จิตตสังเขป และสวรรค์ 2ชั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย santosos, 26 กรกฎาคม 2005.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    จิตตสังเขป http://www.dhammastudy.com/thpar10.html
    สุจินต์ บริหารวนเขตต์
    จิตที่เป็นกามาวจรภูมิ ได้แก่ กามาวจรจิต ๕๔ ดวงในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบายความหมายของกามาวจรจิต ๔ นัย มีข้อความว่า
    นัยที่ ๑ บทว่า กามาวจร ได้แก่จิต อันนับเนื่องในกามาวจรธรรมทั้งหลาย คือ เป็นจิตที่อยู่ในขั้นของกาม (คำเต็ม คือ กามาวจร แต่ตัดบทหลังออกเหลือเพียงกามเท่านั้นได้) โดยท่องเที่ยวอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จึงเป็นจิตขั้นกาม เป็นกามาวจรจิต
    ทุกขณะในชีวิตประจำวันเป็นกามาวจรจิต เมื่อไม่ใช่จิตระดับอื่นที่ละเอียดกว่า ประณีตกว่าขั้นกาม เมื่อใดที่อบรมเจริญกุศล จิตที่สงบขึ้นโดยมีรูปเป็นอารมณ์ จนจิตสงบมั่นคงขึ้นถึงขั้นอัปปนาสมาธิ เป็นฌานจิตที่มีรูปเป็นอารมณ์ ขณะนั้นก็เป็นรูปาวจรภูมิหรือรูปวจรจิต พ้นจากระดับของกาม และเมื่อจิตสงบมั่นคงกว่าขั้นนั้นอีก โดยเป็นจิตที่สงบแนบแน่นในอารมณ์ที่พ้นจากรูปก็เป็นอรูปวจรจิต และจิตที่ละเอียดประณีตกว่าอรูปาวจรจิต คือ โลกุตตรจิตซึ่งประจักษ์แจ้งลักษณะของนิพพานจึงเป็นโลกุตตรภูมิ ฉะนั้น จิตที่ต่างกันโดยภูมิ คือ จิต ๘๙ ดวง จำแนกเป็น

    กามาวจรจิต ๕๔ ดวง
    รูปาวจรจิต ๑๕ ดวง
    อรูปาวจรจิต ๑๒ ดวง
    โลกุตตรจิต ๘ ดวง
    ขณะใดที่ไม่ใช่รูปาวจรจิต อรูปวาจรจิต โลกุตตรจิต ขณะนั้นต้องเป็นกามาวจรจิต
    กามาวจรจิตซึ่งยินดี พอใจ ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั้นเหนียวแน่นมาก แม้ว่ารูปจะปรากฏเพียงชั่วขณะที่เล็กน้อยเหลือเกิน คือ ชั่วขณะที่กระทบจักขุปสาทคือตา เสียงก็ปรากฏเพียงชั่วขณะทีเล็กน้อยเหลือเกิน คือ ชั่วขณะที่กระทบกับโสตปสาท กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ก็เช่นเดียวกัน ล้วนเป็นปริตตธรรม คือ เป็นสภาพที่ปรากฏเพียงเล็กน้อยแล้วก็ดับไป แต่จิตยินดีพอใจติดข้องในปริตตธรรมนั้นอยู่เสมอ เพราะการเกิดดับสืบต่อกันอย่างรวดเร็วของปริตตธรรมนั้นๆ จึงดูเสมือนไม่ดับไป
    ความเพลิดเพลินยินดีพอใจในกามอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะไม่หมดสิ้น แม้ว่ารูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอื่นๆ ก็เกิดสืบต่อทำให้เกิดความหลงติดยินดี พอใจในรูปเสียง ฯลฯ สืบต่อกันอยู่เรื่อยๆ เมื่อเห็นรูปใดก็ตามซึ่งเป็นที่ พอใจแล้ว ก็อยากจะเห็นอีกบ่อยๆ เมื่อได้ยินเสียงที่พอใจแล้วก็อยากได้ยินเสียงนั้นอีก กลิ่น รส โผฏฐัพพะก็เช่นเดียวกัน เมื่อบริโภครสใดที่พอใจแล้วก็อยากบริโภคนั้นซ้ำๆ อีก ความยินดีพอใจติดข้องในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกวันซ้ำแล้วซ้ำอีกทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนั่นเอง
    เมื่อชอบสิ่งใดก็อยากจะเห็นสิ่งนั้นอยู่ตลอดเวลาได้ไหม ไม่ได้ เพราะสังขารธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นธรรมดา เมื่อรสอร่อยเกิดขึ้นปรากฏ ความพอใจก็อาศัยลิ้นเกิดขึ้น ขณะความพอใจในกลิ่นที่ปรากฏ ขณะนั้นความพอใจทางตา หู ลิ้น กาย ก็ไม่เกิด เพราะจิตเกิดขึ้นทีละขั้นเท่านั้น จะมีจิต ๒ ดวงเกิดขึ้นพร้อมกันไม่ได้เลย ทุกคนพอใจใจสิ่งต่างๆ ที่ปรากฏสลับกันทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ทางใจบ้าง ไม่ใช่พอใจเฉพาะสีเดียว เสียงเดียว กลิ่นเดียว รสเดียว และโผฏฐัพพะเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพราะความพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะสะสมสืบต่อกันอยู่เรื่องๆ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต

    http://www.sanghathan.co.uk/index_files/dhamma_g.htm
    สวรรค์ เป็นภพที่มีแต่ความสุขอันเลิศล้ำด้วยกามคุณทั้ง ๕ (รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางกายที่น่าใคร่น่าพอใจ) เป็นภพของเทวดาหรือทวยเทพทั้งหลาย โดยปกติหมายถึงสวรรค์ชั้นกามาพจรหรือกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ซึ่งเรียงลำดับจากชั้นแรกถึงชั้นสูงสุดได้ดังนี้

    สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกามีเมืองใหญ่อยู่ถึง ๔ พระนคร แต่ละพระนครมีกำแพงทองทิพย์เหลืองอร่าม ประดับประดาไปด้วยแก้ว ๗ ประการ บานประตูของกำแพงทองทิพย์ก็เป็นแก้ววิเศษอันประเสริฐ และมีปราสาทที่สวยงามรุ่งเรืองอยู่เหนือทุกๆประตู ภายในพระนครนั้นมีปราสาทแก้วตั้งอยู่เรียงรายมากมาย ซึ่งเป็นวิมานที่อยู่ของเทพยดาทั้งหลาย ส่วนพื้นดินก็เป็นพื้นแผ่นทองคำสีเหลืองอร่าม มีความราบเรียบดุจหน้ากลองและมีความวิเศษอ่อนนิ่มดุจฟูกผ้า คือเมื่อเทพยดาทั้งหลายเหยียบลงไปก็มีลักษณาการอ่อนยุบลง แล้วก็เต็มขึ้นมาดังเดิม ไม่ได้เห็นรอยเท้าของเทพยดาทั้งหลายเลย
    นอกจากนี้ยังมีสระโบกขรณีซึ่งมีน้ำใสยิ่งกว่าแก้ว เต็มไปด้วยปทุมชาตินานาชนิดซึ่งส่งกลิ่นทิพย์หอมตลบอบอวลไปทั่วบริเวณ มีดอกไม้นานาพรรณสีสันวิจิตรตระการตา มีต้นไม้ที่ให้ดอกและผลเป็นทิพย์ คือมีรสชาติอันเลิศและมีอยู่ตลอดเวลา ไม่มีวันที่จะหมดไปเลย

    มหาราชทั้ง๔
    ด้านทิศตะวันออก เป็นที่อยู่ของ ท้าวธตรฐ มีพวกคนธรรพ์ เป็นบริวาร คนธรรพ์ นี้เป็นเทวดาพวกหนึ่งซึ่งที่มีความถนัดในการดนตรีศิลปะระบำรำฟ้อนและชำนาญในการขับกล่อมเพลงยิ่งนัก เมื่อใดที่เทวดาทั้งหลายชุมนุมกันเพื่อความรื่นเริงสนุกสนาน เมื่อนั้นพวกคนธรรพ์ ก็จะไปทำหน้าที่ขับกล่อมเพลงและรำบำรำฟ้อนเพื่อความสำราญของเหล่าเทวดา
    ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักษ์ มีพวกนาคเป็นบริวาร นาคนี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีฤทธิ์เดชมาก เพราะเพียงแค่พิษของนาคถูกต้องบุคคลใดบุคคลหนึ่งก็สามารถตัดเอาผิวหนังของบุคคลนั้นและทำให้ถึงแก่ความตายได้ในพริบตา พวกนาครู้จักเนรมิตตนเป็น มนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นเทวดา เพื่อท่องเที่ยวไปตามสถานที่ต่างๆ ตามอัธยาศัยอย่างสุขสำราญ
    หากบุคคลใดได้ยินได้ฟังมาว่าพวกนาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีความสุขมาก ทำให้ชอบใจ แล้วทำคุณงามความดีด้วยกาย วาจา ใจ พร้อมทั้งปรารถนาไปเกิดเป็นนาค บุคคลนั้นเมื่อละโลกนี้ไปแล้วย่อมได้ไปเกิดเป็นนาคในชาติต่อไปสมความปรารถนา
    ด้านทิศเหนือ เป็นที่อยู่ของท้าวเวสวัณหรือ ท้าวเวสสุวัณ มีพวกยักษ์ เป็นบริวาร ยักษ์ นี้เป็นพวกกายทิพย์พวกหนึ่ง มีสันดานแตกต่างกัน บางตนก็มีสันดานดีประกอบด้วยศีลธรรม บางตนก็มีสันดานร้ายมีจิตใจเต็มไปด้วยโทสะโมหะ เป็นอันธพาลที่มีใจกล้าหาญดุดัน
    ท้าวเวสวัณมีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า ท้าวกุเวร เพราะในสมัยที่โลกยังว่างจากพระพุทธศาสนา ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัตินั้น มีพราหมณ์ผู้หนึ่งนามว่า กุเวร เป็นคนใจดีมีเมตตากรุณา ประกอบสัมมาชีพด้วยการทำไร่อ้อย นำต้นอ้อยตัดใส่ลงไปในหีบยนต์แล้วบีบน้ำอ้อยขายเลี้ยงชีวิตตนและบุตรภรรยา ต่อมากิจการเจริญขึ้นจนเป็นเจ้าของหีบยนต์สำหรับบีบน้ำอ้อยถึง ๗ เครื่อง จึงสร้างที่พักสำหรับคนเดินทาง และบริจาคน้ำอ้อยจากหีบยนต์เครื่องหนึ่งซึ่งมีประมาณน้ำอ้อยมากกว่าหีบยนต์เครื่องอื่นๆ ให้เป็นทานแก่คนเดินผ่านไปมาจนตลอดอายุขัย

    ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลที่บริจาคน้ำอ้อยให้เป็นทานนั้น ทำให้กุเวรได้ไปอุบัติเป็นเทพบุตรบนสวรรค์ชั้น จาตุมหาราชิกา มีนามว่า"กุเวรเทพบุตร" ต่อมากุเวรเทพบุตรได้เทวาภิเษกเป็นผู้ปกครองดูแลพระนครด้านทิศเหนือ จึงได้มีพระนามว่า "ท้าวเวสวัณ"

    วัน ๘ ค่ำ อำมาตย์ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลก

    วัน ๑๕ ค่ำ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดู
    ส่วนในวัน ๑๕ ค่ำ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ จะเป็นผู้ตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงบิดามารดา และสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถศีลและทำบุญกุศลเป็นจำนวนมากหรือไม่
    ครั้นตรวจดูแล้วก็จะไปบอกพวกเทพชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งมาประชุมกันในสุธรรมาเทวสภา ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันน้อย พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจหดหู่ เพราะทิพยกายจะลดถอย อสุรกายจะเพิ่มพูน แต่ถ้าได้ฟังว่าพวกมนุษย์ทำดีกันมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ ก็มีใจชื่นบาน เพราะทิพยกายจะเพิ่มพูน อสุรกายจะลดถอย
    ท้าวมหาราชทั้ง ๔ มีประวัติที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาคือ หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณและเสวยวิมุตติสุขเป็นเวลา ๔๙ วัน โดยวันสุดท้ายทรงประทับนั่งอยู่ที่ต้นราชายตนะ(ต้นเกด) นั้น พ่อค้า ๒ พี่น้องชื่อ ตปุสสะ และ ภัลลิกะ ได้พาหมู่เกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุกสินค้าจะไปค้าขายยัง มัชฌิมประเทศ เมื่อมาถึงบริเวณนั้น เทพยดาองค์หนึ่งมีทิพยวิมานบนต้นไม้ใกล้ทางและเคยเป็นญาติของพ่อค้าทั้ง ๒ ในกาลก่อน ได้เนรมิตให้เกวียนทั้งหมดไม่อาจชักลากต่อไปได้ พ่อค้าทั้ง ๒ ทำพลีกรรมบวงสรวงแก่เทพยดาผู้รักษาทาง เทพยดาองค์นั้นจึงปรากฏกายและบอกพ่อค้าทั้ง ๒ ให้เข้าไปนมัสการและถวายสัตตุก้อนสัตตุผงแด่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ต้นเกดนั้น เพราะจำทำให้เกิดประโยชน์และความสุขตลอดกาลนานจากนั้นเทพยดาก็อันตรธานไป
    เมื่อพ่อค้า ๒ พี่น้องได้เห็นเทพยดาและได้ทราบข่าวการอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าก็มีปีติโสมนัสยินดี ครั้นเหลือบไปเห็นพระพุทธองค์ทรงประทับนั่งอยู่ภายใต้ร่มไม้เกด และทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีรุ่งเรือง ก็มีจิตยินดีเลื่อมใสศรัทธาจึงเข้าไปถวายอภิวาทและขออาราธนาพระพุทธองค์ทรงรับบิณฑบาตสัตตุผงของพวกเขา พระพุทธเจ้าทรงพระปริวิตกว่า



    "บาตรของตถาคตก็มิได้มี และพระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อนก็มิเคยทรงรับบิณฑบาตด้วยพระหัตถ์เปล่า บัดนี้ตถาคตจะรับบิณฑบาตด้วยเหตุใดฦ"

    เวลานั้นท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทราบในพระพุทธปริวิตกนั้น จึงต่างนำบาตทำด้วยศิลาสีถั่วเขียวน้อมถวายให้ทรงรับข้าวสัตตุ พระพุทธองค์ทรงรับบาตรทั้ง ๔ ไว้ และเพื่อที่จะรักษาศรัทธาปสาทะของท้าวมหาราชทั้ง ๔ จึงทรงอธิษฐานผสานบาตรทั้ง ๔ เข้าเป็นบาตรใบเดียว แล้วก็ทรงรับข้าวสัตตุของพ่อค้าทั้ง ๒ พี่น้องด้วยบาตรนั้น
    ถัดจากสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ขึ้นไปเบื้องบนเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๒ ตั้งอยู่บนยอดเขาสิเนรุราชบรรพต มีนามว่า "ดาวดึงส์" หรือ "ไตรตรึงษ์" สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของทวยเทพผู้สร้างบุญบารมีจนได้มาอุบัติ มีเทพผู้ปกครอง ๓๓ องค์ โดยมีท้าวสักกเทวราช หรือที่เรารู้จักกันในนาม "พระอินทร์" เป็นประธาน สวรรค์ชั้นนี้จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตาวติงสเทวภูมิ" ซึ่งแปลว่าภูมิอันเป็นที่อยู่แห่งทวยเทพซึ่งมีเทพ ๓๓ องค์เป็นอธิบดี
    33อธิบดี
    มาณพทั้ง ๓๓ คนตั้งหน้าตั้งตาทำแต่สาธารณกุศล ไม่ยอมหาเนื้อหาปลา หรือหมักสุรดื่มอย่างเมื่อก่อน ทำให้นายบ้านขัดเคืองใจ เพราะไม่ได้รับผลประโยชน์เหมือนเช่นเคย จึงห้ามมิให้มาณพทั้ง ๓๓ คนทำสาธารณกุศล แต่ก็ไม่เป็นผล นายบ้านจึงเพ็ดทูลต่อพระราชาว่า มฆมาณพและเพื่อนเป็นโจร พระราชาหลงเชื่อจึงมีรับสั่งให้จับกุมมาลงอาชญาโดยให้ช้างเหยียบ
    ขณะที่ทหารกำลังไสช้างเข้าหา มฆมาณพได้บอกเพื่อนๆ ให้เจริญเมตตาจิต อย่าได้นึกโกรธเคืองใครมาณพก็กระทำตาม ด้วยอานุภาพแห่งพลังเมตตาจิตทำให้ช้างไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ พระราชาจึงรับสั่งให้นำเสื่อลำแพนมาคลุมมาณพทั้ง ๓๓ คนไว้ด้วยคิดว่าช้างตื่นคน แต่ก็ไม่สำเร็จ พอไสช้างเข้าไปเหยียบ ช้างกลับถอยหนี เป็นเช่นนี้อยู่หลายครั้ง สร้างความประหลาดพระราชหฤทัยแก่พระราชายิ่งนัก พระองค์จึงรับสั่งให้พามฆมาณพและเพื่อเข้าเผ้า

    เมื่อพระราชาไต่สวนจนทราบความจริงทั้งหมดแล้ว จึงลงโทษนายบ้านให้เป็นทาสของมาณพทั้ง ๓๓ คน พระราชทานช้างเชือกนั้นให้เป็นพาหนะแล้วให้ปกครองตำบลนั้น
    มฆมาณพและเพื่อน รวม ๓๓ คน เมื่อสิ้นอายุขัยต่างได้ขึ้นไปเสวยสุขร่วมกันบนสวรรค์ชั้นที่ ๒ ซึ่งได้ชื่อว่า ดาวดึงส์
    ด้วยอานิสงฆ์แห่งการปลูกต้นทองหลางไว้ใกล้ศาลาและปูแผ่นศิลาให้คนนั่ง บันดาลให้เกิดต้นไม้ชนิดหนึ่งสัณฐานเหมือนเศวตฉัตร ชื่อ
     

แชร์หน้านี้

Loading...