คำถามในใจเกี่ยวกับพระสงฆ์ในปัจจุบัน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย sangjan001, 21 กรกฎาคม 2011.

  1. sangjan001

    sangjan001 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +132
    เรื่องนั้นมีอยู่ว่าตัวผมทำงานอยู่พันธุ์ทิพย์พลาซ่าประตูน้ำ ในร้านขายอุปการณ์ IT บริษัทหนึ่ง
    ผมได้มาทำงานเป็นปกติทุกวันซึ่งมีลูกค้ามากหน้าหลายตาแต่ 1 ในนั้นจะมีพระสงฆ์รวมอยู่ด้วย
    สิ่งที่ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาในใจมันเกี่ยวกับวันสำคัญทางศาสนาซึ่งผ่านมาเมื่อไม่กี่วันนี้เอง
    ซึ่งก็คือวันเข้าพรรษาคำถามที่เกิดขึ้นมีอยู่ว่า สมัยนี้วันเข้าพรรษาพระสามารถออกจากวัดมาเดินห้างได้ด้วยหรือ
    ผมงงมาก และเมื่อเจอลูกค้าที่เป็นพระสงฆ์อยากจะเข้าไปถามว่า "หลวงพี่ครับช่วงนี้เข้าพรรษาออกมานอกวัดได้ด้วยหรือ"ก็มิกล้าที่จะถามกลัวว่าอาจจะเป็นการล่วงเกิน จึงนำคำถามนี้มาถามในนี้ดีกว่าว่าแต่ละท่าน
    ณ ที่นี้มีความคิดเห็นเป็นอย่างไรกันบ้าง ส่วนตัวผมนั้นคิดว่าเป็นสิ่งมิสมควรที่พระสงฆ์จะออกมานอกวัด
    ในช่วงเข้าพรรษา โดยเฉพาะวันเข้าพรรษาที่ชาวบ้านตาดำๆออกไปทำบุญที่วัดแต่ไฉนเลยพระสงฆ์
    บางส่วนถึงออกมาเดินห้างเพื่อซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำไมจึงไม่อยู่วัดประกอบศาสนกิจ อย่างวันนี้ผมก็ยัง
    เห็นพระสงฆ์บางส่วนมาเดินหาซื้อของอยู่ครับแต่มีน้อยกว่าช่วงที่ยังไม่เข้าพรรษา แต่ช่วงนี้เข้าพรรษา
    ความเป็นจริงแล้วไม่น่าจะมีให้เห็นเลย
     
  2. นาคะวงศ์

    นาคะวงศ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    124
    ค่าพลัง:
    +166
    ตามพระวินัย(ถ้าจำไม่ผิด) เข้าพรรษาพระท่านสามารถออกนอกเขตวัดได้แต่ต้องไม่ไปค้างคืน ถ้ามีธุระสำคัญจริงๆ น่าจะไปได้ไม่เกิน 3 คืน (ไม่มั่นใจเท่าไร่นะครับต้องรอท่านผู้รู้มาคอนเฟริมอีกที) แตพระเดินห้างนี้ไม่รู้ถูกหรือผิด เพราะในสมัยพุทธกาลยังไม่มีห้าง
     
  3. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ออกได้สิครับ...แต่ไม่ค้างคืนที่อื่นนะ....

    พระเดินห้างไม่ผิดครับ....แต่ถ้าพระใช้เงินเพื่อซื้อของนี่ผิดนะ....

    อย่างไรใน กทม. นี่เห็นเป็นปกติ...แถวบ้านผมนี่ถ้าพระจะซื้ออะไรต้องใช้ให้คนอื่นมาซื้อแทนนะ....ไม่ควร และก็ ไม่งาม....

    ด้วยชีวิตในเมืองความเคยชินเลยอาจทำให้เห็นว่าเป็นปกติไป....
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้ออันได้แก่


    ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่

    ปาราชิก มี ๔ ข้อ
    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
    อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)



    เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
    สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
    โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
    ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)

    อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

    รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิดได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

    ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
    ๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
    ๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
    ๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้
    ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

    สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
    ๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
    ๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    ๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
    ๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
    ๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
    ๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
    ๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
    ๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
    ๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
    ๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
    ๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
    ๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์
    ๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น

    อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
    ๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าว
    แก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
    ๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว
    และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่
    สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

    นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
    ๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    ๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
    ๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
    ๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
    ๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
    ๑๘.รับเงินทอง
    ๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
    ๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
    ๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
    ๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
    ๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
    ๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
    ๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
    ๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
    ๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
    ๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
    ๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
    ๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
    ๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
    ๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
    ๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
    ๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
    ๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
    ๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
    ๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
    ๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
    ๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
    ๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
    ๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
    ๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

    ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
    ๑.ห้ามพูดปด
    ๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
    ๒.ห้ามด่า
    ๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
    ๓.ห้ามพูดส่อเสียด
    ๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
    ๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
    ๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
    ๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
    ๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
    ๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
    ๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
    ๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
    ๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
    ๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
    ๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
    ๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
    ๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
    ๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
    ๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
    ๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
    ๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
    ๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
    ๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
    ๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
    ๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
    ๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
    ๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
    ๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
    ๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
    ๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
    ๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
    ๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
    ๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
    ๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
    ๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
    ๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
    ๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
    ๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
    ๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
    ๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
    ๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
    ๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
    ๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
    ๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
    ๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
    ๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
    ๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
    ๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
    ๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
    ๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
    ๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
    ๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
    ๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
    ๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
    ๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
    ๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
    ๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
    ๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
    ๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
    ๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
    ๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
    ๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
    ๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
    ๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
    ๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
    ๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
    ๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
    ๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
    ๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
    ๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
    ๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
    ๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
    ๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
    ๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
    ๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
    ๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
    ๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
    ๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
    ๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
    ๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
    ๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
    ๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
    ๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
    ๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
    ๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
    ๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
    ๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
    ๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
    ๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
    ๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
    ๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

    ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
    ๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
    ๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
    ๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
    ๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

    เสขิยะ
    สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
    ๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
    ๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
    ๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
    ๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
    ๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
    ๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
    ๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
    ๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
    ๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
    ๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
    ๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
    ๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
    ๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
    ๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
    ๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
    ๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
    ๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
    ๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
    ๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
    ๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
    ๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
    ๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
    ๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
    ๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
    ๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
    ๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

    โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
    ๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
    ๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
    ๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
    ๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
    ๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
    ๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
    ๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
    ๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
    ๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
    ๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
    ๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
    ๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
    ๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
    ๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
    ๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
    ๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
    ๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
    ๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
    ๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
    ๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
    ๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
    ๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
    ๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
    ๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
    ๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
    ๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
    ๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
    ๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
    ๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
    ๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

    ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
    ๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
    ๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
    ๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
    ๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
    ๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
    ๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
    ๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
    ๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
    ๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
    ๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
    ๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
    ๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
    ๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
    ๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
    ๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
    ๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

    ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
    ๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
    ๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
    ๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
    ๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
    ๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
    ๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
    ๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
    ๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
    ๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
    ๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2011
  5. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ศีล 227<TABLE class=wikitable><TBODY><TR><TH>คำเรียกศีล</TH><TH>ระดับอาบัติ</TH><TH>คำเรียกอาบัติ</TH><TH>การแก้อาบัติ</TH></TR><TR><TH>ปาราชิก 4</TH><TD>ครุกาบัติ</TD><TD>ปาราชิก</TD><TH>ขาดจากความเป็นพระเมื่อล่วงศีล (ไม่สามารถแก้ได้)</TH></TR><TR><TH>สังฆาทิเสส 13<SUP id=cite_ref-2 class=reference>[3]</SUP></TH><TD>ครุกาบัติ</TD><TD>สังฆาทิเสส</TD><TH>อยู่ปริวาสกรรมเพื่อสำนึกผิด</TH></TR><TR><TH>อนิยต 2<SUP id=cite_ref-3 class=reference>[4]</SUP></TH><TD>ครุกาบัติ, ลหุกาบัติ ตามแต่กรณี</TD><TD>เป็นได้ทั้งปาราชิก, สังฆาทิเสส และปาจิตตีย์ ตามแต่กรณี</TD><TH>ขาดจากความเป็นพระ, อยู่ปริวาสกรรม หรือปลงลหุกาบัติ</TH></TR><TR><TH>นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30<SUP id=cite_ref-4 class=reference>[5]</SUP></TH><TD>ลหุกาบัติ</TD><TD>นิสสัคคิยปาจิตตีย์</TD><TH>สละวัตถุอาบัติและปลงลหุกาบัติ, สละวัตถุอาบัติ, ปลงลหุกาบัติ</TH></TR><TR><TH>ปาจิตตีย์ 92<SUP id=cite_ref-5 class=reference>[6]</SUP></TH><TD>ลหุกาบัติ</TD><TD>ปาจิตตีย์</TD><TH>ปลงลหุกาบัติ</TH></TR><TR><TH>ปาฏิเทสนียะ 4<SUP id=cite_ref-6 class=reference>[7]</SUP></TH><TD>ลหุกาบัติ</TD><TD>ทุกกฎ</TD><TH>ปลงลหุกาบัติ</TH></TR><TR><TH>เสขิยวัตร 75<SUP id=cite_ref-7 class=reference>[8]</SUP></TH><TD>ลหุกาบัติ</TD><TD>ทุกกฎ</TD><TH>ปลงลหุกาบัติ</TH></TR><TR><TH>อธิกรณสมถะ 7<SUP id=cite_ref-8 class=reference>[9]</SUP></TH><TD>-</TD><TD>-</TD><TH>(วิธีระงับอธิกรณ์)</TH></TR></TBODY></TABLE>
    [แก้] ดูเพิ่ม

    [แก้] อ้างอิง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2011
  6. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,646
    ส่วนใหญ่โทษหนักของพระสงฆ์ คือ อาบัติปราชิก กับ สังฆาธิเสส ครับ....ถ้าเห็นว่าทำอาบัติปราชิก...แนะนำให้แจ้งที่พระฝ่ายปกครองในเขตนั้นได้เลยนะครับ...ถือเป็นการรักษาพระพุทธศาสนา...ไม่บาป...

    ส่วนโทษต่อมาเช่นซี้อของด้วยเงินอะไรอย่างนี้ เป็น ปาจิตตีย์ คือ โทษเบา ท่านให้สละของนั้น และปลงอาบัติ โทษก็ตกไปครับ....
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    วันเข้าพรรษา
    จากที่เกิดวันเข้าพรรษา เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์อยู่จำพรรษา เหตุเพราะสมัยก่อนฝนตกชุก การเดินทางสัญจรไปมาก็ไม่สะดวก อีกทั้งไปเหยียบต้นข้าวของชาวบ้าน ในสมัยที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว และได้ให้พระภิกษุสงฆ์ออกไปตามเขตต่าง ๆ เพื่อประกาศพระศาสนา จนมีผู้ขออุปสมบทมากขึ้น จึงทำให้มีพระภิกษุสงฆ์ออกไปเผยแพร่พระศาสนากันมากขึ้น แม้ในฤดูฝนก็มิได้หยุดพัก การเดินทางก็ไม่สะดวก ทั้งยังเหยียบข้าวกล้าให้เกิดความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย ประชาชนจึงพากันติเตียนว่า "ไฉนเล่า พระสมณศากยบุตรจึงเที่ยวไปมาอยู่ทุกฤดูกาล เหยียบข้าวกล้าและติณชาติให้ได้รับความเสียหาย ทำให้สัตว์เล็กน้อยตาย พวกเดียรถีย์และปริพพาชกเสียอีกยังพากันหยุดพักในฤดูฝน ถึงนกยังรู้จักทำรังที่กำบังฝนของตน"


    พระพุทธองค์ได้ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงบัญญัติเป็นธรรมเนียมให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือนในฤดูฝน ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงกลางเดือน ๑๑ ห้ามมิให้เที่ยวสัญจรไปมา

    วันเข้าพรรษาที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตไว้มีอยู่ ๒ วัน คือ
    ๑.ปุริมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาแรก ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ไปจนถึงวันเพ็ญ กลางเดือน ๑๑
    ๒.ปัจฉิมมิกาวัสสูปนายิกา คือ วันเข้าพรรษาหลัง ตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึงวันเพ็ญกลางเดือน ๑๒
    ภิกษุเข้าพรรษาแล้ว หากมีกิจธุระจำเป็นอันชอบด้วยพระวินัย พระพุทธองค์ก็ทรงอนุญาตให้ไปได้ แต่จะต้องกลับมา ยังสถานที่เดิมภายใน ๗ วัน พรรษาไม่ขาด ที่เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เหตุที่ทรงอนุญาตให้ไปได้ด้วยสัตตาหกรณียะนั้นมี ๔ อย่างดังต่อไปนี้
    ๑. สหธรรมิกหรือมารดาบิดาเจ็บไข้ รู้เข้าไปเพื่อรักษาพยาบาล
    ๒. สหธรรมิกกระสันจะสึก รู้เข้าไปเพื่อห้ามปราม
    ๓. มีกิจสงฆ์เกิดขึ้น เช่น วิหารชำรุดลงในเวลานั้น ไปเพื่อหาเครื่องทัพพสัมภาะมาปฏิสังขรณ์
    ๔. ทายกต้องการบำเพ็ญบุญกุศลส่งคนมานิมนต์ ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของเขาได้
    แม้ธุระอื่นนอกจากนี้ที่เป็นกิจจลักษณะอนุโลมเข้าในข้อนี้ด้วย


    ในเวลาจำพรรษาเมื่อมีอันตรายเกิดขึ้นจะอยู่ต่อไปไม่ได้ และไปเสียจากที่นั้น พรรษาขาด
    แต่ท่านไม่ปรับอาบัติ (ไม่เป็นอาบัติ) มีดังนี้ คือ
    ๑. ถูกสัตว์ร้าย โจร หรือปีศาจเบียดเบียน
    ๒. เสนาสนะถูกไฟไหม้ หรือน้ำท่วม
    ๓. ภัยเช่นนั้นเกิดขึ้นแก่โคจรคาม ลำบากด้วยบิณฑบาต ในข้อนี้ชาวบ้านอพยพจะตามเขาไปก็ควร
    ๔. ขัดสนด้วยอาหาร โดยปกติไม่ได้อาหารหรือเภสัชอันสบาย ไม่ได้อุปัฏฐากอันสมควร (ข้อนี้หากพอทนได้ก็ควรอยู่ต่อไป)
    ๕ .มีหญิงมาเกลี้ยกล่อม หรือมีญาติมารบกวนล่อด้วยทรัพย์
    ๖. สงฆ์ในอาวาสอื่นจวนจะแตกกันหรือแตกกันแล้ว ไปเพื่อจะห้ามหรือเพื่อสมานสามัคคีได้อยู่ (ในข้อนี้ ถ้ากลับมาทัน ควรไปด้วยสัตตาหกรณียะ)
    พระพุทธองค์ทรงอนุญาตการอยู่จำพรรษาในสถานที่บางแห่ง แก่ภิกษุบางรูปผู้มีความประสงค์ จะอยู่จำพรรษาในสถานที่ต่าง ๆ กัน สถานที่เหล่านั้น คือ
    ๑. ในคอกสัตว์ (อยู่ในสถานที่ของคนเลี้ยงโค)
    ๒. เมื่อคอกสัตว์ย้ายไป ทรอนุญาตให้ย้ายตามไปได้
    ๓. ในหมู่เกวียน
    ๔. ในเรือ

    พระพุทธองค์ทรงห้ามมิให้อยู่จำพรรษาในสถานที่อันไม่สมควร สถานที่เหล่านั้นคือ
    ๑. ในโพรงไม้
    ๒. บนกิ่งหรือคาคบไม้
    ๓. ในที่กลางแจ้ง
    ๔. ในที่ไม่มีเสนาสนะ คือไม่มีที่นอนที่นั่ง
    ๕. ในโลงผี
    ๖. ในกลด
    ๗. ในตุ่ม

    ข้อห้ามที่พระพุทธองค์ทรงห้ามไว้อีกอย่างหนึ่ง คือ
    ๑. ห้ามมิให้ตั้งกติกาอันไม่สมควร เช่น การมิให้มีการบวชกันภายในพรรษา
    ๒. ห้ามรับปากว่าจะอยู่พรรษาในที่ใดแล้ว ไม่จำพรรษาในที่นั้น

    อนึ่ง วันเข้าพรรษานี้ ถือกันว่าเป็นกรณียพิเศษสำหรับภิกษุสงฆ์ เมื่อใกล้วันเข้าพรรษาควรปัดกวาด เสนาสนะสำหรับจะอยู่จำพรรษาให้ดี ในวันเข้าพรรษา พึงประชุมกันในโรงอุโบสถไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาต่อกันและกัน หลังจากนั้นก็ประกอบพิธีอธิษฐานพรรษา ภิกษุควรอธิษฐานใจของตนเองคือตั้งใจเอาไว้ว่า ตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

    "อิมสฺมึ อาวาเส อิมัง เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ แปลว่า ข้าพเจ้าจะอยู่จำพรรษาในอาวาสนี้ตลอด ๓ เดือน"

    หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้ว ก็นำดอกไม้ธูปเทียนไปนมัสการบูชาปูชนียวัตถุที่สำคัญในวัดนั้น ในวันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูปเทียนไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์และพระเถระผู้ที่ตนเองเคารพนับถือ

    อานิสงส์แห่งการจำพรรษา
    เมื่อพระภิกษุอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนได้ปวารณาแล้ว ย่อมจะได้รับอานิสงส์แห่งการจำพรรษา ๕ อย่าง ตลอด ๑ เดือนนับแต่วันออกพรรษาเป็นต้นไป คือ
    ๑. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องบอกลา ตามสิกขาบทที่ ๖ แห่งอเจลกวรรค ปาจิตตีย์กัณฑ์
    ๒. เที่ยวจาริกไปโดยไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับ
    ๓. ฉันคณะโภชน์และปรัมปรโภชน์ได้
    ๔. เก็บอติเรกจีวรได้ตามปรารถนา
    ๕. จีวรอันเกิดขึ้นในที่นั้นเป็นของพวกเธอ
    และยังได้โอกาสเพื่อที่จะกราลกฐิน และได้รับอานิสงส์พรรษาทั้ง ๕ ขึ้นนั้นเพิ่มออกไปอีก ๔ เดือน ในฤดูหนาว คือตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ไปจนถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อีกด้วย

    ในวันเข้าพรรษานี้ตามประวัติ ชาวไทยเราได้ประกอบพิธีทางศาสนาเนื่องในวันเข้าพรรษา มาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ซึ่งมีทั้ง พิธีหลวง และ พิธีราษฎร์ กิจกรรมที่กระทำก็มีการเตรียมเสนาสนะให้อยู่ในสภาพที่ดี สำหรับจะได้จำพรรษาอยู่ตลอด 3 เดือน จัดทำ เทียนจำนำพรรษา เพื่อใช้จุดบูชาพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระปริยัติธรรม ตลอดทั้ง 3 เดือน ถวายธูป เทียน ชวาลา น้ำมันตามไส้ประทีปแก่พระภิกษุสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาในพระอาราม

    สำหรับเทียนจำนำพรรษาจะมีการ แห่เทียน ไปยังพระอารามทั้งทางบกและทางน้ำตามแต่หนทางที่ไปจะอำนวยให้ เพื่อนำเทียนเข้าไปตั้งในพระอุโบสถหรือพระวิหาร แล้วก็จะจุดเทียนเพื่อบูชาพระรัตนตรัย
    สำหรับการปฏิบัติอื่น ๆ ก็จะมีการถวาย ผ้าอาบน้ำฝน การอธิษฐานตนว่าจะประพฤติปฏิบัติให้อยู่ในกรอบของศีลห้า ศีลแปด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามระยะเวลาที่กำหนดโดยเคร่งครัด ตามกำลังศรัทธา และขีดความสามารถของตน นับว่าวันเข้าพรรษาเป็นโอกาสอันดีที่พุทธศาสนิกชน จะได้ประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของพระพุทธศาสนาได้เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง


    �ѹ���Ҿ����
     

แชร์หน้านี้

Loading...