ขันติและอธิวาสนะขันติเป็นธรรมะอันสำคัญ ที่ทุกคนจะต้องมี จึงจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยดี

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย Angle9, 26 เมษายน 2006.

  1. Angle9

    Angle9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    20
    ค่าพลัง:
    +135
    ขันติและอธิวาสนะขันติเป็นธรรมะอันสำคัญ ที่ทุกคนจะต้องมี จึงจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วย

    ขันติและอธิวาสนะขันติ*เป็นธรรมะอันสำคัญ ที่ทุกคนจะต้องมีจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยดี
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก<O:p</O:p
    วัดบวรนิเวศวิหาร<O:p</O:p
    บัดนี้ จักแสดงธรรมะเป็นเครื่องอบรมในการปฏิบัติอบรมจิต ในเบื้องต้นก็ขอให้ทุกๆท่านตั้งใจนอบน้อมนมัสการ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตั้งใจถึงพระองค์พร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ตั้งใจสำรวมกายวาจาใจให้เป็นศีล ทำสมาธิในการฟังเพื่อให้ได้ปัญญาในธรรม<O:p</O:p
    จะแสดงอุปการธรรมในการปฏิบัติทำจิตตภาวนา คืออบรมจิตให้เป็นสมาธิ และให้ได้ปัญญา อีกข้อหนึ่งคือขันติที่แปลกันว่าความอดทน
    <O:p</O:p
    อันขันติคือความอดทนนี้เป็นธรรมะอันสำคัญ ที่ทุกคนจะต้องมีจึงจะสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยดีและขันติคือความอดทนที่มีพระพุทธาธิบายไว้ทั่วไปและที่นำมาอธิบายกันอยู่โดยมากก็คืออดทนต่อความตรากตรำ เช่น ทนหนาวทนร้อนเป็นต้น อดทนต่อความลำบากอันเกิดจากทุกขเวทนาต่างๆในเวลาเจ็บป่วย อดทนต่อความเจ็บใจ คือต่อถ้อยคำที่จาบจ้วงล่วงเกินต่างๆอันทำให้เกิดความเจ็บใจ
    <O:p</O:p
    ความอดทนทั้ง ๓ นี้ก็เป็นข้อที่จะต้องปฏิบัติให้มีกันอยู่โดยปรกติทั่วไปเพราะทุกคนก็จะต้องพบกับหนาวร้อนเป็นต้นอันเป็นเหตุที่ทำให้ไม่ผาสุขต่างๆ
    <O:p</O:p
    ในขณะที่ต้องประกอบการงาน ต้องไปนั่นต้องไปนี่เกี่ยวแก่กิจที่จะพึงทำต่างจึงจะต้องฝึกให้มีความอดทนที่จะตรากตรำต่อสิ่งที่ทำไม่ผาสุขเหล่านี้ได้จึงจะออกไปประกอบการงานต่างๆได้และในบางคราวก็จะต้องมีความเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะต้องมีความอดทนต่อทุกขเวทนาที่บังเกิดขึ้นไม่เป็นผู้ที่มีใจเสาะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ที่กล่าวมานี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะอดทนเกินไป ต่อความตรากตรำนั้นๆหรือว่าเจ็บไข้ได้ป่วยก็ไม่ต้องรักษาการตรากตรำต่างๆนั้น ต่อหนาวร้อนเป็นต้นก็ต้องรู้ประมาณว่าควรที่จะพึงอดทนได้เพียงไรไม่ให้เกินไป และเมื่อเจ็บป่วยก็ต้องรักษาเป็นแต่เพียงว่าไม่ทำจิตใจให้พ่ายแพ้ต่อทุกขเวทนาต่างๆโดยง่าย ต้องมีใจที่อดทนด้วย
    <O:p</O:p
    เมื่ออดทนได้ ก็จะทำให้ไม่กลัวต่อหนาวร้อนเป็นต้นและจะทำให้ไม่กลัวต่อทุกขเวทนาหรือต่อความรู้ว่าจะเป็นโรคภัยนั้นๆผู้ที่อดทนไม่ได้ ก็จะไม่สามารถตรากตรำทำงานต่างๆแม้ที่ควรจะตรากตรำได้และไม่สามารถที่จะรับรู้ความจริงในความเจ็บป่วยของตนเพราะกำลังใจไม่ดีและเจ็บน้อยก็เหมือนอย่างเจ็บมากหรือว่าเจ็บน้อยพอจะรักษาได้อยู่แล้ว
    <O:p</O:p
    เมื่อใจเสียก็ทำให้โรคกำเริบ ทำให้เจ็บมากขึ้นอีกเพราะฉะนั้น ความอดทนนี้จึงเป็นอุปการะสำคัญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ขันติในโลกธรรม <O:p</O:p
    อนึ่ง ทุกคนก็จะต้องพบกับอารมณ์คือเรื่องต่างๆที่ชอบใจบ้างไม่ชอบใจบ้าง ต้องพบกับวาจาของคนทั้งหลายที่พูด ทำให้ให้พอใจบ้างทำให้ไม่พอใจบ้างเพราะฉะนั้น จึงจะต้องรู้จักมีความอดทนต่อถ้อยคำแม้ที่จาบจ้วงล่วงเกินต่างๆให้ได้ จึงจะรักษาภาวะทางจิตใจของตน ตลอดถึงภาวะทางกายทางวาจาของตนให้เป็นปรกติเรียบร้อยดีงามได้
    <O:p</O:p
    แม้ว่าถ้อยคำที่สรรเสริญเยิรยอก็ต้องมีความอดทนเหมือนกัน ถ้าอดทนไม่ได้ก็จะฟุ้ง หรือแสดงอาการที่เรียกว่าขึ้น ไปตามคำสรรเสริญเยิรยอต่างๆ แม้ที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้เสียทำให้ผิดได้<O:p</O:p
    ถ้าถูกติฉินนินทา ก็ทำให้ขึ้งเคียด ทำให้จิตใจตกต่ำ เรียกว่าลง
    <O:p</O:p
    จิตใจจึงขึ้นบ้างลงบ้างดั่งนี้อยู่เสมอ เป็นไปตามอารมณ์เป็นไปตามวาจาที่ใครๆพูดดั่งนี้เพราะไม่มีขันติคือความอดทน<O:p</O:p
    ถ้ามีขันติคือความอดทนได้ ก็จะรักษาจิตใจรักษากายวาจาของตนให้เป็นปรกติเรียบร้อยดีงามได้
    <O:p</O:p
    ใครเขาติฉินนินทาก็ไม่ออกรับไปขึ้งเคียดโกรธแค้นเจ็บใจใครเขาสรรเสริญเยิรยอก็ไม่ออกรับไปขึ้นทะเยอทะยานหรือเหิมเห่อแต่พิจารณาดูให้รู้ความจริง ถ้าเขาติถูกก็ควรจะขอบใจผู้ติและปฏิบัติแก้ให้ถูกต้อง
    <O:p</O:p
    ถ้าเขาติไม่ถูกนินทาไม่ถูกก็ไม่รับเพราะตนเองไม่ได้ไปทำดั่งที่เขานินทานั้น
    <O:p</O:p
    เขาสรรเสริญ ถ้าเขาสรรเสริญเกินไปก็ให้รู้ว่าเกินไป ก็ไม่รับ <O:p</O:p
    ถ้าเขาสรรเสริญพอดีถูกต้องแม้ว่าจะรับก็รับมาเป็นการที่ให้กำลังใจในอันที่จะทำดียิ่งขึ้น ไม่ใช่รับเข้ามาว่าเราดีพอแล้ว ไม่ต้องทำดีอะไรอีก หรือเพลินอยู่กับคำสรรเสริญของเขาไม่ทำอะไรต่อไป
    <O:p</O:p
    เสียงสรรเสริญนั้นให้ถือเป็นเครื่องให้กำลังใจในอันที่จะทำดียิ่งขึ้น ไม่ใช่ทำให้เกิดมานะดูถูกดูหมิ่นผู้อื่น ว่าเราดี เขาไม่ดีอย่างนี้เป็นต้น เสียงนินทาก็ให้ถือว่าเป็นเครื่องเตือนสำหรับที่จะให้เฉลียวใจมาพิจารณาตนเอง เมื่อเขานินทาถูก ก็ต้องรับว่าเขาติถูกการติของเขานั้นเป็นการให้คุณ ไม่ใช่ให้โทษ ปฏิบัติแก้ไขต่อไป เมื่อเขาติไม่ถูกก็ไม่รับที่ควรจะแก้ก็แก้ไป ที่ไม่ควรจะแก้ก็นิ่งเสียตามสมควร ดั่งนี้จึงต้องมีขันติ
    <O:p</O:p
    อธิวาสนะขันติ<O:p</O:p
    และขันติดังที่กล่าวมานี้ ท่านมีคำเรียกว่าอธิวาสนะขันติ
     

แชร์หน้านี้

Loading...