เทพปกรณัม....ลำนำแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ภราดรภาพ, 10 กุมภาพันธ์ 2015.

  1. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ เปิดบารมีวิชชาสาม
    ในวันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558
    ณ วัดผ่องพลอย ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 17.00 น.

    มีค่าบูชาครูท่านละ 99 บาท. (ชำระหนี้สงฆ์)
    ลงทะเบียนหน้างานได้เลยครับ (สะดวกมาได้เลยครับ ไม่ต้องจองผ่านเว็บ)
    อาหาร เครื่องดื่ม ไม่มีค่าใช้จ่าย (ร่วมสมทบได้ ตามกำลัง ตามศรัทธา)

    ข้อควรพึงปฏิบัติ...
    1) งดใส่เสื้อผ้าขาว-ดำ หรือดำทั้งชุด
    2) กรุณาสำรวมกาย วาจา ใจ
    3) กรุณาให้เกียรติเพื่อนร่วมพิธี ทีมงาน และเจ้าพิธี

    โปรแกรมกำหนดการ...08.00 - 09.00 น. เปิดลงทะเบียนจองคิว
    09.00 - 12.00 น. เปิดบารมีวิชชาสาม รอบที่ 1
    12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 15.00 น. เปิดบารมีวิชชาสาม รอบที่ 2
    15.00 - 16.00 น. เจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม (นั่งสมาธิ)
    16.00 - 18.00 น. สอบอารมณ์พระกรรมฐานวิชชาสาม
    18.00 น. จบโปรแกรม

    กิจกรรมเสริมพิเศษ (มีค่าครู)
    1) ทิพย์ญาณโหรา
    2) ทิพย์ญาณหัตถเวชบำบัด

    ขอขอบคุณอย่างสูง
    อ.ดร.ภราดราภาพ
    081 808 6695


    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  2. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของลัทธิพุทธตันตระ (วัชรยาน)

    [​IMG]

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในลัทธิพุทธตันตระมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น แต่มีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในอารยธรรมเขมร โดยมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมดั้งเดิม เพื่อให้สอดคล้องกับศาสนา ประเพณี ศิลป วัฒนธรรม และการเมืองในยุดสมัยนั้นๆ จากร่องรอยศิลาจารึกถมอพวก (K.225) จารึกหลักนี้พบที่หมู่บ้านถมอพวก ตำบลสวายเจก จังหวัดศรีโสภณ ใต้ฐานศิลาจารึกที่มีลักษณะเป็นแท่งสถูปศิลาสี่เหลี่ยม โดยในแต่ละด้านจะมีการสลักเป็นรูปประติมากรรมรูปเคารพแบบนูนสูงของพระพุทธเจ้า พระนางปรัชญาปารมิตา พระโลเกศวร และ พระวัชรสัตว์ (พระวัชริน) โดยใจความมีอยู่ว่า

    I. ขอพระพุทธเจ้า ซึ่งแม้จะมีพระองค์เดียวแต่เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของเวไนยสัตว์ก็แยกได้เป็นหลายองค์ เหมือนดวงพระจันทร์จำนวนมากมายที่ปรากฏในน้ำ ขอพระพุทธองค์นั้น จงรักษาท่านทั้งหลาย
    II. ขอพระนางปรัชญาปารมิตา ผู้เกิดมาเป็นมารดาผู้ซื่อสัตย์ของพระชินเจ้า ทั้งหลายแม้ผู้ยังไม่เกิด คุ้มครองท่านทั้งหลายจากอบายอันกว้างใหญ่ไพศาล
    III. ข้าพเจ้าขอกราบไหว้ซึ่งพระโลเกศวร ด้วยความภักดี ดุจพระอมิตาภะ พระผู้มีพระเมตตาอันสูงส่ง
    IV. ขอพระผู้มีวัชระ (วัชริน) จงมีชัยชนะ ดุจมณฑลแห่งพระอาทิตย์
    V . ท่านทั้งหลายจงกราบไหว้ พระอารยเมตไตรยะ ผู้เหมือนกับมีใจประกอบไปด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา ขันติ เป็นต้น
    XI. เขาได้สร้างประติมากรรมของพระมารดาของพุทธเจ้า (ปรัชญาปารมิตา) พระเมตไตรยะผู้เป็นเจ้า พระพุทธโลเกศวร และพระวัชริน (ผู้ถือวัชระ) เมื่อมหาศักราช 911 (พ.ศ. 1532)
     
  3. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “พระพุทธนาคปรก”
    ฤาชนชาติเขมร อีสาน ลาว เป็นลูกหลานพญานาคจริงหรือ?


    [​IMG]

    คติและความเชื่อเกี่ยวกับนาคปรกขององค์พระพุทธรูปปางนาคปรกนี้ มีหลากหลายแนวคิดด้วยกัน บ้างก็กล่าวว่าได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะศรีลังกา ศิลปะอินเดียสมัยปาละ ศิลปะศรีวิชัย ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แนวคิดที่มีความเป็นไปได้สูงเกี่ยวกับที่มาของพระพุทธนาคปรก ความเดิมโดยย่อมีอยู่ว่า…

    “ในสัปดาห์ที่ 6 หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ขณะประทับเสวยวิมุตติสุขอยู่ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ที่ริมสระน้ำใหญ่ ณ ที่นั้นได้เกิดฝนตกนอกฤดูกาลหรือฝนก่อนฤดู (ฝนช่อมะม่วง) ติดต่อกันตลอดเจ็ดวัน

    คราวนั้นพญามุจลินท์นาคราชได้ล่วงรู้ถึงสภาพ อากาศที่หนาวเย็นและลมแรง รวมทั้งพิษภัยจากสัตว์ร้ายที่อาจจะทำร้ายหรือรบกวนการเสวยวิมุตติของพระพุทธองค์ จึงได้ขึ้นมาจากสระน้ำใหญ่ที่อาศัยอยู่ และขดรอบพระวรการของพระพุทธองค์ถึงเจ็ดชั้น ก่อนที่จะแผ่พังพานใหญ่เหนือพระเศียร เพื่อปกปักษ์รักษาตลอดระยะเวลาเจ็ดวัน ฝนได้หยุดตกและท้องฟ้าแจ่มใส พญามุจลินท์จึงได้คลายขดออกจากพระวรกาย และจำแลงเป็นมาณพหนุ่ม จากนั้นจึงพนมมืออัญชลีถวายนมัสการเบื้องพระพักตร์ของพระพุทธองค์ และได้สดับฟังพระธรรมเทศนาจนจบ พญานาคมุจลินท์มีจิตศรัทธาเป็นยิ่งนัก จึงได้ตั้งปณิธานต่อหน้าพระพุทธองค์ด้วยพระเดชะผลบุญที่ได้สร้างใน ครั้งนี้ ขอให้ตนได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาล”

    “ชนชาติเขมรเป็นลูกหลานของพญานาคจริงหรือ?”
    ความเดิมมีอยู่ว่า… “ชาวเขมรมีคติและความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคเป็นอันมาก เล่ากันว่าองค์ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้กำเนิดมาจากพราหมณ์หนุ่มชาวอินเดียนามว่า “โกญฑัญญะ” ที่ได้ข้ามน้ำข้ามมหาสมุทรมาพบรักกับนางนาคนามว่า “นาคีโสมะ” จวบจนกระทั่งผู้เป็นบิดาของนางนาคได้ช่วยบุตรเขยสร้างอาณาจักร “กัมโพช” ของชนชาติขอม ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวกัมพูชาในปัจจุบัน”

    คติและความเชื่อตามเรื่องราวพญานาค ได้เป็นมูลเหตุในการสร้างพระพุทธนาคปรกเป็นครั้งแรกในสมัยบาปวน ซึ่งเป็นประติมากรรมต้นแบบพระพุทธนาคปรกแบบ ลอยตัว ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงสร้างพระพุทธนาคปรกทรงเครื่อง ที่เป็นเอกลักษณ์และมีความโดดเด่นเฉพาะตน อันเป็นศิลปะแบบนครวัด ก่อนที่จะ ส่งผลต่อไปยังศิลปะแบบบายนในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จวบจนกระทั่งเกิดความนิยมในการสร้างพระพุทธนาคปรกตามคติพระรัตนตรัยมหายาน อันประกอบไปด้วย พระพุทธนาคปรก พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา
     
  4. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “พระพุทธนาคปรกทั้งสามองค์ต่างกันเป็นอย่างไร?”

    หากเป็นพระพุทธรุปนาคปรกทรงเครื่อง หมายถึง “พระอมิตาภะ” ดังภาพล่างนี้ เป็นศิลปะแบบนครวัด ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธฑสถานกีเมต์ ปารีส ซึ่งถือว่า พระองค์ทรงเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงศิราภรณ์และเครื่องประดับ แบบกษัตริย์ (ไม่ทรงจีวร) อันแสดงให้เห็นถึงฉัพพรรณรังสี บ้างก็กล่าวว่าเป็นพระอาทิพุทธเจ้า ดังภาพที่ 1 องค์พระอมิตาภะ ศิลปะแบบนครวัด

    [​IMG]

    หากเป็นพระพุทธนาคปรกไม่ทรงเครื่อง หมายถึง องค์พระศรีศากยมุนี ดังภาพล่างนี้ เป็นศิลปะแบบบายน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑส่วนบุคคล ฟินเคลสไตน์ อเมริกา ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงเป็นนิรมาณกายของพระพุทธเจ้า และทรงจีวร ชาวเนปาลและทิเบตมักนิยมเรียกพระนามว่า พระอมิตาภะ มากกว่าจะเรียกพระนามว่า พระศรีศากยมุนี ดังภาพที่ 2 ภาพกลาง องค์พระศรีศากยมุนี ศิลปะแบบบายน

    [​IMG]

    หากเป็นพระพุทธนาคปรกทรงเครื่อง และมีกล่องยาหรือหม้อยาที่อุ้มฝ่าพระหัตถ์ หมายถึง พระไภษัชยคุรุ ดังภาพล่างนี้ เป็นศิลปะแบบนครวัด ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธฑสถานพนมเพญ ซึ่งถือว่าพระองค์ทรงเป็นสัมโภคกายของพระพุทธเจ้า พระองค์ ทรงศิราภรณ์และเครื่องประดับแบบกษัตริย์ อันแสดงให้เห็นถึงฉัพพรรณรังสี ดังภาพที่ 3

    [​IMG]
     
  5. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    “พระกริ่ง” ฤาพระพุทธเจ้าหมอ

    [​IMG]

    “พระพุทธเจ้าหมอในอารยธรรมเขมรสร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ใด?”
    พระไภษัชยคุรุนาคปรก (พระพุทธเจ้าหมอ) ได้รับการเคารพและบูชาเป็นอันมากในอารยธรรมเขมร กล่าวกันว่าในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เกิดโรคระบาดร้ายแรง ทำให้ผู้คนล้มป่วยและตายเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงมีรับสั่งให้สร้างอโรคยาศาลา 100 กว่าแห่ง เพื่อเป็นสถานีอนามัยรักษาผู้ป่วย พร้อมทั้งทรงสร้างพระไภษัชยคุรุเป็นพระพุทธเจ้าแห่งการรักษาโรค และทรงอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่อโรคยาศาลาแต่ละแห่งไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อปัดเป่าบรรเทาทุกข์และโรคภัยให้กับประชาชนของพระองค์

    “พระกริ่งคือใคร?”
    ชาวไทยส่วนใหญ่รู้จักพระไภษัชยคุรุในนามของ “พระกริ่ง” โดยจัดสร้างขึ้นเป็นองค์พระพุทธรูปขนาดเล็ก ทรงถือหม้อยาที่ข้างในบรรจุโลหะ เวลาเขย่าจะเกิดเสียงดังเสนาะหู แต่ในเขมรมักนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก

    “คติของเซียนพระไทยกับพระกริ่งเป็นอย่างไร?”
    เซียนพระไทยได้ให้การยกย่องให้พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นต้นตระกูลของ "พระกริ่ง" ในประเทศไทย ที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ได้จัดสร้างไว้ไม่เกิน 30 องค์ เพื่อแจกจ่ายให้เฉพาะเจ้านายชั้นสูง ปัจจุบันนักสะสมนิยมกันอย่างมาก และมีราคาประเมินที่สูงมากด้วยเช่นกัน ดังภาพพระกริ่งปางคติไทย รุ่นปวเรศ

    ส่วน "พระกริ่งปวเรศรุ่น 2" แห่งวัดบวรนิเวศน์ ได้จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสมงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 5 รอบนักษัตร (อ่านว่านัก-สัด) เมื่อปี 2530 โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จำลอง

    "พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ปวเรศ" เพื่อเฉลิมฉลองศุภมงคลสมัยและเฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในมหามงคลวโรกาสนี้ พร้อมทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเสด็จฯ ประกอบพิธีเททอง เป็นมหามงคลฤกษ์ เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.2528 ณ บริเวณพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศน์ กรุงเทพฯ

    สิ่งหนึ่งที่ถือเป็นสุดยอดของพระกริ่งชุดนี้ ก็คือ พิมพ์องค์พระมีความงดงามมาก ภายในองค์พระยังบรรจุผงจิตรลดาและบรรจุเส้นพระเจ้า (เส้นผม) ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานบรรจุทั้ง 25,000 ชุดตามจำนวนที่จัดสร้าง หลังจากประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกแล้ว โดยได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปร่วมบุญบูชาเมื่อปี 2530
     
  6. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ (5 ฺBuddhas)
    พระฌานิพุทธเจ้า (Dhyani Buddhas)


    [​IMG]

    พระฌานิพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าที่เกิดจากอำนาจฌานของพระอาทิพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเป็น “สัมโภคกาย” ของพระพุทธเจ้าตามหลักตรีกาย พระฌานิพุทธเจ้าเดิมมี 7 พระองค์ แต่ที่ปรากฏนามในวรรณกรรมของวัชรยาน ชื่อ “คุหยสมาช” มีเพียง 5 พระองค์ ประกอบด้วย พระอักโษภยะ, พระรัตนสัมภวะ, พระไวโรจนะ, พระอมิตาภะ และพระอโมฆสิทธิ ดังภาพทังก้า (Thangka) เป็นศิลปะแบบทิเบตที่มีการจัดวางในตำแหน่งที่ถูกต้อง

    [​IMG]

    พระไวโรจนะพุทธเจ้า (Vairochana) หมายถึง พระผู้ให้แสงสว่างและปัญญาอันสูงสุด ในงานพุทธศิลป์ พระองค์ทรงแสดงในท่าปฐมเทศนา มีพระวรกายสีขาว ตราประจำพระองค์เป็นธรรมจักร ทรงเป็นประธานและประทับอยู่ท่ามกลางพุทธะทั้ง 4 พระองค์ หมายถึงปัญญาอันสูงสุด ทรงราชสีห์เป็นพาหนะ สัญลักษณ์แห่งธาตุอากาศ พระองค์ทรงมีศักตินามว่า วัชรธาตุวิศวรี มีพระมานุษิพุทธเจ้านามว่า “พระกกุสันธะ” และมีพระโพธิสัตว์ประจำพระองค์ คือ พระสมันตภัทรโพธิสัตว์

    สำหรับมนตราประจำพระไวโรจนะ คือ โอม อะ วิ ระ หุม ขัม
     
  7. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ (5 ฺBuddhas) ตอนที่ 2
    พระฌานิพุทธเจ้า (Dhyani Buddhas)


    พระอักโษภยะพุทธเจ้า (Aksobhya) หมายถึง พระผู้ไม่ทรงหวั่นไหว ในงานพุทธศิลป์ พระองค์ทรงแสดงในท่ามารวิชัย โดยที่พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาอยู่ในท่าทำสมาธิ ส่วนพระหัตถ์ขวาเหยียดออก ปลายนิ้วชี้จรดพื้นดิน เพื่อแสดงการมีชัยเหนือมาร มีพระวรกายสีน้ำเงิน ตราประจำพระองค์เป็นวัชระเดี่ยว ประทับอยู่ทางทิศตะวันออก ทรงช้างเป็นพาหนะ สัญลักษณ์แห่งธาตุน้ำ พระองค์ทรงมีศักตินามว่า “โลจนา” มีพระมานุษิพุทธเจ้านามว่า “พระโกนาคมนะ” และมีพระโพธิสัตว์ตระกูลวัชระประจำพระองค์ คือ พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ ภาพที่ 1

    สำหรับมนตราประจำพระอักโษภยะ คือ โอม อะโษภยะ หูม หูม ผฏ (ผิ)

    [​IMG]

    พระรัตนสัมภวะพุทธเจ้า (Ratnasambhava) หมายถึง พระผู้เกิดจากมณี ในงานพุทธศิลป์ พระองค์ทรงแสดงในท่าประทานพร โดยที่พระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาอยู่ในท่าทำสมาธิ ส่วนพระหัตถ์ขวาเหยียดลง แบฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายนิ้วชี้จดนิ้วโป้ง มีพระวรกายสีเหลือง ตราประจำพระองค์เป็นจินดามณี ประทับอยู่ทางทิศใต้ ทรงม้าเป็นพาหนะ สัญลักษณ์แห่งธาตุดิน พระองค์ทรงมีศักตินามว่า “มามกี” มีพระมานุษิพุทธเจ้านามว่า “พระกัสสปะ” และมีพระโพธิสัตว์ตระกูลรัตนะประจำพระองค์ คือ พระรัตนปาณีโพธิสัตว์ ภาพที่ 2

    สำหรับมนตราประจำพระรัตนสัมภวะ คือ โอม รัตนะ วัชระนี ตรัม

    [​IMG]

    พระอมิตาภะพุทธเจ้า (Amitabha) หมายถึง พระผู้มีแสงสว่างเป็นนิรันดร์ ในงานพุทธศิลป์ พระองค์ทรงแสดงในท่าขัดสมาธิเพชร โดยที่พระหัตถ์ขวาทับอยู่บนพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลาในท่าทำสมาธิ มีพระวรกายสีแดง ตราประจำพระองค์เป็นดอกบัว ประทับอยู่ทางทิศตะวันตก ทรงนกยูงเป็นพาหนะ สัญลักษณ์แห่งธาตุไฟ พระองค์ทรงมีศักตินามว่า “ปาณฑรา” มีพระมานุษิพุทธเจ้านามว่า “พระโคตมะ” และมีพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะประจำพระองค์ คือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ภาพที่ 3

    สำหรับมนตราประจำพระอมิตาภะ คือ โอม อมริตะ เตเช หะระ หูม (ฮุม)

    [​IMG]

    พระอโมฆสิทธิพุทธเจ้า (Amoghasiddhi) หมายถึง พระผู้สมหวังตลอดกาล ในงาน พุทธศิลป์ พระองค์ทรงแสดงในท่าประทานอภัย โดยที่พระหัตถ์ขวายกขึ้นระดับอุระ และหงายพระหัตถ์ออกด้านนอก ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางบนพระเพลา มีพระวรกาย สีเขียว ตราประจำพระองค์เป็นวัชระไขว้ ประทับอยู่ทางทิศเหนือ ทรงครุฑเป็นพาหนะ สัญลักษณ์แห่งธาตุลม พระองค์ทรงมีศักตินามว่า “ตารา” มีพระมานุษิพุทธเจ้านามว่า “พระเมตเตรยะ” และมีพระพระโพธิสัตว์ตระกูลปัทมะประจำพระองค์ คือ พระวิศวปาณีโพธิสัตว์ ภาพที่ 4

    สำหรับมนตราประจำพระอโมฆสิทธิ คือ โอม ปรัตมา ดะยะ หรี
    [​IMG]

     
  8. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระศรีอาริยเมตไตรย
    ข้าขอนอบน้อมนมัสการพระอารยไมเตรยะ
    พระผู้มีใจประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุติตา อุเบกขา
    พระผู้แบ่งกายเป็นร้อยพันโกฏิ
    พระผู้โปรดสรรพสัตว์อันมากมาย
    ขอพระองค์จงปกปักรักษาเรา

    [​IMG]

    พระโพธิสัตว์เมตไตรยะหรือพระศรีอาริยเมตไตรย มีความเชื่อกันว่าพระองค์จะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลต่อจากพระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า ณ ภัทรกัปป์นี้ พระองค์ทรงเป็นทั้งพระโพธิสัตว์ และพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการยอมรับ ทั้งจากฝ่ายมหายานและฝ่ายเถรวาท ในอารยธรรมเขมรรูปเคารพของพระโพธิสัตว์เมตไตรยะพบได้ค่อนข้างน้อยมาก ชาวเขมรมักนิยมเคารพบูชาพระองค์ร่วมกับรูปเคารพของพระอวโลกิเตศวร

    ความเดิมมีอยู่ว่า…
    “หลังจากที่พระกัสสปะพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ที่สาม) ได้เสด็จปรินิพพานพระศพของพระองค์ได้ถูกเก็บรักษาไว้ในสถูปหรือเจดีย์บนภูเขากุกกุฎบาท คราใดที่พระศรีอาริยเมตไตรยได้เสด็จจุติลงมาจากสวรรค์ชั้นดุสิต จวบจนกระทั่งได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ห้า พระศรีอาริยเมตไตรยจะทรงเสด็จไปยังภูเขาแห่งนี้ เพื่อทรงใช้ฤทธานุภาพเปิดสถูปนี้ออกมา จากนั้นพระกัสสปะพุทธเจ้าจะเสด็จออกมาพร้อมกับมอบถวายจีวรให้กับพระศรีอาริยเมตไตรย เพื่อประกาศ พระศาสนาใหม่ให้แก่ชาวโลกต่อไป”

    “พุทธศิลป์พระโพธิสัตว์เมตไตรยะเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพของพระโพธิสัตว์เมตไตรยะที่หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะแบบไพรกเมง ในช่วงสมัยก่อนเมืองพระนคร คริสต์ศตวรรษที่ 8 พิพิธภัณฑสถานร็อกกี้เฟลเลอร์ ซึ่งมีการค้นพบที่ตำบลปักธงชัย จ. บุรีรัมย์ ประเทศไทย พระองค์ทรงประทับยืนในท่าเอียงสะโพกเล็กน้อย (ตรีภังค์) มีสี่พระกร แต่ละพระกรปราศจากสิ่งของใดๆ พระองค์ทรงมีพระเนตรที่หรี่เล็กและเหลือบมองลงต่ำ มีหนวดเป็นรูปปีกกาขนาดเล็ก มีพระกรรณ์ที่ยาวเกือบจรดไหล่ และมีปอยผมถักเป็นวงโค้งยกสูงและแผ่ออกไปด้านหน้า ทรงสวมชฎามงกุฎประดับด้วยสถูปหรือเจดีย์ขนาดเล็ก หากสังเกตดีๆ ก็จะพบลูกแก้วหรือไข่มุกประดับอยู่บนพระเกศาเหนือสถูป ทรงนุ่งภูษาสั้นแบบนักบวช (ผ้าโธฎี) โดยมีสายรัดองค์ที่ทำด้วยผ้าที่มีชายห้อยอยู่ข้างๆ
     
  9. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ
    เรื่อง พลีกรรมบังสุกุลอุทิศ ประจำปี 2558 ในวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2558
    เรียน พุทธศาสนิกชน ศานุศิษย์ และญาติธรรมทั้งหลาย

    ด้วยทาง ชมรมศินารา มันดาลา มีความประสงค์จัดพิธีพลีกรรมบังสุกุล ประจำปี 2558 ณ วัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท 105 ซอยลาซอย 46 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1) เพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์และทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    2) เพื่อหนุนดวง สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ รับโชค เพื่อความเป็นศิริมงคล
    3) เพื่อน้อมบุญถวายครูบาอาจารย์ เทพประจำกาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    สำหรับพิธีการหลักสำคัญมีดังนี้
    1) พิธีเจริญพระพุทธมนต์
    2) พิธีพลีกรรมบังสุกุลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    3) พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย
    4) พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม

    ส่วนกำหนดการมีดังนี้
    08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน มีค่าชำระหนี้สงฆ์ท่านละ 99 บ.
    09.00 – 10.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
    10.00 – 11.00 น. พิธีพลีกรรมบังสุกุลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    11.00 – 12.00 น. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์
    13.00 – 16.00 น. พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย
    16.00 – 17.00 น. พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม
    18.00 น. จบพีธีการ

    หมายเหตุ
    1. ผู้กระทำการทำแท้งหรือพัวพันการทำแท้ง ทั้งที่เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ให้จัดเตรียมชุดสังฆทาน (ชุดผ้าไตรหากจัดหาได้) ชุดเสื้อผ้า/ผ้าอ้อมเด็ก ขวดนม น้ำขวด และนมผงกล่อง เพื่ออุทิศให้แก่กุลบุตรกุลธิดา หากไม่สะดวกทางวัดได้จัดชุดสังฆทานไว้ให้ ทำบุญตามแต่ศรัทธา

    2. ในพิธีพลีกรรมกุมารปลุก ลูกกรอก รักยม โหงพราย ของอาถรรพ์ และคุณไสย์ดำ เพื่ออุทิศบุญและปลดปล่อยวิญญาณให้ไปยังสุคติภูมิหรือไปเกิดใหม่ตามบุญตามวาสนา ห้ามนำซากทารกมนุษย์ องค์พระองค์เทพ และกุมาร/กุมารีเทพชั้นสูง ย้ำห้ามเข้าร่วมในพิธีกรรมนี้

    3. พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย เพื่อหนุนดวง สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ รับโชค เพื่อความเป็นศิริมงคล หากมีจำนวนคนมากเกินไป จะกระทำเป็นรอบๆ ตามความเหมาะสม

    4. พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม เพื่อน้อมบุญถวายครูบาอาจารย์ เทพประจำกาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กรุณาอย่าใส่ชุดดำ หรือ ขาวดำ ทั้งนี้โปรดสำรวมกาย วาจา ใจ และให้เกียรติแก่ตนเอง ผู้อื่น และเจ้าพิธีการ

    สำหรับหรับรายได้ทั้งหมดจากการลงทะเบียน ถวายชุดสังฆทาน การพยากรณ์ และการบำบัดแพทย์ทางเลือก ถวายให้แก่วัดผ่องพลอยวิริยาราม เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

    ติดต่อ ออกโรงทาน:
    อจ.ภราดรภาพ : 081 808 6695
    คุณจัมโบ้ : 080 629 2625, 086 309 1241
    พ่อวิทแม่อุษา : 086 044 4544

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
    อจ.ดร.ภราดรภาพ

    [​IMG]
     
  10. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    มหาสิทธา (Mahasiddha)

    มหาสิทธา (Mahasiddha) เป็นคำเรียก มหาโยคีหรือมหาฤาษีในศาสนาพราหมณ์ สำหรับลัทธิพุทธตันตระหรือวัชรยานถือว่าเป็นผู้มีวัตรปฏิบัติเป็นเลิศ เป็นผู้ทรงภูมิอันสูงส่งและได้รับการเคารพอย่างสูงไม่น้อยไปกว่าพระอรหันต์เจ้าทั่วไป แต่สูงถึงในระดับพระโพธิสัตว์และระดับพระพุทธเจ้าเลยทีเดียว

    “มหาสิทธาที่ได้รับการกล่าวขานมากที่สุดเป็นใคร?”
    ในจำนวนมหาสิทธาในลัทธิลามะนี้ มีพระคุรุปัทมสมภพ (Guru Padmasambhava) เป็นประธาน ชาวทิเบตเรียกนามท่านว่า “กูรูริมโปเช่”

    “พุทธศิลป์พระคุรุปัทมสมภพเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ของพระคุรุปัทมสมภพ ดังภาพล่าง พระองค์ทรงสวมหมวกดอกบัวสามกลีบประดับ ด้วยขนนกไว้บนยอด สวมสร้อยสังวาลย์และทรงเครื่องแบบจีวรพระ พระหัตถ์ซ้ายทรงถือถ้วยกระโหลกบรรจุน้ำอมฤต และทรงประคองคฑาสามง่ามที่ปลายยอดเสียบหัวกระโหลกสามหัวไว้ ส่วนพระหัตถ์ขวาทรงถือวัชระอันเป็นสัญลักษณ์ แห่งการตัดเจาะและทะลุทะลวงเพื่อสู่พุทธภาวะ

    [​IMG]


    พระคุรุปัทมสมภพเป็นกูรูแห่งคุรุหรืออาจารย์ผู้ประเสริฐ ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สอง ท่านได้บรรลุพุทธศาสตร์ตันตระในการปฏิบัติให้เห็นผลโดยฉับพลัน และได้นำไปเผยแพร่จนประสบความสำเร็จ จวบจนกลายมาเป็นพุทธศาสนาประจำชาติของทิเบตในปัจจุบัน ต่อมาได้มีการแบ่งพระพุทธศาสนาของทิเบตออกเป็น 3 นิกาย ได้แก่

    1) นิกายเคลุคปะ เดิมเรียกว่า นิกายกดัมปะ นิกายนี้ใช้หมวกเหลืองเป็นสัญลักษณ์ ได้แก้ไขข้อปฏิบัติให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ซึ่งเป็นนิกายที่ใหญ่ที่สุด มีการเคารพนับถือ “ตสองขะปะ” เป็นปฐมาจารย์ และนับถือพระวัชรธรเป็น พระอาทิพุทธเจ้า พระทไลลามะทุกพระองค์มาจากนิกายนี้
    2) นิกายสัสกยปะ นิกายนี้ใช้หมวกแดงเป็นสัญลักษณ์ ได้มีการแก้ไขข้อปฏิบัติที่เคร่งครัดเพียงบางส่วน นับถือพระวัชรสัตว์เป็นพระอาทิพุทธเจ้า
    3) นิกายญิงมะปะ นิกายนี้ใช้หมวกสีแดงเป็นสัญลักษณ์ นิกายนี้นับถือ พระสมันตภัทรเป็นพระอาทิพุทธเจ้า แต่ยังคงรักษาข้อปฏิบัติแบบดั้งเดิมอันเป็น รากฐานของทุกๆ นิกาย และนับถือพระคุรุปัทมสมภพเป็นปฐมาจารย์
     
  11. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ฑากิณี (Dakini)

    [​IMG]

    ฑากิณี (Dakini) บ้างก็กล่าวว่าคือพระแม่ผู้เดินเหิรในนภากาศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติธรรมแห่งตันตระ โดยมีรากฐานเดิมเป็นยักษ์จึงมีชื่อเรียกอีกนามหนึ่งว่า “นางโยคินี” (Yogini) แม้ว่านางฑากิณีและนางโยคินีจะมีความหมายเดียวกัน แต่โดยนัยแล้วฑากิณี จะมีอาวุโสกว่านางโยคินี ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ช่วยมหาสิทธาและยิดัม อีกทั้งยังเป็น ผู้เก็บรักษาคำสอนและปกป้องช่วยเหลือผู้ปฏิบัติให้บรรลุผล ในคติศาสนาพราหมณ์ถือว่าเป็นบริวารของพระแม่กาลี

    “ฑากิณีมีใครบ้าง?”
    ฑากิณีมีด้วยกัน 5 ตระกูลตามฌานิพุทธเจ้าห้าพระองค์ ได้แก่ ตระกูลปัทมา ตระกูลพุทธะ ตระกูลวัชระ ตระกูลรัตนมณี และตระกูลกรรมา (กรรม) อย่างไรก็ตาม ฑากิณีในตระกูลวัชระทั้งแปดองค์ที่เป็นบริวารของยิดัมเหวัชระ ประกอบด้วย นางเคารี (Gauri) นางเฉารี (Chauri) นางเวตาลี (Vetali) นางฆษมารี (Ghasmari) นางปุกกาสี (Pukkasi) นางชาพารี (Shabari) นางฉนฑลี (Chandali) และนางโทมพี (Dombi)

    “พุทธศิลป์ฑากิณีเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ นางโยคินีตนนี้มีนามว่า วัชรโยคินี (Vajrayogini) หรือวัชรวาราฮี (Vajravarahi) อยู่ในท่าร่ายรำอรรธปรยังก์ที่เริงร่าอยู่บนร่างศพ ซึ่งเป็นคู่พระบารมีของยิดัมจักรสัมวารา สวมมงกุฏที่ทำด้วยหัวกระโหลกห้าหัว มือขวาถือขวานสั้น ชี้ลงพื้น ส่วนมือซ้ายถือถ้วยกระบาล ที่ข้อศอกพับประคองคฑาสามง่ามที่ปลายยอดเสียบหัวกระโหลกสามหัวไว้ สวมสร้อยสังวาลประดับด้วยหัวกระโหลก และสวมข้อเท้า ทั้งซ้ายขวา ภายใต้รัศมีของเพลิงไฟแห่งปัญญา
     
  12. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระรัตนตรัยมหายาน (Buddhistic Triad)

    คนส่วนใหญ่มีความเชื่อหลากหลายเกี่ยวกับพระพุทธนาคปรก บ้างก็เชื่อว่าบุคคล ดังกล่าว คือ พระศรีศากยมุนี, พระชัยพุทธมหานาถ, พระอมิตาภะ, พระไภษัชยคุรุ หรือแม้แต่เป็นพระอาทิพุทธเจ้าก็ตาม ต่างก็มีส่วนสำคัญในการบูชากันอย่างกว้างขวาง ในรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั่นก็คือ พระรัตนตรัยมหายาน ซึ่งไประกอบไปด้วย พระพุทธเจ้า พระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธศาสนามหายานในขณะนั้น และได้มีการเปลี่ยนแปลงสลับหมุนเวียนรูปแบบไปตามคตินิยม บ้างก็นำรูปเคารพพระเมตไตรยะ หรือพระวัชรปาณี มาแทนที่พระนางปรัชญาปารมิตา เป็นต้น

    “อะไรที่อยู่เบื้องหลังพระรัตนตรัยมหายาน?”
    เบื้องหลังปริศนารูปเคารพพระรัตนตรัยมหายานนี้ ได้มีการเชื่อมโยงไปยังบุคคลสำคัญๆ เพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษ และบรรพสตรีอย่างเด่นชัด พระองค์ทรงสรรเสริญพระราชบิดา (พระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 2) เปรียบเหมือนพระโลเกศวร ทรงสรรเสริญ
    พระราชมารดา (พระนางชัยราชจุฑามณี) เปรียบเหมือนพระนางปรัชญาปารมิตา และทรงสรรเสริญตัวพระองค์เองเป็นพุทธราชาหรือพระราชาที่ทรงธรรม ที่ทรงเปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณเยี่ยงพระโพธิสัตว์ และทรงเป็นผู้บำรุงพระพุทธศาสนา จึงเป็นที่มาของคติพุทธราชาแทนที่เทวราชาในสมัยนั้น

    “พุทธศิลป์พระรัตนตรัยมหายานเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพพระรัตนตรัยมหายานหล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ ศิลปแบบบายน ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กัมพูชา พระรัตนตรัยมหายานบนแท่นบูชา ซึ่งประกอบด้วย พระพุทธนาคปรก (ตรงกลาง) พระโลเกศวร (ขวามือ) และพระนางปรัชญาปารมิตา (ซ้ายมือ) ดังภาพถัดไป

    [​IMG]

    รูปเคารพพระพุทธนาคปรก (องค์กลาง) องค์นี้ คือ พระไภษัชยคุรุ ดูได้จากฝ่า พระหัตถ์ของพระองค์ทรงถือกล่องยาขนาดเล็กไว้ ทรงประทับในท่านั่งสมาธิราบอยู่บนดอกบัวเหนือบังลังก์นาคเจ็ดเศียร พระพักตร์มีลักษณะรูปเหลี่ยม ทรงอมยิ้มเล็กน้อย และพระเนตรปิด ซึ่งแสดงความรู้สึกที่เร้นลับ พระองค์ทรงนุ่งภูษาแบบเดียวกับรูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลม ลายกลีบบัวซ้อนกันสามชั้นอยู่บนมวยผม นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ

    โดยปกติพระไภษัชยคุรุจะมีพระโพธิสัตว์ประจำพระองค์ คือ พระสูรยประภาโพธิสัตว์ (พระอาทิตย์) และพระจันทรประภาโพธิสัตว์ (พระจันทร์) แต่ได้ถูกแทนที่โดยพระโลเกศวร และพระนางปรัชญาปารมิตา ตามลำดับ

    รูปเคารพพระโลเกศวร (องค์ซ้ายมือ) ทรงประทับยืนด้านขวาของพระพุทธนาคปรก มีสี่พระกร พระหัตถ์ล่างขวาทรงถือดอกบัวตูม พระหัตถ์บนขวาทรงถือสร้อยประคำ พระหัตถ์ล่างซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ และพระหัตถ์ซ้ายบนทรงถือพระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้า และพับซ้อนปลายแยกออกจากกันเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ที่ประดับด้วยอัญมณีขนาดใหญ่อยู่ตรงกลาง และมีอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกระบอกลาย กลีบบัวแบบตั้งตรงอยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บน มวยผม นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ

    ส่วนพระนางปรัชญาปารมิตา (องค์ขวามือ) ทรงประทับยืนด้านซ้ายของพระพุทธ นาคปรก มีสองพระกร พระหัตถ์ขวาทรงถือพระคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตรขนาดเล็ก และพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัวตูม พระนางทรงนุ่งผ้าลายดอก มีขอบลวดลายชายผ้า และพับซ้อนกันยาวเหยียดลงมาเหมือนหางปลา ทรงสวมสายรัดองค์ ที่ประดับด้วยอัญมณีชนาดใหญ่ตรงกลาง และอุบะสลักอย่างอ่อนช้อยห้อยโดยรอบ ทรงสวมชฎามงกุฎทรงกรวยแหลมลายกลีบบัวซ้อนเป็นชั้นๆ อยู่บนมวยผม โดยมีองค์พระพุทธรูปขนาดเล็กประดับอยู่บนมวยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังทรงเครื่องประดับต่างๆ เช่น กำไลต้นแขน กำไลมือ กำไลข้อเท้า ตุ้มหูยาวจรดไหล่ และกรองศอประดับด้วยอุบะห้อยโดยรอบ
     
  13. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    เหวัชระ

    เหวัชระเป็นยิดัมพระองค์หนึ่งที่ได้รับนิยมเคารพบูชาเป็นอันมากในอารยธรรมเขมร มักจะปรากฏพบเป็นมณฑลอยู่บนหอยสังข์สำหรับรดน้ำมนต์ พระพิมพ์ หรือแม้แต่บนแผ่นสลักนูนต่ำบนผนังหินและเสาหิน พระองค์ทรงเป็นหัวหน้าเทพเจ้าแห่งตันตระยาน ทรงประทับอยู่ในท่าร่ายรำบนร่างศพอันหมายถึงอวิชชา การเคลื่อนไหวทุกย่างก้าวของพระองค์แสดงให้เห็นถึงพลังแฝงที่อยู่ภายในเพื่อนำพาไปสู่การหลุดพ้นแบบฉับพลัน

    “พุทธศิลป์เหวัชระเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพของพระเหวัชระหล่อด้วยสัมฤทธิ์ดังภาพ เป็นศิลปะแบบบายน ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 11 พิพิธภัณฑ์สถานพนมเพญ กัมพูชา พระองค์มีแปดพระพักตร์ สิบหกพระกร และมีพระเนตรดวงที่สามอยู่กลางพระนลาฏ ทรงประทับยืนเขย่งยกพระบาทซ้ายอยู่ในท่าร่ายรำเปล่งรัศมี เหนือร่างศพบนดอกบัวบาน ทรงศิราภรณ์ด้วยเครื่องประดับต่างๆ ได้แก่ กระบังหน้า กรองศอสลักลวดลาย ประคดแขนซ้ายขวา กำไลข้อมือและข้อเท้า พระกุณฑล (ตุ้มหู) ยาวจรดไหล่ และพระสนับเพลา (กางเกง) มีผ้าจีบเป็นริ้วชายผ้ารูปหางปลาซ้อนกันยาวจรดพื้น พระองค์ ทรงอยู่ท่ามกลางนางโยคินีทั้งแปดองค์ แต่ที่ปรากฏมีอยู่เพียงห้าองค์ ขาดหายไป สามองค์ ดังภาพล่างขวามือ

    [​IMG]

    “ปริศนาวัชระมณฑลเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ ดังภาพทั้งสองเปรียบเทียบให้เห็นถึงคุณลักษณะของวัชระมณฑล ระหว่างพระพิมพ์ศิลปะสมัยลพบุรีกับภาพทังก้าศิลปะแบบทิเบต โดยมีเค้าโครงดั้งเดิมมาจากทิเบต สิ่งนี้ได้ใช้เป็นหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ยืนยันได้ว่าอารยธรรมเขมรในอดีตเคยนับถือพุทธตันตระหรือวัชรยาน พระพิมพ์เหวัชระมณฑล ดังภาพล่างนี้ ศิลปะแบบลพบุรี (พช. พระนคร) มีที่มาจากหม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล พระพิมพ์องค์นี้ที่ได้รับการกล่าวขานในแง่ของประติมากรรม ที่มีความละเอียดคล้ายกับศิลปะแบบบายน ซึ่งปัจจุบันหาได้ยากมาก

    [​IMG]

    ส่วนภาพทังก้าถัดไป เป็นศิลปะแบบทิเบต คริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นมณฑลของยิดัม องค์พระเหวัชระที่โอบกอดพระแม่ศักติท่ามกลางนางฑากิณีประจำทิศทั้ง 8 องค์ ได้แก่
    1) นางเคารี (Gauri) ประจำทิศตะวันออก ผิวสีดำ
    ถือถ้วยหัวกระโหลกในมือขวาและถือปลาในมือซ้าย
    2) นางเฉารี (Chauri) ประจำทิศใต้ ผิวสีทองแดง
    ถือกลองในมือขวาและถือหมูป่าในมือซ้าย
    3) นางเวตาลี (Vetali) ประจำทิศตะวันตก ผิวสีแดงส้ม
    ถือเต่าในมือขวาและถือถ้วยหัวกระโหลกในมือซ้าย
    4) นางฆษมารี (Ghasmari) ประจำทิศเหนือ ผิวสีเขียว
    ถืองูในมือขวาและถือถ้วยหัวกระโหลกในมือซ้าย
    5) นางปุกกาสี (Pukkasi) ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผิวสีน้ำเงิน ถือสิงโตในมือขวาและถือขวานสั้นในมือซ้าย
    6) นางชาพารี (Shabari) ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผิวสีขาวขุ่น
    ถือนักบวชในมือขวาและถือพัดในมือซ้าย
    7) นางฉนฑลี (Chandali) ประจำทิศทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผิวสีเทา
    ถือกงล้อในมือขวาและถือคันไถในมือซ้าย
    8.) นางโทมพี (Dombi) ประจำทิศทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผิวสีเหลืองทอง
    ถือวัชระในมือขวาและถือปลาในมือซ้าย

    ภาพทังก้าเหวัชระมณฑล ศิลปะแบบทิเบต
    องค์พระเหวัชระนอกจากจะอยู่ท่ามกลางเหล่านางฑากินีทั้งแปดแล้ว ยังห้อมล้อมไปด้วยเหล่ายิดัม มหาสิทธา พระฌานิพุทธเจ้า พระฌานิโพธิสัตว์ และพระอาทิพุทธเจ้า ประทับอยู่บนยอดสุด อันหมาย ถึงธรรมกายในรูปแบบของพระพุทธนาคปรกนั่นเอง กล่าวได้ว่าพระพุทธนาคปรกอาจจะเป็นพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่า พระองค์ทรงอยู่ในฐานะอะไรเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น ตำแหน่งเป็นพระประธานมณฑล ท่ามกลางหมู่คณะใหญ่ อันนี้จะหมายถึง พระอาทิพุทธเจ้า ฯลฯ

    [​IMG]

    ในงานพุทธศิลป์ ภาพรูปเคารพของพระพักตร์เหวัชระ ศิลปะแบบบายน
    คริสต์ศตวรรษที่ 12 -13 พิพิธภัณฑสถานพนมเปญ กัมพูชา ซึ่งมียอดเศียรขาดหายไป เศียรหนึ่ง พระเศียรทั้งแปดพักตร์ของพระองค์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับล่าง มีสามเศียร หมายถึง พระพุทธเจ้า พระวัชรปาณี และพระโลเกศวร, ระดับกลางมี สี่เศียร และระดับบนสุดมีหนึ่งเศียร ทั้งระดับกลางและระดับบนสุดรวมกัน หมายถึง พระตถาคตทั้งห้าพระองค์

    [​IMG]
     
  14. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระอาทิพุทธเจ้า (Adibuddha)

    พระอาทิพุทธเจ้าเป็น “พระสยัมภู” ซึ่งเกิดเองเป็นเองพร้อมกับโลก ไม่มีเบื้องต้น ไม่มี ท่ามกลาง ไม่มีที่สุด พระองค์ทรงเป็น “พระธรรมกาย” ดั้งเดิมที่ปรากฏในแสงเปลวเพลิงเป็นรัศมีพุ่งขึ้นจากดอกบัว ทรงเป็นต้นกำเนิดพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และสรรพสิ่งทั้งหลาย ดังภาพ พระอาทิพุทธเจ้า ศิลปะแบบทิเบต พิพิธภัณฑสถานกิเมต์ กรุงปารีส

    [​IMG]


    “คติเกี่ยวกับพระอาทิพุทธเจ้ามีความเป็นมาอย่างไร?”
    คตินิยมนับถือพระอาทิพุทธเจ้า เกิดขึ้นครั้งแรกในเนปาลโดยนิกายไอศวาริก เรียกพระอาทิพุทธเจ้าว่า “อิศวร” ทรงปรากฏพระกายเป็นแสงสว่าง ประทับอยู่พรหมโลกหรือรูปพรหมชั้นสูงสุด (ชั้นที่ 16) เรียกว่า อกนิษฐภูวนะ หรือ อกนิษฐพรหม พระนามของพระองค์ท่านมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับแต่ละนิกาย เช่น นิกายสวาภาวิกเรียก พระนามว่า “สวาภาวะ” ส่วนนิกายอื่นๆ เรียกพระนามว่า พระโยคัมพร, พระไวโรจนะ, พระวัชราธร, พระวัชรสัตว์ และพระวัชรมัญชุศรี ฯลฯ

    “พุทธศิลป์ของพระอาทิพุทธเจ้ามีลักษณะอย่างไร?”
    ในงานพุทธศิลป์ พระองค์ทรงมีพระวรรณะสีน้ำเงินเข้ม อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความว่างอันไม่มีขอบเขต ทั้งยังทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งความกรุณาหรืออุบาย ในปางที่มีศักติ ด้วยนั้น ศักติของพระองค์คือ “สมันตภัทริ” หรือ “อธิธรรมา” หรือ “อธิปรัชญา” หรือ “พระนางปรัชญาปารามิตา” มีวรรณะสีขาว เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา

    คตินิกายนญิงมาปะในทิเบตมีความเชื่อว่าพระอาทิพุทธ คือ “พระสมันตภัทร” รูปเคารพของพระองค์ไม่ทรงอาภรณ์ใดๆ เปลือยเปล่าในปางสมาธิ บ้างก็มีโอบรัดพระแม่ศักติ ส่วนคตินิกายกาจูและนิกายสากยะมีความเชื่อว่าพระอาทิพุทธเจ้า คือ “พระวัชรธร” (Vajradhara)

    โปรดใช้วิจารณาญในการรับข้อมูล
     
  15. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระโพธิสัตว์ปรัชญาปารมิตา (พระนางปรัชญาปารมิตา)

    ข้าขอนอบน้อมนมัสการแก่พระผู้เป็นเจ้าแห่งสตรีนามว่า ปรัชญาปารมิตา
    พระผู้เป็นมารดาแห่งพระชินเจ้า
    พระผู้มีลีลาที่งดงามดั่งดอกบัว
    พระผู้ซึ่งทำลายอวิชชาอันมืดมน
    พระผู้ที่สร้างศาสตร์และศิลป์แก่ชาวโลก
    พระผู้เป็นแสงสว่างแห่งปัญญา
    ขอพระองค์จงปกปักรักษาเรา

    พระนางปรัชญาปารามิตา เป็นบุคลาธิษฐานที่สร้างขึ้นแทนคัมภีร์ปรัชญาปารมิตาสูตร และทดแทนพระนางตาราในปางคติรัตนตรัยมหายาน ทรงมีพระวรกายสีขาวและมีพระเนตรที่สามอยู่กึ่งกลางพระนลาฎ (หน้าผาก) ถือกันว่าพระองค์ทรงเป็นพุทธมารดา ของพระพุทธเจ้าทั้งปวง แต่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าพระองค์เป็นศักติ (ชายา) ของพระอวโลกิเตศวร โดยความจริงแล้วพระองค์ทรงป็นศักติของพระอาทิพุทธเจ้า

    “พุทธศิลป์พระโพธิสัตว์ปรัชญาปารมิตาเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ โดยปกติรูปเคารพของพระนางจะมีเศียรเดียวสองกร ทรงประทับอยู่ในท่าปฐมเทศนา โดยพระหัตถ์ขวาทรงถือคัมภีร์ และพระหัตถ์ซ้ายทรงถือดอกบัวตูม หากเป็นสี่กรจะมีประคำเพิ่มขึ้นมา ส่วนอีกพระกรหนึ่งจะอยู่ในท่าปฐมเทศนาเช่นกัน

    แต่รูปเคารพของพระนางส่วนใหญ่ที่พบในอารยธรรมเขมร มีอยู่ด้วยกันสองรูปแบบ คือ หนึ่งเศียรสองกร กับสิบเอ็ดเศียรยี่สิบสองกร พระนามของพระองค์ที่ปรากฏพบ ได้แก่ พระนางปรัชญเทวี และพระนางทิวยเทวี (ทิพย์เทวี) รวมทั้งปางที่สำคัญๆ ได้แก่ สิตปรัชญาปารมิตา ปิตปรัชญาปารมิตาและกนกปรัชญาปารมิตา ฯลฯ

    [​IMG]

    สำหรับรูปเคารพของพระองค์ ดังภาพถัดไป เป็นศิลปะแบบบายน ซึ่งไม่ทราบแหล่ง ที่มา พระองค์ทรงมีสิบเอ็ดเศียรยี่สิบสองกร พระหัตถ์ทั้งสิบเอ็ดคู่ต่างถือสิ่งของที่ต่างกัน แต่ไม่สามารถจำแนกได้ทั้งหมด บ้างก็ประกอบด้วยไปด้วย ดอกบัวตูม ลูกประคำ บ่วงบาศ จักร สังข์ ดวงมณี หนังสือ (ปุสตกะ) ถ้วยกบาล กระจก ขอช้าง (อังกุศ) ฯลฯ ส่วนพระพักตร์ทั้งสิบเอ็ดหน้า ซึ่งมีหลากหลายคติ แต่ตามหลักของตรีกาย ซึ่งประกอบด้วย พระธรรมกาย (พระอาทิพุทธเจ้า) หนึ่งพระองค์ พระฌานิพุทธเจ้าห้าพระองค์ พระมานุษิพุทธเจ้าห้าพระองค์ รวมเป็นสิบเอ็ดพักตร์นั่นเอง พระองค์ทรงเครื่องประดับ ได้แก่ มงกุฏทรงกรวย (ชฎามงกุฏ) กุณฑลรูปตุ้ม (ตุ้มหู) กรองศอรูปสามเหลี่ยม (สร้อยคอ) ทองพระบาท (กำไลข้อเท้า) ทองพระกร (กำไลมือ) และพาหุรัดเป็นเครื่องประดับ ภูษาทรงเป็นลายดอกไม้ยาวเกือบจรดข้อพระบาทแบบ พับป้าย มีชายภูษารูปสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ทบสองชั้นห้อยทางเบื้องหน้า คาดทับด้วยสายรัดพระองค์ มีอุบะขนาดสั้นห้อยประดับอีกต่อหนึ่ง

    ส่วนรูปเคารพถัดไป เป็นศิลปะแบบบายนด้วยเช่นกัน ซึ่งไม่ทราบแหล่งที่มา พระองค์ทรงประทับยืนอยู่บนดอกบัว โดยมีนางโยคินีทั้งแปดองค์ห้อมล้อมเป็นวงกลม และมีหัวหน้านางโยคินีที่ยืนต่อหน้าพระพักตร์อีกหนึ่งองค์ รวมเป็นเก้าองค์ (ปกติมีแปดองค์) ด้วยคุณลักษณะเช่นนี้เราเรียกว่า “มณฑล” (Mandala) ซึ่งมีต้นแบบมาจากทิเบต แสดงให้เห็นถึงการเปล่งรัศมีและการหล่อหลอมทางจิตวิญญาณ โดยมีพระองค์เป็นตัวแทนแห่งปัญญาอันสมบูรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นธาตุรู้ที่มีองค์ประกอบของธาตุทั้งห้า ได้แก่ ดิน น้ำ ลม ไฟ และอากาศ

    [​IMG]

    “พุทธศิลป์พระปรัชญาปารมิตาโพธิสัตว์ เป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์แบบทิเบต พระองค์ทรงมีพระวรกายสีเหลืองทอง หนึ่งเศียร สี่พระกร พระหัตถ์ขวาทรงถือวัชระสีทองเก้าแฉก พระหัตถ์ซ้ายทรงถือพระสูตรปรัชญาปารามิตา พระหัตถ์คู่หน้าอยู่ในท่าวัชรอาสน์ สวมอาภรณ์สัมโภคกาย ดังภาพข้างล่างนี้ พระหัตถ์ ทรงถือคัมภีร์ ดอกบัว ธนู ลูกศร และประคำ แต่หากเป็นงานพุทธศิลป์แบบตันตระในอารยธรรมเขมร พระองค์ทรงมีถึงสิบเอ็ดเศียร ยี่สิบสองพระกร

    [​IMG]

    พระปรัชญาปารามิตาโพธิสัตว์ ศิลปะแบบเนปาล
    [​IMG]
     
  16. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    เหวัชระ (Hevajra)
    เป็นยิดัมที่ได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้นิยมพุทธตันตระ ถือเป็นภาคดุร้ายของพระอักโษภยะพุทธเจ้า

    [​IMG]

    ยิดัม (Yi-Dam)
    ยิดัม หมายถึง เทพผู้พิทักษ์ศาสนาพุทธมหายาน มีหน้าที่ปราบภูตผีปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำร้ายมนุษย์หรือเป็นศัตรูของพุทธศาสนา ยิดัมอาจจะเป็นธยานิโพธิสัตว์อวตารมาเพื่อปราบปีศาจร้ายก็ได้ หรือเป็นปีศาจร้ายที่เลื่อมใสพระพุทธศาสนาแล้วเลื่อนมาเป็นยิดัม ลามะชั้นสูงบางรูปอาจมียิดัมคอยอารักษ์หรือเชิญมาพิทักษ์ตนเอง หากฆราวาสที่อยากมียิดัมคอยปกปักษ์รักษา จะต้องให้ลามะเป็นผู้เชิญเท่านั้น อีกนัยหนึ่ง ยิดัม คือพระโพธิสัตว์อุ้มตำราหรือแม้แต่พระพุทธรูปอุ้มศักติ เรียกว่า ยัม–ยัม (Yum-Yum) ได้แก่ จักรสัมวารา กาลจักร เหวัชระ ยามานตกะ และฮายากีวะ ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่มีรูปลักษณ์ที่น่ากลัวและน่าเกรงขามทั้งสิ้น ยิดัมมักจะได้รับความนิยมบูชาเฉพาะในเนปาลและทิเบต ส่วนทางจีนฝ่ายมหายานไม่ค่อยนิยมบูชากัน เท่าใดนัก

    “พุทธศิลป์พระเหวัชระเป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลปะ พระองค์ทรงมีพระวรกายสีฟ้า มี 8 พระเศียร แต่ละเศียรมี พระเนตรสามดวง มีพระหัตถ์ 16 กร แต่ละพระกรทรงถือหัวกะโหลกที่มีสิ่งต่างๆ บรรจุไว้ภายใน ในแปดพระกรขวา ประกอบด้วย ช้าง ม้า ลา มนุษย์ อูฐ โค สิงโต และแมว ส่วนแปดพระกรซ้าย ประกอบด้วย โลก น้ำ อากาศ ไฟ ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ พระยม (เทพแห่งความตาย) และพระเวสสุวรรณ (เทพแห่งความมั่งคั่ง) โดยที่สองพระบาทหน้าเหยียบร่างมนุษย์ หรือซากศพชายหญิงไว้อันหมายถึงอวิชชา มีความเชื่อว่าที่ฝ่าพระบาทมีเทพประจำพระองค์ ได้แก่ พระพรหม พระยมราช พระอินทร์ และพญายักษา ทรงอยู่ในท่าร่ายรำแบบอรรธปรยังก์หรือโอบรัดศักติมีพระนามว่า พระแม่วัชรไนรัทยา (Nairatmya)

    นอกจากนี้ พระองค์ทรงมีเทพสตรีที่เรียกกันว่า “นางโยคินี” จำนวนแปดตนเป็นบริวาร นางโยคินีเหล่านี้มีหน้าที่ทำลายล้างอวิชชาหรือสิ่งชั่วร้าย และรักษาทิศทั้งแปดของจักรวาล ถือกำเนิดขึ้นจากญาณของพระเหวัชระ
     
  17. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระโพธิสัตว์วัชรปาณี (ภาคอารยธรรมขอม)

    พระโพธิสัตว์วัชรปาณี ทรงถือกำเนิดจากพระฌานิพุทธเจ้าแห่งพระอักโษภยะพุทธเจ้า พระองค์ทรงถือวัชระสายฟ้า ด้วยคุณลักษณะพิเศษนี้ จึงมักจะกล่าวขาน กันว่า พระองค์คือพระอินทร์หรือท้าวสักกะ ทรงได้รับพระบัญชาจากพระพุทธองค์ ให้คอยปกปักรักษาพญานาค จากการทำร้ายของพญาครุฑ เนื่องจากพญานาคเป็นเจ้าแห่งสายฝน จึงเป็นเหตุให้มีการยกย่องพระองค์เป็นเทพเจ้าแห่งสายฝนไปด้วย ชาวพุทธมหายานมักนิยมทำพิธีขอฝนด้วยการบูชาพระองค์ โดยมีพญานาคหรือมังกรเป็นผู้ช่วยเหลือ พระองค์มักปรากฏเคียงคู่กับพระอวโลกิเตศวรเสมอ

    “พุทธศิลป์พระโพธิสัตว์วัชรปาณีเป็นไฉน?” ภาพที่ 1
    ในงานพุทธศิลป์ รูปเคารพของพระโพธิสัตว์วัชรปาณี ศิลปะแบบเกลียง คริสต์ศตรรษที่ 12 – 13 พิพิธฑภัณฑ์สถานกีเมต์ ปารีส จะพบว่าพระกรของพระองค์ได้หักหายไป ทำให้ทราบว่าสิ่งของที่ทรงถือในพระหัตถ์ พระองค์ทรงสวมกระบังหน้า มีขมวดผมยาวจรดไหล่ ทรงนุ่งภูษามีชายผ้าห้อยด้านหน้าสองชั้น บ้างก็กล่าวว่าพระองค์มีรูปลักษณ์อสูรหรือยักษ์

    [​IMG]

    ด้วยมนตราสรรเสริญพระองค์แห่งนี้...
    โอม วัชรปาณี ฮุม
    ข้าขอนอบน้อมนมัสการพระศรีวัชรปาณี
    พระผู้ซึ่งทรงไว้ด้วยวัชระอันงดงาม
    ดั่งสายฟ้าที่ส่องแสงอันโชติช่วง
    พระผู้ซึ่งทำลายอุปสรรคและคุ้มครองทรัพย์สมบัติของทั้งสามโลก
    ขอพระองค์จงปกปักรักษาเรา
    ..........................................
    พระโพธิสัตว์วัชรปาณี (ภาคอารยธรรมทิเบต-เนปาล)
    พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (Vajrapani) หมายถึง พระผู้ทรงสายฟ้าในพระหัตถ์ เป็นสัญลักษณ์แห่งการฟาดฟันกิเลส ตัณหาทั้งปวง ทรงเป็นคู่พระบารมีรักษาพุทธศาสนาของพระอโษภยะพุทธเจ้า และมีพระศักตินามว่า “สุชาดา” พระผู้ทรงบันดาลฝนและทรงช่วยเหลือเมื่อคราวที่พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้า (พระโคตมะ/พระสมณ โคดม) เสด็จออกบวช และคราวปรินิพพาน มีกายสีเขียว ถือวัชระสายฟ้าเป็นอาวุธ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วพระองค์ก็คือ พระอินทร์ในศาสนาพราหมณ์นั่นเอง พระองค์มักจะเสด็จมาพร้อมกับพระมัญชุศรีโพธิสัตว์ และพระปัทมปาณีโพธิสัตว์ (ปางหนึ่งของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์)

    “พุทธศิลป์พระวัชรปาณีโพธิสัตว์เป็นไฉน?”
    ในงานทางพุทธศิลป์ ดังภาพล่าง เป็นภาพวาดจิตกรรมที่ปรากฏอยู่บนผนังถ้ำอชันตะ (Ajanta) หมายเลขที่ 1 ศิลปะคุปตะ อินเดีย พุทธศตวรรษที่ 12

    [​IMG]

    ในเทพปกรณัมที่เกี่ยวข้องกับพระวัชรปาณีโพธิสัตว์มีอยู่ว่า…
    “พระศรีศากยมุนีพุทธเจ้ารับสั่งให้คอยปกป้องพญานาคจากการทำร้ายของเหล่าครุฑ เนื่องจากพญานาคได้รับการยกย่องให้เป็นผู้ควบคุมฝนฟ้า” ในเวลาต่อมาพระวัชรปาณี โพธิสัตว์จึงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้าแห่งฝน พุทธศาสนิกชนฝ่ายมหายานจะทำพิธีขอฝนก็ต้องบูชาพระโพธิสัตว์พระองค์นี้
    พระวัชรปาณีโพธิสัตว์ ศิลปะแบบเนปาล พิพิธภัณฑสถานกีเมต์ ปารีส

    [​IMG]
     
  18. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    พระโลเกศวร (Lokesvara)
    พระโลเกศวรปางแสดงปาฏิหารย์หรือเปล่งรัศมี 8 พระกร ดังภาพล่างนี้ เป็นศิลปะแบบบายน พิพิธภัณฑสถานกีเมต์ ปารีส

    [​IMG]

    พระองค์มีรูปลักษณ์แบบบุรุษที่เป็นมนุษย์อย่างแท้จริง มีหนึ่งเศียร แปดกรซึ่งล้วนแต่หักหายไป แต่มีความเป็นไปได้ว่าจะทรงถือวัชระ อังกุศ หนังสือ สังข์ จักร หม้อน้ำมนต์ และดาบ ที่น่าแปลกประหลาดก็คือ ฉลองพระองค์คล้ายเสื้อเกราะประดับไปด้วย พระพุทธรูปเล็กๆ เป็นจำนวนมาก โดยมีรูปองค์พระโพธิสัตว์ขนาดใหญ่กว่าที่ พระอุระและบั้นพระเอวที่ห้อมล้อมโดยพระพุทธรูป พระองค์ทรงสวมศิราภรณ์รูปทรงกระบอกประดับด้วยองค์พระอมิตภะพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าเป็นตัวแทนของ พระฌานิพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์

    ในคัมภีรการัณฑพยูหสูตรกล่าวไว้ว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ปรากฏออกจากพระวรกายของพระองค์ ได้แก่ เทพประจำรักษาทั้ง 12 พระองค์ ประกอบด้วย พระพรหม พระนารายณ์ พระอิศวร พระอินทร์ พระวรุณ พระยม พระพาย พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระแม่ธรณี พระแม่สรัสวดี และพระแม่ลักษมี นอกจากนี้ ในแต่ละขุมพระโลมาของพระองค์ยังมีคนธรรพ์ ฤาษี และเทวดา ฯลฯ ที่ออกมาจากพระองค์ มากมาย หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าก็ยังเสด็จออกมาจากพระองค์มากมายด้วยเช่นกัน ซึ่งคุณลักษณะ เช่นนี้ มีความคล้ายคลึงกับรูปเคารพขององค์พระนารายณ์ปางเปิดโลก เมื่อคราที่องค์พระกฤษณะได้แสดงปาฏิหารย์ให้แก่อรชุน ได้ประจักษ์เห็นจักรวาลและภพภูมิแห่งพระผู้เป็นเจ้าของศาสนาพราหมณ์นั่นเอง

    “พระนามโลเกศวรมีความหมายแท้จริงว่าอย่างไร?”
    ในอารยธรรมเขมร มักจะนิยมเรียกพระนามของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรว่า “พระโลเกศวร” พระนามนี้มีความหมายว่า พระผู้เป็นเจ้าแห่งโลก เปรียบเหมือน กับพระโพธิรักษ์ เป็นผู้สร้างสรรค์สรรพสิ่งแห่งเอกภพ ส่วนอีกความหมายหนึ่ง ก็คือ พระผู้ที่เฝ้ามองดูโลก เปรียบเหมือนกับพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ผู้ที่คอยสอดส่องดูแลและช่วยเหลือมนุษย์โลกด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเป็นผู้บรรลุพระสัมมา สัมโพธิญาณแห่งภูมิทั้งสิบ

    “บทบาทของพระโลเกศวรมีหน้าที่อะไร?”
    พระองค์ทรงมีบทบาทในฐานะพระผู้เป็นเจ้าสร้างเอกภพ, เป็นบริวารพระพุทธเจ้า, เป็นผู้ที่คอยสอดส่องที่มองดูโลกจากทั่วทุกสารทิศ, เป็นผู้คอยบรรเทาโรคภัยให้กับประชาชน และเป็นทวารบาลให้กับพุทธศาสนสถาน ฯลฯ

    “บริวารของพระโลเกศวรมีใครบ้าง?”
    พระองค์ทรงมีบริวาร ได้แก่ พระนางตารา (ผู้ช่วยเหลือ/พระชายา), นางภฤกุฎี (ผู้ขมวดคิ้ว/โยคินี), หัยครีพ (ผู้มีคอเหมือนม้า/ยิดัม) และสุจีมุข (ผู้มีใบหน้าเหมือนเข็ม/เปรต) โดยส่วนใหญ่จะมีพระนางตาราอยู่เคียงข้างเสมอ โดยมีโยคินี สุจีมุข และหัยครีพสลับกันไปมา ซึ่งในเวลาต่อมาได้มีการนำพระนางปรัชญาปารามิตามาแทนที่พระนางตารา ซึ่งก็ด้วยเหตุผลของคติพระรัตนตรัยมหายานนั่นเอง
     
  19. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    สถูปศิลาถมอพวก

    คำว่า สถูป หมายถึง มูลดิน (เนินดิน) หรือสิ่งก่อสร้างที่บรรจุของควรบูชา มักจะใช้คู่กับเจดีย์ ซึ่งมาจากคำว่า เจติยะ” หรือ “ไจติยะ” หมายถึง จิตใจ หรืออนุสรณ์ เตือนใจ ดังนั้น คำว่าสถูปเจดีย์ จึงหมายถึง เนินดินหรือสิ่งก่อสร้างที่บรรจุของควรบูชา อันเป็นอนุสรณ์เตือนใจให้เกิดกุศลธรรม ในอดีตได้สร้างสถูปขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อให้ผู้ที่นับถือได้กราบไหว้ โดยเฉพาะบุคคลสำคัญๆ เช่น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอรหันตสาวก และพระมหากษัตริย์ ฯลฯ

    ในคติพุทธศาสนาได้มีการแบ่งสถูปเจดีย์ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
    1) ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมธาตุหรือพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
    2) ธรรมเจดีย์ หมายถึง พระธรรม พระวินัย คำสั่งสอนทุกอย่างของพระพุทธเจ้า
    3) บริโภคเจดีย์ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระพุทธเจ้าหรือของพระอริยะสงฆ์ ได้แก่ เครื่องอัฐบริขารทั้งหลาย
    4) อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง สิ่งที่สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น สถูปเจดีย์ ณ สถานที่ทรงประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน รวมถึงสัญลักษณ์อย่างอื่น เช่น พระพุทธรูป ธรรมจักรต้นโพธิ์ เป็นต้น

    “พุทธศิลป์พระอนุสรณ์เจดีย์พุทธรศิลป์เป็นไฉน?”
    ในงานพุทธศิลป์ พระอนุสรณ์เจดีย์พุทธศิลป์ (Caitya Monument Buddhistic) จากจารึกแท่งสถูปศิลาถมอพวก ค้นพบที่กบาลสเรยายยิน (Kbal Sre Yeay Yin) ใกล้กับเมืองพนมสรุก (Phnom Srok) ภาพแท่งสถูปศิลาองค์นี้ เป็นศิลปะแบบเกลียง-คลัง คริสต์ศตวรรษที่ 12 จากพิพิธภัณฑสถานกีเมต์ ปารีส

    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]


    “ปริศนาความแตกต่างในความเหมือนของอนุสรณ์เจดีย์พุทธศิลป์เป็นไฉน?”
    แท่งสถูปศิลานี้มีลักษณะพิเศษแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนฐานเป็นสี่เหลี่ยม ส่วนกลางเป็นแปดเหลี่ยมประดับด้วยกลีบดอกบัวสิบหกดอก และส่วนปลายเป็นรูปกรวยประดับ ด้วยกลีบดอกบัวแปดดอก ได้แสดงถึงพุทธสภาวะแห่งการหลุดพ้นหรือการบรรลุ พระนิพพานนั่นเอง หากวิเคราะห์และเปรียบเทียบเชิงประติมากรรมของสถูปศิลา ชิ้นนี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการเดียวกับมุขลึงค์ (ศิวลึงค์) นั่นเอง

    สำหรับรูปเคารพที่สลักนูนสูงทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วย พระพุทธนาคปรก, พระโลเกศวร สี่พระกร, พระวัชรปาณี (พระวัชริน) และพระนางปรัชญาปารมิตา ตามลำดับ โดยเฉพาะรูปเคารพพระวัชรปาณีมี 8 เศียร 3 ระดับ ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับ พระเศียรของเหวัชระ พระองค์มี 6 พระกร ทรงถือวัชระ มีด จักร และระฆัง ส่วนรูปเคารพพระนางปรัชญาปารมิตามี 5 เศียร 2 ระดับ อันหมายถึง พระตถาคตทั้งห้าพระองค์ พระนางมี 10 พระกร โดยไม่ปรากฏพบสิ่งของที่ทรงถืออยู่ เนื่องจากถูกทำลาย นอกจากภาพรูปเคารพของทั้งสี่พระองค์แล้ว ยังมีพบคำจารึกสรรเสริญ พระพุทธเจ้าและเหล่าทวยเทพในพุทธศาสนาอีกด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มีนาคม 2015
  20. ภราดรภาพ

    ภราดรภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,578
    ค่าพลัง:
    +2,762
    ประกาศ คร้้งสุดท้าย
    เรื่อง พลีกรรมบังสุกุลอุทิศ ประจำปี 2558 ในวันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม 2558
    เรียน พุทธศาสนิกชน ศานุศิษย์ และญาติธรรมทั้งหลาย

    ด้วยทาง ชมรมศินารา มันดาลา มีความประสงค์จัดพิธีพลีกรรมบังสุกุล ประจำปี 2558 ณ วัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท 105 ซอยลาซอย 46 ตั้งแต่เวลา 08.00 น. – 18.00 น.

    [​IMG]

    โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    1) เพื่อช่วยเหลือสงเคราะห์และทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    2) เพื่อหนุนดวง สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ รับโชค เพื่อความเป็นศิริมงคล
    3) เพื่อน้อมบุญถวายครูบาอาจารย์ เทพประจำกาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

    สำหรับพิธีการหลักสำคัญมีดังนี้
    1) พิธีเจริญพระพุทธมนต์
    2) พิธีพลีกรรมบังสุกุลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    3) พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย
    4) พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม

    หมายเหตุ
    1) ประธานฝ่ายสงฆ์ด้านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย โดย พระครูสรศักดิ์ วัดผ่องพลอยวิริยาราม
    2) ประธานฝ่ายสงฆ์ด้านพิธีพลีกรรมบังสุกุลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดย พระครูบาเจ้าบุญเลิศ แห่งวัดเขาปกล้น

    ส่วนกำหนดการมีดังนี้
    08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน มีค่าชำระหนี้สงฆ์ท่านละ 99 บ.
    09.00 – 10.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์
    10.00 – 11.00 น. พิธีพลีกรรมบังสุกุลอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
    11.00 – 12.00 น. ถวายภัตตาหารพระสงฆ์
    13.00 – 16.00 น. พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย
    16.00 – 17.00 น. พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม
    18.00 น. จบพีธีการ

    หมายเหตุ
    1. ผู้กระทำการทำแท้งหรือพัวพันการทำแท้ง ทั้งที่เจตนาก็ดี ไม่เจตนาก็ดี ให้จัดเตรียมชุดสังฆทาน (ชุดผ้าไตรหากจัดหาได้) ชุดเสื้อผ้า/ผ้าอ้อมเด็ก ขวดนม น้ำขวด และนมผงกล่อง เพื่ออุทิศให้แก่กุลบุตรกุลธิดา หากไม่สะดวกทางวัดได้จัดชุดสังฆทานไว้ให้ ทำบุญตามแต่ศรัทธา หรือจัดหาเองได้ตามความสะดวกครับ

    2. ในพิธีพลีกรรมกุมารปลุก ลูกกรอก รักยม โหงพราย ของอาถรรพ์ และคุณไสย์ดำ เพื่ออุทิศบุญและปลดปล่อยวิญญาณให้ไปยังสุคติภูมิหรือไปเกิดใหม่ตามบุญตามวาสนา ห้ามนำซากทารกมนุษย์ องค์พระองค์เทพ และกุมาร/กุมารีเทพชั้นสูง ย้ำห้ามเข้าร่วมในพิธีกรรมนี้

    3. พิธีพลีกรรมบังสุกุลเป็นบังสุกุลตาย เพื่อหนุนดวง สืบชะตา สะเดาะเคราะห์ รับโชค เพื่อความเป็นศิริมงคล หากมีจำนวนคนมากเกินไป จะกระทำเป็นรอบๆ ตามความเหมาะสม

    4. พิธีเจริญพระกรรมฐานวิชชาสาม เพื่อน้อมบุญถวายครูบาอาจารย์ เทพประจำกาย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กรุณาอย่าใส่ชุดดำ หรือ ขาวดำ ทั้งนี้โปรดสำรวมกาย วาจา ใจ และให้เกียรติแก่ตนเอง ผู้อื่น และเจ้าพิธีการ

    สำหรับรายได้ทั้งหมดจากการลงทะเบียน ถวายชุดสังฆทาน การพยากรณ์ และการบำบัดแพทย์ทางเลือก ถวายให้แก่วัดผ่องพลอยวิริยาราม เพื่อเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา

    โรงทานกุศล: ไม่มีค่าใช้จ่าย
    - ขนมจีนน้ำยาปลากราย - กะเพาะปลาเจ
    - น้ำผลไม้ - ข้าวหมกไก่ - ข้าวหมูกรอบ
    - ข้ัาวหมูแดง เกี้ยวน้ำ - เต้าฮวยฟรุ๊ตสลัด ฯลฯ

    จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบโดยทั่วกัน
    อจ.ดร.ภราดรภาพ
     

แชร์หน้านี้

Loading...