จะรีไฟแนนซ์รถทั้งที ต้องรู้เรื่องให้ครบ งบจะได้เหลือ

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย monkeydluffy, 1 กุมภาพันธ์ 2023.

  1. monkeydluffy

    monkeydluffy สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2022
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +1
    L1dHK1.png

    การมีรถเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทาง แต่เมื่อรถที่เรามีเริ่มจะทำให้เราเกิดปัญหาอาจเกิดจากการผ่อนไม่ไหว หรือปัญหาอื่น ๆ หลายคนก็จะต้องหาวิธีที่จะแก้ปัญหาให้หนี้รถยนต์เบาลงหรือหมดไปเลย เช่น ขายดาวน์รถ จำนำรถ หรือคืนรถให้กับไฟแนนซ์ไปเลย แล้วจ่ายส่วนต่างที่หลัง แต่ก็จะเป็นการตัดสินใจลำบากสำหรับคนมีรถ เพราะจะไม่มีรถใช้อีกต่อไป แต่ปัญหานั้นจะไม่เกิดกับเรา ถ้าเรารู้จักกับการ “รีไฟแนนซ์รถ” ที่ถูกต้อง เรามาทำความรู้จักกับการรีไฟแนนซ์กันเถอะ

    รีไฟแนนซ์รถ คือ

    การรีไฟแนนซ์รถ เป็นการเริ่มต้นผ่อนหนี้ก้อนใหม่ที่มีเงื่อนไขดีกว่าเดิม หรือการกู้เงินก้อนใหม่มาปิดหนี้ก้อนเดิม เรียกได้ว่าเป็นการเป็นหนี้ที่ได้สิทธิประโยชน์ใหม่ ๆ ทำให้เราสามารถบริหารเงินได้ดีขึ้น

    โดยจุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์รถของคนส่วนใหญ่ เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยหรือค่างวดที่เป็นค่าผ่อนรถต่อเดือน และขยายระยะเวลาผ่อนให้ยาวขึ้น และยังมีรถอยู่กับเรานั่นเอง ซึ่งการรีไฟแนนซ์ใช้กับรถยนต์ที่ยังผ่อนไม่หมด เมื่อผ่อนรถยนต์ไม่ไหว แต่พร้อมสู้ต่อไปให้รถยนต์ยังคงอยู่กับเรา การรีไฟแนนซ์รถถือเป็นทางเลือกที่ดีและเหมาะสมที่สุด

    ใครบ้างที่ควรรีไฟแนนซ์รถ

    L1dp39.png
    เราอาจจะยังไม่แน่ใจว่า เราควรจะรีไฟแนนซ์รถหรือไม่ โดยเราช่วยสรุปลักษณะของบุคคลที่ควรจะรีไฟแนนซ์รถไว้ดังต่อไปนี้
    • ต้องการสภาพคล่องทางการเงิน
    • ต้องการรีไฟแนนซ์รถเพื่อรับเงินด่วน เงินก้อน
    • ต้องผ่อนกับธนาคารเดิมมาเกิน 50% ของยอดหนี้
    • ต้องการลดความเสี่ยงต่อการโดนยึดรถ
    • ผู้ที่มีและไม่มีรายได้ประจำก็สามารถขอรีไฟแนนซ์รถได้
    คุณสมบัติของผู้ที่สามารถรีไฟแนนซ์รถได้

    การขอรีไฟแนนซ์รถไม่ใช่แค่มีรถก็ขอรีได้ จะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตรงตามที่สถาบันการเงินกำหนดไว้ ดังนั้น มาดูซิว่า คุณสมบัติแบบไหนกันที่จะตรงกับเงื่อนไข ซึ่งถ้ามีคุณสมบัติเหล่านี้ รับรองได้ว่า การขอรีไฟแนนซ์รถผ่านฉลุยแน่นอน
    1. รายได้รวมต่อเดือนหรือฐานเงินเดือน - สำหรับรายได้ขั้นต่ำของผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์รถยนต์ ส่วนใหญ่สถาบันการเงินกำหนดไว้ที่ 9,000 บาทขึ้นไป

    2. อายุอยู่ในช่วงวัยทำงาน เป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว โดยมีอายุระหว่าง 20 – 65 ปี มีสัญชาติไทย และ มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ในกรณีที่มีผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องเป็นคนไทย และ มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเช่นกัน

    3. ประเภทของรถ รถที่จะนำไปขอรีไฟแนนซ์เป็นรถเก๋ง รถกระบะ และรถตู้ อายุการใช้งานไม่เกิน 15 ปี และต้องผ่อนชำระมาแล้ว 50% ของสัญญาปัจจุบันหรือเกินครึ่งของมูลค่ารถ ตัวอย่างเช่น หากสัญญาสินเชื่อรถฉบับเดิมมีกำหนดผ่อนชำระอยู่ที่ 6 ปี ก็ควรผ่อนมาแล้ว 3 ปี เป็นต้น

    4. ไม่มีบัตรเครดิตหรือมีน้อยใบ บัตรเครดิตก็เป็นอีกสิ่งที่สถาบันการเงินจะพิจารณาว่ามีโอกาสผ่านอนุมัติรีไฟแนนซ์รถได้หรือไม่ หากใครไม่มีหรือมีน้อยใบโอกาสผ่านก็ง่ายเพราะถือว่าไม่มีความเสี่ยงต่อการนำเงินในอนาคตมาใช้

    5. เงินในบัญชีธนาคารควรมีติดไว้บ้าง อย่างที่เราๆ รู้กันว่าสถาบันการเงินทั้งหลายจะต้องใช้สำเนาบัญชีเป็นหลักฐานอ้างอิง เมื่อใช้บัญชีเล่มไหนเล่มนั้นควรมีเงินอยู่บ้างในทุก ๆ เดือน จะทำให้สถาบันการเงินเห็นว่าเงินก้อนยังมีอยู่เพียงพอ ไม่น่าจะเกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาในอนาคต

    6. ประวัติการเงินถือว่ามีส่วนสำคัญในการทำธุรกรรมทางการเงินและการขอรีไฟแนนซ์รถ ดังนั้นผู้ที่ต้องการรีไฟแนนซ์รถต้องมีประวัติในการเป็นลูกหนี้ที่ดี ชำระเงินตรงเวลา ไม่ค้างค่างวด ไม่ชำระหนี้ล่าช้า จะเพิ่มโอกาสผ่านได้มากยิ่งขึ้น
    ข้อแตกต่างระหว่างรีไฟแนนซ์รถ กับ สินเชื่อรถแลกเงิน

    รีไฟแนนซ์รถ คือ การย้ายสัญญาสินเชื่อรถที่ยังผ่อนไม่หมด โดยเป็นการเปลี่ยนสถาบันการเงินใหม่หรือทำสัญญาสินเชื่อรถยนต์กับสถาบันการเงินเดิมก็ได้ พูดง่าย ๆ ก็คือการกู้เงินจากที่ใหม่มาปิดที่เก่า โดยจุดประสงค์ในการรีไฟแนนซ์รถส่วนใหญ่ เพื่อช่วยลดอัตราดอกเบี้ยหรือค่างวด ที่เป็นค่าผ่อนรถต่อเดือน หรือต้องการยืดระยะเวลาผ่อนชำระออกไปนั่นเอง

    ส่วน สินเชื่อรถแลกเงิน คือ สินเชื่อกู้ยืมเงินรูปแบบหนึ่ง โดยนำรถของเราที่ผ่อนหมดแล้ว มีเล่มทะเบียน เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการแลกกับเงินสด เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการจำนำรถ หรือจำนำทะเบียนรถ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน โดยรถที่สามารถทำมาแลกเงินสดได้นั้นจะต้องเป็นรถที่เล่มทะเบียนรถตัวจริงระบุชื่อผู้กู้ยืมเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ และครอบครองรถ ปัจจุบันมีทั้งรูปแบบโอนเล่มทะเบียน และไม่โอนเล่มทะเบียนเพื่อความสะดวกสบายของผู้กู้ยืม


    ข้อแตกต่างที่เด่นชัดและเปรียบเทียบได้ง่าย ๆ ระหว่างสินเชื่อ 2 แบบนี้คือ

    รีไฟแนนซ์รถ
    • ใช้ได้กับรถที่ยังผ่อนไม่หมด
    • เหมือนขอสินเชื่อใหม่ ผู้กู้ต้องมีหลักฐานแสดงรายได้ชัดเจน และมีเครดิตที่ดี
    • อาจจะได้เงินมาใช้น้อยกว่า เพราะได้แค่ส่วนต่างจากการปิดยอดเดิม
    • ใช้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม
    สินเชื่อรถแลกเงิน
    • ต้องเป็นรถที่ผ่อนหมดแล้ว
    • อนุมัติไวกว่า มีปัญหาเครดิตก็อาจจะกู้ได้ เพราะมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน
    • ให้วงเงินสูงถึง 100% ของราคาประเมินได้เงินมาใช้มากกว่า จะมากแค่ไหนขึ้นอยู่กับสภาพรถและตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของธนาคาร
    • เป็นการสร้างหนี้ใหม่
    รีไฟแนนซ์รถ เสียค่าอะไรบ้าง

    L10xs1.png

    สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรีไฟแนนซ์รถ ที่เราควรศึกษา ก่อนขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถยนต์ ว่ามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างมาดูกันเลยค่ะ

    1. ค่าจัดสินเชื่อ
    ส่วนแรกสำหรับการรีไฟแนนซ์รถคือค่าจัดสินเชื่อที่ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินแห่งใหม่ ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปใช้บริการ บางแห่งอาจเรียกเก็บ แต่บางแห่งอาจมีโปรโมชั่นที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ออกไป โดยปกติแล้วหากมีการเรียกเก็บค่าจัดสินเชื่อจะอยู่ที่ประมาณ 1% ของวงเงินกู้ทั้งหมด

    2. ค่าปรับกรณีคืนเงินกู้ก่อนครบกำหนด
    ค่าปรับส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับสถาบันการเงินเดิม เนื่องจากธนาคารแห่งเดิมต้องแบกรับความเสียเปรียบเสียผลประโยชน์ จากการคิดคำนวณดอกเบี้ยระยะยาวไว้ เมื่อนำเงินมาปิดยอดหนี้ทั้งหมดก่อนครบกำหนด ด้วยเหตุนี้ จึงต้องจ่ายค่าปรับกรณีคืนเงินกู้ก่อนกำหนดในอัตราไม่เกิน 2% ของวงเงิน แต่ถ้านำรถยนต์ที่ปลอดภาระไปขอสินเชื่อก็สามารถตัดค่าใช้จ่ายนี้ออกไปได้

    3. ค่าประเมินราคาหลักประกัน
    การประเมินราคารถยนต์ที่นำมาเป็นหลักประกัน พิจารณาจากราคารถยนต์ตามรุ่นรถ ปีของรถยนต์ หรือปีจดทะเบียนโดยอ้างอิงตามบัญชีราคาประเมินรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2564 ของกรมการขนส่งทางบก ควบคู่กับการพิจารณาสภาพปัจจุบันของรถ

    ค่าใช้จ่ายส่วนนี้สถาบันการเงินเป็นผู้กำหนด ดังนั้นผู้กู้ควรสอบถามกับสถาบันการเงินโดยตรง เพื่อได้เตรียมค่าใช้จ่ายให้พร้อม ยอดเงินที่ต้องเตรียมส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1,500 บาท – 0.25% ของราคาประเมิน ตัวอย่างการคำนวณคือ หากประเมินราคารถยนต์ได้ 300,000 บาท จะต้องเสียค่าประเมินราคาหลักประกัน 1,500 – (300,000 x 0.25/100) = 750 บาท เป็นต้น

    4. ค่าอากรแสตมป์
    ค่าอากรณ์แสตมป์เป็นค่าใช้จ่ายที่ขาดไม่ได้ในการทำธุรกรรมต่าง ๆ รวมถึงการยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์รถ ต้องจ่ายเงินในส่วนนี้ประมาณ 0.5% ของวงเงินกู้ที่ได้จากการรีไฟแนนซ์นั่นเอง

    5.ค่าโอนกรรมสิทธิ์รถ
    นี่เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อคุณผ่อนชำระค่างวดสินเชื่อจนหมดแล้ว โดยค่าธรรมเนียมตามที่กรมขนส่งทางบกระบุไว้มีทั้งค่าโอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นชื่อผู้ขอสินเชื่อ ค่าขอใช้ป้ายทะเบียนจังหวัดเดิมหรือตามทะเบียนบ้าน เป็นต้น

    6. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ
    ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เราต้องจ่ายนั้นอาจมาในขั้นตอนกระบวนการรีไฟแนนซ์ เช่น ค่าเดินทาง ค่าน้ำมันรถ ค่าเสียเวลา เป็นต้น

    เมื่อทราบเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้ในการรีไฟแนนซ์รถยนต์แล้ว อย่าลืมศึกษารายละเอียด เงื่อนไขต่าง ๆ ให้ละเอียด ก่อนขอยื่นกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ดูว่าคุ้มค่า และช่วยให้เรามีสภาพคล่องมากกว่าเดิม ช่วยลดภาระการผ่อนชำระกับธนาคารเดิมได้จริงหรือไม่ หากพิจารณาแล้วว่าตอบโจทย์ที่กล่าวมาก็ยื่นเรื่องขอรีไฟแนนซ์รถกับสถาบันการเงินที่ต้องการได้เลย

    ขั้นตอนการรีไฟแนนซ์รถ

    L10bNb.png
    การรีไฟแนนซ์เป็นทางเลือกสำหรับคนใช้รถที่ต้องการลดภาระในการผ่อนชำระของตัวเอง เพราะช่วยลดดอกเบี้ยให้ถูกลง และเพิ่มระยะเวลาผ่อนชำระให้นานขึ้นได้ นอกจากนี้ ก็ยังทำให้เราได้เงินก้อนเพื่อนำไปใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็น สำหรับคนที่ต้องการขอรีไฟแนนซ์รถ แต่ยังไม่ทราบขั้นตอนว่าต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกันเลยดีกว่า

    1.ตรวจดูให้แน่ว่าจะได้คุ้มเสีย
    อย่ารีบร้อนตัดสินใจทำรีไฟแนนซ์ ควรจะตรวจสอบเงื่อนไขของผู้ให้สินเชื่อเจ้าใหม่ที่เล็งไว้ให้ดี แล้วคำนวณดูว่า ถ้านำดอกเบี้ยคงเหลือจากสินเชื่อเดิม มาหักค่าส่วนต่างกับดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นจากการกู้ใหม่แล้ว จะคุ้มค่าหรือเปล่า

    นอกจากนี้ อย่าลืมสอบถามสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้เดิมให้แน่ใจว่า ตามข้อกำหนดของสถาบันการเงิน ถ้าต้องการปิดสินเชื่อเก่าเพื่อขอสินเชื่อใหม่ จะต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่มเติมหรือไม่ ถ้าเสีย ต้องเสียเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เพื่อที่จะได้นำตัวเลขทั้งหมดมาคำนวณความคุ้มค่าได้ถูกต้อง

    2.ถามตัวเองว่าผ่อนไหวมั้ย
    นอกจากเรื่องความคุ้มค่าแล้ว สิ่งสำคัญยิ่งกว่าคือเราต้องประเมินตัวเองให้ดีว่าสามารถผ่อนจ่ายค่างวดได้ตามเงื่อนไขของผู้ให้สินเชื่อใหม่ไหวหรือเปล่า โดยคำนวณจากรายรับ-รายจ่ายของเรา ถ้าคำนวณแล้วคิดว่าพร้อมสำหรับการรีไฟแนนซ์ครั้งนี้ ก็เดินหน้าต่อได้เลย

    3. เตรียมเอกสาร
    เมื่อตัดสินใจแน่แล้ว ก็จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆที่จะต้องใช้ในการขอรีไฟแนนซ์ทั้งหมดให้ครบถ้วน เอกสารที่ต้องเตรียมแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เอกสารยืนยันตัวตน เช่น สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน และเอกสารยืนยันรายได้ เช่น สลิปเงินเดือน หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสมุดเงินฝากธนาคาร เป็นต้น

    ซึ่งเอกสารเหล่านี้ต้องเตรียมให้ครบตามรายการที่สถาบันการเงินระบุไว้ เพื่อช่วยให้ผู้ปล่อยสินเชื่อแน่ใจว่า เรามีความสามารถในการชำระหนี้ได้

    4. ติดต่อสถาบันการเงินที่ต้องการขอรีไฟแนนซ์
    หากเลือกสถาบันการเงินที่เราต้องการรีไฟแนนซ์รถได้แล้ว ทำการติดต่อแจ้งเจ้าหน้าที่ว่าต้องการรีไฟแนนซ์ได้เลย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะชี้แจงขั้นตอน กระบวนการ และระยะเวลาดำเนินการ จากนั้นให้เรายื่นเอกสารและดำเนินการตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ

    5. รอผลอนุมัติ
    เมื่อดำเนินการติดต่อเจ้าหน้าที่และยื่นเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ครบถ้วนแล้ว ส่วนใหญ่ต้องรอผลการอนุมัติประมาณ 3 – 7 วันทำการ ซึ่งระหว่างนี้หากสถาบันการเงินต้องการเอกสารเพิ่มเติม ให้รีบนำส่งเอกสารตามที่เจ้าหน้าที่ขอให้เรียบร้อย เพื่อช่วยให้การขอรีไฟแนนซ์ได้รับการอนุมัติที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

    6. ติดต่อสถาบันการเงินแห่งเดิมเพื่อปิดบัญชี
    เมื่อได้รับการอนุมัติแล้ว ให้ติดต่อสถาบันการเงินแห่งเดิมเพื่อปิดบัญชีต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ซึ่งอาจมีค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับต่าง ๆ ตามเงื่อนไข ที่ต้องดำเนินการชำระให้ครบถ้วน เมื่อปิดบัญชีและเคลียร์เรื่องเอกสารต่าง ๆ กับทางสถาบันการเงินแห่งเดิมเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการนำเล่มทะเบียนรถมาส่งให้กับสถาบันการเงินแห่งใหม่

    7. รับเงินหลักหักค่าใช้จ่าย
    ทางสถาบันการเงินแห่งใหม่ที่ขอรีไฟแนนซ์รถจะมอบเงินก้อนให้ ซึ่งเป็นเงินส่วนต่างที่เราสามารถนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จากนั้นเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนทั้งหมดก็เริ่มผ่อนชำระค่างวดรถกับสถาบันการเงินแห่งใหม่ต่อไป

    ทั้งนี้ทั้งนั้น อย่าลืมว่าการรีไฟแนนซ์รถก็คือการเริ่มขอสินเชื่อครั้งใหม่ มีข้อดีหลายอย่างทั้งช่วยลดดอกเบี้ยและยืดระยะเวลาผ่อนชำระ ทำให้ค่างวดต่อเดือนลดลง จึงช่วยให้ภาระในการผ่อนชำระแต่ละเดือนต่ำลง แต่นั่นก็คือเราอาจจะต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าเดิม ซึ่งบางคนอาจจะไม่ได้ต้องการแบบนั้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์ จึงควรศึกษารายละเอียดและคำนวณความคุ้มค่าให้ดีเสียก่อน

    คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์รถ
    L10CT0.png
    วงเงินสูงสุดของรีไฟแนนซ์รถคือเท่าไร?

    วงเงินของการรีไฟแนนซ์รถอาจเกิดจากการประเมินราคารถเข้าไฟแนนซ์หรือตีราคารถ ก็ต้องอาศัยจากหลายปัจจัยด้วยกันไม่ว่าจะเป็นรุ่นของรถ ปีที่ผลิต และสภาพการใช้งานโดยรวม หากเป็นรถใหม่ระยะใช้งานน้อยอยู่ในสภาพดี วงเงินที่ได้ก็สูงแต่ถ้าเป็นรถเก่า รุ่นเก่าและสภาพไม่สู้ดีนักวงเงินที่ได้ก็จะต่ำ

    แต่ก็จะขึ้นกับทางธนาคารใหม่จะให้วงเงินมาเพื่อปิดยอดหนี้เดิมจากธนาคารเก่า และจะได้รับวงเงินที่เป็นส่วนต่างที่หักจากยอดหนี้เดิม ตัวอย่าง คุณได้รับอนุมัติวงเงินกู้มา 800,000 บาท มียอดหนี้รถอยู่ 300,000 บาท คุณจะได้วงเงินเป็นส่วนต่าง 800,000 - 300,000 = 500,000 บาท

    รีไฟแนนซ์รถรับรถประเภทใดบ้าง?

    รีไฟแนนซ์รถสามารถรับรถได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง, รถกระบะ, รถตู้, รถบรรทุก, รถที่มีการปรับแต่ง เช่น รถ Food Truck, รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป และรถมอเตอร์ไซค์ Big Bike แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับธนาคารที่ไปรีไฟแนนซ์ เพราะแต่ละธนาคารอาจจะรับประเภทรถไม่เหมือนกัน

    คุณสมบัติ เงื่อนไข ของการขอรีไฟแนนซ์รถ มีอะไรบ้าง?

    เงื่อนไขเบื้องต้นของการขอรีไฟแนนซ์รถ คือ ผู้ขอต้องอายุตั้งแต่ 20 - 65 ปี มีสัญชาติไทยและ มีภูมิลำเนาในประเทศไทย ในกรณีที่มีผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องเป็นคนไทย และ มีภูมิลำเนาในประเทศไทยเช่นกัน มีรายได้ประจำ หากเป็นฟรีแลนซ์ หรืออาชีพอิสระ อาจจะต้องมีขั้นตอนที่มากขึ้น เพราะธนาคารต้องตรวจสอบรายได้ที่แน่นอนจากบัญชีย้อนหลัง

    มีประวัติเสียกับทางธนาคาร รีไฟแนนซ์รถได้ไหม?

    ประวัติการเงินถือว่ามีส่วนสำคัญในการขอรีไฟแนนซ์รถ สำหรับผู้ที่มีประวัติเสียทางการเงินกับธนาคาร เช่น ชำระล่าช้าเกิน 90-120 วัน หรือ ค้างชำระ ไม่สามารถทำการผ่อนชำระได้ หรือได้มีการปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคาร ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าว จะส่งผลต่อการพิจารณาของทางธนาคารผู้รับพิจารณาสินเชื่อ

    ขอแนะนำสำหรับผู้ที่อยากขอสินเชื่อนั้น ควรรักษาประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อให้เป็นลูกหนี้ที่ดี มีวินัยในการชำระตรงเวลา ไม่ค้างค่างวด ไม่ชำระหนี้ล่าช้า เมื่อรักษาประวัติเป็นปกติ ต่อเนื่องเป็นเวลา 1-3 ปี จะสามารถกลับขอสินเชื่อได้อีกครั้ง

    ข้อสรุปเกี่ยวกับรีไฟแนนซ์รถ

    การรีไฟแนนซ์รถยนต์ คือ การกู้เงินก้อนใหม่มาปิดก้อนเก่าในเงื่อนไขที่ดีกว่า ซึ่งจะทำให้เรามีสภาพการใช้เงินที่คล่องขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่า รถที่เรามีอยู่จะเป็นประเภทใด เราก็สามารถนำมารีไฟแนนซ์รถได้หมด แต่จะต้องมีคุณสมบัติผ่านตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบันการเงิน ดังนั้น หากคุณควรจะทำการศึกษาข้อมูลและเตรียมตัวให้พร้อม เพื่อให้สามารถรีไฟแนนซ์ได้ผ่านฉลุย
     

แชร์หน้านี้

Loading...