้งชนิดนี้จะเรียกว่าอะไรดี ที่ผมเรียกว่าหัวแร้งเพราะใช้ศัพท์ที่ช่างทั่ว ๆ ไปเขาใช้ คือเมื่อมีหัวโลหะยื่นออกมาแหลม ๆ คล้ายปากของนกแร้ง เขาก็เรียกหัวแร้งกัน คราวนี้ก็คือเอาหัวแร้งที่ให้ความร้อนสูงประมาณ 2,000 ํC ขึ้นไป ซึ่งแทบทุกหัวที่ใช้แก๊สแรง ๆ ก็เกินอยู่แล้ว หลอมเล่น ๆ ครับ ใน google รูปนี้เขาให้เปิดดู youtube เครื่องผมเปิดไม่ได้

    [​IMG]

    The basic technique of sand casting dates back thousands of years in time. Metal is melted and poured into a mold made of bound sand – an abundant material which is resistant to heat. After the molten metal is cooled, the sand mold is destroyed and a ‘casting’ is removed.

    Mid Atlantic Sand Castings | Maryland Sand Castings | Baltimore Castings | Danko Arlington, Inc.
     
  7. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    ไม่ทราบว่าภาพเหล่านี้ด้านล่างจะเป็นสิ่งที่เขาหลอมมาจากทรายต่าง ๆ แบบหลอมเล่น ๆ หรือไม่ ?

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    ภาพด้านบนนี้น่าจะเป็นการใช้หัวแร้ง หรือหัวพ่นแก๊สชนิดแหลมเล็ก แล้วจี้ไฟลงไปในทรายโดยจี้อยู่จุดเดียวเป็นเวลานาน และเมื่อมีโอกาสก็กดหัวไฟลงไปลึกเพิ่มขึ้นอีก เพื่อให้เกิดทรายหลอมเหลวที่เมื่อเป็นก้อนแก้วแล้วจะมีลักษณะแบบนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2015
  8. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    [​IMG]

    ดูเหมือนภาพนี้จะเป็นความพยายามให้เป็นรูปหัวใจ

     
  9. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
  10. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ผมเชื่อว่านี่คือโรงงานเล็ก ๆ ที่หลอมทรายต่าง ๆ ให้เป็นแก้วชนิดต่าง ๆ

    น่าจะเป็นประเทศทางอาฟริกา ดูซิ อาฟริกายังนำหน้าไทยเสียอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2015
  11. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    [​IMG]

    [​IMG]

    นี่เป็นหินกรวดในธรรมชาตินะครับ พบได้ทั้งในทะเลและในแม่น้ำ

    ในน้ำทะเลพบหลายหลากสี

    ในแม่น้ำโดยเฉพาะแม่น้ำโขงพบสีใส สีใสฝ้าจำนวนหนึ่ง มักเรียกกันว่าปฐวีธาตุ

    สามารถนำมาหลอมเล่นได้ครับ หลอมเป็นแก้วได้โดยไม่ต้องผสมอะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2015
  12. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    [​IMG]
    พระแก้วองค์นี้หน้าตักประมาณเกือบสี่นิ้ว ผมวางบนก้อนแก้วดิบ ๆ ที่ไม่ได้ผ่านแม่พิมพ์ ไม่ไ้ด้ผ่านการอบลดอุณหภูมิใด ๆ แต่ด้วยความบังเอิญเขาไม่แตกรานหรือแตกร้าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 106492a.jpg
      106492a.jpg
      ขนาดไฟล์:
      160.5 KB
      เปิดดู:
      1,041
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 มกราคม 2015
  13. do4

    do4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +799
    ทุกภาพชัดเจนคับคุนอา
     
  14. do4

    do4 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    344
    ค่าพลัง:
    +799
    น่าสอนทำขายคับคุนอา เผาทรายเล่นขายม่ายด้ายหย่าทำคุนอา
     
  15. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    ตอบคุณ do4 ครับ การขายชิ้นงานแก้วในประเทศไทยนั้นคงขายไม่ได้ หรือได้ก็ไม่กี่สตางค์ คงไม่คุ้มค่าเช่าแผงแบกะดินด้วยซ้ำครับ

    เพราะฉะนั้น ท่านที่มีเงินค่าแก๊สหรือเชื้อเพลิงอื่นใด ๆ หรือแม้กระทั่งไฟฟ้า อยากจะหลอมทรายเล่นเพื่อเป็นงานอดิเรก ผลพลอยได้คือความเข้าใจในธรรมชาติของแก้วมากยิ่งขึ้น เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญด้านงานแก้วมาก ๆ ต่อไปการจะสร้างชิ้นงานใหญ่ขึ้น ๆ ในที่สุดก็มักจะลงเอยด้วยการสร้างสิ่งสูงสุดคือพระพุทธปฏิมากรนั้นย่อมสำเร็จครับ
     
  16. poysian

    poysian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,140
    ค่าพลัง:
    +2,422
    พี่ครับ .งานแก้วโซดารามผมไม่ค่อยมีความรู้..แต่แก้วborosilicate3.3 .ผมทำแก้วท่อกลวง ขนาดหนาประมาณ3-5มม. ผมอบที่ 565องศาเซลเซียส 1.5-2ชั่วโมง ..แล้วจึงค่อยปิดเตา ..แต่เนื่องจากเตาอบของผม คายความร้เอนช้ากว่าเตาทั่วไป .ซึ่งหากเอากันจริงๆ ก็อีก2วันจึงค่อยมาเปิดเตาครับ สามารถหยิบจับออกมาได้สบาย ....ผมลองดูภาพงานแก้วตันองค์พระที่พี่ลงรูปไว้ ประมาณการเอาเองว่าน่าจะอบอยู่ในเตาประมาณเดือนเศษอย่างที่พี่ว่า แต่คงต้องมีอิฐเบาทนไฟรองพื้นและมีใยเซรามิคหนาซัก5มม.รองปูอีกที ..เพราะบางเตาที่ผมเคยเจอมาบ้าง พื้นเตาจะเป็นแผ่นทนความร้อนชนิดแข็งสะท้อน(ความร้อน) มันเก็บความร้อนขังตัวนานมากครับ ..เกรงตรงกลางแก้วโอเคแล้วแต่ตรงพื้นหรือฐานยังร้อนอยู่ครับ ..แต่ยังไงซะผมยังความรู้น้อยครับ ..ยังต้องทดลองงานต่อไปอีกเรื่อย อ่านที่พี่ลงแล้วพอเข้าใจตามสภาพปัญญาที่มีบ้างน่ะครับ
     
  17. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    แก้วแต่ละชนิด และแต่ละเกรดก็อบต่างกัน

    ..................

    คุณโป๊ยเซียนคือช่างเป่าแก้วด้วยแก๊สใช่ไหมครับ ? แก้วโบโรซิลิเกตหรือแก้วแท่งตัน แก้วแท่งกลวง ใช้ในงานวิทยาศาสตร์ คนไทยบางทีก็มาทำเป็นตัวสัตว์ตุ๊กตา เรือสุพรรณหงส์ เป็นแก้วอีกชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่นระหว่างอุณหภูมิสูง และ ต่ำได้เป็นอย่างดีในระดับหนึ่ง เนื่องจากเคมีที่ผสมมีอะไรมากกว่าแก้วโซดาไลม์ซิลิก้า สูตรพิเศษมีเคมีตัวอื่น ๆ เพิ่มอีก รวมทั้งแต่ละสูตรก็เทียบเท่ากับแต่ละเกรด ความร้อนที่ใช้อบต่างกันครับ ผมเคยพบครูที่ทำแก้ววิทยาศาสตร์บางท่านเริ่มอบลดที่ 650 ํC ของคุณโป๊ยเซียนมาเริ่มอบที่ 565 ํC ถือว่าใช้ได้ทั้งคู่ครับ เพราะการเริ่มอบที่ 600 ํC เขาเรียกว่า play safe ( Safety ) ถ้าเริ่มอบที่ 565 ํC เขาเรียกว่า play save ( เซฟตังค์ ) เพราะการเริ่มที่สูงกว่าจุดจำเป็น บางท่านบอกว่าปลอดภัยไว้ก่อน แต่บางท่านก็บอกว่าสิ้นเปลืองพลังงานใช่เหตุ

    เมื่อเราเล่นกับแก้ว เราต้องเข้าใจธรรมชาติของแก้ว บางท่านบอกว่าแก้วโบโรซิลิเกตเขาเป่าแก๊สเสร็จไม่ต้องอบ เพราะฉะนั้นเขาเข้าใจว่า แก้วแก๊สทุกชนิดไม่ต้องอบ ความจริงก็คือ แก้วทุกชนิดต้องการการอบ ( หากเป็นโบโรชิ้นเล็กมากไม่ต้องอบ ) แก้วโบโรที่มีโบรอนสูง ตอนอบช่างบางคนคิดว่าโบรอนจะทำงานทันที แต่ไม่ใช่เลย โบรอนจะทำงานหลังการเรียงอณูเสร็จครั้งแรกหลังจากหลอมละลายเต็มที่ เมื่อมันเรียงอณูเสร็จด้วยการผ่านการอบที่ถูกต้อง นั่นแหละโบรอนจะทำงาน ทำให้ทนร้อนทนเย็นได้มากตามแต่ละสูตร

    การปิดเตาให้สนิทแล้วดับไฟคือจุดที่ผมกำลังจะจูงความสนใจไปให้ถึงจุดนั้น จากการที่ผมเคยดูสารคดีของญี่ปุ่น เขาใช้เตาเซรามิคพอสเลนลักษณะแบบอานากาม่า แล้วซีลสนิทหมดทุกด้าน ใช้ต้นสนทั้งต้นมาเป็นเชื้อเพลิง คือส่งฟืนความยาวหลายเมตรเข้าเตาที่ออกแบบห้องเผาไหม้ให้ฟืนต้นสนเข้าไหม้ เมื่อทุกอย่างถึงจุดเขาก็ปิดซีลทุกจุดไม่ให้ความร้อนลดได้ แล้วก็ทิ้งไปสักเดือนสองเดือนค่อยมาเปิด งานของเขาออกมาดีมีคุณภาพสูง

    รอผมด้วยครับ ผมกำลังจูงความสนใจเข้าไปให้ถึงจุดนั้นก่อน แล้วจะได้เขียนต่อไปถึงเตาอุโมงค์ที่ปิดไฟ ดับไฟ ทิ้งเป็นเดือนเป็นปีครับ
     
  18. poysian

    poysian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,140
    ค่าพลัง:
    +2,422
    ครับพี่..ผมทำแก้วชุดทดลองในห้องlab ...แต่ถ้าอบ650องศาเซลเซียส แก้วมีแบนลงนิดๆครับ แต่สำหรับแก้วตันยังไม่เคยลองที่650องศาเซลเซียสครับ ...ส่วนเตาอบนี่ถ้าของพี่มีวัสดุที่ที่เตาอบเก็บความร้อนได้นานขนาดนั้นได้ก็ดีเลยครับ ผมลองหาข้อมูลดูและไปที่ร้านขายวัสดุทำเตาเผา ก็ส่วนมากก็มีแค่ปูนทนไฟ อิฐทนไฟ..และแผ่นรองพื้น และใยเซรามิคบุผนัง...// แต่ผมเคยเห็นของอาจารย์ท่านนึงทำเตาเอบแก้วแบบแก็ส อุณหภูมิ ขึ้นเร็วหรือช้าก็แล้วแต่เรานั่งควบคุมการพ่นไฟเข้าไฟในเตา ...ก็ใช้งานได้ดี ประหยัดครับ ...อ้อ ปัญหาอย่างนึงของเตาอบแก้วที่เคยเจอกันนะครับ คือ ความร้อนในช่วงครึ่งชั่วโมงแรกหรือมากกว่านั้น ที่ยังไม่ทั่วภายในเตาครับพี่ ..คือบางท่านทำเตาหรือซื้อเตาเอบมาและมีจอแสดงอุณหภูมิแบบดิจิตอล ...แต่เมื่ออุณหภูมิได้ตามที่ต้องการแล้ว เขาทิ้งไว้อีกครึ่งชั่วโมงบ้าง 1ชั่วฌมงบ้าง หรือ1ชั่วโมงครึ่งบ้าง ..แต่หลังปิดไฟ..และทิ้งชิ้นงานในเตาจนผ่านไปได้1-2วัน ..พอเปิดเตาอบเพื่อนำชิ้นงานออกมา ปรากฎว่า ชิ้นงานที่อยู่ด้านล่างของมุมใน หรือชิ้นงานที่อยู่บางจุดของเตา ยังปรากฏมีเขม่าดำที่ก่อนทำแก้วลนไว้ ยังติดอยู่เลยครับ ..ของผมก็มีเป็น เลยใช้วิธีเพิ่มเวลาในการอบกรณีใส่ชิ้นงานมากและมีชั้นรองหลายชั้น ..บางทีก้ต้องอบถึง3ชั่วโมงหรือเกินกว่าไปเลย ถึงจะปิดสวิทย์เตาครับ .....เรื่องอบแก้วนี่สำคัญครับ ไม่อบแก้วก็แตกต่อให้ไม่แตก มันก้เป็นสเตนบนแก้ว ..หากต้องใช้ไฟส่องชิ้นงานให้ดูสวย ผมไม่รู้ว่าการหักเหของแสงในชิ้นงานนั้น มันจะเหมือนกับชิ้นงานที่อบหรืิอเปล่า(ยังไม่เคยลองครับ) ..แต่ถ้าใช้เครื่องวัดสเตน น่ะเห็นวงเหลืองๆ เกิดรอบรอยต่อรอยเชื่อมแน่ๆครับ ...//เดี๋ยวรอความรู้ของทางพี่มาลงอีกทีนะครับ ..
     
  19. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    ยินดีที่ได้พบช่างแก้วด้วยกันครับ

    ......................

    ที่ขอล๊อคคำถามของคุณโป๊ยเซียน ไม่มีเจตนาอื่นนะครับ เพราะบางทีผมอยากเมคชัวร์ว่า ไม่เปลี่ยนคำถามภายหลัง เพราะงานแก้วนี่รู้ ๆ เลยว่า การเปลี่ยนโจทย์แม้แต่น้อยก็ขำไม่ออก ยิ่งภาคปฏิบัติแล้ว เกาไม่รู้ที่คันเลยครับ

    ขอบคุณมากครับที่ช่วยตอบเพื่อเป็นความรู้ในที่สาธารณะ เพราะจะได้ถ่ายทอดงานต่อ ๆ กันไป เพื่อในที่สุดการสร้างสิ่งสูงสุดก็จะปรากฏขึ้นได้มากมายหลายหลากสาขาวิชาแก้ว และอย่างที่สำนักแห่งหนึ่ง อย่าไปเอ่ยชื่อ สำนักนั้นบอกว่า ท่าน ( ท่านเป็นพระภิกษุที่ดังมาก ) ท่านบอกว่าไปพบในพระไตรปิฏก บอกว่า ผู้ที่สร้างพระพุทธปฏิมากรด้วยทรายที่อยู่หาดทราย พอคลื่นทะเลซัดมาก็พัง ยังมีอานิสงส์ ท่านที่เอาไม้มาแกะสลักพระพุทธรูป อานิสงส์มากยิ่งขึ้น ในที่สุดพระพุทธรูปทองคำมากยิ่งขึ้นไปอีก และอัญมณีที่สำเร็จเองในธรรมชาติยังเป็นรองจากการสร้างด้วยแก้ว แต่ท่านไม่ได้บอกว่าเป็นแก้วอะไร ผมเข้าใจเองว่าคงเป็นแก้วที่ต้องหลอมต้องอบด้วยความวิริยะอุตสาหะจริง ๆ ครับ ( ตรงนี้ถ้าพระภิกษุดังรูปนั้นกล่าวไม่ได้หมายถึงที่ผมกล่าวนี้ ผมต้องขอขมาต่อพระรัตนตรัยไว้ด้วยนะครับ ผมอาจมีความลำเอียงในการสร้างพระแก้วที่มนุษย์หลอมและขึ้นรูป มากที่สุดครับ )
     
  20. glassbuddha2009

    glassbuddha2009 087-7459995 สมบูรณ์ ติยะวงศ์สกุล

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    37,113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +53,844
    glassbuddha2009 : ก่อนอื่นขอแสดงความยินดีกับคุณ poisian ที่เป็นช่างแก้่ววิทยาศาสตร์คนไทย ซึ่งมีไม่กี่ท่านเท่านั้นในไทย

    ...........................

    glassbuddha2009 : ย้อนประโยคของคุณ poisian ตั้งแต่ต้นใหม่อีกทีครับ

    หน้า 6 #116

    poisian : " พี่ครับ .งานแก้วโซดารามผมไม่ค่อยมีความรู้..แต่แก้วborosilicate3.3 .ผมทำแก้วท่อกลวง ขนาดหนาประมาณ3-5มม. "

    glassbuddha2009 : สวัสดีครับคุณ poisian . ไม่มีช่างแก้วคนไหนที่รู้เรื่องแก้วทุก ๆ ชนิด ตั้งแต่แก้ว

    Sodalimeglass เรียกอีกอย่าง Sodalimesilica ซึ่งเฉพาะชนิดนี้ก็หลายร้อยเกรด

    Borosilicate หรือจะเรียก Duran Glass หรือ Pyrex Glass หรืออื่น ๆ

    Full lead Glass ตั้งแต่ 18%PbO ขณะนี้ทราบว่ามีไปถึงเกิน 45%PbO แล้ว

    และยังมีอีกหลายชนิดของแก้ว

    โดยเฉพาะภาคปฏิบัติครับ

    ...........................

    glassbuddha2009 : ขอถามคุณโป๊ยเซียนหน่อยครับ

    แก้ว borosilicate 3.3 . ในที่นี้คำว่า 3.3 . หมายถึงอะไรครับ ?

    ท่อแก้วกลวงหนาประมาณ 3 - 5 มิลลิเมตร เป็นตัวท่อแก้วกลวงเพื่อเชื่อมต่อให้เกิดระยะทางเดินของ... ส่วนหม้อต้มหรือจะเรียกว่าลูกโป่งมีความหนาเฉลี่ยประมาณเท่าใดครับ

    ...........................

    poisian : " ผมอบที่ 565องศาเซลเซียส 1.5-2ชั่วโมง ..แล้วจึงค่อยปิดเตา ..แต่เนื่องจากเตาอบของผม คายความร้เอนช้ากว่าเตาทั่วไป .ซึ่งหากเอากันจริงๆ ก็อีก2วันจึงค่อยมาเปิดเตาครับ สามารถหยิบจับออกมาได้สบาย "

    glassbuddha2009 : แก้วโบโรหนา 3 - 5 ม.ม. โดยไม่มีส่วนใดหนาน้อยกว่า 3 ม.ม. เลย ถือเป็นแก้วที่หนาพอสมควรทีเดียว การอบที่ 565 ํC โดย soak 1.5 - 2 ชั่วโมง แล้วปิดไฟ ดับไฟ ปิดเตาที่ซีลได้ดีมาก ๆ ปล่อยทิ้งอีก 2 วัน นับเป็นวิธีลดแบบธรรมชาติที่ผมคิดว่าประหยัดพลังงานสูงสุด แต่เสียเวลารอชิ้นงานนาน ถ้าเป็นเตาของคุณอจินไตย เขามีตัวบังคับที่ดีมาก ๆ เพราะเตาเขา เขาเคยบอกว่าสิบกว่าล้านบาท เอาเป็นว่า อย่าไปพูดถึงราคาเตาเล็ก ๆ แค่ไม่ถึงคิวเมตรราคาสิบกว่าล้าน ผมว่าวิธีนี้ก็น่าจะใช้ได้ดี

    ...........................

    poisian : " ผมลองดูภาพงานแก้วตันองค์พระที่พี่ลงรูปไว้ ประมาณการเอาเองว่าน่าจะอบอยู่ในเตาประมาณเดือนเศษอย่างที่พี่ว่า แต่คงต้องมีอิฐเบาทนไฟรองพื้นและมีใยเซรามิคหนาซัก5มม.รองปูอีกที ..เพราะบางเตาที่ผมเคยเจอมาบ้าง พื้นเตาจะเป็นแผ่นทนความร้อนชนิดแข็งสะท้อน(ความร้อน) มันเก็บความร้อนขังตัวนานมากครับ ..เกรงตรงกลางแก้วโอเคแล้วแต่ตรงพื้นหรือฐานยังร้อนอยู่ครับ "

    glassbuddha2009 : ที่คุณโป๊ยเซียนว่าถ้าสร้างพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วต้องอบเดือนเศษนั่นจากตำราฝรั่งกันเลยทีเดียวครับ แต่ฝรั่งที่สร้างพระแก้วหน้าตัก 8 นิ้วเองก็ยังหาวิธีย่นย่อเวลาให้น้อยลง เรียกว่าฝรั่งค้านฝรั่ง เพราะค่าพลังงานแพงมาก ถ้าพระแก้วหน้าตัก 9 นิ้วต้องอบเดือนเศษ ค่าจ้างคนเฝ้าเตาอย่างเดียวของฝรั่งก็แค่คนละหลาย ๆ แสนบาทต่อคน ผมถามว่าพระแก้วองค์ละกี่ล้านจึงจะพอ

    ส่วนประสิทธิภาพของเตานั้นจะซีลได้ดีแค่ไหน เอาไว้จะกล่าวภายหลัง โดยเตาอบแก้วหรือเซรามิคในไทยส่วนมากมีประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ ลองหันมาดูเตาโบราณแบบญี่ปุ่นที่อาจเรียกเตาอานากาม่า หรือเตาแบบอื่น ๆ เอาไว้ศึกษาพร้อม ๆ กันอีกทีครับ

    ...........................

    poisian : " แต่ยังไงซะผมยังความรู้น้อยครับ "

    glassbuddha2009 : ผมเองก็เช่นกันครับ เรื่องเตาอบนี่ผมมีความรู้เพียง 2 อย่าง คือแบบเตาอุโมงค์ปิด กับเตาโซ่เลื่อนที่ใช้กับแก้วบางประเภทจาน ชาม ถ้วยหรือชิ้นงานที่ต้องทยอยเข้าเตาอบวันละหลายพันชิ้น เพราะไม่เลื่อนเราคงเหนื่อยแย่

    ...........................

    poisian : " ยังต้องทดลองงานต่อไปอีกเรื่อย อ่านที่พี่ลงแล้วพอเข้าใจตามสภาพปัญญาที่มีบ้างน่ะครับ "

    glassbuddha2009 : ผมเองก็ยังต้องทดลองต่อไปอีกเรื่อย ๆ ครับ ขอบพระคุณที่อ่านแล้วพอเข้าใจครับ ผมเองเขียนไปก็ยิ่งทำให้รู้สึกว่า ความรู้ของตัวผมเองก็ยังไม่มาก เคยมีครูบาอาจารย์หลายท่านบอกว่า คนเราเกิดมาเป็นช่างแก้ว ไม่ใช่เป็นทุกอย่างที่เกี่ยวกับแก้ว เพราะช่างเป่าแก้วด้วยปอดก็ทำอย่างอื่นไม่เป็น ใช้ให้ไปดูเตาเฝ้าเตาก็ไม่เป็น ใช้ให้ไปผสมเคมีก็ไม่เป็น เอาช่างผสมเคมีไปเป่าแก้วด้วยปอดก็ไม่เป็นเช่นกัน และความรู้ต่าง ๆ ในช่างแต่ละชนิดจะไม่ข้ามกัน เพราะคนนึงถนัดอย่างเดียว ไม่ค่อยพบคนที่ถนัดหลายอย่างครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...