ระดมทุน..วัตถุมงคล..ราคาพิเศษ..โปรโมชั่น..รวม/ลป.ดู่/คุณแม่บุญเรือน/ลพ.จรัญฯลฯ

ในห้อง 'พระเครื่อง วัตถุมงคล' ตั้งกระทู้โดย ญาณวโร นามะ, 17 กันยายน 2015.

  1. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    721.พระกริ่งสมเด็จพระพุทธนฤมิตร วัดดอน ปี2523 กะหลั่ยทอง จาเก็บท้างทีต้องอย่างนี้เร้ยยย ควรค่าแก่การบูชา น่าสะสม พร้อมกล่องเดิม ให้บูชา 350 บาท
    วัดดอนหรือวัดบรมสถล เป็นวัดโบราณสร้างมานาน ตั้งแต่ครั้งรัชกาลที่หนึ่งกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลมหาราช ปรากฏความตามหลักฐานดั้งเดิมว่า มังจันจ่าพระยาทวายเป็นผู้มีศรัทธาสร้างขึ้น ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวทวายในสมัยนั้นมังจันจ่าผู้ เป็นหัวหน้าสร้างวัดนี้ เดิมทีเป็นขุนนางแห่งพุกามประเทศ มีราชทินนามตามตำแหน่งที่เนมะโยกะยอดินกินเมืองทวาย ภายหลังต่อมาได้เกิดขัดใจกันขึ้นกับสมเด็จพระเจ้าปดุงกรุงอังวะผู้ ดุร้าย ไม่ยอมอยู่ใต้อำนาจพม่าอีกต่อไป จึงแต่งทูตให้ถือท้องตรามาขอสวามิภักดิ์ขึ้นกับไทย พร้อมกันนั้นได้ชักชวนเกลี้ยกล่อมพระยามะริดและพระยาตะนาวศรีซึ่งว่าราชการเมืองมะริดเมืองตะนาวศรีให้มาร่วมสวามิภักดิ์กับไทย เจ้าเมืองทั้งสองก็เห็นดีเห็นงาม ร่วมกันมีท้องตราทูลความมาขอเป็นข้าขอบขันฑสีมาของไทยสยามประเทศพระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่หนึ่งทรงอนุสรณ์ถึงความดีความชอบของมังจันจ่าพระยาทวาย ในกรณีที่ยกเมืองทวายและชักชวนเจ้าเมืองมะริด เมืองตะนาวศรีซึ่งเป็นฝ่ายพม่าข้าศึก ให้มาสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยนั้นประการหนึ่งกับอีกประการหนึ่งมังจันจ่าพระยาทวายผู้นี้มีความดีความชอบเป็นพิเศษ โดยได้พาเอาสมเด็จพระราชภาคิไนยที่จากไปนานให้มาเฝ้าได้พบกัน ครั้งหลานพระหลานเธอสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนรามินทรสุดาราชภาคิไนย ซึ่งเป็นธิดาของเจ้ารามณรงค์พระเชษฐาธิบดี ผู้ถึงแก่ชีพิตักษัยไปนานแล้วณ กรุงเก่าคราวศึกพม่า เมื่อได้มาเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกับสมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวร ซึ่งทรงเป็นพระเจ้าอาทั้งสองก็นองน้ำตาเล่าถวายถึงความทุกข์ยากลำบาก ตั้งแต่บ้านแตกสาแหรกขาดคราวศรีอยุธยาพ่ายพลัดพรากตกไปอยู่เมืองพม่าแล้วหลบหนีมาบวชเป็นรูปชีอยู่ที่เมืองทวายได้มังจันจ่าพระยาทวายให้ความอุปถัมภ์บำรุงคราวตกยากและพรรณนาถึงคุณความดี
    ของมังจันจ่าที่ อุตส่าห์ซ่อนเร้นคอยบำรุงรักษาอย่างเข้มงวดกวดขัน ปิดบัความมิให้พม่ารู้ด้วยเกรงจะเกิดอันตราย พระหลานเธอรำพันไปถึงความทุกข์ยากต่างๆ นานาแล้วก็ทรงพระกรรแสง สมเด็จพระบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัวและพระอนุชาธิราช ทั้งสองพระองค์ทรงสดับความแล้วก็กลั้นน้ำพระเนตรไว้มิได้ ด้วยความสงสารในพระภาคิไนยซึ่งเป็นธิดาองค์เดียวของพระเจ้ารามณรงค์พระเชษฐา เมื่อทรงพิจารณาไปความดีของมังจันจ่าพระยาทวาย ก็ปรากฏประจักษ์ชัดขึ้นจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้มังจันจ่าพระยาทวายผู้ มีความชอบ พาครอบครัวและญาติสนิทมิตรสหาย ข้าไทบริวารอพยพมารับราชการที่กรุงเทพพระมหานครโปรดพระราชทานที่หลวงซึ่งมีอยู่ ณ ตำบลคอกกระบือ ให้เป็นที่อยู่ของเหล่าชาวทวายที่อพยพมา เมื่อปีชวด พระพุทธศักราช 2335 แล้วทรงพระกรุณาแต่งตั้งให้เนมะโยกะยอดินหรือมังจันจ่าพระยาทวาย เป็นหัวหน้าปกครองดูแลบรรดาชาวทวายเหล่านั้น เมื่อได้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักฐานแล้ว มังจันจ่าพระยาทวายผู้เป็นหัวหน้าจึงชักชวนผู้มีจิตศรัทธาชาวทวาย ให้ช่วยกันขวนขวายสร้างวัดขึ้นในราวปีพุทธศักราช 2340วัดที่มังจันจ่าพระยาทวายสร้างขึ้นนี้ โดยเหตุที่เป็นวัดสร้างขึ้นบนภูมิภาคอันเป็นที่ดอน รอบบริเวณเป็นที่ลุ่มราบ ดังนั้นจึงปรากฏนามว่า "วัดดอน" และโดยที่วัดนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยศรัทธาของ พระยาทวาย พร้อมกับญาติมิตรสหายชาวทวายทั้งปวง ณ สถานที่หลวงพระราชทานหลังบ้านทวาย ดังนั้นผู้คนทั้งหลายจึงนิยมเรียกกันง่ายๆว่าวัดดอนทวาย จะอย่างไรก็ดีพอตกมาถึงปีพุทธศักราช ๒๔๐๐ ครั้งรัชกาลที่ ๔แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระองค์ผู้ทรงเป็นมหา ปราชญ์ในเชิงอักษรศาสตรภาษา ได้ทรงพระกรุณาเปลี่ยนนามวัดที่พระยาทวายสร้างขึ้นนี้ว่า วัดบรมสถล แต่มหาชนก็ยังนิยมเรียกว่า วัดดอนทวายอยู่อีกตามเดิมด้วยความเคยชินวัดดอนหรือวัดที่ทรงพระกรุณาเปลี่ยนนามให้ใหม่ว่าวัดบรมสถลนี้ มีบริเวณแผ่ตลอดไปตามภูมิภาคที่ดอน มีจำนวนเนื้อที่ 17 ไร่ 2 งาน 28 วา โดยมีคูเป็นเขตวัดล้อมรอบทุกด้านกล่าวคือ คูด้านเหนือและด้านตะวันออกเป็นเครื่องปันเขตวัดดอนกับป่าช้าจีน ส่วนคูด้านใต้และด้านตะวันตกเป็นเครื่องปันเขตวัดดอนกับชาวบ้านวัดดอนนี้ เดิมทีมีแต่พระสงฆ์ชาวทวายจำพรรษาอยู่เป็นส่วนมาก โดยมีพระสงฆ์อาวุโสทำหน้าปกครองดูแลสืบต่อกันมา จนถึงสมัยพระอุปัชฌาย์จั่น รูปนี้ก็เป็นชาวทวายอีกเหมือนกัน ทำหน้าที่ปกครองวัดเป็นสมภารมานานช้า บรรดาศิษย์และชาวบ้านเรียกท่านว่าท่านใหญ่ เป็นพระอุปัชฌาย์ให้การอุปสมบทกุลบุตรทั้งชาวทวายและชาวไทยมีผู้เคารพเลื่อมใสมาก ถึงมรณภาพเมื่อปีพุทธศักราช 2462ครั้นพระอุปัชฌาย์จั่นหรือท่านใหญ่ถึงมรณภาพล่วงลับไป พระครูกัลยาณวิสุทธิ์ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมภารเจ้าวัดสืบมา พระครูกัลยาณวิสุทธิ์หรือหลวงพ่อกึ๋นนี้ก็มีชาติกำเนิดสืบเชื้อสายมาแต่ชาวทวาย เกิดที่บ้านทวาย เขตยานนาวากรุงเทพมหานคร เป็นสมภารเจ้าวัดดอนมาหลายสิบปี มีเกียรติคุณในทางสมาธิภาวนาและขลังในคาถาอาคม โดยได้เล่าเรียนสืบต่อมาจากพระอุปัชฌาย์ โดยได้เล่าเรียนสืบต่อมาจากพระอุปัชฌาย์จั่นท่านใหญ่ และอาจารย์เปี่ยมซึ่งเป็นอาจารย์วิชาอาคมขลังเรืองนาม เป็นที่เคารพนับถือของคนในสมัยนั้น จึงทำให้ท่านฝักใฝ่อยู่แต่ในทางนี้จนมีชื่อว่าเป็นเกจิอาจารย์รูปหนึ่งในบรรดาเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง ทั้งหลายอนุสรณ์ยิ่งใหญ่ที่ท่านพระครูกัลยาณวิสุทธิ์สร้างไว้ ในฐานะที่เป็นเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยามนต์อันสูงยิ่ง ก็คือพระกริ่งฟ้าผ่า สาเหตุที่พระกริ่งของท่านจะได้ชื่อว่าพระกริ่งฟ้าผ่านั้น เล่ากันว่าเมื่อปีพุทธศักราช 2480 สมัยที่ยังเป็นพระครูกึ๋นผู้มีวัยสี่สิบเศษ ปรารภเหตุไทยจะเข้าทำสงครามอินโดจีน ในฐานะทีท่านเคยเป็นทหารมาก่อน จึงมีความปรารถนาอย่างแรงร้อนที่จะช่วยประเทศชาติตามวิสัยสมณะจะพึงกระทำได้ จึงคิดสร้างพระกริ่งนิรันตราย เพื่อแจกจ่ายแก่บรรดาศิษย์ลูกบ้านทวายที่ลาไปทัพกับทหารไทยทั่วไป ในการสร้างพระกริ่งครั้งนี้ได้จัดเป็นพิธีใหญ่ โดยตัวท่านเองไปทูลอาราธนาสมเด็จพระสังฆราช(แพ ติสสเทวมหาเถร) วัดสุทัศนเทพวรารามซึ่งเป็นที่เคารพอย่างสูงสุดให้มาทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และกำกับการบวงสรวงอันเชิญปวงเทพเจ้ามาเข้าร่วมพิธีศักดิ์ศิษย์นั้น พลันอสุนีบาตจากฟากฟ้าก็ฟาดตกลงมาในท่ามกลางพิธี ให้เป็นที่อัศจรรย์หวั่นไหวโกลาหล ผู้คนทั้งหลายต่างตื่นตะลึงวุ่นวายประหลาดใจเป็นหนักหนา จึงพากันเรียกชื่อพระกริ่งที่สร้างครั้งนี้ว่า พระกริ่งฟ้าผ่าพระครูกัลยาณวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์และเกจิอาจารย์ชื่อก้อง ครองวัดดอนมาจนถึงอายุขัยมรณภาพล่วงลับไป เมื่อปีพุทธศักราช 2507ครั้นการพระราชทานเพลิงศพ พระครูกัลยาณวิสุทธิ์เสร็จสิ้นแล้ว ทางการคณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ พระมหาวิลาศ ญาณวโร ป.ธ.9 เป็นเจ้าอาวาสวัดดอนสืบแทนต่อมาพระมหาวิลาศ ญาณวโร นี้ ภายหลังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พระศรีวิสุทธิโสภณ แล้วรับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่พระราชวิสุทธิโสภณ ตามลำดับ สมัยที่พระราชวิสุทธิโสภณได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสนี้วัดดอนเริ่มมีการพัฒนาปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ เพราะกุฏิและเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายไม่ว่าจะมองไปทางไหนล้วนแต่เซทรุด คร่ำคร่าทำท่าว่าจะหักพังไปทั้งวัดมีลักษณาการเหมือนคนแก่แลเป็นไข้หนัก ใกล้จะตายด้วยถึงอายุขัยเหตุว่าเสนาสนะสิ่งปลูกสร้างทั้งหลายมีอายุมาแต่ สมัยพระอุปัชฌาย์จั่นหรือนานกว่านั้นโดยมากเมื่อตกมาถึงสมัยนี้จึงมีสภาพชำรุดร่อแร่เต็มทีเป็นที่สังเวชใจแก่ผู้พบเห็น แทนที่จะเกิดศรัทธา ทางวัดจึงวางโครงการพัฒนาใหม่หมดทั้งเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาสและเขตวัดประโยชน์แล้วดำเนินการก่อสร้างปฏิสังขรณ์ตามโครงการที่วางไว้โดยเริ่มสร้างกำแพงวัด กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ และเสนาสนะที่จำเป็นอื่นๆยกเว้นอุโบสถวิหาร ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2510 เป็นต้นมาจนถึง วันที่ 1 ธันวาคม 2522สิ้นเงินไปแล้วจำนวน 6,050,022.- บาท (หกล้านห้าหมื่นยี่สิบสองบาท)เมื่อได้จัดสร้างสิ่งที่จำเป็นในเขตสังฆาวาสเสร็จสิ้นไปพอสมควรแล้วจึงได้เริ่มงานก่อสร้างอุโบสถวิหารอันเป็นเขคพุทธาวาสต่อไปโดยทำพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2518 เวลา 16.55 น.แล้วการก่อสร้างก็ดำเนินเรื่อยมา จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2522สิ้นค่าใช้จ่าย 5,638,210.- บาท (ห้าล้านหกแสนสามหมื่นแปดพันสองร้อยสิบบาท)และประกอบพิธีฝังลูกนิมิต 20 มีนาคม 2523 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีตัดลูกนิมิต นับเป็นพิธีมหามงคลและเป็นเกียรติประวัติสูงส่งสืบไปชั่วกาลนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1116.JPG
      DSC_1116.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.8 KB
      เปิดดู:
      73
    • DSC_1117.JPG
      DSC_1117.JPG
      ขนาดไฟล์:
      59 KB
      เปิดดู:
      61
    • DSC_1118.JPG
      DSC_1118.JPG
      ขนาดไฟล์:
      51.2 KB
      เปิดดู:
      104
  2. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    722.พระบูชาหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ หน้าตัก1.5นิ้ว เนื้อเรซิ่น ให้บูชา 550 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1122.JPG
      DSC_1122.JPG
      ขนาดไฟล์:
      78.7 KB
      เปิดดู:
      82
    • DSC_1123.JPG
      DSC_1123.JPG
      ขนาดไฟล์:
      76.3 KB
      เปิดดู:
      64
  3. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    723.พระปิดตา"ผงพรายสมุทร" หลวงพ่อเจิม วัดหอยราก เลี่ยมพร้อมใช้ ให้บูชา 650 บาท**มีสมาชิกไลน์มาจองครับ**

    ประวัติหลวงพ่อเจิม วัดหอยราก

    พ่อท่านเจิม อชิโต หรือ พระครูพิศาลวรเวทย์ อดีตพระเกจิอาจารย์ขลังแห่งลุ่มน้ำปากพนัง ท่านถือกำเนิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันอาทิตย์ แรม 8 ค่ำ เดือน 7 ปี วอก เป็นบุตรของนายภู่ นางคล้าย แก้วช่วย ท่านได้บรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดคงคาสวัสดิ์ (วัดใต้) โดยมี หลวงพ่อนุ่ม เกสโร พระครูประภาสภูมิสถิตย์ เป็นพระอุปัชฌาย์บวชแล้วก็ประจำพรรษาที่วัดคงคาสวัสดิ์ศึกษาเล่าเรียนพระ ธรรมวินัย และพระเทวอาคมกับหลวงพ่อนุ่มผู้เป็นอุปัชฌาย์ จารย์จนมีความเชี่ยวชาญในสรรพเวทวิทยาคมอย่างลึกซึ้ง พ่อท่านเจิม อชิโต ได้มารั้งตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ.2479 และได้ละสังขารลงเมื่อ ปี พ.ศ.2527 รวมสิริอายุ 76 ปี 57 พรรษา

    ครั้งเมื่อพ่อท่านเจิม อชิโต สมัยท่านยังไม่ละสังขารอยู่นั้น ท่านได้สร้างพระเนื้อผงดินเผา พระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปิดตา ปี พ.ศ. 2499 เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา พ่อท่านเจิมได้เสาะแสวงหาและรวบรวมมวลสารที่เป็นมหามงคล โดยใช้ระยะเวลาอยู่นานร่วม 7-8 ปี เมื่อได้มวลสารที่ต้องการแล้ว พ่อท่านเจิมได้ทำพิธีกดพิมพ์พระพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และพิมพ์ปิดตา เป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2499 ซึ่งมวลสารที่พ่อท่านเจิมได้ใช้ในการสร้างล้วนมีพุทธคุณ และคุณวิเศษมากมายในตัวซึ่งเป็นมวลสารที่หายากยิ่ง พ่อท่านเจิมอยากให้วัตถุมงคลที่สร้างออกมาให้มีพุทธคุณ จึงต้องทำให้ตรงตามตำราโบราณทุกอย่าง ทุกขั้นตอนอย่างประณีต...โดยเฉพาะมวลสารที่เป็นดินพรายสมุทร (ท้องทะเล) ต้องใช้ถึง 108 ปั้น โดยต้องดำน้ำลงไป และเถ้าคนที่ตายวันเสาร์เผาวันอังคารให้ได้ 7 ป่าช้า เอามาบดเป็นผงให้ได้ 108 จอกชา และยังมีมวลสารที่สำคัญอีกร่วม 700 ชนิด พ่อท่านเจิมได้นำพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และ พิมพ์ปิดตา เข้าปลุกเสกเดี่ยวในพระอุโบสถ วัดศรีสมบูรณ์อีก เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ด้วยพระคาถาพระมหาหมื่น 10,000 จบ พ่อท่านเจิมใช้ระยะเวลาการปลุกเสกนานถึง 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2499-2501 พระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปิดตา ของพ่อท่านเจิม จึงเป็นวัตถุมงคลที่มีความเข้มขลัง ความศักดิ์สิทธิ์ในพุทธคุณสูง


    บทความต่อไปนี้เป็นบทความจาก พระสมุห์เจิม แก้วช่วย เจ้าอาวาสวัดศรีสมบูรณ์ (หอยราก) อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช

    “สวัสดีท่านที่เคารพและนับถือทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าจัดทำรูปหลวงพ่อ อะชิโตขึ้นครั้งนี้ ทำตามแบบโบราณ ที่ท่านเขียนไว้ในคำภีร์ใบลาน พัสดุที่เอามาประสมเกินกว่า 700 สิ่ง แต่ละสิ่งล้วนเป็นของศักดิ์สิทธิ์ทั้งนั้น ข้าพเจ้าเที่ยวหาของต่าง ๆ นั้น 2 ปีซ้อน ทำแต่ผงนั้นราว 4 เดือน และทำแต่รูปหลวงพ่อ อะชิโต ก็ราว 3 ปี และโดยเฉพาะปลุกเสกอยู่นั้นย่างเข้า 5 ปี คือเริ่มปลุกเสกในฤกษ์ของวันเสาร์ เดือน 5 ปี มะเส็ง กระทั่งถึงวันเสาร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา พ.ศ.2512 เป็นอันสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำเดือนเดียวกัน เป็นปฐมฤกษ์ของการแจกจ่ายให้เช่า อันเป็นมหามงคลฤกษ์ของอมฤคฆโชค แปลว่า เป็นโชคอันไม่ตาย


    ข้าพเจ้าขอเตือนว่า ทุก ๆ ท่านที่มีรูปหลวงพ่อ อะชิโต ไว้นั้น อย่าสักแต่ว่าเอาไว้เฉย ๆ เท่านั้น มันไม่เกิดเป็นมงคลและผลประโยชน์อะไรเลย เหมือนอย่างไก่ไปพบพลอย พลอยก็ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับไก่เลย.......ฉะนั้น ขอท่านอย่าได้ประมาท อุตส่าห์กราบไหว้บูชาอยู่เสมอ เป็นรูปที่ทำขึ้นแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น พอถึงวันอังคาร หรือวันเสาร์ ควรจัดของถวายข้าวพระ มีน้ำสิ่งหนึ่ง ข้าวสิ่งหนึ่ง คาวสิ่งหนึ่ง หวานสิ่งหนึ่ง อย่างน้อยให้ได้เดือนละหนึ่งครั้ง......เวลาจะหลับนอนหรือไปไหน ให้ยกเอารูปหลวงพ่อ อะชิโต ขึ้นตั้งเหนือหัวขอท่านช่วยคุ้มครองป้องกันรักษาเถิด

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสภาษิตไว้ว่า อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ แปลว่า ท่านทั้งหลายจงยังไม่ประมาทให้ถึงพร้อม พระพุทธภาษิตขึ้นนี้ท่างจะยึดถือไว้ให้มั่น นี้เป็นหลักของหลวงพ่อ อะชิโต ที่จะต้องปฏิบัติคือ อย่าได้ประมาทเลย และขอให้ท่านทุกท่านที่มีหลวงพ่อ อะชิโต ไว้กับตัวและครอบครัวของท่าน จงสัมฤทธิ์ผลดลบันดาลให้สำเร็จทุกประการเทอญ”
    ปัจจุบันพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปิดตา เป็นที่เสาะแสวงหาในวงการพระเครื่องพระ ศิษยานุศิษย์สายพ่อท่านเจิม และบุคคลทั่วไป

    วิธีการบูชาพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปรกโพธิ์ และพระผงพรายสมุทร อชิโต พิมพ์ปิดตา ปี 2499 ของพ่อท่านเจิม อชิโตนั้น มีดังนี้

    นะโม 3 จบ
    กล่าวต่อ ติวาคะภะ โธพุทนังสา นุสมะวะเท ถาสัตถิระ สามะทัมสะ ริปุโรตะ นุตอะทูวิ กะโลโตคะ สุโนปันสัม ณะระจะชา วิชโธพุทสัมมาสัมหังระ อะวาคะภะ โสปิติอิ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1077.JPG
      DSC_1077.JPG
      ขนาดไฟล์:
      57.1 KB
      เปิดดู:
      106
    • DSC_1078.JPG
      DSC_1078.JPG
      ขนาดไฟล์:
      62.4 KB
      เปิดดู:
      77
    • 1298123921.jpg
      1298123921.jpg
      ขนาดไฟล์:
      81.9 KB
      เปิดดู:
      375
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2016
  4. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    724.พระผงของขวัญ พิมพ์ประทานพร พระครูประกาศสมาธิคุณ วัดมหาธาตุ ปี 2506 อ.ทิมปลุกเสก ให้บูชา 250 บาท**มีสมาชิกไลน์มาจองครับ**

    พระผงของขวัญ เนื้อว่านเกสร พิมพ์ประทานพร พระครูประกาศสมาธิคุณ คณะ 25 วัดมหาธาตุ กทม. จัดสร้างเมื่อปี 2506

    สร้างจากผงพุทธคุณ ว่าน ผงเกสรดอกไม้ ผงสมเด็จบางขุนพรหม ผงพระกรุวัดสามปลื้ม ผงหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผงหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และผงคณาจารย์อื่นๆอีกมาก

    พระชุดนี้เข้าพิธีเสกพร้อมกันกับหลวงปู่ทวด ณ วัดพระเชตุพนฯ หรือวัดโพธิ์ ที่มีพระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลีและคณาจารย์เก่งๆอีกหลายท่านมาร่วมปลุกเสก

    พระมีขนาด 1.5 X 2.5 c.m. เนื้อผงว่านสีอมเขียว ขนาดเล็กกะทัดรัด เด็กแขวนได้ ผู้ใหญ่แขวนดีครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1102.JPG
      DSC_1102.JPG
      ขนาดไฟล์:
      66.3 KB
      เปิดดู:
      134
    • DSC_1103.JPG
      DSC_1103.JPG
      ขนาดไฟล์:
      47.7 KB
      เปิดดู:
      59
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 กุมภาพันธ์ 2016
  5. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    725.พระกลีบบัว กรุบางสะแกนอก เนื้อดิน ให้บูชา 350 บาท

    สวยเดิมๆดูง่าย ไม่หักไม่ซ่อม พุทธคุณสูง ตามประวัติคนเก่าแก่พื้นที่เล่ากันว่าหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่าเสกได้เข้มขลังมาก แล้วบรรจุกรุไว้ที่วัดบางสะแกนอกครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC_1089.JPG
      DSC_1089.JPG
      ขนาดไฟล์:
      54.5 KB
      เปิดดู:
      67
    • DSC_1090.JPG
      DSC_1090.JPG
      ขนาดไฟล์:
      49.3 KB
      เปิดดู:
      94
  6. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    726.เหรียญเสมา 25 ศตวรรษ เนื้อเงิน เลี่ยมพร้อมใช้ สภาพสวย ให้บูชา พีเอมหรือโทรถามครับ

    พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ

    เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
    และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม
    (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดในการจัดสร้างดังต่อไปนี้

    • คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    • นายพลตำนวจเอก เผ่า ศรียานนท์ ประธานกรรมการ

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
    มีหน้าที่จัดสร้างพระเครื่องเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เพื่อแจกจ่ายและสมนาคุณ
    แก่ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงิน สมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑล

    คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้จัดการดำเนินงานไปแล้ว และจะจัดการต่อไปตามลำดับนี้

    1.คณะกรรมการจัดสร้างพระเครื่องฯ ได้อนุมัติ เงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
    เป็นเงิน 5,000,000 บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) เพื่อทำการสร้างพระ 2 แบบ คือ

    ก. พระเนื้อชิน อันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
    ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
    5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
    ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
    ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย

    ข.พระผง (ดิน) ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
    จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
    รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
    อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง

    ลำดับสี การเผาดินพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ จากเริ่มจนถึงสุดท้าย สีจะเข้มจนดำไปในที่สุด

    2. จำนวนพระที่สร้างในครั้งนี้

    ก. พระเนื้อชิน 2,421,250 องค์

    ข. พระเนื้อดิน 2,421,250 องค์
    รวมทั้ง 2 ชนิด เป็นพระ 4,842,500 องค์

    ค. สร้างพระพุทธรูปบูชาทองคำแบบพุทธลีลา ลักษณะเดียวกับพระองค์ใหญ่ ซึ่งจะสร้างที่
    พุทธมณฑล สูงองค์ละ 9 ซ.ม. 4 องค์ ทองคำหนักรวม 55 บาท พระพุทธรูปทองคำนี้
    ได้ให้กองพระษาปณ์ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง เป็นผู้จัดสร้าง

    3. จัดการสร้างพระเครื่องทองคำ แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง
    โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจาก
    ผู้สั่งจอง องค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป

    4. คณะกรรมการหาทุนและรับสั่งของสมทบทุนในการสร้างพุทธมณฑลอันมีพระยาสามราชภักดี
    ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการดำเนินงานอยู่นั้น ได้แจ้งความจำนงมายังคณะกรรมการนี่ว่า
    เดิมที่ได้มีมติดังต่อไปนี้

    ก. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุนสร้างพุทธมณฑล 10,000 บาทจะได้พระทองคำหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์

    ข. ผู้ใดบริจาคเงินสมทบทุน 1,000 บาท จะได้พระเงินหนักประมาณ 1 บาท เป็นของสมนาคุณ 1 องค์
    การสร้างพระสมนาคุณนี้คณะกรรมการจะต้องสร้างเพื่อมอบเป็นของสมนาคุณมีจำนวนดังนี้

    ก. พระทองคำ 15 องค์
    ข. พระนาก 30 องค์
    ค. พระเงิน 300 องค์

    เงินค่าสร้างพระทั้ง 3 ชนิดนี้เป็นเงินทุนจากที่ได้รับไว้แล้วและจะดำเนินการสร้างให้เสร็จในคราวเดียว
    กับที่ได้สร้างพระเครื่องชินและผง (ดิน) ดังกล่าวแล้วด้วย


    5. การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
    ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
    พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้

    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรง***บ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนง ค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดดตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครู*** วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

    การสั่งจอง สร้างพระเครื่องชนิดทองคำ
    การจัดสร้างพระเครื่องชนิดทองคำนี้ มีการจัดสร้างทั้งสิ้น 2500 องค์ โดยผู้ที่ปราถนาที่จะร่วมการกุศลนี้
    ต้องส่งเงินร่วมการกุศล องค์ละ 2,500 บาท โดยวิธีสั่งจองดังนี้

    1. ส่งเงินพร้อมคำขอสั่งจอง 1,000 บาท ไปยังนายพลตำรวจตรีเนื่อง อาบบุตร หรือ นายสุวรรณ โชติกเสถียร
    ณ กรมสุลากร จะได้ออกใบรับเงินให้เป็นหลักฐาน

    2. พระเครื่องทองคำนี้นำหนัก องค์ละประมาณ 6 สลึง คณะกรรมการการจัดสร้างพระเครื่องได้สร้างเพียง 2,500 องค์
    ก็เพื่อจะได้เป็นมิ่งขวัญในการครอบครอง 25 พุทธศตวรรษ ปี 2,500 ทั้งนี้ผู้ที่มีกุศลเจตนาร่วมการกุศลในครั้งนี้ด้วย
    คนละ 10 บาท ก็ได้รับพระเครื่องที่สร้างนี้คือ แบบผง (ดิน) หรือแบบเนื้อชิน 1 องค์ เป็นการสนองความศรัทธา
    ไมตรีจิตร่วมการกุศลของท่านจะได้รวบรวมเป็นทุนสร้างพุทธมณฑล ต่อไปจากเนื้อเรื่องไม่ว่าจะเป็นการจัดสร้าง
    และวัตถุประสงค์ในการจัดสร้างคณาจารย์ที่ร่วมในพิธีปลุกเสกทั้ง 108 รูป ล้วนเป็นคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง
    ในยุคนั้นแทบทั้งสิ้น อีกทั้งจำนวนพระเครื่องที่สร้างก็มีจำนวนมาก (เนื้อดิน,ผง) ปัจจุบันยังคงมีอยู่ทั่วไปในแผง
    พระเครื่องทั่วไป แต่ถ้าเป็นพระเครื่องนอกจากเนื้อดิน,เนื้อชิน และมีราคาค่อนข้างจะสูง คนที่มีไว้ก็ไม่ค่อยจะนำมาปล่อยกันจึงไม่มีมาหมุนเวียน ในตลาดพระเครื่องกันเลยนานๆ จึงจะมีกันสักครั้ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • KRU_5001.JPG
      KRU_5001.JPG
      ขนาดไฟล์:
      125.5 KB
      เปิดดู:
      77
    • KRU_5002.JPG
      KRU_5002.JPG
      ขนาดไฟล์:
      111.2 KB
      เปิดดู:
      85
  7. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    **มีสมาชิกไลน์มาจองครับ**
     
  8. vwwoow

    vwwoow สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +14
    จอง2รายการ (รายการที่699/หน้า57กับ708/น.58)ครับ

     
  9. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
     
  10. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    ***มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ***
     
  11. vwwoow

    vwwoow สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    60
    ค่าพลัง:
    +14
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 15122.jpg
      15122.jpg
      ขนาดไฟล์:
      89.1 KB
      เปิดดู:
      98
  12. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
     
  13. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    5555555555555555555555
     
  14. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    727. พระพุทโธน้อย วัดสารนาถฯ จ.ระยอง ลงกรุ พ.ศ.2516 พิธีดี ให้บูชา 450 บาท **คุณพลอยรุ้งนิมนต์ครับ**

    พระพุทโธน้อย รุ่น2 ผสมมวลสารพระผงของ แม่ชีบุญเรือน จัดสร้างในปี 2516 มี 2 พิมพ์ พุทธคุณไม่แพ้รุ่นแรกครับ ปลุกเสกและร่วมกันอธิษฐานจิต ทำพิธีในวันที่สร้างศาลาการเปรียญที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง ปี พ.ศ.2516 เมื่อเสร็จงานก็นำพระส่วนที่เหลือบรรจุกรุไว้ที่วัดสารนาถธรรมาราม ขนาดองค์พระกว้าง 2 ซ.ม. สูง 2.9 ซ.ม. สภาพเดิมๆ (2 องค์ 2 พิมพ์ )
    มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองระยอง มาร่วมพิธีปลุกเสกด้วย ทั้ง หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ,หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระเกจิอาจารย์สายธรรมยุต และ สายมหานิกาย ร่วมกันอธิษฐานจิต คนพื้นที่เมืองแกลง บางคนที่อยู่ทันในพิธีปลุกเสก ต่างยืนยันว่า สามารถใช้รุ่นแรก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มีนาคม 2016
  15. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    728. พระพุทโธน้อย วัดสารนาถฯ จ.ระยอง ลงกรุ พ.ศ.2516 พิธีดี ให้บูชา 450 บาท **มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**

    พระพุทโธน้อย รุ่น2 ผสมมวลสารพระผงของ แม่ชีบุญเรือน จัดสร้างในปี 2516 มี 2 พิมพ์ พุทธคุณไม่แพ้รุ่นแรกครับ ปลุกเสกและร่วมกันอธิษฐานจิต ทำพิธีในวันที่สร้างศาลาการเปรียญที่วัดสารนาถธรรมาราม จ.ระยอง ปี พ.ศ.2516 เมื่อเสร็จงานก็นำพระส่วนที่เหลือบรรจุกรุไว้ที่วัดสารนาถธรรมาราม ขนาดองค์พระกว้าง 2 ซ.ม. สูง 2.9 ซ.ม. สภาพเดิมๆ (2 องค์ 2 พิมพ์ )
    มีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองระยอง มาร่วมพิธีปลุกเสกด้วย ทั้ง หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ,หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อบุญ วัดบ้านนา หลวงพ่อรวย วัดท่าเรือ, หลวงปู่แหวน สุจิณโณ และพระเกจิอาจารย์สายธรรมยุต และ สายมหานิกาย ร่วมกันอธิษฐานจิต คนพื้นที่เมืองแกลง บางคนที่อยู่ทันในพิธีปลุกเสก ต่างยืนยันว่า สามารถใช้รุ่นแรก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  16. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    729.สมเด็จมธุปายาสหลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก จ.ประจวบฯ สภาพสวย ให้บูชา 200 บาท

    พระราชวิสุทธิคุณ หรือ หลวงพ่อเกตุ จิตฺตสาโร วัดเกาะหลัก ตำบลประจวบ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เดิมชื่อ เกตุ วงษ์แหวน เกิดวันอังคาร แรม 15 ค่ำ เดือน 10 ปีกุน วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2466 บิดาชื่อนายเหลือ วงษ์แหวน มารดาชื่อนางเสริม วงษ์แหวน อุปสมบทเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2486 ณ วัดวังยาว ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชาชนทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงพ่อเกตุ”
    หลวงพ่อเกตุ นับได้ว่าเป็นศิษย์เอกสายตรงของหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก หนึ่งในพระเกจิสมัยสงครามอินโดจีนและสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทหารไทยที่ออกรบในสมัยนั้นในพื้นที่ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกมีการปะทะกับทหารไทยอย่างดุเดือด ทหารสมัยนั้นที่มีของดีจากหลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ได้รับฉายาว่าทหารผี เพราะญี่ปุ่นทั้งยิงทั้งฟันไม่เข้า เป็นเรื่องที่เล่าขานกันมาแต่อดีต สำหรับหลวงพ่อเปี่ยม นับเป็นปรมาจารย์องค์หนึ่งของเมืองนี้และมีชื่อเสียงที่สุด เป็นหนึ่งในเกจิ 108 รูปที่ได้เข้ามาปลุกเสกพระที่วัดราชบพิธในช่วงประมาณปี 2481 หลวงพ่อเปี่ยม เลื่องลือด้านวิชาอาคมและด้านโหราศาสตร์ยากที่ใครจะเทียบ แม้แต่สมเด็จสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ ผู้ที่มีชื่อเสียงด้านโหราศาสตร์ (หลวงปู่เริ่ม วัดจุกกระเฌอ เคยเรียนวิชาโหราศาสตร์)
    หลวงพ่อเกตุ ได้จำพรรษาอยู่วัดวังยาวในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ต่อมาได้ย้ายมาอยู่จำพรรษาที่วัดเกาะหลักเพื่อเรียนวิชากับหลวงพ่อเปี่ยม หลวงพ่อเกตุ เป็นพระที่ความสามารถทั้งการปกครองและพัฒนา จนได้รับความไว้วางใจจากคณะสงฆ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะหลัก และเป็นเจ้าคณะจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นอกจากนี้หลวงพ่อเกตุ ยังเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อยิด วัดหนองจอก เพราะเป็นพระอุปัชฌาย์ ในตอนที่หลวงพ่อยิด กลับมาบวชครั้งที่สอง


    หลวงพ่อเกตุได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ด้วยโรคไตวาย เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ.2542 ณ โรงพยาบาลราชวิถี ยังความเศร้าโศกเสียใจแก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    730.พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ วัดตลิ่งชัน จ.กรุงเทพ ปี2519 สภาพสวย ให้บูชา 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    731.เหรียญเสมาครึ่งองค์ หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม จ.นครปฐม อายุ 84 ปี กะไหล่ทอง สภาพสวย ให้บูชา 150 บาท**มีผู้รับนิมนต์แล้วครับ**
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2016
  19. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    732.พระพุทธโธน้อย วัดอาวุธฯ เนื้อผงพุทธคุณ ปี 2511 ด้วยการนำมวลสารพระพุทโธน้อยยุคแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติมที่จัดสร้างเมื่อปี 2494 และพระมงคลมหาลาภ ปี 2499 มาเป็นส่วนผสมจำนวนมาก (เนื้อผงพุทธคุณนี้หายาก สร้างน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน) ให้บูชา 550 บาท**สมาชิกไลน์มาจองครับ**

    พระพุทธโธน้อย วัดอาวุธฯ ปี 2511 เนื้อผงพุทธคุณ มวลสารของแม่ชีบุญเรือน พระพุทโธน้อย ปี 2511 จัดสร้างโดยวัดอาวุธวิกสิตาราม โดยหลวงพ่อสงวน อดีตเจ้าอาวาส สร้างขึ้นงานฉลองสมณศักดิ์ ด้วยการนำมวลสารพระพุทโธน้อยยุคแม่ชีบุญเรือน โตงบุญเติมที่จัดสร้างเมื่อปี 2494 และพระมงคลมหาลาภ ปี 2499 มาเป็นส่วนผสมจำนวนมากและใช้พิมพ์เก่ามาเป็นต้นแบบ และประกอบพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ พระพุทโธน้อยไม่ว่าจะเป็นรุ่นแรกหรือรุ่นปี 2511 พุทธคุณไม่แตกต่างกันเด่นด้านโชคลาภ สำเร็จทุกประการตามที่หวัง เมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย พระรุ่นนี้เข้าพิธีใหญ่มาไม่ธรรมดาเลยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กุมภาพันธ์ 2016
  20. ญาณวโร นามะ

    ญาณวโร นามะ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    29,701
    ค่าพลัง:
    +4,635
    733.เหรียญพระครูสุนทรสุธิวัตร(หลวงพ่อแฉล้ม) วัดไผ่ตัน จ.กรุงเทพฯ เนื้อชุบนิเกิ้ล ปี 2516 สภาพสวย ให้บูชา 150 บาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...