ขอสอบถามวิธีภาวนาคาถาเงินล้านให้เป็นสมาธิครับ

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย samransom, 7 ตุลาคม 2016.

  1. samransom

    samransom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +81
    คือว่าผมสงสัยความนี้ครับ "เวลาหายใจเข้า นึกถึงคาถาเงินล้านที่เราภาวนา ไหลตามลมหายใจเข้าไป จนสุดลมหายใจของเรา ให้อยู่ตรงนั้น" เพราะว่าคาถามันยาว ความหมายคือให้หายใจเข้าภาวนาคนจบคาถา หายใจออกจนจบคาถาใช่หรือไม่ครับ ใครมีวิธีภาวนาบ้างครับสงสัย ส่วนมากผลหายในเข้า ออกภาวนาที่ละคำสองคำจนจบเริ่มใหม่ไปเลื่อยๆ ครับ

    ขอคำชี้แนะให้เกิดปัญญาหน่อยครับ
     
  2. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    โยมสับสนแยกไม่ออก เรื่องการคาบลม...ในการใช้มนต์คาถา ซึ่งมีการผูกบริกรรมคาถาร่วมกับการหายใจเข้าออก ซึ่งงคาถาจะยาวสั้นไม่เท่ากัน และไม่เหมาะกับคาถาเงินล้านซึ่งยาว จะนับเป็น คาบลำบากไม่สัมฤทธิ์ผลให้สามารถบริกรรมจนเป็นฌานเพราะมัวแต่ไปวุ่นวายกำกับคาถากับลมหายใจ...

    พระไตรปิฎก ภาษาไทย (ฉบับหลวง) เล่มที่ ๑๘
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
    หน้าที่ ๒๓๑
    [๓๙๒] ดูกรภิกษุ ก็ลำดับนั้นแล เรากล่าวความดับสนิทแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ คือ เมื่อภิกษุเข้าปฐมฌาน วาจาย่อมดับ เมื่อเข้าทุติยฌานวิตกวิจารย่อมดับ เมื่อเข้าตติยฌาน ปีติย่อมดับ เมื่อเข้าจตุตถฌาน ลมอัสสาสะปัสสาสะย่อมดับ


    การกำหนดรู้ลมเรียกว่า อานาปานสติมีเฉพาะในพุทธศาสนาเท่านั้นโลกอื่นศาสนาอื่นไม่มี ไม่เหมาะกับคำบริกรรมยาว ๆ ทำให้จิตตั้งมั่นลำบาก

    จะภาวนาเงินล้านให้คาถาเป็นฌาน..ให้ทำตามนี้...ลมหายใจเข้าออกให้รู้..ลมเท่านั้น ไม่ให้ไปกำหนดลม...บริกรรมคาถาเงินล้านในใจที่ฐานจิตของตนที่ถนัด ที่จิตตั้งมั่นได้ชัดเจนอาทิ..:)-สายหลวงปู่มั่นโดยรวมๆ (กำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูก บริกรรมภาวนาควบคู่ไปกับ ลมหายใจ เข้า-ออก):-หลวงปู่ดู่ (กำหนดจิตไว้ที่กลางหน้าผาก):-หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม (กำหนดจิตไว้ที่กลางหน้าอก):-หลวงปู่คง วัดเขาสมโภชน์ (กำหนดจิตไว้ที่ลิ้นปี่):-สายหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ (กำหนดจิตไว้เหนือนสะดือสองนิ้ว):-สายยุบหนอพองหนอ (กำหนดจิตไว้ที่สะดือ)

    จิตบริกรรมคาถาเงินล้าน ที่ฐานของจิต มีสติตามรู้คาถาเงินล้านได้อย่างชัดเจน ไม่เผลอ หลงลืม จะรู้ลมเข้าออกด้วยหรือไม่ก็ได้ห้ามไปกำหนดลมเป็นมิจฉาสมาธิเพราะไปบังคับลมเเป็นสมุทัย เหตุแห่งทุกข์) ไม่ใช่มรรคหรือทางแห่งการภาวนาตามแนวพุทธหรือหากเจริญกรรมฐานทำสมาธิแล้วก่อนออกจากสมาธิ จิตมีพลังจิตสะสมเข็มแข็งแล้ว ค่อยภาวนาคาถาเงินล้าน ก็ได้.. หรือใช้มโนยิทธิ ภาวนาจากพรหมโลก หรือนิพพานก็สุดแต่กำลังใจ วาสนา บารมี....เจริญพร


    ศึกษาเพิ่มเติม..
    อยากสอบถามเรื่องการใช้พระคาถาเงินล้าน..
    �Ѵ�ѹ����� (��ҫا) - ��ҡ�ͺ�������ͧ��������ФҶ���Թ��ҹ���

    วิธีนี้ไม่แนะนำ...เนื่องจากไม่มีครูบาอาจารย์รับรอง
    KaRaWaDharma: วิธีสวดคาถาเงินล้านแบบไม่ให้จิตเคลื่อน หรือ ให้จิตทรงตัว
     
  3. samransom

    samransom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +81
    ขอกราบขอบพระคุณมากเลยครับที่ให้คำแนะนำ
     
  4. มงคล พิมพา

    มงคล พิมพา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    111
    ค่าพลัง:
    +184
    อาา มันไม่ใช่ของยากนา เพียงแค่คุณยังทำน้อยไปหน่อย เริ่มจากง่ายๆก่อนนะครับเริ่มแรกเลย ภาวไปโดยไม่กำหนดลมก่อนนะครับซักหนึ่งเดือนทำทั้งวันนะครับหรือว่างจากการคิดเรื่องงานเรื่องทำมาหากินปั๊บนึกได้ภาวนาเลย พอเริ่มชินกับคำภาวนาเป็นปรกติแล้ว ค่อยเริ่มจับลมหายใจไปด้วย สังเกตุดูนะครับเวลาเราภาวนาโดยไม่จับลมหายใจเราก็หายใจได้ปรกติใช่ไหมครับ พอจับลมหายใจปุ๊บก็ไม่ต้องบังคับสั้นยาวปล่อยตามธรรมชาติ พอจิตเราเริ่มละเอียดขึ้นมา ลมหายใจก็จะกลมกลืนไปกับคำภาวนานะครับ ไม่ยากทำอารมณ์สบายๆ ท่องไปเรื่อยอารมณ์ฌานก็อยู่ในนี้ละครับไม่ต้องถามหา
     
  5. samransom

    samransom Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +81
    สาธุ ขอบพระคุณครับ มีท่านใดจะเมตตาเพิ่มเติมอีก เชิญเลยครับ ขอขอบพระคุณมาก ๆเลยครับ
     
  6. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    กรรมฐาน 40 วิธี

    แบ่งออกเป็น 7 หมวด ดังนี้


    หมวดกสิน ๑๐
    เป็นการทำสมาธิด้วยวิธีการเพ่ง

    ๑. ปฐวีกสิน เพ่งธาตุดิน
    ๒. อาโปกสิณ เพ่งธาตุน้ำ
    ๓. เตโชกสิณ เพ่งไฟ
    ๔. วาโยกสิน เพ่งลม
    ๕. นีลกสิน เพ่งสีเขียว
    ๖. ปีตกสิน เพ่งสีเหลือง
    ๗. โลหิตกสิณ เพ่งสีแดง
    ๘. โอฑาตกสิณ เพ่งสีขาว
    ๙. อาโลกกสิณ เพ่งแสงสว่าง
    ๑๐. อากาศกสิณ เพ่งอากาศ



    หมวดอสุภกรรมฐาน ๑๐
    เป็นการตั้งอารมณ์ไว้ให้เห็นว่า ไม่มีอะไรสวยงดงาม มีแต่สิ่งสกปรกโสโครก น่าเกลียด

    ๑๑. อุทธุมาตกอสุภ ร่างกายของคนและสัตว์ที่ตายไปแล้ว นับแต่วันตายเป็นต้นไป มีร่างกายบวมขึ้น พองไปด้วยลม ขึ้นอืด
    ๑๒. วินีลกอสุภ วีนีลกะ แปลว่า สีเขียว
    เป็นร่างกายที่มีสีเขียว สีแดง สีขาว คละปนระคนกัน คือ มีสีแดงในที่มีเนื้อมาก มีสีขาวในที่มีน้ำเหลืองน้ำหนองมาก มีสีเขียวในที่มีผ้าคลุมไว้ ฉะนั้นตามร่างกายของผู้ตาย จึงมีสีเขียวมาก
    ๑๓. วิปุพพกอสุภกรรมฐาน เป็นซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลอยู่เป็นปกติ
    ๑๔. วิฉิททกอสุภ คือซากศพที่มีร่างกายขาดเป็นสองท่อนในท่ามกลางกาย
    ๑๕. วิกขายิตกอสุภ เป็นร่างกายของซากศพที่ถูกยื้อแย่งกัดกิน
    ๑๖. วิกขิตตกอสุภ เป็นซากศพที่ถูกทอดทิ้งไว้จนส่วนต่าง ๆ กระจัดกระจาย มีมือ แขน ขา ศีรษะ กระจัดพลัดพรากออกไปคนละทาง
    ๑๗. หตวิกขิตตกอสุภ คือ ซากศพที่ถูกสับฟันเป็นท่อนน้อยและท่อนใหญ่
    ๑๘. โลหิตกอสุภ คือ ซากศพที่มีเลือดไหลออกเป็นปกติ
    ๑๙. ปุฬุวกอสุภ คือ ซากศพที่เต็มไปด้วยตัวหนอนคลานกินอยู่
    ๒๐. อัฏฐิกอสุภ คือ ซากศพที่มีแต่กระดูก



    อนุสสติกรรมฐาน ๑๐
    อนุสสติ แปลว่า ตามระลึกถึง เมื่อเลือกปฏิบัติให้พอเหมาะแก่จริต จะได้ผลเป็นสมาธิมีอารมณ์ ตั้งมั่นได้รวดเร็ว

    ๒๑. พุทธานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ๒๒. ธัมมานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระธรรมเป็นอารมณ์
    ๒๓. สังฆานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    ๒๔. สีลานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงคุณศีลเป็นอารมณ์
    ๒๕. จาคานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงผลของการบริจาคเป็นอารมณ์
    ๒๖. เทวตานุสสติเป็นกรรมฐาน ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    ๒๗. มรณานุสสติกรรมฐาน ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    ๒๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในจาคะจริต
    ๒๙. อานาปานานุสสติกรรมฐาน เหมาะแก่ผู้ที่หนักไปในโมหะ และวิตกจริต
    ๓๐. อุปสมานุสสติกรรมฐาน ระลึกความสุขในพระนิพพานเป็นอารมณ์



    หมวดอาหาเรปฏิกูลสัญญา

    ๓๑. อาหาเรปฏิกูลสัญญา เพ่งอาหารให้เห็นเป็นของน่าเกลียด บริโภคเพื่อบำรุงร่างกาย ไม่บริโภคเพื่อสนองกิเลส

    หมวดจตุธาตุววัฏฐาน

    ๓๒. จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พิจารณาร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ



    หมวดพรหมวิหาร ๔
    พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม พรหมแปลว่าประเสริฐ
    พรหมวิหาร ๔ จึงแปลว่า คุณธรรม ๔ ประการ ที่ทำให้ผู้ประพฤติปฏิบัติเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่

    ๓๓. เมตตา คุมอารมณ์ไว้ตลอดวัน ให้มีความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกามารมณ์ เมตตาสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นทุกข์
    ๓๔. กรุณา ความสงสารปรานี มีประสงค์จะสงเคราะห์แก่ทั้งคนและสัตว์
    ๓๕. มุทิตา มีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี ไม่มีจิตริษยาเจือปน
    ๓๖. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย


    มวดอรูปฌาณ ๔
    เป็นการปล่อยอารมณ์ ไม่ยึดถืออะไร มีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุขประณีต ในฌานที่ได้ ผู้จะเจริญอรูปฌาณ ๔ ต้องเจริญฌานในกสินให้ได้ฌาณ ๔ เสียก่อน แล้วจึงเจริญอรูปฌาณจนจิตเป็นอุเบกขารมณ์

    ๓๗. อากาสานัญจายตนะ ถือ อากาศเป็นอารมณ์ จนวงอากาศเกิดเป็นนิมิตย่อใหญ่เล็กได้ ทรงจิตรักษาอากาศไว้ กำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    ๓๘. วิญญาณัญจายตนะ กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้ ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมด ต้องการจิตเท่านั้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
    ๓๙. อากิญจัญญายตนะ กำหนดความไม่มีอะไรเลย อากาศไม่มี วิญญาณก็ไม่มี ถ้ามีอะไรสักหน่อยหนึ่งก็เป็นเหตุของภยันตราย ไม่ยึดถืออะไรจนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์
    ๔๐. เนวสัญญานาสัญญายตนะ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งที่มีสัญญาอยู่ก็ทำเหมือนไม่มี ไม่รับอารมณ์ใด ๆ จะหนาว ร้อนก็รู้แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย ปล่อยตามเรื่อง เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์
     
  7. เทพคาถา

    เทพคาถา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    231
    ค่าพลัง:
    +374
    ผมไม่ค่อยรู้เรื่องความหมาย ของสมาธิมากนัก
    ผมจึงcopy มาให้ดูเผื่อจะเพิ่ม ความรู้เรื่องเกี่ยวกับสมาธิ
    แด่ผู้มาอ่านและตัวผมเอง

    การจะฝึกจะทำอะไรก็ต้องทำความเข้าใจให้ชัดก่อน
    เมื่อเข้าใจอย่างดีแล้วจึงลงมือทำ จะได้ไม่เสียเวลา
    ไปโดยเปล่าประโยชน์ ยอมเสียเวลาสักนิค เพื่อเวลา
    อันมากมายในวันข้างหน้า
    จะได้ไม่เสียของ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 พฤศจิกายน 2016
  8. undfined

    undfined เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +240
    ปกติผมก็ภาวนาคู่กับลมหายใจนะครับ ภาวนาให้เป็นอิสระจากกันทั้งตัวคาถาและลมหายใจ

    แรกๆผมก็ภาวนาแต่ตัวคาถาแต่ไม่ได้ดูลมหายใจครับ เพราะยังไม่ชิน
    พอทำจนชินแล้วผมก็ดูลมหายใจไปด้วย

    เวลาภาวนาอย่าอยากนะครับ คือเราคิดซะว่าเรามีหน้าที่ภาวนาผลจะเป็นยังไงก็ช่าง ถ้าวางใจแบบนี้ได้สมาธิจะเกิดไวครับ ลองทำดูนะครับ
     
  9. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,261
    ตอบง่ายๆนะคะ
    ให้ยกเลิกวิธีที่ใช้เดิมๆก่อน เช่น หายใจเข้า - พุท หายใจออก - โธ
    เราไม่ใช้วิธีนี้กับคาถายาวๆ
    ให้ท่องคาถาในใจ แล้วให้รู้ลมหายใจเข้าออกเฉยๆค่ะ
    ตอนแรกถ้าทำไม่ได้ หรือยังจับไม่ได้ ก็ให้ท่องคาถาในใจก่อน
    พอมีสมาธิในตัวคาถาแล้วค่อย หันมารู้ลมหายใจเข้า-ออก
    คราวนี้จะทำได้เองค่ะ

    (ใช้ได้กับทุกคาถาที่ยาวๆนะคะ คาถามหาจักรพรรดิ์ ของหลวงปู่ดู่กับทำแบบนี้ได้เช่นกัน)
     
  10. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    สวดในใจ ไม่ต้องสนลมหายใจ
    ลิ้นกับปากอย่าขยับ ถ้าลืมตาทำตานิ่งๆ
    ถ้าหลับตาให้ใช้ตาปกติมองมาลิ้นปี่(สังเกตุตาพระพุทธรูป)

    ถ้าลืมตาสวด ทำตานิ่งๆ มองผ่านเหนือนิ้วชี้ซัก สองนิ้วมองออกไป
    ไกลๆ(ถ้าพนมมือไว้ด้วยนะครับ)ลิ้นกับปากก็ห้ามขยับ
    สังเกตุผลได้ ถ้าได้ผลเราจะสังเกตุเห็นการเปลี่ยนแปลง
    จากตัวเราและสภาพแวดล้อมรอบๆตัวเราได้เอง
    ด้วยตาเปล่าๆเรานี้หละ ใช้ได้เกือบทุกคาถา
    ถ้าจิตคุ้นเคยจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเร็วกว่า
    ที่เราจะนึกคำท่องพระคาถาคำแรกครับ
    ปล.พิสูจน์ได้ด้วยตัวเองครับ (^_^)
     
  11. สมิง สมิง สมิง

    สมิง สมิง สมิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2017
    โพสต์:
    1,135
    ค่าพลัง:
    +953
    (ช่วยเสริมนะครับ)
    ตอบ การภาวนาคาถาให้เป็นฌาน หรือจะเป็นบทสวด เช่น คาถาเงินล้าน บทสวดจักรพรรดิ์
    - ไม่ต้องกำหนดลมหายใจเข้า - ออก สวด ไปตามปกติ
    - เมื่อจิตสัมผัสพลังงานจากการสวด เช่น ขนลุก , มีอาการเย็น ๆ , มีอาการร้อน ๆ
    แสดงว่าเริ่มได้ผล
    - สวดเป็นฌาน คือ บทที่สวดนั้นมันผุดขึ้นมาจากจิตเราเอง เราทำใจให้สบาย สบาย
    บทสวดมันจะผุดขึ้นมาเอง (จะเกิดฤทธิ์ขึ้นมาไม่ว่าบุญญฤทธิ์และอิทธิฤทธิ์)
    ***อนุโมทนาบุญ***
     

แชร์หน้านี้

Loading...