กรรมลิขิต

ในห้อง 'ทวีป อเมริกา' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 29 พฤศจิกายน 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    <table class="contentpaneopen"> <tbody> <tr> <td colspan="2" align="left" valign="top" width="70%">
    </td></tr> <tr> <td colspan="2" valign="top"> เมื่อเราได้ศึกษาถึงขบวนการแห่งกรรมในเบื้องต้นแล้วก็คงพอจะเข้าใจว่า อะไร ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเราก็เป็นมาจาก วิบากแห่งกรรมนั่นเอง ดังนั้นชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ "กรรมลิขิต" แต่ชะตาชีวิตของคนเรานั้นสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นได้ หาใช่สิ่งตายตัวแต่อย่างใดไม่ มันย่อมเป็นไปตามดุลยภาพแห่งการกระทำและแรงปฏิกิริยาของผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง นั่นคือมันสามารถแก้ไขให้ดีขึ้นหรือเลวร้ายลงกว่าเดิมก็ได้ ชะตาชีวิตของคนเราจึงขึ้นอยู่กับ กรรมเก่าและกรรมใหม่
    การที่เราจะแก้ไขปัญหาชะตาชีวิตของตนเองจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงค้นคว้าหาวิถีทางที่ถูกต้อง ไม่ใช่เพียงหาทาง สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตา ตัดกรรม โดยไม่พึ่งพาตนเอง เพราะถึงเราจะมีเงินทองก็คงจะซื้อบุญหรือกรรมไม่ได้แน่นอน แต่ถ้ารู้จักพิจารณาถึงสาเหตุหรือองค์ประกอบดังกล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ตนเองมีเวรกรรมใดผูกพันอยู่ ก็จะสามารถลดแรงกรรมเหล่านั้นได้โดยไม่ยาก
    ความเชื่อในเรื่องกรรม
    หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงความศรัทธาของชาวพุทธไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง 4 ประการด้วยกัน

    ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า คือเชื่อว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้จริง เป็นผู้ประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ
    กัมมสัทธา เชื่อเรื่องกรรม คือเชื่อว่ากรรมมีจริง
    วิปากสัทธา เชื่อเรื่องผลของกรรม คือเชื่อว่ากรรมที่บุคคลทำไม่ว่าดีหรือชั่วย่อมให้ผลเสมอ
    กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตนเอง คือเชื่อว่าผลที่เราได้รับ เป็นผลแห่งการกระทำของเราเอง ซึ่งอาจจะเป็นกรรมที่ทำในปัจจุบันชาติหรืออดีตชาติ

    ความเชื่อหรือความศรัทธาในพระพุทธศาสนาทั้ง 4 ประการนั้น เป็นความเชื่อในเรื่องของกรรมเสีย 3 อย่าง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า กฏแห่งกรรม จึงเป็นหลักคำสอนที่สำคัญยิ่งในทางพระพุทธศาสนา ที่ชาวพุทธทุกคนไม่ควรมองข้าม เพราะผู้ที่เชื่อกฏแห่งกรรมย่อมได้เปรียบกว่าคนที่ไม่เชื่อในเรื่องกฏแห่งกรรม ย่อมสามารถทำใจได้ในทุกเหตุการณ์ ไม่ว่าชีวิตจะทุกข์ยากลำบาก ผิดหวังขมขื่น โรคภัยไข้เจ็บจะมาเบียดเบียน ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรในอดีตมาเบียดเบียน ไม่ตีโพยตีพายโวยวายเรียกร้องหาความยุติธรรม
    กรรมให้ผลตามกาล
    1. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาตินี้
    2. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
    3. อปราปรเวทนียกรรม กรรมให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
    4. อโหสิกรรม กรรมที่เลิกให้ผล หรือยุติการให้ผลต่อไป

    กรรมที่ให้ผลตามหน้าที่
    1. ชนกกรรมกรรมที่แต่งมาดีหรือชั่ว
    2. อุปถัมภกรรม กรรมที่สนับสนุน คือ ถ้ากรรมเดิมหรือ ชนกกรรมแต่งดี ก็ส่งให้ดียิ่งขั้นไป ถ้าชั่วก็ส่งให้ชั่วยิ่งขึ้น
    3. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้นหรือขัดขวางกรรมเดิม คอยเบียดเบียนชนกกรรม เช่นเดิมแต่งมาดี เบี่ยงเบนให้ชั่ว เดิมแต่งมาชั่ว ก็เบี่ยงเบนให้ดี
    4. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน เป็นกรรมที่พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ เช่นเดิมชนกกรรมแต่งไว้ดีเลิศ กลับที่เดียวเป็นขอทานหรือตายทันที หรือของเดิมแต่งไว้เลว ก็กลับทีเดียวเป็นมหาเศรษฐีไปเลย

    กลไกแห่งกรรม
    เมื่อเราได้ศึกษาในกลไกแห่งกรรมจนพอจะเข้าใจแล้วว่า อำนาจแห่งกรรมสามารถจะส่งผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การก่อเกิดภพชาติของคนเราได้ ถ้ากรรมดีให้ผลก็แล้วไป แต่ถ้าวิบากกรรมให้ผลที่ไม่ดีต่อเราแล้ว เราจะมีหนทางใดในการเบี่ยงเบนวิบากกรรมที่ไม่ดีออกไปให้พ้นตนได้

    นั่นก็คือเราต้องรู้เหตุเบื้องต้นเสียก่อนว่า เรากำลังตกอยู่ในเหตุการณ์ที่ผิดปกติ โดยอาศัยสิ่งที่เราเรียกว่า “ลางบอกเหตุ” หรือสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า เพื่อจะได้หาหนทางหรือกุศโลบายที่แยบยลในการที่จะเข้าไปแก้ไขสิ่งที่เลวร้ายให้กลับกลายเป็นดีได้ ดังนั้นสิ่งที่เป็นลางบอกเหตุดังกล่าวจึงพออนุมานให้เป็นหนทางในการสังเกตุและพิจารณาได้ดังต่อไปนี้
    เจ็บป่วยผิดปกติ แม้จะหาแพทย์แผนปัจจุบันหรือแผนโบราณแล้วก็ตาม อาการดังกล่าวก็ยังไม่ดีขึ้น หรือแพทย์ไม่สามารถหาสาเหตุความผิดปกติได้ นอกจากจ่ายยาให้กินเท่านั้น เช่น เจ็บหลัง เจ็บเอว เจ็บไหล่ ปวดในช่องท้อง หรือแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น ถึงแม้กรรมจะส่งผลต่อสุขภาพร่างกาย ธาตุขันธ์ความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า เราก็ต้องทำความเข้าใจว่า ส่วนหนึ่งเป็นไปตามสภาวะธรรมชาติ แต่บางส่วนก็เป็นไปตามวิบากกรรม
    จิตใจผิดปกติ แม้จะหาจิตแพทย์หรือบำบัดในโรงพยาบาลก็ยังไม่ดีขึ้น เช่น ปวดศรีษะรุนแรง เบลอ พูดจาเพ้อเจ้อ
    ชีวิตวุ่นวายผิดปกติ มีปัญหาในเรื่องการทำมาหากิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาการเงิน-การค้า เครียดผิดปกติ
    พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า สิ่งที่เป็นอจินไตยมีอยู่ 4 ประการด้วยกันคือ
    1. วิสัยของพระพุทธเจ้า
    2. ความคิดเรื่องการสร้างโลก
    3. วิสัยของผู้มีฤทธิ์
    4. กฏแห่งกรรม

    คำว่า “ อจินไตย ” แปลว่า ไม่ควรคิด แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คิด ซึ่งเท่ากับเป็นการปิดกั้นไม่ให้ใช้ปัญญา ความจริงแล้วพระพุทธเจ้าท่านไม่ให้คิดด้วยหลักของตรรกศาสตร์ เนื่องจากการคิดแบบนี้เป็นการคิดแบบอนุมาน คือ คาดคะเน ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความผิดพลาดได้ง่าย เพราะอาศัยพื้นฐานความรู้ที่เกิดจากอายตนะภายนอกที่เป็นประสาทสัมผัส คือ ตาเห็น หูได้ยิน เป็นต้น
    แต่ความเป็นจริงแล้ว เรื่องราวในโลกนี้เป็นความจริง ทั้งที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยประสาทสัมผัส และที่อยู่นอกเหนือประสาทสัมผัส เช่น เรื่องราวในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฎิหาริย์ และ กฎแห่งกรรม ที่เป็นความจริงที่ไม่อาจสามารถพิสูจน์ได้เพียงประสาทสัมผัสเท่านั้น แต่จะต้องมีความรู้ที่นอกเหนือพิเศษจากประสาทสัมผัสธรรมดา คือ อภิญญาด้วย จึงจะสามารถพิสูจน์ได้ คำว่า “อภิญญา” แปลว่า ความรู้ยิ่งยวด มี 6 อย่างด้วยกันคือ อิทธิวิธี ทิพยโสต เจโตปริยญาณ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ
    ดังนั้นแม้ว่า “กรรม” จะส่งผลต่อสุขภาพร่างกายหรือธาตุขันธ์ในความเป็นมนุษย์ จนเกิดเวทนาอย่างแรงกล้า เราก็ต้องอดทนและต้องเข้าใจว่า”สัตย์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม” แต่ไม่ได้หมายความว่า เราจะงอมืองอเท้ารอรับ “ชะตากรรม” แต่เพียงอย่างเดียว จนกลายเป็นคนสิ้นคิดไม่หาหนทางแก้ไขชีวิตของตนให้ดีขึ้น ถ้าเป็นเช่นนั้นท่านก็คงเสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์อันประเสริฐเสียแล้ว ดังนั้นถึงแม้จะมองไม่เห็นทางก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะยอมจำนนต่อกรรมนั้นเอาง่าย ๆ เราจะต้องพยายามหาหนทางแก้ไขให้ดียิ่งขึ้นให้ได้ วิธีการเบื้องต้นง่าย ๆ ก็คือ การสร้างกรรมใหม่เพื่อเบี่ยงเบนกรรมเก่าที่กำลังให้ผลให้อ่อนตัวลงไป
    ถ้าวันหนึ่งวันใดชีวิตของเราต้องผกผันตกต่ำ ด้อยโอกาสในวาสนาบารมี จะได้ไม่เกิดท้อใจ จนย่อหย่อนในการดำเนินชีวิต ปล่อยชีวิตให้ระหกระเหินตกต่ำโดยไม่คิดสู้ ยิ่งมีวิบากกรรมมากทุกข์ทรมานมาก ก็ยิ่งต้องดิ้นรนให้มาก หาทางสร้างคุณงามความดีชดเชยให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเหล่านั้น เพราะถ้าเป็นกรรมที่เบาบางก็อาจหายไปได้ ถ้าเป็นกรรมหนักก็จะบรรเทาเบาบางลงไป

    </td></tr></tbody></table>
     

แชร์หน้านี้

Loading...