จิต และ ฤทธิ์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย santosos, 26 กรกฎาคม 2005.

  1. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    http://www.nkgen.com/jit.htm
    จิตเป็นอะไร อยู่ที่ใด เพื่อหวังเข้าใจบ้าง หวังควบคุมและบังคับจิตได้บ้าง หวังใช้ประโยชน์จากจิตบ้าง นักปฏิบัติที่ปฏิบัติถูกทางก็เช่นกันแต่เพื่อหวังประโยชน์ไปในทางดับทุกข์ ดังนั้นจึงมีผู้พยายามแสวงหาคำตอบเหล่านี้ทั้งทางด้านปัญญาและสมาธิมาเป็นเวลานับพันๆปี จนบังเกิดมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง

    จิตนั้นถ้าพยายามหาตัวหาตนว่าเป็นอะไร อยู่ที่ใดแล้ว โดยไม่เข้าใจสภาวะธรรม(ชาติ)แล้ว ก็จะเป็นดังที่ท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวไว้ในเรื่อง "จิตคือพุทธะ"

    "จิตหนึ่ง นี้เป็นสิ่งที่เห็นตำตาเราอยู่แท้ๆ แต่ลองไปใช้เหตุผล(ว่ามันเป็นอะไร เป็นต้น) กับมันเข้าดูซิ เราจะหล่นลงไปสู่ความผิดพลาดทันที สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้" (อตุโล ไม่มีใดเทียม, น.๔๒๓)

    จิต ที่เรียก มโน บ้างก็เรียกว่าวิญญาณ หลายท่านพยายามหาว่าจิตเป็นอะไร? อยู่ที่ใด? บ้างก็ว่าคือสมอง บ้างก็ว่าที่หัวใจ บ้างก็ว่าที่กลางอก บ้างก็ว่าที่กลางศูนย์กาย บ้างก็ว่ากลางหน้าผาก บ้างก็ว่ามาแต่ชาติปางก่อน ฯลฯ. ล้วนแล้วแต่ปรุงไปต่างๆนาๆ จึงต่างล้วนตกลงสู่หลุมพรางของความผิดพลาดทันที

    จิตนั้น ก็เป็นสังขาร อันคือสิ่งปรุงแต่งอย่างหนึ่งจึงเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกข์ ไม่มีตัวไม่มีตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง เป็นอนัตตา เกิดมาแต่มีเหตุ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกันหรือมาประชุมกันจึงเกิดจิตหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา ดังเช่น ตา กระทบ รูป ย่อมเกิดจักขุวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา จิตหนึ่งก็เกิดขึ้นเป็นธรรมดา แปรปรวน และย่อมดับไปเป็นธรรมดา อันเป็นไปตามกระบวนธรรมของขันธ์๕นั่นเอง, เมื่อ หู กระทบ เสียง ย่อมเกิดโสตวิญญาณขึ้นเป็นธรรมดา จิตหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา, เมื่อ คิด กระทบ ใจ ย่อมเกิดมโนวิญญาณหนึ่งขึ้นเป็นธรรมดา จิตหนึ่งก็ย่อมเกิดขึ้นอีกด้วยเป็นธรรมดา แปรปรวน และดับไปเป็นธรรมดา ฯลฯ. ดังนั้นจิตจึงเกิดแต่เหตุต่างๆอันหลากหลาย เป็นร้อย เป็นพัน มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อันหมายรวมถึงสิ่งต่างๆที่มากระทบสัมผัส(ผัสสะ)อีกด้วยคืออายตนะภายนอกอันมี ๖ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์(สิ่งที่รับรู้ได้ด้วยใจ) ดังเช่น เมื่อตากระทบรูป รูปหรือภาพที่เห็นนั้นก็ย่อมกลายเป็นส่วนหนึ่งของจิต กล่าวคือมีอิทธิพลหรือเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตที่เกิด ณ ขณะนั้น, จิตนั้นถ้าแยกออกมาเป็นกองเป็นกลุ่มหรือเป็นขันธ์ อย่างง่ายที่สุดก็มีถึง๔ ขันธ์ คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งแต่ละกองหรือแต่ละขันธ์นั้น ก็ล้วนเป็นสังขาร-สิ่งปรุงแต่ง อันเกิดมาแต่เหตุปัจจัยต่างๆอีกมากหลายเช่นกัน จึงต่างล้วนเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นเหตุเป็นปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วยทั้งสิ้น ดังนั้นเมื่อประกอบด้วยเหตุปัจจัยอันแปรปรวนได้มากหลายจึงย่อมมีความแปรปรวนง่ายดายเป็นที่สุด คือย่อมแปรปรวนไปตามเหตุต่างๆที่มาเป็นปัจจัยกันเหล่านั้นด้วย จึงมีพระพุทธดำรัสไว้ว่าเราไม่เล็งเห็นสิ่งอื่นแม้สักอย่างหนึ่ง ที่จะเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิตเลย(เอกนิบาต ๒๐/๙)


    จิตมีธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามยาก(ธรรมบท ๒๕/๑๗)

    "ภิกษุทั้งหลาย การที่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ จะเข้าใจไปยึดถือว่าร่างกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ ว่าเป็นตัวตน (webmaster - ขยายความว่า ถึงแม้ว่าจะเป็นความเข้าใจที่ผิดก็ตาม แต่ก็)ยังดีกว่าจะยึดถือจิตว่าเป็นตัวตน เพราะว่า กายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ ยังปรากฎให้เห็นว่าดำรงอยู่(webmaster - ขยายความว่า คงทนอยู่ไม่ได้อย่างแท้จริง อยู่ได้)เพียงปีหนึ่งบ้าง ๒ ปีบ้าง ๓ - ๔ - ๕ ปีบ้าง ๑๐ - ๒๐ - ๓๐ - ๔๐ - ๕๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง เกินกว่านั้นบ้าง แต่สิ่งที่เรียกว่า จิต มโน หรือวิญญาณนี้ เกิดดับอยู่เรื่อย ทั้งวันทั้งคืน (webmaster - ขยายความว่า เกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับๆ อยู่ทั้งในขณะตื่น และแม้ขณะหลับไป เช่นการฝัน)"

    (สํ.นิ. ๑๖ / ๒๓๑ / ๑๑๔)




    จิตหนึ่งนี้ จึงมีการแปรปรวนหรือเปลี่ยนแปลง เกิดดับๆๆๆ....อยู่ตลอดเวลา ตามเหตุอันมาเป็นปัจจัยกันนั่นเอง เฉกเช่นดัง เงา

    เราก็รู้อยู่อย่างตำตาตำใจ ว่ามีจิต แต่ไฉนจึงกล่าวว่าไม่มีตัวไม่มีตน และไม่ใช่ของตัวของตน อย่างแท้จริง เพราะจิตนั้นอุปมาเหมือนดังเงา อันไม่มีตัวตนเป็นแก่นแกนถาวรอย่างแท้จริงจึงไร้คุณค่าหรือสาระอย่างแท้จริงที่จะไปยึดหรืออยากให้เป็นทุกข์ แต่ถ้าถามว่ามีเงาไหม ก็ต้องตอบว่ามี ก็เพราะเห็นอยู่ตำตาตำใจแท้ๆ ถึงจะมีก็จริงอยู่ แต่ก็อยู่ในสภาวะที่ไม่มีตัว ไม่มีตน ไม่เป็นแก่นแกนอย่างแท้จริง ตามกฏพระไตรลักษณ์ นั่นเอง อันเกิดขึ้นมาแต่ เหตุ ต่างๆอันคือ วัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง เงานั้นก็ไม่มีในวัตถุทึบแสง เงานั้นก็ไม่มีในแสง เงานั้นก็ไม่มีในพื้นที่รับแสง แต่เมื่อเหตุทั้ง๓มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน คือ วัตถุทึบแสง มาบังกั้น แสง ที่ตกกระทบบน พื้นที่รับแสง จึงเกิด สังขาร - สิ่งปรุงแต่ง ที่เราเรียกกันว่าเงาขึ้น โยนิโสมนสิการจะพบว่า เมื่อเหตุอันคือ
    วัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง เงานั้นก็ไม่มีในวัตถุทึบแสง เงานั้นก็ไม่มีในแสง เงานั้นก็ไม่มีในพื้นที่รับแสง แต่เมื่อเหตุทั้ง๓มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน คือ วัตถุทึบแสง มาบังกั้น แสง ที่ตกกระทบบน พื้นที่รับแสง จึงเกิด สังขาร - สิ่งปรุงแต่ง ที่เราเรียกกันว่าเงาขึ้น โยนิโสมนสิการจะพบว่า เมื่อเหตุอันคือวัตถุทึบแสง, แสง, พื้นที่รับแสง ที่เป็นปัจจัยแก่กันและกัน ตัวใดตัวหนึ่งเกิดอาการแปรปรวนหรือดับหรือสูญไป เงานั้นจึงย่อมต้องแปรปรวนหรือดับไปตามเหตุปัจจัยเหล่านั้นเช่นกัน อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา เงาจึงมีการแปรปรวนหรือเกิดดับๆๆๆ...ภายใต้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นเช่นดังจิต อันเป็นไปตามเหตุที่มาเป็นปัจจัยต่อกันและกันนั่นเอง ดังนั้นการพยายามหาตัวหาตนของจิต หรือไล่จับจิต จึงเป็นการพลัดหลงสู่วังวนของความคิด หรือมายาของจิต อุปมาได้ดั่งการพยายามไล่จับเงา อันย่อมไม่มีวันประสบผลสำเร็จไม่ว่าจะกี่ร้อยกี่พันชาติ


    เงา อันเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งชนิดหนึ่งจึงย่อมต้องเป็นไปตามกฎพระไตรลักษณ์ เกิดแต่เหตุปัจจัยมาเนื่องสัมพันธ์กัน จึงมีความไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปเป็นที่สุด เป็นอนัตตา ไม่เป็นแก่นไม่เป็นแกนอย่างแท้จริง เพราะคงทนอยู่ไม่ได้ และควบคุมบังคับไม่ได้ตามใจปรารถนา จิตก็เป็นเช่นดังเงานั้นนั่นเอง ดังนั้นการพยายามหาตัวจิตหรือนิยามของจิตอย่างเฉพาะเจาะจงก็จะเป็นการตกสู่หลุมพรางของความคิดหรือมายาของจิตทันที ดังนั้นการที่ไปยึดหรือไปอยากใดๆในผลอันเกิดแต่จิตอันไม่เที่ยง ผลอันเกิดแต่เหตุที่ไม่เที่ยงนั้นก็ย่อมไม่เที่ยงไปด้วย จึงย่อมต้องเกิดทุกข์ขึ้นในที่สุดจากการเสื่อม การสูญเสีย ความอาลัย ความอาวรณ์ ความคำนึงถึงต่างๆ เพราะอำนาจพระไตรลักษณ์เช่นกัน

    จิต จึงไม่มีตัวตนเป็นแก่นเป็นแกนเหมือนเงานั่นเอง มีนั้นมีอยู่ แต่คุมบังคับไม่ได้ตามปรารถนา และแปรปรวนไปตามสิ่งที่กระทบสัมผัสอันอาศัยส่วนหนึ่งของกายเป็นประตูหรือทวารเชื่อมอีกด้วย และกายยังเป็นแหล่งแสดงผลของจิตอีกทางหนึ่งด้วย ดังนั้นแม้กายก็เป็นส่วนหนึ่งหรือเหตุปัจจัยหนึ่งของจิตอีกด้วย ตลอดจนขันธ์ต่างๆของจิตเองอันมีเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันต่างก็ล้วนเป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งทั้งสิ้นจึงต่างก็ล้วนมีเหตุมีปัจจัยของมันเองทั้งสิ้น ดังนั้นจิตจึงเป็นสิ่งที่แปรปรวน ลึกลับสุดหยั่ง และควบคุมบังคับได้ยาก เพราะเกิดแต่เหตุปัจจัยมากหลายดังที่กล่าวมานั่นเอง

    ดังนั้นเราจึงพอให้แค่ความหมายแก่จิต เพียงเพื่อใช้ในการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจกันว่า จิตคือองค์ประกอบอันสำคัญยิ่งของชีวิตทั้งหลาย ส่วนที่นอกเหนือไปจากส่วนรูป(กายหรือตัวตน) แต่ถึงกระนั้นกายนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของจิตอีกด้วย.



    เงานั้นเกิดแต่เหตุปัจจัย เช่น วัตถุทึบแสง และแสง เมื่อสิ่งเหล่านี้มีอาการแปรปรวนอันใดเป็นธรรมดา เงานั้นก็ต้องแปรปรวนไปตามเหตุปัจจัยนั้น อันมิสามารถควบคุมบังคับได้ตามปรารถนา ต้องแปรปรวนไปตามเหตุอันมาเป็นปัจจัยแก่กันและกันเหล่านั้นเป็นธรรมดาแต่จริงแท้แน่นอน จึงไม่มีตัวตนที่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริงเหมือนดั่งจิต แต่เงานั้นเมื่อมีอาการแปรปรวนไปเป็นธรรมดาแล้วเป็นทุกข์ไหม? ย่อมไม่เป็นทุกข์เพราะไม่มีตัณหาทะยานอยาก หรือไม่อยากใดๆในเงานั้นนั่นเอง อันเป็นสิ่งที่เราพึงต้องพยายามปฏิบัติให้เป็นเช่นนั้นต่อจิตหรือผลของจิตเช่นกัน

    เนื่องจากจิตเกิดแต่เหตุได้มากหลาย มาเป็นปัจจัยกัน จิตจึงกวัดแกว่ง แปรปรวนได้ง่าย ควบคุมบังคับได้ยาก จึงต้องหัดควบคุมจิตไม่ให้กวัดแกว่ง แปรปรวน หรือฟุ้งซ่าน เราจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในการฝึกจิตให้มีสติ ไม่คิดนึกปรุงนั่นเอง



    ธรรมชาติของจิตและนํ้า

    อันเป็นสภาวะโดยปกติธรรมชาติ(ปรมัตถ์)ที่เป็นจริงอยู่เช่นนี้

    (เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมหรือภาพพจน์ได้ชัดเจนขึ้น)

    ธาตุจิตนั้นเปรียบประดุจดั่งธาตุนํ้า

    นํ้านั้นไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต สามารถแผ่ขยาย แปรปรวนไปตามสิ่งแวดล้อมหรือภาชนะที่บรรจุหรือรองรับ, จิตนั้นก็ไร้รูปร่าง ไร้ขอบเขต แปรปรวนไปตามอารมณ์ [สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยว หรือสิ่งแวดล้อม(อายตนะภายนอก เช่น รูป เสียง ฯ.) ที่กระทบสัมผัส(ผัสสะ)นั่นเอง]

    นํ้าประกอบด้วยเหตุปัจจัยต่างๆมาประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งคือ H และ O คือมีอะตอมของ H และ O เป็นเหตุ มาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เกิดสิ่งที่เราเรียกว่านํ้า, จิตแม้เป็นนามธรรมก็เป็นสังขารสิ่งปรุงแต่งชนิดหนึ่ง จึงเกิดมาแต่เหตุมาเป็นปัจจัยแก่กันและกัน เฉกเช่นนํ้านั่นเอง และประกอบด้วยเหตุปัจจัยยิ่งมากหลายมาประชุมกันชั่วระยะหนึ่ง จิตประกอบด้วยปัจจัยต่างๆเช่น เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และส่วนหนึ่งของกาย ตลอดจนอารมณ์(สิ่งที่จิตยึดเหนี่ยวหรือกระทบสัมผัส เช่น รูป เสียง กลิ่น...)และปัจจัยต่างๆอีกมากมาย

    นํ้ามีคุณสมบัติไหลลงสู่ที่ตํ่าเพราะแรงดึงดูดโลก, จิตก็มีคุณสมบัติเหมือนดั่งนํ้าที่ย่อมไหลลงสู่ที่ตํ่า แต่ตามแรงดึงดูดของความเคยชินที่ได้สั่งสมอบรม(สังขาร)หรือกิเลสตัณหาแลอุปาทานนั่นเอง, อันคือย่อมต้องหมุนไปตามภวจักรปฎิจจสมุปบาท เหมือนดังโลกย่อมหมุนรอบตัวเองนั่นเอง คือเป็นไปตามสังขารที่สั่งสมอบรมไว้

    ถ้าเราต้องการยกระดับนํ้าให้สูงขึ้น ย่อมต้องออกแรงพยายามฉันใด, จิตจักยกระดับให้สูงขึ้นเป็นโลกุตระคือสภาวะเหนือจากทางโลกๆได้ ก็ย่อมต้องการการพยายามปฏิบัติฉันนั้น,

    การยกระดับนํ้าให้สูงขึ้นต้องใช้ความคิดหาวิธีการและการปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่นคิดใช้เครื่องกล,ภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ถูกต้อง แล้วปฏิบัติดั่งนั้น จึงย่อมยกระดับนํ้าได้รวดเร็วฉันใด, จิตก็ย่อมต้องการการคิดเพื่อการปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจักยกระดับจิตให้สูงขึ้นได้เร็วฉันนั้น,

    ธรรมชาติของนํ้า เดือดพล่านเพราะไฟอันเป็นของร้อนฉันใด, จิตย่อมเดือดพล่าน เร่าร้อน เพราะไฟ อันร้อนแรงของกิเลส ตัณหา อุปาทานที่เผาลนฉันนั้น อันล้วนมักเกิดจากเวทนาของการคิดปรุงแต่ง

    นํ้าบริสุทธ์คือนํ้าที่ไม่มีสิ่งเจือปน, จิตบริสุทธ์ก็คือจิตเดิมแท้ที่ไม่เจือด้วยกิเลสตัณหาอุปาทานนั่นเอง หรือจิตเดิมแท้นั่นแหละคือจิตพุทธะ อันมีอยู่แล้วในทุกผู้คน เพียงแต่ถูกเจือปน บดบังหรือครอบงําด้วยกิเลส ตัณหา อุปาทาน

    จึงช่างพ้องเหมาะสมกับคำว่า นํ้าจิต หรือนํ้าใจ เสียนี่กระไร



    เปรียบเทียบสภาวะธรรม กับ นํ้า

    ความทุกข์ - จิตอันขุ่นมัวเศร้าหมองด้วยกิเลสและเดือดพล่านด้วยตัณหาความทะยานอยาก เปรียบประดุจ นํ้าอันขุ่นมัวที่ต้มเดือดพล่าน เมื่อดื่มเข้าไปย่อมเกิดความไม่อร่อยเพราะสิ่งเจือปน และความไม่สบายกายไม่สบายใจต่อความร้อนอันเดือดพล่านนั้นเป็นธรรมดา

    นิโรธ - หรือสภาวะนิพพาน หรือตทังคนิพพานหรือสภาวะจิตปลอดจากทุกข์ ปลอดจากความเผาลนกระวนกระวาย เปรียบประหนึ่ง นํ้าธรรมดาอันบริสุทธิไร้สิ่งปรุงแต่งหรือปราศจากสิ่งขุ่นมัว เมื่อดื่มเข้าไปจึงมีแต่คุณประโยชน์ล้วนสิ้นต่อชีวิต ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

    ความสุข - สภาวะจิตของความสุข และหมายรวมถึงฌานหรือสมาธิ อันอิ่มเอิบ ซาบซ่าน เปรียบประดุจ นํ้าอันเย็นฉํ่าอันยังมีสิ่งขุ่นมัวปะปนอยู่บ้าง แม้เมื่อดื่มเข้าไปย่อมยังความอิ่มเอิบซาบซ่านเป็นธรรมดา เป็นที่ถูกใจของปุถุชน แต่ก็ยังมีโทษเพราะยังมีสิ่งเจือปนอยู่นั่นเอง ตลอดจนเมื่อความเย็นซาบซ่านเหล่านั้นหายไปก็เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวาย คำนึงถึง อยากได้อีกเป็นธรรมดา ตลอดจนเมื่อบริโภคมากเกินไปหรือบริโภคในบางสภาวะก็ก่อให้เกิดโทษทุกข์ภัยจากความเย็นอันอิ่มเอิบซาบซ่านเป็นความเจ็บไข้เป็นธรรมดา

    พนมพร



    หมายเหตุ webmaster - คำอุปมาอุปไมย ที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ได้กล่าวถึงจิต ไว้ว่า สิ่งนี้เป็นเสมือนกับความว่าง อันปราศจากขอบทุกๆด้าน ซึ่งไม่อาจจะหยั่ง หรือวัดได้ จึงมีผู้ไปเข้าใจผิด ไปคิดไปยึดความว่างอย่างเป็นอรูปฌาน อันไม่ถูกต้องตามความเป็นจริงตามที่หลวงปู่ได้สื่อไว้ ความหมายที่แท้จริงจึงหมายถึง จิตนี้เป็นเสมือนความว่างอันไม่มีตัวไม่มีตนอย่างแท้จริงหรือสภาวะอนัตตา จึงไม่มีขอบเขตหรือรูปร่างลักษณะให้วัดหยั่ง จับต้องได้

    http://www.geocities.com/satipanya/noblec.htmlนิพพาน คือ ภาวะของจิตใจในขณะที่ไม่มีความทุกข์ เพราะขณะนั้นมีการหยุดความคิด หรือมีการคิดแต่เป็นการคิดที่ไม่เจือปนด้วยกิเลส.

    ขณะที่จิตใจมีภาวะนิพพานอยู่นั้น จะรู้สึกว่า มีความเบาสบาย(มีปีติ) มีความสงบทางจิตใจ(มีปัสสัทธิ) เพราะเป็นความสุขสงบในขณะที่ภาวะของจิตใจ(ความคิด)มีความบริสุทธิ์ผ่องใส โดยไม่ต้องมีสิ่งแลกเปลี่ยน(ไม่มีอามิส)แต่ประการใด เนื่องจากเป็นความสุขสงบที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมที่มีอยู่ในความจำ ทำการหยุดหรือควบคุมความคิดไม่ให้มีกิเลสเจือปน.

    ภาวะนิพพานจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการมีและการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ ทำการหยุดความคิดด้วยการเจริญสมาธิ สลับกับการเจริญสติเพื่อการรู้เห็นและควบคุมความคิด ไม่ให้มีการคิดด้วยกิเลสในชีวิตประจำวัน.

    ภาวะนิพพานชั่วคราวในจิตใจเกิดขึ้นได้ในขณะหยุดคิด หรือขณะคิดโดยไม่มีกิเลสเจือปน. การเข้าถึงภาวะนิพพานชั่วคราว จึงไม่ต้องรอให้ตายเสียก่อน แล้วจิตใจจึงจะมีภาวะนิพพาน แต่เป็นเรื่องปกติที่ทุกท่านก็สามารถทำให้เกิดได้ในชีวิตประจำวัน เพียงแต่จะทำได้มากหรือน้อยเพียงใด. ถ้าท่านสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง จิตใจของท่านก็จะมีภาวะนิพพานได้อย่างต่อเนื่องเช่นกัน.

    การจะทำให้จิตใจมีภาวะนิพพานได้อย่างสม่ำเสมอนั้น จะต้องมีและใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ(มีวิชชา) ทำการเจริญสติและเจริญสมาธิสลับกันไปในชีวิตประจำวัน จนสมองของท่านมีความชำนาญในการดับกิเลสและกองทุกข์ได้อย่างต่อเนื่อง.

    การมีเจตนาที่จะดำเนินชีวิตประจำวันให้ตั้งอยู่ในภาวะของนิพพานเป็นสิ่งที่ดีงาม ซึ่งเป็นเรื่องของการพึ่งตนเอง โดยการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำของตนเอง เช่นเดียวกับการทำกิจต่าง ๆ ทางโลก ที่ต้องพึ่งตนเอง โดยการใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกที่มีอยู่ในความจำ.

    การมีสติใช้ข้อมูลด้านสติปัญญาทางโลกและสติปัญญาทางธรรมควบคู่กันไปในการดำเนินชีวิตประจำวัน จึงจะสามารถดับความทุกข์ทางร่างกายและจิตใจไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตที่ดีที่สุดของมนุษย์ทุกยุคทุกสมัย.

    ภาวะนิพพานชั่วคราวและภาวะนิพพานอย่างต่อเนื่อง

    ภาวะนิพพานในจิตใจมี ๒ แบบ คือ แบบนิพพานชั่วคราว และแบบนิพพานอย่างต่อเนื่อง.

    ในขณะที่ท่านมีสมาธิตั้งมั่น ท่านก็จะสามารถหยุดความคิดได้ชั่วคราว ในทำนองเดียวกัน ขณะที่ท่านมีสติตั้งมั่นในการรู้เห็นและควบคุมความคิดไม่ให้เจือปนด้วยกิเลสได้ชั่วคราวหรือสามารถดับตัณหาได้ชั่วคราว จิตใจของท่านในขณะนั้นก็จะมี "ภาวะนิพพานชั่วคราว".

    ถ้าท่านสามารถรู้เห็นและควบคุมความคิดได้อย่างต่อเนื่องคล้ายอัตโนมัติจนไม่เกิดความคิดที่เจือปนด้วยกิเลส หรือไม่ให้มีตัณหาอีกเลย จิตใจของท่านก็จะมี "ภาวะนิพพานอย่างต่อเนื่อง" ตั้งแต่จุดเริ่มต้นที่ท่านสามารถควบคุมความคิดได้ จนถึงขณะปัจจุบัน.

    ภาวะนิพพานที่เต็มไปด้วยความอิ่มเอิบ ความรื่นรมย์ ความเพลิดเพลิน ความสว่างไสว จึงน่าจะเป็นเรื่องของความคิดปรุงแต่งจนเกิดจินตนาการหรือเกิดมโนภาพไปตามคำบอกเล่า รวมทั้งสร้างมโนภาพขึ้นมาใหม่ด้วย.

    ความสุขขณะมีกิเลสเจือปนอยู่ในความคิดไม่ใช่ภาวะนิพพาน

    ขณะที่มีความทะยานอยาก(มีตัณหา)ที่จะให้เป็นไปตามความโลภที่เกิดขึ้นในจิตใจ จะทำให้มีความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที เพราะธรรมชาติของสมองเป็นเช่นนั้นเอง.

    ครั้นเมื่อได้รับข้อมูลหรือได้เสพข้อมูลที่เข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่สมกับความคิดและความจำด้านความโลภ ก็จะรู้สึกเป็นสุข เพราะขณะนั้นความทุกข์ที่สืบเนื่องจากความโลภกำลังลดลง.

    ขณะที่มีความทะยานอยาก(มีตัณหา)ที่จะให้เป็นไปตามความโกรธที่เกิดขึ้นในจิตใจ(มีตัณหา) จะทำให้มีความรู้สึกเป็นทุกข์ทางจิตใจขึ้นมาทันที เพราะธรรมชาติของสมองเป็นเช่นนั้นเอง. ครั้นเมื่อได้ลงมือกระทำตามความโกรธได้สำเร็จ ก็จะรู้สึกเป็นสุข เพราะขณะนั้นความทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากความโกรธกำลังลดลง.

    ขณะที่ผู้ใดผู้หนึ่งมีความคิดและความอยากอย่างรุนแรง(มีตัณหา)ที่จะให้เป็นไปตามความหลงเชื่อ(ตามโมหะ)ที่เกิดในจิตใจ จะทำให้ท่านผู้นั้นมีความรู้สึกเป็นทุกข์ขึ้นมาทันที เช่น ขณะคิดว่า กำลังจะมีเคราะห์ร้าย และรอการสะเดาะเคราะห์ตามความเชื่อ ก็มักจะรู้สึกเป็นทุกข์ ครั้นเมื่อได้ทำพิธีสะเดาะเคราะห์เสร็จ ก็มักจะรู้สึกเป็นสุข เพราะขณะนั้น ความทุกข์ที่สืบเนื่องมาจากความวิตกกังวลว่ามีเคราะห์กำลังลดลง. การคิดเช่นนี้เกิดขึ้นได้เพราะมีข้อมูลด้านความหลงเชื่ออยู่ในความจำ และนำข้อมูลความหลงเชื่อมาประกอบการคิด ซึ่งเป็นภาวะของการมีความหลง(มีอวิชชา)ครอบงำจิตใจอยู่.

    ความสมหวังตามความคิดที่เจือปนด้วยกิเลส จะทำให้มีความรู้สึกเป็นสุขชั่วคราวในขณะที่สมหวัง ซึ่งเป็นความสุขปลอม ต่อมาก็จะมีความทุกข์ด้วยอำนาจของกิเลสเช่นเดิมอีก เพราะความสมหวังตามความคิดที่เจือปนด้วยกิเลสนั้น เป็นการดับความทุกข์เพียงชั่วครั้งชั่วคราว และเป็นการดับทุกข์ที่ปลายเหตุเท่านั้นเอง ส่วนต้นเหตุ คือ ความหลง(อวิชชา)ยังคงมีอยู่อย่างเดิม จึงทำให้ไม่สามารถดับความทุกข์ได้ตรงประเด็น.

    แนวทางในการดับอวิชชาเพื่อเข้าถึงภาวะนิพพานชั่วคราวในชีวิตประจำวัน

    แนวทางในการเข้าถึงภาวะนิพพานชั่วคราวในชีวิตประจำวันนั้น ท่านจะต้องมีสติในการเพิ่มพูนข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมในความจำ(เพิ่มวิชชา) พร้อมทั้งใช้ข้อมูลดังกล่าวในการรู้เห็นและควบคุมความคิดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความคิดไม่เจือปนด้วยกิเลส.

    แนวทางในการเข้าถึงภาวะนิพพานชั่วคราวด้วยสติปัญญาทางธรรมดังกล่าวแล้ว คือ การมีวิชชา.

    เมื่อมีวิชชาหรือมีสติปัญญาทางธรรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติมากขึ้น ย่อมเป็นเครื่องแสดงว่า ความหลง(อวิชชา)หรือความไม่มีข้อมูลด้านสติปัญญาทางธรรมได้ลดลงไปตามสัดส่วนด้วย.

    เมื่อดับความหลง(อวิชชา)ได้หมดไม่เหลือเลย ภาวะนิพพานก็จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในชีวิตประจำวัน แต่ถ้ายังดับอวิชชาได้ไม่หมดเกลี้ยง ภาวะนิพพานก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่สามารถมีภาวะนิพพานชั่วคราวในจิตใจได้.

    ควรหลีกเลี่ยงคำว่านิพพาน

    มีคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมเพื่อเข้าถึงภาวะนิพพานเป็นเรื่องยากมาก ๆ และเป็นของสูง ไม่ควรจะมาพูดคุยกันในหมู่ฆราวาส.

    เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว ท่านควรใช้คำว่า ความดับทุกข์ หรือไม่ทุกข์ หรือหมดทุกข์ แทนคำว่า นิพพาน.

    คำว่านิพพานเหมาะที่จะใช้ในวงการของผู้ศึกษาและฝึกปฏิบัติธรรมจนสามารถเข้าใจภาวะนิพพานตามหลักธรรมแล้ว. ความดับทุกข์หรือภาวะนิพพานในจิตใจเป็นภาวะที่ไม่มีตัณหาในความคิด ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสอนว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความดับทุกข์เป็นดังนี้คือ การสำรอกตัณหา ความดับตัณหา การสละตัณหา การบอกคืนตัณหา ความหลุดพ้นจากตัณหา ความไม่มีอาลัยในตัณหาทั้งปวง" ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน.



    สนใจถามเพิ่ม ติดต่อ หนุ่ม 025792201 ขอสายหนุ่มเท่านั้น ถามคนอื่นที่รับสาย คงไม่ได้คุยต่อเนื่อง
     
  2. santosos

    santosos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    1,165
    ค่าพลัง:
    +3,212
    เพิ่ม เรื่องฤทธิ์** อิทธิฤทธิ์

    กระผมได้ พูดฤทธิ์ เรื่องแรก คือ เผากิเลส คือ นิโรธ เข้านิพพาน
    ฤทธิ์ อื่นๆ คัดมาแล้วมีดังนี้ ญาณ

    ญาณ มี 7 อย่างคือ

    บุเพนิวาสานุสสติญาณ ปัญญาที่สามารถระลึกชาติในอดีตของคนหรือสัตว์ได้
    จุตูปปาตญาณ ปัญญาที่รู้ว่าคนหรือสัตว์ก่อนจะมาเกิดเป็นอะไรมาก่อน เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นอะไร
    เจโตปริยญาณ ปัญญาที่รู้ใจคน รู้อารมณ์ความคิดจิตใจของคนและสัตว์
    อตีตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในอดีต เหตุการณ์ที่ล่วงมาแล้ว ทั้งในอดีตชาติ ปัจจุบันชาติ ของคนและสัตว์
    ปัจจุปปันนังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในปัจจุบันว่าขณะนี้ใครทำอะไรอยู่ และมีสภาพอย่างไร
    อนาคตตังสญาณ ปัญญาที่รู้เรื่องในการต่อไปว่า คน สัตว์ สรรพวัตถุ เหล่านี้ต่อไปจะเป็นอย่างไร รู้ได้ตามภาพที่ปรากฏ ถ้าภาพที่ปรากฏไม่ชัดเจน ก็อธิษฐานถามก็จะรู้ชัดและไม่ผิด
    ยถากัมมุตญาณ ปัญญาที่รู้ผลกรรม คือ รู้ว่าคนเราที่ทุกข์หรือสุขทุกวันนี้ ทำกรรมอะไรมาในอดีตชาติ และปัจจุบันชาติจึงเป็นเช่นนี้ และจะแก้ไขได้หรือไม่ประการใด
    อภิญญา

    อภิญญา แปลว่า ความรู้อย่างยิ่งสูงกว่า ญาณมี 6 อย่าง

    อิทธิฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ เช่น อยู่ยงคงกระพัน ล่องหนหายตัว ย่นระยะทางได้ เหาะเหินเดินอากาศ ดำดิน เดินบนผิวน้ำ หรือเดินลงไปในน้ำได้
    ทิพยโสต มีหูทิพย์ สามารถฟังเสียงในที่ไกลหรือเสียงอมนุษย์ ได้ยินเสียงสัตว์ เสียงเทพ เสียงพรหม รู้เรื่อง
    จุตูปปาตญาณ รู้การตายและการเกิดของคนและสัตว์ แต่รู้หมดทุกภพทุกชาติ ถ้าฌาณธรรมดาจะรู้เพียง 4-5 ชาติ แต่อภิญญารู้หมดทุกภพทุกชาติ
    เจโตปริยญาณ รู้วาระจิต รู้ความคิดในใจของคนและสัตว์ได้
    ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติต่างๆ ของคนหรือสัตว์ได้ทุกภพทุกชาติ
    อาสวักขยญาณ ปัญญาที่ขจัดอาสวกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป อภิญญาข้อนี้เองจะเป็นหนทางให้หลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...