"อานาปานสติ" ฉบับหลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมกรรมดี, 27 ตุลาคม 2015.

  1. ธรรมกรรมดี

    ธรรมกรรมดี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +56
    หลวงพ่อทองใบ ปภัสสโร พระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมีชื่อ
    รูปหนึ่ง ท่านทำสมาธิในป่าเขาลำเนาไพรมาตลอด พระที่อยู่กับ
    หลวงพ่อมีหลายร้อยรูป แต่ละรูปเคร่งการปฏิบัติ มิศิลาจารวัตรที่งดงาม
    น่าศรัทธาเลื่อมใส ประสบการณ์การปฏิบัติแต่ละรูปก็ไม่ธรรมดา แสดง
    ให้เห็นถึงบารมีธรรมที่ยิ่งใหญ่ของหลวงพ่อ

    คุยธรรมะกับหลวงพ่อทองใบหลายครั้ง รู้ว่าท่านชำนาญการ
    เข้า-ออกสมาธิ การเข้าสมาธิแต่ละครั้งของท่านรวดเร็วทันใจ แค่นึกก็
    เข้าได้ปั๊บ ได้สัมผัสรสชาติของสมาธิทันที

    ท่านให้ข้อเปรียบเทียบความชำนาญการเข้าสมาธิ เหมือน
    ทารกดูดนมมารดา เพียงแค่ลิ้นทารกสัมผัสนมมารดาเท่านั้น ก็รู้สึก
    หวานฉ่ำกับรสชาตินมแม่ได้ทันที

    แค่ลิ้นแตะก็ได้สัมผัสรส
    แค่กำหนดรู้ลมหายใจ จิตก็สงบทันที


    ผู้เขียนสอบถามแนวปฏิบัติที่ท่านใช้ ท่านแนะให้ดูลมหายใจ
    เข้า-ออกใน ๓ ทาง คือ ปลายจมูก-กลางหน้าอก-กลางสะดือ จิตจะ
    สงบนิ่งรวมเป็นหนึ่งได้ดี ขั้นตอนปฏิบัติดังนี้

    ๑. กำหนดรู้จุดลม หายใจเข้า กำหนดรู้ลมที่กระทบปลาย
    จมูก-กลางหน้าอก และกลางสะดือ หายใจออก กำหนดรู้ลมที่กระทบ
    กลางสะดือ กลางหน้าอก และปลายจมูก ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนจิตสงบ
    นิ่ง แต่หากจิตยังฟุ้งซ่านไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่สงบนิ่งอย่างที่ต้องการ
    ควรทำตามขั้นตอนต่อไป

    ๒. กล่าวคำภาวนา หายใจเข้า ภาวนาว่า "พุท" พร้อมกำหนด
    รู้ลมที่สัมผัสปลายจมูก กลางหน้าอก และกลางสะดือ หายใจออก
    ภาวนาว่า "โธ" พร้อมกำหนดรู้ลมที่สัมผัสกลางสะดือ กลางหน้าอก
    และปลายจมูก กล่าวคำภาวนาและกำหนดรู้ลมตามจุดต่างๆ กลับไป
    กลับมาจนรู้สึกว่าจิตสงบนิ่งเป็นหนึ่ง

    ๓. ทิ้งคำภาวนา รู้สึกจิตสงบนิ่งได้ที่ ความคิดฟุ้งซ่านดับไป
    ไม่มีอารมณ์ต่างๆ รบกวนจิต ปล่อยคำภาวนาเสีย กำหนดรู้อยู่เฉพาะ
    จุดที่ลมกระทบ คือ ทวารทั้งสาม จิตจะสงบละเอียดมากกว่าเดิม
    ตัดอารมณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่เข้ารบกวน

    ๔. พักจิตในจุดสงบ รู้ว่าจิตสงบนิ่งเต็มที่ ไม่ต้องกำหนดรู้
    ที่ทวารทั้งสามอีกต่อไป ควรพักจิตที่สงบนั้นไว้แต่ทวารเดียวเท่านั้น
    แล้วปล่อยให้จิตสงบจนเต็มกำลังของมัน

    *บันทึกสมาธิ*

    ฝึกอย่างที่กล่าวมาอย่างสม่ำเสมอ
    จนผู้ปฏิบัติชำนาญในการเข้า-ออกสมาธิ
    เพียงแค่น้องจิตเข้าไป จิตก็สงบตัวลงได้ทันที
    ได้สัมผัสรสชาติความสงบอย่างทันใจ
    เหมือนทารกได้สัมผัสนมมารดา
    อย่างที่หลวงพ่อทองใบพูด

    ที่มา : ส.ชิโนรส (พระมหาสุภา ชิโนรโส), หนังสือ "บันทึกพระป่า ลึกสู่เปิดเผย", 2558 : 92-94
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _11_430.jpg
      _11_430.jpg
      ขนาดไฟล์:
      78.5 KB
      เปิดดู:
      1,362
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 ตุลาคม 2015
  2. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    ค้นคำว่า หลวงปู่ทองใบ ปภัสสโร ในยูทูป
    จะได้ฟังธรรมที่เป็นแนวทางปฏิบัติอีกมากมาย
     
  3. Tewadhama

    Tewadhama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    69
    ค่าพลัง:
    +188
    สาธุ..เคยไปกราบนมัสการมาอยู่เมื่อปี 57
     
  4. degba4567

    degba4567 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +348
  5. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    ขอเรียนถามนะคะว่าการท่องพุทโธ กับการนับเลข ต่างกันยังไง

    แล้วที่ว่าควรพักจิตที่สงบไว้แต่ทวารเดียวเท่านั้นคือทวารไหนคะ
    แล้วก้ เวลานั่งสมาธิแล้วปวดหลังเราจะต้องทำยังไง

    ขอบคุณค่ะ
     
  6. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    อานาปานสติ (ม.อุ. 14/287)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันบุคคลทำให้เกิดแล้ว
    ทำให้มีแล้ว (ภาวนา) ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่

    คำสอนของพระพุทธเจ้า ดังนี้คือ

    นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    ย่อมมีสติ ระลึกรู้ เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมมีสติ ระลึกรู้ เมื่อหายใจออก

    เริ่มจตุกกะที่ 1 เรียนรู้เรื่องกายสังขาร มี 4 ขั้นตอน

    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว

    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น

    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด กองลมทั้งปวง เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด กองลมทั้งปวง เมื่อหายใจออก

    ย่อมศึกษาว่า จะสงบสิ่งปรุงแต่งกาย(ทำลมหายใจให้สงบ) เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะสงบสิ่งปรุงแต่งกาย(ทำลมหายใจให้สงบ) เมื่อหายใจออก

    4 ขั้นตอนนี้ เป็นการศึกษากายสังขาร ซึ่งเป็นการดูกายในสติปัฏฐานสี่
    ที่เป็นจตุกกะ 1 เท่านั้น

    ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย
    ซึ่งได้แก่ ลมหายใจออก และ ลมหายใจเข้า (ปฐมอานันทสูตร)

    ดูก่อน วิสาขะ ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
    ชื่อว่า กายสังขาร (สิ่งปรุงแต่งกาย)

    *******ย่อมศึกษาว่า หมายความก็คือ การที่จะทำความรู้ชัดในสิ่งนั้น
    เมื่อกำลังหายใจเข้า และ เมื่อหายใจออก หรือจะทำการเรียนรู้ในสิ่งนั้น
    อาทิเช่น จะเรียนรู้กองลมทั้งปวง กองลมทั้งปวง คืออะไร
    ก็คือ การรู้ลมทั่วร่างกาย ก็ให้รู้ชัด ในขณะกำหนดลมหายใจอยู่ เป็นต้น

    เอาคำสอนพระพุทธเจ้ามาฝากเพื่อเพิ่มเติมให้ คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์
    แก่ผู้สนใจ หรือผู้ที่เริ่มต้นฝึก
     
  7. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    อานาปานสติ เป็นกรรมฐาน ที่พระพุทธองค์ใช้ในวันตรัสรู้
    เป็นกรรมฐานที่สามารถพาจิตลงไปหยั่งลึกสู่ภายใน
    และทำใหได้ฌานอภิญญาในระดับสูง ซึ่งกรรมฐานบางกอง
    ก็ได้แค่ อุปจารสมาธิ บางกองก็ได้แค่ฌาน 1 บางกองก็ได้แค่ฌาน 4 เป็นต้น

    และคิดว่าเป็นกรรมฐานกองเดียว ที่ทำได้ง่ายที่สุด เพราะใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้ว
    ภายในตัวเองไม่ต้องไปหาจากที่ไหน คือ ลมหายใจ ที่มีอยู่แล้ว เราเพียงแค่
    มีหน้าที่ กำหนดดู กำหนดรู้ ลมหายใจ เท่านั้น

    แต่..... ตัวเองคิดว่า กลับเป็นสิ่งที่ได้ยากที่สุด เพราะลมหายใจละเอียดอ่อน
    มันไหลไปได้ง่าย ควบคุมได้ยาก ไม่เหมือนการไปจับเพ่งส่วนใดส่วนหนึ่ง
    ของร่างกายเห็นได้ง่ายกว่า เมื่อเราพยายามจะจับเพ่ง ก็จะเกิดความอึดอัด
    เนื่องจากไปจับยึดความเพ่งนั้นไว้ เห็นสิ่งเดียว คือ ความเพ่ง มีเราเป็นผู้เพ่ง
    เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็เป็นอัตตาตัวตนเท่านั้น จึงไม่ค่อยได้ผลในการทำอานาปานสติ

    การทำกรรมฐานทุกกอง หัวใจหลัก ก็คือ การเข้าไปรู้ รูป นาม เท่านั้น

    อานาปานสติ ต้องมีการเห็น 2 สภาวะ เป็นอย่างน้อยในขณะเดียวกันคือ

    1. มีตัวรู้ หรือ ผู้รู้ กำลังรู้ ลมหายใจที่มีการเคลื่อนไหว สิ่งนี้เรียกว่า "นาม"
    2 มีลมหายใจ ที่กำลังถูกรู้อยู่ ลมหายใจ เป็น "รูป"

    ต้องเห็นสองสิ่งพร้อมกัน เพียงแค่มีสติกำหนดดูเท่านั้น ไม่ต้องไปบังคับอะไรเลย
    จึงเรียกว่า ทำกรรมฐาน กำหนดดู รูปนามตามเป็นจริง

    ผู้ดู ผู้เห็นก็คือ สติ นั่นเอง
     
  8. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    1. การท่องพุทโธ กับ การนับตัวเลข มีความเหมือนกัน ตรงที่เป็นคำบริกรรม
    คือ ให้จิตมีความคิดในสิ่งเดียว เพื่อให้มีอารมณ์เดียว เพื่อป้องกันความคิดที่
    จิตชอบคิดไปหลายเรื่อง เดี่ยวคิดเรื่องนั้นที และวนมาคิดเรื่องใหม่อีก สลับไปมา
    วนเวียนอยู่อย่างนี้ การให้จิตคิดเรื่องเดียวเพื่อป้องกันความฟุ้งซ่าน ก็จะไม่เห็น
    รูป-นาม ตามความเป็นจริง คือ ผู้รู้ลมหายใจ และ ลมหายใจที่ถูกรู้ แต่ จะอยู่กับ
    ความคิดที่ฟุ้งซ่านแทน

    ความต่าง คือ คำว่า พุทโธ เป็นการกำหนดรู้อารมณ์เดียวไปเรื่อย ๆ ถ้ารู้ความหมาย
    ของพุทโธ หมายถึงสิ่งใด คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน อารมณ์ของจิตก็จะอยู่ใน
    อารมณ์นั้น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พร้อม กำหนดลมหายใจไปด้วย

    การนับตัวเลข เป็นการกำหนดสติไม่ให้เผลอหลงลืม การนับเรียงของตัวเลข
    ทำให้สติระลึกรู้ไม่เผลอการเรียงลำดับของตัวเลข พร้อมกับกำหนดลมหายใจไปด้วย

    ขึ้นอยู่กับจริตแต่ละคน

    2. การพักจิตไว้ทวารเดียวคือ กำหนดให้จิต รับรู้และกำหนดดูอยู่ตรงที่จุดนั้น
    ไม่ว่าจะจุด ตรงปลายจมูก จุดกลางหน้าอก และจุดกลางสะเดือหน้าท้อง
    ให้จิตนิ่งอยู่ตรงจุดนั้น ไม่เคลื่อนไหวไปตามลมหายใจ แค่มีสติเป็นผู้ดูลมหายใจ
    ที่เกิดขึ้นตามจริง จุดที่สงบได้นานที่สุด คือ จุดตรงหน้าท้อง เมื่อกำหนดไว้ตรงนั้น
    จะเห็นการเคลื่อนไหว การพองยุบของหน้าท้อง พร้อมรู้ลมหายใจไปด้วย
    จะทำให้สงบนิ่งได้นาน

    3.เวลานั่งสมาธิปวดหลัง อาจเนื่องมาจาก การนั่งไม่ถูกต้อง ที่เคยเจอก็คือ
    การยืดตัวมากเกินไป ทำให้เกิดการเกร็งตัว หลังเกร็ง เมื่อรู้สึกตัวว่าปวดเมื่อย
    ต้องคลายการยืดสุดตัว ให้คลายพักอยู่ตรงจุดกลางของลำตัว คือ หย่อนตัว
    พักลงแบบสบาย ๆ นั่นเอง และการงอตัวมากเกินไปก็มีส่วนเหมือนกัน แต่
    ไม่ทำให้ปวดเหมือนกรณีแรก แต่การงอตัวทำให้หลับง่วงได้ง่ายกว่า
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    1.นับหนึ่ง หรือ บริกรรม เหมือนกันตรงไหน

    เหมือนกัน ตรงทำให้ อานาปานสติ ผลิกกลายเป็น กรรมฐานอื่น

    2.การพักจิตไว้ในทวารอันเดียวคืออะไร คือ มีสติอยู่หน้าจิต อย่าฉวยจิต
    อย่าส่งส่าย กำหนดรู้จิตแปรปรวนแล้วยกเห็นอยู่ จิตไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง
    เวทนาไม่เที่ยง ธรรรมไม่เที่ยง มีสติปัฏฐานเป็นนายทวารบนหอคอยดูทั้ง4ประตู
    [ ในแง่พระสูตร การมีทวารอันเดียว ย่อมหมายถึง เจริญอานาปานสติ ครบ16ขั้น
    เป็น หนึ่งรอบ ....ไม่ใช่ไปแบ่ง 4วรรคนี้กาย สี่วรรคนี้เวทนา สันติ !!!]


    การเอาจิตไปปักรู้ นั่น ส่งจิตออกนอกไปแล้ว NGO บรม ให้กำหนดรู้

    จึงจะเข้ามา ....แต่ก็อย่าส่งใน ไปเห็น นายทวารบนหอคอยมันเที่ยง อย่าประครอง
    รักษา จิตถึงจะ ถึงฐาน มีภูมิจิตปรกติมนุษย์ทุกประการ


    3. เมื่อมีภูมิจิตมนุษย์เห็น ความกระเพื่อม ไม่ว่าจะด้วยอาการใด นั่นคือ กองลมทั้งปวง
    แสดงอยู่ ให้เห็นความกระเพื่อมยิ๊บๆ แย็บๆ นั้นซะ เป็นวิหารต่อยอด ไม่ต้องควาน
    หาว่า ยิ๊บๆแย๊บๆแล้ว หายใจไหม ยิ๊บๆแย๊บๆนั่นแหละ ลมสั้น ลมยาว ยังวัดได้ ยัง
    กำหนดรู้ได้ อย่าโง่ไปเอา ลมจมูก ลมในท่อระบบหายใจ ทางปอด ทางผิวหนัง แบบควาย !!


    แล้วจะรู้เลยว่า รู้ไปอย่างที่เป็น จบลงที่รู้ มันไม่ต้องตั้งท่า ฮาอะไรให้ ซับซ้อน ทำให้
    อานาปานสติ ผลิกกลายเป็น กรรมฐานอื่น

    ถ้าภาวนาถูก จะเห็นตรงตาม คำสอนของพระสารีบุตร ในปฏิสัมภิทามรรค ชี้ อานาปานสติเป็น
    สุญญตาสมาธิ อนิมิตสมาธิ อัปณิหิตสมาธิไม่มีการกำหนดจุด นิมิต ไม่มีการหมายๆ นับคร่อม ไม่มีการตั้งท่า


    ปล.ลิง : สาวกย่อมสอนเฉพาะ มรรค ที่ตนถนัด การอาศัยพยัญชนะอื่น แม้นจะ
    พูดว่า อานาปานสติ แต่จริงๆ สาวก แสดงธรรมได้เฉพาะ กรรมฐานที่ตนใช้

    ดังนั้น สาวกที่ท่านถึงธรรม จึง อนุโลม ตามพยัญชนะ อุบายท่าน ไม่ขัด เพราะใช้ได้
    ไม่ต้องไปสนใจว่า แท้หรือไม่แท้ เพราะ หมายเอามุขนัยของการสิ้นกิเลส ตาม
    อำนาจศรัทธาวิหาริก ให้มีกำลังก้าวเดิน .......จนกว่า จะ อ๋อ อานาปาสติ วิหาร
    ที่พระพุทธองค์ทรงอยู่ คืออย่างนี้ต่างหาก แต่ก็ไม่ต้องไปแก้อะไร เพราะ มาถึงได้
    ก็ย่อมใช้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 พฤศจิกายน 2015
  10. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    เรียนถามค่ะว่า ดูลมหายใจเข้าออก เราจะเน้นให้ใจสงบอยู่กับปัจจุบันก่อนหรือเปล่า หรือว่าเน้นมีสติที่ลมหายใจ(ทำนองเดียวกันมั๊ยค่ะ) คือหมายถึงเราจะดูยังไงค่ะว่าเราทำดีแล้ว แล้วการเน้นนั่งโดยให้นานขึ้นเรื่อยๆจะดีมั๊ยคะ ขอบคุณค่ะ
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อย่าคาดหวังผล ก่อนระลึกลมหายใจ

    ถ้าคาดหวังผลก่อน กิเลสจะเปนตัวแสดงการระลึกลมหายใจ

    กิเลสเกิด ต้องระลึกไปตรงๆ ว่ากิเลสเกิด

    พอสติระลึกเหนกิเลสได้ตรงตามความเปนจริง จิตจะอยุ่ที่ฐานสติ นำหน้าจิต ถ้าสมาทานอานาปานสติมาก่อน จิตที่อยุ่ที่ฐานจิตจะระลึกลักษณะของกองลมในขณะนั้นๆ ตามที่เปนปัจจุบัน

    ถ้าไม่มีกิเลสใด ก้รุ้ว่าไม่มีกิเลส สติอยุ่หน้าจิต เข้าฐานแล้วมันจะระลึกลักษณะกองลมทั้งปวงตามที่จิตจะสัมผัสได้

    ไม่มีพะวะกพะวงตั้ง สุขสัญญา หมายรุ้ จุด ท่า อาการไหนจึงถุก

    ถ้าระลึกกิเลสแล้วมันไม่มารุ้กองลม ก้รุ้ไปตรงๆ ทิฏฐิ โมหะ หรือภพ ภาวะสวะอะไรกำลังตัดหัว พาจมโลก

    ถ้าเหตุมันมี ก้ทำตามสมควรแก่ธรรมไปก่อน

    จบหน้าที่การงานปัป จิตจะมารุ้ลักษระกองลมต่อเอง

    ทำแบบนี้ทั้งวัน ไม่ใช่แบ่งคาบการฝึก


    ถ้าการงานทางโลกไม่มี ทำเสร้จหมด จิตปลิโพธิไม่มีโลกร้อยรัด
    ก้ค่อยหาที่ นั่ง นอน เดิน ยืน เต็มรุปแบบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พระสารีบุตร อธิบาย และกำชับ ในปฏิสัมภิทามรรคไว้ว่า

    อานาปานสติ เปน อนิมิตสมาธิ ไม่มีเรื่อง เกล้ดรุ้ง ลำตาล ใบตาล ละอองไอ อันเปนนิมิตมหาภูตรูป4

    ถ้าจะเอานิมิต พระสารีบุตรว่า ก็ให้เอา "การละ" "การงด" "การเว้น" กิเลส นั่นแหละเปนนิมิตของอานาปานสติ

    ถ้าลุกออกได้ไว ได้เร็ว ได้คล่อง ไม่ถอยกลับ ก็เป็น ปฏิภาคนิมิตของอานาปานสติ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ถ้าภาวนาถุก

    จะเหน กายเบาจิตเบา ปรากฏอันเกิดจากปัจจัย จิตสงัดจากกิเลส

    โดยเหนแบบสังเกตห่างๆ

    ถ้ากายเบาจิตเบามาใกล้ นั่นติดปิติ ติดสุข จมภพเทวดา พรหม
    จิตปรกติมนุษยหายไป ตกจากปัจจุบันชาติมนุษย์ไปแล้ว

    ถ้าทำถูก กายเบาจิตเบาจะห่างๆ กายไม่ใช่เราจิตไม่ใช่เรายกรับรุ้เหนตามความเปนจริง อาสัยระลึก ไม่ใช่คิด

    ทำเรื่อยๆ หากจิตมันจะรวม มันจะรวมของมันเอง

    ถ้าสติไม่กล้า จิตจะรวมแล้วถอยออก

    ถ้าสติกล้า ปัญญากล้า จะค่อยๆรุ้ชัด จิตที่รวมเปนฌาณอย่างไร ด้วยปัจจัยการอะไร เห็นลงเป็นความธรรมดา

    สติมีเต็มที่ ปัญญามีเต็มที่ จะน้อม อยู่ เข้า ออก รูปวจร อรูปวจร อาการจิตรวมชนิดต่างๆ ที่เสพคุ้นเหล่านั้นได้

    จิตเลื่อมใสฌาณนั้นๆเมื่อไหร่ จะน้อมเข้าน้อมออกได้มี วสี ก็เพราะ สติ ปัญญา ไม่ใช่ ทำตามๆกันไปแล้วจับแพะชนแกะ รับรองกันเองว่าใช่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  14. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    พอชำนาญน้อมเข้าน้อมออก จึงค่อยน้อมไปในญาณทัสนะ
    อันเกิดจากเสพ สมาบัติเหล่านั้นๆ

    ไม่มีเรื่องลุกฟลุค ส้มหล่น ฮานาก้า

    หาที่มาที่ไปไม่ได้ จนต้องไปเอาธรรมคนอื่นมา ปะผุ
    อุปโลคตน ขั้นนุ้น ขั้นนี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 พฤศจิกายน 2015
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ภูมิธรรมบรรยาย จะออกมาจากจิตที่กำหนดสมาธิเข้า อยุ่ ออก

    ไม่ใช่ออกมาจากสัญญา

    ออกมาจากจิต ด้วยอำนาจ บัญญัตที่มีคนกล่าวไว้หมดแล้ว คือ ตถาคตพระองค์นั้น


    หนทางของมรรค จึงไม่มีในศาสดาอื่นเด็ดขาด

    เราจึงเปนเพียง ผุ้เผยแผ่ สัทธรรมของพระผุ้มีพระภาค
     
  16. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    อานาปานสติ ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ มี 16 ขั้นตอน หรือ 16 step
    หรือ ถ้าเราท่องมนต์ในบสวดมนต์ ในอานาปานสติ 16 ขั้นตอนนั้น
    แบ่งเป็น 4 จตุกกะ ที่ผ่านมาได้นำมาลงแล้ว 4 ขั้นตอน จะลงเพิ่ม
    ส่วนที่เหลือว่าพระพุทธองค์ ตรัสไว้ว่าอย่างไร

    (เริ่มจตุกกะที่ 2 ) อานาปานสติที่เรียนรู้ในเวทนา

    ขั้นที่1...

    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด ปิติ เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด ปิติ เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่2......

    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด สุข เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด สุข เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่3.....

    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด (ว่าสัญญาและเวทนาเป็นเพียง...)สิ่งที่ปรุงแต่งจิต เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด (ว่าสัญญาและเวทนาเป็นเพียง...)สิ่งปรุงแต่งจิต เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่4......

    ย่อมศึกษาว่า จะสงบ สิ่งปรุงแต่งจิต (สงบสัญญาและเวทนา คือ ปรับเวทนาให้เป็นอุเบกขา รู้สึกเฉย) เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะสงบ สิ่งปรุงแต่งจิต (สงบสัญญาและเวทนา คือ ปรับเวทนาให้เป็นอุเบกขา รู้สึกเฉย) เมื่อหายใจออก

    (เริ่มจตุกกะที่3) เกี่ยวกับเรื่องจิต

    ขั้นที่1....

    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด จิต เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะรู้ชัด จิต เมื่อใจออก

    ขั้นที่2......

    ย่อมศึกษาว่า จะทำ จิตให้ปราโมทย์(บันเทิง) เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะทำ จิตให้ปราโมทย์(บันเทิง) เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่3.......

    ย่อมศึกษาว่า จะ ตั้งจิตมั่น เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะ ตั้งจิตมั่น เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่4.....

    ย่อมศึกษาว่า จะ ปลดเปลื้องจิต เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะ ปลดเปลื้องจิต เมื่อหายใจออก

    (เริ่มจตุกกะที่4)

    ขั้นที่1........

    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความไม่เที่ยง เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความไม่เที่ยง เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่2.....

    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความไม่ติดใจ เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความไม่ติดใจ เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่3......

    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความดับ เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความดับ เมื่อหายใจออก

    ขั้นที่4......

    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความสลัดคืน เมื่อหายใจเข้า
    ย่อมศึกษาว่า จะตามดู ตามเห็น ความสลัดคืน เมื่อหายใจออก

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันบุคคลทำให้เกิดแล้ว
    ทำให้มีแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล
    ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่
     
  17. สาสนี

    สาสนี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤศจิกายน 2015
    โพสต์:
    197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    3
    ค่าพลัง:
    +210
    ตามความเข้าใจ การทำสมาธิก็เพื่อ รักษาอารมณ์ให้ปกติ อดทนต่อผัสสะที่มากระทบได้
    การมีศีล ก็เพื่อสังวร เพื่อเป็นการสำรวมระวังการทำบาป
    การมีสมาธิ ก็เพื่อคุ้มครองรักษาให้ศีลมั่นคง
    และเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราทำดีแล้ว นอกจากผลดังกล่าวข้างต้นแล้ว

    จะต้องเห็นว่า การกำหนดรู้ลมหายใจ การทำอานาปานสติ
    เพื่อเข้าไปรู้ความจริงเกี่ยวกับร่างกายและจิตใจ ทำให้เราเกิด
    ปัญญาเห็นว่า สิ่งทั้งหลายนั้น ล้วนเป็นอนิจจัง มีการเปลี่ยนแปลง
    ทุกขัง เพราะ ทนอยู่อย่างเดิมไม่ได้
    อนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับของใคร เพราะไม่ใช่ตัวตนของเรา

    ทั้ง 16 ขั้นตอนที่ตรัสสอนไว้ การปฏิบัติตามก็จะเกิดความรู้อย่างแจ่มแจ้ง
    จึงมีผลใหญ่ อานิสงส์มาก ตามมานั่นเอง

    ส่วนผลอย่างอื่น ก็เป็นทางผ่านที่ทำให้เรารู้เห็นพิเศษ ก็แล้วแต่ละบุคคล
     
  18. โกมีนัม

    โกมีนัม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    362
    ค่าพลัง:
    +440
    รบกวนภามเรื่องปวดหลังค่ะ ยังแก้ไม่หายเลย จึงอยากถามวิธีนั่ง ท่านั่งที่ถูกต้องไม่ให้ปวดหลังนะค่ะ เท้ามือ วางยังไงดี
     
  19. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424

    ถ้าจะภาวนาเพื่อพ้นทุกข์ ไม่เกี่ยงท่าทางนะ
    เพราะมันต้องภาวนากันทุกลมหายใจเข้าออกที่
    ระลึกได้อยู่แล้ว

    ภาวนายังไง ทำความเห็นให้ถูกตรงนั่นแหละคือภาวนา
     
  20. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    เจริญธรรม

    ๐ แก้เรื่องปวดหลัง

    ตอบ ในพระสูตรกล่าวว่า พึงตั้งกายตรง ดำรงค์สติมั่น

    หมายถึง นั้งในท่าสบาย ตั้งกายตรง ให้กระดูกสันหลังอยู่ในแนวตั้ง ไม่โค้ง ไม่งอ ไปหน้า หรือเอนไปข้างหลัง

    วิธีนี้อาจใช้สติระลึกรู้อาการพยุง หรือค้ำจุน ตั้งแต่หัวไล่ลงมาลำคอ จนถึงปลายเท้า โดยไล่อาการขึ้นลง อย่างเป็นธรรมชาติ

    ก็จะแก้ปัญหาการกดทับ และเวทนาส่วนเกินเกิดจากการนั่งผิดลักษณะ



    ๐ ดูอย่างไรว่าเราทำดีแล้ว

    ตอบ พึงมีสติใฝ่ใจอยู่ที่จุดกระทบเข้าออก อยู่กับอารมณ์ของอานาปานสติให้ต่อเนื่อง

    เพิ่มคุณภาพในการกำหนดรู้ อย่างเป็นธรรมชาติ สังเกตุความละเอียดของลมหายใจที่เบาและปราณี

    หรือ สภาวะนิวรณ์ที่คลายไป เวทนาที่เบาบางเหมือนเป็นสิ่งที่ถูกรู้ไป

    ๐ จำเป็นต้องนั่งนานไหม

    ตอบว่า ไม่จำเป็นต้องนั่งนาน แต่ควรนั่งอย่างมีคุณภาพ

    ถ้ากำหนดได้ก้าวหน้า เวทนาจะไม่กุ้มรุม สามารถนั่งได้เป็นเวลานานๆ มีสติตั้งมั่นแต่ลม

    ๐ จำเป็นต้องกำหนด พุทโธ หรือ เข้าออกดี

    ตอบ ควรกำหนด เข้า และออก ตามจริงจะดีกว่า

    เพราพุทโธ สามารถเป็นคำบริกรรม อารมณ์ของพุทธานุสติได้

    หากกำหนดพุทโธโดยอานาปานสติ แล้ว กลับมากำหนดอารมณ์พุทธานุสติ อาจทำให้สับสนตกจากกัมมัฏฐานภิมุขได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...