เรื่องเด่น ความอดทน (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย rachotp, 14 มกราคม 2021.

  1. rachotp

    rachotp เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2020
    โพสต์:
    1,218
    กระทู้เรื่องเด่น:
    251
    ค่าพลัง:
    +23,891
    2.PNG

    ผู้หวังความเจริญก้าวหน้า ควรเพิ่มพูนทั้งความอดเเละความทน

    เริ่มด้วยอดใจ... โดยไม่ปล่อยให้เป็นทาสของความอยาก

    ขันติ... ความอดทนสำคัญที่สุด เปรียบเหมือนเสาบ้านทีเดียว

    บ้านเรือนถ้าขาดเสา... ก็จะกลายเป็นไม้เราดีๆ นี่เอง

    ถ้าขาดความอดทน ความดีอื่นก็ไม่เจริญ
    อด... คือ อด... ต่อสิ่งที่ชอบ
    ทน... คือ ทน... ต่อสิ่งที่ชัง


    พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม)

    1.PNG

    3.PNG
    4.PNG

    พึงเอาชนะศัตรูด้วยความอดทนอดกลั้น

    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ได้เสด็จไปเมืองโกสัมพี ในเมืองนั้นมีพระมเหสีพระองค์หนึ่งชื่อว่า มาคันทิยา พระมเหสีพระองค์นี้อาฆาตแค้นกับพระพุทธองค์เป็นการส่วนตัว เมื่อพระนางทราบว่าพระพุทธองค์เสด็จมาที่เมืองนี้ ก็รีบไปจ้างพวกเจ้าลัทธิต่างๆ พวกกรรมกร พวกทาสที่เป็นมิจฉาทิฐิ ให้พากันมาด่าทอพระพุทธองค์และพระภิกษุสงฆ์ ด้วยถ้อยคำหยาบคายต่างๆ นานา

    พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากทนฟังคำด่าทอไม่ไหวจึงกราบทูลให้พระพุทธองค์พาภิกษุสงฆ์เดินทางออกจากโกสัมพี แต่พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบกับพระอานนท์ว่า

    "อานนท์! ถ้าหากว่าเราไปสู่ที่อื่นแล้วถูกคนในที่นั้นๆ กระทำทารุณด้วยการด่าทอต่อเราอีกจะทำอย่างไร?"

    "ถ้าเป็นอย่างนั้น พวกเราจักไปสู่ที่อื่นๆ อีก"

    "ถ้าในที่แห่งใหม่นี้ เราก็ยังถูกด่าทอสบประมาทอยู่อีก เราจะทำอย่างไรต่อไป"

    "พวกเราก็ควรไปสู่ที่อื่นต่อไปอีก พระเจ้าข้า"

    พระพุทธองค์ทรงนิ่งอยู่ขณะหนึ่ง แล้วทรงเหลียวดูพระอานนท์ด้วยสายพระเนตรที่อ่อนโยนอย่างยิ่ง พร้อมกับตรัสว่า

    "ดูก่อนอานนท์! อดทนให้เหมาะๆ เสียสักหน่อยเท่านั้นก็จะตัดความยุ่งยากทั้งหมด มันไม่เป็นที่แน่นอนว่าเราจะหาพบที่แห่งใหม่ ซึ่งไม่มีใครด่าทอในโอกาสข้างหน้า แต่มันเป็นที่แน่นอนว่า เราจะหาพบที่เช่นนั้นได้ในที่ตรงนี้เองหากว่าเราอดทนอดกลั้นกันเสียบ้าง ด้วยการอดทนอดกลั้นนี่เองนักปราชญ์ทั้งหลายแม้ในกาลก่อนก็สามารถเอาชนะศัตรูได้โดยสิ้นเชิง"

    "อานนท์เอ๋ย จงดูช้างซึ่งบุคคลพาเข้าไปสู่สนามรบ มันพุ่งตัวเข้าไปในท่ามกลางการต่อสู้อันชุลมุนวุ่นวาย มันไม่เอาใจใส่ต่อลูกศรหรือหอกซัดซึ่งคนทั้งหลายพุ่งซัดเข้ามาโดยรอบทิศ มันตั้งหน้ากระโจนเข้าใส่ข้าศึก ทำลายสิ่งต่างๆ ซึ่งเข้ามาเบื้องหน้าให้ราบ

    อานนท์ ตถาคตจักอยู่ในที่นี่ จักเผยแผ่คำสอนที่ถูกต้องด้วยกำลังกายและกำลังใจที่มีทั้งหมดอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อปลดเปลื้องกิเลสอันชั่วช้าที่ติดแน่นอยู่ในจิตใจของคนเหล่านั้นให้หมดสิ้นไป

    ตถาคตจะไม่เอาใจใส่แม้แต่หน่อยเดียวในคำกล่าวร้ายของฝ่ายปฏิปักษ์ซึ่งแกล้งกล่าวร้ายต่อเรา มันเหมือนกับคนที่ถ่มน้ำลายขึ้นไปบนฟ้าเพื่อให้ฟ้าเปื้อน

    แต่น้ำลายกลับตกมารดหน้าของผู้ถ่มนั่นนั้นเอง นี้เป็นฉันใด พวกที่น่าสมเพชซึ่งแกล้งด่าทอเราก็จักประสพภัยกับตัวเองฉันนั้น

    เมื่อประชาชนชาวโกสัมพีได้เห็นพระพุทธองค์ และภิกษุสงฆ์มีความอดทนอดกลั้นต่อถ้อยคำกล่าวร้ายของบรรดาเจ้าลัทธิทั้งหลายได้เช่นนั้น ก็พากันเลื่อมใสและยอมรับนับถือในคำสอนของพระพุทธองค์เป็นอันมาก

    อ.ขุ.ธ. เล่ม ๔๐ หน้า ๒๘๕- ๒๘๗ (มมก.)


    Credit: ขอขอบพระคุณที่มาจาก หนังสือ ร้อยธรรมคำสอน “หลวงพ่อจรัญ” หน้า ๑๒ และ อ.ขุ.ธ. เล่ม ๔๐ หน้า ๒๘๕- ๒๘๗ (มมก.)

    ขอน้อมกราบนมัสการหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโมด้วยความเคารพอย่างสูง _/|\_

    … ขออนุญาตเผยแพร่เพื่อเป็นธรรมทานครับ สุทินนัง วะตะ เม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ

    ผมเคยสงสัยว่าทำไมในบทสวดมนต์ โอวาทปาฏิโมกขคาถา ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่สำคัญบทหนึ่งของพระพุทธองค์ มีอยู่ท่อนหนึ่งกล่าวเน้นย้ำถึงความสำคัญของความอดทนว่า ขันตี ปะระมัง ตะโป ตีติกขาแปลว่า “ขันติ คือความอดทนอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างดียิ่ง” อย่างนักปฏิบัติธรรมโดยมากก็จะถูกเรียกว่า “โยคี” ซึ่งหมายถึง ผู้เพียรเพ่งเผากิเลสให้หมดไป สรุปคือ ความอดทนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสได้อย่างดียิ่งครับ _/\_

    ทุกคนสนขันติ มีสติทุกเวลา

    ขันติมีคุณค่า ทุกเวลาพาเจริญ

    ขันติคืออดทน เราทุกคนสนให้เกิน

    มีมากเกิดเพลิดเพลิน ขอสรรเสริญเจริญธรรม

    อดต่อสิ่งที่ชอบ จิตประกอบมอบประจำ

    ขันติต้องน้อมนำ จิตมีธรรมทำเรื่องดี

    ทนต่อสิ่งที่ชัง เกิดกำลังสั่งชีวี

    อดทนทันท่วงที เรื่องไม่ดีหนีห่างไกล

    จึงควรฝึกจิตตน ยิ่งอดทนใจยิ่งใหญ่

    เป็นคนทนให้ได้ ทุกเรื่องไปใจยิ่งเย็น

    สั่งจิตคิดอดทน เพื่อหลุดพ้นกิเลสมาร

    อดทนมหาศาล ย่อมเบิกบานสานธรรมเอย


    5.PNG
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กรกฎาคม 2021

แชร์หน้านี้

Loading...