ความเข้าใจผิดๆ เรื่องจิต จิตไมใช่วิญญาณขันธ์ และวิญญาณขันธ์ก็ไม่ใช่จิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 10 กรกฎาคม 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในปัจจุบันนี้นั้น มีนักบวชบางท่านที่ขานนาคเพื่อเข้ามาเพื่อสืบต่อพระศาสนานั้น
    กลับมีความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปจากพระบรมศาสดา
    โดยไม่นำพาว่าขัดกับพุทธวจนะในพระสูตรหรือไม่
    โดยโยนให้จิตเป็นสิ่งเดียวกับวิญญาณขันธ์

    ทั้งที่มีพระพุทธวจนะมากมายในพระสูตรและพระวินัย
    ที่จะเป็นพระบรมศาสดาของเธอแทนเรา เมื่อเราตถาคตได้ปรินิพพานไปแล้ว

    โดยท่านทั้งหลายเหล่านั้นไม่ใส่ใจในพุทธวจนะ
    เอาอรรถกถามากล่าวขัดแย้ง

    ในการแก้อรรถกถาท่านก็นำเอาพระสุตันตปิฏก
    มาตีความตามความเข้าใจของท่าน

    เพื่อความไม่ประมาทในพุทธวจนะ
    พวกเราควรที่จะเทียบเคียงให้รอบคอบก่อน
    สิ่งใดที่พระศาสดาไม่ได้ตรัส พวกเราก็ไม่ควรเอาอรรถกถามากล่าวขัดแย้ง

    พระศาสดาและพระสาวก ย่อมกล่าวตรงกัน ไม่ขัดแย้งกัน
    มีตรงไหนในพระพุทธวจนะบ้างที่กล่าวไว้ว่า
    จิตคือวิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์คือจิต และ จิตเป็นอนัตตาบ้าง

    โปรดอย่าอ้างว่ามีพุทธวจนะว่าสัพเพ ธัมมา อนัตตา
    การที่พระบรมครูกล่าวถึง สัพเพ ธัมมา อนัตตานั้น
    เป็นการกล่าวถึงขันธ์ ๕ เท่านั้น อันมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    จะขอได้ยกพระสูตรมาให้ได้พิจารณาด้วยความรอบคอบ
    เพื่อไม่ให้ผู้ปฏิบัติต้องหลงในธรรมอันไม่เป็นธรรมดังนี้

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
    มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ มหาปุณณมสูตร
    ฯลฯ
    [๑๒๑] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปนั้นนั่งยังอาสนะของตนแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานขันธ์ คือ
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์
    สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์
    มี ๕ ประการเท่านี้หรือหนอแล ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้ คือ
    รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์
    สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์ ฯ

    ภิกษุนั้นกล่าว ชื่นชม ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว พระพุทธเจ้าข้า
    แล้วทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคยิ่งขึ้นไปว่า…
    ^
    ^
    ^
    อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้
    อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้
    อุปาทานขันธ์ มี ๕ ประการเท่านี้

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีอะไรเป็นมูล ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ มีฉันทะเป็นมูล ฯ

    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้นอย่างเดียวกันหรือ
    หรือว่าอุปาทานอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ
    อุปาทานกับอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น จะอย่างเดียวกันก็มิใช่
    อุปาทานจะอื่นจากอุปาทานขันธ์ ๕ ก็มิใช่

    ดูกรภิกษุ ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล
    เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น
    ^
    ^
    ^
    ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล
    เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ

    ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล
    เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ

    ความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นแล
    เป็นตัวอุปาทานในอุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ฯ

    ;aa24
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความต่างแห่งความกำหนัด พอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    พึงมีหรือ ฯ

    พระผู้มีพระภาคทรงรับว่า มี แล้วตรัสว่า
    ดูกรภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้
    สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด


    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

    บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความปรารถนาอย่างนี้ว่า
    ขอเราพึงมีรูปอย่างนี้ เวทนาอย่างนี้ สัญญาอย่างนี้
    สังขารอย่างนี้ วิญญาณอย่างนี้ ในอนาคตกาลเถิด
    ^
    ^
    ^
    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕
    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แลเป็นความต่างแห่งความกำหนัดพอใจในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕


    ;aa24
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๓]
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร

    พ. ดูกรภิกษุ

    รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น รูปขันธ์


    เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น เวทนาขันธ์


    สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น สัญญาขันธ์


    สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น สังขารขันธ์


    วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม นี่เป็น วิญญาณขันธ์


    ดูกรภิกษุขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ฯ
    ^
    ^
    ^
    ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร
    ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์ ได้ด้วยเหตุเท่าไร ฯ
    ขันธ์ทั้งหลายมีชื่อเรียกว่าขันธ์
    ได้ด้วยเหตุเท่าไร ฯ

    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๔]
    ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งการบัญญัติรูปขันธ์
    อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติเวทนาขันธ์
    อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
    อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติสังขารขันธ์
    อะไรหนอแลเป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติวิญญาณขันธ์ ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ
    มหาภูตรูป ๔ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ รูปขันธ์
    ผัสสะ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ เวทนาขันธ์
    ผัสสะ เป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สัญญาขันธ์
    ผัสสะ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ สังขารขันธ์
    นามรูป เป็นเหตุ เป็นปัจจัย แห่งการบัญญัติ วิญญาณขันธ์

    ;aa24
     
  6. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๕] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สักกายทิฐิ จะมีได้อย่างไร ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
    ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้ฝึกในธรรมของพระอริยะ
    ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้ฝึกในธรรมของสัตบุรุษ

    ย่อมเล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
    เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง
    เล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในอัตตาบ้าง
    เล็งเห็นอัตตาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง

    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงมีได้ ฯ
    ^
    ^
    ^
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ
    ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้เห็นพระอริยะ

    ;aa24
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๖] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สักกายทิฐิจะไม่มีได้อย่างไร ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ฝึกดีแล้วในธรรมของพระอริยะ
    ได้เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ฝึกดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ

    ย่อมไม่เล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณโดยความเป็นอัตตาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นอัตตาว่ามีรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง
    ไม่เล็งเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณในอัตตาบ้าง
    ไม่เล็งเห็นอัตตาในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณบ้าง

    ดูกรภิกษุ อย่างนี้แล สักกายทิฐิจึงไม่มี ฯ
    ^
    ^
    ^
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ
    อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ได้เห็นพระอริยะ

    ;aa24
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๗] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    อะไรหนอแลเป็นคุณเป็นโทษ เป็นทางสลัดออกใน
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณฯ


    พ. ดูกรภิกษุ

    อาการที่สุขโสมนัสอาศัยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเกิดขึ้น
    นี้เป็นคุณในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญาณ

    อาการที่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
    นี้เป็นโทษในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญาณ


    อาการที่กำจัดฉันทราคะ ละฉันทราคะ ในรูป ในเวทนา ในสัญญา
    ในสังขาร ในวิญาณได้
    นี้เป็นทางสลัดออกในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญาณ
    ^
    ^
    ^
    เป็นทางสลัดออกในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เป็นทางสลัดออกในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เป็นทางสลัดออกในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ


    ;aa24
     
  9. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๘] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

    ก็เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างไรจึงไม่มีอนุสัย คือ ความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา
    ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ

    พ. ดูกรภิกษุ

    บุคคลเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
    ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา


    ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล
    จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา
    ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


    ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล
    จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา
    ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


    ดูกรภิกษุ เมื่อรู้ เมื่อเห็นอย่างนี้แล
    จึงไม่มีอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเราว่าของเรา
    ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมดในภายนอก ฯ


    ;aa24
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๑๒๙] ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า

    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร


    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย
    จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้ว ตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่
    พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า


    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร


    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร


    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร


    ;aa24
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล

    พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
    ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายในหรือมีในภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ก็ตาม
    ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    อริยสาวกผู้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา
    แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ

    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค
    และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่

    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ บรรทัดที่ ๑๙๘๐ - ๒๑๘๖. หน้าที่ ๘๔ - ๙๒.
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    ;aa24 พุทธวจนะ เป็นสิ่งที่ควรจดจำ แล้วนำไปปฏิบัติตาม อะไรก็มาล้มล้างไม่ได้
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ความเข้าใจผิดๆ เรื่องจิต จิตไมใช่วิญญาณขันธ์ และวิญญาณขันธ์ก็ไม่ใช่จิต

    ท่าจากธรรม ที่ยกมาแล้วก้ไห้ไปอ่านซะไหม่นะจะได้เข้าใจว่า มันใช่หรือไม่ใช่

    แล้วก้เปลี่ยนดพสว่า ข้าพเจ้าเข้าใจเรื่องขันธ์ยังตัดสักกายยะทิฐื ไม่ได้ยังโง่อยู่มากไม่อาจเข้สาใจธรรมของพระตถาคตเจ้าได้ ขอท่านผู้เจริญโปรดแสดง ธรรม นะ ธรรมภูติ
     
  13. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ธรรมภูตินี่ เอา ปีปไหม น่าอายจริงๆๆ เอาธรรมมาวิจาร์ อย่างมั่วๆๆ
     
  14. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เห็นตั้งกี่กระทู้ก้แสดงความ โง่ ออกมาทั้งนั้น มีใครแกล้งทำตังเป็น มิจฉาทิฐิมาหลอกรึเปล่าเนี่ย ก้แปลกดีนะหนทางของบางคนนั้นจะพาคนอื่นลงนรกแทน
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    พระพุทธวจนะ ย่อมเป็นพระสัทธรรมแท้จริง
    แต่พระพุทธวจนะ เมื่อสถิตย์ในความคิดของปุถุชนย่อมถูกบิดเบือนไป
    กลายเป็นพระสัทธรรมปฏิรูป
    เพราะมิจฉาทิฏฐิอันเป็นธรรมชาติของปุถุชน คนมีกิเลส
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ใบไม้ย่อมไม่เรียกว่าต้นไม้เช่นกัน
     
  17. เกสท์

    เกสท์ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    765
    ค่าพลัง:
    +18
    มาตีเกราะท้ารบถึงถิ่นเลยเหรอ

    แล้วเจ้าของกระทู้จะกล้ารับคำท้าหรือเปล่าน้อ
     
  18. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    แต่ธรรมภูติบอกว่า จิตไมใช่วิญญาณขันธ์ และวิญญาณขันธ์ก็ไม่ใช่จิต

    ขันธ์ ประกอปด้วย รูป+นาม ส่วนของ กายและจิต จิตประกอบด้วย ส่วนที่ รู้ และส่วนที่กระทบ ส่วนของเจตสิก วิญญานขันธ์ สันยาขันธ์ สังขารขันธ์

    ดังนั้น วิญญานขันธ์ จึงเป็น ส่วนหนึ่งของจิต เพราะจิตนั้นเป็นอนัตตา อันประกอปกันขึ้นของ เวทนาสันยา สังขาร วิญญาน


    <HR style="COLOR: #ffffff; BACKGROUND-COLOR: #ffffff" SIZE=1>
     
  19. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    พระตถาคตนั้นแสดงธรรมไว้ดีแล้วและไม่มีพิดเพี้ยนแต่คนนั้นแหละที่เพี้ยนอ่านไม่เข้าใจเอามา กระเดียด
     
  20. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    เอาล่ะเด่วจะแสดงไห้ฟังในสิ่งที่นายสับสนนะ แต่คนอย่านาย ธรรมภูติแสดงอย่างไรก้ไม่เข้าหรอก มันเต็มมันปิดแล้ว
    ก้ไม่รู้จะแสดงทำไมนะแต่จะสงเคราะไห้
     

แชร์หน้านี้

Loading...