จริงรึที่บอกว่า สติปัฏฐาน๔ เป็นทางเดียวที่ทำให้บรรลุนิพพานได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย WebSnow, 21 มิถุนายน 2005.

  1. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    ความรู้พื้นฐานมีอยู่ว่า สติปัฏฐาน๔

    1*-เป็นการปฏิบัติตรงดิ่งสู่นิพพานมุ่งหน้าบรรลุนิพพานโดยตรง โดยไม่ต้องไปฝึกฤทธิ์ก่อน (ฝึกแบบสุขะวิปัสะโก)
    ถ้าใครเคยฝึกฤทธิ์มาจากอดีตชาติของเก่าจะรวมตัวกันโดยไม่ต้องฝึกใหม่

    2*-สติปัฏฐาน๔ ฝึกได้ทุกจริต ไม่มีแบ่งจริต (จึงมีปริมาณมาก)


    จากที่บอกว่า "สติปัฏฐาน๔ เป็นทางสายเอก"
    ความหมายที่แท้จริงของทางสายเอกคืออะไร ?

    ทางสายเอก หมายถึงว่าทางสายใหญ่
    ทางสายเอกความหมาย จะเหมือนกับถนนสายเอกรึเปล่าคือ
    ถนนสายเอกจะเป็น ถนนสายตรง1* ถนนสายใหญ่2*- ทางสายสำคัญ

    หรือหมายถึงทางสายเดียวจริงๆ ?

    ไม่มีทางไหนแล้วหรือที่จะฝึกแล้วบรรลุอรหันต์ได้ นอกจาก สติปัฐาน๔

    -------------------------------------------------------------------
    กรณีพระลูกชายนายช่างทอง ไปฝึกกสิน(ในกรรมฐาน ๔๐กอง)กับพระพุทธเจ้า

    พอฝึกกสินได้แล้วพระพุทธเจ้าเนรมิตดอกบัวเหล็กให้เหี่ยว พอพระลูกชายเห็นดอกบัวเหล็กเหี่ยว
    ท่านก็ใช้กำลังญาณพิจารณาว่าดอกป็นเหล็กยังเหี่ยวได้ แล้วร่างกายเราไม่ทนทานเท่าดอกบัวก็ต้องเหี่ยวไปตามกาล เท่านั้นท่านก็บรรลุอรหันต์
     
  2. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    เอก [ ADJ ] great</B>
    [ English ]excellent; outstanding [ Syn ] ดีเลิศ [ Sample] พวกเราเดินทางไปพิพิธภัณฑ์ เพื่อไปชมผลงานศิลปะ และภาพวาดลือชื่อของจิตรกรเอกของโลก [ Note ] (บาลี/สันสกฤต)



    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] เอก [ ADJ ] first</B>

    [ Syn ] ที่หนึ่ง [ Sample] วัดราชโอรสารามเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เดิมชื่อ วัดจอมทอง [ Note ] (บาลี/สันสกฤต)

    </TD></TR></TR></TBODY></TABLE>



    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] เอก [ ADJ ] lead</B>

    [ English ]leading [ Syn ] ตัวนำ, นำ [ Sample] เขาได้เล่นเป็นตัวเอกในละครเรื่องนี้ [ Note ] (บาลี/สันสกฤต)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] เอก [ N ] one</B>

    [ Syn ] หนึ่ง [ Note ] (บาลี/สันสกฤต)

    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    http://www.palungjit.org/dict/
     
  3. ดวงแก้ว

    ดวงแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2005
    โพสต์:
    205
    ค่าพลัง:
    +259
    ความเห็นส่วนตัวนะค่ะ ..เพราะก็ไม่ได้ศึกษามากมาย
    แต่สิ่งหนึ่งที่เล็งเห็นก็คือ คนเราถ้ามีสติ และมีสัมมาทิฏฐิ
    สิ่งต่างๆ ที่คิดและปฏิบัติ ย่อมส่งผลตามอานิสงส์ค่ะ

    การมีฤทธิ์ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการฝึกจิต ฝึกสมาธิ
    ซึ่ง ในพระไตรปิฏก เราไม่มีการฝึกสอนเรื่องนี้ แต่เราก็
    ต้องยอมรับว่า ก่อนที่พระพุทธเจ้าท่านจะบรรลุ ท่านก็มี
    ครูบาอาจารย์ เป็นโยคี เช่น ปัจจวัคคี ซึ่งการเรียนการสอน
    นั้น เมื่อจบท่านก็ไม่สามารถ บรรลุ หรือพ้นทุกข์ได้
    หรือแม้แต่การที่ปฏิบัติ แบบตึงไป หย่อนไป ก็ไม่พ้นทุกข์
    แต่ที่ท่านสามารถบรรลุ ไม่ใช่เพราะการใช้ฤทธิ์ แน่นอนค่ะ

    สาธุ
     
  4. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    ตามความเห็นนะครับ

    1. ทางเอก น่าจะหมายถึง ทางหลัก มากกว่าทางเดียว หรือ หมายถึง ทางตรง ไม่ได้อ้อม เช่นไม่ต้องฝึกสมถะก่อนก็ได้

    2. ลูกชายนายช่างทอง เท่าที่จำได้ ฝึกกรรมฐานกับพระสารีบุตรนับเดือนไม่ก้าวหน้า พระสารีบุตรเลยพามาเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเนรมิตดอกบัว (จำได้เลาๆว่า สีแดง เพื่อแก้จริต) ให้เพ่ง จนได้นิมิต สามารถบังคับภาพนิมิตให้ใหญ่ได้ เล็กได้ ไกลได้ ใกล้ได้

    พระพุทธเจ้าเนรมิตดอกบัวให้เหี่ยว จนกระทั่งแห้งเฉา พระรูปนี้จึงเห็นกฎไตรลักษณ์ รู้อุปทานขันธ์ 5 (ธัมมานุปัสนา-ขันธบรรพ) จึงบรรลุอรหันต์ เข้าใจว่าพระอรหันต์รูปนี้บรรลุธรรมเพราะเจริญสติปัฏฐาน4 หมวด ขันธบรรพ ครับ
    ส่วนกสิน และ นิมิต เป็นอุบายให้จิตสงบจากนิวรณ์ ได้ฌาน เพื่อเจริญวิปัสสนาต่อ
     
  5. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    คำถามประเด็นนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ในที่นี้ขอตัดประเด็นการบรรลุธรรม 4 แบบไว้ก่อน เพราะแท้จริงแล้ว การบรรลุธรรมแบบไหนๆ ก็ต้องมาเข้าหลักสติปัฎฐานสี่

    ส่วนที่คุณชัย บอกว่า การฝึกสติปัฎฐานสี่เป็น แนวการฝึกแบบสุขะวิปัสโก อันนี้ไม่ใช่น่ะครับ จริงๆแล้ว สติปัฎฐานสี่เป็นทางเดินเพื่อการบรรลุธรรม ส่วนจะบรรลุแบบไหน ก็สามารถเป็นไปได้ทั้งสี่แบบน่ะครับ ขึ้นอยู่กับวาสนาบารมี และจริตการบำเพ็ญมา

    ส่วนตัวผม มีความเชื่อมั่นว่า สติปัฏฐานสี่เป็นทางสายเดียว ที่จะทำให้เหล่าสัตว์พ้นทุกข์ได้ เพราะ การที่จะพ้นทุกข์ ก็ต้องรุ้จักทุกข์ และรู้เท่าทันทุกข์จริงๆ มันต้องมีสติ ไม่ว่าคุณจะเจริญกรรมฐาน 40 กองหรืออะไรก็ตาม ถ้าจะปฏิบัติให้พ้นทุกข์แล้ว ก็ต้องมาเข้าหลักการมีสติอยุ่เสมอๆ

    "ต้นทางของสมาธิอาจจะไม่ใช่สติปัฏฐานสี่ แต่ถ้าจะเอาให้บรรลุธรรมกันแล้วก็ต้องมากำหนดรุ้ทุกข์ในชีวิตประจำวัน หรือในสมาธิ ซึ่งหมายถึงการมีสติเท่าทันทุกข์ในระดับต่างๆนั้นเอง (แม้เจตนาคุณจะไม่อยากเดิน หรือไม่รู้จักสติปัฎฐานสี่ก็เถอะ แต่ก็ถือว่าเข้าอยุ่ในหลักของสติปัฎฐานสี่โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว)"

    ------------------------------------------------------------------

    ลองดูจากหลายๆข้อความ ด้านล่างนี้เลยว่า การฝึกสติปัฏฐานสี่ มีฤทธ์เดชสารพัดแบบมากแค่ไหน หรือบางคนอาจจะไม่มีฤทธ์เดชเลยก็เป็นไปได้

    พระอรหันต์อนุรุทธะ พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าท่านเป็นเลิศเรื่องตาทิพย์ พระอนุรุทธะ ท่านก็บอกไว้แล้ว ว่าท่านเจริญทางสติปัฎฐานสี่มามาก

    พุทธพจน์
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางเดียวที่จะทำให้เหล่าสัตว์บริสุทธิ์ได้ ล่วงพ้นความโศกและความรำพันคร่ำครวญได้ ดับทุกข์และโทมนัสได้ บรรลุอริยมรรคเพื่อเห็นแจ้งพระนิพพานได้ หนทางนี้คือสติปัฏฐาน ๔ ประการ

    ๔ ประการนั้นมีอะไรบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้

    ๑) พิจารณาเห็นกายในกายอยู่เสมอ

    ๒) พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่เสมอ

    ๓) พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่เสมอ

    ๔) พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ

    เธอพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรมอย่างมีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ นี้เป็นอีกประการหนึ่ง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2005
  6. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    อานิสงส์สติปัฏฐาน ๔

    ปัญหา การเจริญสติปัฏฐาน ๔ มีอานิสงส์อย่างไรบ้าง ?

    พระอนุรุทธะตอบ
     
  7. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    อานิสงส์ของการเจริญสติปัฏฐาน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ นี้ ตลอด ๗ ปี เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือพระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นพระอนาคามี

    ๗ ปียกไว้ ผู้ใดก็ตามเจริญสติปัฏฐาน ๔ นี้ตลอด ๖ ปี ... ๕ ปี ... ๔ ปี ... ๓ ปี ... ๒ ปี ... ๑ ปี ๗ เดือน ... ๖ เดือน ... ๕ เดือน ... ๔ เดือน ... ๓ เดือน ... ๒ เดือน ... ๑ เดือน ... กึ่งเดือน ... ๗ วัน เขาพึงหวังผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ พระอรหัตตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทิเหลืออยู่ ก็จะเป็นพระอนาคามี

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์โทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔

    ------------------------------------------------------------------

    อานิสงส์อันเป็นผลข้างเคียงจากการเจริญสติปัฏฐาน

    รวบรวมคำยืนยันของผู้ปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ แล้วเกิดความรู้เห็นอันยิ่ง หรืออภิญญาประการต่างๆดังนี้

    วิปากสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้วิบากของการกระทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อิทธิสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    ทิพโสตสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    เจโตปริจจสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    ฐานาฐานสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ฐานะโดยความเป็นฐานะ และอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวงตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    นานาธาตุสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนกและโลกธาตุต่างๆ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อธิมุตติสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้อัธยาศัยอันเป็นต่างๆ กัน ของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    อินทรียสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    สังกิเลสสูตร

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๑

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง นับร้อยนับพัน และนับกัปนับกัลป์บ้าง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งเหตุการณ์ ความเป็นไป ชื่อสกุลบุคคลต่างๆ ฯลฯ ด้วยประการฉะนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๒

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้

    วิชชาสูตรที่ ๓

    ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติอันทำลายอาสวะ (กิเลสหมักดองในขันธสันดาน) เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้


    จากหนังสือ 7 เดือน บรรลุธรรม โดย ดังตฤณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2005
  8. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    พระพุทธองค์ทรงอธิบายองค์มรรคทั้ง ๘ โดยมรรคตัวที่ ๗
    คือ สัมมาสติ ก็คือ"การเจริญสติปัฏฐานสี่" นั้นเอง
    -----------------------------------------------------------

    ปัญหา องค์แต่ละอย่างแห่งอริยมรรคคืออะไร ?

    พุทธดำรัสตอบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 มิถุนายน 2005
  9. ผู้เดินทาง

    ผู้เดินทาง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    203
    ค่าพลัง:
    +407
    ขอขอบคุณ คุณบัวใต้น้ำมากครับ ที่นำพระพุทธพจน์บทที่เกี่ยวกับสติปัฏฐาน 4 และ อริยมรรคมีองค์ 8 มาลงไว้ พระพุทธพจน์บทนี้ถือเป็นหัวใจของคำสอนของพระพุทธศาสนาทีเดียวครับ สำหรับนักเจริญวิปัสนาแล้วพระพุทธพจน์บทนี้ครอบคลุมหลักปฏิบัติทั้งหมดมีความหมายลึกซึ้ง ส่วนใครจะทราบซึ้งตามได้แค่ใหนก็ขึ้นอยู่กับผลการปฏิบัติของผู้นั้นครับ
     
  10. WebSnow

    WebSnow ผู้ก่อตั้งเว็บพลังจิต ทีมงาน Administrator

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 เมษายน 2003
    โพสต์:
    8,695
    กระทู้เรื่องเด่น:
    129
    ค่าพลัง:
    +64,019
    กรรมฐาน ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงแบ่งใหญ่ๆได้สองอย่างคือ
    1.สมถะกรรมฐาน
    2.วิปัสนากรรมฐาน


    1. กรรมฐาน ๔๐ กอง
    2. มหาสติปัฏฐานสูตร


    - กรรมฐาน๔๐ ถ้าฝึกสำเร็จแล้ว จะต้องฝึกต่อด้วยวิปัสนา จึงจะบรรลุอรหันต์ได้

    วิปัสสนาทั้งหมดของทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงจัดให้อยู่ในหมวดสติปัฏฐาน๔ ใช่ไหม ?

    ถ้าใช่ผมจะเพิ่มสติปัฏฐาน๔ เข้าไปใน4หมวด

    ตรงนี้ผมไม่มั่นใจมาก เพราะว่าตอนนี้ผมกำลังจัดหมวดหมู่ เสียงพระธรรมเทศนา ในเรื่องปฏิบับัติ4แบบ

    หมวด แนวปฏิบัติเพื่อบรรลุอรหันต์ทั้ง ๔ แบบ
     
  11. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    ขอบคุณคุณบัวใต้น้ำครับ ที่มาให้ความกระจ่าง
     
  12. บัวใต้น้ำ

    บัวใต้น้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2004
    โพสต์:
    888
    ค่าพลัง:
    +1,937
    ถ้าว่ากันตามจริงแล้ว ตามพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าท่านไม่เคยจัดหมวดหมู่ของการเจริญสมถะ เป็น 40 แบบ รูปแบบของสมถะจริงๆแล้วมีมากไม่มีประมาณ (มีมากจนนับไมได้ ขึ้นอยุ่กับการใช้สมมุติอันไหน มาทำให้จิตจดจ่อเป็สมาธิ ) เพียงแต่ที่นิยมกัน และครูบาอาจารย์รุ่นหลังๆเอามาจัดหมวดหมู่กันเองและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป มีอยู่ 40 แบบ ยกตัวอย่างเช่น พระจุลปัณฑกะ ( หลวงพ่อเล็กนับถือท่านว่าเป็นเลิศด้านมโนยิทธิ ) พระพุทธเจ้าก็มีอุบายให้ท่านเอาผ้าขาว มาเช็ดฝุ่น เช็ดไปเรื่อยๆ ภายหลังท่านก็บรรลุอรหันตผล พร้อมปฏิสัมภิทาญาณ สามารถแยกร่างได้ออกเป็นพันๆร่าง หรือพระบางรูป ก็จ้องมองก้อนน้ำแข็งละลาย , บางรุปก็จ้องมองฝนตก ,มองดอกกุหลาบ ฯลฯ ตรงนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสมถะ มีมากไม่มีประมาณ ( ขึ้นอยุ่กับการใช้สิ่งสมมุติอันใดเป็นเครื่องล่อจิตให้เป็นสมาธิ )

    ส่วนมหาสติปัฏฐานสี่ ไม่ใช่วิปัสนาอย่างเดียวน่ะครับ "แต่เป็นสมถะ + วิปัสสนาอยู่ในตัวมหาสติปัฏฐานสี่" แล้วแต่จริตและความถนัดในการภาวนาในแต่ละฐาน บางฐานคุณจะภาวนาให้เป็นสมถะอย่างเดียวก็ทำได้ บางฐานเป็นสมถะมากกว่าวิปัสนา บางฐานเป็นวิปัสนามากกว่าสมถะ และบางฐานเป็นวิปัสสนาอย่างเดียว และยังขึ้นอยู่กับ"บรรพ"ในแต่ละฐานด้วย

    ส่วนเรื่องการปฏิบัติเพื่อการบรรลุธรรม 4 รูปแบบ ที่ผ่านมาผมเพียงรู้มาจากตำราของครุบาอาจารย์รุ่นหลังๆ และไม่เจอจากพระไตรปิฏก ประกอบกับยังปฏิบัติไม่ถึงไหน ทำให้ผมไม่มีความรู้ลึกซึ้งตรงส่วนนี้และไม่สามารถเปรียบเทียบผลทีได้จากการปฏิบัติในแต่ละแบบ ผมเลยขอ"งด"ออกความคิดเห็นในส่วนนี้

    ก่อนจบ ....ผมอยากบอกเพื่อนๆธรรมมะว่าผมไม่สงสัยเลย ที่บอกว่าให้เจริญสมถะ ควบคู่ไปกับวิปัสนา จะเอาสมถะหรือวิปัสสนาขึ้นนำก่อนก็ได้ หรือจะควบคู่กันก็ได้ แต่จะเอาแค่สมถะหรือวิปัสสนาอย่างใดอย่างนึงไมได้ พระพุทธเจ้าแนะนำให้ทำทั้งสมถะและวิปัสสนาจนเกิดมรรค และให้เดินบนมรรคนั้นไปเรื่อยๆ มรรคก็จะเจริญขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นประโยคด้านล่าง


    สมถะหรือวิปัสสนาก่อน

    ปัญหา การเจริญกรรมฐานมี ๒ อย่างคือ สมถะ และวิปัสสนา ใน ๒ อย่างนี้ จะเจริญสมถะก่อนหรือวิปัสสนาก่อน ? จะเจริญควบคู่กันไปจะได้หรือไม่ ?


    พระอานนท์ตอบ ว่า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มิถุนายน 2005
  13. Peet

    Peet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2004
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +324
    เรื่องนี้ผมเคยถามในเว็บลานธรรมมาแล้วครับ
    http://larndham.net/index.php?showtopic=12150&st=0
    websnow ลองเข้าไปอ่านแล้วตัดสินใจด้วยตัวเองดูครับ
    ผมคิดว่าผมเข้าใจแล้วครับ
    สติคือจุดสำเร็จครับ ฝึกกรรมฐานกองไหนๆก็ต้องใช้สติเป็นฐานครับ
     
  14. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ข้าพเจ้าจะตอบท่านทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่ได้คิดว่าจะปรมาสหรือคิดคัดค้านคำสอนในเรื่องสติปัฎฐาน ว่า
    สติปัฎฐาน เป็นเพียงกระพี้ธรรม หรือเป็นเพียงคำอธิบายประกอบการปฏิบัติ ถูกบ้าง ผิดบ้าง ก็ตามแต่เขาจะรวบรวมมา
    ถ้าจะกล่าวว่า สติปัฎฐาน 4 สามารถทำให้บรรลุโสดาบันได้ไหม เอาแค่โสดาบัน ก็พอ ข้าพเจ้าขอตอบเลยว่า สติปัฎฐาน 4 ไม่มีทางทำให้บรรลุโสดาบันได้เลย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่า
    การจะบรรลุสู่ชั้นโสดาบัน ต้องรู้หลักการหรือหลักวิชชาที่ถูกต้อง ต้องมีญาณหรือความปรีชาหยั่งรู้อันนับเข้าในวิปัสสนา อีกทั้งยังต้องรู้จักวิธี วิปัสสนาอีกด้วย
    อนึ่ง การปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น ย่อมผ่านฤทธิ์ หมายความว่า เมื่อปฏิบัติธรรมโดยรู้และเข้าใจในหลักวิชชาอันถูกต้อง รวมไปถึงมี ญาณ และรู้จักวิธีการวิปัสสนาที่ถูกต้อง จะเกิดอภิญญาขึ้นมาเอง เหตุเพราะอภิญญาสามารถช่วยให้บรรลุนิพพานได้ อาจจะกล่าวว่า อภิญญาเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลนั้น บรรลุหรือสำเร็จนิพพาน และอภิญญาก็เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เกิดขี้นเนื่องจากญาณ และจากการวิปัสสนา
     
  15. tamsak

    tamsak ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กันยายน 2004
    โพสต์:
    7,857
    กระทู้เรื่องเด่น:
    22
    ค่าพลัง:
    +161,171
    เรียน คุณ telwada.....

    เรื่องการเป็นผู้บรรลุโสดาบัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านเคยอธิบายให้ลูกศิษย์ฟังแล้ว ลองหาอ่านดูสิครับ
    ยายผีป่่า (ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม...แหะ..แหะ..สำนวนเหมือนนักการเมืองเลย..) ก็เคยนำมาโพสต์ให้
    ได้อ่านกันตั้งแต่ระดับโสดาบันจนถึงพระอรหันต์ หรือไม่งั้นก็ลองอ่านหนังสือ "ทางสู่สายพระนิพพาน"
    ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำก็ได้ครับ คำสอนของหลวงพ่อก็นำมาจากคำสอนของ "พระ" ซึ่งท่านสอนง่ายๆ
    ไม่ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยาก....อ่านแล้วเข้าใจและปฏิบัติตามได้ไม่ยากครับ

    ผมเป็นผู้ที่มีความรู้น้อยมากในเรื่องหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ปฏิบัิติก็น้อย ได้แต่อาศัยอ่านมากหน่อย
    ฟังมากนิดนึง แต่พอผมอ่านที่คุณเขียนก็มีความคิดว่าไม่น่าจะใช่หรือถูกต้องทั้งหมดนะ...ที่คุณบอกว่า

    "อนึ่ง การปฏิบัติธรรมเพื่อการหลุดพ้น ย่อมผ่านฤทธิ์ หมายความว่า เมื่อปฏิบัติธรรมโดยรู้และเข้าใจในหลักวิชชาอันถูกต้อง รวมไปถึงมี ญาณ และรู้จักวิธีการวิปัสสนาที่ถูกต้อง จะเกิดอภิญญาขึ้นมาเอง เหตุเพราะอภิญญาสามารถช่วยให้บรรลุนิพพานได้ อาจจะกล่าวว่า อภิญญาเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้บุคคลนั้น บรรลุหรือสำเร็จนิพพาน และอภิญญาก็เป็นผลแห่งการปฏิบัติที่เกิดขี้นเนื่องจากญาณ และจากการวิปัสสนา"

    ผมทราบมาว่า การปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้น มีด้วยกัน 4 แบบ หากผู้ปฏิบัติที่มาในทางสายสุกขวิปัสสโก ท่านที่มาในสายนี้สามารถหลุดพ้นได้โดยไม่ต้องมีอภิญญาแต่อย่างใด ดังที่ผมได้คัดลอกแนวคำสอนของพระเดช พระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) มาให้อ่านข้างท้ายนี้

    อนึ่ง ผมมิได้มีเจตนาจะดึงหลวงพ่อมาคัดค้านกับความคิดของคุณ แต่เนื่องจากคำสอนของหลวงพ่อเป็นแนว
    ทางที่ถูกต้องและตรงตามหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผมจึงขออนุญาตนำคำสอน
    ของท่านมาให้เพื่อนๆ ได้อ่านและเข้าใจตรงตามความจริง หากคุณ telwada จะโต้แย้งคัดค้านประการใด ก็ขอให้โต้แย้งคัดค้านที่ผมโดยตรง การที่ผมนำคำสอนของหลวงพ่อมาอ้างอิง หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผมขอน้อมรับความผิดพลาดนั้นไว้แต่ผู้เดียว

    อัชฌาสัยสุกขวิปัสสโก

    บางคนชอบแบบสุกเอาเผากิน เรื่องความละเอียดเรียบร้อย การรู้เล็กรู้น้อยแสดงฤทธิ์ อวดเดช
    เดชาอะไรนั้น ไม่มีความต้องการ หวังอย่างเดียวคือความบรรลุผล ท่านประเภทนี้พระพุทธเจ้ามีแบบ
    ปฏิบัติไว้ให้เรียกว่า สุกขวิปัสสโก คือปฏิบัติแบบสบาย เริ่มด้วยการรักษาศีลให้บริสุทธิ์ เรื่องศีลนี้
    นักปฏิบัติต้องสนใจเป็นพิเศษ ถ้าหวังผลในการปฏิบัติแล้ว อย่าให้ศีลบกพร่องเป็นอันขาด แม้แต่
    ด่างพร้อยก็อย่าให้มี ถ้าท่านเห็นว่าศีลเป็นของเล็กน้อย ปฏิบัติยังขาด ๆ เกิน ๆ แล้ว ท่านไม่มีหวังใน
    มรรคผลแน่นอน เมื่อมีศีลครบถ้วนบริสุทธิ์ผุดผ่องดีแล้ว ท่านก็ให้เจริญสมาธิ ตอนสมาธินี้ ท่านฝ่าย
    สุกขวิปัสสโกท่านไม่เอาดีทางฌานสมาบัติ พอมีสมาธิเล็กน้อยก็เจริญวิปัสสนาญาณควบกันไปเลย
    คุมสมาธิบ้าง เจริญวิปัสสนาบ้าง พอสมาธิที่รวบรวมได้ทีละเล็กละน้อย เมื่อสมาธิเข้าถึงปฐมฌาน
    วิปัสสนาก็มีกำลังตัดกิเลสได้ จะได้มรรคผลก็ตอนที่สมาธิเข้าถึงปฐมฌาน หากสมาธิยังไม่ถึงปฐมฌาน
    เพียงใด จะได้มรรคผลไม่ได้ นี้เป็นกฎตายตัว เพราะมรรคผลต้องมีฌานเป็นเครื่องรู้ ฌานนี้จะบังเกิด
    ขึ้นเมื่อจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ คือเกือบถึงปฐมฌาน ห่างกันระหว่างปฐมฌานกับอุปจารฌานนั้น เพียง
    เส้นผมเดียวเท่านั้น จิตเมื่อตั้งมั่นในอุปจารสมาธิแล้ว ก็จะเกิดทิพยจักษุฌาน คือเห็นสิ่งที่เป็นทิพย์
    และได้ยินเสียงที่เป็นทิพย์ได้ เพราะตามธรรมดาจิตนั้นเป็นทิพย์อยู่แล้ว ที่ต้องมาชำระกันใหม่ด้วยการ
    ฝึกสมาธิ ก็เพราะจิตถูกนิวรณ์ คืออกุศลหุ้มห่อไว้ ได้แก่ความโลภอยากได้ไม่มีขอบเขต ความผูกโกรธ
    คือพยาบาทจองล้างจองผลาญ ความง่วงเมื่อขณะปฏิบัติทำสมาธิ ความฟุ้งซ่านของอารมณ์ในขณะฝึก
    สมาธิ ความสงสัยในผลปฏิบัติโดยคิดว่าจะได้หรือ จะสำเร็จหรือ ทำอย่างนี้จะสำเร็จได้อย่างไร ความ
    สงสัย ไม่แน่ใจอย่างนี้ เป็นนิวรณ์กั้นฌานไม่ให้เกิด รวมความแล้ว ทั้งห้าอย่างนี้นั่นแหละ แม้เพียง
    อย่างเดียว ถ้าอารมณ์ของจิตยังข้องอยู่ฌานจะไม่เกิด จะคอยกีดกันไม่ให้จิตผ่องใส มีอารมณ์เป็นทิพย์
    ตามสภาพปกติได้ จิตเมื่อถูกอกุศลห้าอย่างนี้หุ้มห่อก็มีอารมณ์มืดมนท์รู้สิ่งที่เป็นทิพย์ไม่ได้เพราะ
    อำนาจอกุศลคือนิวรณ์ห้านี้จะพ้นจากจิตไปได้ก็ต่อเมื่อจิตทรงอารมณ์ของฌานไว้ได้เท่านั้น ถ้าจิตทรง
    อารมณ์ปฐมญานไม่ได้ จิตก็ต้องตกเป็นทาสของ นิวรณ์
    อารมณ์ปฐมฌานนั้นมี ๕ เหมือนกัน คือ
    ๑. วิตก คำนึงถึงองค์กรรมฐานที่ฝึกตลอดเวลา
    ๒. วิจาร ใคร่ครวญกำหนดรู้ตามในองค์กรรมฐานนั้น ๆ ไม่ให้บกพร่องตรวจตราพิจารณาให้
    ครบถ้วนอยู่เสมอๆ
    ๓. ปีติ มีความเอิบอิ่มรื่นเริงหรรษา ไม่อิ่มไม่เบื่อในการปฏิบัติพระกรรมฐาน
    ๔. สุข เกิดความ สุขสันต์หรรษาทางกายอย่างไม่เคยปรากฏมาในกาลก่อนมีความสุขสดชื่น
    บอกไม่ถูก
    ๕. เอกัคคตารมณ์ มีอารมณ์มั่นคงในองค์กรรมฐาน จิตกำหนดตั้งมั่นไม่คลาดจากองค์
    กรรมฐานนั้นๆ

    ทั้งห้าอย่างนี้เป็นอารมณ์ของปฐมฌาน เมื่อเข้าถึงตอนนี้จิตก็เป็นทิพย์มาก สามารถกำหนดจิตรู้
    ในสิ่งที่เป็นทิพย์ได ้ก็ผลของวิปัสสนา คือมรรคผลนั้น การที่จะบรรลุถึงได้ต้องอาศัยทิพยจักษุญาณ
    เป็นเครื่องชี้ ตามที่ท่านกล่าวไว้ว่าเมื่อภิกษุบรรลุแล้วก็มีญาณบอกว่ารู้แล้ว ที่พระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้
    ก็ทรงหมายเอาญาณที่เป็นทิพยจักษุญาณนี้ถ้าบรรลุอรหัตตผลแล้ว ท่านเรียกว่า วิมุตติญาณทัสสนวิสุทธิ
    วิมุตติแปลว่า หลุดพ้น ญาณ แปลว่า รู้ ทัสสนะ แปลว่า เห็น วิสุทธิ แปลว่า หมดจดอย่างวิเศษ คือ หมด
    ไม่เหลือ หรือสะอาดที่สุด ไม่มีอะไรสกปรก (บอกไว้เพื่อรู้)

    ฉะนั้น ท่านสุกขวิปัสสโก ถึงแม้ท่านจะรีบปฏิบัติแบบรวบรัดอย่างไรก็ตาม ท่านก็ต้องอาศัยฌาน
    ในสมถะจนได้ แต่ได้เพียงฌานเด็กๆ คือปฐมฌาน เป็นฌานกระจุ๋มกระจิ๋มเอาดีเอาเด่นในเรื่องฌาน
    ไม่แน่นอนนัก กล่าวโดยย่อ ก็คือ
    ๑. ท่านรักษาศีลบริสุทธิ์ ชนิดไม่ทำเอง ไม่ใช้ให้คนอื่นทำ และไม่ยินดีในเมื่อคนอื่นทำบาป
    ๒. ท่านเจริญสมาธิควบกับวิปัสสนา จนสมาธิรวมตัวถึงปฐมฌานแล้ว ท่านจึงจะได้
    สำเร็จมรรคผล
    ท่านสุกขวิปัสสโก มีกฏปฏิบัติเพียงเท่านี้ ท่านจึงเรียกว่า สุกขวิปัสสโก แปลว่า บรรลุแบบ
    ง่ายๆ ท่านไม่มีฌานสูง ท่านไม่มีญาณพิเศษอย่างท่านวิชชาสาม ท่านไม่มีฤทธิ์ ท่านไม่มีความรู้พิเศษ
    อะไรทั้งสิ้น เป็นพระอรหันต์ประเภทรู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ไม่มีคุณพิเศษอื่นนอกจากบรรลุมรรคผล


    ท้ายนี้ หากคุณ telwada จะช่วยอธิบายขยายความคิดของคุณเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
    และเข้าใจในแนวความคิดของคุณ ผมก็ยินดีที่จะคอยอ่านครับ


    ___________
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 มิถุนายน 2005
  16. ammytr

    ammytr เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ธันวาคม 2004
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +301
    ที่ได้ฟังจาก อ ไก่มานะครับ

    ก็คือ ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านแสดงธรรมบท มหาสติปัฎฐานสี่ ให้กับชาวตำบลอุรุเวลาเสนานิคมนั้น ชาวตำบลอุรุเวลาเสนานิคมซึ่งชำนาญในพระกรรมฐานทั้งสี่สิบกองแล้วอย่างยิ่ง

    และทางสายเอกที่จะบรรลุธรรมนั้นไม่ใช่สติปัฎฐานสี่ครับ ทางสายที่จะบรรลุธรรมคือทางสายสู่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ไม่ใช่สติปัฎฐานสี่ แต่สติปัฎฐานสี่เป็นเครื่องที่ทำให้ถึงทางสายเอก และต้องประกอบไปด้วยวิปัสสนาญาณ ๙

    และผมถามมาแล้วครับว่า สติปัฎฐานสี่ที่สอนที่เวบลานธรรมนั้น สอนผิด และ จะตัน ครับ
    ที่เขาทำกันคือเจริญสติสัมปชัญญะครับ ไม่ใช่สติปัฎฐานสี่
     
  17. peerachai333

    peerachai333 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +15
    ไตรลักษณ์

    ไตรลักษณ์ ต้องลง ไตรลักษณ์
     
  18. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    หมายความว่าชาวอุรุเวลาเสนานิคม ชำนาญพระกรรมฐานทั้ง 40 กอง แต่ยังไม่พอเพียง พระพุทธองค์จึงแสดง สติปัฏฐาน4 เพื่อสอนให้บรรลุธรรมหรือเปล่าครับ
     
  19. R2D2

    R2D2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2004
    โพสต์:
    144
    ค่าพลัง:
    +133
    พุทธดำรัสระบุว่า สติปัฏฐาน4 เป็นทางสายเอกเพื่อบรรลุธรรม อย่างน้อยเป็น อนาคามี (ถ้ามีอุปทิเหลือ) หรือ อรหันต์ ภายใน 7ปี

    แปลว่า สติปัฏฐาน4 เป็นทางสาย (หลัก ในความเห็นผม อาจมีหลายทาง ไม่ใช่ทางสายเดียว) ในการสู่กระแสนิพพาน

    วิปัสสนาญาณ หรือ วิชชา3 วิชชา8 เป็นผลจากการเจริญสติ ตามพุทธดำรัสในพระไตรปิฎก อย่างที่คุณบัวใต้น้ำยกมาให้ดูครับ
     
  20. UFO99

    UFO99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2005
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +983
    ดีจังได้ความรู้อีกแล๊ะ

    (good) ได้ความรู้อีกแย้วขอบคุณครับชอบๆๆๆ^-^ ถ้าเจริญสมาธิแล้วหน้าท้องจะเกร็ง เดิน วิ่ง นั่ง นอน หน้าท้องจะเกร็งตลอด ไม่หน้าท้อง ก็เพดานปากจะเกร็งแทน ทำให้รู้ตัวเสมอ ว้าก นี่ผมมั่วหรือป่าวเนี่ย แต่ที่เป็นอยู่ตอนนี้ผมก็เป็นอย่างนั้น
    ต้องไปฝึกต่อแล้ว ต้องไปพิจารณาว่าถูกหรือป่าวแหะๆ ตัวผมยังดีไม่พอเลยครับ ^-^
     

แชร์หน้านี้

Loading...