นั่งสมาธิยังไงไม่ให้จิตตกภวังค์คะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บ้องแบ้ว, 5 กุมภาพันธ์ 2016.

  1. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    จิตตกวูบลงไปแต่มีสติกำกับ

    ไม่ก้าวหน้า เพราะ เกร็ง อยากจะจับลมให้ชัดๆ

    กับ โลภในปิติ
     
  2. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ฟังyou tubeลพ.พุธ ....ลักขณูปนิชฌาน เคยเกิดกับเราแล้ว หลายปีก่อน เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆ
     
  3. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    ว่าแต่กท.นี้ถามเอง ตอบเองหรือป่าวคับ
    จริงๆ ถ้าไม่อยากให้จิตวูบลงไป ก้กำหนดจิตให้มีสติอย่ตลอด จิตจะไม่วูบลงไปจนสติตามไม่ทัน ถ้าในสายยุบหนอ พองหนอ เขาจะไม่วูบ ด้วยกำหนด วูบหนอ ๆ ๆๆ 4-5 ครั้งให้จิตกับสติมันผูกเข้าด้วยกัน แต่กำหนดพุทโธก้ได้เหมือนกัน

    หรืออีกวิธีใช้ความร้สึกทางกาย เวลาวูบไม่ร้สึกตัว ลองขยับตัว อาจจะเข่าซ้ายหรือขวา เท่านั้นแหละ หายวูบเลย กลับมาจับลมได้เหมือนเดิม
    แต่ถ้าในสายวัดป่าถ้าจะกลับมาจับลมให้ชัด ให้วิธีแบบไล่ลมหยาบออก หายใจเข้าและออกลึกๆๆ 4-5 ครั้ง รับรองว่าจับลมหยาบได้แน่ พอจับลมได้ชัด ก้กำหนดพุทโธต่อ ผู้ที่พกความอยากตอนทำสมาธิ จะไม่มีทางได้สมาธิและปัญญาไว้ต่อสู้กับกิเลส

    จงวางจิต และเฝ้าดูอาการของจิตด้วยความร้สึกที่เปนอุเบกขาล้วนๆ นี่แหละดีสุด อะไรจะเกิดก้เกิด สมาธิ ปิติ จะมาไม่มานั่นมันเรื่องของผลพลอยได้ สิ่งสำคัญสุดมีสติจดจ่อลมเข้า ลมออก หรือดูท้องพอง ท้องยุบ เอาอารมณ์ปัจจุบันตรงนั้นให้ได้ก่อน
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตที่ตกภวังค์คือจิตหลับ จะไปดีใจอะไรนักหนา
    ตามอภิธัมมัตถสังคหะ เมื่อจิตสิ้นสุดวิถีมันจะลงสู่ภวังค์จ้า เรียกว่า "ภวังคจิต"
    มันเรื่อปกติธรรมดา เป็นธรรมชาติของจิตเขา จะไปเย้ ๆ ๆ อะไรกัน ไม่ใช่ของวิเศษวิโสอะไรเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 กุมภาพันธ์ 2016
  5. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    นั่งวิปัสสนาก็ไม่ตกแล้วครับ ง่ายนิดเดียวเอง ^_^
     
  6. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    ถ้ารู้ตัวว่าจิตตกภวังค์
    ทางเดียว คือฝืนไม่ให้จิตไปตกภวังค์อีก
    จิตมันก็จะละสุขในสมาธิ ในที่สุดการภาวนา
    มันจึงจะก้าวหน้า
     
  7. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ไม่มีคำภาวนา หลับแน่นอน เพราะขาดคำภาวนา
     
  8. zhayun

    zhayun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    136
    ค่าพลัง:
    +425
    เวลาจิตเข้าสู่ภวังค์ หลวงพ่อฤาษีฯท่านกล่าวว่า ตอนนั้นคือจิตเข้าสู่ฌาน

    ก็ถือว่าเป็นเรื่องดี



    หากจิตตกวูบ เหมือนตกจากที่สูง ก็ให้ระลึกลมเข้า-ออกลึกๆ 3-4 ครั้งแล้วก็เริ่มปฏิบัติใหม่

    เวลาฝึกสมาธิ ท่านไม่ให้โลภอยากได้อะไร เพราะเป็นมันกาม เป็นนิวรณ์ตัวที่1 ที่จะเป็นเครื่องกั้นความดี ทำให้จิตไม่เป็นสมาธิ



    หลวงพ่อฤาษีฯท่านจะแนะนำเสมอว่า เวลาฝึกสมาธิเอาแค่จิตสบายแค่นั้นพอ ไม่ต้องหวังได้ปิติ ไม่ต้องหวังได้บรรลุอะไร

    แต่อย่าลืมว่าต้องควบคู่กับวิปัสสนาด้วยนะครับ
     
  9. เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา

    เทพบุตรลั้ลลาลั้ลลั้ลลาาา เพื่อมวลมนุษย์แลสรรพสัตว์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2014
    โพสต์:
    872
    ค่าพลัง:
    +1,936
    หากตกภวังค์จะดับวูบไปเลย หากยังมีสัญญาไม่ใช่ภวังค์ ร่างกายเพลียหรือพักผ่อนน้อย เป็นสาเหตุหนึ่งครับ
     
  10. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ดิฉันจับ2อย่างพร้อมกันไม่ได้ค่ะ ถ้าจับคำบริกรรมก้อคำบริกรรมอย่างเดียว ให้จิตอยู่กับคำบริกรรม ถ้าจับลมหายใจจะจับลมหายใจอย่างเดียว แต่บางทีก้อบริกรรมว่าเข้า-ออกได้เหมือนกัน
     
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    นั้นละครับ สาเหตุ ^^

    พยายามดูครับ

    ครูบาอาจารย์เทศน์สอนไว้ จำได้คร่าวๆลองอ่านดูครับ

    อานาปานสติ ถ้าเป็นผู้หัดใหม่ๆ เหมือนเป็นอนุบาลหัดภาวนา ที่เค้าสอนกันให้จับลมหายใจ ก็เพราะว่า ลมหายใจ เป็นของหยาบ สามารถที่จะจับได้ชัดเจน ก็เพราะว่า จิต ใจ ของเรายังหยาบอยู่ ไม่สามารถที่จะไปจับสิ่งที่ละเอียดกว่าได้ เมื่อเริ่มใหม่ๆ ถึงต้องให้ปฏิบัติจับลมหายใจ เพื่อสร้างสติสมาธิ ให้มีกำลังก่อน

    ถ้าปฏิบัติไปเรื่อยๆ จนจิตเริ่มมีกำลัง มีสติมากกว่าเดิม เวลาปฏิบัติจับลมหายใจไปเรื่อยๆ คำภาวนาเป็นสิ่งละเอียด เพราะเป็นการบริกรรมที่จิต ภาวนาในจิต เมื่อเป็นสิ่งละเอียดกว่า เวลาภาวนา ก็คือการฝึกจิต เมื่อจิตออกภาวนา ก็คือการทำงานของจิต เวลาภาวนาถึงเหนื่อย เพราะจิตออกทำงานนั้นเอง

    คนส่วนใหญ่ที่ไม่ภาวนา ก็เพราะว่าภาวนาไม่ได้ เพราะจิตออกทำงาน เมื่อจิตไม่มีกำลัง ก็เลยภาวนา ไม่ภาวนานั้นเอง เพราะเป็นการทำงานของจิต เลยยากกว่า ลำบากกว่า ส่วนใหญ่ก็เลยเลือกแบบ สบายๆ ไม่ภาวนา ผลก็คือ จิตไม่มีกำลัง เพราะ จิตไม่ได้ออกไปทำงาน แล้วเข้าใจว่า สบายๆ เพราะไม่ภาวนา เวลาปฏิบัติ

    เวลาปฏิบัติไป ต้องเข้าใจว่า กายส่วนกาย จิตส่วนจิต กายกับจิตแยกส่วนกัน การที่ภาวนา แล้วจับลมหายใจ ถ้าปฏิบัติเข้าไปจนจิตเริ่มลงสมาธิเริ่มเป็นสมาธิมากขึ้น ลมหายใจเป็นของหยาบ เราก็ต้องไปจับแค่คำภาวนาแทน เพราะจิตเป็นสิ่งระเอียดกว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิ มันก็จะตัดกาย อาการทางกายออกไป นั้นเอง ก็จะมี สติ อยู่กับคำภาวนา บริกรรมในจิต ต่อไปนั้นเอง


    อีกอย่าง อานาปานสติ เค้าให้ รู้ รับรู้ ลมหายใจเข้า ออก ครับ ลมหายใจเข้า ก็ให้รู้ว่าหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ให้รู้ว่าลมหายใจออก ครับ

    .
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    กระโถนข้างธรรมาสน์ ฉบับที่ ๑๒๙
    เดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๗
    โดยพระครูวิลาศกาญจนธรรม
    วัดท่าขนุน อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี

    [​IMG]

    อานาปานสติ ถ้าเริ่มมั่นคง จิตกับกายแยกเป็นคนละส่วนกัน ไม่รับรู้อาการทางกายเสียด้วยซ้ำไป


    http://palungjit.org/threads/กระโถนข้างธรรมาสน์-ฉบับที่-129-เดือนพฤศจิกายน-2557-a.541109/
     
  13. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ถาม : หนูมีปัญหาเกี่ยวกับการจับลมหายใจค่ะ ปกติหนูจะพยายามรู้ลมอยู่ตลอด ทีนี้เวลายกจิตขึ้นไป หรือภาวนาแล้วหลุดออกไป หนูก็คอยแต่จะกลับมาจับลม ยิ่งตอนหลังระแวงยิ่งหล่นลงมาเร็วใหญ่เลยค่ะ

    ตอบ : ถ้าไปแล้วไม่ต้องคิดถึงลมหายใจ การที่เรายกจิตไป เราไปด้วยกำลังที่สูง การนึกถึงลมหายใจเท่ากับเรากลับมาตั้งต้นนับ ๑ ใหม่ ถ้าอารมณ์ใจทรงตัวแล้วไม่ต้องไปสนใจลมหายใจ ประเภทจบปริญญาแล้วกลับมาเริ่มต้น ก.ไก่ทุกทีก็เจริญ..! กลับมา ก.ไก่เมื่อไรก็ร่วงเมื่อนั้น

    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ

    เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔

    ttp://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=2727
     
  14. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สมาธิจะทรงตัวได้ก็ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

    --------------------------------------------------------------------------------


    ถาม : ยุบพอง..?

    ตอบ : เป็นได้...แต่สายพองยุบเขาให้ตัดอย่างอื่นหมด ซึ่งเป็นสายกรรมฐานที่อาตมายังไม่เห็นทางความก้าวหน้าเลย เพราะแม้กระทั่งความคิดเขาก็ตัดหมด ในเมื่อเราคิดไม่ได้แล้วเราจะไปพิจารณาธรรมอย่างไร ?

    ถาม : ถ้าเราดูลมหายใจ..?

    ตอบ : สมาธิถึงจะปกติเขาให้ดูลมหายใจ แต่คราวนี้สายพองยุบเขาไม่เอาลมหายใจ การปฏิบัติที่ต้องการมรรคผล ต้องมีสมาธิทรงตัวอย่างน้อยปฐมฌานขึ้นไป ถ้าไม่มีสมาธิทรงตัวระดับนั้นจะตัดกิเลสไม่ได้ แต่การที่จะมีสมาธิทรงตัวได้เราต้องกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกทรงตัว สายพองยุบเขาไม่เอาลมหายใจเข้าออก ชาติหน้าบ่ายๆ คงจะได้สมาธิหรอก..!

    สำหรับนักปฏิบัติระยะแรกเริ่มจะรู้สึกว่าดี เพราะเราต้องบังคับตัวเองให้กำหนดรู้อาการพองยุบอยู่ตลอด แต่ถ้าสมาธิเริ่มสูงขึ้นเราจะกำหนดอาการนั้นไม่ได้ ในเมื่อกำหนดอาการนั้นไม่ได้ เขาก็ให้กำหนดตัวรู้ ถ้าเราไม่ได้ก้าวมาจากการกำหนดลมหายใจเข้าออก สมาธิไม่ทรงตัว ความละเอียดมีไม่พอ จะไปกำหนดรู้รูปนั่งรูปยืนอะไรก็ยาก

    ถาม : ทำไม...(ไม่ชัด)...?

    ตอบ : ตามสายปฏิบัติทั่วๆ ไป พอลมหายใจหมดไป คำภาวนาหมดไป เขาให้กำหนดรู้อาการนั้นไว้เฉยๆ เพราะสมาธิจิตละเอียดเกินการปรุงแต่งไปแล้ว แต่สายพองยุบเขาให้กำหนดว่า "รู้หนอ" การกำหนดอาการ "รู้หนอ" เป็นการลดกำลังใจลงมา ก็ต้องมารบกับกิเลสอื่นๆ ต่อไป เท่าที่อาตมาปฏิบัติมา สายนี้ไปยากที่สุด เพราะขาดสมาธิมาช่วย

    ถาม : อะไรเข้ามาก่อนก็รับรู้หรือคะ ?

    ตอบ : ไม่ใช่...ตอนนั้นอะไรก็เข้าไม่ได้ สภาพจิตละเอียดเกินการปรุงแต่งไปแล้ว ในเมื่อเกินการปรุงแต่งไปแล้ว ลมหายใจที่ยังปรุงแต่งอยู่ คำภาวนาที่ยังปรุงแต่งอยู่ก็ไม่สามารถที่จะรู้ได้ เพราะจิตเลยไปแล้ว เราแค่รับรู้อาการไว้เฉยๆ ถ้าสภาพอย่างนั้นสติจะมั่นคงอยู่เฉพาะหน้า จะรู้ได้ตลอด เพราะสมาธิหนุนอยู่ แต่คราวนี้สายพองยุบไปรู้หนอโดยที่ไม่มีสมาธิหนุนอยู่ เพราะเป็นการลดสมาธิลงมาปรุงแต่ง อารมณ์นั้นจึงอยู่ได้ไม่นาน

    ต้องทำให้ถึง ถ้าทำถึงแล้วจะรู้ ทำไม่ถึงพูดไปก็เท่านั้นแหละ


    สนทนากับพระครูวิลาศกาญจนธรรม (พระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ)
    ณ บ้านวิริยบารมี เดือนธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕


    ที่มา : เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนธันวาคม ๒๕๕๕ - หน้า 3 - กระดานสนทนาวัดท่าขนุน

    http://palungjit.org/threads/สมาธิจะทรงตัวได้ก็ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก.416499/
     
  15. บ้องแบ้ว

    บ้องแบ้ว นางฟ้าผู้น่ารัก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,294
    กระทู้เรื่องเด่น:
    105
    ค่าพลัง:
    +5,301
    ขอบคุณคุณsaberมากนะคะที่กรุณานำมาลงให้เป็นความรู้ /||\
     
  16. มิลินท์

    มิลินท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2016
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +25
    เกิดภวังค์เป็นเรื่องธรรมชาติค่ะ ภวังคจิตที่เกิดในฌานสมาธิมี ๓ ลักษณะ
    ๑ ภวังคบาต รู้สึกวูบเหมือนตกจากที่สูง
    ๒ ภวังคจลนะ รู้สึกสบายเคลิบเคลิ้ม
    ๓ ภวังคุปัจเฉท ขาดความรู้สึกและอารมณ์เป็นภวังค์อันปราถนาของนักปฎิบัติ

    (สรุปความจาก
     

แชร์หน้านี้

Loading...