เรื่องเด่น การน้อมใจฟังอนุปุพพีกถาทำให้จิตปราศจากนิวรณ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 7 พฤษภาคม 2021.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    ?temp_hash=9411cc24974b30f011f31df602b11ace.jpg




    การน้อมใจฟังอนุปุพพีกถาทำให้จิตปราศจากนิวรณ์

    *************
    [๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ชายคนหนึ่งชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้ายากไร้
    วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นหมู่มหาชนนั้นนั่งประชุมกันแต่ที่ไกล ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายกำลังแจกของเคี้ยวหรือของบริโภค ในที่นี้เป็นแน่ ทางที่ดีเราควรเข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น พึงได้ของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้บ้าง”
    ลำดับนั้น ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายคงไม่แจกของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้ พระสมณโคดมนี้แสดงธรรมในบริษัท ทางที่ดีเราควรฟังธรรมบ้าง”
    จึงนั่งลง ณ ที่สมควรในที่นั้น ด้วยตั้งใจว่า “เราจักฟังธรรม”
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดจิตของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วยพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
    จึงทรงพระดำริดังนี้ว่า “ในบริษัทนี้ชายคนนี้แลควรรู้แจ้งธรรม” พระองค์ทรงปรารภชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ จึงตรัสอนุปุพพีกถา คือ ทรงประกาศ
    ๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
    ๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
    ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
    ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
    ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)

    เมื่อทรงทราบว่าชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะมีจิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดแก่ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี

    ครั้งนั้นแล ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรมหยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    เมื่อชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้ฟังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็ชื่นชมยินดีพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    จึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทแล้วลุกขึ้นทำประทักษิณจากไป ทันใดนั้นเองโคแม่ลูกอ่อนได้ขวิดชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้จากไปไม่นานจนล้มลงเสียชีวิต
    ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้ได้ฟังพระดำรัสที่พระองค์ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจ
    ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เขาเสียชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก เพราะธรรมเป็นเหตุ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
    ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชายชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้า ยากไร้ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบุตรเศรษฐีในกรุงราชคฤห์นี้เอง เขาออกไปยังสวนสาธารณะ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธะนามว่าตครสิขี กำลังเดินบิณฑบาตในพระนคร เขาครั้นเห็นแล้ว จึงได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ใครนี้ เป็นโรคเรื้อนห่มผ้าสกปรกเที่ยวไป’ แล้วถ่มน้ำลายเดินแซงไปทางด้านซ้าย เพราะผลแห่งกรรมนั้น เขาไหม้อยู่ในนรกหลาย ๑๐๐ หลาย ๑,๐๐๐ หลาย ๑๐๐,๐๐๐ ปี เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึงเกิดเป็นชายโรคเรื้อน ยากจน กำพร้า ยากไร้ในกรุงราชคฤห์นี้เอง
    เขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว ยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เขาครั้นได้อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้วยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ และรุ่งโรจน์เหนือกว่าเทวดาเหล่าอื่น ในชั้นดาวดึงส์นั้น ด้วยวรรณะและยศ-”
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
    บัณฑิตในโลกนี้ เมื่อยังมีความบากบั่นอยู่
    ควรละเว้นบาปทุกอย่าง
    เหมือนคนตาดีละเว้นทางขรุขระ ฉะนั้น
    ****************
    สุปปพุทธกุฏฐิสูตร ขุททกนิกาย อุทาน
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=78
    บทว่า ตสฺมึเยว อาสเน ได้แก่ ในที่นั่งนั้นนั่นเอง.
    ด้วยคำนี้ เป็นอันทรงแสดงถึงความที่สุปปพุทธกุฏฐินั้นมีความเห็นแจ้งได้เร็ว
    มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบุคคล.
    .....................
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112
    หมายเหตุ อนุปุพพิกถา หมายถึง พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่แสดงไปตามลำดับ เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้เป็นจิตที่เหมาะสมพร้อมเข้าใจอริยสัจ ๔ โดยเฉพาะฆราวาสผู้ครองเรือนที่ยังเป็นผู้บริโภคกามคุณอยู่ ให้ได้เห็นโทษภัยของกามคุณ แล้วเกิดสลดใจ ต้องการหาทางออกจากกามคุณนั้น
    เมื่อฟังอนุปุพพิกถาจบแล้ว จิตจะมีลักษณะ ๕ ประการ คือ เป็นจิตที่ควร (กลฺลจิตฺตํ), อ่อน (มุทุจิตฺตํ), ปราศจากนิวรณ์ (วินีวรณจิตฺตํ) เบิกบาน (อุทคฺคจิตฺตํ), ผ่องใส (ปสนฺนจิตฺตํ)
    จิตในลักษณะเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ควรแก่การงาน คือ จิตเป็นที่ตั้งแห่งการงาน อธิบายว่า เป็นจิตที่เหมาะแก่การงาน โดยเข้าถึงภาวะเป็นที่รองรับเทศนาที่ทรงประกาศไว้ในเบื้องต่ำ และเทศนาเบื้องสูง เพราะปราศจากโทษแห่งจิต มีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
    ๒. มุทุจิตฺตํ มีจิตอ่อน เพราะปราศจากกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ มีจิตปราศจากนิวรณ์ เพราะปราศจากนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ มีจิตเบิกบาน เพราะประกอบด้วยปีติและปราโมทย์อย่างยิ่งในสัมมาปฏิบัติ
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ มีจิตผ่องใส เพราะสมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัตินั้น
    อธิบายอีกอย่างว่า ลักษณะจิตทั้ง ๕ ประการนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ๕ ดังนี้
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่มีโรค เพราะปราศจากกามฉันทนิวรณ์.
    ๒. มุทุจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่แข็งกระด้าง ด้วยอำนาจเมตตา เพราะปราศจากพยาบาท.
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ไม่ถูกปิดกั้น เพราะไม่ฟุ้งซ่าน โดยปราศจากอุทธัจจะและกุกกุจจนิวรณ์.
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่หดหู่ ด้วยอำนาจประคองไว้ โดยปราศจากถีนมิทธนิวรณ์.
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่น้อมไปในสัมมาปฏิบัติ โดยปราศจากวิจิกิจฉานิวรณ์.
    ........
    ดูรายละเอียดใน อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112
    XJRkYEWdNTFw4KqC94PA5Exo&_nc_ohc=GrAyUJVTL6UAX_Nwn2d&tn=P27Tlt0CVV-S3e-X&_nc_ht=scontent.fbkk2-6.jpg

    https://web.facebook.com/TipitakaStudies/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    ?temp_hash=21511355221d395b5e957a2d66a1d459.jpg


    ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ เมื่อได้ฟังอนุปุพพีกถา และอริยสัจ ๔ จากพระพุทธเจ้า จึงบรรลุเป็นพระโสดาบันในขณะที่นั่งฟังธรรมนั่นเอง เพราะท่านมีความเห็นแจ้งได้เร็ว มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบุคคล.
    *************
    [๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน เขตกรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ชายคนหนึ่งชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้ายากไร้
    วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นหมู่มหาชนนั้นนั่งประชุมกันแต่ที่ไกล ได้มีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายกำลังแจกของเคี้ยวหรือของบริโภค ในที่นี้เป็นแน่ ทางที่ดีเราควรเข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น พึงได้ของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้บ้าง”
    ลำดับนั้น ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เข้าไปยังหมู่มหาชนนั้น ได้เห็นพระผู้มีพระภาคมีบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ จึงมีความคิดดังนี้ว่า “ชนทั้งหลายคงไม่แจกของเคี้ยวหรือของบริโภคในที่นี้ พระสมณโคดมนี้แสดงธรรมในบริษัท ทางที่ดีเราควรฟังธรรมบ้าง”
    จึงนั่งลง ณ ที่สมควรในที่นั้น ด้วยตั้งใจว่า “เราจักฟังธรรม”
    ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคทรงมนสิการกำหนดจิตของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วยพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรรู้แจ้งธรรม พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น
    จึงทรงพระดำริดังนี้ว่า “ในบริษัทนี้ชายคนนี้แลควรรู้แจ้งธรรม” พระองค์ทรงปรารภชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ จึงตรัสอนุปุพพีกถา คือ ทรงประกาศ
    ๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
    ๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
    ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
    ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
    ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม)
    เมื่อทรงทราบว่าชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะมีจิตควรบรรลุธรรม สงบ อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกเทศนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันไร้ธุลี ปราศจากมลทิน
    ได้เกิดแก่ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ ณ ที่นั่งนั้นนั่นเองว่า ‘สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา’ เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี
    ครั้งนั้นแล ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้เห็นธรรม บรรลุธรรม รู้ธรรมหยั่งลงสู่ธรรม ข้ามพ้นความสงสัย ปราศจากความเคลือบแคลง ถึงความแกล้วกล้า ปราศจากความมีผู้อื่นเป็นปัจจัย ในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด
    บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด โดยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต”
    เมื่อชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะได้ฟังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้วก็ชื่นชมยินดีพระภาษิตที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
    จึงลุกจากที่นั่ง ถวายอภิวาทแล้วลุกขึ้นทำประทักษิณจากไป ทันใดนั้นเองโคแม่ลูกอ่อนได้ขวิดชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้จากไปไม่นานจนล้มลงเสียชีวิต
    ลำดับนั้น ภิกษุจำนวนมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะผู้ได้ฟังพระดำรัสที่พระองค์ทรงชี้แจงให้เห็นชัด ชวนใจ
    ให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถา เขาเสียชีวิตแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบาก เพราะธรรมเป็นเหตุ ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะ เป็นโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
    ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ ในวันข้างหน้า”
    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ชายชื่อสุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน ยากจน กำพร้า ยากไร้ พระพุทธเจ้าข้า”
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ชายโรคเรื้อนชื่อสุปปพุทธะเป็นบุตรเศรษฐีในกรุงราชคฤห์นี้เอง เขาออกไปยังสวนสาธารณะ ได้เห็นพระปัจเจกพุทธะนามว่าตครสิขี กำลังเดินบิณฑบาตในพระนคร เขาครั้นเห็นแล้ว จึงได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ใครนี้ เป็นโรคเรื้อนห่มผ้าสกปรกเที่ยวไป’ แล้วถ่มน้ำลายเดินแซงไปทางด้านซ้าย เพราะผลแห่งกรรมนั้น เขาไหม้อยู่ในนรกหลาย ๑๐๐ หลาย ๑,๐๐๐ หลาย ๑๐๐,๐๐๐ ปี เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้นยังเหลืออยู่ เขาจึงเกิดเป็นชายโรคเรื้อน ยากจน กำพร้า ยากไร้ในกรุงราชคฤห์นี้เอง
    เขาอาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้ว ยึดมั่น ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เขาครั้นได้อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศไว้แล้วยึดมั่นศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา หลังจากตายแล้ว เขาจึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ และรุ่งโรจน์เหนือกว่าเทวดาเหล่าอื่น ในชั้นดาวดึงส์นั้น ด้วยวรรณะและยศ-”
    ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
    บัณฑิตในโลกนี้ เมื่อยังมีความบากบั่นอยู่
    ควรละเว้นบาปทุกอย่าง
    เหมือนคนตาดีละเว้นทางขรุขระ ฉะนั้น
    ****************
    สุปปพุทธกุฏฐิสูตร ขุททกนิกาย อุทาน
    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=25&siri=78
    บทว่า ตสฺมึเยว อาสเน ได้แก่ ในที่นั่งนั้นนั่นเอง.
    ด้วยคำนี้ เป็นอันทรงแสดงถึงความที่สุปปพุทธกุฏฐินั้นมีความเห็นแจ้งได้เร็ว
    มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญาบุคคล.
    .....................
    ข้อความบางตอนในอรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112
    หมายเหตุ อนุปุพพิกถา หมายถึง พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่แสดงไปตามลำดับ เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้เป็นจิตที่เหมาะสมพร้อมเข้าใจอริยสัจ ๔ โดยเฉพาะฆราวาสผู้ครองเรือนที่ยังเป็นผู้บริโภคกามคุณอยู่ ให้ได้เห็นโทษภัยของกามคุณ แล้วเกิดสลดใจ ต้องการหาทางออกจากกามคุณนั้น
    เมื่อฟังอนุปุพพิกถาจบแล้ว จิตจะมีลักษณะ ๕ ประการ คือ เป็นจิตที่ควร (กลฺลจิตฺตํ), อ่อน (มุทุจิตฺตํ), ปราศจากนิวรณ์ (วินีวรณจิตฺตํ) เบิกบาน (อุทคฺคจิตฺตํ), ผ่องใส (ปสนฺนจิตฺตํ)
    จิตในลักษณะเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ควรแก่การงาน คือ จิตเป็นที่ตั้งแห่งการงาน อธิบายว่า เป็นจิตที่เหมาะแก่การงาน โดยเข้าถึงภาวะเป็นที่รองรับเทศนาที่ทรงประกาศไว้ในเบื้องต่ำ และเทศนาเบื้องสูง เพราะปราศจากโทษแห่งจิต มีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
    ๒. มุทุจิตฺตํ มีจิตอ่อน เพราะปราศจากกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ มีจิตปราศจากนิวรณ์ เพราะปราศจากนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ มีจิตเบิกบาน เพราะประกอบด้วยปีติและปราโมทย์อย่างยิ่งในสัมมาปฏิบัติ
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ มีจิตผ่องใส เพราะสมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัตินั้น
    อธิบายอีกอย่างว่า ลักษณะจิตทั้ง ๕ ประการนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ๕ ดังนี้
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่มีโรค เพราะปราศจากกามฉันทนิวรณ์.
    ๒. มุทุจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่แข็งกระด้าง ด้วยอำนาจเมตตา เพราะปราศจากพยาบาท.
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ไม่ถูกปิดกั้น เพราะไม่ฟุ้งซ่าน โดยปราศจากอุทธัจจะและกุกกุจจนิวรณ์.
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่หดหู่ ด้วยอำนาจประคองไว้ โดยปราศจากถีนมิทธนิวรณ์.
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่น้อมไปในสัมมาปฏิบัติ โดยปราศจากวิจิกิจฉานิวรณ์.
    ........
    ดูรายละเอียดใน อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112

    *******************************************

    https://web.facebook.com/TipitakaSt...jlSAHsEGa9EMMExbW5CJ4YmF41kQ&__tn__=-UC,P-y-R
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    #อนุปุพพิกถา
    .............
    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ
    ทรงประกาศ
    ๑. ทานกถา (เรื่องทาน)
    ๒. สีลกถา (เรื่องศีล)
    ๓. สัคคกถา (เรื่องสวรรค์)
    ๔. กามาทีนวกถา (เรื่องโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมองแห่งกาม)
    ๕. เนกขัมมานิสังสกถา (เรื่องอานิสงส์แห่งการออกจากกาม) แก่ยสกุลบุตร
    ผู้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร
    เมื่อทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบาน ผ่องใส จึงทรงประกาศสามุกกังสิกธรรมเทศนา ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    .........
    ข้อความบางตอนในเรื่องยสกุลบุตร ปัพพัชชากถา วินัยปิฎก มหาวรรค http://www.84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=4&siri=13
    หมายเหตุ อนุปุพพิกถา หมายถึง พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่แสดงไปตามลำดับ เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้เป็นจิตที่เหมาะสมพร้อมเข้าใจอริยสัจ ๔ โดยเฉพาะฆราวาสผู้ครองเรือนที่ยังเป็นผู้บริโภคกามคุณอยู่ ให้ได้เห็นโทษภัยของกามคุณ แล้วเกิดสลดใจ ต้องการหาทางออกจากกามคุณนั้น
    เมื่อฟังอนุปุพพิกถาจบแล้ว จิตจะมีลักษณะ ๕ ประการ คือ เป็นจิตที่ควร (กลฺลจิตฺตํ), อ่อน (มุทุจิตฺตํ), ปราศจากนิวรณ์ (วินีวรณจิตฺตํ) เบิกบาน (อุทคฺคจิตฺตํ), ผ่องใส (ปสนฺนจิตฺตํ)
    จิตในลักษณะเหล่านี้พระอรรถกถาจารย์อธิบายว่า
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ควรแก่การงาน คือ จิตเป็นที่ตั้งแห่งการงาน อธิบายว่า เป็นจิตที่เหมาะแก่การงาน โดยเข้าถึงภาวะเป็นที่รองรับเทศนาที่ทรงประกาศไว้ในเบื้องต่ำ และเทศนาเบื้องสูง เพราะปราศจากโทษแห่งจิต มีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น.
    ๒. มุทุจิตฺตํ มีจิตอ่อน เพราะปราศจากกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ มีจิตปราศจากนิวรณ์ เพราะปราศจากนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ มีจิตเบิกบาน เพราะประกอบด้วยปีติและปราโมทย์อย่างยิ่งในสัมมาปฏิบัติ
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ มีจิตผ่องใส เพราะสมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัตินั้น
    อธิบายอีกอย่างว่า ลักษณะจิตทั้ง ๕ ประการนั้นเป็นจิตที่ปราศจากนิวรณ์ ๕ ดังนี้
    ๑. กลฺยจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่มีโรค เพราะปราศจากกามฉันทนิวรณ์.
    ๒. มุทุจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่แข็งกระด้าง ด้วยอำนาจเมตตา เพราะปราศจากพยาบาท.
    ๓. วินีวรณจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่ไม่ถูกปิดกั้น เพราะไม่ฟุ้งซ่าน โดยปราศจากอุทธัจจะและกุกกุจจนิวรณ์.
    ๔. อุทคฺคจิตฺตํ ได้แก่ จิตไม่หดหู่ ด้วยอำนาจประคองไว้ โดยปราศจากถีนมิทธนิวรณ์.
    ๕. ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่ จิตที่น้อมไปในสัมมาปฏิบัติ โดยปราศจากวิจิกิจฉานิวรณ์.
    ........
    ดูรายละเอียดใน อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร
    https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=112

    _oc=AQn5kBdMpoFQgjFE0a0RxPVAIgnapeCB6BCuw0kgF0rLGnUNOAC9ZsVAP3KRwflBUr0&_nc_ht=scontent.fbkk22-4.jpg
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...