จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]

    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    ขอนำเรื่องของ เศรษฐีเท้าแมว ใน ธรรมบทภาค ๕ มาเล่าประกอบไว้ด้วย เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่

    อุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วัดเชตวัน ในกรุงสาวัตถีได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคล
    บางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาย่อมได้รับโภค
    สมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไม่ให้ทาน ทั้งไม่ชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมไม่ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด

    ส่วนบางคนตนเองก็ไห้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติ และบริวารสมบัติในที่ๆ เขาไปเกิด"

    อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหมดในวันรุ่งขึ้น พระพุทธเจ้าก็ทรงรับคำอาราธนานั้น อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาคข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวายก็ได้รับสิ่งของต่างๆ มากบ้างน้อยบ้างตามศรัทธาและฐานะของผู้บริจาค อุบาสกคนนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดไม่ชอบในที่เห็นอุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า "อุบาสกคนนี้เมื่อไม่สามารถถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของตน ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาทั่วไปอย่างนี้"

    เพราะเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านจะร่วมทำบุญกับอุบาสกนั้นด้วย แต่ท่านก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบของนั้น จะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลยตั้งชื่อท่านว่า เศรษฐีเท้าแมว เป็นการเปรียบเทียบความมือเบาของท่านกับความเบาของเท้าแมว

    อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้แยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับมาจากผู้อื่น เศรษฐีก็คิดว่า "อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจานเป็นแน่" เมื่อคิดอย่างนี้ จึงใช้ให้คนใช้ติดตามไปดู คนรับใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่ใช้หุงต้มอาหารนั้นหม้อละนิด อย่างข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า "ขอให้ทานของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก" คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่านเศรษฐีก็คิดอีกว่า "วันนี้เขายังไม่ประจานเราพรุ่งนี้เวลานำเอาอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงจะประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา เราจะฆ่าเสีย" ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเหน็บกริชซ่อนไว้แล้วไปที่วัดเชตวัน
    ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมืองช่วยกันอังคาสเลี้ยงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว อุบาสกผู้นั้นได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ถวายทานนี้ขอให้คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาคของมาก ทั้งผู้บริจาคของน้อยจงได้รับผลมากทุกคนเถิด" ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจ กลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านให้ของเพียงหยิบมือเดียว คิดอีกว่า "ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย" แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า "แม้ผู้ที่บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด"

    ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ได้สติ คิดเสียใจว่า "เราได้คิดร้ายล่วงเกิดต่ออุบาสกนี้อยู่ตลอดเวลา แต่อุบาสกนี้เป็นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก" คิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอให้ยกโทษให้
    พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นกริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนี้ก็ตรัสถามขึ้น เมื่อทรงทราบแล้วจึงได้ตรัสว่า "ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์ อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเช่นนี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็มด้วยน้ำฉันนั้น"
    ในตอนท้าย พระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยทีละน้อย ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉะนั้น"

    ท่านเศรษฐีได้ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบันบุคคล พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่งอย่างนี้ ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอและฟังด้วยความตั้งใจ ก็ย่อมได้ปัญญา ดังเศรษฐีท่านนี้เป็นตัวอย่าง

    จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชักชวนผู้อื่นให้ทานนั้นเป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ๆ ตนไปเกิด

    เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญ หรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่าได้ขัดขวางห้ามปรามเขาเพราะการกระทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลทั้ง ๓ ฝ่าย คือตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ ทำลายลาภของผู้รับ ๑ ทำลายบุญของผู้ให้ ๑

    และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานิสงส์มาก การที่กิเลสคือความตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบางลงไปได้ชั่วขณะนี้แหละ คืออานิสงส์ที่แท้จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก็มีอานิสงส์มากเท่านั้น


    พระพุทธพจน์

    เย นํ ททนฺติ สทฺธาย
    วิปฺปสนฺเนน เจตสา
    ตเมว อนฺนํ ภชติ
    อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ

    บุคคลเหล่าใดมีใจผ่องใส ย่อมให้ข้าวด้วยศรัทธา
    บุคคลเหล่านั้นย่อมได้ข้าวนั้นเอง ทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    ตสฺมา วิเนยฺย มจฺเฉรํ
    ทชฺชา ทานํ มลาภิภู
    ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ
    ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ


    เพราะเหตุนั้นพึงเปลื้องความตระหนี่เสีย แล้วให้ทาน
    บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า

    จาก เสรีสูตร สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๒๘๔
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2016
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    วินาทีก่อนตาย มนุษย์จะเห็นอะไร

    ในวินาทีที่บุคลหนึ่งบุคคลใด กำลังจะถึงแก่ความตาย ปกติแล้ว เมื่ออยู่ในช่วงเวลาแห่งความเป็นความตาย จิตของผู้ที่ไม่เคยฝึกฝนการภาวนาเลยจะควบคุมได้ยากมาก

    ก่อนที่จิตสุด ท้ายจะดับไปสู่ความตาย จิตจะต้องเข้าภวังค์เสียก่อน ภวังค์จิตก่อนตายนี้ มีลักษณะพิเศษ คือประสาทสัมผัสจะดับ หูไม่ได้ยิน ตาไม่เห็น จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รู้รส กายไม่รู้สัมผัส พูดง่ายๆ ว่าร่างกายไม่ทำงานแล้ว แต่จิตยังทำงานอยู่ ในขณะนั้นเองจะมีนิมิตปรากฏขึ้นในภวังค์จิต ได้แก่

    1.กรรมอารมณ์ปรากฏ คือสิ่งที่ทำไว้ใน ชาตินี้ หรือชาติก่อน จะมาปรากฏในภวังค์จิต เป็นลักษณะเหตุการที่ดำเนินไปเรื่อยๆ คล้ายดูภาพยนต์ ไม่ได้เจาะจงจุดใดจุดหนึ่ง

    2.กรรมนิมิตอารมณ์ปรากฏ กรณีนี้จะไม่ปรากฏเป็นภาพในภวังค์จิต แต่จะปรากฏเป็นภาพ กุศล หรือ อกุศล ที่ตนเคยทำไว้ในชาตินี้แทน ซึ่งจะมีความชัดเจนมาก เช่นเห็นภาพตอนที่ตนเองไปทำบุญทำกุศล (สร้างกรรมดี) ไปช่วยสร้างวัดฯ หรือเห็นสัตว์ตัวที่เคยฆ่าไว้ ซึ่งจะทำให้ ไปเกิดทันที่ ด้วยผลกรรมที่รุนแรง

    3.คตินิมิตอารมณ์ปรากฏ คือเกิดนิมิตเป็นผล แห่งกรรม เช่นเห็นเป็นภพภูมิตามผลกรรมที่ตนกระทำไว้ เห็นเป็น นรก สวรรค์ เป็นวิมาน เป็นเทวดา นางฟ้า หรือเปรต อสุรกาย สัตว์เดรฉาน เป็นผลแห่ง กรรม จากการกระทำนั้นๆ เป็นต้น!!!

    ซึ่งนิมิต ทั้ง 3 นี้ ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า ก่อนเสียชีวิตจะเกิดนิมิตแบบไหนขึ้น บางคนอาจคิดว่า จะใช้ประโยชน์จากจิตสุดท้าย ซึ่งเคยได้ยินว่า ในชีวิตจะทำอะไรมาก็ตาม ถ้าจิตสุดท้ายคิดดี ก็เป็นอันว่า ได้ไปเสวยสุขอยู่แดนสวรรค์ ก็ต้องขอบอกว่า

    กฏแห่งกรรม มิได้มีความโง่เขล่าถึงเพียงนั้น ความคิดเช่นนี้ไม่ได้ทำได้ง่ายนัก เพราะจิตที่กำลังจะปฏิสนธิจิต เปลี่ยนภพเปลี่ยนชาติ เป็นจิตที่มีความรุนแรง ควบคุมได้ยากมาก สมัยพุทธกาล มีสตรีผู้หนึ่ง กระทำความดีมาตลอดชีวิต อยู่ในศีลธรรมตลอด หากแต่วาระสุดท้าย จิตพลิกไปคิดถึงความผิดอันน้อยนิดที่เคยทำไว้ ยังบันดาลให้นางต้องไปชดใช้กรรมอยู่ในนรกภูมิชั่วระยะเวลาหนึ่ง

    พลัง จิตนี้เอง จะสามารถช่วยผู้ที่ฝึกจิตในช่วงเวลาสำคัญเหล่านี้ได้ เพราะผู้ฝึกจิตทุกคนจะมีความคุ้นเคยกับการเข้าภวังค์ ยิ่งมีพลังจิตมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความสามารถควบคุมการทำงานของจิตในภวังค์

    ซึ่ง ภวังค์ในสมาธิก็มีความคล้ายคลึงกับภวังค์ในจิตสุดท้ายมาก นักพลังจิตที่มีความรู้จะใช้โอกาสทองนี้ ยกจิตขึ้นสู่ฌานสมาธิ ส่งจิตไปสู่พรหมโลก หรือหากแม้ผู้ฝึกจิตมีความเชียวชาญในการทำวิปัสสนาอยู่แล้ว ก็อาจใช้ช่วงเวลาดังกล่าว พิจารณาธาตุขันธ์ จนเห็นความเกิดดับ ตัดตรงเข้าสู่นิพพานก็ยังได้ เรียกว่า เป็นการใช้ภวังค์แห่งความตาย ให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นคือใช้เพื่อการบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ในวินาทีสุดท้าย นั่นเอง

    ฉะนั้น ผู้ที่หวังไปสู่ สุคติ ภูมิฯ ไปสู่ทีดีมีความสุขในภพภูมิ ต่อไปข้างหน้า ต้องหมั่น ทำแต่ความดี ซื่อสัตย์ มีคุณธรรม ทำบุญสร้างกุศลสร้างแต่กรรม ดี !!! และหมั่นฝึกฝนวิปัสสนาฯ ให้พร้อมอยู่เสมอ เพราะ เราไม่รู้ว่า เมื่อไหร่??? ที่เราหมดอายุขัย หมดเวลาในโลกนี้ !!!

    หนังสือ อำนาจพลังจิต :วศิน อินทรวงค์

    ศาลา]ศาลา ธรรมะ: วินาทีก่อนตาย ธรรมะ: วินาทีก่อนตาย

    ขอให้ความเจริญในธรรมจงมีแด่ทุกๆท่านค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2016
  4. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    ปวิเวกปีติ : ปีติที่เกิดมาจากความสงัดทางจิตใจถึงที่สุดนั้น

    ปวิเวกปีติ คืออะไร? พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสต่อมากับพระสารีบุตรเพื่อขยายความข้อนี้ : พอพระองค์จะตรัสเรื่องลึกนี้ ก็หันพระพักตร์ไปทางพระสารีบุตรตรัสว่า "ดูก่อนสารีบุตร! สมัยใดอริยสาวกเข้าถึงซึ่งปวิเวกปีติ แล้วแลอยู่; สมัยนั้นเหตุ(ฐานะ)ทั้ง 5 ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือไม่มีทุกข์โทมนัสเพราะอาศัยกาม, และก้ไม่มีสุขโสมนัสเพราะอาศัยอกุศล, และก้ไม่มีทุกข์โทมนัสเพราะอาศัยกุศล". รวมเป็น 5 อย่าง

    อย่างที่ 1 ไม่มีทุกข์โทมนัสที่อาศัยกาม หมายความว่า การเข้าไปเกี่ยวข้องกับกาม ตามแบบของฆราวาสนั้น ไม่ทำให้เกิดทุกข์ขึ้น

    อย่างที่ 2 ไม่มีสุขโสมนัสที่อาศัยกาม หมายความวาสไม่ลุ่มหลงในสุขที่เกิดจากกาม การที่ไปยินดีในความสุขอันเกิดจากกามนั้น เขาเรียกว่าเป็นผุ้มีสุขโสมนัสเพราะอาศัยกาม อย่างนี้ไม่ใช่ปวิเวกปีติ คือไม่ใช่วิเวกอันสงัดที่ควรจะยินดี ไม่ใช่ความสุขความยินดี ชนิดที่เรียกว่าปวิเวกปีติ

    อย่างที่ 3 ไม่มีทุกข์โทมนัสอันอาศัยอกุศล นี้หมายความว่าทำบาปแล้วก็มีทุกข์โทมนัส อย่างนี้ไม่มีปวิเวกปีติ มันเห็นได้ชัดเพราะว่า มันมีทุกข์โทมนัส แล้วก็อาศัยบาปอกุศลด้วย

    อย่างที่ 4 แม้แต่ว่าสุขโสมนัสที่อาศัยบาปอกุศลนั้น ก็ต้องไม่มี พวกคนพาลได้ทำบาปทำอกุศลแล้วก็พอใจเป็นสุข นี้ก้ไม่ใช่ปวิเวกปีติ จะเรียกว่าปวิเวกปีติไม่ได้

    อย่างที่ 5 อันสุดท้าย ไม่มีทุกข์โทมนัสอันอาศัยกุศล หมายความว่าการบำเพ็ญกุศล ในบางกรณีก็ต้องได้รับความลำบาก เพราะว่าการบำเพ็ญกุศลซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้โดยยากนั้น บางทีก็ต้องได้รับความลำบาก; ต้องไม่รู้สึกลำบากอย่างนี้ด้วย จึงจะเรียกว่ามีปวิเวกปีติ

    เป็นอันว่าสิ่งที่เรียกว่าปวิเวกปีติ คือ ปีติที่เกิดมาจากความสงัดทางจิตใจถึงที่สุดนั้น มีอยู่ 5 ลักษณะด้วยกัน อย่างนี้.
    พุทธทาสภิกขุ


    ศาลา ธรรมะ: ปวิเวกปีติ : ปีติที่เกิดมาจากความสงัดทางจิตใจถึงที่สุดนั้น
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    โมทนาสาธุ
    เมื่อจิตเข้าถึงความนิ่ง หมายถึงตัวสมาธิ คำบริกรรมก็จะหายไปโดยปริยาย
    นั่นก็หมายความว่า จิตปราศจากความคิดนึกหรือนึกคิด คือจิตสังขารขณะนึงเท่านั้น จนกว่าจิตจะถอนสมาธิหรือฌาน จิตสังขารตนก็จะทำงานตามปกติเหมือนคนทั่วๆไป
    แล้วคำว่า พุทธะ ก็จักเกิดขึ้นกับจิตผู้นั้นเอง วิปัสสนาก็จักเกิดกับจิตผู้นั้นเอง ความสุขความสงบก็จะเกิดขึ้นกับจิตผู้นั้นเอง ธรรมะก็จะผุดขึ้นมาสอนตนเอง เป็นต้น ..สาธุ คุณพี่สุภาทรฯ ที่อุตส่าห์เฝ้ากระทู้ให้กันและกันตลอดไป ..
     
  6. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    .....................
    สาธุธรรมค่ะ ยังเคารพนับถือท่านอ เช่นเดิมค่ะ(แต่แบ่งไปให้Google นิดนึง)
     
  7. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    . .;39
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    . เจริญธรรมทุกๆท่านค่ะ .
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpDuSati.jpg
      LpDuSati.jpg
      ขนาดไฟล์:
      47.4 KB
      เปิดดู:
      1,467
    • Angel.jpg
      Angel.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.9 KB
      เปิดดู:
      87
  10. pattranit uk

    pattranit uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2012
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +1,446
    นั่งเย็บผ้านี่ก็ภาวนาได้ (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    ในปีนั้นจีวรของหลวงพ่อเก่าคร่ำคร่า จนผุขาดเกือบทั้งผืน
    แต่ท่านไม่ยอมออกปากขอใคร หลวงปู่กินรีก็มองดูอยู่เงียบๆ ไม่ว่ากระไรวันหนึ่งหลวงพ่อนั่งปะชุนจีวรอยู่ ขณะเย็บผ้าคิดอยากให้เสร็จเร็วๆจะได้หมดเรื่องหมดราว แล้วไปนั่งภาวนา เดินจงกรมให้เต็มที่สักทีหลวงปู่กินรีเดินมาหยุดยืนดูอยู่ใกล้ๆ หลวงพ่อก็ยังไม่รู้เพราะจิตกังวล...อยากเย็บผ้าให้เสร็จเร็วๆ เท่านั้น

    หลวงปู่ถามว่า “ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า”
    “ผมอยากให้เสร็จเร็วๆ”
    “เสร็จแล้วท่านจะไปทำอะไร” หลวงปู่ถามอีก
    “จะไปทำอันนั้นอีก”
    “ถ้าอันนั้นเสร็จ ท่านจะทำอะไรอีก”
    “ผมจะทำอย่างอื่นอีก”
    “เมื่ออย่างอื่นของท่านเสร็จ ท่านจะไปทำอะไรอีกเล่า”

    หลวงปู่กินรีให้ข้อคิดว่า
    “ท่านรู้ไหม นั่งเย็บผ้านี่ก็ภาวนาได้ ท่านดูจิตตัวเองสิว่าเป็นอย่างไร
    แล้วก็แก้ไขมัน ท่านจะรีบร้อนไปทำไมเล่า ทำอย่างนี้เสียหายหมด
    ความอยากมันเกิดขึ้นท่วมหัว ท่านยังไม่รู้เรื่องของตัวเองอีก”

    คำพูดสั้นๆ แต่มีความหมายและเจือความปราถนาดีของหลวงปู่
    ทำให้หลวงพ่อหูตาสว่างขึ้น ท่านปรารภให้ฟังว่า
    “เรานึกว่าทำถูกแล้ว อุตสาห์รีบทำ อยากให้มันเสร็จเร็วๆ จะได้ภาวนาแต่ที่ไหนได้ เราคิดผิดไปไกลทีเดียว” สาธุ อนุโมทามิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • image.jpeg
      image.jpeg
      ขนาดไฟล์:
      55.3 KB
      เปิดดู:
      101
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    .
    .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]

    อัษฎางคประดิษฐ์
    การกราบแบบเบญจางคประดิษฐ์ เราทราบกันดีว่าคือ การกราบโดยให้อวัยวะทั้ง ๕ คือเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และหน้าผากจดลงกับพื้น

    ส่วนอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ อัษฎางคประณาม คือ การแสดงความเคารพด้วยวิธีนอนพังพาบเหยียดมือเหยียดเท้าออกไปเต็มเหยียด ให้อวัยวะแปดแห่ง คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ เข่าทั้ง ๒ และปลายเท้าทั้ง ๒ จดพื้น บางแห่งกล่าวว่า อัษฏางคประณาม คือ มือ ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ ตา ๒ คอ ๑ กลางหลัง ๑ รวมเป็น ๘ หรืออีกนัยหนึ่งว่า มือทั้ง ๒ หน้าอก ๑ หน้าผาก ๑ เข่า ๑ เท้า ๑ วาจา ๑ ใจ ๑ รวมเป็น ๘ ถือเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงที่สุด

    วิธีการแสดงความเคารพดังกล่าวนี้นิยมใช้กันอยู่ในประเทศอินเดีย แม้ชาวตะวันตกบางแห่งก็ยังนิยมใช้อยู่ เรียกว่า Prostration ถือว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด

    http://dharmahall.blogspot.com/2011/05/blog-post_1725.html]ศาลา ธรรมะ: การกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์

    กราบอัษฎางคประดิษฐ์ ๑๐๘ ครั้ง เพิ่มพลังชีวิต
    การหายใจแบบหยินหยาง หนึ่งในเคล็ดลับหน้าใส ใจสว่าง สุขภาพดี มีพลังชีวิตเพิ่มขึ้นของคุณอนัญญา ผลจันทน์ ที่ได้เรียนรู้จากการไปเข้าอบรมปราณสมาธิกับดร.บัวตั๋น เธียรอารมณ์ ที่สถาบันสุขศาสตร์ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ อีกวิธีที่คุณอนัญญาฝึกคู่กันกับการหายใจหยินหยาง คือ การกราบอัษฎางคประดิษฐ์ประยุกต์ (Mindfulness Movement) ซึ่งดร.บัวตั๋นได้ประยุกต์จากการกราบแบบทิเบตที่จะต้องให้อวัยวะ ๘ ตำแหน่งสัมผัสพื้น คือ หน้าผาก ฝ่ามือทั้งสอง หน้าอก หัวเข่าทั้งสอง และปลายเท้าทั้งสอง โดยปรับปรุงการกราบบางท่าและเพิ่มเติมการยืดตัวแบบท่างูของโยคะเข้าไป รวมทั้งผสมผสานการหายใจขณะกราบ

    อัษฎางคประดิษฐ์]อัษฎางคประดิษฐ์ | โครงการเผชิญความตายอย่างสงบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    . .
    กราบส่งหลวงพ่อจรัญสู่พระนิพพานเจ้าค่ะ กราบ กราบ กราบ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LP Jarun 1.jpg
      LP Jarun 1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      9.1 KB
      เปิดดู:
      902
    • Sadhu.jpg
      Sadhu.jpg
      ขนาดไฟล์:
      6.7 KB
      เปิดดู:
      65
  14. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    หลวงพ่อจรัญเที่ยวอินเดีย
    ความหลงในสงสารบทที่ 21-30 นิยายธรรมะ หลวงพ่อจรัญ
    https://www.youtube.com/watch?v=616HBl6th-Y

    ความหลงในสงสารบทที่ 31-40 นิยายธรรมะ หลวงพ่อจรัญ
    https://www.youtube.com/watch?v=xpFCHdp8uYg

    ธรรมะหรรษาค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    "พระคาถาพญายูงทอง"

    [​IMG]
    พระคาถาโมรปริตร

    พระคาถาโมรปริตร หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "พระคาถาพญายูงทอง" สำหรับความศักดิ์สิทธิ์ของคาถานี้นั้น หลายท่านอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วคาถา "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" เป็นคาถาที่ปรากฏในตำนานโมรปริตร (อุเทตะยัญจักขุมา) ซึ่งเป็นนิทานชาดก โดยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสวยพระชาติเป็น "พญานกยูงทอง"

    โมรปริตร เพื่อความแคล้วคลาด ปลอดภัย
    อุเทตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ ทิวะสัง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร จะระติ เอสะนาฯ
    อะเปตะยัญจักขุมา เอกะราชา
    หะริสสะวัณโณ ปะฐะวิปปะภาโส
    ตัง ตัง นะมัสสามิ หะริสสะวัณณัง ปะฐะวิปปะภาสัง
    ตะยัชชะ คุตตา วิหะเรมุ รัตติง
    เย พราหมะณา เวทะคุ สัพพะธัมเม
    เต เม นะโม เต จะ มัง ปาละยันตุ
    นะมัตถุ พุทธานัง นะมัตถุ โพธิยา
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    อิมัง โส ปะริตตัง กัตวา โมโร วาสะมะกัปปะยีติฯ


    คำแปล

    (เมื่อพระอาทิตย์อุทัยยามรุ่งอรุณ นกยูงสวดพระปริตรว่า)
    "พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาเป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสง สว่าง กำลังสาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์ผู้สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าทั้งหลายให้อยู่ เป็นสุขตลอดกลางวัน ในวันนี้
    ท่านเหล่าใดละบาปได้แล้ว รู้ธรรมทั้งปวงหมดทุกอย่าง ขอท่านผู้ไม่มีบาปเหล่านั้นจงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า ท่านผู้ไม่มีบาปทั้งหลายโปรดรักษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระโพธิญาณ ขอนอบน้อมท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง" นกยูงนั้นสวดปริตรนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร


    (เมื่อพระอาทิตย์ตกดินยามเย็น นกยูงได้สวดพระปริตรว่า)
    "พระอาทิตย์อุทัยขึ้นมาเป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้าแห่งแสง สว่าง สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพีกำลังอัศดงแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์ผู้สาดแสงสีทองส่องผืนปฐพี ขอท่านจงคุ้มครองข้าพเจ้าทั้งหลายให้อยู่เป็นสุขตลอดราตรีค่ำคืนวันนี้
    ท่านเหล่าใดละบาปได้แล้ว รู้ธรรมทั้งปวงหมดทุกอย่าง ขอท่านผู้ไม่มีบาปเหล่านั้น จงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า ท่านผู้ไม่มีบาปทั้งหลายโปรดรักษาข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระโพธิญาณ ขอนอบน้อมท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งปวง"
    นกยูงนั้นสวดปริตรนี้แล้ว จึงพักผ่อนหลับนอน

    ตำนานพระปริตร : โมรปริตร
    ครั้งเมื่อสมเด็จพระผู้มีพระภาค ทรงประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภถึงภิกษุผู้ตกอยู่ในอารมณ์กระสันรูปหนึ่ง จึงทรงตรัสพระธรรมเทศนา พระปริตรนี้ให้แก่ภิกษุนั้นฟัง มีความว่า

    อดีตกาล เนิ่นนานมา มีพระราชาทรงพระนามว่าพรหมทัตต์ ครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เจ้า ได้บังเกิดในครรภ์นางนกยูง อันอาศัยอยู่ในป่าชายแดน กรุงพาราณสี เมื่อพระโพธิสัตว์ ออกจากไข่แล้ว มีผิวพรรณและสีขนเป็นเงางาม เป็นสีทอง พร้อมประกอบด้วยลักษณะอันเลิศกว่านกทั้งปวง เมื่อเติบใหญ่ เจริญวัย ก็ได้เป็นเจ้าแห่งนกยูงทั้งปวง

    วันหนึ่งพญานกยูงทองนั้นได้ไปดื่มในสระแห่งหนึ่ง มองเห็นเงาของตนในน้ำ จึงได้รู้ว่าตนนี้มีรูปงามยิ่งกว่านกยูงทั้งหลาย จึงคิดว่า ถ้าเราขืนอยู่รวมกับหมู่นกยูงทั้งหลายอาจจะนำพาภัยมาถึงหมู่คณะแก่ตัวเอง เห็นทีเราจะต้องหลีกออกเสียจากหมู่ ไปหาที่อยู่ใหม่ คงจะต้องไปให้ไกลจนถึง ป่าหิมพานต์ เราจึงจะพ้นภัย

    พญายูงทองนั้นคิดเช่นนี้แล้วจึงออกบินไปด้วยกำลัง ไม่ช้านักก็ถึงป่าหิมพานต์ นั้น เสาะแสวงหาได้ถ้ำแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่บนยอดเขาสูงชัน ณ ป่าหิมพานต์นั้น เป็นที่อยู่อาศัย เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม และปลอดภัยจากสัตว์ร้ายทั้งหลาย

    ครั้นรุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์จึงได้ออกจากคูหา บินไปจับบนยอดเขา หันหน้าไปสู่ทิศบูรพา (ทิศตะวันออก) แล้วเพ่งมองดวงสุริยะ เมื่อยามเช้า พร้อมกับสาธยายพระปริตร ซึ่งขึ้นต้นด้วยคำว่า

    อุเทตยัญ จักขุมาเอกะราชา เป็นต้น เพื่อป้องกันรักษาตนในเวลากลางวัน แล้วจึงเที่ยวออกไปแสวงหาอาหาร

    ครั้นถึงเวลาเย็นเมื่อจะบินกลับเข้าที่อยู่ พญานกยูงทองก็ไม่ลืมที่จะบินขึ้นไปจับอยู่บนยอดเขา หันหน้าสู่ทิศตะวันตก แหงนมองดวงอาทิตย์ที่กำลังอัสดงลับขอบฟ้าไป แล้วสาธยายมนต์พระปริตรขึ้นว่า
    อะเปตะยัญจักขุมาเอกะราชา เป็นต้น เพื่อที่จะป้องกันภัย รักษาตนในเวลาตลอดราตรี แล้วจึงบินกลับเขาไปอาศัยอยู่ในถ้ำจนตลอดรุ่ง

    เช้าตรู่ของวันใหม่พญายูงทองก็ทำดังนี้ทุกวันมิได้ขาด พร้อมได้สถิตสถาพรตั้งมั่นอยู่ในความสุขสำราญตลอดมาโดยมิมีทุกข์ภัยใด ๆ มากล้ำกรายได้เลย

    กาลต่อมามีพรานป่าผู้หนึ่งเดินทางหลงป่ามาจนได้พบเห็นพญายูงทองที่เกาะอยู่บนยอดขุนเขานั้น แต่ก็มิได้ทำประการใดเพราะมัวแต่พะวงกับการหาทางออกจากป่า จนพรานผู้นั้นหาทางกลับมาถึงบ้านพักของตนก็มิได้บอกเรื่องที่ได้พบเห็นพญานกยูงทองนั้นแก่ใคร จวบจนเวลาที่นายพรานผู้นั้นแก่ใกล้ตาย จึงได้บอกเรื่องพญายูงทองให้แก่บุตรของตนได้ทราบ แล้วสั่งว่าควรจะนำข่าวนี้ไปแจ้งแก่พระราชาให้ทรงทราบ สั่งแล้วก็สิ้นลมตาย

    ต่อมาภายหลัง พระมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ทรงพระสุบินนิมิตรไปว่า ขณะที่พระนางทรงประทับอยู่ภายในพระราชอุทยาน ที่ประทับอยู่ ณ ริมสระปทุมชาติ ได้มีนกยูงสีทองบินมาจากทิศอุดรแล้วร่อนลงจับอยู่ ณ ขอนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง แล้วนกยูงทองนั้นก็ได้ปราศรัย แสดงธรรมให้แก่พระนางฟัง

    กาลต่อมา พระเทวีทรงฝันต่อไปว่า เมื่อพญายูงทองนั้น แสดงธรรมจบแล้ว นกยูงทองนั้นก็จะบินกลับ ในฝันพระนางได้ตะโกนร้องบอกแก่บริวารว่า ช่วยกันจับนกยูงที ช่วยกันจับนกยูงที พระนางตะโกนจนกระทั้งตื่นบรรทม นับแต่นั้นมาพระเทวีก็ให้อาลัยปรารถนาจักได้นกยูงทองตัวนั้นมา จึงออกอุบายแสร้งทำเป็นทรงพระประชวร ด้วยอาการแพ้พระครรภ์แล้วทูลขอพระสวามีว่า การแพ้ท้องครั้งนี้จักหายได้ ก็ด้วยได้มีโอกาสเห็นพญายูงทอง และสดับธรรมที่พญานกยูงทองแสดง

    พระราชาพรหมทัตต์ จึงทรงมีรับสั่งให้เกณฑ์เหล่าพรานไพรทั้งหลายที่อาศัยอยู่ในเมืองพาราณสีและรอบอาณาเขตพระนคร เมื่อบรรดาพรานไพร มาประชุมพร้อมกันแล้ว พระราชาจึงทรงตรัสถามว่า มีใครรู้จักนกยูงสีทองบ้าง

    ขณะนั้นพรานหนุ่มผู้ซึ่งเคยได้รับคำบอกเล่าจากบิดาว่า ได้เคยเห็นนกยูงทอง จึงลุกขึ้นกราบบังคมทูลเนื้อความนั้นแก่พระราชา พร้อมทั้งกราบทูลแจ้งที่อยู่ของพญานกยูงทองแก่พระราชาด้วย

    พระราชาพรหมทัตต์ จึงทรงมีพระบัญชาว่า ดีหล่ะในเมื่อเจ้าพอจะรู้ถึงถิ่นที่อยู่ ของพญายูงทอง เราก็จะตั้งให้เจ้ามีหน้าที่เป็นพรานหลวง ไปจับนกยูงทองตัวนั้น มาให้เราและพระมเหสี

    พรานหนุ่มก็รับพระบัญชาจากพระราชา แล้วออกเดินทางไปสู่ป่าหิมพานต์ เพื่อที่จะจับยูงทองตัวนั้นมาถวายพระราชาให้จงได้ จวบจนวันเวลาล่วงเลยไปหลายสิบปี พรานหนุ่มซึ่งบัดนี้แก่ชราลงแล้ว ก็ยังมิสามารถจับพญานกยูงทองนั้นได้ ครั้นจะกลับไปยังบ้านเมืองก็เกรงจะต้องอาญา จึงทนอยู่ในป่าหิมพานต์จนกระทั่งตาย

    ส่วนพระเทวี เมื่อเฝ้ารอพญายูงทอง ที่ส่งนายพรานไปจับ ก็ยังไม่เห็นมาจนกระทั่งตรอมพระทัยตายในที่สุด
    พระราชาพรหมทัตต์ทรงเสียดายอาลัยรักพระมเหสีเป็นที่ยิ่งนัก จึงทรงดำริว่า พระมเหสีของเราต้องมาตายโดยยังมิถึงวัยอันควร เหตุน่าจะมาจากพญานกยูงทองตัวนั้นเป็นแน่ บัดนี้เราก็แก่ชราลงมากแล้ว คงจะไม่มีโอกาสเห็นนายพรานคนใดจับนกยูงทองตัวนั้นได้เป็นแน่ ดีหละถ้าเช่นนั้นเราจะผูกเวรแก่นกยูงตัวนี้ ทรงดำริดังนั้นแล้ว พระราชาพรหมทัตต์มีรับสั่งให้นายช่างทองสลักข้อความว่า หากผู้ใด ใครได้กินเนื้อของพญานกยูงทองที่อาศัยอยู่ ณ ป่าหิมพานต์ จักมีอายุยืนยาวไม่แก่ ไม่ตาย ลงในแผ่นทอง แล้วเก็บรักษาไว้ในท้องพระคลัง

    ต่อมาไม่นานพระราชาพรหมทัตต์ก็ถึงกาลทิวงคตลง แผ่นทองจารึกนั้นก็ตกถึงมือของยุวกษัตริย์องค์ต่อมา เมื่อทรงรู้ข้อความในแผ่นทองจารึกนั้นก็หลงเชื่อ มีรับสั่งให้พรานป่าออกไปตามจับพญานกยูงทองมาถวาย และแล้วพรานไพรนั้นก็ต้องไปตายเสียในป่าอีก

    เหตุการณ์ได้ดำเนินไปเช่นนี้จนสิ้นเวลาไป ๖๙๓ ปี พระราชาในราชวงศ์นี้ก็ทิวงคตไป ๖ พระองค์

    แม้ว่าจะสิ้นพรานป่าไป ๖ คน พระราชาทิวงคตไป ๖ พระองค์ ก็ยังหามีผู้ใดมีความสามารถจับพญายูงทองโพธิสัตว์ได้ไม่

    จวบจนถึงรัชสมัยพระราชาองค์ที่ ๗ ผู้ครองกรุงพาราณสีได้คัดสรรจัดหาพรานไพร ผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นคนละเอียดรู้จักสังเกต รู้กลอุบาย

    นายพรานคนที่ ๗ เมื่อได้รับพระบัญชาแต่พระราชาให้ออกไปจับนกยูงทอง ณ ป่าหิมพานต์ ก็จัดเตรียมอุปกรณ์พร้อมบ่วงบาศ เพื่อจะไปดักจับพญายูงทอง พรานนั้นใช้เวลาในการดักจับพญายูงทองสิ้นเวลาไป ๗ ปี พญายูงทองก็หาได้ติดบ่วงของนายพรานไม่

    นายพรานจึงมาใคร่ครวญดูว่า เอ..ทำไมบ่วงของเราจึงไม่รูดติดข้อเท้าของพญายูงทอง แต่ก็หาคำตอบได้ไม่ พรานนั้น ก็มิได้ละความพยายาม เฝ้าสังเกตกิริยาและกิจวัตรประจำวันของพญายูงทอง จึงได้รู้ว่าทุกเช้าและทุกเย็นพญานกยูงทอง จักเจริญมนต์พระปริตร โดยช่วงเช้าบ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออกมองพระอาทิตย์ ตอนเย็นหันหน้าไปทางทิศตะวันตกมองพระอาทิตย์ แล้วสาธยายมนต์

    พรานนั้นสังเกตต่อไปว่า ในที่นี้หาได้มีนกยูงตัวอื่นอยู่ไม่ แสดงว่าพญานกยูงนี้ยังรักษาพรหมจรรย์อยู่ คงด้วยอำนาจของการรักษาพรหมจรรย์และมนต์พระปริตร ทำให้บ่วงของเราไม่ติดเท้านกยูงทอง

    ครั้นนายพรานได้ทราบมูลเหตุดังนั้นแล้วจึงคิดจะขจัดเครื่องคุ้มครองของพญานกยูงทองเสีย นายพรานนั้นจึงเดินทางกลับสู่บ้านของตนแล้วออกไปดักนกยูงตัวเมียที่มีลักษณะดีในป่าใกล้บ้าน ได้มาหนึ่งตัว แล้วจึงทำการฝึกหัดให้นางนกนั้นรู้จักอาณัติสัญญา เช่น ถ้านายพรานดีดนิ้วมือ นางนกยูงก็จะต้องร้องขึ้น ถ้าปรบมือนางนกยูงก็จะทำการฟ้อนรำขึ้น

    เมื่อฝึกสอนนางนกยูงจนชำนิชำนาญดีแล้ว พรานนั้นก็พานางนกยูงเดินทางไปยังที่ที่พญานกยูงทองอาศัยอยู่ แล้วทำการวางบ่วงดักเอาไว้ก่อนที่พญายูงทองจะเจริญมนต์พระปริตร พรานได้วางนางนกยูงลงใกล้ ๆ กับที่ดักบ่วง แล้วดีดมือขึ้น นางนกยูงก็ส่งเสียงร้องด้วยสำเนียงอันไพเราะจับใจ จนได้ยินไปถึงหูของพญายูงทองโพธิสัตว์
    คราที่นั้น กิเลสกามที่ระงับด้วยอำนาจของตบะ และหลบอยู่ในสันดาน ก็ได้ฟุ้งซ่านขึ้นในทันที เสียงนางยูงทองนั้น ทำให้พญายูงทองโพธิสัตว์ มีจิตกระสันฟุ้งซ่านเร่าร้อนไปด้วยไฟราคะ ครอบงำเสียซึ่งตบะ ไม่สามารถมีจิตคิดจะเจริญมนต์พระปริตรสำหรับป้องกันตนได้เลย

    พญานกยูงทองโพธิสัตว์ จึงได้ออกจากคูหา แล้วโผผินบินไปสู่ที่ที่นางนกยูงยืนส่งเสียงร้องในทันที ขณะที่มัว แต่สนใจแต่รูปโฉมของนางนกยูง พลันเท้านั้น ก็เหยียบยืนเข้าไปในบ่วงบาศของพรานที่วางดักไว้ บ่วงใด ๆ ที่มิได้เคยร้อยรัด พระมหาโพธิสัตว์ยูงทอง ตลอดเวลา ๗๐๐ ปี บัดนี้พญายูงทองโพธิสัตว์ ได้โดนบ่วงทั้ง สองร้อยรัดสิ้นอิสระเสียแล้ว

    บ่วงทั้งสองนั่นก็คือ
    "บ่วงกาม"
    "บ่วงบาศ"


    โอ้ หนอ บัดนี้ทุกข์ภัยได้บังเกิดต่อพญานกยูงทองโพธิสัตว์เสียแล้ว เป็นเพราะเผลอสติแท้ ๆ เพราะนางนกยูงตัวนี้เป็นเหตุ จึงทำให้พญายูงทอง มีจิตอันเร่าร้อนไปด้วยกิเลส จนต้องมาติดบ่วงของเรา การที่เรามาทำสัตว์ ผู้มีศีล ให้ลำบากเห็นปานนี้ เป็นการไม่สมควรเลย จำเราจะต้องปล่อยพญานกนี้ไปเสียเถิด แต่ถ้าเราจะเดินเข้าไปปล่อย พญานกยูงทองนั้น ก็จะดิ้นรนจนได้รับความลำบาก เห็นทีเราจะต้องใช้ธนูยิงสายบ่วงนั้นให้ขาด เพื่อพญานกจะได้หลุดจากบ่วงที่คล้องรัดอยู่ นายพรานคิด

    ครั้นนายพรานไพร ผู้มีใจเป็นธรรมคิดดังนั้นแล้ว จึงจัดการนำลูกธนูมาขึ้นพาดสาย แล้วเล็งตรงไปยัง เชือกบ่วงที่ผูกติดกับต้นไม้ เพื่อหมายใจจะให้เชือกขาด

    พญานกยูงทองโพธิสัตว์ ครั้นได้แลเห็นนายพรานโก่งคันศร ก็ตกใจกลัวว่านายพรานจะยิ่งตนตายด้วยลูกศร จึงร้องวิงวอน ขอชีวิตต่อนายพรานว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ถ้าท่านจับเราเพราะต้องการทรัพย์แล้วหละก็ ขออย่าได้ฆ่าเราเลย จงจับเราเป็น ๆ เอาไปถวายพระราชาเถิด พระราชาจะปูนบำเหน็จให้ท่านอย่างงามทีเดียวหละ

    พรานไพรเมื่อได้ฟังนกยูงทองร้องบอกและขอชีวิตดังนั้น จึงกล่าวว่า เรามิได้มีความประสงค์จะฆ่าท่านหรอก การที่เราเล็งศรไปยังท่าน ก็เพียงเพื่อจะยิงเชือกบ่วงให้ขาด เพื่อปล่อยท่านให้เป็นอิสระ

    พญานกยูงทองโพธิสัตว์ จึงร้องขอบใจต่อนายพราน พร้อมทั้งแสดงอานิสงฆ์ของการไม่ฆ่าสัตว์ และผลของการฆ่าสัตว์ ว่าจะได้รับโทษทุกข์ทัณฑ กรรมนานา อีกทั้งชี้แจงให้พรานไพรได้รู้ถึงผลของบุคคลผู้มีมิจฉาทิฐิว่ามีโทษทำให้ตนและคนอื่นเดือดร้อน ส่วนผู้มีสัมมาทิฐิ ย่อมมีผลที่ให้เกิดสุขทั้งตนและคนอื่น ทั้งยังได้บอกประโยชน์ของการไม่คบคนพาล คบบัณฑิต และที่สุด พญานกยูงทอง ก็ชี้ให้นายพรานได้เห็นทุกข์ภัยของสัตว์นรก ว่าเกิดจากความเมาประมาทขาดสติ

    เมื่อ สิ้นสุดธรรมโอวาท พรานนั้นก็ได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกโพธิญาณ ส่วนพญายูงทองก็ได้พ้นจากบ่วงทั้งสอง คือ บ่วงกาม และบ่วงบาศ ที่เกิดจากเครื่องดัก จับ ในขณะที่นายพรานตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า

    พระปัจเจกพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ทำการประทักษิณ แก่พญานกยูงทองโพธิสัตว์ แล้วก็เหาะขึ้นไปบนอากาศ ไปสถิตอยู่ ณ คูหาบนยอดเขานันทมูลคีรี

    เขียนโดย ETC
    http://dharmahall.blogspot.com/2012/01/blog-post_5892.html]ศาลา ธรรมะ: โมรปริตร เพื่อความแคล้วคลาด ปลอดภัย

    โมรปริตร

    https://www.youtube.com/watch?v=0S8G0S_e9wQ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • BuddhaWhiteA.jpg
      BuddhaWhiteA.jpg
      ขนาดไฟล์:
      128.5 KB
      เปิดดู:
      964
    • Peacock.jpg
      Peacock.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      464
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 มกราคม 2016
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    "แว่นธรรม"...ธรรมาทาส
    [๘๙] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ตามความพอพระทัยในโกฏิคาม แล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มารับสั่งว่า ดูกรอานนท์ มาไปกันเถิด เราจักไป ยังนาทิกคาม ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงนาทิกคามแล้ว ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐที่นาทิกคามนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มี- *พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนามว่าสาฬหะ มรณภาพแล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน ภิกษุณีนามว่า นันทา มรณภาพแล้วใน นาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเธอเป็นไฉน อุบาสกนามว่า สุทัตตะ ... อุบาสิกา นามว่า สุชาดา ... อุบาสกนามว่า กกุธะ ... อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสก นามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ... อุบาสก นามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ ทำกาละ แล้วในนาทิกคาม คติและภพเบื้องหน้าของเขาเป็นไฉน ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุนามว่าสาฬหะ กระทำให้ แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา อันยิ่งของตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุณีนามว่า นันทา เพราะสังโยชน์ เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลก นั้นเป็นธรรมดา อุบาสกนามว่า สุทัตตะ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะ ราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ อุบาสิกานามว่า สุชาดา เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็น พระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า อุบาสกนามว่า กกุธะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพาน ในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อุบาสกนามว่า การฬิมพะ ... อุบาสกนามว่า นิกฏะ ... อุบาสกนามว่า กฏิสสหะ ... อุบาสกนามว่า ตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า สันตุฏฐะ ... อุบาสกนามว่า ภฏะ ... อุบาสกนามว่า สุภฏะ เพราะ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมา จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯ ดูกรอานนท์ พวกอุบาสกในนาทิกคาม อีก ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่ กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๙๖ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี กลับมายังโลกนี้คราวเดียวเท่านั้น แล้วจักทำที่สุดแห่งทุกข์ พวกอุบาสกในนาทิกคาม ๕๑๐ คน ทำกาละแล้ว เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า ฯ ดูกรอานนท์ ข้อที่ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้วจะพึงทำกาละนั้นไม่อัศจรรย์ เมื่อผู้นั้นๆ ทำกาละแล้ว พวกเธอจักเข้าไปเฝ้าพระตถาคต แล้วทูลถามเนื้อความ นั้น อันนี้เป็นความลำบากแก่พระตถาคต เพราะฉะนั้น เราจักแสดงธรรมปริยาย ชื่อธรรมาทาส สำหรับที่จะให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้าดังนี้ ก็ธรรมปริยายชื่อว่า ธรรมาทาส นั้น เป็นไฉน ดูกรอานนท์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้
    *เป็นผู้ประกอบ ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชา และจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งซึ่งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่น ยิ่งไปกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็น ผู้จำแนกพระธรรม ดังนี้
    *เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวใน พระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้
    *เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติ เป็นธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ คือคู่บุรุษสี่ บุรุษบุคคลแปด นี้พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้
    *เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอันพระอริยะ ใคร่แล้ว อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ แล้ว อันตัณหาและทิฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ ฯ
    ดูกรอานนท์ อันนี้แลคือธรรมปริยายชื่อว่าธรรมาทาส สำหรับที่จะให้ อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว เมื่อจำนงอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก สิ้นแล้ว มีกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงมี อันจะตรัสรู้ในภายหน้า
    ฯ ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคประทับในที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐในนาทิกคามนั้น ทรงกระทำธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่พวกภิกษุว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ปัญญา อันสมาธิอบรมแล้วย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อม หลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ฯ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค

    ๓. มหาปรินิพพานสูตร (๑๖)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กุมภาพันธ์ 2016
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
    วัดอโศการาม
    อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    จิตที่แส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอก
    ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เท่ากับคนที่คลุกเคล้ากับของโสโครก
    ร่างกายเปื้อนมอมแมมหรือเป็นแผลพุพองเปื่อยเน่า มือก็เปื้อน
    เท้าก็เปื้อน ตา หู จมูก ปาก ฯลฯ ก็เปื้อนไปหมดทั้งเนื้อทั้งตัว
    จะนั่งนอนยืนเดินไปในที่ใดๆก็ไม่มีความสุข
    เข้าใกล้ใครก็รังเกียจ ไม่อยากให้เข้าไปใกล้เขา
    หรือมิฉะนั้นจะเปรียบก็เหมือนกับภายในบ้านเรือนของเรา
    มันรกเปื้อนสกปรก ที่หลับที่นอนก็เปื้อน
    เครื่องใช้ไม้สอยในครัวก็เปื้อน จะไปหยิบไปจับอะไรเข้า
    มันก็เปื้อนไปทั้งหมด

    อย่างนี้เราจะแก้ไขอย่างไร?
    เราก็จะต้อง “ขัด” มัน ต้อง “ชำระล้างกายวาจาใจ” ของเรา
    ให้ขาวสะอาด บริสุทธิ์ด้วย “ทาน ศีล ภาวนา” เป็นต้น
    คนที่ร่างกายเป็นแผลเปื้อนสกปรกนี้ เข้าใกล้ใคร
    มันก็มักจะพาเอาเชื้อโรคนั้นไปติดต่อถึงคนอื่นด้วย
    เข้าใกล้ลูกก็ติดลูก เข้าใกล้หลานก็ติดหลาน
    เข้าใกล้เพื่อนก็ติดเพื่อน ฯลฯ เข้าใกล้ใครก็ติดต่อคนนั้น
    เหมือนกับเถาบอระเพ็ดที่ขึ้นพันกิ่งต้นส้ม
    ย่อมจะพาให้รสขมมันซึมซาบไปสู่ต้นส้ม ทำให้ส้มเสียรสไปด้วย

    บ้านเรือนสกปรกก็ยังไม่ร้ายเท่ากับจิตใจที่สกปรกเพราะบ้านเรือนนั้น
    วันหนึ่งวันหนึ่งคงไม่มีคนเข้าออกเหยียบย่ำถึงร้อยคนพันคน
    แต่ดวงจิตที่แส่ส่ายออกไปรับสัญญาอารมณ์ภายนอกนั้น
    ชั่วนาทีเดียวกันอาจจะไปได้ตั้งหลายสิบแห่ง
    ถ้าจะเอากระบุงตะกร้ามาตวงใส่แล้ว วันหนึ่งวันหนึ่งก็คงหาที่เก็บไม่พอ

    ใจที่เราส่งออกไปตามสัญญาอดีตอนาคตนั้น
    ไปมันก็ไม่จริง ไปข้างหน้าก็ไปไม่จริง เดี๋ยวก็กลับมาข้างหลังอีก
    ไปข้างหลังมันก็ไม่จริง เดี๋ยวก็ย้อนหลับมาข้างหน้า
    อยู่กับปัจจุบันก็อยู่ไม่จริงอีก เดี๋ยวก็อยู่เดี๋ยวก็ไปเดี๋ยวก็มา
    ให้มันจริงอะไรลงไปสักอย่างก็ยังดี


    คัดลอกเนื้อหาจาก
    หนังสือแนวทางวิปัสสนา-กัมมัฏฐาน, พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร.
    โดยชมรมกัลยาณธรรม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒. หน้า ๒๗-๒๘.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • LpLee1.jpg
      LpLee1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43.6 KB
      เปิดดู:
      627
    • Wat AAsokaram.jpg
      Wat AAsokaram.jpg
      ขนาดไฟล์:
      168 KB
      เปิดดู:
      86
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]
    ตรงกับวันมรณะภาพหลวงปู่สด กราบหลวงปู่สดด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  20. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,422
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046
    [​IMG]

    . .
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...