คำว่า วิปัสสนานุบาล ไม่เคยมีปรากฎเป็นพุทธบัญญัติ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 1 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <div id='blog_detail'><font size='3'><font color='#ff0000'><b>เราไม่ควรบัญญัติ และไม่ควรถอนบัญญัติ ตามมติของตน</b></font> <br>มีพระพุทธพจน์รับรองไว้ดังนี้<br><br><font color='#0000ff'><b>สงฆ์ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธองค์ไม่ทรงบัญญัติ <br>ไม่ถอนพระบัญญัติตามที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติแล้ว <br>สมาทานประพฤติในสิกขาบททั้งหลายตามที่ทรงบัญญัติแล้ว...</b></font> <br><br>นั่นคือต้องเคารพในสิกขาบทที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้<br>เพื่อป้องกันมิให้พระสัทธรรมปฏิรูปไปตามกาลเวลา<br><br>เมื่อกาลเวลาได้หมุนเวียนเปลี่ยนไป ความเชื่อถือ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาพลอยถูกบังคับให้เปลี่ยนแปรไป ตาม <b>"ภาษาลวงโลก"</b> ที่ถูกบัญญัติขึ้นมาใหม่ โดยนำมาใช้ในการสร้างมิติแห่งภาษาขึ้นมาให้ฟังแล้วน่าเชื่อถือ<br><br>เพื่อให้มีความรู้สึกว่า การปฏิบัติธรรมนั้น ควรมุ่งเน้นไปที่เรื่อง <b>"วิปัสสนาปัญญา"</b> เป็นสำคัญ เพราะเป็นทางปฏิบัติที่ง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ไม่เคร่งเครียด ไม่แข็งๆ ทื่อๆ เหมือนกับการนั่งสมาธิกรรมฐานภาวนา เพียรเพ่ง เดินจงกรม ที่ก่อให้เกิดความเคร่งเครียด ลำบากกาย-ใจของตน<br><br><font color='#ff0000'><b>โดยได้มีการบัญญัติศัพท์แสงใหม่ๆ ที่ฟังแล้ว เก๋ เท่ ขึ้นมาในพระพุทธศาสนา ด้วยคำว่า "วิปัสสนานุบาล" ทั้งๆที่ไม่เคยปรากฎว่าพระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ หรือได้ทรงตรัสสั่งสอนไว้ในที่ใดเลย</b></font><br><br>เพื่อความถูกต้องตามหลักเหตุผลความจริง ที่ปฏิบติตามแล้วทำให้เกิดวิมุตติหลุดพ้น และตรงต่อหลักพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยไม่เป็นไป ไม่หลงไหล และสับสนไปกับ <b>"ภาษาลวงโลก"</b> ที่เป็นเพียงมิติเชิงซ้อนในทางภาษาอันหาสาระมิได้ <br><br>คำว่า <b>"อนุบาล"</b> นั้น ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง <b>"ตามเลี้ยงดู ตามระวังรักษา"</b><br><br>ส่วนคำว่า <b>"วิปัสสนา"</b> <b>"วิ"</b> มาจากคำว่า <b>"วิเศษ"</b> <b>"ปัสสนา"</b> คือ <b>"การรู้เห็น"</b> รวมความแล้วหมายถึง <b>"การรู้เห็นอย่างวิเศษ"</b> หรือ <b>"การรู้เห็นตามความเป็นจริง"</b> <br><br>แม้ความหมายของคำว่า <b>"วิปัสสนา"</b> ที่แปลว่า <b>"รู้เห็นตามความจริง"</b> ซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากความเพียรในการปฏิบัติธรรมกรรมฐานภาวนานั้น ก็เปลี่ยนไปจากความหมายที่พระพุทธองค์ได้ทรงบัญญัติไว้ <br><br><b>"การรู้เห็นตามความเป็นจริง"</b> หรือการเห็นอย่างวิเศษ (วิปัสสนา) นั้น คือการได้รู้ได้เห็นตามความเป็นจริง ถึงคุณภาพความสามารถที่จิตตน มีกำลังสติ ลด ละ เลิก ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในรูป-นาม (ขันธ์ ๕) ลงได้ ด้วยจิตที่สงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหว เที่ยงตรง คงที่ เป็นเรื่องของ <b>"จิตตานุปัสสนา"</b> ที่ควรต้องอนุบาลรักษาเอาไว้ เป็นเรื่องที่ตรงทางเข้าทำลายถึงตัวกิเลส<br><br>ได้มีการแปลงความหมายของ <b>"วิปัสสนา"</b> ในปัจจุบัน เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริง ที่เป็นไปตามกิเลส ตัณหาความทะยานอยาก อุปาทานความยึดมั่นถือมั่น เชื่อในความคิดติดในความรู้สึกที่ตกผลึกแล้วว่า เป็นการคิดแบบมีสติมากของตน เป็นการแสดงให้เห็นถึงความฉลาดในการคิด หรือที่เรียกว่า <b>"รู้จักคิดอะไรที่ฉลาดๆ"</b> ว่านั้นแหละคือ "วิปัสสนา" ทั้งที่เป็นเพียง <b>"สัญญาอารมณ์"</b> นั่นเอง (คิดเอา) <br><br><b>"การอนุบาล"</b> นั้น คือ การตามเลี้ยงดู การตามระวังรักษา ได้มีพระพุทธพจน์ตรัสไว้ว่า จงตามระวังรักษาจิตของตน ให้มีสติระลึกรู้อยู่ทุกลมหายใจเข้าออก (ไม่ใช่นาทีละครั้ง) เพื่อความเที่ยงตรง คงที่ ต่อการรู้เห็นตามความเป็นจริง <font color='#ff0000'><b>ไม่ต้องกังวลว่า "หายใจไม่เป็น" โดยความเป็นจริงแล้วไม่มีใคร "หายใจไม่เป็น" เพียงขาดการระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจเท่านั้น</b></font><br><br><b>"การรู้เห็นตามความเป็นจริง"</b> ของปุถุชนคนทั่วไป ความรู้เห็นนั้นมักเปลี่ยนแปลงไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดที่เข้ามาครอบงำจิตของตน ย่อมไม่เที่ยงตรง คงที่อยู่กับอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆ มีพระพุทธพจน์ดังนี้<br><br><font color='#0000ff'><b>"ท่านผู้มีปัญญาพึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากแท้ <br>ละเอียดลออ พลันตกไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนา <br>จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้ว นำความสุขมาให้"<br><br>"ผู้มีปัญญาย่อมกระทำจิตอันดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษาได้ยาก <br>ห้ามได้ยาก ให้ตรง เหมือนช่างศร ดัดลูกศร ฉะนั้น"</b></font> <br> <br>ส่วน <b>"การรู้เห็นตามความเป็นจริง"</b> ของบุคคลผู้ที่มีจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวนั้น มีพระพุทธพจน์ตรัสรับรองไว้อย่างชัดเจนแล้วในพระสูตรว่า "ภิกษุทั้งหลาย การจะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้นั้น ต้องระวังรักษาจิตของตนให้มีสมาธิสงบตั้งมั่น เที่ยงตรง คงที่ ได้ในระดับ "สัมมาสมาธิ" ในญาณที่ ๑ เป็นอย่างน้อย" หมายความว่าต้องประคองจิตของตนให้เข้าสู่ญาณที่ ๑ ได้อย่างคล่องแคล่วรวดเร็วเป็นวสี<br><br>การจะอนุบาล ควรปฏิบัติตามพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ดีแล้ว หรือตามคำสั่งสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ควรฝึกฝนอบรม <b>"จิตตานุบาล"</b> หรือ <b>"จิตตานุปัสสนา"</b> เท่านั้น เพราะคำว่า <font color='#ff0000'><b>"วิปัสสนานุบาล" ไม่มีปรากฎในพระพุทธพจน์ แถมยังปฏิบัติตามจริงได้ยาก</b></font> <br><br><b>"การรู้เห็นตามความเป็นจริง"</b> แบบที่มีการพยายามอธิบายเอาไว้ว่า ง่ายๆ สบายๆ ลัดสั้น ไม่เคร่งเครียดนั้น เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วย <b>"สัญญาอารมณ์"</b> (ความรู้สึก)<br><br>เพราะการจะรู้เห็นตามความเป็นจริงที่ถูกต้องนั้น ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริง ตามที่มีมาใน <b>"อนัตตลักขณสูตร"</b> จนจิตของตนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้จริง เห็นในสิ่ง (ขันธ์ ๕) ที่ไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่า นั่นเป็นทุกข์ และที่สำคัญคือ พึงเห็นว่าสิ่งนั้น (ขันธ์ ๕) "ไม่ใช่ตนของเรา"<br><br>เมื่อมีที่ "ไม่ใช่" ต้องมีที่ "ใช่" เป็นทวินิยม เพื่อให้ตรวจสอบ สอบสวน เทียบเคียง ตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่ "ไม่ใช่" นั้น ล้วน "ไม่เที่ยง เป็นทุกข์" ส่วนที่ "ใช่" นั้น ต้อง "เที่ยงตรง คงที่ เป็นสุขโดยปราศจากอามีส" จึงจะได้ชื่อว่ามี "ปัญญา" <br><br>การที่จะรู้เห็นตามความเป็นจริงได้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ตรึกนึกเอา หรือ "รู้สึกว่าใช่" ก็เป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว นั่นเป็นเพียง "สัญญาอารมณ์" ที่เกิดจากความรู้สึกนึกคิดที่ตกผลึกจากการฟัง อ่าน จำ นึกคิดเอาเอง<br><br>ขอนำคำเทศนา เพียงบางส่วนของ พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต มาให้พิจารณากัน<br><font color='#0066ff'><b>"การที่เราจะพิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้นี้ เราต้องมีสมาธิ เพราะอะไร...เพราะถ้าไม่มีสมาธินี้ กิเลสมันมีแรงมาก มันจะไม่ยอมให้เราพิจารณา แต่พอเราทำใจให้สงบนี้ กิเลสถูกตัดกำลังลงไป เราก็...สามารถสั่งให้ใจคิดไปทาง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้..."</b></font><br><br>นี่แหละ คือ...สมาธิที่สนับสนุนปัญญา เมื่อจิตยังไม่สงบ ผลปรากฎที่แสดงออกมา ล้วนเป็นเรื่องโกหกพกลมให้หลงเชื่อทั้งนั้น</font><br><br><font color='#0000ff' size='3'><b>เจริญในธรรมทุกๆ ท่าน<br>ธรรมภูต</b></font><br><br></div>​
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ไหนมันอยู่ตรงไหนใครเป็นผู้พูดว่า"วิปัสสนานุบาล" ยกมาเองแล้วก็ร่ายมนต์เองหรือเปล่า
    ขอลิ้งค์หน่อยว่าไม่ได้ยกขึ้นมาเอง ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
     
  3. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    https://www.google.co.th/search?q=วิปัสสนานุบาล&ie=utf-8&oe=utf-8&gws_rd=cr&ei=zMG1Vvc-2J26BLPFipgI

    ใช้ google ไม่เป็น ?
     
  4. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    หากว่า เค้าใช้คำใหม่ เพื่ออธิบายสิ่งหนึ่งสิ่งใด
    ให้คนรุ่นใหม่ฟัง แล้วเข้าใจได้ ไม่ผิดเนี้อหา
    ก็คงจะไม่ผิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...