ชาวยุโรปผู้นับถือพระพุทธศาสนาในยุคล่าเมืองขึ้น

ในห้อง 'ทวีป ออสเตรเลีย' ตั้งกระทู้โดย Wat Pa Gothenburg, 1 ธันวาคม 2008.

  1. Wat Pa Gothenburg

    Wat Pa Gothenburg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    920
    ค่าพลัง:
    +260
    [SIZE=+1]ชาวยุโรปผู้นับถือพระพุทธศาสนาในยุคล่าเมืองขึ้น[/SIZE] หลังจากที่พระพุทธศาสนาได้จืดจางห่างหายไปจากจิตใจของชาวอินเดียเป็นเวลา ๗๐๐ ปีเศษ คือประมาณ พ.ศ. ๒๔๒๓ (ค.ศ. ๑๘๘๐ ) เป็นต้นมา คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเริ่มเป็นที่กล่าวขวัญถึงในหมู่นักปราชญ์ บางคน ของชาวยุโรป อันที่จริง ศาสนาคริสต์ก็ดี ศาสนาอิสลามตลอดถึงศาสนาฮินดูก็ดี ต่างก็มีคำสอนอันดีงามของตัวเองที่เป็นเครื่องจูงใจโน้นน้าวให้คนทั้งหลาย นับถือ เมื่อพากันนับถือว่ามี พระเจ้ายิ่งใหญ่ผู้สร้างโลก เป็นใหญ่ครอบจักรวาลทั้งหมด จะมีใคราที่ไหนกล้าคิดไปว่าจะมีใครยิ่งใหญ่ไปกว่านั้นอีก แต่เพราะความบกพร่องในคำสอนในบางตอนไม่สอดคล้องกับหลักวิทยาศาสตร์ ประจวบกับสมัยที่ชาวยุโรปล่าอาณานิคม อังกฤษยึดอินเดีย ศรีลังกา พม่าได้แล้ว เสรีภาพในการคิดการอ่านมีมากขึ้น ปรัชญาตะวันออกเป็นที่กล่าวขวัญถึงบ่อย จึงมีการศึกษาค้นคว้าบาลีสันสกฤตอย่างจริงจัง สามารถแปลคัมภีร์ต่าง ๆ จากอินเดียได้ จึงได้มาพบความดีงามของพระพุทธศาสนา
    ศาสตราจารย์แมกซ์ มูลเลอร์( Max Muller ) เป็นชาวเยอรมันคนแรก ที่ได้จุดประทีปขึ้น ให้ชาวยุโรปทั้งหลายมองเห็นความดีงาม และความลึกซึ้งของพระพุทธศาสนา ท่านได้แปลคาถาธรรมบทเป็นภาษาอังกฤษ ตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๑๓ (ค.ศ. ๑๘๗๐) และตีพิมพ์อีกเป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ (ค.ศ. ๑๘๘๑)
    ในปีเดียวกันนี้เอง ศาสตราจารย์รีส เดวิดส์ ( Rhys Davids ) และคณะ ก็ได้จัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน เล่ากันว่าท่านเป็นลูกบาทหลวง มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะศึกษาภาษาบาลีสันสกฤตให้แตกฉาน โดยมุ่งที่จะเอาความชำนาญด้านภาษาของท่านกลับใจชาวอินเดียให้ถือคริสต์ แต่เหตุการณ์กลับตรงกันข้าม ท่านได้เอาความเก่งบาลีของท่านแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษให้ชาวยุโรปทั้ง หลายเห็นความลึกซึ้งดีงามของพระพุทธศาสนา บัดนี้ ศาสตราจารย์ทั้งสองและหมู่คณะของท่านได้ล่วงลับไปแล้ว แต่ผลงานตลอดถึงสมาคมบาลีปกรณ์ยังมั่นคงดีอยู่ ใครที่ได้อ่านพระไตรปิฎกเป็นภาษาอังกฤษ คงจะคุ้นหูคุ้นตากับชื่อของสมาคมบาลีปกรณ์แห่งนี้ และเป็นสำนักพิมพ์แห่งเดียวในโลกที่แปลพระไตรปิฎกเกือบครบชุด หากว่าเราจะเล่าประวัติความเป็นมาของพระพุทธศาสนาในโลกตะวันตก โดยไม่ได้ระบุชื่อของท่านทั้งสองและสมาคมบาลีปกรณ์แล้วรู้สึกจะขาดอะไรไป
    ในยุคสมัยเดียวกันนี้ เซอร์เอดวิน อาร์โนลด์ ( Edwin Arnold ) ได้แต่งบทกวีนิพนธ์เล่มหนึ่งชื่อว่าปทีปแห่งทวีปเอเชีย ( The light of Asia ) หนังสือเล่มนี้แต่งได้ไพเราะเป็นที่ตื่นเต้นกันมากในบรรดานักอ่านชาวยุโรป เป็นหนังสือเกี่ยวกับประวัติพระพุทธเจ้าและคำสอนของพระพุทธศาสนา จนมีผู้วิจารณ์ลงในหนังสือพิมพ์ในขณะนั้นว่า “พระพุทธเจ้าของชาวฮินดูนั้นเก่าแก่กว่าพระเยซูของเรามาก ท่านมีคำสอนที่ดีงามลึกซึ้ง เป็นผู้ที่ตรงไปตรงมา จริงใจ เมตตาต่อคนทั้งหลายยิ่งกว่าศาสดาองค์ใดในโลก”
    ในขณะที่ดวงประทีปหลาย ๆ ดวงกำลังทอแสงให้ชาวยุโรปได้พบเห็นแสงสว่างนั้น ทางสหรัฐอเมริกาที่กรุงนิวยอร์ค มาดามบลาวัตสะกี้ ( Madam Blavatsky ) และพันเอกโอลคอตต์ (Colonel Olcott ) ก็ได้ตั้งสมาคมเทววิทยาขึ้น ( Theosophical Society ) ซึ่งเป็นฐานเกื้อหนุนให้พระพุทธศาสนาแพร่หลายออกไปอีก พันเอกโอลคอตต์มีความเลื่อมใสพระพุทธศาสนามาก ท่านได้อ่านตำรับตำราและมาศึกษาด้วยตัวเองที่ประเทศศรีลังกา ได้เอาความรู้ความเข้าใจของท่านแสดงปาฐกถาทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา ยุโรป และออสเตรเลีย ท่านแสดงตนให้คนยุโรปทั้งหลายเห็นว่า “ตัวข้าพเจ้าเองเป็นพุทธ เพราะได้ค้นคว้ามองไม่เห็นจุดอ่อนของพระพุทธศาสนาเลย ถ้าท่านผู้ใดพิสูจน์ได้ว่าพระพุทธศาสนานั้นมีจุดอ่อนจริง ข้าพเจ้าจะเลิกนับถือทันที”
    สมาคมเทววิทยานี้ไม่ขึ้นตรงต่อศาสนาใดศาสนาหนึ่งโดยเฉพาะ แต่สนับสนุนให้ทุกคนเรียนรู้ความดีงามของทุกศาสนา เป็นสมาคมแบบยำใหญ่ของทุกศาสนาก็ว่าได้ สุดแล้วแต่ใครจะเลือกรับประทานหนังสือคำสอนที่สมาคมนี้จัดจำหน่ายมีทุกลัทธิ มีทุกนิกาย ก่อนหน้านี้ สมาคมนี้เป็นตัวแทนพุทธสมาคมก็ว่าได้ เพราะในเมืองใหญ่ ๆ ของยุโรปทุกเมือง ตลอดถึงเมืองใหญ่ ๆ ที่สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ถ้าท่านผู้ใดมีความประสงค์จะเรียนรู้พระพุทธศาสนาก็ไปหาซื้อหนังสือจากสมาคม นี้ได้ นอกจากนี้ กรรมการของสมาคมแต่ละเมืองมักจะจัดหาผู้คงแก่เรียนของศาสนาต่าง ๆ มาบรรยาย ที่นครซิดนีย์ สมาคมเทววิทยานี้ดูจะร่ำรวยกว่าเพื่อน เป็นเจ้าของตึกสูงหลายสิบชั้น มีโรงหนัง มีห้องสมุด มีที่จำหน่ายหนังสือ และห้องสำหรับบรรยายด้วย
    ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๓ ( ค.ศ. ๑๘๘๐ ) มาดามบลาวัตสะกี้และพันเอกโอลคอตต์ได้เดินทางไปศรีลังกา ถือโอกาสไปรับศีล๕ และไตรสรณคมน์ จากพระเถระชาวลังกาด้วย เล่ากันว่าท่านเป็นชาวยุโรปคู่แรกที่รับศีล ๕ และไตรสรณคมน์ หลังจากที่ลูกน้องอเล็กซานเดอร์มหาราชได้รับมาแล้วเมื่อสองพันกว่าปีโน้น
    มาดามบลาวัตสะกี้กบเพื่อนมีความโน้นเอียงไปทางฮินดูมาก ได้ให้ความอุปถัมภ์แก่นักบุญอินเดียคนหนึ่งที่ยังอยู่ในเยาว์วัยชื่อ กฤษณะมูระติ โดยหมายมั่นปั้นมือว่าท่านผู้นี้จะเป็นศาสดาพยากรณ์องค์ใหม่แทนพระเยซู แทนพระพุทธเจ้า คำสอนของท่านใกล้เคียงพระพุทธศาสนามาก ท่านมักสอนเสมอว่า ถ้าเรามีปัญหาอะไรให้มองเข้าข้างใน อย่าส่งออกภายนอก เช่นเวลาเรามีความโกรธ มองให้เห็นความโกรธเป็นอนัตตา ความโกรธนั้นก็จะหายไป เล่ากันว่า ท่านได้สมาธิได้ฌานมาตั้งแต่เป็นเด็ก ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ (ค.ศ. ๑๙๒๖ ) สมาคมเทววิทยาที่นครซิดนีย์ได้ประกาศให้คนทั้งหลายทราบว่า ศาสดาพยากรณ์องค์ใหม่จะมาเยี่ยมนครซิดนีย์โดยทางเรือ เรือโดยสารทะเลจะทอดสมอที่กลางอ่าว แล้วท่านจะเดินบนน้ำให้คนทั้งหลายเห็น ได้มีการสร้างปะรำพิธีจัดเก้าอี้ ให้คนจองที่นั่งด้วยราคาแพง คนชั้นสูง นักการเมืองก็ซื้อตั๋วจองที่นั่งกันเป็นแถว แต่พอท่านกฤษณะมูระติมาจริง ท่านเดินน้ำไม่ได้ ต้องนั่งเรือเล็กเข้าฝั่ง ชาวนครซิดนีย์ทั้งหลายจึงผิดหวังตาม ๆ กัน
    ผู้เขียนได้อ่านพบเรื่องนี้เข้าเลยได้ความคิดว่า เรื่องการตื่นผู้มีบุญนั้นคงมีทุกชาติทุกภาษา ไม่เฉพาะแต่คนไทย ถ้าท่านมีบุญจริงก็อาจจะส่งเสริมศรัทธาได้บ้าง แต่แน่นอนว่าผู้ไม่มี อัตตาหิ อัตตโน นาโถ หวังพึ่งตนเองทางคุณธรรมไม่ได้นั้น คงจะต้องผิดหวังและถูกหลอกไปอีกนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...