การปฏิบัติจะทำแบบไหนดี มีหลายแนวๆ ไหนถึงจะดี ?

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย tamsak, 31 กรกฎาคม 2008.

แท็ก:
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    ถาม : การปฏิบัติจะทำแบบไหนดี มีหลายแนวๆ ไหนถึงจะดี ?

    ตอบ : จะยังไงดี แนวไหนมันก็ได้ผลดี พระพุทธเจ้าท่านสอนแต่ของจริง ถ้าทำได้จริงสำคัญอยู่ที่ว่าเราจริงหรือเปล่า ? ตรงนั้นสำคัญที่สุด แล้วคิดจะเอาแนวไหนดี สำคัญตรงที่เราทำ แนวไหนก็ได้ว่าไปเถอะ ไม่ถูกใจเปลี่ยนก็ได้ ยังทัน แนวการปฏิบัติมันเป็นไปตามวิสัย ความชอบของแต่ละคน มี สุกขวิปัสสโก ประเภทไปเรียบๆ ง่ายๆ ใครว่ายังไงก็โอเค เตวิชโช ก็ขี้สงสัยหน่อยๆ ฉฬภิญโญอันนี้ไม่ขี้สงสัยนิดหน่อยหรอก รื้อเลย ส่วน ปฏิสัมภิทัปปัตโต นี่ไม่รื้อเฉยๆ หรอก แยกเลย ทำวิจัยอีกต่างหาก ก็นึกเอาว่านิสัยเราชอบแบบไหนก็เอาอันนั้นล่ะ ?

    ถาม : แล้วแบบชอบลองเล่นโน่นเล่นนี่ ?

    ตอบ : อย่างนี้วิสัยของอภิญญาแล้ว ปฏิสัมภิทาญาณนั้นความสามารถพิเศษ ครอบอภิญญาไปด้วย

    ถาม : สมมติว่าปฏิบัติธรรมดาแล้วเวลาได้ผลนี่ ผลที่ได้มันจะมีผลแบบนั้นไปด้วยมั้ยครับ ?

    ตอบ : ถ้าพื้นฐานเดิมในอดีตมีมา อดีตนี่ไม่ใช่ชาตินี้นะ ชาติที่แล้วๆ มา ถ้าพื้นฐานในอดีตมีมาแบบไหนผลจะเป็นแบบนั้น พวกนี้จริงๆ แล้วเรียกว่าของแถมดีกว่า เพราะว่าหลักการปฏิบัติจริงๆ พระพุทธเจ้าท่านสอนเราก็คือให้อยู่สุขในปัจจุบัน ปัจจุบันถ้ากำลังใจทรงตัวสมาธิมีเราเองก็จะเป็นผู้มีสติ อยู่ในท่ามกลางความวุ่นวายอย่างสงบ มีความสุขในปัจจุบันนี้ และถ้าหากว่าทรงความดีเอาไว้ เมื่อตายไปเป็น พรหม เทวดา หรือเข้านิพพานไปนั่นคือความสุขในอนาคต อันนี้คือหลักการจริงๆ ว่าเพื่อความสุขในปัจจุบันและความสุขในอนาคต แต่ว่าความสามารถพิเศษต่างๆ มันเป็นของแถมซื้อรถต้องมีล้อ ถึงเวลาเราต้องการรถไม่ได้ต้องการล้อ มันก็ให้ล้อมา มันเป็นซะอย่างนั้น

    เพราะอย่างนั้นของแถมพวกนี้เวลามันเกิดขึ้นมาแล้ว มันแปลก สังเกตมั้ยอะไรที่มีของแถมคนชอบซื้อ ของแถมนี่ก็เหมือนกันมันเกิดขึ้นก็ไปสนุกอยู่กับมัน ไอ้ไปสนุกอยู่กับมันนั่นมันเป็นหลงผิดทาง เขาจะล่อเราเหมือนกับหลอกเด็ก เอาของไปให้เล่นก็เงียบไม่ซน เราต้องการจะไปตรงโน้นแล้ว เขาล่อเราให้ติดอยู่ตรงนี้ก็จะผิดจุดมุ่งหมายไปเพราะฉะนั้นก็อย่าเผลอไปติดของแถมมันมากนัก

    ถาม : อย่างนี้ผู้ปฏิบัติง่ายๆ จะสบายกว่าใช่มั้ยครับ ?

    ตอบ : ยากกว่า เพราะว่าสิ่งล่อใจมันไม่มี มันเหมือนกับคนเราเข้าร้านก๋วยเตี๋ยวเขาส่งมาให้ ลองไม่เติมอะไรดูสิ เจอไม่มีทีก็เซ็งแล้วใช่มั้ย ? เพราะฉะนั้น สุกขวิปัสสโก จริงๆ แล้วทำยากที่สุด เพราะสิ่งล่อใจอื่นๆ ทำให้เราสนตื่นเต้นมันไม่ค่อยมี

    ถาม : เคยอ่านตำราว่าระบบฌานนี่จะได้ผลดี เพราะว่าจะมีอารมณ์จิต ?

    ตอบ : จริงๆ แล้ว ฌานนี่เป็นการเพาะกำลัง สำคัญตรงปัญญาที่เอาฌานไปใช้ ถ้าปัญญาไม่ถึงไม่เป็นก็เท่านั้นล่ะ มันเหมือนกับเพาะกายมาซะล่ำบึก ตัวใหญ่ยังกับนักมวยปล้ำฝรั่งแต่ว่าเอาแรงมาใช้ไม่เป็นก็เท่านั้นล่ะ ฌานเป็นการเพาะกำลังเอาไว้ ถ้าปัญญาเพียงพอใช้เป็นก็จะได้ผลเร็ว แต่ถ้าหากว่าเราไม่สามารถจะเอาไปใช้ได้ก็เหมือนกับว่าเป็นคนมีแต่แรงเฉยๆ ก็จะไปติดอยู่ในระดับนั้นก็คือว่า กลายเป็นติดอยู่ในรูปฌาน อย่างเก่งก็เกิดเป็นรูปพรหม เป็นพรหมไม่ใช่ดีนะ ดีมากเลย แต่มันหนีทุกข์ได้ชั่วคราวไม่ช้าไม่นานก็กลับมาเดือดร้อนกับมันใหม่

    ถาม : มันมีแบบสุขวิปัสสโก มันจะได้ฌานพร้อมกับภาวะนั้นเลยใช่มั้ยครับ ?

    ตอบ : ถ้าหากว่าได้เป็นพระโสดาบันตอนนั้นก็จะทรงปฐมฌานได้ตัดกิเลส สุกขวิปัสสโกนี่มีกำลังของฌานสมาบัติ ๘ เหมือนกัน แต่ว่ากำลังอันนั้นไม่ได้หรูหราฟู่ฟ่าแบบประเภทมีอิทธิฤทธิ์แบบคนอื่นเขา แต่มีกำลังจากการที่พิจารณาจนกำลังทรงตัวเป็นฌานไปเอง พอทรงตัวเป็นฌานเป็นเครื่องช่วย แต่สุกขวิปัสสโกนี่เป็นการบรรลุเขาเรียกว่า บรรลุแบบปัญญาวิมุติ ปัญญาวิมุติคือใช้ปัญญาพิจารณาธรรม การพิจารณามันได้เปรียบตรงที่ว่า พิจารณาไปเรื่อยๆ แล้วกำลังของการพิจารณามันจะทรงตัว สมาธิมันดิ่งลึกเข้าไปเป็นฌานโดยไม่รู้ตัว

    ถาม : พอเรากำหนดจนจิตดิ่งแล้วเรากระดุกกระดิกตัวไม่ได้เลยคะ ?

    ตอบ : ตอนนั้นจิตกับประสาทร่างกายมันเริ่มแยกเป็นคนละส่วนกันบังคับมันยากแล้ว

    ถาม : แล้วพอมันดิ่งปุ๊บสภาพจิตกับกายมันแยกกันทันที ไม่ทราบว่า ?

    ตอบ : อันนั้นเราเริ่มคล่องในจุดนี้ แต่ถ้าเราต้องการความคล่องตัวมากกว่านี้เราต้องใช้ในลักษณะใช้งาน คือบังคับร่างกายให้ทำงานได้ด้วย ในช่วงชีวิตที่ผ่านมาที่อัศจารย์ที่สุดต้องนับ หลวงปู่ชุ่ม วัดวังมุย หรือ วัดชัยมงคลที่ลำพูน ปกติแล้วพระระดับหลวงปู่นั้นถ้าหากว่าเข้านิโรธสมาบัติ เท่าที่เคยปรากฏแล้วมีอริยาบถเดียว ไม่นั่งก็จะนอน หลวงปู่ชุ่มเข้าได้ ๔ อริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอนได้หมด ทีนี้ยืน นั่ง นอนเราไม่แปลกใจมันอยู่กับที่ แต่ใสภาพที่จิตกับประสาทแยกจากกันท่านบังคับสภาพร่างกายให้ยืนกับเดินได้อย่างไร ของเรามันทำไม่ถึงจุดนั้น มันจะเป็นการใช้กำลังอภิญญาอธิษฐานทับไว้ก่อนหรือเปล่าก็ไม่รู้ เพราะหลวงปู่มรณภาพไปแล้วไม่ได้ตามไปถาม แต่ท่านทำได้จริงๆ

    ถาม : แล้วการที่ทำอยู่ตอนนี้ ภาวะร่างกายมันไม่ได้....?

    ตอบ : หัดใหม่จ้าหัดใหม่ ต่อไปหัดเดินจงกรมแล้วทรงอารมณ์ก่อน ถ้าจับลม ๓ ฐานแล้วก้าวเดินได้ต่อไปจะสานต่อให้ สมัยที่อยู่วัดท่าซุงสอนน้องๆ แล้วมันโวยวายกันขรมเลย เพราะจับลม ๓ ฐานปุ๊บนี้ จิตกับประสาทมันแยกออกจากกัน เดินๆ ไปมันค้างเติ่ง ก้าวต่อไม่ได้ เดินให้คล่องก่อนแล้วเดี๋ยวจะบอกให้ มันจะหยุดเองโดยอัตโนมัติเพราะเรายังไม่ชิน ตอนแรกเขาก็แปลกใจว่าทำไมเราทำอะไรหลายๆ อย่างได้พร้อมกันก็เริ่มต้นอย่างนี้ ถึงเวลาคุณภาวนาแล้วจับลม ๓ ฐานก่อน ถ้าหากว่าคุณทำได้เดี๋ยวผมจะสอนต่อให้ พอเขาทำเสร็จมาโวยวายว่าเราหลอกเขา ความจริงเราไม่ได้หลอก เราทำแบบนั้นมาก่อนจริงๆ



    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


    .
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 2 ตุลาคม 2013
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...