78.ไหว้พระ ๙ วัด ฝั่งธนบุรี

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 19 มิถุนายน 2015.

  1. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    หอพระไตรปิฎก
    เป็นรูปเรือน ๓ หลังแฝด หอด้านใต้ลักษณะเป็นหอนอน หอ กลางเป็นห้องโถง หอด้านเหนือเข้าใจว่าเป็นห้องรับแขก ของเดิมเป็นหลังคามุงจาก ได้เปลี่ยนเป็นมุงกระเบื้อง ชายคาเป็นรูปเทพพนมเรียงรายเป็นระยะๆ เปลี่ยนฝาสำหรวดไม้ขัดแตะเสียบกระแชงเป็นขัดด้วยหน้ากระดานไม้สักระหว่างลูกสกล ใช้แผ่นกระดานไม้สักเลียบฝาภายในแล้วเขียนรูปภาพต่างๆ บานประตูด้านใต้เขียนลายรดน้ำ บานประตูหอกลางด้านตะวันออกแกะเป็นลายกนกวายุภักษ์ ประกอบด้วยกนกเครือเถา บานซุ้มประตูนอกชานแกะเป็นมังกรลายกนกดอกไม้ภายนอกติดคันทวยสวยงาม ภายในมีตู้พระไตรปิฎกขนาดใหญ่เขียนลายรดน้ำ ๒ ตู้ ประดิษฐานไว้ในหอด้านเหนือ ๑ ตู้ หอด้านใต้ ๑ ตู้ หอพระไตรปิฎกนี้ตั้งอยู่ภายในเขตพุทธาวาส ทิศใต้ของพระอุโบสถ


    หอพระไตรปิฎกหลังเล็ก
    อยู่หน้าตำหนักแดง ในคณะ ๒ เป็นเรือนไม้ฝาปะกน ปิดทอง ทาสีเขียวสด ประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงามมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3300_1a.JPG
      IMG_3300_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      920.4 KB
      เปิดดู:
      1,445
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    หอพระไตรปิฎก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3689_1a.JPG
      IMG_3689_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      826.8 KB
      เปิดดู:
      1,300
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    หอพระไตรปิฎก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3665_1a.JPG
      IMG_3665_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      905.8 KB
      เปิดดู:
      1,283
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    หอพระไตรปิฎก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3310_1a.JPG
      IMG_3310_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      587 KB
      เปิดดู:
      1,199
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (สี)
    ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ หลังคามุงกระเบื้องเคลือบติดคันทวยตามเสาอย่างสวยงาม หน้าบันทั้งสองด้านจำหลักรูปฉัตร ๓ ชั้น อันเป็นเครื่องหมายพระยศสมเด็จพระสังฆราช วิหารหลังนี้เดิมหลังคาเป็นทรงปั้นหยา เรียกว่า ศาลาเปลื้องเครื่อง ต่อมา พระราชธรรมภาณี (ละมูล) อดีตเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๐ ได้เปลี่ยนเป็นหลังคาทรงไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เพื่อประดิษฐานพระอัฐิสมเด็จพระสังฆราช (สี) ซึ่งเดิมบรรจุอยู่ในรูปพระศรีอาริยเมตไตรย ประดิษฐานในซุ้มพระปรางค์ของวัดระฆังโฆสิตาราม ต่อมาได้ย้ายมาไว้ที่พระวิหารที่ปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่เพื่อยกย่องพระเกียรติของพระองค์


    ศาลาการเปรียญ
    กว้าง ๑๖.๖๐ เมตร ยาว ๔๐.๘๐ เมตร สร้าง ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นอาคาร คอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทย
     
  6. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ระฆัง ๕ ใบ ที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3692_1a.JPG
      IMG_3692_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      818.7 KB
      เปิดดู:
      1,367
  7. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    ออกจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร คณะไหว้พระก็ลงเรือต่อไปยังวัดที่ ๔

    วัดที่ ๔ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    ก่อนถึงวัดอรุณราชวราราม เรือวิ่งผ่านท่าราชวรดิศ เห็นพระบรมหาราชวัง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3701_1a.JPG
      IMG_3701_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      402.2 KB
      เปิดดู:
      1,303
  9. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    (ยืมรูปจากกระทู้ก่อน)


    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

    หรือ วัดแจ้ง เมื่อครั้งที่พระองค์ท่านดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้า(สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร กรมพระราชวังบวรสถานมงคล)ในรัชกาลที่ ๑ ที่ประทับของท่านจะอยู่ที่พระราชวังเดิม ฝั่งธนบุรี และวัดที่อยู่ใกล้กับพระราชวังเดิมที่สุดก็คือวัดอรุณราชวราราม พระองค์ท่านจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ และยังได้ทรงลงมือปั้นหุ่นพระพักตร์ ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’ พระประธานในพระอุโบสถ ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองอีกด้วย และเมื่อพระองค์ท่านทรงเสด็จสวรรคต พระบรมอัฐิของพระองค์ ก็ถูกนำมาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้

    วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่พบหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้างวัดในสมัยโบราณ ตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏมีเพียงว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีมาก่อนรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พุทธศักราช ๒๑๙๙-๒๒๓๑) เพราะมีแผนที่เมืองธนบุรีซึ่งเรือเอก เดอ ฟอร์บัง (Claude de Forbin) กับนายช่าง เดอ ลามาร์ (de Lamare) ชาวฝรั่งเศส ทำขึ้นไว้เป็นหลักฐานในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อีกทั้งวัดแห่งนี้ยังมีพระอุโบสถและพระวิหารของเก่าที่ตั้งอยู่ ณ บริเวณหน้าพระปรางค์ ซึ่งสันนิษฐานว่าเป็นฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยา

    มูลเหตุที่เรียกชื่อวัดนี้แต่เดิมว่า “วัดมะกอก” นั้น ตามทางสันนิษฐานเข้าใจว่า คงจะเรียกคล้อยตามชื่อตำบลที่ตั้งวัด ซึ่งสมัยนั้นมีชื่อว่า ‘ตำบลบางมะกอก’ (เมื่อนำมาเรียกรวมกับคำว่า ‘วัด’ ในตอนแรกๆ คงเรียกว่า ‘วัดบางมะกอก’ ภายหลังคงเรียกสั้นๆ ว่า ‘วัดมะกอก’) ตามคติเรียกชื่อวัดของไทยสมัยโบราณ เพราะชื่อวัดที่แท้จริงมักจะไม่มี จึงเรียกชื่อวัดตามชื่อตำบลที่ตั้ง ต่อมาเมื่อได้มีการสร้างวัดขึ้นใหม่อีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกันนี้ แต่อยู่ลึกเข้าไปในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดที่สร้างใหม่ ว่า “วัดมะกอกใน” (ในปัจจุบันคือ วัดนวลนรดิศวรวิหาร) แล้วเลยเรียก ‘วัดมะกอก’ เดิมซึ่งอยู่ตอนปากคลองบางกอกใหญ่ ว่า “วัดมะกอกนอก” เพื่อให้ทราบว่าเป็นคนละวัด

    ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ เมื่อ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หรือสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระราชประสงค์จะย้ายราชธานี มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี จึงเสด็จกรีฑาทัพล่องลงมาทางชลมารคถึงหน้า ‘วัดมะกอกนอก’ แห่งนี้เมื่อเวลารุ่งอรุณพอดี จึงทรงเปลี่ยนชื่อวัดมะกอกนอก เป็น ‘วัดแจ้ง’ เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงการได้เสด็จมาถึงวัดนี้เมื่อเวลาอรุณรุ่ง

    เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้ย้ายราชธานีจากกรุงศรีอยุธยา มาตั้ง ณ กรุงธนบุรี ในปี พ.ศ.๒๓๑๑ และได้ทรงสร้างพระราชวังใหม่ มีการขยายเขตพระราชฐาน เป็นเหตุให้วัดแจ้งตกเข้ามาอยู่กลางพระราชวัง จึงโปรดไม่ให้มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา การที่เอาวัดแจ้งเป็นวัดภายในพระราชวังนั้น คงจะทรงถือแบบอย่างพระราชวังในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีวัดพระศรีสรรเพชญ์อยู่ในพระราชวัง การปฏิสังขรณ์วัดเท่าที่ปรากฏอยู่ตามหลักฐานในพระราชพงศาวดาร ก็คือ ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ และพระวิหารหลังเก่าที่อยู่หน้าพระปรางค์ กับโปรดให้สร้างกำแพงพระราชวังโอบล้อมวัด เพื่อให้สมกับที่เป็นวัดภายในพระราชวัง แต่ไม่ปรากฏรายการว่า ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสิ่งใดขึ้นบ้าง

    ในสมัยกรุงธนบุรีเป็นราชธานี ถือกันว่าวัดแจ้งเป็นวัดคู่บ้านคู่เมือง เนื่องจากเป็นวัดที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตและพระบาง ซึ่ง สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑) ไปตีเมืองเวียงจันทน์ได้ในปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๑๔๑ (พ.ศ.๒๓๒๒) แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญ ๒ องค์คือ พระแก้วมรกตและพระบาง ลงมากรุงธนบุรีด้วย และมีการสมโภชเป็นเวลา ๒ เดือน ๑๒ วัน จนกระทั่งถึงวันวิสาขปุณณมี วันเพ็ญกลางเดือน ๖ ปีชวด โทศก จุลศักราช ๑๑๔๒ (พุทธศักราช ๒๓๒๓) โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระแก้วมรกตและพระบางขึ้นประดิษฐานไว้ในมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถเก่าและพระวิหารเก่า หน้าพระปรางค์ อยู่ในระยะกึ่งกลางพอดี มีการจัดงานสมโภชใหญ่ ๗ คืน ๗ วันด้วยกัน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้โปรดให้สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ของแม่น้ำเจ้าพระยา และรื้อกำแพงพระราชวังกรุงธนบุรีออก ด้วยเหตุนี้วัดแจ้งจึงไม่ได้อยู่ในเขตพระราชวังอีกต่อไป พระองค์จึงโปรดให้วัดแจ้งเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จำพรรษาอีกครั้งหนึ่ง โดยนิมนต์ พระโพธิวงศาจารย์ จากวัดบางหญ้าใหญ่ (วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ) มาครองวัด พร้อมทั้ง พระศรีสมโพธิและพระภิกษุสงฆ์จำนวนหนึ่งมาเป็นพระอันดับ
    นอกจากนั้นพระองค์ทรงมอบหมายให้ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (รัชกาลที่ ๒) เป็นผู้ดำเนินการปฏิสังขรณ์วัดแจ้ง แต่การปฏิสังขรณ์คงสำเร็จเพียงกุฏิสงฆ์ ส่วนพระอุโบสถและพระวิหาร ยังไม่ทันแล้วเสร็จ ก็พอดีสิ้นรัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ.๒๓๕๒ เสียก่อน (เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๗ พระแก้วมรกตได้ย้ายมาประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง ส่วนพระบางนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดพระราชทานคืนไปยังนครเวียงจันทน์ ประเทศลาว)
    ต่อมาในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระองค์ทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน แล้วโปรดพระราชทานพระนามวัดว่า ‘วัดอรุณราชธาราม
    ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ใหม่หมดทั้งวัด พร้อมทั้งโปรด ให้ลงมือก่อสร้างพระปรางค์ตามแบบที่ทรงคิดขึ้นด้วย โปรดเกล้าฯ ให้เสริมพระปรางค์ขึ้นและให้ยืมมงกุฎที่หล่อสำหรับพระพุทธรูปทรงเครื่องที่จะเป็นพระประธานวัดนางนองมาติดต่อบนยอดนภศูล โดยส่วนยอดสุดขององค์พระปรางค์ใหญ่ เป็น ‘ยอดนภศูล’ ครอบด้วยมงกุฎปิดทองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งการก่อสร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ภายในวัดอรุณฯ นี้สำเร็จลงแล้ว แต่ยังไม่ทันมีงานฉลองก็สิ้นรัชกาลที่ ๓ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ในปี พ.ศ.๒๓๙๔ พระองค์ได้โปรดให้สร้างและปฏิสังขรณ์สิ่งต่างๆ ในวัดอรุณฯ เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง อีกทั้งยังได้อัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มาบรรจุไว้ที่พระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถ ที่พระองค์ทรงพระราชทานนามว่า ‘พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก’ และเมื่อได้ทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้พระราชทานนามวัดเสียใหม่ว่า ‘วัดอรุณราชวราราม’ ดังที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระอุโบสถ

    ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นสำคัญที่มีความสวยงามยิ่งชิ้นหนึ่งของฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๒ เป็นพระอุโบสถยกพื้นสูง หลังคาลด ๒ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีเขียวใบไม้ ประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก หน้าบันทั้งด้านหน้าและด้านหลังสลักด้วยไม้ลงรักปิดทองเป็นรูปเทวดายืนถือพระขรรค์ประทับในปราสาท เป็นไม้แกะ มีสังข์ และคันโทน้ำวางอยู่บนพานข้างสะพาน ประดับลายกระหนก ชื่อว่า ช่อกระหนกหางโต ลงรักปิดทอง
    ตัวพระอุโบสถมีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง มีเสาใหญ่รับเชิงชายทั้งด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีชานเดินได้ พื้นหน้ามุขและพื้นรอบพระอุโบสถปูด้วยหินอ่อน บันได เสาบันไดเป็นหินทราย ระหว่างเสาใหญ่ด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีกำแพงเตี้ยๆ ประดับด้วยหินสลักรูปดอกไม้ ใบไม้ ที่หุ้มกลองด้านหน้าอยู่ระหว่างประตูทั้ง ๒ ข้าง
     
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    มีบุษบกที่สร้างไว้ระหว่างประตูด้านหน้าทั้งสองข้างของพระอุโบสถ
    ซึ่งเป็น บุษบกยอดปรางค์ จำหลักลายวิจิตร ปิดทองประดับกระจก ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป นามว่า ‘พระพุทธนฤมิตร’ เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร (ยกพระกรทั้งสองขึ้นเสมอพระอุระ) ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของการสร้างพระพุทธรูปฉลองพระองค์ (พระพุทธรูปเท่าพระองค์ของพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์) ที่สร้างขึ้นเฉพาะพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทรนี้เท่านั้น

    พระพุทธนฤมิตรนี้เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ในรัชกาลที่ ๒ ที่หุ้มกลองด้านหลังระหว่างประตูทั้ง ๒ ข้างเหมือนกัน บุษบกยอดปรางค์มีพาน ๒ ชั้น ลงรักปิดทอง มีพุ่มเทียนตั้งอยู่ ผนังด้านนอกถือปูนประดับกระเบื้องจีนลายดอกไม้ร่วง บัวหัวเสาและบัวเชิงเสาลงรักปิดทองประดับกระจก หน้าต่างทั้งหมดมี ๑๔ ช่อง ด้านเหนือ ๗ ช่อง ด้านใต้ ๗ ช่อง บานหน้าต่างด้านนอกเป็นลายรดน้ำซ่อมใหม่ ด้านในเป็นภาพต้นไม้

    ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน ซึ่งฝีมืองดงามยิ่งนัก เป็นภาพพระพุทธประวัติ เช่น ภาพผจญมาร และภาพในชาดก เช่น เวสสันดรชาดก เป็นต้น นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถยังมี ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของครูคงแป๊ะและครูทองอยู่ ช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังชั้นครูที่เคยฝากฝีมือไว้ที่วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เขตบางกอกน้อย ไว้ด้วยเช่นกัน

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๑๑ การปฏิสังขรณ์วัดอรุณฯ ในรัชกาลนี้ควรนับได้ว่าเป็นการใหญ่ เพราะได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่หมดเกือบทั้งวัด เริ่มต้นจากพระวิหารที่กำลังชำรุดทรุดโทรม
    และบุษบกที่มุขหน้าและมุขหลังของพระอุโบสถที่ค้างไว้

    ปีมะแม วันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๓๘ เวลา ๑๖.๐๐ นาฬิกา ได้เกิดอัคคีภัยไหม้พระอุโบสถ สาเหตุเกิดจากลูกไฟปลิวมาจากโรงถ่านที่อยู่เหนือคลองนครบาล หรือคลองวัดแจ้ง ตึกกุฏิสงฆ์ริมคลองลุกไหม้ขึ้นก่อน แล้วเปลวไฟปลิวมาไหม้พระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้รีบเสด็จพระราชดำเนินมาอำนวยการดับเพลิงด้วยพระองค์เอง และอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ สมเด็จพระบรมอัยกาธิราช ออกไปได้ทัน
    ในการเกิดเพลิงไหม้ครั้งนี้ พระอุโบสถได้รับความเสียหายมาก เพลิงไหม้หลังคาพระอุโบสถจนหมด
    และทำให้ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังเสียหายไปบ้าง จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์พระอุโบสถใหม่เกือบทั้งหมดให้คืนดีดังเดิม โดยได้โปรดให้ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ เป็นแม่กองในการบูรณะ และสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ก็ประทานความเห็นในการซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ ให้รักษาของเก่าไว้อย่างดีที่สุด และภาพที่จะเขียนซ่อมใหม่ก็ให้กลมกลืนกับภาพเดิม
    และปฏิสังขรณ์พระระเบียงรอบพระอุโบสถ กับถาวรวัตถุอื่นๆ ที่ควรปฏิสังขรณ์ด้วย สิ้นพระราชทรัพย์ครั้งนี้เป็นเงิน ๑๒,๘๐๐ บาท ซึ่งพระบรมวงศ์ฝ่ายในได้ทรงร่วมบริจาคทรัพย์เป็นเงิน ๒๔,๐๐๐ บาท เพื่อการปฏิสังขรณ์และสถาปนาถาวรวัตถุภายในวัด และโปรดเกล้าฯ ให้นำเงินที่เหลือจากการบริจาคของพระบรมวงศานุวงศ์ ไปสร้างโรงเรียนตรงบริเวณกุฎีเก่าด้านเหนือ ซึ่งชำรุดไม่มีพระสงฆ์อยู่ เป็นตึกใหญ่ แล้วพระราชทานนามว่า “โรงเรียนทวีธาภิเศก”

    นอกจากนั้นยังได้โปรดให้ พระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายงานอำนวยการปฏิสังขรณ์พระปรางค์องค์ใหญ่ และบริเวณทั่วไปตามของเดิม แก้ไขเพิ่มเติมบางอย่างตามที่ควรจะแก้
    การปฏิสังขรณ์พระปรางค์ได้เริ่มแต่เดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๔๕๑ และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้มีการฉลองพระปรางค์ร่วมกับงานฉลองพระไชยนวรัฐ และงานบำเพ็ญพระราชกุศลพระชนมายุสมมงคล คือมีพระชนมายุเสมอพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รวม ๓ งานพร้อมกัน ซึ่งทั้ง ๓ งานนี้เป็นงานใหญ่ รวมเวลา ๙ วัน ได้เริ่มตั้งแต่วันที่ ๑๒-๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๕๒

    ต่อมาในสมัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ รัชกาลปัจจุบัน ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์หลายอย่าง โดยเฉพาะพระปรางค์วัดอรุณฯ ได้รับการปฏิสังขรณ์เป็นการใหญ่
    มีการประกอบพิธีบวงสรวงก่อนเริ่มการบูรณะพระปรางค์ ในวันพุธที่ ๒๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๑๐ และการบูรณะก็สำเร็จด้วยดีดังเห็นเป็นสง่างามอยู่จนทุกวันนี้

    บริเวณรอบๆ พระอุโบสถนั้น มี ตุ๊กตาหินจีน ขนาดเล็กตั้งเรียงรายอยู่เต็มไปหมด นับตั้งแต่ระหว่างซุ้มเสมายอดมณฑปทั้ง ๘ ซุ้ม ก็มี สิงโตหินจีน ตัวเล็กตั้งอยู่บนแท่นเรียงกัน เว้นไว้แต่ตรงช่องบันไดทางขึ้นพระอุโบสถเท่านั้น และด้านหน้าบริเวณลานพระระเบียงคดที่ล้อมรอบอุโบสถนั้นก็มีตุ๊กตาหินจีนเป็นรูปคน แต่งกายในชุดแบบจีนยืนอยู่ในลักษณะต่างๆ กันเรียงเป็นแถวครบทั้งสี่ด้าน

    นอกจากนี้ที่มุมพระอุโบสถทั้ง ๔ มุมยังมี พระเจดีย์หินแบบจีน แต่มียอดเป็นปล้องๆ คล้ายปล้องไฉนของไทย มีผู้วิเศษจีนแปดรูป หรือที่เรียกว่า โป๊ยเซียน ตั้งอยู่ในซุ้มคูหาขององค์พระเจดีย์หินแบบจีนนั้นทั้ง ๘ ทิศด้วยกัน


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3720_1a.JPG
      IMG_3720_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      3,088
  12. modpong

    modpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    2,609
    ค่าพลัง:
    +17,933
    ............
    ...ยอดเยี่ยม..ทั้งภาพ..และ..เรื่องราว..เช่นเคย..
    .....ขอบคุณครับ..ที่จัดมาให้...
     
  13. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837

    ขอบคุณจ่ะ...
    ยังเหลืออีก ๖ วัด นะ คุณลุง....
     
  14. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระประธานในพระอุโบสถ

    พระประธานในพระอุโบสถ มีนามว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงพระราชทานนามให้พระประธานองค์นี้ เล่าขานกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยมีขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอกคืบหรือ ๑.๗๕ เมตร ศิลปกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ประดิษฐานเหนือแท่นไพทีบนฐานชุกชี พระพุทธรูปองค์นี้เดิมยังไม่มีพระนาม เบื้องพระพักตร์มีรูปหล่อพระอัครสาวก ๒ องค์หันหน้าเข้าหาองค์พระประธานระหว่างกลางรูปหล่อพระอัครสาวก ๒ องค์นั้น มี พัดยศพระประธาน (พัดแฉกใหญ่) ตั้งอยู่เช่นเดียวกับ ‘พระพุทธเทวปฏิมากร’ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงอัญเชิญพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ มาประดิษฐานบรรจุไว้ที่ ‘ผ้าทิพย์’ ซึ่งประดับด้วยลายพระราชลัญจกรเป็นรูปครุฑจับนาคตรงใบพัดยศพระประธานในบริเวณพระพุทธอาสน์ของพระประธานในพระอุโบสถแล้วถวายพระนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก”

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงสันนิษฐานเกี่ยวกับ พัดยศพระประธาน ดังกล่าวนี้ไว้ว่า

    “นึกได้ว่าในเรื่องพุทธประวัติ มีพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ดูเหมือนจะเป็นพระเจ้าปเสนทิ ได้ทำพัดงาถวายพระพุทธองค์ สำหรับทรงถือในเวลาประทานพระธรรมเทศนา เรื่องนั้นพวกสร้างพระพุทธรูปได้เอาเป็นคติ ทำพระพุทธรูปปางหนึ่งทรงถือพัด มีมาแต่โบราณ ยกตัวอย่างดังเช่น พระชัยนวรัฐ ที่เจ้าเชียงใหม่ถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เป็นต้น แลยังมีอยู่ในพิพิธภัณฑสถานอีกหลายองค์ แต่ชั้นเก่าทำพัดเป็นรูปกลมหรือรูปไข่ เช่น รูปพัดงาสาน พระชัยของหลวงสร้างประจำรัชกาล ก็คงมาแต่พระปางนั้น เป็นแต่แก้รูปพัดเป็นพัดแฉก คงเป็นแบบพระชัยหลวง มาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกจึงทรงสร้างพระชัยประจำรัชกาลที่ ๑ เป็นปางทรงถือพัดแฉก ยังมีคติเนื่องกับพระพุทธรูปปางถือพัดต่อไปอีกอย่างหนึ่งที่พระเจ้าแผ่นดินถวายพัดแฉกเป็นพุทธบูชาตั้งไว้บานฐานชุกชีข้างหน้าพระประธานในพระอารามหลวงเคยเห็นที่วัดอรุณ วัดราชบุรณะ และทำเป็นพัดแฉกขนาดใหญ่ถวายพระพุทธเทวปฏิมากรวัดพระเชตุพน ยังปรากฏอยู่จนบัดนี้”
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3735_1a.JPG
      IMG_3735_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,414
  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3746_1a.JPG
      IMG_3746_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      3,366
  16. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระวิหารคด(พระระเบียงคด)

    พระอุโบสถวัดอรุณราชวรารามแห่งนี้ ไม่มีกำแพงแก้วแต่มีพระวิหารคด(พระระเบียงคด) ล้อมรอบแทน สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เช่นกัน ภายในพระวิหารคด(พระระเบียงคด) มีพระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่โดยรอบถึง ๑๒๐ องค์ พระระเบียงคดมุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีทองและสีเขียวใบไม้ มีประตูเข้าออกอยู่กึ่งกลางพระระเบียงคดทั้ง ๔ ทิศ โดยเฉพาะด้านทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก มีซุ้มจระนำเหนือประตู หน้าบันทำเป็นรูปพระนารายณ์ทรงครุฑประดับด้วยลายกระหนก ลงรักปิดทองอย่างงดงามมาก

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ช่างเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงชมเชยไว้ว่า
    “พระระเบียงมีอยู่ให้ดูได้สมบูรณ์ ทรวดทรงงามกว่าพระระเบียงที่ไหนหมด เป็นศรีแห่งฝีมือในรัชกาลที่ ๒ ควรชมอย่างยิ่ง”

    ลายเขียนผนังนั้นเป็นฝีมือในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทำเพิ่มเติม ลายเขียนที่ผนังที่ทรงกล่าวถึงนั้น เขียนเป็นรูปซุ้มเรือนแก้วลายดอกไม้ ใบไม้ มีนกยูงแบบจีนคาบอยู่ตรงกลาง เสาพระระเบียงเป็นเสาอิฐถือปูนย่อเหลี่ยม บัวหัวเสาที่รับเชิงชายลงรักปิดทองประดับกระจกทุกต้น ที่ด้านในบานประตูทุกด้าน เป็นภาพสีรูปคนถือหางนกยูงยืนอยู่เหนือสัตว์ป่าหิมพานต์ มีราชสีห์ปละคชสีห์ เป็นต้น ด้านนอกเป็นลายรดน้ำ

    พระระเบียงคดนี้ได้ปฏิสังขรณ์ครั้งหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๙ โดยเปลี่ยนเป็นกระเบื้องเคลือบใหม่ทั้งหมด ช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ตามซุ้มจระนำ ทำใหม่บ้าง ลงรักปิดทองประดับกระจกสวยงาม บริเวณพระวิหารคด (พระระเบียงคด) มีช้างหล่อโลหะ ๘ ช้าง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ซึ่งทรงเฉลิมพระนามาภิไธยว่า ‘พระเจ้าช้างเผือก’ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙

    ซุ้มเสมายอดมณฑป
    องค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งซึ่งส่งผลให้เสมามีความโดดเด่น และมีความงดงามมากยิ่งขึ้นนั่นคือ ‘ซุ้มเสมา’ ซุ้มเสมาเป็นอีกรูปแบบสถาปัตยกรรมหนึ่งที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม โดยสืบทอดแบบอย่างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นแบบแผนที่ยังคงมีให้ศึกษามาจวบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน สำหรับซุ้มเสมาวัดอรุณราชวรารามนั้นเป็น ซุ้มเสมายอดมณฑป คือซุ้มเสมาที่ทำส่วนยอดซุ้ม ให้มีลักษณะคล้ายอย่างเรือนยอดพระมณฑปหรือบุษบก โดยรอบพระอุโบสถจะมี ‘ซุ้มเสมายอดมณฑป’ ทั้งหมด ๘ ซุ้ม ใบเสมาเป็นหินสลักลวดลายงดงาม มีใบเสมา ๒ ใบ เรียกว่าเสมาคู่ ประดิษฐานอยู่ในซุ้มหินอ่อน ทำเป็นรูปบุษบกยอดเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสอง ระหว่างช่องเสมามี สิงโตหิน ตั้งอยู่บนแท่นรอบพระอุโบสถ หน้าพระระเบียงมี ตุ๊กตาหินทหารจีน ตั้งเรียงเป็นแถวรอบพระอุโบสถ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3750_1a.JPG
      IMG_3750_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      980.5 KB
      เปิดดู:
      3,353
  17. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระวิหาร

    พระวิหาร ตั้งอยู่ระหว่างมณฑปพระพุทธบาทจำลองกับหมู่กุฏิคณะ ๑ สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ เช่นกัน เป็นพระวิหารยกพื้นสูงเช่นเดียวกับพระอุโบสถ หลังคาลด ๓ ชั้น มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบันสลักด้วยไม้มีรูปเทวดาถือพระขรรค์ยืนอยู่บนแท่น ประดับด้วยลายกระหนก ลงรักปิดทองประดับกระจก มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ด้านหน้ามีประตูเข้า ๓ ประตู ด้านหลังมี ๒ ประตู ผนังด้านนอกประดับด้วยกระเบื้องเคลือบลายก้านแย่งกระบวนไทย เป็นกระเบื้องที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงสั่งมาจากเมืองจีนเพื่อใช้ประดับผนังด้านนอกพระอุโบสถแต่ไม่งามพระราชหฤทัย จึงทรงโปรดให้เอามาประดับผนังด้านนอกพระวิหารนี้ ด้านนอกของประตูและหน้าต่างทั้ง ๑๔ ช่อง ทำขึ้นใหม่ เป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้ ผนังด้านในเดิมคงมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เพราะเสาสี่เหลี่ยมข้างในและเรือนแก้วหลังพระประธานและบนบานประตูและหน้าต่างด้านในยังมีภาพสีปรากฏอยู่ แต่ปัจจุบันผนังได้ฉาบด้วยน้ำปูนสีเหลืองเสียหมดแล้ว ยังเห็นเป็นรอยเลือนลางได้บางแห่ง แต่น้อยเต็มที ปัจจุบันได้ใช้พระวิหารหลังนี้เป็น ศาลาการเปรียญ ของวัดด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3767_1a.JPG
      IMG_3767_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      922.6 KB
      เปิดดู:
      1,214
  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระประธานในพระวิหาร

    มีนามว่า ‘พระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร’ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๖ ศอก หล่อด้วยทองแดงปิดทอง

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หล่อขึ้นในคราวเดียวกันกับ ‘พระพุทธตรีโลกเชษฐ์’ พระประธานในพระอุโบสถวัดสุทัศเทพวราราม เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ.๒๔๙๖ ทางวัดได้พบพระบรมธาตุ ๔ องค์บรรจุอยู่ในโกศ ๓ ชั้น คือ เงิน นาค และทอง เป็นชั้นๆ โดยลำดับ อยู่ในพระเศียร โดยลำดับ อยู่ในพระเศียร เหตุที่พบก็เพราะสมเด็จพระพุฒาจารย์ เจ้าอาวาสวัดอรุณฯ ขณะนั้นยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์ ได้เห็นแสงสว่างปรากฏในห้องที่จำวัด และก่อนหน้านั้น พระครูใบฎีกาเจริญ ผู้เฝ้าพระวิหารได้เห็นแสงพระรัศมี ลอยฉวัดเฉวียนอยู่ที่พระพุทธรูปสำคัญ แล้วหายไปที่พระเศียรถึง ๒ ครั้ง ท่านจึงให้พระครูใบฎีกาเจริญขึ้นไปดูที่พระเศียร จึงพบพระบรมธาตุดังกล่าว
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3766_1a.JPG
      IMG_3766_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,653
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2015
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    พระอรุณ หรือ พระแจ้ง

    ที่ฐานชุกชีด้านหน้าพระพุทธชัมภูนุทมหาบุรุษลักขณาอสีตยานุบพิตร ได้ประดิษฐาน ‘พระอรุณ’ หรือ ‘พระแจ้ง’ พระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ศิลปะล้านช้าง หน้าตักกว้าง ๕๐ เซนติเมตร ซึ่งองค์พระพุทธรูปและผ้าทรงครองได้หล่อด้วยทองต่างสีกัน ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๐๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอรุณหรือพระแจ้งมาจากเมืองเวียงจันทน์โดยมีพระราชประสงค์จะอัญเชิญมาประดิษฐานในพระบรมมหาราชวัง แต่ภายหลังพระองค์ได้มีพระราชดำริที่จะย้ายพระอรุณหรือพระแจ้งมาประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม แทน ด้วยเหตุที่นามพระพุทธรูปพ้องกับชื่อวัด ดังปรากฏหลักฐานจากพระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอนุชาธิราชในรัชกาลที่ ๔ เมื่อปีมะเมีย จุลศักราช ๑๒๒๐ (พุทธศักราช ๒๔๐๑) ความตอนหนึ่งว่า
    “...ยังมีพระที่มีชื่อเอามาแต่เมืองเวียงจันทน์อีกสองพระองค์ พระอินแปลงน่าตัก ๒ ศอกเศษ พระอรุณน่าตักศอกเศษ...พระอรุณนั้น ฉันคิดว่าจะเชิญลงมาไว้ในพระวิหารวัดอรุณ เพราะชื่อวัดกับชื่อพระต้องกัน สมควรแต่จะให้จัดแจงที่ฐานเสียให้เสร็จก่อน แล้วจึงจะเชิญลงมาต่อน่าน้ำ...”

    จากพระราชดำริดังกล่าว ในเวลาต่อมาจึงโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระอรุณหรือพระแจ้งมาประดิษฐานในพระวิหารวัดอรุณราชวราราม โดยโปรดให้ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชี ด้านหน้าพระพุทธชัมภูนุทฯ ซึ่งเป็นพระประธานในพระวิหาร นับแต่นั้นมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

    ช่วงวันสงกรานต์ของทุกปี ในวันที่ ๑๒ เมษายน วัดอรุณฯ จะอัญเชิญพระอรุณองค์จำลองแห่เวียน ตั้งแต่ถนนอรุณอมรินทร์ไปจนถึงถนนอิสรภาพ และในวันที่ ๑๓ เมษายน จะอัญเชิญพระอรุณองค์จำลองออกมาให้ประชาชนสรงน้ำพระเป็นประจำทุกปี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3762_1a.JPG
      IMG_3762_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.1 MB
      เปิดดู:
      1,266
  20. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    โบสถ์น้อยและพระวิหารน้อย

    โบสถ์น้อยและพระวิหารน้อย (พระวิหารเล็ก) ตั้งอยู่หน้าพระปรางค์ใหญ่ ซึ่งโบสถ์น้อยและพระวิหารน้อยนั้นเป็นโบสถ์และพระวิหารเดิมของวัดมะกอกนอกสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กันมากับพระปรางค์ใหญ่องค์เดิม ซุ้มเหนือบานประตูกลาง ระหว่างโบสถ์น้อยและพระวิหารน้อยเป็น ‘รูปพระเกี้ยว’ ซึ่งเป็นรูปพระราชลัญจกรประจำพระองค์ในรัชกาลที่ ๕ ในปัจจุบันยังใช้ประตูกลางเป็นทางผ่านเข้าไปสู่พระปรางค์ใหญ่ได้ด้วย
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_3788_1a.JPG
      IMG_3788_1a.JPG
      ขนาดไฟล์:
      945.1 KB
      เปิดดู:
      2,888

แชร์หน้านี้

Loading...