ข้อสังเกตุเกี่ยวกับพระไทยใหญ่แม่ฮ่องสอน

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย paang, 30 มกราคม 2007.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,326
    [​IMG]


    หลวงปุ่แหวน ท่านพูดถึงพระไทยใหญ่ที่แม่ฮ่องสอนที่ท่านพบเห็นในสมัยนั้น ว่า :-

    อีกเรื่องหนึ่ง พระไทยใหญ่ในแม่ฮ่องสอน สมัยนั้น เมื่อถึงวันอุโบสถ เขาไม่ทำอุโบสถ สวดปาฎิโมกเหมือนพระไทยทั่วไป แต่เขาจะประชุมกันในอุโบสถ แล้วต่างก็บอกปาริสุทธิเท่านั้น

    มีข้อแปลกอยู่อีกอย่าง คือ เวลาสนทนาธรรมกัน มักพูดธรรมะชั้นโลกุตรจิตร โลกุตรมรรค โลกุตรผล เช่นเดียวกับพระพม่า

    ธรรมะเหล่านี้ต่างก็จำเอามาจาก " แผนที่" นั่นเอง

    เวลาสนทนาธรรม มักเกิดการถกเถียงกันจนหน้าดำหน้าแดง เพราะความเห็นในข้อธรรม ไม่เหมือนกัน

    หลวงปู่ไห้อรรถธิบายว่า :-

    ปัญญาที่เกิดจากการจำแผนที่ กับปัญญาที่เกิดจากการเรียนตามภูมิประเทศนั้นไม่เหมือนกัน

    ปัญญาที่ได้จากการเรียนตามแผนที่ คือ การศึกษาเล่าเรียนจากตำรับตำราอย่างเดียว ความจำ ความเข้าใจ การตีความอาจไม่ตรงต่อความเป็นจริงของธรรมะ

    ส่วนปัญญาที่เกิดจากการเรียนตามภูิมิประทศ คือจากการปฎิบัตภาวนานั้น เมื่อทุกคนทำให้ เกิด ให้มีขึ้นในจิตใจของตนแล้ว ต่างก็หมดความสงสัยในธรรมะนั้นๆ ไม่มีข้อโต้แย้ง ไม่มีการ ถกเถียงกันอีกต่อไป

    หลวงปุ่ ให้คำอธิบายต่อไปอีกว่า :-

    การที่จะปฎิบัติให้ถึงโลกุตรธรรมนั้นไม่ใช่ของง่าย ไม่เหมือนจำเอาตามแบบจากตำรา แล้วเอามาพูดคุยกันอวดกัน

    ศีล สมาธิ ปัญญา นั้น ต้องปฎิบัติทางด้านจิตใจ ให้เป็นผู้รู้เองเห็นเอง ด้้วยตนของตนเอง เริ่มแต่มีอินทรีย์สังวร ขึ้นไป

    เพราะบรรดากิเลสน้อยใหญ่ เกิดทางอินทรีย์ เรานี้ คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ

    ความชั่วก็ดี ความดีก็ดี เกิดจากทวารเหล่านี้

    เมื่อความชั่วเกิด ต้องมีสติรู้เท่าทัน และปัองกันไม่ให้เกิด ละออกจากจิตใจของเรานี้ เอาจิต เอาใจของเรานี้ละ เอาจิตใจของเรานี้ปล่อย เอาจิตเอาใจของเรานี้วาง จากความชั่วทั้งสิ้น

    เมื่อปล่อยวางได้ ความชั่วทั้งที่เป็นส่วนหยาบ ที่เกิดจากกายและวาจา ทั้งที่เป็นส่วนละเอียดที เกิดจากใจ ก็ไม่มี

    ส่วนที่มันละเอียด เป็นอนุสัย นอนเนื่องอยู่นั่นแหละสำคัญละ มันปล่อยวางมันไม่ได้ง่ายๆ มันมักไม่แสดงตัว มันเก็บตัวของมัน ในส่วนลึกของจิตใจ

    ถ้าปฎิบัติตนให้เป็นผุ้มีศีล มีสมาธิ เป็นมรรคเครื่องดำเนินไปสู่ ปัญญา ทำศีล ทำสมาธิ ทำ ปัญญา ของตนให้เป็นเอกมรรค เครื่องดำเนินเป็นอันเดียวกันนั่นแหละ จึงจะสามารถมองเห็น ส่วนละเอียดที่เป็นอนุสัยของกิเลสได้

    เมื่อศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเอกมรรคแล้วเช่นนี้ จิตที่เป็นส่วนละเอียดที่ทรงตัวอยู่ จะเรียกว่า จิตมีอิทธิบาท หรือมีโพชฌงค์ หรือมีพละ หรือจิตมีมรรค ก็เรียกได้ทั้งนั้น เพราะธรรมเหล่านี้ เกิดขึ้นมาส่งเสริมซึ่งกันและกัน ในขณะที่จิตที่เป็นไปกับธรรม

    เมื่อจิตตกสู่กระแสแห่งธรรมแล้ว โลกุตรธรรม อันเป็นส่วนมรรคก็ดี อันเป็นส่วนผลก็ดี ต้องปฎิบัติจิตใจของตนให้เกิด ให้เข้าถึงธรรมเสียก่อน จึงจะพูดได้ด้วยความอาจหาญ แน่ใจ อธิบายก็อธิบายด้วยความอาจหาญแน่ใจ



    ที่มา http://www.geocities.com/thaimedicinecm/arjanwhan.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...